ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ขอเรียนถามหลักธรรมที่ช่วยให้เพื่อนคืนดีกัน http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=26252 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ธรรมธิดา [ 13 ต.ค. 2009, 14:20 ] |
หัวข้อกระทู้: | ขอเรียนถามหลักธรรมที่ช่วยให้เพื่อนคืนดีกัน |
เรียนกัลยาณมิตรที่เคารพ ขณะนี้เพื่อนในกลุ่มผิดใจกัน...มีการใช้วาทะโจมตีกันตลอดเวลา... อยากทราบว่า จะมีหลักธรรมใดช่วยเยียวยาให้เพื่อนๆของข้าพเจ้ากลับมาคืนดีกันได้บ้าง ขอบพระคุณอย่างสูง ด้วยความเคารพ ^_^ |
เจ้าของ: | อินทรีย์5 [ 13 ต.ค. 2009, 15:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขอเรียนถามหลักธรรมที่ช่วยให้เพื่อนคืนดีกัน |
ความหมายของคำว่าเพื่อน ความหมายของคำว่าเพื่อน เพื่อนคือ...ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ยิ่งกว่าแฟนก้อว่าได้ ไม่ตามใจมัน ก็ไม่ด่า แต่ถ้ามันไม่ตามใจเราก็ด่าได้ โดยที่มัน และเราไม่โกรธกัน เพื่อนเมื่อโกรธกันสามารถกลับมาคืนดีกันได้โดยไม่ต้องเก็บความสงสัยว่า เรื่องที่โกรธกันคืออะไร ผ่านแล้วก็ผ่านไป เพื่อนคือที่พึ่งยามเป็นทุกข์ เพื่อนคือที่ปรึกษา ตั้งแต่เรียน ทำงาน จนจะแต่งงานก็ยังต้องปรึกษามัน เพื่อนคอยสับรางเวลารถไฟจะชน เพื่อนคอยโกหกพ่อแม่เวลาไปเที่ยวแต่บอกว่าไปทำงาน เพื่อนคอยบอกแฟนว่าเรากำลังอยู่กับมัน ทั้งที่จริงเราไม่ได้อยู่กับมันหรอก และเพื่อนก็คือคนจ่ายค่าข้าวเวลาเราไม่มีเงิน "เพื่อน" คือ ทุกอย่าง บทส่งท้าย ถ้าเราสนุก ไปเที่ยวโดยไม่มีเพื่อน แล้วเล่าให้มันฟัง มันก็ไม่ว่าอะไร....แล้วถ้าเราเที่ยวแล้วเกิดปัญหา เราตามตัวมันมา มันเคยพูดไหมว่า "*ไม่สน*เที่ยวแล้วไม่ชวน* *แก้ไขเองแล้วกัน" คำพูดอย่างนี่จะไม่มีจากปากเพื่อน จะแต่ว่า " อยู่ตรงไหน เป็นอะไร" แล้วก็ลงท้ายว่า *จะรีบไป.... มีเรื่องเล่าอยู่ว่า มีภรรยา 4 คน รักคนไหนดี??? ชายคนหนึ่งมีภรรยา 4คน คนที่1 รักมากตามใจทุกอย่างอยู่กินด้วยกัน คนที่2 รักรองลงมาหน่อยตามใจบ้าง คนที่3 ไม่ค่อยรักเท่าไรนานๆก็ไปหาบ้าง คนที่4 ไม่รักไม่สนใจไม่ค่อยไปหา อยู่มาวันหนึ่งชายคนนี้เกิดทำความผิดอย่างร้ายแรงต้องรับโทษถึงกับประหารชีวิต ชายคนนี้ก็ขออนุญาติไปลาภรรยาก่อนแล้วจะกลับมารับโทษที่ทำผิด เจ้าหน้าที่ก็ได้ให้ไป ตามสิ่งที่ขอเป็นครั้งสุกท้ายของชีวิต ชายคนนี้ก็ได้ไปหา ภรรยาคนที่1 แล้วบอกเรื่องราวทั้งหมดให้ฟังว่าตัวเองจะต้องตายแล้วนะ คำตอบที่ได้รับ (ตายก็ตายเราก็จบกัน) ชายคนนี้เสียใจอย่างมากที่ได้ยินคำตอบเช่นนี้ เพราะเขารักภรรยาคนนี้มาก ก็ไปลาภรรยาคนที่2 แล้วก็บอกเรื่องราวว่าตัวเองจะต้องตายให้ฟัง คำตอบที่ได้รับ(ตายไปฉันก็มีผัวใหม่) ชายคนนี้ก็เสียใจอย่างนักเมื่อได้ฟังคำตอบ ภรรยาคนที่3 ชายคนนี้ก็เลยไปลาบอกเรื่องราวเช่นเดียวกันว่าตัวเองจะต้องตายแล้ว คำตอบที่ได้รัย จากภรรยาคนที่3 (ไม่เป็นไรฉันจะไปส่งพี่เป็นครั้งสุดท้าย) ชายคนนี้ก็เริ่มดีใจขึ้นมาบ้าง เริ่มคิดได้ว่าภรรยาคนที่3 เขาไม่ค่อยได้สนใจเท่าที่ควรเลย ภรรยคนที่4 คนสุดท้ายที่ชายคนนี้ไปลา และก็เล่าเรื่องราวให้ฟังเหมือนกันว่าตัวเองจะต้องตายแล้ว คำตอบที่ได้รับจากภรรยาคนที่ 4 คือ (ฉันจะตายตามพี่ไปด้วย) เมื่อชายคนนี้ได้ฟังคำตอบแล้วก็ยิ่งดีใจอย่างมาก และก็ได้สำนึกว่าตัวเองไม่เคยทำความดีกับภรรยาคนนี้เลยไม่สนใจปล่อยใหอยู่ตามลำบัง สำนึกได้ก็สายไปเสียแล้วเพราะเขากำลังจะตายไม่มีโอกาสที่จะทำดีได้อีกแล้ว คติธรรมแทนตัวภรรยาทั้ง 4คน คือ ภรรยาคนที่1 คือ ร่างกายตัวเราเอง ตายไปเขาก็เผาไหม้ไม่เหลืออะไรเลย ภรรยาคนที่ 2 คือ ทรัพย์สมบัติ ตายไปเอาไปไม่ได้เช่นกัน ก็กลายเป็นของคนอื่น ภรรยาคนที่3 คือ พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง ที่ไปส่ง คือ จัดงานศพให้ ทำบุญอุทิศไปให้ ภรรยาคนที่4 คือ บุญและบาป ที่จะตามติดตัวเราไปตัวตลอด เมื่อยังมีชีวิตอยู่ควรที่จะเลือกใช้ชีวิตให้ถูกและควรทำในสิ่งที่ดีงามรู้สำนึกบุญคุณยังไม่สายเกินไปหรอกนะ สะสมไว้เป็นเสบียงไว้ในชาติภพหน้า ซึ่งคติธรรมแทนตัวภรรยาทั้ง4 คน สามารถนำมาใช้กับเรื่องเพื่อนๆ และพี่น้องในครอบครัวเราได้เสมอ ที่มา เว็บไซต์ธรรมะไทย |
เจ้าของ: | บัวศกล [ 14 ต.ค. 2009, 05:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขอเรียนถามหลักธรรมที่ช่วยให้เพื่อนคืนดีกัน |
เมื่อมีการผิดใจกัน ก็ต้องมีสาเหตุ ว่าอะไรหนอ ทำให้สามัคคีแตกแยก ค้นพบสาเหตุแล้ว ก็ค่อยหาวิธีอีกครั้ง ว่าจะจัดการกับสาเหตุนั้นอย่างไร เมื่อเหตุแห่งความผิดใจกันนั้นมันสิ้นไป ความรักใคร่สมัครสมานก็คงจะคืบคลาน กลับมาหวานชื่นดังเดิมเป็นแน่แท้ แต่ ก่อนจะสรุปว่า พวกเธอทั้งหลายกำลังผิดใจกัน ด้วยเพราะเห็นกิริยาเธอโจมตีกัน ด้วยคำพูด ลองพิจารณาให้แยบคายก่อนอีกสักสามรอบเป็นอย่างน้อย ว่าจริงแล้วเธอกำลังผิดใจกัน แน่แท้แล้วเหรอ เพราะมันอาจจะเบากว่านั้น หรือไม่ได้เป็นอย่างเช่นกิริยาที่เขาแสดงออกก็ได้นะครับ เพราะคนที่รักกันมากๆ บางครั้งก็ชอบที่จะ กลั่นแกล้ง ยั่วยวนคนที่ตนรักมากกว่าปกติ หากเมื่อคุณพิจารณา และใช้สารพัดวิธีมาแก้ไขอาการของการผิดข้องหมองใจจนเหนื่อยอ่อนใจแล้ว แต่เธอทั้งหลาย ก็ยังจะนิยมยินดีที่จะจิกกันเสมอเมื่อเจอหน้า ผมเสนอว่าคุณ จงใช้อาการของการ ลงพรหมทัณฑ์ คือไม่ยอมส่งเสียงและอ้าปากพูด ไม่ส่งสายตาอันหวานซึ้ง ไม่ยิ้มให้ และจงพยายามไม่มองหน้า แต่แอบมองได้ ตามโอกาสที่เหมาะสม เอ้อ.........แล้วถ้าพวกเธอไม่ยอมเปลี่ยนแปลงจริงๆ แล้วดันจิกกันทั้งกลุ่มครบถ้วนทุกตัวคน เว้นคุณคนเดียว หากคุณต้องลงพรหมทัณฑ์แก่ทุกคนเช่นนั้น คุณไม่ต้องเหงาหงอยอยู่คนเดียวรึหวา ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | moddam [ 14 ต.ค. 2009, 12:18 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขอเรียนถามหลักธรรมที่ช่วยให้เพื่อนคืนดีกัน |
คนกลางต้อง ฉลาดพูดนิดนึง คุยกับเพื่อนทั้งสอง พร้อมกัน หรือ ทีละคน ก็ได้ เปิดใจพูดถึงสาเหตุ ค่อยพูดให้เพื่อนละบายความในใจออกมาให้หมด แล้วเราจะรู้ถึงสาเหตุ ของเรื่อง เมื่อรู้ถึงสาเหตุ แล้ว การแก้ปัญหาก็ง่ายขึ้นตามลำดับ พูดจี้ ให้เพื่อนทั้งสองเข้าใจถึง ความสูญเสีย ที่ร้ายแรงที่่สุด แล้วค่อย ๆปลอบใจเพื่อน ต้องใช้ถ่อยคำที่นุ่นนวลขึ้นกว่าตอนแรก ดูปฏิกิริยาของเพื่อน ว่าเปลี่ยนไปหรือไม่ แต่คนเป็นกลางต้องอดทนนะคร้าบ ต้องใช้ขันติมาก ต้องไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ชึ้โทษแล คุณให้มาก ๆ เพื่อนก็จะกลับมาเข้าใจกันเอง เป็นเรื่องธรรมชาติที่มีการทะเลาะกัน แล้วเดี๋ยวก็ดีกัน ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 14 ต.ค. 2009, 12:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขอเรียนถามหลักธรรมที่ช่วยให้เพื่อนคืนดีกัน |
ธรรมธิดา เขียน: เรียนกัลยาณมิตรที่เคารพ ขณะนี้เพื่อนในกลุ่มผิดใจกัน...มีการใช้วาทะโจมตีกันตลอดเวลา... อยากทราบว่า จะมีหลักธรรมใดช่วยเยียวยาให้เพื่อนๆของข้าพเจ้ากลับมาคืนดีกันได้บ้าง ขอบพระคุณอย่างสูง ด้วยความเคารพ ^_^ ต้องขจัด ความมีมานะ ถือตัว ฯ ต้องมีความรักใคร่ ปรารถนาให้ได้ดีพบสุข ต่อกันและกัน คือ "เมตตา" ต้องมีความสงสาร ปรารถนาให้พ้นจากทุกข์ ซึ่งกันและกัน คือ "กรุณา" ต้องมีความพลอยยินดี เมื่อเห็นความได้ดี ในกันและกัน คือ "มุทิตา" ต้องมีความบางเฉย เมื่อได้เห็นความไม่ชอบใจ ไม่ถูกใจ ในกันและกัน คือ "อุเบกขา" อ่านและทำความเข้าใจเพียงแค่ ไม่เกิน ๕ นาที รับรองทุกคนต้องดีกันได้ขอรับ |
เจ้าของ: | -dd- [ 14 ต.ค. 2009, 12:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขอเรียนถามหลักธรรมที่ช่วยให้เพื่อนคืนดีกัน |
ก่อนอื่นให้ท่านผู้ถามพิจารณาอย่างนี้ว่า ....ใครในโลกนี้จะมีสิทธิ์สอนใครได้กันเล่า?..... ท่านต้องได้คำตอบอยู่แล้วว่าไม่มีเลย..... การแนะนำจากคนอื่น ๆ นั้น...แม้แต่จากครูบาอาจารย์ หรือคนที่เป็นพ่อเป็นแม่...พวกเขาเหล่านั้นก็เพียงแต่ฝากเสียงให้เป็นปัจจัย ให้บุคคลที่ได้รับการแนะนำนั้นเกิดสติ ระลึกได้ถึงอะไรควรอะไรไม่ควร....เท่านั้น.....พึงทราบว่าผู้"ให้เสียง" นั้นไม่ได้สามารถทำการสอน แต่บุคคลผู้ที่ได้ยินนั้นต้องมีสติ มีปัญญาเกิดขึ้นจากเสียงนั้น....มาสอนตัวเองให้เป็น จึงเห็นคนมากมายในโลกนี้แม้กำลังได้ยินเสียงทั้งหลาย ที่พร่ำสอน แนะว่าอะไรควรอะไรไม่ควรอยู่อย่างนั้น.... แต่ทว่าใจเขากลับไม่น้อมมาที่จะฟัง ไม่น้อมมาเพื่อที่จะพิจารณา..... ก็เสียงนั้นเข้าหูซ้ายแล้วก็ไหลออกทางหูขวาของเขาเสียในคราวเดียวกันนั่น แหละ ในกรณีของเพื่อนท่านผู้ถาม เมื่อพิจารณาจากอัธยาศัยแล้วเขาแล้ว...... หากเขาเป็นผู้มากด้วยความเห็นผิดของเขาเอง.... เขาย่อมเห็นประโยชน์ก็สักแต่เพียงว่าตนเองสามารถได้ทำอะไรตามที่ชอบใจเท่า นั้น ....เขาไม่สนใจว่าเรื่องเหล่านั้นจะชอบธรรมหรือไม่... เป็นประโยชน์หรือไม่ใช่ประโยชน์...เขาไม่ได้พิจารณาอย่างนี้....เรื่องอย่างนี้.....อำนาจแห่งความพอใจนั้น ใครอื่นที่ไหนจะห้ามได้เล่า?... เพราะขณะที่กำลังกระทำอยู่ เขาย่อมเกิดความพอใจ ความมั่นใจในตนเองว่าเขานั้น "มีดี" มากกว่าคนอื่น...เขามีความสามารถ"ทำได้ยิ่ง" กว่าคนอื่น ก็คนที่มีความคิดเห็นอย่างนี้ เขาจะฟังใครที่ไหนกัน? ท่านผู้ถามเองเป็นผู้มีจิตใจดี คิดเป็นห่วงเพื่อน....ท่านคงจะทำการตักเตือนได้ในฐานะเพื่อนเท่านั้น แต่อย่าไปคาดหวังว่าเขาจะฟังท่าน หรือแม้แต่อาจจะมีคำกล่าวใด ๆ ที่ล่วงเกินจาบจ้วงเอาแก่ท่านได้... เพราะเขาอาจจะคิดอย่างนี้ว่า....นี่เป็นชีวิตของเขา เป็นเรื่องส่วนตัวของเขา คนอื่นจะมาเดือดร้อนทำไมกัน? หากพบกับผลอย่างนี้ ถ้าท่านผู้ถามไม่เตรียมใจไว้ก่อน...ความกรุณาของท่านนั้น ย่อมถูกโทสะเกิดขึ้นมาเบียดเบียนได้ ....การทำบุญของท่านย่อมปนไปกับบาป .....กรุณาแล้วก็เกิดความเสียใจ เพราะผู้รับไม่ยอมรับในความกรุณานั้นอีกทั้งยังดูแคลนผู้ให้เสียอีกด้วย หากเห็นแก่ประโยชน์เพื่อนจริง ๆ แม้ตักเตือนแล้ว แนะนำแล้วเขาไม่ฟัง ไม่สนใจและดูแคลนต่อท่าน.... ท่านก็จะยอมรับ....หากวางใจอย่างนี้ได้ ก็สามารถแนะนำได้..... หากเขาดูแล้วทอดทิ้งไปเสีย ก็จงอุเบกขาว่ากรรมนั้นเป็นของสัตว์ ...เพราะกิเลสที่หนาแน่นของเขาย่อมปิดบังเสียซึ่งดวงตา ดี ทำให้มองไม่เห็นในสิ่งที่ควรเห็น.... เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วก็ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของกรรมนั่นแหละ ท่านผู้ถามเมื่อเห็นความเป็นไปอย่างนี้ ก็พึงสลดใจในกิเลสทั้งหลายที่หาความปราณีต่อสัตว์ไม่ได้เลย.... แม้พวกเราทั้งหลายก็ยังอยู่ในความประมาทเป็นอันมาก เพียงแต่กิเลสยังไม่ได้ปัจจัยมากพอที่จะบีบคั้นให้พวกเราบางคนต้องถึงคราว ตั้งอยู่ในคุณความดีไม่ได้....เท่านั้นเอง |
เจ้าของ: | กุหลาบสีชา [ 14 ต.ค. 2009, 13:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขอเรียนถามหลักธรรมที่ช่วยให้เพื่อนคืนดีกัน |
ธรรมสวัสดียามบ่ายค่ะ คุณน้องธรรมธิดา ![]() เราควรพิจารณาตนเองก่อนว่า ตนเองเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความบาดหมางระหว่างหมู่เพื่อนหรือไม่ หากพิจารณาโดยปราศจากอคติแล้วพบว่า น่าจะมีเหตุมาจากผู้อื่น ก็ลองปฏิบัติตามคำแนะนำของพื่อนสมาชิกทุกท่านที่แนะนำมา ![]() ![]() ![]() แต่ค่อนข้างเห็นด้วยกับความเห็นของ คุณ -dd- นะคะที่กล่าวว่า -dd- เขียน: ก่อนอื่นให้ท่านผู้ถามพิจารณาอย่างนี้ว่า ....ใครในโลกนี้จะมีสิทธิ์สอนใครได้กันเล่า?..... ท่านต้องได้คำตอบอยู่แล้วว่าไม่มีเลย..... การแนะนำจากคนอื่น ๆ นั้น...แม้แต่จากครูบาอาจารย์ หรือคนที่เป็นพ่อเป็นแม่...พวกเขาเหล่านั้นก็เพียงแต่ฝากเสียงให้เป็นปัจจัย ให้บุคคลที่ได้รับการแนะนำนั้นเกิดสติ ระลึกได้ถึงอะไรควรอะไรไม่ควร....เท่านั้น.....พึงทราบว่าผู้"ให้เสียง" นั้นไม่ได้สามารถทำการสอน แต่บุคคลผู้ที่ได้ยินนั้นต้องมีสติ มีปัญญาเกิดขึ้นจากเสียงนั้น....มาสอนตัวเองให้เป็น จึงเห็นคนมากมายในโลกนี้แม้กำลังได้ยินเสียงทั้งหลาย ที่พร่ำสอน แนะว่าอะไรควรอะไรไม่ควรอยู่อย่างนั้น.... แต่ทว่าใจเขากลับไม่น้อมมาที่จะฟัง ไม่น้อมมาเพื่อที่จะพิจารณา..... ก็เสียงนั้นเข้าหูซ้ายแล้วก็ไหลออกทางหูขวาของเขาเสียในคราวเดียวกันนั่น แหละ ในกรณีของเพื่อนท่านผู้ถาม เมื่อพิจารณาจากอัธยาศัยแล้วเขาแล้ว...... หากเขาเป็นผู้มากด้วยความเห็นผิดของเขาเอง.... เขาย่อมเห็นประโยชน์ก็สักแต่เพียงว่าตนเองสามารถได้ทำอะไรตามที่ชอบใจเท่า นั้น ....เขาไม่สนใจว่าเรื่องเหล่านั้นจะชอบธรรมหรือไม่... เป็นประโยชน์หรือไม่ใช่ประโยชน์...เขาไม่ได้พิจารณาอย่างนี้....เรื่องอย่างนี้.....อำนาจแห่งความพอใจนั้น ใครอื่นที่ไหนจะห้ามได้เล่า?... เพราะขณะที่กำลังกระทำอยู่ เขาย่อมเกิดความพอใจ ความมั่นใจในตนเองว่าเขานั้น "มีดี" มากกว่าคนอื่น...เขามีความสามารถ"ทำได้ยิ่ง" กว่าคนอื่น ก็คนที่มีความคิดเห็นอย่างนี้ เขาจะฟังใครที่ไหนกัน? ท่านผู้ถามเองเป็นผู้มีจิตใจดี คิดเป็นห่วงเพื่อน....ท่านคงจะทำการตักเตือนได้ในฐานะเพื่อนเท่านั้น แต่อย่าไปคาดหวังว่าเขาจะฟังท่าน หรือแม้แต่อาจจะมีคำกล่าวใด ๆ ที่ล่วงเกินจาบจ้วงเอาแก่ท่านได้... เพราะเขาอาจจะคิดอย่างนี้ว่า....นี่เป็นชีวิตของเขา เป็นเรื่องส่วนตัวของเขา คนอื่นจะมาเดือดร้อนทำไมกัน? หากพบกับผลอย่างนี้ ถ้าท่านผู้ถามไม่เตรียมใจไว้ก่อน...ความกรุณาของท่านนั้น ย่อมถูกโทสะเกิดขึ้นมาเบียดเบียนได้ ....การทำบุญของท่านย่อมปนไปกับบาป .....กรุณาแล้วก็เกิดความเสียใจ เพราะผู้รับไม่ยอมรับในความกรุณานั้นอีกทั้งยังดูแคลนผู้ให้เสียอีกด้วย หากเห็นแก่ประโยชน์เพื่อนจริง ๆ แม้ตักเตือนแล้ว แนะนำแล้วเขาไม่ฟัง ไม่สนใจและดูแคลนต่อท่าน.... ท่านก็จะยอมรับ....หากวางใจอย่างนี้ได้ ก็สามารถแนะนำได้..... หากเขาดูแล้วทอดทิ้งไปเสีย ก็จงอุเบกขาว่ากรรมนั้นเป็นของสัตว์ ...เพราะกิเลสที่หนาแน่นของเขาย่อมปิดบังเสียซึ่งดวงตา ดี ทำให้มองไม่เห็นในสิ่งที่ควรเห็น.... เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วก็ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของกรรมนั่นแหละ ท่านผู้ถามเมื่อเห็นความเป็นไปอย่างนี้ ก็พึงสลดใจในกิเลสทั้งหลายที่หาความปราณีต่อสัตว์ไม่ได้เลย.... แม้พวกเราทั้งหลายก็ยังอยู่ในความประมาทเป็นอันมาก เพียงแต่กิเลสยังไม่ได้ปัจจัยมากพอที่จะบีบคั้นให้พวกเราบางคนต้องถึงคราว ตั้งอยู่ในคุณความดีไม่ได้....เท่านั้นเอง ก่อนอื่นให้ท่านผู้ถามพิจารณาอย่างนี้ว่า ....ใครในโลกนี้จะมีสิทธิ์สอนใครได้กันเล่า?..... ท่านต้องได้คำตอบอยู่แล้วว่าไม่มีเลย..... การแนะนำจากคนอื่น ๆ นั้น...แม้แต่จากครูบาอาจารย์ หรือคนที่เป็นพ่อเป็นแม่...พวกเขาเหล่านั้นก็เพียงแต่ฝากเสียงให้เป็นปัจจัย ให้บุคคลที่ได้รับการแนะนำนั้นเกิดสติ ระลึกได้ถึงอะไรควรอะไรไม่ควร....เท่านั้น.....พึงทราบว่าผู้"ให้เสียง" นั้นไม่ได้สามารถทำการสอน แต่บุคคลผู้ที่ได้ยินนั้นต้องมีสติ มีปัญญาเกิดขึ้นจากเสียงนั้น....มาสอนตัวเองให้เป็น จึงเห็นคนมากมายในโลกนี้แม้กำลังได้ยินเสียงทั้งหลาย ที่พร่ำสอน แนะว่าอะไรควรอะไรไม่ควรอยู่อย่างนั้น.... แต่ทว่าใจเขากลับไม่น้อมมาที่จะฟัง ไม่น้อมมาเพื่อที่จะพิจารณา..... ก็เสียงนั้นเข้าหูซ้ายแล้วก็ไหลออกทางหูขวาของเขาเสียในคราวเดียวกันนั่น แหละ ในกรณีของเพื่อนท่านผู้ถาม เมื่อพิจารณาจากอัธยาศัยแล้วเขาแล้ว...... หากเขาเป็นผู้มากด้วยความเห็นผิดของเขาเอง.... เขาย่อมเห็นประโยชน์ก็สักแต่เพียงว่าตนเองสามารถได้ทำอะไรตามที่ชอบใจเท่า นั้น ....เขาไม่สนใจว่าเรื่องเหล่านั้นจะชอบธรรมหรือไม่... เป็นประโยชน์หรือไม่ใช่ประโยชน์...เขาไม่ได้พิจารณาอย่างนี้....เรื่องอย่างนี้.....อำนาจแห่งความพอใจนั้น ใครอื่นที่ไหนจะห้ามได้เล่า?... เพราะขณะที่กำลังกระทำอยู่ เขาย่อมเกิดความพอใจ ความมั่นใจในตนเองว่าเขานั้น "มีดี" มากกว่าคนอื่น...เขามีความสามารถ"ทำได้ยิ่ง" กว่าคนอื่น ก็คนที่มีความคิดเห็นอย่างนี้ เขาจะฟังใครที่ไหนกัน? ท่านผู้ถามเองเป็นผู้มีจิตใจดี คิดเป็นห่วงเพื่อน....ท่านคงจะทำการตักเตือนได้ในฐานะเพื่อนเท่านั้น แต่อย่าไปคาดหวังว่าเขาจะฟังท่าน หรือแม้แต่อาจจะมีคำกล่าวใด ๆ ที่ล่วงเกินจาบจ้วงเอาแก่ท่านได้... เพราะเขาอาจจะคิดอย่างนี้ว่า....นี่เป็นชีวิตของเขา เป็นเรื่องส่วนตัวของเขา คนอื่นจะมาเดือดร้อนทำไมกัน? หากพบกับผลอย่างนี้ ถ้าท่านผู้ถามไม่เตรียมใจไว้ก่อน...ความกรุณาของท่านนั้น ย่อมถูกโทสะเกิดขึ้นมาเบียดเบียนได้ ....การทำบุญของท่านย่อมปนไปกับบาป .....กรุณาแล้วก็เกิดความเสียใจ เพราะผู้รับไม่ยอมรับในความกรุณานั้นอีกทั้งยังดูแคลนผู้ให้เสียอีกด้วย หากเห็นแก่ประโยชน์เพื่อนจริง ๆ แม้ตักเตือนแล้ว แนะนำแล้วเขาไม่ฟัง ไม่สนใจและดูแคลนต่อท่าน.... ท่านก็จะยอมรับ....หากวางใจอย่างนี้ได้ ก็สามารถแนะนำได้..... หากเขาดูแล้วทอดทิ้งไปเสีย ก็จงอุเบกขาว่ากรรมนั้นเป็นของสัตว์ ...เพราะกิเลสที่หนาแน่นของเขาย่อมปิดบังเสียซึ่งดวงตา ดี ทำให้มองไม่เห็นในสิ่งที่ควรเห็น.... เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วก็ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของกรรมนั่นแหละ ท่านผู้ถามเมื่อเห็นความเป็นไปอย่างนี้ ก็พึงสลดใจในกิเลสทั้งหลายที่หาความปราณีต่อสัตว์ไม่ได้เลย.... แม้พวกเราทั้งหลายก็ยังอยู่ในความประมาทเป็นอันมาก เพียงแต่กิเลสยังไม่ได้ปัจจัยมากพอที่จะบีบคั้นให้พวกเราบางคนต้องถึงคราว ตั้งอยู่ในคุณความดีไม่ได้....เท่านั้นเอง ![]() ![]() ![]() ดังนั้นหากตักเตือน แนะนำกันแล้ว..ไม่ฟัง ก็อาจต้องเปลี่ยนวิธีการบอก คือ ทำสิ่งดีดีให้ดูเป็นตัวอย่าง เพราะ "การกระทำ...เสียงดังกว่า....คำพูด" ![]() ![]() ![]() อย่างไรก็ตามขออนุญาตแนะนำเพิ่มเติมว่า.... ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสหลักธรรมอันจะเป็นแนวทาง ในการเสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมเอาไว้ ๖ ประการด้วยกัน ซึ่งอยู่ในหมวดธรรมที่เรียกว่า "สาราณียธรรม ๖ " ซึ่งมีความหมายว่า หลักธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นหลักธรรมที่จะเสริมสร้างความรู้สึกที่ดี ให้เกิดขึ้นต่อกันและกันอยู่เสมอในยามที่ระลึกถึงกัน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสามัคคี มีน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้นด้วย หากสังคมใดต้องการที่จะเสริมสร้างความสามัคคี และความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้น ก็ควรที่จะต้องนำเอาหลักธรรมธรรมทั้ง ๖ ประการ ไปใช้อยู่ตลอดเวลา ![]() ![]() ![]() ลองติดตามจากกระทู้นี้เพิ่มเติมดูนะคะ ![]() ส า ร า ณี ย า ธ ร ร ม ๖ : หลักแห่งความสามัคคี ![]() viewtopic.php?f=7&t=21621 |
เจ้าของ: | natdanai [ 15 ต.ค. 2009, 14:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขอเรียนถามหลักธรรมที่ช่วยให้เพื่อนคืนดีกัน |
ท่านควรช่วยตัวเองก่อนครับ...หากยังช่วยตัวเองไม่ได้แล้วจะไปช่วยเพื่อนได้อย่างไรเล่า ![]() ทุกข์ใกล้ตัวต้องเห็นก่อนครับ ไม่รู้เรา ก็ไม่มีทางรู้เขา รบเมื่อไหร่ก็แพ้ แต่หากรู้เรา รู้เขา ล่ะก็ ร้อยรบบ่พ่าย |
เจ้าของ: | Paris [ 16 ต.ค. 2009, 10:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ขอเรียนถามหลักธรรมที่ช่วยให้เพื่อนคืนดีกัน |
ยากนะคะถ้าสมมติว่าเพื่อนคุณรู้สึกไม่ดีกระทั่งเกลียดไปแล้ว ของแบบนี้ต้องใช้เวลาค่ะ เวลาจะทำให้เรื่องราวแย่ๆหายไป ดิฉันก็ประสบกับตัวเองมาก่อน โดนเพื่อนที่สนิทมากที่สุดหักหลังค่ะ ทำให้เกลียดเพื่อนคนนี้มากๆ ตอนนี้ดิฉันก็ออกจากกลุ่มแล้วและไม่คุยกับเพื่อนคนนี้ตลอดมาเลยค่ะ คือถ้าเพื่อนคนไหนไม่ดีเราก็คงต้องเลิกคบแหละค่ะ แต่ถ้าเพื่อนเขามาขอโทษเราก็คงต้องให้อภัย ตอนนี้เพื่อนดิฉันคนนี้ก็ได้รับผลกรรมที่ทำไว้แล้วค่ะ คือเพื่อนในกลุ่มไม่มีใครคุยด้วย เธอเลยต้องออกจากกลุ่มค่ะ และก็ทำให้มีเรื่องบาดหมางกับคนรักและเพื่อนด้วยค่ะ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |