วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 08:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเชิญศึกษาธรรมปฏิบัติ และดาวน์โหลดธรรมะ
โดย หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
วัดร่มโพธิธรรม บ้านหลัก 160 ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย

http://www.rombodhidharma.com/


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 07 พ.ย. 2009, 19:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2009, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
วัดร่มโพธิธรรม
ต.หนองหิน กิ่ง อ.หนองหิน จ.เลย




พระแท้

“พระแท้” ในที่นี้หมายถึง พระอนิจจัง พระทุกขัง พระอนัตตา พระที่ยึดไม่ได้ ใครได้เข้าใจถึงความเป็นพระเหล่านี้แล้ว ก็จะคลายจากการหลงยึดในความเป็นพระ จะไม่ทะเลาะกันเพราะพระ โลกจะหมดปัญหาเรื่องความขัดแย้งกันของความเป็นพระ หรือขัดแย้งกับพระ
ถ้าเข้าใจถึงพระอนิจจังตามที่ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่ายึดไม่ได้ ก็จะไม่ยึด แม้แต่ความเป็นพระ ความเป็นคนหรือความเป็นสัตว์โลกตระกูลใดตระกูลหนึ่ง หรือภพหนึ่งภพใด พระจริงๆ ไม่ได้อยู่ที่ว่า จะไปยึดเอาไว้ถือเอาไว้ ในทำนองยึดหรือว่าถือ การกราบไหว้พระทุกวันนี้เพราะความเคารพ ไม่ใช่ยึดถือ
ถ้ายึดถือแล้วก็ทุกข์ เพราะความยึดพระ ถ้าเข้าใจถึงพระอนิจจังจริงๆ แล้ว เรียกว่า พระไตรลักษณ์ตามธรรมชาติ พระสัจธรรมตามธรรมชาติคือ พระอนิจจัง พระทุกขังตามธรรมชาติ คือ ทุกข์อยู่แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างคือทุกข์อยู่แล้ว เปลี่ยนไปอยู่เสมอๆ
ความทนยากคือทุกข์ ทุกข์ก็ยึดไม่ได้ พระสัจธรรมในข้อนี้ พระทุกขังเป็นสิ่งยึดไม่ได้....ที่ยึดไม่ได้เพราะยึดแล้วก็ยิ่งขังทุกข์ไปหน้าเรื่อยๆ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้าเข้าใจพระสัจธรรมตามธรรมชาติแล้ว ก็จะคลายเสียจากอุปทาน ไม่ถือสาในสมมติทั้งหลายทั้งปวง
แม้แต่สมมติที่เกิดขึ้นในดวงใจ ที่นึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ก็จะคลายเสีย แม้แต่สมมติทางภาษา สมมติบัญญัติทางภาษา บทความหรือข้อเขียนทั้งสิ้น ก็จะคลายจากการยึดในสมมติทั้งสิ้น อย่างนี้จะไม่ทะเลาะกันเพราะการยึดถือ ในพระจริงๆ แล้ว ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหนัง เอ็น กระดูก รูปร่าง หน้าตา มีผม ไม่มีผม ห่มเหลือง ไม่ห่มเหลือง ไม่ได้อยู่ที่นิกายไหนทั้งนั้น แม้แต่ธรรมยุตก็ยังไม่ใช่ ความเป็นพระ มหานิกายก็ยังไม่ใช่ ความเป็นพระ หินยาน มหายาน ก็ยังไม่ใช่ความเป็นพระที่แท้จริง...ไม่ใช่...
พระอนัตตา พระที่ไม่มีตัวตน พระที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะยึดอย่างไรก็ยึดไม่ได้ เปลี่ยนไปอยู่เสมอๆ นี่แหละยึดเอาตรงไหน ตรงนั้นก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่มีตัวให้ยึดได้อย่างแท้จริง เรียกว่า อนัตตา ตามธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ต้องไปทำให้อนัตตา นี่แหละคือพระสัจธรรม ถ้าเข้าใจถึงความเป็นพระสัจธรรมอย่างแท้จริง จะหมดปัญหาเรื่องการทะเลาะเบาะแว้งกันเพราะพระ พระดี พระไม่ดี หมดไม่มีตัวตนทั้งนั้น อนัตตาหมด ไปทะเลาะกันเพราะพระดีบ้าง พระไม่ดีบ้าง แย่งกันเพราะพระดีบ้าง ขับไล่เพราะพระไม่ดีบ้าง เรียกว่า วิปลาสทางความคิดเห็น วิปลาสทางจิตวิญญาณทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เข้าใจถึงธรรมะที่พระองค์ทรงดำรัสเอาไว้เลย
พระสัจธรรมมีอยู่ในทุกอณูของทุกธรรมชาติ ถ้าเข้าถึงรหัสนัยของทุกธรรมชาติเข้า มันมีแม้แต่ในความคิด ความรู้สึกมีหมดความครอบงำ ซึมซาบอยู่ในอายตนะสัมผัสทั้งหมดเลย พระอนิจจัง พระทุกขัง พระอนัตตา พระสัจธรรม เรียกว่า พระสัจธรรม
พอเข้าใจ จะมีความศรัทธา มีความเคารพ เคารพนับถือไม่ใช่ยึดถือต่อธรรมสัจจะ เคารพนับถือในพระปัญญาต่อธรรมะขององค์พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้าที่แทงตลอดใน อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณทั้งหมดทั้งสิ้น และในธรรมสัจจะ ในปรมัตถ์สัจจะทั้งหมดทั้งสิ้น
นี่คือเคารพนับถือในพระปัญญาของพระองค์ บูชาเทิดทูนในพระปัญญา แต่ไม่ใช่ยึด เคารพนับถือ ก็เบา สบายไปเลย สรณะนี้ถ้าถือเป็นก็จะเบาสบาย ถือไม่เป็นก็จะหนักไปเรื่อยตลอดชีวิต ถ้าเคารพนับถือก็สบายดี อบอุ่นในใจดี ซาบซึ้งดี ซาบซ่านดี ลึกซึ้งดี แยบคายดี ประณีตดี อ่อนโยนดี ถ้าถือเป็นเรียกว่า เคารพนับถือ
ถ้าถือไม่เป็น เรียกว่า ยึดถือ ไปยึด ไปถือ ก็คับแค้นดี ฝืดเคืองดี ทะเลาะกันดี แบ่งพรรคแบ่งพวกดี แล้วเป็นเวรเป็นกรรมกันดี เต็มบ้านเต็มเมือง ไม่มีใครสอน ไม่มีใครบอก มีแต่บอกให้ทะเลาะกัน ไม่มีใครสอน มีแต่สอนให้ทิ่มแทงกัน พระไม่ดีก็ขับไล่พระไม่ดี พระดีก็พากันแย่งพระดี เรียกว่า บ้าทั้งนั้นเลย พูดได้เต็มโอษฐ์ว่า...บ้าทั้งนั้น...
เพราะไม่เข้าใจว่า รหัสนัยแห่งความเป็นปรมัตสัจจะที่มีอยู่ในดีและไม่ดี คืออนิจจัง ยึดไม่ได้ ดี ไม่ดี ก็ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ยึดตรงไหนก็เปลี่ยนไปตรงนั้น เปลี่ยนไปเรื่อย อนิจจังอยู่เสมอๆ ถ้าเข้าถึงพระธรรมตามธรรมชาติแล้ว ไม่มีใครไปหลงยึดพระ มีใครยึดอนิจจัง ? ถ้าเข้าใจอนิจจังแล้ว ไม่มีใครยึดอนิจจัง มีแต่ทำใจ ปลงใจ วางใจ ถ้าเข้าใจทุกขังว่าเป็นอนิจจังตามธรรมชาติ ทุกข์ไม่แน่นอน ไม่มีตัวตนตามธรรมชาติ ใครจะไปหลงยึดในทุกข์ มีแต่จะปลงใจ มีแต่จะคลายในใจต่อการยึดในทุกข์ ถ้าเข้าใจถึงธรรมชาติที่มันไม่แน่นอนทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ก็ไม่มีตัวตนเป็นมั่นเป็นเหมาะที่ถือเอาได้ ยึดเอาได้แท้จริง เกาะเอาได้อย่างแท้จริง ใครจะไปหลงเกาะทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อจิตมันจางคลายสอดคล้องกับอนัตตาตามธรรมชาติ หรือว่างตามธรรมชาติเลย หรือสุญญตาตามธรรมชาติเลยทันที
อนิจจังมีอยู่ทุกอณู มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง มีอยู่ในทุกเรื่อง ทุกสภาวะ รูปธาตุ นามธาตุ ที่หลงยึดทั้งหลาย ก็หลงดันทุรังกันไปเฉยๆ ดันหน้าไปเฉยๆ ดันไม่สุดสักที ดันไปเรื่อย เวียนว่ายตายเกิดดันทุกรังไปเรื่อย ไม่เคยสุดสักที มันเปลี่ยนไปเรื่อย ยึดสิ่งไม่มีตัวตนก็ยึดไม่ได้จริงสักที จึงไม่มีสุดสักที ก็เลยไม่เข้าใจ เลยหลงสังสารวัฏ เลยหลงยึดไปเรื่อยๆๆๆๆ
เมื่อพระที่แท้จริง ไม่ได้อยู่ที่รูปแบบหรือปรากฏการณ์ หมายถึง ความเป็นจริงที่มีอยู่ในรูปแบบ ความเป็นสัจธรรมที่มีอยู่ในทุกปรากฏการณ์ เรียกว่า ความเป็นอนิจจัง จะได้หมดปัญหาเรื่องการติดในรูปแบบ พระดีก็มีความเป็นสัจจะอยู่ในพระนั่นเอง พระไม่ดีก็มีความเป็นสัจธรรมอยู่ในความเป็นพระไม่ดี...นั่นแหละ
ให้เข้าใจถึงสัจจะที่มีอยู่ภายในของธรรมชาติทุกธรรมชาติ มองไปแล้วอย่าให้ไปคาที่เปลือก เปลือกพระพุทธเจ้า เปลือกพระธรรม เปลือกพระสงฆ์ อย่าให้ไปคาที่เปลือก ให้เข้าใจถึงพระสัจธรรมในธรรมชาติ ธรรมสัจจะคือพระสัจธรรม...นั่นแหละ...
การที่จะสอดคล้องกับพระจริงของท่านได้ ก็ต้องสอดคล้องกันด้วยความเข้าใจถึงความเสื่อมที่มีอยู่ในทุกขณะจิต ทุกขณะอารมณ์ ทุกขณะความคิด ความเห็น ทุกรูปธาตุ นามธาตุทั้งหมดทั้งสิ้น เสื่อมเป็นอยู่เสมอๆ นั่นแหละ ไม่แน่นอนอยู่เสมอๆ ไม่ว่าอาการละเอียด อาการหยาบ อารมณ์ละเอียด อารมณ์หยาบ ไม่แน่นอนอยู่เสมอๆ เสื่อมเป็นอยู่เสมอๆ
เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้วก็จะคลายเสียเอง ปลงเสียเอง ไม่ยึด ไม่ถือเสียเอง คือการเข้าถึงพระที่แท้จริง ไม่ถือแล้วดี จะได้ไม่หนัก จิตหนัก วิญญาณหนัก เคารพนับถือไม่เป็นไร ไม่ได้เกิดโทษ จะเกิดโทษตรงที่ยึดถือ ความยึดถือก็มาใกล้ๆ กับความเคารพนับถือด้วย
อย่างเคารพพ่อแม่ ก็อ่อนน้อมในคุณพ่อคุณแม่เสมอ ไม่ล่วงเกินในคุณพ่อคุณแม่ ไม่ประมาทในคุณพ่อคุณแม่ ไม่เพลี่ยงพล้ำล่วงเกินในคุณพ่อคุณแม่อยู่เสมอๆ เรียกว่าเคารพในคุณพ่อคุณแม่ ไม่เกิดโทษ เกิดแต่คุณ
ถ้ายึดถือพ่อแม่ เดี๋ยวก็เพลี่ยงพล้ำตามมา รักนั่นมากกว่ารักเรา รักสิ่งนั้นมากกว่ารักเรา เดี๋ยวก็จะมีอคติตามมา ถูกใจก็ดี ไม่ถูกใจก็แยกเขี้ยวยิงฟันใส่ นี่เรียกว่ายึดถือเกิดโทษ ไม่เกิดคุณ ดูฉาบฉวย เหมือนเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็มีผลที่ไม่ดีตามมาเป็นนิสัย ที่นำทุกข์มาสู่ตนและคนอื่นด้วย
เพราะคำว่า “ยึดถือ” ไม่ได้หมายความว่า ปลงใจได้ หรือทำใจได้ ท่านดีด้วย พูดดีด้วยก็จะดีกับท่าน พอท่านไม่ดีด้วยก็ร้ายกับท่าน เรียกว่า ยึดถือ ทุกข์นะ.....เกิดทุกข์อย่างเดียว ถ้าเคารพนับถือ ท่านจะว่าหรือไม่ว่า จะดุหรือไม่ดุ ก็น้อมในคุณอย่างเดียว ปลงใจอย่างเดียว ทำใจอย่างเดียว ท่านจะเห็นใจ หรือไม่เห็นใจ ก็เคารพอย่างเดียว นับถืออย่างเดียว อ่อนน้อมอย่างเดียว เรียกว่า มีแต่คุณอย่างเดียว.....
ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ก็เหมือนกัน ใช้คำว่าเคารพนับถือ ให้เคารพนับถือทั้งนั้น ไม่ใช่พากันไปยึด ไปถือ ถ้าทำใจไม่ถูกกับพระรัตนตรัย มีแต่จะเกิดโทษ ถือว่าเป็นชาวพุทธกันแต่วาจา แต่ปาก ไหว้พระก็ไหว้ไปอย่างนั้น กราบพระก็กราบไปอย่างนั้น ไปหาพระก็ไปหากันอย่างนั้น แต่ไม่เข้าใจถึงพระสัจธรรมแห่งความเป็นพระ ก็ปลงไม่ได้.....ต้องเข้าใจอยู่กับความเสื่อมทุกขณะ อยู่กับความไม่เที่ยงทุกอณู อะไรๆ ก็ยึดไม่ได้
ให้สำนึกอยู่เสมอว่า อยู่กับสิ่งที่ยึดไม่ได้ สิ่งที่เสื่อมอยู่ทุกขณะ ไม่แน่นอนอยู่ทุกขณะ เรียกว่า ไม่ได้เป็นมั่นเป็นเหมาะ เป็นตัวเป็นตนที่จะเอาได้ ยึดเอาได้ ไม่มี.....เสื่อมอยู่เสมอ กลับกลอกอยู่เสมอๆ ไม่แน่นอนอยู่เสมอๆ ทุกขณะคิด ขณะอารมณ์ ขณะรู้ ขณะเห็น อยู่กับอารมณ์ ความรู้สึก ก็ไม่ประมาท.....เสื่อมอยู่เสมอๆ ยึดไม่ได้
ให้เข้าใจสัจธรรมที่มีอยู่อย่างนี้ไปเรื่อย จะได้ไปลงล็อคตรงที่เคารพนับถือ.....ไม่ใช่ยึดถือ.....
ถ้าไม่เข้าใจถึงธรรมชาติที่มีอยู่ดังกล่าวแล้ว จะไปลงตรงที่ยึดถือทุกคน ไม่ใช่เคารพนับถือ ยึดถือทุกคน แค่ยึดหลวงพ่อนี่ก็จะตายแล้ว ยึดอะไรๆ ก็จะตายแล้ว ทุกข์ คับแค้น เพราะมีภาวะที่ได้ดังใจตามมา ไม่ได้ดังใจตามมา สมปรารถนา ไม่สมปรารถนาตามมา ล้วนแล้วแต่ปริเวทนาทั้งนั้น ทุกข์หมด แม้แต่ตัวเองก็ยึดไม่ได้ ไม่ว่าสิ่งใด ไม่ว่าสิ่งอื่น อณูธาตุแห่งรูปธาตุนี้ ยึดไม่ได้เช่นเดียวกัน คือพระสัจธรรม
ถ้าเข้าใจถึงพระสัจธรรมอย่างนี้แล้วก็จะสบายๆ กราบไปก็ไม่ถูกอิฐถูกปูน ทองคำ ทองเหลือง ทองแดง ถูกพระขลัง พระไม่ขลัง จะถูกพระสัจธรรมหมดเลย ถูกจางคลายหมด ถูกพระอนัตตาหมด ถูกว่างตามธรรมชาติหมด ไม่ไปถูกเปลือกพระ เรียกว่ายึดถือไม่ใช่เคารพนับถือ

ถ้าเคารพนับถือแล้ว ไม่ว่าพระจะเป็นอย่างไร ก็ยังเคารพนับถือ ไม่เสื่อมตามธรรมชาติอยู่เสมอๆ ไม่มีที่จะไปหาวิธีการส่องดูรูปธาตุ นามธาตุอยู่ตลอด เนื้อดีหมด เนื้อหาสาระแห่งความเป็นปรมัตสัจจะที่มีอยู่ในทุกธรรมชาติ ทุกอณูแห่งธรรมชาติ เสื่อมอยู่เสมอ...
สัพเพ สังขารานิจจา วายะธรรมะ สังขารา ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยงอยู่เสมอ เนื้อดีหมด เนื้อหาสาระแห่งธรรมสัจจะ ไม่ใช่เนื้อดีอยู่ตรงที่เนื้อข้าวสุกเก่าๆ เนื้อข้าวก้นบาตร เนื้อข้าวสาร เนื้อว่าน เนื้อหาสาระแห่งความเป็นปรมัต
“...ต้องเข้าใจถึงความไม่เที่ยงของมหานิกาย ความไม่เที่ยงของธรรมยุต ความไม่เที่ยงของมหายาน หินยาน หรือนิกายไหนก็ตามที ต้องเข้าใจถึงความเป็นอนิจจังของความเป็นธรรมชาติเขา เราจะได้คลายเสียจากการหลงเข้ายึดในนิกายนั้น นิกายนี้ มันทุกข์ยากลำบาก แบ่งพรรคแบ่งพวกกัน ทะเลาเบาะแว้งกัน จะได้คลายเสีย...นั่นแหละ...
ความเป็นพระที่แท้จริงยึดไม่ได้ คำว่า พุทธังสรณังคัจฉามิ ขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ คือนับถือ เคารพนับถือไม่ใช่ยึดถือ ธัมมังสรณังคัจฉามิ ขอถือเอาพระธรรมเป็นสรณะ เคารพพระธรรม ไม่ใช่ยึดถือพระธรรม ถ้ายึดถือเอาพระธรรมก็หัวปักหัวปำ เถียงกันเพราะธรรมะไม่ตรงความคิดเห็นก็จะทะเลาะกัน เพราะพระธรรมที่ออกมาจากความคิดเห็นไม่ตรงกัน
สิ่งที่เป็นสัจธรรมมีความเสมอภาคอยู่แล้วในธรรมชาติ คือความเป็นอนิจจังเหมือนกันหมด จะมีความคิดหรือไม่มีความคิดก็อนิจจังเหมือนกันหมด ทุกสิ่งทุกอย่างจะยึดหรือไม่ยึดก็เหมือนกันหมด ยึดก็ทุกข์ ไม่ยึดก็ทุกข์ ยึดก็ทุกข์...นี่คือสัจธรรม
ไม่ยึดก็ทุกข์ ทุกข์ธรรมชาติ ไม่ไปทุรนทุราย กระสับกระส่าย ปฏิฆะทุกข์ ปฏิเสธทุกข์ มันยุ่งยาก ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้ายิ่งยึดก็ทุกข์หนักเข้าไปอีก เพราะยิ่งยึดก็จะเป็นทุกข์กำลังสอง กำลังสามไปเรื่อย...
ถ้ายิ่งไม่ยึดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสอดคล้องกับพระนิพพานตามธรรมชาติมากเท่านั้น ไม่ว่าจะยึดสมมติหรือไร้สมมติ จึงเรียกว่า อนัตตา เพราะยึดไม่ได้ ไม่ใช่อัตตาตัวตนที่แท้จริง พระอนัตตาพระไม่มีตัวตน มัวแต่ไปทะเลาะกันในรูปร่าง เนื้อหนัง มังสา กระดูกจนถึงปลายผมจนปลายเล็บเท้า แต่ผิวหนังจนถึงช่องว่างในกระดูก พระกู พระมึง พระพวกมึง พระพวกกูอยู่นี่...”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2009, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเข้าพักที่วัดร่มโพธิธรรม





ท่านสามารถไปปฏิบัติธรรมที่วัดได้ตลอดโดยมีรายละเอียด
1. หลวงพ่อแสดงธรรม 7.00 น.และ 18.00 น. ของทุกวัน
2. มีอาหารเช้าและเที่ยงให้ทานและหากจะทานตอนเย็นให้เตรียมกล่องใส่อาหารไปด้วย
3. มีอุปกรณ์ เช่น เต้น เสื่อ หมอน ผ้าปูนอน ผ้าห่ม ให้เบิกได้
4. การแต่งกายให้ใส่ชุดสุภาพ ไม่จำเป็นต้องใส่ชุดขาว
5. เวลาว่างหลังจากการฟังธรรม ท่านสามารถบำเพ็ญประโยชน์แก่วัด
โดยการทำความสะอาด หรือไปสนทนาธรรมะกับหลวงพ่อและพระในวัดได้ตลอดเวลาตามความเหมาะสม
6. ขอเข้าพักที่กุฎิได้หากมีกุฎิว่าง โดยติดต่อที่โรงครัววัดร่มโพธิธรรม
หรือติดต่อที่ พี่เล็ก เบอร์โทร 089-617-5556


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2009, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3836

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ฟังธรรมท่านแล้วก็ขออนุโมทนาสาธุอย่างยิ่งเลยครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย...“ทุกอย่างคือธรรมบรรลุอยู่แล้ว”..โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต ณ วัดร่มโพธิธรรม

ธรรมบรรยาย...“ทุกอย่างคือธรรมบรรลุอยู่แล้ว”..โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต ณ วัดร่มโพธิธรรม
ทุกอย่าง..คือ……ธรรมบรรลุอยู่แล้ว หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต

--------------------------------------------------------------------------------

หนังสือ....ทุกอย่าง..คือ……ธรรมบรรลุอยู่แล้ว
หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
วัดร่มโพธิธรรม ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย
จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่ธรรมะเป็นจำนวน 17,000 เล่ม เมื่อ 6 เมษายน 2551
หน้า 1
ทุกอย่างคือธรรมบรรลุอยู่แล้ว
หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต

หน้า 2
ไม่เนื่องด้วยกาย ไม่เนื่องด้วยจิต ไม่เนื่องด้วยวิธีการปฏิบัติ ไม่เนื่องด้วยความคุ้นเคย ไม่เนื่องด้วยวิถี ไม่เนื่องด้วยวิธีการ นิพพานอยู่แล้ว.....

หน้า3
คำชี้แจง นพ.บุญส่ง เมธากุลชาติ
เนื้อหา “ทุกอย่างคือธรรมบรรลุอยู่แล้ว” ในหนังสือเล่มนี้ เป็นธรรมบรรยายโดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต ณ วัดร่มโพธิธรรม เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2551 เนื้อหาธรรมเป็นไปเพื่อให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาเข้าใจถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง ตรงต่อสัจจธรรม ตรงต่อพระนิพพาน ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นเนื้อหาธรรมที่เป็นประโยชน์ มีคุณค่ามาก จึงได้นำจัดพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่ธรรมของหลวงพ่อแก่ผู้ที่สนใจให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ส่วนท่านผู้ใดมีปัญหาข้อสงสัย หรือต้องการศึกษาข้อธรรมเพิ่มเติม ข้าพเจ้าขอเชิญชวนให้ไปที่วัดร่มโพธิธรรม (แผนที่เดินทางไปวัดอยู่ท้ายเล่มของหนังสือ) เพื่อรับฟังธรรมะจากหลวงพ่อโดยตรง หรือ ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rombodhidharma.com
“แม้นรู้สารพัดก็ไร้ค่า ไม่เท่าเจนจบรู้นิพพาน”

หน้า 4
ทุกอย่างคือธรรมบรรลุอยู่แล้ว
หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
ตื่นอยู่แล้วตลอดเลยลูก มันจะได้ไม่เฝ้า ตื่นอยู่แล้วคือมันไม่ใช่ลักษณะของการเฝ้า เฝ้ารู้ เฝ้าเห็น เฝ้าเวทนา เฝ้าคิด เฝ้าความรู้สึก เฝ้าอารมณ์ เฝ้าดูอาการ เฝ้าเวทนา มันจะไม่เฝ้า นี่เรียกว่าตื่นออก ตื่นออกจากเบญจขันธ์ ตื่นออกจากวังวน คือไม่มัวหลงในเบญจขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป รวมแล้วแล้ว กายใจ มันไม่วน เรียกว่าตื่นอยู่แล้วตลอด มันจะได้การันตีกันบอดให้กับตัวเอง จะได้ไม่บอด คือมันไม่มืดน่ะลูก เรียกว่าไม่อยู่แล้ว ตื่นอยู่แล้ว ไม่อยู่แล้ว คือไม่ต้องค้นหาอีก หาเหตุหาผล หารู้หาเข้าใจ หาน่ะจะหาเอาไปทำไม เอาไปทำไมก็เอาไปไม่ได้ เพราะทุกอย่างมันอนิจจังอยู่แล้ว มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว มันยึดไม่ได้อยู่แล้ว มันจะหาเอาไป ทำไม ฉะนั้น ตื่นแบบไม่ต้องค้นหา ไม่อยู่แล้ว ตื่นอยู่แล้ว ไม่อยู่แล้ว อยู่อย่างงี้ ไอ้ที่เคยแช่กับของเก่าๆ มา แต่ละแง่ แต่ละมุมน่ะ ของธาตุขันธ์จิตวิญญาณ แช่กับความจำ แช่กับเวทนา แช่กับสัญญา

หน้า 5
แช่กับเรื่องนั้นเรื่องนี้ เรื่องเก่า เรื่องใหม่ ที่มันแช่ๆ หมายถึงตื่นอยู่แล้ว ไม่อยู่แล้ว ปุ๊บนี่มันออกมาเอง ออกจากเครื่องหมักดองในสันดาน ที่มันดองไว้ในจิตในใจก้นบึ้งของจิตของใจที่มันหมักดองเอาไว้ มันตอกย้ำสัญญาเอาไว้ ตอกย้ำความคิดเอาไว้ ตอกย้ำอารมณ์เอาไว้ ตอกย้ำความเห็นเอาไว้ ตอกย้ำความหมายเอาไว้อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามที่ไปตอกย้ำ ๆ เอาไว้ลึกๆ ลูกก็ตื่นอยู่แล้ว หมายถึงตื่นอยู่แล้วตลอด มันก็จะไม่ไปตอกย้ำของพวกนั้นต่อไปอีก ให้มันเป็นกรรมซ้อนกรรมต่อไปอีก......ไม่......หนึ่ง อีกประการหนึ่งก็ไม่อยู่แล้ว พอไม่อยู่แล้วนี่เบ็ดเสร็จเด็ดขาดเลย เรียกว่านิพพานทันที “ไม่อยู่แล้ว” นี่มันก็ไม่ข้องแวะกับอะไร กายธาตุ จิตธาตุ ภายนอก ภายใน สัมผัสนั่นนี่ เรียกว่าผ่านฉลุย ผ่านหมด เรียกว่าเนื้อหาธรรมบรรุลุหมด พอไม่อยู่แล้วถึงตามี หูมี ก็เหมือนกับไม่มี มีตาก็เหมือนไม่มีตา มีหูก็เหมือนไม่มีหู เพราะอะไร เพราะมันแล้วแล้วไปกับทั้งตาทั้งหู จมูกลิ้นกายใจ มันแล้วแล้วไป ไอ้ไม่อยู่แล้วนี่ เขาเรียกว่ามันไม่แคร์ มันไม่ให้ความสำคัญ มันไม่ผูกมัด มันไม่ยึดมัน ถ้าลูก “ไม่อยู่แล้ว” ตลอดปุ๊บนี่ มันจะหลุดจากอะไรบ้าง มันจะไม่ข้องไม่คาอะไรบ้าง ลูกไม่ต้อง

หน้า 6
ไปเช็ค ลูกไม่ต้องไปถามหา ลูกไม่ต้องไปพิจารณาเปรียบเทียบให้มันเกิดมานะเหลื่อมล้ำขึ้นมา โสดา สกทาคา อนาคา หรือ อรหันต์อะไร เกิดมานะขึ้นมาในกระบวนการของปุถุชนอีก คิดว่าเป็นอริยะ แต่ก็ไม่ใช่ มันมานะแห่งปุถุชน เพราะเนื้อหาของพระนิพพานมันไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว มันไม่มีขั้นมีตอน ไม่มี ที่มีขั้นมีตอน คือ เนื้อหาของปุถุชน เป็นมานะของปุถุชน “ไม่อยู่แล้ว” ตลอด มันก็ไม่จึ้ง ไม่จ้อง ไม่จด ไม่จ่อ กับสิ่งหนึ่งสิ่งใด เรียกว่า มันไม่งมกับอะไร เหมือนว่ามันจ้าอยู่ตลอด โพล่งอยู่ตลอด โปร่งโล่ง โพล่งอยู่ตลอด เรียกว่า มหาสัมปชัญญะแห่งอริยะ ตื่นโพล่ง ตื่นพร้อมกับของมันเองอยู่ตลอด ตื่นอยู่แล้ว แต่ถ้าลูกไปจึ้งลงไปนิดหนึ่ง จึ้ง จ้อง จด จ่อ จริงจังในการรู้ การเห็นสักนิดเดียว มันจะค่อยๆ หลับเลย ค่อยๆ จมอารมณ์ ค่อยๆ ซึมในอารมณ์ ค่อยๆ เศร้าในอารมณ์ ค่อยๆ อืดในอารมณ์ ค่อยๆ เอื่อยในอารมณ์ ค่อยๆ เฉื่อยในอารมณ์ เขาเรียกว่ามันเริ่มหลับในอารมณ์ ที่ว่าตื่นอยู่แล้วนี่เรียบร้อยเลย เราไม่ต้องคอยจดจ่อซ้อนลงไปอีก ไปเพ่งซ้อนลงไปอีก ไม่ต้อง ตื่นอยู่แล้วก็ตื่นอยู่แล้ว แค่นี้ก็จบแล้ว ไม่อยู่แล้วก็คือไม่อยู่แล้ว ไม่ต้องคอยไปค้นหา ไปคอยเพ่งเล็ง ไปคอยจับผิดจับถูก เช็คอินเช็คเอาท์เช็คเข้าเช็คออกอะไรอีก

หน้า 7
ไม่ต้อง อย่างก็บานเต็มที่ ดอกไม้บาน ดอกบัวบานเต็มที่คลายออกหมดเลย แบบ “ไม่อยู่แล้ว” มันหลุดจากอะไรบ้าง มันไม่เกี่ยวแล้ว คือมันทั้งหมด ทั้งโคตรก้าวข้ามโคตรปุถุชน ทั้งยวง พอบอก “ไม่อยู่แล้ว” คือ ทั้งหมด คือไม่อยู่แล้ว ไม่ใช่ไม่ทีละอย่างสองอย่างสามอย่าง สี่อย่าง ห้าอย่าง ไอ้ไม่แบบนั้น มันไฟไหม้ นี่ถ้า “ไม่อยู่แล้ว” คือมันไม่อยู่แล้ว ไม่ใช่เราไม่ มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว นี่คือทุกอย่างไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว ทุกอย่างคือไม่อยู่แล้ว นิพพานอยู่แล้วลูก
สิ่งเหล่านี้แหละมันจะการันตีความไม่บอดของลูกทุกคน ความไม่ตกอับ ความไม่จนอับ ไม่อาภัพ มันจะเป็นสิ่งที่การันตีความพออยู่แล้ว ความบริบูรณ์อยู่แล้ว ไม่ใช่ไม่รู้จักพอซะที ไม่รู้จักบริบูรณ์ซะที ไม่พอสติซะที ไม่พอใจสมาธิ ปัญญา ฌาน ญาณซะที ไม่พอในวิมุติ ไม่พอในนิพพานซะที ไม่ใช่ไม่รู้จักพอ ถ้าลูก ”ไม่อยู่แล้ว” ปุ๊บนี่มันก็คือพอแล้ว มันสมบูรณ์อยู่แล้ว นิพพานอยู่แล้ว มันไม่ต้องอยู่แล้ว ไม่จะอยู่แล้ว ไม่อยู่แล้ว ก็คือ ไม่งม ไม่หลง อยู่แล้ว จบเลยสั้นๆ หมดสั้น ทุกอย่างก็คือไม่อยู่แล้วตลอดเลย ก็คือไม่งม จะทำงาน ทำการ ทำนั่น ทำนี่ ก็ทำได้หมดแหละ ทำแล้ว แล้วแล้วไปกับที่กระทำนั้นตลอด แต่ถ้าหากว่าคนไหนทำไม่เป็น ทำไปงมไปด้วย

หน้า 8
ทำไปจดจ่อจึ้งจ้องไปด้วย เขาเรียกว่ากรรมตีกลับ กดดัน จะมานั่งนอนแผ่เวทนาเศร้าซึม ตื่นก็สาย โรคนอนตื่นสาย มันจึ้งจ้องจดจ่อมาก เข้าใจไหม อันนี้มันตื่นอยู่แล้ว ไม่อยู่แล้ว มันทำอะไรก็ทำแบบแล้วแล้วไป กับสิ่งที่กระทำอันนี้เรียกว่านอกเหนือทำ นอกเหนือกรรม นอกเหนือการเป็น มันก็ไม่กรรมตีกลับ เวทนาตีกลับจัด ทำไปมันก็เป็นการพักในตัวอยู่แล้ว กลางวันกลางคืนไม่เกี่ยว นี่ยังทำกันอยู่เลยเมื่อคืน อ๊อกแทงค์น้ำกันอยู่ ไม่เกี่ยว และมันก็ตื่นอยู่แล้ว ไม่อยู่แล้ว เหนื่อยก็พัก เมื่อยก็นั่ง ปวดหลังก็นอน แค่นั้นก็จบ ตื่นมาก็ลุกขึ้นมาใหม่ ก็ว่ากันต่ออีก อยู่ไปยังงั้น ไม่ใช่อยู่เอาอยู่ อยู่ไปยังงั้นๆ แหละ ไม่ใช่ว่าอยู่เอาอยู่ มันก็อยู่ของมันอยู่เองแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าเอาอยู่ หรือต้องคอยอยู่ จะไปคอยอยู่ทำไมอีก มันอยู่แล้ว แล้วก็อยู่กับไม่อยู่แล้ว มันไม่อะไรกับอะไรอยู่แล้ว มันไม่ไปสร้างเงื่อนไขไม่สร้างความอาลัยอาวรณ์ขึ้นมา ทุกอย่างคือ การสงเคราะห์หมดนะลูกนะ กริยาทุกสิ่งอย่างเกื้อกูลสงเคราะห์ เพราะอะไร เพราะว่าแม้แต่ตัวมันเองก็ยังไม่ใช่เลย แล้วอะไรมันจะใช่ แค่รู้สึกเอาบ้างแค่คิดเอาบ้างว่าตัวเอง แค่นึกเอาบ้างว่าตัวเอง แค่เห็นเอาบ้างว่าตัวเอง เห็นว่า นึกว่า คิดว่า เห็นว่า รู้สึกว่า มีแต่ว่าเอาเองหมดว่าตัวเอง

หน้า 9
ก็มันใช่ที่ไหน แล้วถ้าไม่คิดว่าตัวเอง แล้วมันจะเป็นอะไร มันก็ไม่เป็นอะไร เป็นแค่ความคิด ถ้าไม่รู้สึกว่ามันเป็นอะไรแล้วมันจะเป็นอะไร มันก็แค่รู้สึกเอา ฉะนั้น มันปราศจากความหมายอยู่แล้วทุกสิ่งทุกอย่าง มันไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว มันไม่มีความหมายในความเป็นอะไรอยู่แล้ว และมันก็ไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว แล้วมันก็ไม่ใช่มานะอยู่แล้ว ไม่ใช่ทิฏฐิอยู่แล้ว ไม่ใช่ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงอยู่แล้ว มันไม่ใช่อยู่แล้วไงลูก นิพพานอยู่แล้ว ฉะนั้นลูกก็ไม่ต้องไปลังเลแล้ว อนุสัยตัวไหนจะผุดจะโผล่ จะเสนอหน้าขึ้นมาอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นมา ลูกก็ “ไม่อยู่แล้ว” อย่างเดียว พอ จบ ตื่นก็อยู่แล้ว ไม่ก็อยู่แล้ว มันจะได้ไม่ไปมัวเอ๊ะอ๊ะกับอารมณ์นั้นที่เกิดมากับความนึกคิดชนิดนี้ ที่เกิดมากับความเห็นความหมายที่แอบปรุ่งแต่งขึ้นในใจบ้าง อะไรบ้าง อย่างนั้นที่เกิดมา มันจะได้ไม่แอบไปเอ๊ะอ๊ะกับของพวกนั้นไม่หลงไปแวะเวียน ลูกก็ตรงต่อไม่อยู่แล้วอย่างอาจหาญไปเลยซิลูก ตรงต่อเนื้อหาพุทธะอรหันต์ ซื่อสัตย์หน่อย ซื่อสัตย์ต่อความเป็นจริงหน่อยซิ ไม่อยู่แล้วก็คือไม่อยู่แล้ว ไม่ใช่ตรงอะไรอยู่แล้ว ไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว ไม่ใช่ตรงอะไรอยู่แล้ว ซื่อสัตย์ซิลูกตรง ๆ ต่อพระนิพพาน ตื่นก็อยู่แล้ว อย่าแอบแฝงซิลูก อะไรคือแอบแฝง ก็คือ

หน้า 10
อย่าเอาเราไปแอบแฝง เอาเราไปคอย คอยรู้ เอาเราไปคอยเห็น เอาเราไปคอยตื่น อันนั้นเรียกว่าแอบแฝง เอาโมหะสำคัญตนไปแอบแฝงลงไปในธรรมทั้งหลายทั้งปวง ของมันนี่มันไม่อยู่แล้ว ธรรมโดยธรรมอยู่แล้ว ธรรมที่มันไม่ยึดโดยธรรมอยู่แล้ว ตื่นก็อยู่แล้วลูก ไม่ก็อยู่แล้ว คือไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว ลูกจะคิดมากคิดน้อย คิดโอ๊ย...สารพัดเรื่องราวขนาดไหนก็ตามที แต่จงสรุปทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว คำว่าอนิจจังอยู่แล้วทุกอย่าง แม้แต่โมหะก็อนิจจัง อุปาทานก็อนิจจัง กิเลสตัณหาก็อนิจจังหมดลูก ทุกอย่างมันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว แม้แต่ธรรมะและกิเลสมีค่าเท่ากันหมดสองอย่างนี้ จบเลย อะไรจะมีปัญหา ถามหน่อย ไม่ว่ากิเลสไม่ว่าธรรมะมันก็คือเนื้อหาสัจธรรมอันเดียวกันหมด คือมันไม่ใช่สิ่งยึดติดอยู่แล้ว อนิจจังอยู่แล้วทั้งหมด แต่ความที่ไม่เข้าใจความเป็นจริงมันทำให้หลงวนดันทุรังไป โดยความที่ไม่เข้าใจความเป็นจริง รหัสนัยข้อนี้มันเลยทำให้หลงดันทุรังไป แต่พอเข้าใจความเป็นจริงข้อนี้ซะแล้วนี่มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว ต่อไปมันก็เลิกดันทุรังไป ไม่ว่ากิเลสไม่ว่าธรรมะมันไม่เอาทั้งหมดแหละ เลิกเอา ธรรมะมันก็เลิกเอากิเลสมันก็เลิกเอา นั่นแหละเรียกว่าไม่มีอุปาทาน ไม่มี

หน้า 11
ตัณหา ไม่มีโมหะในสิ่งใดทั้งหมดทั้งสิ้น เรียกว่านิพพานอยู่แล้วไงลูก นี่แหละเรียกสรุปโลก สรุปธรรม นี่มันยังมุ่งเอาธรรมะบ้าง เอากิเลสบ้าง นี่มันไม่สรุปไง มันจะไปเรื่อยๆ มันไม่จบ นี่สรุปโลก สรุปธรรม สรุปธรรมะ สรุปกิเลส มันมีค่าเท่ากันหมด มันไม่ใช่สิ่งยึดติดอยู่แล้ว ไม่ว่าธรรมะเอย ไม่ว่ากิเลสเอย ทุกอย่างหมด ไปเกิดเองเป็นเองก็ตามที หรือจะไปพาให้มันเกิดเป็นขึ้นมาก็ตามที มันก็ไม่ใช่เป็นสิ่งยึดติดอยู่แล้วเหมือนกันหมด โดยความเป็นจริง มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้วเหมือนกันหมด อนิจจังอยู่แล้วเหมือนกันหมด ถ้าอย่างนี้ก็เลิกหลงเลย เลิกหลงหมด ทั้งธรรมะทั้งกิเลส ไม่ใช่โอ๊ยไม่มีกิเลสมีแต่ธรรมะ ก็นั่นแหละกิเลส ก็ตรงที่มีแหละกิเลส โอ๊ย...ไม่มีแล้วล่ะกิเลสโทสะ ราคะไม่มีแล้ว มีแต่ธรรมะ นั่นแหล่ะไอ้ตัวมี กิเลสมันมี มันมีความสำคัญ สำคัญว่าไม่มี สำคัญว่ามี หลงสำคัญมั่นหมายเข้าไปอีก มันไม่ใช่ทั้งหมดทั้งสองอย่าง ฉะนั้นลูกจะปรารถนาอะไรอีกเล่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว แล้วลูกจะไปปรารถนาอะไรแบบไหนปรารถนาอะไร แล้วมันจะได้อะไร แล้วจะเอามาทำไมแล้วเพื่ออะไร ทุกอย่างมันไม่กำหนดตัวมันเองอยู่แล้ว เรียกว่า ว่างอยู่แล้ว ทุกอย่างมันไม่ผูกมัดตัวมันเองอยู่แล้ว

หน้า 12
เรียกว่านอกเหนือการยึดติดอยู่แล้ว ทุกอย่างมันไม่จำกัดตัวมันเองอยู่แล้วเรียกว่าไร้ขอบเขตอยู่แล้ว ว่างอยู่แล้วเนี่ย......ไม่อยู่แล้ว นิพพานอยู่แล้วลูก แล้วลูกจะไปมอง ว่าอะไรเป็นปัญหา ทุกอย่างมันไม่จำกัดตัวมันเองอยู่แล้ว มันไม่อยู่แล้ว ทุกอย่างมันก็ไม่ยึดติดตัวมันเองอยู่แล้ว เรียกว่าไม่อยู่แล้ว สรุปแล้วเรียกว่าทุกอย่างคือ เนื้อหาวิมุติอยู่แล้วตลอด มันสมบูรณ์โดยความวิมุติอยู่แล้ว มันสมบูรณ์โดยพระนิพพานอยู่แล้วลูก นอกเสียจากว่าลูกจะไปหลงค้นหลงหาเอง ไปหลงเป็นเวรเป็นกรรมซ้อนธรรมเข้าไปเองไปหลงเอาเอง มันสมบูรณ์อยู่แล้วนะลูกโดยวิมุตินี่ โดยความไม่ติด โดยความไม่ยึดอยู่แล้วตลอด เว้นแต่ว่าลูกจะไปคอยหลง หลงไปคอยติดหลงไปคอยหลุดใหม่ๆ ขึ้นมาซะเอง เนี่ยมันหลงไปเอง เข้าใจมั้ยละ นี่มันนิพพานอยู่แล้ว ทุกอย่างมันไม่ด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว มันไม่จำกัดตัวมันเองอยู่แล้ว มันไม่จะอยู่แล้ว มันไม่ต้องอยู่แล้ว เราไปจะทีหลังเองนะ ต้องเราก็ไปต้องซ้อนลงไปทีหลังเอง จะเราก็ไปจะซ้อนลงไปทีหลังเอง จะซ้อนลงไปในกายหรือจะซ้อนลงไปในจิต ต้องซ้อนกายต้องซ้อนจิต ต้องซ้อนรู้ซ้อนเห็น เราไปจะไปเจตนาซ้อนลงไปทีหลังเอง เรียกว่าซ้อนกรรมในธรรม กรรมซ้อนธรรม นี่มันไม่อยู่แล้ว มันไม่จะอยู่แล้ว ต้องมันก็ไม่ต้องอยู่แล้ว

หน้า 13
นี่ที่เรียกว่ามันไม่อยู่แล้วทุกอย่างก็คือไม่อยู่แล้ว ไม่อยู่แล้วคือทั้งหมด ไม่อยู่แล้ว มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้วเรียกว่านิพพานอยู่แล้ว นี่ก็จ้า......ตลอด เลิกซึม เลิกเศร้า เลิกเหงา เลิกหงอย เลิกอึ้มครึ้ม เลิกเบื่อ เลิกหน่ายหมด เลิกดีเลิกชั่ว เลิกถูกเลิกผิด เลิกหลงทั้งหมด ไม่ว่าถูกไม่ว่าผิด ไม่ว่าดี ไม่ว่าชั่ว ไม่ว่าจริงไม่ว่าเท็จ ไม่ว่าใช่หรือไม่ใช่ เลิกหลงทั้งหมดแหละ ไม่มีจะมัวมาคาแง่นั้นแง่นี้ของความเห็นความหมาย นั่นถูกนี่ผิดนั่นจริงนั่นเท็จ นั่นใช่นั่นไม่ใช่ ลูกไปสร้างแง่สร้างมุมขึ้นมาเอง ที่จริงก็คือวิโมกข์อยู่แล้ว ทีนี้ลูกก็ไม่ต้องลังเลแล้วเพราะทุกอย่างมันบริบูรณ์อยู่แล้ว โดยความไม่ยึดติดอยู่แล้ว ไม่ต้องลังเลแล้วนะ ทุกอย่างมันคือความไม่ยึดติดอยู่แล้ว อยู่แล้ว......ไม่ต้องลังเลแล้ว มันจะเกิดกี่ร้อยครั้งก็ชั่งหัวมัน มันจะเกิดกี่พันครั้งมันก็ไม่ใช่ความยึดติดอยู่แล้ว เอ้า......มันจะเกิดกี่พันครั้งมันก็หายไปทุกพันครั้ง มันเกิดกี่ขณะกันก็หายทุกขณะ ผ่านไปเองโดยตัวของมันเองทุกขณะไป ทุกอย่างไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว ไม่ต้องไปลังเลแล้ว แล้วก็ไม่ต้องหลงไปคอยติดคอยหลุดอะไรอีก ไม่ต้อง ตื่นอยู่แล้ว ไม่อยู่แล้ว ไม่ใช่หลับอีกแล้ว ซึมอีกแล้ว ตื่นอยู่แล้ว ไม่ใช่จมปลักอีกแล้ว ไม่อยู่แล้วมันไม่อะไรกับอะไรอยู่แล้ว ไม่อยู่แล้วมันก็ไม่จมกับอะไรอยู่แล้ว

หน้า 14
ไม่งมกับอะไรอยู่แล้ว ไม่จมปลักกับอะไรอยู่แล้ว ไม่หลงกับอะไรอยู่แล้ว รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสนอกในนั่นนี่ทั้งหลาย ไม่อยู่แล้ว ไม่แช่ ไม่จม ไม่งม ไม่สาละวน ไม่จึ้ง ไม่จ้อง ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่อยู่แล้ว ไม่ใช่ซึมอีกแล้ว หลับอีกแล้ว บื้ออีกแล้วลังเลอีกแล้ว สงสัยอีกแล้ว อะไรของมันนักหนา ไม่......จบ คำตอบคำเดียว หมดจรดทั้งสังสารวัฏ มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว ไปเอ๊ะอ๊ะทำไม ไม่ต้องไปเอ๊ะอ๊ะอีกแล้วกับทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ต้องไปลังเลกับมัน ไม่ต้องไปสงสัยอีกแล้ว กายแบบไปจิตอย่างไรไม่ต้องไปเอ๊ะอ๊ะลังเลสังสัยกับมัน ความเห็นความหมายจะแบบไหนอย่างไรลูกก็ไม่ต้องเอ๊ะอ๊ะกับมัน ไม่ต้องไปลังเลกับมัน ไม่ต้องสงสัยกับมัน คือไม่อยู่แล้ว ไม่ต้องอยู่แล้ว ไม่จะ ไม่จ้อง ไม่ต้อง ไม่ตั้ง ไม่อยู่แล้ว ตั้งก็ไม่ตั้ง ต้องก็ไม่ต้อง จะก็ไม่จะ ไม่อยู่แล้ว คือมันไม่ยึดอยู่แล้วนั่นเอง บทสรุป มันไม่ความหมายอยู่แล้วนั่นเอง บทสรุปของทิฏฐิ มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้วนั่นเอง บทสรุปของอุปาทาน มันไม่ใช่ตรงที่รู้หรือตรงที่เข้าใจ นั่นแหละบทสรุปของการตรัสรู้ “ตัดซะรู้” มันไม่ใช่ตรงที่อะไร เข้าใจอะไร หรืออะไรรู้อะไร นั่นแหละบทสรุปของการตรัสรู้ คือไม่ติดรู้ ไม่ยึดรู้ ไม่หลงรู้ แล้วทุกอย่างมัน

หน้า 15
อัตโนมัติของมันเอง คือ มันไม่มัด มันไม่ใช่การผูกมัด อัตโนมัตินั่นคือมันมีความเป็นไปเอง ในธาตุขันธ์ในจิตวิญญาณทั้งหลาย ในธรรมชาติธาตุสี่มันเป็นไปเองหมด มันไม่ใช่การผูกมัด มันไม่มัดอยู่แล้ว ก็คือ มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้วนั่นเอง ไม่ผูกมัดอยู่แล้วทุกอย่าง มันมีความเป็นไปแบบอัตโนมัติแต่มันไม่ใช่การผูกมัด มันไม่มัด ว่าอารมณ์เกิดร้อยมันก็ผ่านไปร้อย เกิดพันครั้งมันก็ผ่านไปพันครั้งไม่มีหรอกเกิด 1000 ผ่านไปได้แค่ 999 ไม่มีหรอก มันไม่มัดอยู่แล้ว นั่นแหละคือทั้งหมดของคำว่า วางใจ วางธาตุวางธรรมทั้งหมด ถึงจะไปทำงานขโมงโฉงเฉงขนาดไหนก็มาเทศน์ให้ฟังได้ วิมุติอยู่แล้ว นิพพานอยู่แล้ว ก็ตื่นอยู่แล้ว ไม่อยู่แล้ว จะไปงมอะไร จมปลักกับอะไร เห็นท่าจะจมปลักมากๆ ลุกขึ้นมาซิ ที่หลับที่นอน ลุกขึ้นมา ตื่น ยืน เดิน นั่ง คู้ เหยียด เคลื่อนไหว อาบน้ำอาบท่า ตี 1…2…3…4 อย่าไปเข้าฝัก แบบดักแด้ ตื่น...มันตื่นอยู่แล้ว ไอ้หลับลูกไปเจริญเอง เจริญตัวหลับ มันไม่ใช่ ตื่นอยู่แล้ว ลูกจึ้ง จ้อง จดจ่อ กับมันมาก มันเหนื่อย ก็คือหลับในอารมณ์ ตัวหลับนี่ลูกไปเจริญมันเอง จริงๆ มันตื่นอยู่แล้ว ตัวหลับมันไม่ใช่ของจริง ตัวจมอารมณ์มันไม่ใช่ของจริง มันเป็นความหลง นี่มันก็ไม่ข้องไปเอง ไม่คาไปเองทั้งหมด เรียกว่าไม่อยู่แล้ว

หน้า 16
ตลอดทุกอย่างก็คือไม่อยู่แล้ว ไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว นี่สรุปสัมมาทิฏฐิ สรุปปัญญาซะแบบนี้ มันจะได้จบซะทีปัญญา ไม่ใช่เป็นปัญญาประเภทค้นหาเหตุ ค้นหาผลอยู่จะได้จบซะทีปัญญา เลิกแบกปัญญาซะที สรุปซะปัญญาทุกอย่างมันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว จะได้เลิกค้นหารู้ค้นหาเห็นซะที ไม่เป็นปัญหาในปัญญา จะได้เลิกซะที หาเข้าใจนั่น หาเข้าใจนี่ เข้าใจอะไรหนักหนา อนิจจังอยู่แล้วไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว แล้วมันจะไปหาเข้าใจอะไรกันนักหนา ต่อไปอีก สรุปปัญญาซะที เลิกแบกซะทีปัญญา โดยเชิงปัญหาอย่างนั้นอย่างนี้ ตื่นอยู่แล้วและก็ไม่อยู่แล้วด้วย ไม่อะไรกับอะไรอยู่แล้ว เบิกบานตลอดคลายออกจากอายตนะสัมผัสตลอด คลายออกจากกายจากจิตตลอด ไม่หมกมุ่นกับกายกับจิตตลอด เพราะมันไม่อยู่แล้ว เขาเรียกมันไม่มีพันธะ ต้องมาเฝ้ากายเฝ้าจิต เฝ้ารู้ เฝ้าเห็น เฝ้าดูอาการ เฝ้าเช็คอินเช็คเอาท์ เฝ้าคอยรู้ทันไม่รู้ทันอะไร มันหมดพันธะตรงนี้ เขาเรียกมันหมดภาระพันธะ อันนี้ลูกสร้างพันธะขึ้นเอง คอยเฝ้าดู เฝ้ารู้ เฝ้าเห็น ไปสร้างขึ้นเองภาระพันธะ เขาเรียกภาราหเวปัญจะขันธา ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนัก มาแบกเลยธาตุขันธ์ สร้างแต่พันธะ อันนี้ก็ไม่อยู่แล้ว ตื่นก็อยู่แล้ว ไม่ก็อยู่แล้ว มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว

หน้า 17
แล้วจะเอาอะไรไปเฝ้าอะไร แม้แต่รู้ก็ไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว เห็นก็ไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้ว รู้ก็ไม่ใช่รู้อยู่แล้ว เห็นก็ไม่ใช่เห็นอยู่แล้วของจริง รู้จะเป็นรู้ก็ต่อเมื่อลูกดำริรู้ขึ้นมา เห็นจะเป็นเห็นก็ต่อเมื่อกำหนดเห็นขึ้นมา รู้จะเป็นรู้ก็ต่อเมื่อลูกกำหนดรู้ขึ้นมา แต่เมื่อลูกไม่ไปกำหนดรู้มันขึ้นมา เห็นไม่ไปกำหนดเห็นมันขึ้นมา เห็นก็ไม่ใช่เห็นอยู่แล้ว รู้ก็ไม่ใช่รู้แล้ว หมดความหมายอยู่แล้ว เรียกว่าเนื้อหาตรัสรู้อยู่แล้ว ท่านตรัสไว้ให้หมดแล้วจะไปตรัสอะไรอีก รู้ก็ไม่ใช่รู้อยู่แล้ว ถ้าลูกไม่ไปดำริรู้ขึ้น รู้มันจะรู้ขึ้นมาก็ต่อเมื่อลูกไปดำริรู้ขึ้น ไปกำหนดรู้ขึ้น จะไปคอยรู้ จะรู้ จ้องรู้ ตั้งรู้ มันก็เลยรู้ขึ้นมา พอรู้ขึ้นมา เดี๋ยว ไปต่อแล้ว ปรุงแต่ง ไปต่อเรื่อย ๆ เป็นสัมผัส ก็ลักษณะของปุถุชน สันตติ ปรุงตามมาตามมาชักเมื่อย ชักเหนื่อย เวทนาจัดมากเข้า หาทางออกอีกทีนี้ พอหาทางออก ทีนี้ก็คางเหลืองเลยหาทางออก ตกที่นั่งตัณหา ความจริงมันไม่อยู่แล้ว รู้มันก็ไม่ใช่รู้อยู่แล้ว เห็นมันก็ไม่ใช่เห็นอยู่แล้ว เข้าใจมันก็ไม่ใช่การเข้าใจ แต่เราไปกำหนดมันขึ้นมาเอง จริง ๆ มันนิพพานอยู่แล้วลูก ฉะนั้นขบวนการต่างๆ ที่กล่าวมา ของเบญจขันธ์ หรือขันธ์สี่ ขันธ์สาม ขันธ์สอง ขันธ์หนึ่งก็ตามที ให้มันอัตโนมัติ


หน้า 18
ไปเองเถิด ไม่ใช่การผูกมัด นั่นคือสิ่งอัตโนมัติอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นสิ่งผูกมัด นี่ไปเฝ้ารู้อยู่ก็เสร็จสิ คาแต่วิญญาณธาตุ ต่อไปก็วิญญาณก็ชักลำบากแล้ว กลายเป็นวิญญาณลำบากตลอด รู้มันก็ไม่ใช่รู้อยู่แล้วลูก ถ้าลูกไม่กำหนดรู้ขึ้นมา ก็ว่างอยู่แล้วนั่นแหล่ะคือเนื้อหาของการตรัสรู้ คือ ไม่ติดรู้ ไม่ยึดรู้ เรียกว่า ไร้อวิชชา ไร้โมหะในการรู้ ที่เรียกว่าไร้อวิชชา ก็ไม่หลงรู้ คือ แปลว่าดับอวิชชา เดี๋ยวจะไปดับมันอีก...ยุ่งจะไปคอยดับอีก พูดไม่ได้ บัญญัติเพี้ยนไม่ได้เลย บัญญัติเพี้ยนมันเอาตามนั้นตามบัญญัติ พอดับอวิชชาเดี๋ยวดับไปดับอีกแล้ว ความเอาน้ำไปดับไฟ มันก็มีแต่ตัวไปดับ ไอ้ตัวไปดับมันไม่ใช่ตัวดับ มันตัวเกิด เอาว่ามันไม่หลงรู้ไง ไม่หลง รู้ก็ไม่ใช่รู้อยู่แล้ว เมื่อไม่ดำริรู้ขึ้นมามันก็ไม่ใช่อยู่แล้ว ไม่ใช่อยู่แล้วนี่มันไม่มีลักษณะของการไปส่งเสริมให้เกิดการเข้าไปกระทำ หรือบำเพ็ญ หรือเจริญ หรือยังให้เกิดขึ้นให้มีขึ้น ให้เป็นขึ้น นั่นจึงเรียกว่ามันไม่มีการจุติ มันไม่มีการกำเนิด มันไม่มีการคอยเกิดคอยดับ เรียกว่าเนื้อหาตรัสรู้อยู่แล้วลูก อันนี้เล่นแต่จะกำหนดแต่รู้ กำหนดแต่รู้ มันก็เลยเกิดอยู่นั่นแหละ เกิดแต่วิญญาณอยู่ตลอด ในที่สุดวิญญาณก็เร่ร่อนพเนจร วิญญาณสัมภเวสี สัมภเวสีก็เสียดสีไปเรื่อย


หน้า19
ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นนี่ รู้เสียดสีไฟแล๊บไฟลุก มันไม่ใช่ตรงรู้อยู่แล้วลูก เมื่อดำริขึ้นมามันจึงค่อยรู้ มันไม่มีความหมายหรอก เป็นอะไร มันไม่มีหรอกลูก ปราศจากความหมายอยู่แล้ว นี่แหล่ะที่เรียกว่ามันไม่อยู่แล้ว มันไม่ใช่อะไรอยู่แล้ว ถ้าลูกไม่ไปคอยรู้ มันก็ไม่ใช่การรู้อยู่แล้ว มันไม่หลงรู้อยู่แล้ว ไม่เป็นอวิชชาอยู่แล้ว แต่ไอ้ที่ไปคอยรู้ คอยรู้ นั่นมันอวิชชาตลอด หลงรู้ตลอด แล้วมันก็ไปสป๊ากไปปฏิสนธิ ไปสันตติประติดประต่อ ไปปรุงไปแต่ง ไปเลื่อนลอย ไปหลง ไปคล้อยตามมันหมด ตื่นอยู่แล้วซิลูก ไม่อยู่แล้ว ไม่ต้องไปห่วงรู้ไม่รู้ เข้าใจไม่เข้าใจ หมดเนื้อหมดตัว หมดจิตหมดใจ หมดไม่เหลือหลอ วิโมกขธรรม เกลี้ยงหมดห่วง

หน้า 20
“..... มันไม่มีความหมายอยู่แล้วนั่นเอง บทสรุปของทิฏฐิ
มันไม่ใช่การยึดติดอยู่แล้วนั่นเอง บทสรุปของอุปาทาน
มันไม่ใช่ตรงที่รู้หรือตรงที่เข้าใจ นั่นแหละบทสรุปของการตรัสรู้
“ตัดซะรู้” มันไม่ใช่ตรงที่อะไรเข้าใจอะไร หรืออะไรรู้อะไร
นั่นแหละบทสรุปของการตรัสรู้
คือไม่ติดรู้ ไม่ยึดรู้ ไม่หลงรู้ .....

บทความนี้จะเกิดประโยชน์เพียงใด ขอน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยโปรดยังกุศลแห่งธรรมทานนี้ .. จงถึงแด่ ทุกดวงจิตทุกรูปทุกนาม..จงถึงแด่ ทุกท่าน และครอบครัวจงทุกประการเทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย สมดุลอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต ณ วัดร่มโพธิธรรม
....................................................................................................................................................
คัดจากหนังสือ สัจจะธรรม
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2544
จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
ผู้เรียบเรียง นพ. ดิลก พูนสวัสดิ์

สมดุลอยู่แล้วตามธรรมชาติ
ถ้ามันคิดมากเราจะเอาอะไรแก้ความคิด ?
ถ้ามันฟุ้งซ่านเราจะเอาอะไรแก้ความฟุ้งซ่าน ?
ถ้าพูดว่าจะหาวิธีนู้นวิธีนี้มาแก้ ความจริงแล้วก็เป็นเพียงการเปลี่ยนอารมณ์ เปลี่ยนสภาพจิต ไม่ใช่การแก้หรอก แค่เบี่ยงเบนความสนใจ แต่ไม่ใช่การแก้ การแก้ก็ไม่ต้องแก้อะไร ถ้ามันคิดมากก็ทิ้งความคิดปล่อยให้มันคิดของมันเอง มันก็แค่นั้นแหละ
ตัวมันเองย่อมคลี่คลายอยู่ในตัวของมันเอง ตัวมันเองย่อมดับในตัวมันเอง ทุกอย่างเป็นเอกสภาวะหมด อนัตตภาวะหมด ธรรมชาติมันเองย่อมคลี่คลายในธรรมชาติมันเอง หรือ ธรรมชาติมันเองย่อมดับในธรรมชาติมันเอง
เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปหาอะไรมาแก้ไห้ยุ่งยาก ถ้าฟุ้งซ่านก็ปล่อยให้ฟุ้งซ่านของมันเอง เมื่อปล่อยให้ฟุ้งซ่านของมันเองก็ เรียกว่า ไม่มีอัตตาในฟุ้งซ่าน ไม่หลงสำคัญตัวเองเป็นผู้ฟุ้งซ่าน คือมันจะไม่ตอกย้ำความเป็นตัวเองเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ให้มันหนักสาหัสมากขึ้น ถ้าปล่อยให้มันฟุ้งซ่านของมันเองอย่างนี้ก็เรียกว่า จิตเริ่มคลายแล้วจากการกำอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้น เรียกว่ารู้เห็นนี้เริ่มคลี่คลายแล้ว เริ่มไม่กำอารมณ์ฟุ้งซ่านนั้นแล้ว
ถ้าเรามองโดยผิวเผินจะแยกไม่ออกเลยระหว่างจิตกับสิ่งถูกรู้ ระหว่างเห็นกับสิ่งถูกเห็น จิตรู้จิตเห็นกับความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งทั้งปวงมันแยกกันไม่ออก ถ้าดูโดยผิวเผินแล้วจะแยกกันไม่ออกเลยว่าอะไรเป็นอะไร และถ้ายิ่งใช้ความเป็นตัวเองเข้าไปพิจารณาแยกแยะยิ่งสับสนใหญ่เลย จะไม่รู้จักเลยว่าจิตรู้เดิมแท้กับความเป็นตัวมันเองมันคนละเรื่องกัน ถ้าจะใช้ตัวเองเข้าไปพิจารณาแยกแยะว่ามันเป็นอันนั้นอันนี้ จะไม่รู้จักเลยว่า สภาวะเดิมแท้ของจิตกับโมหะที่สำคัญในความเป็นตัวเองมันคนละสภาวะกัน จะไม่เข้าใจได้เลย เหมือนกับความคิดกับจิตเห็นนั่นแหละ ถ้ามองโดยผิวเผินแล้วเหมือนประหนึ่งว่ามันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่จริงๆแล้วคนละสภาวะกัน
ตามกฎของธรรมชาติแล้วทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้ก็ดับได้ เกิดร้อยก็ดับร้อย ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีธรรมชาติแห่งความผันแปรอยู่ในธรรมชาติของมันทุกอณู นั่นหมายความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมคลี่คลายกันเองตามกฎธรรมชาติ ดังนั้นถ้าว่าคิดมากแล้วเอาอันนั้นมาแก้ อันนี้มาแก้ ... อย่าเลย ปล่อยให้มันคิดของมันเองนั่นแหละ จะคิดมากก็ปล่อยให้มันคิดมากของมันเอง จะคิดน้อยก็ให้มันคิดน้อยของมันเอง จะนึกให้มันนึกของมันเอง มัน จะดับเมื่อไรก็ให้มันดับของมันเอง อย่างนี้เรียกว่าไม่หลงมีตัวเองเข้าไปขัดแย้งกับปรากฏการณ์ในระบบจิตวิญญาณอันเป็นธรรมชาติหนึ่งเท่านั้น ไม่หลงมีตัวเองไปกำระบบอารมณ์ที่มันเกิดขึ้น หรือกำสภาวะจิตที่มันเกิดขึ้น เหมือนกันกับความสงบ ถ้าจิตเขาจะสงบก็ปล่อยเขาสงบเอง อย่างนี้ก็จะไม่หลงมีตัวมีตนเข้าไปบำเพ็ญเพื่อความสงบ เพราะตราบใดที่ยังสำคัญโดยความเป็นตัวเองเข้าไปเพื่อเป็นผู้สงบอยู่ มันจะไม่สงบจริงคือ มันไม่สงบจากความเป็นตัวตน
ขออนุโมทนา


มีหัวข้ออื่นในวันต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ย. 2009, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย ไม่หลงกำสภาวะธรรมชาติจิต โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต ณ วัดร่มโพธิธรรม
....................................................................................................................................................
คัดจากหนังสือ สัจจะธรรม
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2544
จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
ผู้เรียบเรียง นพ. ดิลก พูนสวัสดิ์

ไม่หลงกำสภาวะธรรมชาติจิต
ดังนั้นในขณะที่ยังมีตัวมีตนเป็นผู้สงบอยู่มันไม่สงบจริง มันไม่สงบจากบาปจริง มันไม่สงบจากกุศล อกุศลจริง มันต้องสงบจากความมีตัวตน สงบจากความเป็นตัวตน ดังนั้นมันต้องปล่อยถ้าไม่กล้าปล่อย มันก็จะกำเอาไว้อยู่เสมอ จิตวิญญาณนี้ ตัณหามันจะพารู้พาเห็น ไปกำโน่นกำนี่ ติดนั้น ติดนี่ ยึดนั่น ยึดนี่ ไม่ต้องไปแก้หรอกในธรรมชาติจิตทั้งหมด แค่ปล่อยให้เขาเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง แล้วก็คลี่คลายกันเอง สิ่งไหนเกิดแล้วก็ปล่อยให้มันดับกันเอง หรือไม่ดับกันเองนั่นล่ะจึงจะสงบจากตัวตน ไร้การมีตัวมีตนในธรรมชาติที่มันเกิดที่มันเป็นนั้น อารมณ์ไหนมันก็มีก็มีไปมันจะไม่มีก็แล้วแต่มันจะไม่มี เรียกว่ามันมีของมันเองไม่มีของมันเอง อย่างนี้ จะไม่หลงมีตัวมีตนในอารมณ์ในการมีอารมณ์และการไม่มีอารมณ์ ฉะนั้นการมีอารมณ์กับการไม่มีอารมณ์ หรือการมีความคิดกับการไม่มีความคิด มันจะไม่แตกต่างกัน ถ้ามันเป็นธรรมชาติ ที่มันเกิดเองแล้วมันจะไร้อัตตาหมด ไม่แตกต่างกันเลยไม่ใช่จ้องแต่จะไม่คิด จ้องแต่จะสงบ ก็ตัวจ้องนั่นแหละเป็นตัวทุกข์เลย ตัวตัณหา ตัวอุปทานเลย ไม่ใช่จ้องแต่จะสงบ แล้วปฏิเสธความไม่สงบ จ้องแต่จะเงียบ แล้วปฏิเสธความไม่เงียบ ตัวปฏิเสธความไม่สงบบ้าง ตัวปฏิเสธความไม่เงียบบ้าง นั่นล่ะคือ ตัวไม่สงบที่แท้จริงเรียกว่ามีตัวตนในการปฏิเสธ คือยิ่งไม่สงบจากการมีตัวตน
แล้วถ้าจิตมันไม่หยุดไม่อยู่มันไม่นิ่งล่ะ จะแก้ไขอย่างไร ? การหาสิ่งนั้นสิ่งนี่มาเป็นอุบายมันไม่ใช่เป็นการแก้ไข เป็นเพียงการเปลี่ยนอารมณ์ เป็นเพียงการบรรเทา เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ เมื่อมันยังมีตัวสนใจอยู่ เดี๋ยวมันก็หาเรื่องใส่จิตใส่ใจไปเรื่อย จิตมันจะอยู่หรือมันจะไม่อยู่ จะไปแก้ไขอย่างไร? ถ้าพูดถึงจะปลงโลก ปลงธรรม ปลงสังสารวัฏ ปลงกาย ปลงจิต ให้มันชัดเจนแจ่มแจ้ง ก็คือต้องปล่อย ถ้าเขาจะอยู่ก็ปล่อยให้เขาอยู่เอง ถ้าเขาไม่อยู่ ก็ปล่อยให้เขาไม่อยู่เขาเอง เรียกว่า ถ้าจะอนิจจังก็ปล่อยให้อนิจจังเอง ถ้านิจจังก็ปล่อยให้นิจจังเอง ถ้าจะทุกข์ขังก็ปล่อยให้ทุกข์เอง ถ้าจะอนัตตาก็ปล่อยให้อนัตตาเอง เรียกว่าให้เป็นเองตามธรรมชาติที่เขาเป็นเองอยู่แล้ว อัตโนมัติอยู่แล้ว อยู่ก็ปล่อยให้อยู่เอง ไม่อยู่ก็ปล่อยให้เขาไม่อยู่เอง อย่างนี้เรียกว่าอยู่หมัดแล้ว ลงอนัตตาหมด เมื่อจิตมันอยู่ก็ปล่อยให้มันอยู่ของมันเอง จิตมันไม่อยู่ก็ปล่อยให้มันไม่อยู่ของมันเอง อย่างนี้เรียกว่าเริ่มหมดตัวตนเข้าไปยึดถือการอยู่และการไม่อยู่ในระบบนามธาตุ ระบบนามธาตุนี่ก็อนิจจังทั้งระบบ นามธาตุก็คือระบบจิตใจ ในกระบวนการแห่งจิตวิญญาณทั้งหมด มันก็อนิจจังทั้งระบบ ไม่นิ่งไม่เฉยจริงทั้งระบบนั่นล่ะ

มีหัวข้ออื่นในวันต่อไป ขออนุโมทนาด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2009, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย แค่เข้าใจแล้วปล่อยไปตามวิถีธรรมชาติ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต ณ วัดร่มโพธิธรรม
....................................................................................................................................................
คัดจากหนังสือ สัจจะธรรม
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2544
จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
ผู้เรียบเรียง นพ. ดิลก พูนสวัสดิ์

แค่เข้าใจแล้วปล่อยไปตามวิถีธรรมชาติ
ดังนั้นในการไปจ้องที่จะบังคับให้จิตมันอยู่ มัววิตกกังวลกับการอยู่ การไม่อยู่ ของจิต เรียกว่าคนไม่เข้าใจอนิจจัง จะมัวไปมองหาอนิจจังภายนอกที่ไหน การที่วิตกกังวลกับการอยู่บ้าง ไม่อยู่บ้างของจิต เรียกว่า ไม่เข้าใจความเป็นอนิจจังของระบบนามธาตุ ฉะนั้นไม่ต้องไปแก้หรอกปล่อยให้อนิจจังเป็นอนิจจัง มันอยู่ก็ปล่อยให้มันอยู่ของมันเอง มันไม่อยู่ก็ปล่อยให้มันไม่อยู่ของมันเอง..... แค่เข้าใจ นี่ก็เป็นอริยมรรคแล้ว เพราะคำว่าแค่เข้าใจหรือเข้าใจ มันเป็นธรรมชาติของสติสัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา ไปเรียบร้อยแล้ว แค่เข้าใจนี่มันจะbalanceกันดี มันสมดุลกันดี สติ สมาธิ ปัญญา จะสมดุลกันดี แค่เข้าใจตามที่มันเป็น หรือตามที่มันไม่เป็น แต่ก็ปล่อยให้มันอนิจจังกันเอง แค่นี้แหละไม่ต้องไปแก้ไข แค่เข้าใจแล้วปล่อยให้เขาเป็นไปตามวิถีธรรมชาติเขา
อย่างเพ่งกับไม่เพ่งนี้ก็เหมือนกัน ถ้ามันเพ่งแล้วจะแก้ไขอย่างไร ? ถ้าจ้องแต่จะแก้ไขตัวเพ่งเล็ง มันก็จะกลายเป็นปฏิเสธไปซะ เอียงซ้าย เอียงขวา จิตไม่ตรงถ้าคอยแต่จะแก้ไขตัวเพ่งเล็งแล้วกลายเป็นปฏิเสธตัวเพ่งเล็งนั่นล่ะ ยิ่งเพ่งเล็งหนักขึ้นไปอีก จังหวะสองจังหวะสาม ก็รู้อยู่ว่า เมื่อเพ่งเล็งจิตไปหาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมันก็ทุกข์ตาม ทุกข์จิตทุกข์ใจตามมา อย่าว่าแต่เพ่งเล็งจิตไปหาสิ่งใดแล้วให้วุ่นวายตีกลับมาหาจิตเลย แม้แต่เพ่งเล็งจิตเองก็ทุกข์กันอยู่ในจิต มัดกันอยู่ในจิต ตึงเครียดกันอยู่ในจิตตึงเครียดกันอยู่ในจิตเรียกว่า ดอกบัวไม่บาน มันหุบเข้าๆ
แล้วจะไปแก้ไขตัวเพ่งเล็งอย่างไร ? ก็ไม่ต้องแก้ ถ้าไปแก้มีตัวตนไปแก้ หลงมีตัวมีตนตั่งแต่เริ่มแล้วในการไปแก้ไข ฉะนั้นก็ปล่อยให้เขาเพ่งของเข้าเอง นั่นล่ะ เขาจะคลี่คลายของเขาเอง เพ่งก็แค่เข้าใจ ไม่เพ็งก็แค่เข้าใจ แต่ก็ปล่อยให้เขาเพ่งของเขาเอง ไม่เพ่งของเขาเองเรียกว่า ให้อนิจจังกันเอง ทุกข์ขังกันเอง ไม่อนิจจังกันเอง ไม่ทุกข์กันเอง ฉะนั้นหลักในการวางทุกข์ในศาสนาก็คือ วาง หลักการปลงก็คือ ปลง ปล่อยคือปล่อย ไม่มีข้อแม้ การปลงทุกข์ก็คือ ปล่อยให้ทุกข์เป็นทุกข์ ให้มันทุกข์ของมันเอง ทุกข์มากทุกข์น้อยก็ปล่อย ให้มันทุกข์ มากทุกข์น้อยของมันเอง นั่นล่ะเขาเรียกว่า ปลงทุกข์ วางทุกข์

มีหัวข้ออื่นในวันต่อไป ขออนุโมทนาด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย ปล่อยให้จิตคลี่คลายอยู่เสมอ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
ณ วัดร่มโพธิธรรม
....................................................................................................................................................
คัดจากหนังสือ สัจจะธรรม
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2544
จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
ผู้เรียบเรียง นพ. ดิลก พูนสวัสดิ์

ปล่อยให้จิตคลี่คลายอยู่เสมอ


ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การแก้ไขก็คือ ไม่ต้องแก้ไขรหัสนัยของเขาจริง ๆ ที่นำไปสู่การแจ่มแจ้งในธรรมชาติเดิมแท้แห่งกายและจิต และสรรพสิ่งนั้น ก็คือ แก้ไขการก็คือไม่ต้องไปแก้ไข อันนี้เป็นรหัสนัยของจิตพ้นทุกข์หรือจิตอิสระ หรือจิตที่มันคลี่คลายโดยธรรมชาติ หรือจิตที่ไร้อุปทาน เดี๋ยวจะไปโยงใยไปหาภายนอกว่า ถ้าอย่างนั้นภายนอกมีปัญหา ก็ไม่ต้องแก้ไขนะซิ ? ถ้าจะพูดถึงจิตที่ไม่ขังทุกข์แล้วล่ะก็ ข้างนอกจะแก้หรือไม่แก้แต่ข้างในนี้ต้องถอดใจ คือ ต้องปล่อยให้มันคลี่คลายโดยสถานเดียว ข้างนอกจะแก้หรือไม่ แต่ข้างในต้องคลี่คลายอยู่เสมอ ๆ ปล่อยให้มันเป็นกันเองอยู่เสมอ ๆ ให้มันเห็นเองอยู่เสมอ ๆ ให้เป็นหลักธรรมชาติจิตเดิมล้วน ๆ รองรับทุกสถานการณ์ เรียกว่า ดอกบัวภายในบานอยู่เสมอ ๆ คลายอยู่เสมอ ๆ ไม่เป็นมโนกรรมสอดคล้องกับพฤติกรรมภายนอก เรียกว่า ภายในนี้แก้แล้ว คือได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว เรียกว่า จิตคลี่คลายกันดีงามอยู่แล้วตามธรรมชาติ รู้กันเองอยู่แล้วเห็นกันเองอยู่แล้วตามธรรมชาติ ไร้เจตนาอยู่แล้วตามธรรมชาติ เรียกว่า ภายในได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว
ส่วนภายนอกจะไปแก้ไขหรือไม่ก็ตามเหตุตามปัจจัย ไม่ใช่ภายในยังไม่แก้ไข แต่จะรีบร้อนไปแก้ไขภายนอกก่อน ก็ยิ่งไปมัดเข้า มัดเข้า เรียกว่ามโนกรรม บวกวจีกรรม บวกกับกายกรรม วัฏจักรแห่งกรรมสมบูรณ์แบบ ดังนั้นจะแก้ไขอะไรภายนอกหรือไม่ภายในต้องแก้ไขก่อน คลี่คลายก่อน จะได้ไม่เป็นมโนกรรม เรียกว่า ให้มันรู้เอง เห็นเอง ไร้เจตนาในการรู้การเห็นสถานเดียว เมื่อไร้มโนกรรมแล้ว วจีกรรม , กายกรรมก็บรรเทา เรียกว่าเป็นวจีที่บริสุทธิ์ กายกรรมที่บริสุทธิ์ เพราะว่า มีธรรมชาติมโนอันบริสุทธิ์รองรับ ความบริสุทธิ์ภายในเป็นฐานรองรับคำพูดและการกระทำเวลาพูดกันว่า กาย วาจา ใจ แต่จริงแล้วใจก่อน
ฉะนั้นหากใจไม่เข้าใจระบบใจเอง มันก็จะไม่เข้าใจเหมือนกัน ดังนั้นคำว่า ปลงก็คือ ปลงจริง ๆ ปลงกับปล่อยก็อันเดียวกัน คำว่าปลง เช่น ปลงการเกิด ปลงการแก่ ปลงการเจ็บ ปลงการตาย คือ เมื่อมันเกิดก็ปล่อยให้มันเกิดตามเหตุตามปัจจัย ยอมรับสภาพอาการตามที่เกิดมา มันจะอย่างไรมันก็เกิดมาแล้ว จะมีทุกข์มากทุกข์น้อย นั่นมันก็เป็นปกติธรรมดาของการเกิด ก็ปล่อยให้มันเกิดตามเหตุตามปัจจัย มีทุกข์มีโทษ กันตามเหตุตามปัจจัย อันนี้คือ ปลงการเกิด ปลงการแก่ ก็ คือ แก่เป็นแก่ก็ต้องปล่อยให้มันแก่ของมันเอง อย่างนี้ เรียกว่า ปลงแก่ ไม่ใช่มันแก่แล้วไม่ยอมแก่ อันนี้ไม่ปลงแก่ ต้องปล่อยให้มันแก่ตามเหตุตามปัจจัย มันตายก็ปล่อยให้มันตายาของมันเอง ก็เรียกว่า ปลงตาย ไม่ดื้อรั้นต่อความตายหรือความเสื่อมไปของกายสังขาร ไม่ดันทุรังที่จะเอาชนะความตาย อันนี้ก็เรียกว่า ปลงตาย เจ็บเป็นเจ็บ มันก็เจ็บตามเหตุตามปัจจัยตามธรรมชาติของมันจะเจ็บมันก็ต้องเจ็บ ก็ปล่อยให้มันเจ็บของมันเองอันนี้เรียกว่า ปลงเจ็บ ไม่ใช่ เจ็บแล้วไม่ยอมเจ็บ จะเอาชนะความเจ็บความปวด ก็ไม่เรียกว่า ปลง ดังนั้นปลงกับปล่อยก็เหมือนกัน อันเดียวกัน

มีหัวข้ออื่นในวันต่อไป ขออนุโมทนาด้วยคร้บ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2009, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย มันเป็นของมันเอง โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
ณ วัดร่มโพธิธรรม
....................................................................................................................................................
คัดจากหนังสือ สัจจะธรรม
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2544
จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
ผู้เรียบเรียง นพ. ดิลก พูนสวัสดิ์

มันเป็นของมันเอง


การปลงในระบบจิตก็เหมือนกัน ฟุ้งซ่านก็ปล่อยให้มันฟุ้งซ่าน ถ้ามันไม่ฟุ้งซ่านก็ปล่อยให้มันไม่ฟุ้งซ่านของมันเอง เรียกว่า สภาวะต่อสภาวะเลย มันไม่แน่นอนก็ปล่อยให้มันไม่แน่นอนของมันเอง มันแน่นอนก็ปล่อยให้มันแน่นอนของมันเอง ก็เรียกว่า ปลงระบบทั้งแน่นอนและไม่แน่นอนปลงหมด มันคิดก็ปล่อยให้มันคิดของมันเอง เรียกว่า ปลงความคิด ถ้ามันคิดแล้วไม่ยอม จะต้องให้มันหยุดคิด อย่างนี้เรียกว่า ไม่ปลง ดันทุรังที่จะเอาชนะความคิด ก็เท่ากับยิ่งแพ้ เพราะอะไร เพราะความคิดไม่มีตัวตน ล้วนแต่อนัตตาหมด มันจะเกิดมันก็เกิด มันจะดับมันก็ดับ แต่เรากลับหลงสำคัญในการมีตัวเองเข้าไปชนะมัน ดังนั้นเมื่อเขาคิดก็ปล่อยให้เขาคิดของเขาเอง เรียกว่า ปลงความคิด จะคิดมากหรือคิดน้อยไม่มีข้อแม้ จะคิดมากคิดน้อยก็ตาม ก็ปล่อยให้เขาคิด ของเขาเอง แค่เข้าใจตามที่เป็นแต่ก็ปล่อยให้เขาเป็นของเขาเอง อย่างนี้เรียกว่าทั้งมรรคทั้งผลพร้อมอยู่แล้ว
เขาจะปรับเปลี่ยนอย่างไรตามธรรมชาติเขา ก็ปล่อยให้เขาปรับเปลี่ยนกันเองตามเหตุตามปัจจัย ถ้าถามว่า แล้วเวลาจิตเป็นอกุศลแล้วจะแก้ไขอย่างไร เราก็ต้องเข้าใจว่า การที่จิตเป็นอกุศลได้ก็เพราะมันเข้าไปกำ แล้วเป็นอกุศลทำนองไหนล่ะ?
ในทำนองคิดไม่ดีเป็นอกุศลจะแก้ไขอย่างไร ? เราก็ต้องเข้าใจ ในขณะที่มันคิดไม่ดีเป็นอกุศลไปแล้วนั้น ก็เพราะว่าไม่ได้ปล่อยให้มันคิดของมันเอง ขณะนั้นขาดความเข้าใจในการปลงระบบจิต ปลงระบบความคิด ก็เลยไปหมกมุ่นกับการไปนึกไปคิดกับมัน จนเถลไถลเข้าไปในความเป็นอกุศลในความคิดไม่เข้าใจความคิดแล้วไม่ได้ปล่อยให้มันคิดของมันเองมันก็เลยเป็นกุศลบ้างเป็นอกุศลบ้าง ทีนี้จะไปแก้ไขอย่างไร มันก็ต้องปลงอย่างเดียว ถ้ามันเป็นอกุศลก็ปล่อยให้มันเป็นอกุศลของมันเอง อย่างนี้ก็เรียกว่าอิสระเสียแล้วจากอกุศล อกุศลจะไม่เป็นอกุศลอีกต่อไป ถ้ามันคิดไม่ดีแล้วก็ปล่อยให้มันคิดไม่ดีของมันเองมันก็จะเริ่มอิสระจากความคิดที่ไม่ดี เริ่มปลงความคิดที่ไม่ดี ความคิดที่ไม่ดีนั้นมันก็จะไม่เป็นความคิดที่ไม่ดี อีกต่อไป มันจะหยุด มันจะเริ่มอ่อนตัวลง เพราะว่าไม่มีดีกรีแห่งความเป็นเราหรือความเป็นตัวตนเข้าไปส่งเสริมความคิดนั้นให้มันจัดขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า มันเป็นอะไรก็เข้าใจตามที่มันเป็น เรียกว่ามีสติอยู่แล้ว แค่เข้าใจแต่ก็ปล่อยให้มันเป็นของมันเอง เมื่อปล่อยให้มันเป็นของมันเอง ก็เรียกว่า คลี่คลายแล้ว จิตคลี่คลาย เมื่อจิตไม่กำมันก็คลายออก พอไม่ยอมมันก็มัดเข้าเลย จิตจะกำเข้า กำเข้า คิดจะเอาชนะความคิดจิตมันก็จะมัดเข้า มัดเข้า กำเข้า กำเข้า มันไม่คลาย มันไม่วาง จะเอาชนะอารมณ์ขึงขัง ดื้อดึง จะต้องเอาชนะอาการนี้ มันก็มัดเข้า ๆ มัดเข้า ๆ มีตัวมีตนอยู่ร่ำไป


มีหัวข้ออื่นในวันต่อไป ขออนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 08:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย ระบบจิตทั้งหมดเป็นอนัตตา โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
ณ วัดร่มโพธิธรรม
....................................................................................................................................................
คัดจากหนังสือ สัจจะธรรม
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2544
จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
ผู้เรียบเรียง นพ. ดิลก พูนสวัสดิ์

ระบบจิตทั้งหมดเป็นอนัตตา


พระพุทธองค์ก็บอกไว้แล้วว่า ระบบจิตทั้งหมดนี้เป็นอนัตตามันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนที่แท้จริง แตะไม่ได้ระบบจิตนี้แตะไม่ได้เลย ถึงจะรู้ก็แค่รู้ ถึงจะเห็นก็แค่เห็นแตะไม่ได้ ถึงจะเข้าใจอาการที่เป็นอยู่ก็แค่เข้าใจ แค่เข้าใจนี่มันตัดอยู่แล้วในตัว แค่รู้แค่เข้าใจมันก็ตัดอยู่แล้วแตะไม่ได้ ถ้าแตะปั๊ปก็คือ กำปุ๊ป ถ้าไม่แค่เข้าใจก็จะกำเลย จะเพ่งเล็งเสียหน่อย จะเข้าไปพิจารณาแยกแยะเสียหน่อยก็เรียบร้อยเลย กำเลย มโนกรรมเกิดเลย มันไม่เป็นสติตัดภพตัดชาติแล้ว ถ้าแค่เห็นแค่รู้แค่เข้าใจมันจะเป็นสติตัดภพตัดชาติ ตัดตัวปลงแต่ง ตัวอวิชชาสังขาร ถ้ามันยังไม่ชัดแจ้ง ยังอยากรู้ มันก็ต้องมีตัณหาในการอยากรู้อยากเห็นต่อไปอีก เรียกว่า ตัณหามันลากรู้ลากเห็น

ตัณหาจะคอยป้อนเชื้ออยู่เสมอในการที่จะให้วุ่นกับสิ่งนั้นบ้าง ยืดเยื้อกับอารมณ์นี้บ้าง ตัณหามันจะคอยป้อนเชื้ออยู่เสมอในการที่จะให้ภพชาติมันยืดเยื้อ สิ่งนั้น สิ่งนี้ มันจะต้องอย่างนั้น อย่างนี้ แล้วถามว่า จะแก้ไขอย่างไร ก็ไม่ต้องไปแก้เพราะว่าการที่จะแก้ไข คือ การที่ไม่ได้แก้ไข แต่กลับไปเพิ่มปัญหา ถ้าพูดถึงระบบจิต อย่าไปแก้มันเด็ดขาด เพียงแค่เข้าใจตามที่เป็น แล้วปล่อยให้เขาเกิดเองเป็นเอง
ต้องเข้าใจคำว่า ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง คราวนี้มันก็สอดคล้องกับธรรมชาติ ดังที่กล่าวแล้วว่า ปล่อยก็คือลองปล่อยดู อย่างสงบก็ปล่อยให้เขาสงบเอง อย่างไม่สงบก็ปล่อยให้เขาไม่สงบเอง ลองปล่อยดู เมื่อดำเนินจิตตามไปขณะไหนก็มีผลในขณะนั้น ประการแรกคือ เกิดมรรคขึ้นในจิตวิญญาณ จิตเริ่มเข้าใจธรรมชาติจิตเข้าใจอาการที่มีอยู่ตามความเป็นจริง ปล่อยให้อาการนั้นเกิดเองเป็นเอง ปล่อยให้อารมณ์นั้นมีเองเป็นเอง ก็จะเริ่มเข้าใจผลของการปล่อย ก็ปล่อยแล้วมันก็สบายดี เบาดี ไม่หงุดหงิดนัก ถ้ามันชำนาญขึ้นก็เรียกว่าหงุดหงิดนี้จะหมดไปเลย ปวดหัวหมดไป ในตอนแรกก็จะเริ่มรู้สึกสบายขึ้น เมื่อเริ่มปล่อยให้ธรรมชาติสงบกันเองบ้างไม่สงบกันเองบ้าง ก็จะเริ่มเห็นผล เริ่มสบาย เริ่มบรรลุสู่ผล เข้าใจธรรมชาติแห่งผลของการปล่อย ความกระวนกระวายเริ่มลดลง ได้ลิ้มรสชาติแห่งผลของการปล่อยหรือการวางอย่างแท้จริง

มีหัวข้ออื่นในวันต่อไป ขออนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย ตัณหาตัวบงการใหญ่ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
ณ วัดร่มโพธิธรรม
....................................................................................................................................................
คัดจากหนังสือ สัจจะธรรม
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2544
จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
ผู้เรียบเรียง นพ. ดิลก พูนสวัสดิ์

ตัณหาตัวบงการใหญ่


ดังนั้นจะไปสับสนกับระบบจิตกันมาก เพราะใช้ตัณหาบงการมานาน ก็อดไม่ได้ที่จะดิ้นรนอย่างนั้นอย่างนี้ ใช้ตัณหาดิ้นรนในการรู้การเห็น บงการการนึกการคิดการปรุงการแต่ง บงการในการที่จะต้องแก้ไขและปรับปรุงการที่ต้องทำให้ดีกว่านี้ การที่จะให้หมดจากนสี้ หรือต้องให้ตรงนี้หมดไป สารพัดที่จะไปทำมันมีตัณหาบงการตลอดเวลา มีความเป็นตัวตน เข้าไปบงการตลอดเวลา ความจริงแล้วจะต้องหมดตัวหมดตน อันนี้เราจ้องแต่จะให้ตรงนั้นหมด ตรงนี้หมด อาการนี้หมด อาการนั้นหมด อารมณ์นี้หมดไป ความคิดชนิดนี้จะต้องหมดไป คือจ้องแต่จะให้มันหมด แต่ว่าเรามีอยู่ตลอดเวลา มีความสำคัญในการเป็นเราอยู่ตลอด จ้องจะให้มันหมดไป ความจริงมันก็หมดอยู่แล้ว เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อนิจจังตลอดสาย ไม่มีภาวะไหน อาการไหน เป็นตัวเป็นตนอย่างแท้จริง หรืออนิจจังที่แท้จริง เป็นอนิจจังตลอดสายอยู่แล้วอันนี้ก็ไม่เข้าใจ จ้องแต่จะให้สิ่งที่มันไม่มีตัวมีตนหมดไป จ้องแต่สิ่งที่มันไม่เป็นตัวเป็นตนจริง ๆ อยู่แล้วหมดไป
ดูเอา............ มันหลงขนาดนี้ เพ่งก็ตาม ไม่เพ่งก็ตามมันก็ไม่มีตัวมีตนอยู่แล้ว วางได้ก็ตาม วางไม่ได้ก็ตามมันก็เป็นธรรมชาติไม่มีตัวมีตนอยู่แล้ว วางได้ก็แค่นั้น วางไม่ได้ก็แค่นั้น แค่เข้าใจเหมือนเดิม เราก็ต้องปล่อยให้เขาวางได้เอง วางไม่ได้ของเขาเอง อย่างนี้เรียกว่า คลายตลอดสาย เบิกบานตลอดสาย เป็นดอกบัวในภายในที่บานอยู่ตลอดสาย ถ้าบานแล้วไม่มีหุบน่ะดอกบัวภายในถ้าลองได้บานแล้วบานเลย จะบานไปเรื่อยเลยไม่มีหุบทีหลัง ระบบจิตนี้พอได้แนวทางของการปล่อยแล้ว ได้ลิ้มรสชาติของผลแห่งการปล่อยแล้วว่าเบาสบายอย่างไร คราวนี้เขาจะปล่อยไปเรื่อย ๆ เลยไม่มีหรอกที่จะวกกลับมากำอีก มาหุบอีกจะไม่มี เขาจะปล่อยไปเรื่อยเลย เพราะเมื่อรู้รสชาติของการวางแล้วพอเข้าไปกำนิดหนึ่งมันก็จะทุกข์สาหัสสากรรจ์ในระบบจิต เรียกว่า แตะนิดก็ทุกข์ แตะนิดก็ทุกข์ปั๊ป รสชาติของวิมุติภาวะแห่งการจางคลายละเอียดประณีต เยือกเย็นเบาสบายอย่างไร รสชาติแห่งการที่เข้าไปกำธรรมชาติมัน กำระบบมันนี่ทุกข์อย่างไร อัดอั้นอย่างไร ไม่ปลอดโปร่งแจ่มใสอย่างไร นี้เขาจะรู้จักรสชาติแห่งความทุกข์ รสชาติแห่งการเข้าไปกำ กับรสชาติแห่งการปล่อยวางจางคลายนี้ เขาจะสะท้อนต่อกันและกัน เรียกว่าผลจะสะท้อนซึ่งกันและกัน ผลของการเข้าไปกำมันก็จะสะท้อนออกมาว่า มีผลอย่างไร ผลของการจางคลาย ก็สะท้อนออกมาว่า มีผลอย่างไร ผลต่อผลเขาก็จะวัดกันเอง กลายเป็นอริยมรรคที่เข้มแข็งขึ้น
เดี๋ยวรู้ เดี๋ยวไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร? จะไปแก้อะไรมันไม่รู้ก็ปล่อยมันไม่รู้ของมันเอง ไม่ใช่เราไม่รู้แล้วเราจะต้องรู้นี่ก็ตายเลย แค่เราไม่รู้ ก็ทุกข์อยู่แล้ว เราจะต้องรู้นี่ก็ทุกข์กำลังสองเลย ถ้าเราจะต้องดันทุรังจะต้องรู้ต่อไปอีกนี่ ทุกข์กำลังสามกำลังสี่เลย ทุกข์เกิดขึ้นทุกข์ตั้งอยู่ ทุกข์ดับไป ทุกขณะต่อขณะ สภาวะต่อสภาวะ ก็สภาวะมันเอง คลี่คลายสภาวะมันเอง สภาวะมันเองก็ดับสภาวะมันเอง จะไปเอาอะไรมาแก้ สภาวะมันเองก็เข้าใจสภาวะมันเองแค่นี้พอ จะต้องไปเอาสภาวะไหนมาเข้าใจสภาวะนี้อีก อาการนี้เข้าใจอาการนี้เองจะไปเอา อาการไหนเข้าใจอาการนี้อีก แต่ละอาการก็เข้าใจอาการของมันเองก็ตรงตัวอยู่แล้ว เรียกว่า นิโรธตรงตัวอยู่แล้ว ตัดหมด ไม่รู้ก็ปล่อยให้มันไม่รู้ของมันเองแค่ไม่รู้ รู้ก็ปล่อยให้มันรู้ของมันเอง แค่รู้ ขณะที่ไม่รู้ก็ปล่อยให้มันไม่รู้ของมันเอง แต่มันก็รู้อยู่ คือแค่ไหน แค่นั้นไปเลย ไม่รู้ก็ปล่อยให้มันไม่รู้ รู้ก็ปล่อยให้มันรู้ของมันเอง เรียกว่า ไม่เยิ่นเย้อทุกข์กำลังหนึ่ง ไม่มีทุกข์กำลังสอง ทุกข์กำลังหนึ่ง ก็คือ ทุกข์ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติอย่างคิดก็เหมือนกัน คิดก็ปล่อยให้มันคิดของมันเอง ไม่ใช่ว่าฉันจะต้องไม่คิดก็เลยกลายทุกข์กำลังสอง ทุกข์กำลังสามอยู่ มัวที่จะไม่คิดอยู่ ถ้าคิดก็ปล่อยให้มันคิดของมันเองก็แค่ทุกข์จังหวะเดียว เอ๊ะ! ทำไมเราจะต้องคิดด้วย ? นี่ทุกข์จังหวะสอง

มีหัวข้ออื่นในวันต่อไป ขออนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2009, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย มันเกิดกันเองดับกันเอง โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
ณ วัดร่มโพธิธรรม
....................................................................................................................................................
คัดจากหนังสือ สัจจะธรรม
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2544
จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
ผู้เรียบเรียง นพ. ดิลก พูนสวัสดิ์
มันเกิดกันเองดับกันเอง

ฉะนั้นไม่ต้องแก้ไข เกิดแค่ไหนก็แค่นั้น ดับแค่ไหนแค่นั้น เป็นแค่ไหนแค่นั้น มีแค่ไหนแค่นั้น สภาวะต่อสภาวะ คิดก็แค่ปล่อยให้มันคิดเอง นึกก็แค่ปล่อยให้มันนึกเอง หงุดหงิดก็แค่ปล่อยให้มันหงุดหงิดเอง มันก็เป็นอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็จางคลายสลายธรรมชาติมันไปตามกฎอนิจจัง ถ้าไม่ยอมแค่ไหนแค่นั้น นี่มันจะมีจังหวะสอง จังหวะสาม ต้องมาหาวิธีดับ พอเริ่มหาก็เริ่มทุกข์จังหวะสอง หาไม่เห็นต่อไปอีกก็จังหวะสาม จังหวะสี่ เพราะยิ่งหาก็ยิ่งเลยเถิด ยิ่งสร้างทุกข์เพิ่มขึ้นไปอีก ก็ยิ่งหงุดหงิดมากขึ้น แล้วก็มีทุกข์มารุมเร้าไม่รู้กี่กำลังเพราะมันผิดธรรมชาติ ของจริง ๆ เขาต้องปล่อยให้เกิดเองดับเอง ทุกข์เกิดเองดับเอง อนิจจังกันเอง อนิจจังเกิดเอง อนิจจังเป็นเอง ของจริง ๆ แล้วต้องเป็นเองปล่อยธรรมชาติเขาเป็นธรรมชาติของเขาเอง เขาเกิดกันเองเขาดับกันเอง เขามีกันเอง เขาเป็นกันเอง เขาทุกข์กันเอง เขาคลี่คลายทุกข์กันเอง จริง ๆ แล้วมันต้องเป็นอย่างนี้
ถ้าลองเขาเป็นของเขาเองแล้ว อย่างนี้จะไม่มีเราในการเป็น มันจะหมดความสำคัญโดยความเป็นเราผู้เป็นทุกข์ หรือเป็นอะไรก็ตาม จะหงุดหงิดปล่อยเขา หงุดหงิดกันเอง อย่างนี้จะหมดความสำคัญโดยความเป็นเราหงุดหงิด มันลดยวบลงเลย อาการหลงดันทุรังกับตัวหงุดหงิด มันจะลดลงเลย เรียกว่า เริ่มปลง เริ่มยอมรับสภาพ เริ่มไม่ดื้อดึงกับความหงุดหงิดอันเป็นธรรมชาติธาตุหนึ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป หงุดหงิดก็ปล่อยให้เขาหงุดหงิดของเขาเอง อย่างนี้ก็เริ่มลดการมีตัวตนในการดิ้นรนขัดแย้งกัน ก็เป็นทุกข์จังหวะเดียว แค่หงุดหงิดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีจังหวะสอง จังหวะสาม
ฉะนั้นทุกคนก็อยู่กับธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่นั่นล่ะแค่นี้เอง มันมีอยู่อย่างไร เป็นอยู่อย่างไร สภาวะกาย สภาวะจิต สภาวะภายนอกใน อายตนะ ผัสสะ ทั้งหลายมันมีอยู่เองอย่างไร เป็นอยู่อย่างไร ก็อยู่กับการมีอยู่เป็นอยู่เองอย่างนั้นแหละ อยู่กับสิ่งที่มีอยู่เองนี้ล่ะเป็นไปเองนี่ล่ะ ไม่ว่ามันจะแปรเปลี่ยนไปอย่างไรทุกสถานการณ์ ก็อยู่กับความแปรเปลี่ยนที่มันแปรเปลี่ยนกันเองนี่แหล่ะ ไม่ได้ไปค้นหาวิธีไหนมาแก้ตัวไหนหรอก ให้ยุ่งยากเป็นปัญหาซ้ำซ้อน ไม่ได้เอาตัวนี้มาดับตัวนั้นเอาตัวนั้นมาดับตัวนี้ให้ยุ่งยากซ้ำซ้อนหรอก แค่อยู่กับการเกิดเอง ดับเองตัวนี่แหละ อยู่กับการเกิดเอง เป็นเอง ดับเอง ของสภาวะนี้แหละ อยู่กับการเกิดเองเป็นเองของอารมณ์นี้แหละ ไม่ได้ไปหาเอาสิ่งนั้นมาดับอารมณ์นี้หรืออาการนี้ไปดับอารมณ์นั้น ไม่เป็นตัณหาซ้ำซ้อนอยู่กับธรรมชาติที่เกิดเองเป็นเองนั่นแหละ แล้วปล่อยมันปรับเปลี่ยนกันเอง
อย่างทุกขังก็เหมือนกัน ทุกข์ไปเรื่อย ทุกข์มากทุกข์น้อยทุกข์ไปเรื่อยทุกขังอย่างนี้ เราก็อยู่กับทุกข์ที่มันทุกข์กันเอง ปล่อยให้มันทุกข์กันเอง ยิ่งจะไปดิ้นรนที่จะให้พ้นทุกข์ยิ่งทุกข์หนัก ฉะนั้นให้เข้าใจเสียเลย ให้อยู่กับธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่ ที่เขามีของเขาเอง เป็นของเขาเอง เพียงแต่ว่าให้เป็นของเขาเอง มีอยู่เองเท่านั้นล่ะ มันจะได้ผ่อนคลายระบบให้มันเยือกเย็นลงมา เบาบางลงมา


มีหัวข้ออื่นในวันต่อไป ขออนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2009, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย เข้าใจถึงการไม่ผูกมัดกันเองธรรมชาติ
โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต
ณ วัดร่มโพธิธรรม
....................................................................................................................................................
คัดจากหนังสือ สัจจะธรรม
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2544
จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
ผู้เรียบเรียง นพ. ดิลก พูนสวัสดิ์


เข้าใจถึงการไม่ผูกมัดกันเองธรรมชาติ



ที่สำคัญ จะขาดความเข้าใจไม่ได้เลย จะเป็นมากเป็นน้อย เป็นอย่างไรก็ต้องมีความเข้าใจในตัวมันเองรองรับอยู่ด้วย และก็หมายถึงความเป็นไปเองตามธรรมชาติอย่างอิสระด้วย เรียกว่า เป็นของมันเองอย่างอิสระโดยปราศจากการผูกมัดในการเป็น ต้องเข้าใจเสมออาการไหนก็เป็นไปได้หมด ก็เป็นตามธรรมชาติของมัน ภาวะไหนก็เป็นไปได้หมด ก็เป็นตามธรรมชาติมัน เรียกว่า มันมีสิทธิตามธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น ที่จะเป็นกันเองตามธรรมชาติของมัน ตามเหตุปัจจัยของมัน เพียงให้เข้าใจถึงอิสรภาพในทุก ๆ ธรรมชาติ ที่ว่าไม่ผูกมัดกันในตัวของมันเองนั้นอยู่เสมอ ๆ สอดคล้องไปด้วย ความเข้าใจอย่างนี้สอดคล้องไปด้วยเสมอ ๆ จะนั่งหรือจะยืน จะเดินจะนอน อะไรก็แล้วแต่ ความเข้าใจอย่างนี้มีอยู่เรื่อย จะนึกหรือไม่นึก จะคิดหรือไม่คิดก็แล้วแต่ หรือขณะฟุ้งซ่านมากมายก็แล้วแต่ ก็เข้าใจอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ เข้าใจถึงความเป็นธรรมชาติของมัน ที่มันเป็นกันเองตามธรรมชาติของมันนั้น ให้นึกถึงการไม่ผูกมัดกันในธรรมชาติของมันนั่นเอง เพราะปกติมันก็อย่างนั้นอยู่แล้ว
ที่ให้นึกถึงการไม่ผูกมัดกันในตัวของมันเองนั้น ก็เพื่อต้องการจะกันความหลง กันความโง่ กันโง่กันหลง เดี๋ยวมันจะเกิดโง่เกิดหลงไปผูกมัดมันเข้า มันก็ทุกข์ซ้อนทุกข์ทันที ไม่ใช่แค่ทุกข์เกิดเองเป็นเองตามธรรมชาติเสียแล้ว มันก็ทุกข์ซ้อนทุกข์ทันที เพราะฉะนั้นความเข้าใจมันจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เป็นอย่างไรก็เข้าใจตามที่เป็นอย่างนั้น แล้วก็ต้องแหลมคมด้วย คือต้องหมายถึงความอิสระอยู่แล้วในตัวของมันเอง ความไม่ผูกมัดอยู่แล้วในตัวของมันเองนั้น มันแค่เกิดแค่เป็นตามธรรมชาติเท่านั้น
มีหัวข้ออื่นในวันต่อไป ขออนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมบรรยาย ความเข้าใจเป็นฐานรองรับ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต ณ วัดร่มโพธิธรรม
....................................................................................................................................................
คัดจากหนังสือ สัจจะธรรม
พิมพ์ครั้งแรก กุมภาพันธ์ 2544
จำนวนพิมพ์ 3,000 เล่ม
ผู้เรียบเรียง นพ. ดิลก พูนสวัสดิ์


ความเข้าใจเป็นฐานรองรับ


ปกติมันก็อิสระอยู่แล้วในธรรมชาติของมันเอง ทุกสภาวะขณะจิต เพียงแต่ว่ามันก็เกิดตามเหตุตามปัจจัยของมันเท่านั้น ให้เข้าใจทุกสภาวะ อยู่กับมันด้วยความเข้าใจตลอด ถ้าเข้าใจตลอดแล้วมันก็จะไม่หลงดันทุรังยึดแน่นอน มันก็แค่อาการที่มีกันเองเป็นกันเองตามธรรมชาติ รู้สึกกันเองตามธรรมชาติ นึกกันเองไม่นึกกันเอง คิดกันเอง ไม่คิดกันเองตามธรรมชาติ หรือจะไปน้อมนึกน้อมคิดก็ให้เข้าใจถึงการไม่ผูกมัดกันในตัวมันเองอยู่แล้ว มันก็จะไม่คิดด้วยความโง่ ความหลง แน่นอน ถึงแม่ว่าจะให้น้อมนึก น้อมคิดก็คิดไป แต่ก็ให้เข้าใจถึงการไม่ผูกมัดกันในสภาวะของมันเองนั้นแหละมันก็ไม่หลงแน่นอน ก็นึกไปคิดไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ก็เข้าใจกับมันไป มันจะกี่ร้อย กี่ล้านขณะของการเกิดการเป็น ก็ให้เข้าใจกับมันไปทุกขณะ มันมีกันอยู่เรื่อย ๆ มันปรับ มันเปลี่ยนอยู่เรื่อย ๆ ก็ให้เข้าใจมันไปเรื่อย ๆๆๆๆๆๆๆ มันไปได้เรื่อย ๆ เราก็ไปได้เรื่อยๆๆๆๆ ไม่ใช่เอ๊ะ ! เมื่อไรมันจะหมดเสียที...............นี่ไม่ใช่มันมีได้เรื่อย ๆ เราก็เข้าใจมันได้เรื่อย ๆ มันเป็นกันอย่างไรก็เข้าใจตามที่มันเป็นอย่างนั้นไปได้เรื่อย ๆ เหมือนเงาที่ตามตัว มีตัวก็มีเงา มันจะปรับไปในลักษณะไหนก็เข้าใจไปตามที่มันปรับไปในลักษณะนั้น ไม่เหลือบ่ากว่าแรงหรอก
แค่ความเข้าใจที่ว่า ไม่ผูกมัดกันในตัวมันเอง มันไม่เหลือบ่ากว่าแรงหรอก มันไม่ได้หนักหนาสาหัสสากรรจ์แต่มันจะให้เบาใจให้วางใจ จะน้อมไปเป็น หรือจะเป็นเองจะดำริให้เกิด หรือจะเกิดเอง ก็ให้ตระหนักถึงการไม่ผูกมัดกันในสภาพของมันนั่นแหละ มันก็จะเบาใจ เกิดเองก็ไม่โง่ ไม่หลงไปครอบงำการเกิด หรือไปตั้งใจพามันเกิด ก็ไม่โง่ไม่หลงในการพามันเกิดเพราะมันเข้าใจอยู่มันจะได้ทั้งสองอย่าง นี่ล่ะทางสายกลาง ไม่ใช่เกิดไม่ได้จะต้องไม่เกิดอย่างเดียว นี่ก็ยังไม่กลางพอ เกิดก็ได้ไม่เกิดก็ได้ ให้มันเข้าใจถึงความไม่ผูกมัด กันในสภาพของมันเอง รับรองว่าเหนือเกิดเหนือดับแน่นอน เหนือเกิด เหนือไม่เกิดแน่นอน อิสระจากการผูกมัดในการเกิดและการไม่เกิดแน่นอน เกิดก็ได้ ไม่เกิดก็ได้ ไม่ผูกมัดด้วยกันทั้งนั้น ขอให้ความเข้าใจเป็นฐานรองรับอยู่ตลอดเวลา

มันจะมีกี่ขณะจิต ก็เข้าใจไปเท่านั้น จะตั้งใจ เข้าใจหรือจะค่อย ๆ เข้าใจ หรือจะไม่เข้าใจของมันเองก็เข้าใจอยู่เรื่อย ๆ เข้า กันโง่ กันหลงไว้ รูปนามกายใจทั้งหลาย อายตนะ ผัสสะ มันมีกันได้เรื่อย ๆ ก็เข้าใจกันได้เรื่อย ๆ มันเป็นกันอยู่
เสมอๆ ก็เข้าใจกันอยู่เสมอ ๆๆๆ มันมีกันอยู่แล้วตามธรรมชาติ ก็เข้าใจกันแบบตามธรรมชาติ ที่มันมีกันอยู่แล้ว ไม่ได้ไปปีนเกลียวอะไรกับมันให้ยุ่งยากไม่เป็นภาระพะรุงพะรัง แต่มันจะไปลดความพะรุงพะรังถ้ามันกันหลงมันจะไม่พะรุงพะรัง ทุกขณะมันไม่ผูกมัดในตัวมันเองมันก็ไม่พะรุงพะรัง ถึงบ่าจะแบกถึงมือจะจับอะไรอยู่มากมายก็ยังไม่พะรุงพะรังเลย เพราะมีความเข้าใจมัน รองรับอยู่ตลอด ก็เลยสอดคล้องไปด้วยความสบาย ๆ จิตจะไม่พะรุงพะรังเลย อิสระในตัวของมันเองอยู่แล้วสบาย ๆ ภาวะไหนก็ไม่ผูกมัดกันในภาวะนั้น ให้เข้าใจเสียเลย อาการไหนก็ไม่ผูกมัดกันในอาการนั้นเข้าใจซะเลย ถ้าไม่เข้าใจก็จะหลงไปเลย หลงเลย แต่ก็หลงไม่ได้จริง หลงอะไรก็หลงไม่ได้จริง เพราะว่าไม่มีสิ่งไหนที่จะยึดเอาได้จริง มันก็เลยหลงไม่ได้จริง แต่ก็หลง

มีหัวข้ออื่นในวันต่อไป ขออนุโมทนา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 78 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร