วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 01:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 11:29
โพสต์: 15

แนวปฏิบัติ: พุทโธ
งานอดิเรก: หลายหลาก
อายุ: 0
ที่อยู่: ภาคอีสาน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปกติคนเราถ้าไม่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นโทษ ก็จะไม่ละไม่วางในสิ่งนั้น เคยได้ยินมาว่า กายนี้เป็นก้อนทุกข์ แต่พิจารณายังไงก็ไม่ลงใจว่าเป็นทุกข์ อย่าเรื่องเจ็บเรื่องไข้ก็เห็นว่าเป็นเรื่องของโรคาพยาธิ เพื่อนๆนักปฏิบัติท่านใหนมีอุบายดี แนะนำทีครับ

.....................................................
..อือ ... อ้อ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนจะเห็นอย่างนั้น ต้องมีเครื่องมือก่อนนะครับ

ถ้าลำพังแต่น้อมพิจารณาเอาในความคิดความตรึกนึกทั้งหลาย
อันนั้นช่วยแก้นิวรณ์เฉยๆ ไม่สามารถถอดถอนกิเลสความเห็นผิดอะไรได้เลย
ขนหน้าแข้งกิเลสไม่ร่วงเลยแม้แต่เส้นเดียว
รวมความที่คุณกล่าวมาแล้ว มันเป้น ปัญญาแบบสุตมัย+จินตมัย
ต้องปัญญาระดับภาวนามัยปัญญา เท่านั้น ที่จะถอดถอนกิเลสความเห้นผิดทั้งหลายได้


เครื่องมือที่จะช่วยให้เห็นสภาวะนั้นได้ เรียกว่า จิตตั้งมั่น
ก้ต้องไปพยามพัฒนาเครื่องมืออันนี้ก่อนด้วยสมถะภาวนา
แล้วเดี๋ยวเครื่องมือมันพร้อม มันจะเห็นเองเลย
เหมือนเรามีดวงตา ลืมตาเมื่อไหร่ ก็จะเห้นทันที เราห้ามไม่ให้เห้นไม่ได้
ถ้าจิตมันมีคุณภาพอย่างนั้นได้ รับรองว่าจะเห็นสภาวะที่รูปแยกออกจากนาม
กายแยกออกจากใจ (กายมันไม่ใช่เรา) มันแยกให้ดูเลย
ส่วนคำว่า"เรา" มันจะเป็นผู้ที่รับรู้การมีอยู่ของกาย คือมันปรากฏขึ้นต่อหน้าเลย
ว่ากายนี้มันไม่ใช่ของของเรา มันเป้นแค่อะไรก็ไม่รู้ที่ปรากฏขึ้นมา"ห่อหุ้มเรา" เอาไว้
รู้เลยว่า "คำว่าเรา" ในเวลานั้น มันมี"ขอบเขต" ที่ถูกห่อเอาไว้
เหมือนเราเป็นคนที่เข้าไปอยู่ใน mascot ตัวใหญ่ๆ ตามงานนิทรรศน์การน่ะคับ

แต่การเห็นเฉยๆ มันไม่พอ เห็นก็เห็น แค่เห็น
มันองค์ประกอบสำคัญอื่นๆอีกสองอย่าง ที่ต้องมีด้วย ไม่งั้นกิเลสมันไม่ระคายผิว
2 อย่างนั้นคือ

1. สิ่งที่เห็น ต้องเป็นไตรลักษณ์เท่านั้น เห็นอะไรมากกว่านี้ก็ไม่ใช่แล้ว ให้รู้ว่าโดนหลอก
ท่านโกณฑัญญะ ท่านพูดว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ที่ใช้คำว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง" เพราะท่านไม่รู้จะเรียกสิ่งเหล่านั้นว่าอะไร เพราะที่ท่านเห็นคือปรมัตถ์ธรรมแท้ของรูปนาม มันไม่มีอยู่ในสารบบของภาษามนุษย์มาก่อน
เจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิตท่านเรียกว่า "ของจริง นิ่งเป็นใบ้"
หลวงปู่ดูลย์ท่านใช้คำว่า "เหนือคำพูดทั่งปวง"
หลวงพ่อพุธท่านพูดว่า "รู้อะไร(บางอย่างอยู่) แต่ไม่รู้ ว่ารู้อะไร...นั่นแหละคือสุดยอดแห่งการรู้"

2. นอกจากจะเห้นไตรลักษณ์อย่างนั้นแล้ว การเห้นนั้น ต้องเห็นหลายรอบพอสมควร
ภาษาเราๆท่านๆ เรียกว่า แก่รอบ ส่วนจะกี่รอบก็แล้วแต่อินทรีย์ของแต่ละคน
แล้วการเห้นมีเครื่องมือนี้นะครับ มันไม่ได้เห็นตลอดเวลาหรอกนะครับ มันเห็นเป้น"วาระๆ"
ถ้าอินทรีย์แก่กล้า วาระมันจะนานหน่อย ถ้าอินทรีย์อ่อนๆก็แป๊บๆพอยั่วน้ำลายให้อยากนิพพาน


อย่างนี้ถึงเรียกว่า "รู้ทุกข์" ของแท้
เป้นคำว่า "รู้ทุกข์" ที่ปรากฏในอริยสัจ

ถ้ายังเห็นเป้นอย่างอื่น ที่บรรยายศัพท์เรียกเป็นภาษาคนได้ อันนั้นไม่จริงเลยแม้แต่อย่างเดียว
เช่นเห็นคนนั้นคนนี้ เห็นพระพุทธเจ้า เห้นปราสาท เห้นเมือง เห็นเทวดา เห็นจักรวาล เห็นนรก สวรรค์ ฯลฯ
ซึ่งเอาไปใช้อะไรในกระบวนการถอดถอนกิเลสไม่ได้เลย
ต่อให้จริง อย่างมากที่สุดคือ จริงโดยสมมุติ ไม่ใช่จริงโดยปรมัตถ์

ไม่รู้ว่าวิธีปฏิบัติ จะทำยังไงก็ท่องพุทธโธอย่างเดียวเลยครับ
ทิ้งความรู้ความฉลาดอะไรของเราทั้งหมดไว้ข้างหลัง
แม้แต่ความรู้อะไรในธรรมะ ในพระไตรปิฏก ต้องพักเอาไว้หมด
ทำตัวโง่ๆ ท่องพุทธโธอย่างเดียวพอ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 07 ต.ค. 2009, 15:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ต.ค. 2008, 18:57
โพสต์: 41


 ข้อมูลส่วนตัว


:b34: แปลกค่ะ ส่วนใหญ่คนเรามักจะบ่นว่าทุกข์ๆๆๆๆ แต่คุณนี่ ไม่เคยเห็นทุกข์ หากพูดตรงๆว่า ยังไม่มีปัญญาทางธรรม จะรุนแรงไปไหมเนี่ย
คุณเคยหิวข้าว ขี้ไมออก เยี่ยว(ขอโทษ)ไม่ออก-อาจจะไม่เคย
เอาใหม่ เวลาปวดท้องฉี่ หรือปวดหนัก แล้วหาห้องน้ำไม่พบ เป็นทุกข์ไหมคะ
นี่คือทุกข์ระดับสามัญค่ะ เรื่องแก้ทุกข์ คงไม่ต้องบอก แต่อยากชี้ให้เห็นว่าทุกข์มีหลายระดับ
การพัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจล่ะ ไม่เคยเลยหรือคะ สงสัยยังไม่เคยอกหัก หรือคนที่รักเสียชีวิต
การอยากได้สิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
พระพุทธเจ้า ตอนที่ท่านเป็นเจ้าชาย ท่านก็ไม่เคยรู้ถึงความทุกข์ จนกระทั่งเสด็จออกจากพระราชวังไปนอกเมือง พบ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ถึงได้เข้าใจชีวิตและความทุกข์ เท่านั้นเอง ท่านก็เกิดปัญญา อยากหาทางพ้นทุกข์ และนี่แหละค่ะ คือที่มา ของคำว่า พุทธคือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
หากคุณอยากเป็นชาวพุทธที่แท้จริง ก็ต้องเข้าใจชีวิต(สังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิด คนเราเกิดมาทำไม)และความทุกข์ก่อน แล้วคุณก็จะมีปัญญา ที่จะแสวงหาทางพ้นทุกข์(ดิฉันมีอาจารย์ทางธรรม ที่สอนถุกใจ คือปิ๊งมาก ตอนนี้กำลังมีรายการอบรมที่เมืองไทยอยู่ (ปกติท่านอยู่ที่อังกฤษ)ลองเข้าไปดูที่www.supawangreen.in.thนะคะ)
ดังสุภาษิตที่ว่า ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นธรรม
ขอให้มีดวงตาเห็นธรรมค่ะ :b35:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 15:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 11:29
โพสต์: 15

แนวปฏิบัติ: พุทโธ
งานอดิเรก: หลายหลาก
อายุ: 0
ที่อยู่: ภาคอีสาน

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณ คุณชาติสยาม และคุณ ratanamanee เป็นคำแนะนำที่ดีครับ
อุบายที่คุณชาติสยามแนะนำเป็นสิ่งที่น่าสนใจครับ จะลองทำดู ชอบประโยคที่ว่า "ทำตัวโง่ๆ ท่องพุทธโธอย่างเดียวพอ"
ยังอยากรับขออุบาย แนะนำจากท่านผู้รู้อื่นอีกนะครับ "พิจารณายังไงให้ลงใจว่าเป็นทุกข์" ขอบคุณล่วงหน้าครับ

.....................................................
..อือ ... อ้อ..


แก้ไขล่าสุดโดย สายอีสานตั้งนิ่ง เมื่อ 07 ต.ค. 2009, 15:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 16:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2004, 08:57
โพสต์: 154


 ข้อมูลส่วนตัว


แนะนำให้ลองอดอาหารวันนึงครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 21:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์นี้ต้องหา..เพราะทุกข์ใครทุกข์มัน..ทุกข์ตัวที่ทำให้เราคิดอยากออกจากวัฎฎะสงสาร..นั้นคือทุกข์จริง ๆ ของเรา..เป็นกุญแจเพียงดอกเดียวที่สำคัญมาก..ที่จะไขประตูนำเราไปสู่สิ่งที่ดียิ่งขึ้นไปอีก

ดังนั้นมันจึงต้องหา..และต้องหาให้พบ..

หากยังไม่พบ..ก็ต้องควานหา..การควานหาก็ด้วยวิธีการพิจารณา..ต้องเป็นคนชั่งคิดสักหน่อย..คือเห็นอะไรก็คิด..คิดให้ถึงความทุกข์..หากเจอแล้ว..ใจมันจะร้องว่า..อ่อ..ใช่...ใช่..แล้วใจมันก็อยากจะหนีจากทุกข์เองแบบไม่ต้องดัดจริต..หรือบอกให้ยาก..

อย่างแรก..ก็เริ่มจากทุกข์..หยาบ ๆ เห็นกันได้ง่าย ๆ ก่อน..ลองดูนะครับ..เช่น

ตอนเช้า ๆ ตื่นขึ้นมา..แล้ว..ปวดขี้ปวดเหยี่ยว..ทดลอง..ไม่เข้าห้องน้ำดูซิ..เอาให้ถึงชนิดแทบทนไม่ไหว..ดูซิมันเป็นยังงัย..สบายดีไหม..ดูใจให้ดี ๆ ..

ถามมันดูว่า..ทรมานไหม?
มันก็ต้องว่า..ทรมานซิโว้ย

ถามมันต่อ..แล้วทำไมต้องปวดทุกเช้าด้วย?
มันก็ต้องว่า..ก็แกกินน้ำกินท่าเข้าไป..ย่อยแล้วกากมันก็ต้องออกซิวะ

ถามมันต่อ..ก็แล้วทำไมต้องกินทุกวันด้วยเล่า?
มันก็ต้องว่า..ไม่กินก็หิวตายซิโว้ย..เจ้าโง่

ถามมันต่อ..ก็เพราะมีร่ายกาย..ก็เลยต้องกิน..ก็เลยต้องปวด..ถ้าไม่มีกาย..ก็ไม่ต้องกิน..ก็ไม่ต้องปวด..ใช่มัย?
มันก็อาจจะว่า..คงจะใช่

ถามมันต่อ..แล้วทำยังงัยถึงจะไม่มีร่างกายละ?
มันอาจจะตอบว่า..ไม่รู้..จะบ้าหร่อ

บอกมันไปเลยว่า..ฉันรู้แล้ว..ก็ต้องไม่เกิดงัย..และการจะไม่เกิดได้นั้นมีผู้รู้แล้วคือ พระพุทธ..พระธรรม..และพระอรหันต์..งัยละ..

คือถามมันไปใจก็คิดไปพร้อม..

อย่างนี้เป็นต้นนะครับ..คือใช้ทุกข์ที่ประสพด้วยตัวเป็น ๆ เลยมาพิจารณา

แต่อีกอย่างหนึ่ง..ใช้..การจิตนาการ..ถึงความทุกข์..โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาตัวเป็น ๆ ไปประสพเอง..ก็ได้..แล้วแต่ถนัดและได้ผล

แต่ทั้ง 2 อย่าง ล้วนแต่ต้องมีจิตใจน้อมเข้าหาธรรม..และน้อมธรรมเข้าหาใจ..ด้วยการพินิจพิเคราะห์..ละเอียดละออ..หรือที่ใคร ๆ ว่า..โดยแยบคาย

หรือจะโดยวิธีไหนก็ได้..ทำไปเถอะ..ถ้าต้องการจริง ๆ นะครับ..

ขอให้เจริญในธรรม..มีดวงตาเห็นธรรมในชาติปัจจุบัน..นี้..เลยนะครับ


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 07 ต.ค. 2009, 22:59, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.ค. 2009, 22:19
โพสต์: 271

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกิด แก่ เจ็บ ตาย พลัดพรากจากของรัก นั้นแหละทุกข์ สิ่งที่ทุกคนต้องเจอหรือทุกข์ในอริยสัจ ส่วนการ

เข้าไปเห็นลักษณะการแปรปวน เปลี่ยนแปลง ไม่คงที่เป็นการเห็นลักษณะของธรรมมะทั้งหมด ไม่

สามารถทนสภาพเดิมได้ เป็นทุกข์ลักษณะเป็นสภาวะธรรมอย่างหนึ่งในสามอย่างของลักษณะของ

ธรรมชาติ นี่เป็นปัญญา จะรู้ในระดับการอ่านหรือได้รับฟังมาเป็นสุตตะ หรือการพิจารณาไตร่ตรองหา

เหตุผลมารองรับเป็นจินตา หรือจะเห็นได้โดยรับรู้เป็นสภาวะทั้งทางกายซึ้งใจรับรู้ร่วมกันนั้นเป็นภาวนา

มยปัญญา เมื่อเห็นจริงเห็นตรง ความเห็นชอบก็เกิดขึ้นเป็นก้าวแรกของการออกเดิน บนเส้นทางอริมรรค

มีองค์แปด เมื่อความเห็นชอบเจริญอย่างที่สุด การดำริชอบก็จะค่อยๆเริ่มขึ้นตามลำดับไปเรื่อยๆจนครบ

ทั้งแปดในเวลาอันสมควรตามเหตุปัจจัยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่สร้างความสุขได้แล้วย่อมรู้จักความทุกข์ได้ดี
ผู้ที่ละตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์เสียได้ย่อมรู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ได้ดี



คนผู้แสวงหาความสุขเพื่อตนพึงกำจัดความรำพัน
ความทะยานอยากและความโทมนัสของตน
พึงถอนลูกศร คือกิเลสของตนเสีย
เป็นผู้มีลูกศร คือ กิเลสอันถอนขึ้นแล้ว
อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยแล้ว
ถึงความสงบใจ ก้าวล่วงความเศร้าโศกได้ทั้งหมด
เป็นผู้ไม่มีความเศร้าโศกย่อมจักเยือกเย็น ฉะนี้แลฯ ”


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"พิจารณายังไง ให้ลงใจว่า เป็นทุกข์"




ในขั้นของ การเห็นแจ้งในธรรม นั้น

ท่านผู้รู้กล่าวเอาไว้ว่า เป็นขั้นของ กุศลที่พ้นเจตนา .... คือ ณ จุดนั้น ปราศจากความจงใจแล้ว....




เสนออ่าน โอวาทธรรม ของ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต


อาสวะเป็นกิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องอาศัยอริยมรรคที่เป็นกุศลพ้นเจตนาจึงละไว้ได้

การตั้งใจละนั้นเป็นกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา เพราะฉะนั้นจึงละอาสวะไม่ได้ คงละได้แต่กิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา แต่ก็ละได้ชั่วคราว ภายหลังอาจเกิดขึ้นได้อีก เพราะเป็นโลกิยกุศล






ตรงจุดนั้น ย่อมปราศจากความตั้งใจแล้ว แต่ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุได้ประกอบบริบูรณ์แล้ว ผลจึงบังเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

ถ้า ตรงจุดนั้น คือ อริยมรรคสมังคี จึงบังเกิด ภาวนามัยยะปัญญา ปัญญาที่แท้จริงที่สามารถถอดถอนอุปาทานได้....

ลำพัง ปัญญาที่เกิดจากการรับทราบ(สุตตะมัยยะปัญญา) และ ปัญญาที่เกิดจากการคิด(จินตะมัยยะปัญญา) ไม่มีทางจะถอดถอนอุปาทานได้




ตรงจุดนั้น จะตรงกับ " เพราะมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงบริบูรณ์" ใน มหาจัตตารีสกสูตร

หรือ ตรงกับ อานันตริกสมาธิญาณ อีกพระสูตรหนึ่ง



[๒๑๑] ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ อย่างไร ฯ

เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ

ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้น อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น

สมถะมีก่อน ญาณมีภายหลัง

ด้วยประการดังนี้ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น


เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ


ๆลๆ


[๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน

ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบาย ย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้ ฯ

กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้ ฯ

กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้น ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้ ฯ

ภวาสวะ อวิชชาสวะ ย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้ ฯ

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ





ขยายความ คำว่า อานันตริกสมาธิ จาก พุทธธรรม


สมาธิที่เลิศประเสริฐสุด ก็คือสมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือ สมาธิที่ช่วยให้ปัญญากำจัดกิเลสและหลุดพ้นได้ เรียกอย่างวิชาการว่า สมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค หรือสมาธิในมรรค (มัคคสมาธิ)

สมาธิอย่างนี้มีชื่อเรียกพิเศษว่า อานันตริกสมาธิ (บางแห่งเพี้ยนเป็น อนันตริกะ บ้าง อานันตริยะ บ้าง)

แปลว่า สมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันที คือทำให้บรรลุอริยผลทันทีไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

สมาธิชนิดนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใดเทียมเท่า (ขุ.ขุ.25/7/6: ขุ.สุ.25/314/368) ถึงหากจะเป็นสมาธิระดับต่ำ ก็ถือว่าประเสริฐกว่าสมาธิอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
สมาธิระดับรูปฌาน หรือ อรูปฌานก็ตาม (ขุทฺทก. อ.198; สุตฺต.อ.2/27)

อานันตริกสมาธินี้ ท่านกล่าวถึงในที่อื่นๆ อีกทั้งบาลีและอรรถกา ผู้สนใจพึงดู ที.ปา.11/373/289 ฯลฯ





อานันตริกสมาธิ คือ เอกัคคตาแห่งจิต ที่หากบังเกิดขึ้นแล้ว ในขณะจิตต่อมาจะบรรลุอริยมรรคมรรคผลทันที โดยไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

ต้องบังเกิดตรงนี้... ไม่เช่นนั้น มันจะเป็นเพียงสัญญา ไม่ใช่ปัญญาญาณที่ถอดถอนอุปาทานได้

ส่วน จะบังเกิดจุดนั้นได้อย่างไร.... ก็ ต้องเพียรเจริญภาวนา ประกอบเหตุ ให้มาก ให้ยิ่งขึ้นไป... พหุลีกตา


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 11:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 00:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ถ้า ตรงจุดนั้น คือ อริยมรรคสมังคี จึงบังเกิด ภาวนามัยยะปัญญา ปัญญาที่แท้จริงที่สามารถถอดถอนอุปาทานได้....

ลำพัง ปัญญาที่เกิดจากการรับทราบ(สุตตะมัยยะปัญญา) และ ปัญญาที่เกิดจากการคิด(ภาวนามัยยะปัญญา) ไม่มีทางจะถอดถอนอุปาทานได้



คงต้องมีอะไรผิดผลาด..แน่ ๆ เลย :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 00:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อย่างแรก..ก็เริ่มจากทุกข์..หยาบ ๆ เห็นกันได้ง่าย ๆ ก่อน..ลองดูนะครับ..เช่น

ตอนเช้า ๆ ตื่นขึ้นมา..แล้ว..ปวดขี้ปวดเหยี่ยว..ทดลอง..ไม่เข้าห้องน้ำดูซิ..เอาให้ถึงชนิดแทบทนไม่ไหว..ดูซิมันเป็นยังงัย..สบายดีไหม..ดูใจให้ดี ๆ ..

ถามมันดูว่า..ทรมานไหม?
มันก็ต้องว่า..ทรมานซิโว้ย


:b32:

s004 s004

ไม่กินกบก็ได้ แต่พี่กบจอมเปิ่นเอาเรื่องสนุก ๆ แบบนี้มาบ่อย ๆ ได้ป่าวววว...หง่ะ :b4:
แบบว่าชอบของย่อยง่าย ๆ หน่ะ :b14: :b14: :b14:
จิ้งจกน้อย(ม่ายช่ายตุ๊กแกนะ..)ยังเล็กอยู่ ฟันน้ำนมยังขึ้นไม่เต็มที่ :b12:

อ้างคำพูด:
หรือจะโดยวิธีไหนก็ได้..ทำไปเถอะ..ถ้าต้องการจริง ๆ นะครับ..

ขอให้เจริญในธรรม..มีดวงตาเห็นธรรมในชาติปัจจุบัน..นี้..เลยนะครับ


:b32: หุ หุ หุ ผ่านมาเห็นคำอวยพรของพี่ โอ๊บ...โอ๊บ แล้วมืออ่อน..เท้าอ่อน
เสี่ยวจิ้ง (หุ หุ เสี่ยวจริง ๆ) เลยเผลอตัวหลุดร่วงจากเพดานตกมางาบพรไปหม่ำแก้หิวได้พอดีเรยยย...
แย่งเขากิน บาปมั๊ยคะ :b20:

:b12: :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 08 ต.ค. 2009, 08:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
หากยังไม่พบ..ก็ต้องควานหา..การควานหาก็ด้วยวิธีการพิจารณา..ต้องเป็นคนชั่งคิดสักหน่อย..คือเห็นอะไรก็คิด..คิดให้ถึงความทุกข์..

ช่างคิดสักหน่อย หน่อยขนาดไหนจึงจะเรียกว่า พอเหมาะแก่การพิจารณาธรรมคะ

อ้างคำพูด:
หากเจอแล้ว..ใจมันจะร้องว่า..อ่อ..ใช่...ใช่..แล้วใจมันก็อยากจะหนีจากทุกข์เองแบบไม่ต้องดัดจริต..หรือบอกให้ยาก..


แล้วหนีจากทุกข์แบบดัดจริต มีข้อสังเกตยังไงบ้างคะ
แบบว่า...จะเอาไว้พิจารณาตัวเองค่ะ ประมาณว่าไม่อยากเผลอวิ่งไปดึงขากางเกงไป...
เพราะกลัวจะมีโอ๊บ ๆ แอบเห็นขนหน้าแข้ง แล้วจะกระโดดออกมาแซว
เป็นห่วง กลัวตัวเองเผลอตัวจะเหยียบเบรค แต่ดันไปเหยียบคันเร่ง น่ะค่ะ :b14:

อ้างคำพูด:
....
คือถามมันไปใจก็คิดไปพร้อม...


เอ่อ... ถามเอง คิดตอบเองไปในใจอย่างนี้ ไม่เข้าข่ายบ้า...ใช่ป่าวคะ...
:b9: :b9:
แบบชอบทำแบบนี้เหมือนกัน แต่เวลาที่ทำก็ยังตะหงิด ๆ อยู่ในใจทุกที หง่ะ
เพราะเห็นภาพคนสติไม่ดีที่เดินอยู่ข้างถนน แล้วพูดเองตอบเองไปตลอดทาง ขึ้นมาในใจทุกที
พอเห็นภาพ...เช่นนี้ขึ้นมา ก็กลายเป็นจะรีบสลัดอาการคิดถามเองตอบเองไปโดยฉับพลัน หง่ะ :b14:

อ้างคำพูด:
....
แต่อีกอย่างหนึ่ง..ใช้..การจิตนาการ..ถึงความทุกข์..โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาตัวเป็น ๆ ไปประสพเอง..ก็ได้..แล้วแต่ถนัดและได้ผล


จินตนาการ ขนาดไหน ถึงจะไม่เข้าข่าย เพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่านคะ
แบบว่า บ้านอยู่ใกล้ศรีธัญญา น่ะค่ะ ฝังจั๊ย ฝังใจ ติดตากับภาพพวกนี้จังเลย
และพี่ชายเคยอยู่วัด ซึ่งมีมหาคนหนึ่ง...สติไม่ดี อดีตเคยเป็นพระที่...น่ารักนะคะ
ใคร ๆ เล่าให้ฟังก็ว่างั๊น เก่งด้วย
แต่ศึกษาธรรมไป ศึกษาธรรมมา เขาก็ขุดหลุมเข้าไปอาศัยอยู่ใต้โบสถ์เก่า...
และกลายเป็นคนสติไม่ดีไปโดยปริยาย
คือภาพพวกนี้ ต้องยอมรับว่ามันยังติดต๊า ติดตา
ดังนั้น การคิด การจินตนาการ ในธรรม ก็เลยยังเป็นอะไรที่เราค่อนข้าง ระแวงน่ะค่ะ
กลัวว่าถ้าเผลอ มันจะเตลิดเกินพอดีน่ะค่ะ

คือ มันก็เหมือนกับเรากำลังพิจารณาธรรม
และในทางกลับกัน เราก็กำลังเล่นกับคมดาบด้วย
เพราะ

"แต่ทั้ง 2 อย่าง ล้วนแต่ต้องมีจิตใจน้อมเข้าหาธรรม..และน้อมธรรมเข้าหาใจ..ด้วยการพินิจพิเคราะห์..ละเอียดละออ..หรือที่ใคร ๆ ว่า..โดยแยบคาย"

การใส่เครื่องปรุงให้พอเหมาะพอดี มันวัดได้ยากจัง...
คุณมีเทคนิคยังไง

:b38: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 11:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ตรงประเด็น เขียน:
ถ้า ตรงจุดนั้น คือ อริยมรรคสมังคี จึงบังเกิด ภาวนามัยยะปัญญา ปัญญาที่แท้จริงที่สามารถถอดถอนอุปาทานได้....

ลำพัง ปัญญาที่เกิดจากการรับทราบ(สุตตะมัยยะปัญญา) และ ปัญญาที่เกิดจากการคิด(ภาวนามัยยะปัญญา) ไม่มีทางจะถอดถอนอุปาทานได้



คงต้องมีอะไรผิดผลาด..แน่ ๆ เลย :b12:




ใช่แล้ว...ดึกแล้ว เลยตาลาย :b13:

จะย้อนไปแก้ไข ให้ครับ ...ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อะไรเป็นเหตุทำให้คนไม่รู้จักทุกข์?
เพราะไม่ได้สดับรับฟังธรรม เพราะไม่เข้าใจในธรรม จึงหลงอยู่ในความสุขชั่วคราว อันได้แก่กามคุณ ๕ เมื่อมีทุกข์ ก็หนีทุกข์ไปหาสุข เปลี่ยนกลับไปกลับมาอย่างนี้ ทำให้ลืมทุกข์ไปได้ชั่วคราว แท้จริง สุขแบบนี้ก็คือเหตุของทุกข์ พอมีก็หมด มีได้ก็มีจาก มีเกิดก็ต้องมีดับ ฯ เหตุที่คนไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักตระหนักถึงทุกข์ทั้งปวง ก็คือ ความไม่รู้ พระพุทธองค์ตรัสว่า กามนี้มีคุณน้อย มีโทษมาก กามคุณเสมือนเบ็ดหรือกับดักของมาร ที่ประสงค์ให้เราอยู่ในห้วงแห่งทุกข์ อันเป็นโลกเป็นอนาจักรของมาร ถ้ายังหลงอยู่ ก็เป็นเหยื่อของมาร

อุบายการพิจารณาให้เห็นทุกข์
แล้วแต่บุคคล มีแนะนำในพระไตรปิฎกหลายอย่าง เช่น พิจารณาเป็นของสูญ ของไม่คงทน เป็นเหมือนพยาท เป็นเหมือนของเน่าเหม็น ไร้ค่า เป็นฝีหนอง เป็นหัวลูกศรปักอก ควบคุมไม่ได้ ฯ สารพัด สรุปว่าพิจารณาให้เห็นโทษ แล้วแต่ว่าจะพิจารณาแบบใดให้เหมาะกับตน

อะไรคือทุกข์?
ชาติ ชรา มรณะ ความเจ็บป่วย เป็นทุกข์ โสกปริเทวทุกข โทมนัสสอุปายาสทุกข์อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ทุกข์เกิดเพราะตัณหา คือ ความรู้ไม่เท่าทัน ทำให้เกิดความกำหนัดยินดีเพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ตั้งอยู่ที่ไหน?
ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้

ก็อะไร เป็น ปิยรูปสาตรูป ในโลก?
จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้

รูป เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมารมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมารมณ์นี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นี้

ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อจะละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน?
ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้เมื่อดับก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2009, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สายอีสานตั้งนิ่ง เขียน:
ปกติคนเราถ้าไม่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นโทษ ก็จะไม่ละไม่วางในสิ่งนั้น เคยได้ยินมาว่า กายนี้เป็นก้อนทุกข์ แต่พิจารณายังไงก็ไม่ลงใจว่าเป็นทุกข์ อย่าเรื่องเจ็บเรื่องไข้ก็เห็นว่าเป็นเรื่องของโรคาพยาธิ เพื่อนๆนักปฏิบัติท่านใหนมีอุบายดี แนะนำทีครับ


สวัสดีคุณ สายอีสานตั้งนิ่ง
สามัญบุคคลผู้มีธุลีในดวงตาหนาบ้าง บางบ้าง ดำรงชีวิตทุกเมื่อเชื่อวันมีจิตแล่นไปตามทิฐิ ตันหา มีนิวรณ์อันปกปิดปัญญา ย่อมไม่อาจเห็นทุกข์ หรือกำหนดทุกข์ได้

การได้อ่านพระสัทธรรม ฟังพระสัทธรรม และน้อมเอาพระสัทธรรมมาพิจารณา และปฏิบัติย่อมเป็นหนทางหนึ่งในการกำหนดรู้ทุกข์ได้

มีเรื่องเล่าในสมัยพุทธกาล มีคฤหบดี ชื่อว่านกุลบิดาเป็นผู้มีอายุมาก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อขอฟังธรรมอันมีประโยชน์เพื่อความสุขแก่ท่านนกุลบิดาผู้มีอายุมากแก่เฒ่า

Quote Tipitaka:
ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วโดยลำดับ มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วยเนืองๆ พระพุทธเจ้าข้าก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคและภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์ ด้วยธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด."

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นั่นถูกแล้วๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่ อันผิวหนังหุ้มไว้
ดูกรคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรับรองความเป็นผู้ไม่มีโรคได้แม้เพียงครู่เดียว จะมีอะไร
เล่า นอกจากความเป็นคนเขลา

ดูกรคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่าเมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูกรคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.


เมื่อคุณอีสานตั้งนิ่งได้ยินมาว่า กายนี้เป็นก้อนทุกข์ ดังนี้ ก็เหมือนกับนกุลบิดาเช่นกันที่ฟังแล้วก็ยังไม่เข้าใจ แต่นกุลบิดาก็ยังมีสีหน้าเปล่งปลั่งมีปิติสุข ด้วยได้มีศรัทธาต่อพระผู้มีพระภาค มีใจยินดีที่ได้เห็นได้ยินเสียงพระผู้มีพระภาคเท่านั้น แต่ก็ยังไม่อาจรู้ในเนื้อความนั้นได้ ท่านนกุลบิดาได้เข้าหาพระสารีบุตรเพื่อทำเนื้อความในพระธรรมเทศนาให้ประจักษ์ พระสารีบุตรได้แสดงภาษิตแก่ท่านนกุลบิดาเพื่อให้เกิดปัญญาในธรรมในกาลต่อไปดังนี้

Quote Tipitaka:
น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะทราบเนื้อความแห่งภาษิตนั้นใน
สำนักท่านพระสารีบุตร ดีละหนอ ขอเนื้อความแห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด.

ส. ดูกรคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

นกุลปิตคฤหบดีรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว. ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวว่า

[๔] ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า? บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่ายด้วย จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย.

ดูกรคฤหบดี คือ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม

ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา. เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.

ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมเห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นเวทนา เวทนาของเรา. เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเราเวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.

ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสัญญา สัญญาของเรา. เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเราสัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.

ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขารในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสังขาร สังขารของเรา. เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเราสังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.

ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไปโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น.

ดูกรคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แลบุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย.

[๕] ดูกรคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า? บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.

ดูกรคฤหบดี คือ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม

ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูปในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา. เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ย่อมไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา. เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ย่อมไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นสัญญา สัญญาของเรา. เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา. สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสังขาร ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขารสังขารของเรา. เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเราสังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา. เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่าเราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น.

ดูกรคฤหบดี อย่างนี้แล บุคคลแม้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.


ตราบใดที่ยังมีสักกายะทิฏฐิอยู่ ตราบนั้นก็ยังไม่อาจพิจารณากายอันเป็นก้อนทุกข์นี้ได้ กายย่อมกระสับกระส่าย จิตย่อมกระสับกระส่าย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 149 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร