วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 05:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 143 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2009, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณผู้ใช้ชื่อว่า "sabye" ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เล่าเรียนจากพระไตรปิฎกโดยตรง เพิ่งมาเริ่มอ่าน เมื่อไม่กี่วันมานี้เอง ศึกษาได้ขอรับ ข้าพเจ้า download พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทานจาก www.84000.org เขาให้ฟรีขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 20:05
โพสต์: 60

แนวปฏิบัติ: พิจารณา......
ชื่อเล่น: ดุ๊กดิ๊กๆ
อายุ: 24
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


Buddha เขียน:
คุณผู้ใช้ชื่อว่า "sabye" ข้าพเจ้าก็ไม่ได้เล่าเรียนจากพระไตรปิฎกโดยตรง เพิ่งมาเริ่มอ่าน เมื่อไม่กี่วันมานี้เอง ศึกษาได้ขอรับ ข้าพเจ้า download พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทานจาก http://www.84000.org เขาให้ฟรีขอรับ


ถึงท่านอาจารย์บุดดาผู้มีมหาพญานาคพันคอ อันแสดงถึงอภิมหาบุญญาธิการ โดยเฉพาะ

ขอบพระคุณที่แนะนำครับ ท่านบุดดา
อนุโมทนาแก่ท่านบุดดาที่มีความเมตตาบอกกล่าวเรื่องพระไตรปิฏกแก่กระผมครับ

เรียนเชิญ ท่านอาจารย์บุดดา ดาวน์โหลด พระไตรปิฎกฉบับสภาวะลงในฮาร์ดดิสก์ของท่านอาจารย์เองด้วยนะครับ แต่กระผมเห็นว่าในอินเตอร์เน็ตไม่น่าจะมีให้โหลดลงฮาร์ดดิสก์ของท่านได้ แต่ท่านสามารถโหลดลงได้จากพระไตรปิฏกทุกฉบับขอรับ เมื่อโหลดลงแล้วกรุณาทำการฟอร์แมทฮาร์ดดิสของท่านเองอีกครั้ง แล้วทำการดาวน์โหลดสภาวะธรรมได้ใหม่จากพระไตรปิฎกฉบับจริง:b8: :b8: :b8:

คำแนะนำ อย่าใช้คอมพิวเตอร์ในการกระทำการนะขอรับ

ขอบพระคุณที่ท่านอาจารย์บุดดารับฟังกระผมครับ
smiley smiley smiley


แก้ไขล่าสุดโดย sabye เมื่อ 19 พ.ย. 2009, 22:32, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 12:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
เรียนเชิญพักผ่อนคลายเครียดอ่านเรื่องย่อตรงนี้ก่อนเจ้าค่ะ
:b12: :b32:

พระแม่ย่ากัลปพฤกษ์ – เจ้าแห่งป่า
พระแม่ย่ากาขาว – เจ้าแห่งจักรวาล
:b16:

:b20: พระแม่ย่ากัลปพฤกษ์ หรือพระแม่ย่ากาขาว พุทธมารดาของ 5 มหาโพธิสัตว์ :b20:

...เขาเล่ากันว่าในยุคต้นของโลกธาตุ ณ ป่าหิมพานต์ มีพญากาขาวเผือกผู้เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรของหมู่สัตว์น้อยใหญ่ 2 ตัวผัวเมียอยู่กินกันมาอย่างสงบร่มเย็น ท่ามกลางมวลหมู่สัตว์นานาพันธุ์ ซึ่งมีจิตทิพย์ จิตประเสริฐ ก็มารวมอยู่ในอาณาจักรเดียวกัน ...เนื่องจากพญากาขาวเผือกทั้งสองเป็นผู้ที่มีปัญญาญาณจึงชอบที่จะศึกษาเรียนรู้ พินิจพิจารณาสิ่งรอบตัวอยู่เนืองนิตย์...

...เมื่อมีโอกาสก็จะสื่อสารพูดคุยกับอทิสสมานกายของเหล่าเทพบุตรเทพธิดา เหล่าเทพอัปสร ซึ่งแอบลงมาเที่ยวแสวงหาความสุขสำราญ ณ โลกธาตุ ซึ่งโลกธาตุยามนั้นมีสรรพสัตว์และพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ยังไม่มีธาตุ 4 ขันธ์ 5 ของความเป็นมนุษย์เกิดขึ้น...

...คงมีแต่สภาวะของกายทิพย์ที่ใสเป็นแก้วของเหล่าเทพพรหมเทวาเท่านั้น...ซึ่งชอบหนีลงมาเที่ยวบนโลกธาตุ...
เพราะถือว่าโลกธาตุเป็นของแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นจากเดิมที่หมุนด้วยความเร็วสูงจากลูกไฟดวงใหญ่ ซึ่งเคยลุกโชติช่วงส่องแสงสว่างอันเจิดจ้าไปทั่วสรวงสวรรค์และอนันตจักรวาลกว้างไกล...


...เมื่อโลกเย็นตัวลง...เปลวไฟก็ดับลงทำให้เกิดสภาวะแปรปรวนของธรรมชาติโดยรอบ...เหล่าเทพพรหมเทวาได้แต่จ้องมองโลกธาตุอยู่ห่างๆ ไม่กล้าลงมาเที่ยวชม แต่ภายในจิต เจตสิกนั้นกลับสะสมความไม่รู้(อวิชชา) สงสัยว่าโลกธาตุที่เคยลุกโชติช่วงจึงแปรสภาพดับตัวลงช้าๆ พร้อมเกิดปรากฏการณ์วิปริตเกิดฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าบ่อยๆ ...

...เมื่อโลกธาตุปรับเข้าสู่ความสงบภายในห้วงจักรวาล...ก็ปรับตัวเข้าสู่ภาวะเขียวชอุ่มของพฤกษานานาเจริญงอกงามบนผิวเปลือกโลก...เริ่มมีน้ำขัง...สิ่งมีชีวิตเล็กในรูปอณูของจิต(จุลินทรีย์ ฯลฯ) ค่อยๆเติบโต ขยายพันธุ์ออกไปเรื่อยๆ ยาวนาน 1,000,000ปี...เหล่าเทพพรหมเทวาจึงเริ่มอยากลงมาสัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่...

:b12: จิต เจตสิกคืออะไร

ต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของการสนทนาของพระแม่ย่ากาขาวแลกเปลี่ยน “ตัวรู้” กับเทวดา
:b16:

แม่กาขาว : จิต เจตสิกคืออะไร
เทวดา : ก็คือ รูป นาม สัญญา ของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเกิดการแปรปรวนจนทำให้สภาวธาตุทั้งสี่เกิดการเสียดสีเป็นระยะเวลานานๆ จนทำให้ธาตุแต่ละชนิดเกิดสัญญาในการจำได้หมายรู้ขึ้น เมื่อตัวรู้เกิดภายในธาตุบ่อยๆ เข้าทำให้เกิดรูป นาม หรือจิตขึ้นภายในมวลธาตุเหล่านั้น
:b1:
แม่กาขาว : ถ้าอย่างนั้น จิต เจตสิก ก็คือตัวรู้
เทวดา : จิต เจตสิก ก็คือตัวกำหนดรู้ สำหรับตัวรู้ก็คือจุดในศูนย์ หรือความว่างเปล่า “สูญญาณัง” ก็คือสภาวะของจิตที่สูญสิ้นไปจากสภาวะทั้งปวงคงเหลืออยู่เฉพาะตัวรู้ ในทางการฝึกฝนปฏิบัติต่อจิตเขาเรียกว่าอรหันต์ หรืออรหัตมรรค อรหัตผล ทั้งมรรคทั้งผลเกิดจากการเข้าไปกำหนดรู้ของจิต เจตสิก
:b13:
แม่กาขาว : ทำอย่างไรถึงเกิดตัวรู้ได้
เทวดา : ตัวรู้ เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เพราะต้องทำจิต เจตสิกให้กลายเป็นศูนย์กลาง เมื่อจิต เจตสิกกลายเป็นศูนย์ก็จะเกิดเป็นธาตุไฟ สอดแทรกอยู่ระหว่างช่องว่างของจิต เจตสิก เพราะไฟคือ สภาวะของการเผาไหม้ไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นศูนย์ ไม่มีธาตุ ไม่มีขันธ์ใดๆ หลงเหลืออยู่เลย มีแต่แสงสว่างของตัวรู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
:b20:
แม่กาขาว : ไฟก็คือตัวรู้เฉยๆ แล้วมันทำไมถึงมีเปลวไฟและความเร่าร้อนขึ้นมาได้
เทวดา : เขาเรียกว่าเปลวไฟ ซึ่งเกิดจากตัวรู้ว่า “รัศมี” ทำให้เกิดแสง สามารถที่จะส่องแสงในตัวเองได้ เรียกกันว่า รัศมีแห่งกาย ซึ่งจิต เจตสิกจะวิ่งวนอยู่รอบๆ ของตัวรู้อีกทีหนึ่งเขาจึงเรียกว่าจิต เจตสิกว่าจุดในศูนย์ ทำให้เกิดตัวรู้(วิชชา)กับตัวไม่รู้(อวิชชา) ขึ้นภายในรูปนามของสรรพสิ่ง
:b6:
แม่กาขาว : อย่างไรคือตัวรู้ อย่างใดคือตัวไม่รู้
เทวดา : ไฟคือตัวรู้ หมายถึงศูนย์ จิต เจตสิกคือตัวไม่รู้ เพราะจิต เจตสิก กำลังหาทางแห่งมรรคผลอยู่
:b11:
แม่กาขาว : สิ่งใดคือแนวทางแห่งมรรคผลของจิต
เทวดา : ถ้าจิตและรูปนามต่างๆ ผ่านการเรียนรู้จนเกิดความรอบรู้หรือตัวรู้ขึ้น จิต เจตสิกของความไม่รู้ก็จะหลุดออกไปที่เราเรียกว่า “วิญญาณ” รูปนามก็จะแตกสลาย ความไม่รู้ก็จะดับไปเหลือแต่ทาง ก็คือมรรค มรรคก็คือความไม่รู้ ซึ่งต้องอาศัยทางจึงจะเกิดมรรคผล เกิดตัวรู้ขึ้นมาได้
:b6:
แม่กาขาว : มรรค คือ ตัวไม่รู้
เทวดา : มรรค คือ ตัวไม่รู้ ทางเป็นเครื่องนำพามรรคไปสู่ตัวรู้
:b19:
แม่กาขาว : อ๋อ....มรรค คือ ตัวไม่รู้ มรรคก็คือทางที่จะต้องเดินต่อไป
เทวดา : ทั้งมรรคทั้งผลก็คือ ลูกดินกับลูกไฟ
:b3:
แม่กาขาว : อรหันต์ก็คือตัวรู้ ก็คือลูกไฟ กำลังเผาไหม้ความไม่รู้ให้หมดไปกลายเป็นศูนย์ ส่วนอรหันต์ก็คือตัวรู้และไม่รู้
เทวดา : ทั้งลูกดินและลูกไฟ ซึ่งได้ผ่านการศึกษาเรียนรู้ท่องไปในวัฏสงสาร จนเกิดการทำลายธาตุขันธ์ก็จะกลายเป็นอรหัตมรรค อรหัตผล มันก็จะพุ่งไปอยู่ในห้วงของอนันตจักรวาล มันจะพุ่งตัวมารวมอยู่ด้วยกันกลายเป็นสภาวะของความอิสระตัวใครตัวมัน
:b10:
แม่กาขาว : แล้วลูกดินกับลูกไฟ เขาจะสู่อนันตจักรวาลได้อย่างไร
เทวดา : เขาก็ออกไปทางช่องว่างของแกนหมุน ออกไปกับแรงดึงดูดของอุณหภูมิร้อนเย็น เมื่อเข้าสู่ระบบของอนันตจักรวาลได้แล้ว เขาจะเป็นอิสระตัวใครตัวมัน ทางใครทางมัน กลายเป็นตัวรู้กับตัวไม่รู้
:b27:
แม่กาขาว : ถ้าอย่างนั้นลูกดินกับลูกไฟก็คือ ตัวรู้
เทวดา : ลูกไฟ คือตัวรู้กำลังเดินไปในเส้นทางของตัวรู้ ลูกดินก็คือจิต เจตสิกมีทั้งตัวรู้กับตัวไม่รู้ ต้องอยู่รวมกันถึงจะเกิดตัวรู้ขึ้นมาได้
:b16: :b12: :b20:

:b12: คงพอมีสาระให้คบคิดกันเล่นๆไปพลางๆนะเจ้าคะ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศัพท์ที่ท่านใช้เรียกนิพพาน คัดมาพอให้เห็นเค้า

-อกัณหอสุกกะ- ไม่ดำไม่ขาว (ไม่จำกัดชั้น วรรณะ ไม่เป็นบุญเป็นบาป)

-อกตะ- ไม่มีใครสร้าง

-อกิญจนะ-ไม่มีอะไรค้างใจ ไร้กังวล

-อกุโตภัย-ไม่มีภัยแต่ที่ไหน

-อัจจุตะ- ไม่เคลื่อน ไม่ต้องจากไป

-อัจฉริยะ- อัศจรรย์

-อชระ - อชัชชระ- ไม่แก่ ไม่คร่ำคร่า

-อชาตะ- ไม่เกิด

-อนตะ-ไม่โอนเอนไป ไม่มีตัณหา

-อนันต์ -ไมมีที่สุด

-อนาทาน-ไม่มีการถือมั่น

-อนาลัย-ไม่มีอาลัย ไม่มีความติด

-อนาสวะ-ไม่มีอาสวะ

-อนิทัสสนะ-ไม่เห็นด้วยตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-อนีติกะ –ไม่มีสิ่งเป็นอันตราย

-อนุตตระ-ไม่มีอะไรยิ่งกว่า ยอดเยี่ยม

-อภยะ-ไม่มีภัย

-อมตะ-ไม่ตาย

-อโมสธรรม-ไม่เสื่อมสูญ

-อัพภูตะ-ไม่เคยมีไม่เคยเป็น น่าอัศจรรย์

-อัพยาธิ-ไม่มีโรคเบียดเบียน

-อัพยาปัชฌะ-ไม่มีความเบียดเบียน

-อภูตะ-ไม่กลายไป

-อสังกิลิฏฐะ-ไม่เศร้าหมอง

-อสังกุปปะ-ไม่หวั่นไหว ไม่โยกคลอน

-อสังขตะ-ไม่ถูกปรุงแต่ง

-อโสกะ- ไม่มีความโศก

-อาโรคยะ-ไม่มีโรค สุขภาพสมบูรณ์

-อิสสริยะ-อิสรภาพ ความเป็นใหญ่ในตัว

-เขมะ-เกษม ปลอดภัย

-ตัณหักขยะ-ภาวะสิ้นตัณหา

-ตาณะ-เครื่องต้านทาน ที่คุ้มภัย

-ทีปะ- เกาะ ที่พึ่ง

-ทุกขักขยะ- ภาวะสิ้นทุกข์

-ทุททสะ- เห็นได้ยาก

-ธุวะ- ยั่งยืน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


-นิปปปัญจะ – ไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้า ไม่มีปปัญจะ

-นิพพาน-ความดับกิเลสและกองทุกข์

-นิพพุติ-ความดับเข็ญเย็นใจ

-นิโรธ- ความดับทุกข์

-บรมสัจจ์- ความจริงอย่างยิ่ง สัจจะสูงสุด

-ปณีตะ-ประณีต

-ปรมัตถ์- ประโยชน์สูงสุด

-ปรมสุข –บรมสุข สุขอย่างยิ่ง

-ปรายนะ-ที่ไปข้างหน้า ที่หมาย

-ปัสสัทธิ-ความสงบระงับ สงบเยือกเย็น

-ปาระ-ฝั่ง ที่หมายอันปลอดภัย

-มุตติ- ความพ้น หลุดรอด

-โมกขะ – ความพ้นไปได้

-โยคักเขมะ-ธรรมอันเกษมจากโยคะ

-วิมุตติ-ความหลุดพ้น เป็นอิสระ

-วิโมกข์-ความหลุดพ้น

-วิรชะ-ไม่มีธุลี

-วิราคะ-ความจากคลายหายติด

-วิสุทธิ-ความบริสุทธิ์ หมดจด

-สัจจะ-ความจริง

-สันตะ- สงบ ระงับ

-สันติ-ความสงบ

-สรณะ-ที่พึ่ง ที่ระลึก

-สิวะ-แสนเกษมสำราญ

-สุทธิ-ความบริสุทธิ์ สะอาด

สุทุททสะ- เห็นได้ยากยิ่งนัก

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์ ชั้นอรรถาอธิบายและและคัมภีร์ที่เป็นสาวกภาษิต

(เช่น นิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค เถรคาถา เถรีคาถา อปทาน) ตลอด มาจนถึงคัมภีร์รุ่นหลังๆ เช่น

อภิธานัปปทีปิกา ยังกล่าวถึงหรือจัดคำเข้า มาแสดงความหมายของนิพพานอีกเป็นมาก เช่น


-อักขระ-ไม่รู้จักสิ้น ไม่พินาศ

-อจละ-ไม่หวั่นไหว

อนารัมมณะ-ไม่ต้องอาศัยสิ่งยึดหมาย

อนุปปาทะ-ความไม่เกิด

-อปวัคคะ-ปราศจากสังขาร พ้นสิ้นเชิง

-อมรณะ-ไม่ตาย

-อรูปะ-ไม่มีรูป ไม่มีทรวดทรงสัณฐาน

-อสัมพาธะ-ไม่คับแคบ ไม่ข้องขัด

-เกวละ –ไม่กลั้วระคน สมบูรณ์ในตัว, ไกวัลย์ (สันสกฤต)

-นิจจะ-เที่ยง แน่นอน

-ปฏิปัสสัทธิ-ความสงบรำงับ เยือกเย็น

-ปทะ –ที่พึงถึง จุดหมาย

-ประ-ภาวะตรงข้าม ภาวะยอดยิ่ง

-ปริโยสาน-จุดสุดท้าย จุดหมาย

-วูปสมะ-ความเข้าไปสงบ

-วิวัฏฏ์ –ภาวะพ้นวัฏฏะ ปราศจากวัฏฏะ

ฯลฯ

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

-เกวละ สันสกฤต เป็นไกวัลย์ เป็นคำแสดงจุดหมายสูงสุด ที่ใช้ในศาสนาเชน (ไชนะของนิครนถ์)

ส่วนทางฝ่ายพุทธศาสนา ในชั้นบาลียังไม่พบใช้คำนี้หมายถึงนิพพานโดยตรง เป็นแต่เรียกผู้บรรลุนิพพานว่า

เกวลี บ้าง เกพลี บ้าง หลายแห่ง เช่น

สํ.ส.15/656/245 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ธ.ค. 2009, 18:49, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดาคำทั้งหมดเหล่านี้ บางคำก็ถือได้ว่ามีความสำคัญมาก เพราะใช้

เป็นคำแทนหรือคำแสดงอรรถของนิพพานอยู่เสมอ เช่น อสังขตะ

นิโรธ วิมุตติ วิราคะ สันตะ หรือสันติ เป็นต้น

แต่อีกหลายคำมีที่ใช้น้อยเหลือเกิน บางคำมีที่ใช้แห่งเดียว บางคำใช้บ้างสองสามแห่ง

จึงไม่ควรถือเป็นสำคัญนัก นำมาลงไว้เพียงเพื่อประกอบความรู้ เพราะอาจช่วยเป็นแนวความเข้าเพิ่มขึ้นบ้าง

แม้คำแปลที่

ให้ไว้ก็พอให้จับความหมายได้บ้างเท่านั้น ไม่อาจให้อรรถรสลึกซึ้งสมบูรณ์ เพราะขาดข้อความแวดล้อม

ที่จะช่วยเสริมความเข้าใจ และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ หลายศัพท์เป็นคำพูดที่คุ้นหูคุ้นปากของคนเฉพาะยุคสมัย

และถิ่นฐานหรือชุมชนนั้นๆ เกี่ยวด้วยสิ่งทีเขานิยม หรือลัทธิศาสนาที่เขาเชื่อถือ ซึ่งเมื่อกล่าวขึ้นมาชนพวกนั้น

ย่อมซาบซึ้งเป็นอย่างดี

บางทีพระพุทธเจ้าทรงนำเอาคำนั้นๆมาใช้เรียกนิพพาน เพียงเพื่อเป็นสื่อเชื่อมโยงความคิดกับคนเหล่านั้น

แล้วนำเอาความหมายใหม่ตามแนวพุทธธรรมใส่เข้าไปแทน คำเช่นนี้ คนที่นอกยุคสมันนอกถิ่นฐานชุมชนนั้น

ย่อมไม่อาจซึมทราบ ในความหมายเดิมได้โดยสมบูรณ์

คำแปลตามรูปศัพท์อย่างที่ให้ไว้ดังกล่าว คงจะช่วยความเข้าใจได้ เพียงเล็กน้อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 143 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 146 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร