ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
สิกขาบท http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=26159 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | รสมน [ 10 ต.ค. 2009, 07:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | สิกขาบท |
สามเณรและสามเณรีเป็นประเภทบรรพชิต คือผู้ไม่ครองเรือน โดยศัพท์คำว่า สามเณร หมายถึงเหล่ากอ หรือเชื้อสายของสมณะ สามเณรมีสิกขาบท ๑๐ คือ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติอพรหมจรรย์(การเสพเมถุน) งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากดื่มสุราเมรัย งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่น งดเว้นจากการลูบทา ทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว งดเว้นจากการนั่งและการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการรับเงินทอง และนอกจากนั้นสามเรณยังต้องประพฤติข้อวัตรต่างๆที่บรรพชิตควรกระทำ เช่น การศึกษาพระธรรมวินัย การประพฤติวัตรปฏิบัติ มีอุปัชฌายวัตร อาจาริยวัตร อาวาสิกวัตร ฯลฯ รวมถึงเสขิยวัตรสิกขาบทด้วย ส่วนนักบวชนอกพุทธศาสนา มีปริพาชก เป็นต้น จัดเป็นบรรพชิต คือ ผู้ไม่ครองเรื่อน ไม่รับเงินและทอง ภิกษุผู้ปฏิบัติดี ใน ๓ ปิฎก ได้ผลดีต่างกัน อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติ ในพระวินัย อาศัยสีลสมบัติ ย่อมได้บรรลุวิชชา ๓ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภทวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแลไว้ ในพระวินัยนั้น. . ผู้ปฏิบัติดี ในพระสูตร อาศัยสมาธิสมบัติ ย่อมได้บรรลุอภิญญา ๖ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภทอภิญญา ๖ เหล่านั้นไว้ ในพระสูตรนั้น. . ผู้ปฏิบัติดี ในพระอภิธรรม อาศัยปัญญาสมบัติ ย่อมได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภทปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ไว้ ในพระอภิธรรมนั้นนั่นเอง. . ผู้ปฏิบัติดีในปิฎกเหล่านี้ ย่อมบรรลุสมบัติ ต่างกัน คือ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ และ ปฏิสัมภิทา ๔ นี้ ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้. . . . ผู้ปฏิบัติไม่ดีใน ๓ ปิฎก ได้ผลเสียต่างกัน ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดี ในพระวินัย ย่อมมีความสำคัญว่า หาโทษมิได้ ในผัสสะทั้งหลาย มีสัมผัส ซึ่งรูปเป็นอุปาทินกะ เป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามแล้ว โดยความเป็นอาการเสมอกับด้วยสัมผัสซึ่งวัตถุ มีเครื่องลาดและผ้าห่ม เป็นต้น ซึ่งมีสัมผัสเป็นสุข ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว. แม้ข้อนี้ ต้องด้วยคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ว่า เป็นธรรมอันทำอันตรายได้อย่างไร ธรรมเหล่านั้น ไม่สามารถเพื่อกระทำอันตรายแก่บุคคลผู้เสพได้ ๑ ดังนี้. ภิกษุนั้น ย่อมถึงความเป็นผู้ทุศีล เพราะความปฏิบัติไม่ดีนั้น. . ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดี ในพระสูตร ไม่รู้อยู่ซึ่งอธิบายในพระบาลี มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ดังนี้ ย่อมถือเอาผิด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสว่า บุคคลมีธรรมอันตนถือผิดแล้ว ย่อมกล่าวตู่เราทั้งหลายด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมได้ประสบบาปมิใช่บุญมากด้วย. ภิกษุนั้น ย่อมถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิผิด เพราะการถือนั้น. . ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดี ในพระอภิธรรม แล่นเกินไป ซึ่งการวิจารณ์ธรรม ย่อมคิด แม้ซึ่งเรื่องที่ไม่ควรคิด ย่อมถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต เพราะคิดซึ่งเรื่องที่ไม่ควรคิดนั้น. ข้อนี้ต้องด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล คิดอยู่เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่าใด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า แห่งความลำบากใจ เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่านี้ ๔ ประการ อันบุคคลไม่ควรคิดดังนี้. . ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในปิฎก ๓ เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติ ต่างด้วยความเป็นผู้ทุศีล ความเป็นผู้มีทิฏฐิผิด และความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้. ถึงพระคาถาแม้นี้ว่า ภิกษุ ย่อมถึงซึ่งความต่างแห่งปริยัติก็ดี สมบัติ และ วิบัติ ก็ดี อันใด ในปิฎกใด มีวินัยปิฎก เป็นต้น โดยประการใด บัณฑิต พึงประกาศความต่างแห่งปริยัติ เป็นต้น แม้นั้นทั้งหมด โดยประการนั้น ดังนี้ เป็นอันข้าพเจ้าขยายความแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้ บัณฑิต ครั้นทราบปิฎกโดยประการต่าง ๆ อย่างนั้นแล้ว ก็ควรทราบพระพุทธพจน์นั้น ว่า มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปิฎกเหล่านั้น. ผ้าเช็ดทุลี ลูกคนจัณฑาล โคเขาขาด เป็นการเปลียบเทียบตัวเองของท่านพระ- สารีบุตรต่อพระพุทธเจ้า จากสาเหตุที่มีพระรูปหนึ่งฟ้องพระพุทธเจ้าว่าท่านสารีบุตรได้ กระทบท่านแล้วจากไปไดยไม่ขอโทษ การเปรียบเทียบสอนพระรูปนั้นว่า ถ้าพระรูป นั้นไม่มีปรกติเจริญสติปัฏฐาน ก็ย่อมมีการกล่าวกระทบแล้วจากไปโดยไม่ขอโทษ ภาย หลังพระรูปนั้นก็กล่าวขออดโทษต่อพระสารีบุตร จากคำแนะนำของพระพุทธเจ้า ผ้าเช็ดทุลี ลูกคนจัณฑาน โคเขาขาด เป็นลักษณะของผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน |
เจ้าของ: | สาวิกาน้อย [ 14 ต.ค. 2009, 19:12 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สิกขาบท |
สามเณรสิกขา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=28&t=20852 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |