วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 00:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


yodchaw เขียน:

ตามรู้อย่างเดียว มีความหมายเดียวกับคำว่า รู้แล้วดับตาม หรือไม่ครับ

เพราะคำว่าตามรู้อย่างเดียว มันยังไงไม่รู้ ดูมันเลื่อยลอย ไม่มีที่จบ ขยายความอีกนิดครับ




ขออนุญาตครับ

คำว่า ตามรู้อย่างเดียว มันขึ้นกับว่า มีความหมายอย่างใด ระหว่าง

1.วางเฉยต่อจิตในสมัยที่ควรวางเฉย อันเป็นหนึ่งในสี่วิธีปฏิบัติต่อจิต ในสีติวรรค ซึ่งหมายถึงว่า ปฏิบัติเช่นนี้ในบางสมัย....... ซึ่ง เป็นพระพุทธพจน์โดยตรง

หรือ

2.ให้เพียงแค่รู้อย่างเดียว ห้ามไม่ให้"ข่ม-ประคอง-ยังจิตให้ร่าเริง ในสมัยที่ควร"เลย...... ซึ่ง เป็นประเด็นของโพล



ส่วนคำว่า รู้แล้วดับตาม นี้ สื่อถึง สังขารุเบกขาญาณ อันเป็นฝ่ายผล(วิปัสสนาญาณ) จากการเจริญอริยมรรค มาถูกทาง....
ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย.....
แต่ เป็นเรื่องของ ผล ที่บังเกิดเมื่อประกอบเหตุได้บริบูรณ์แล้ว.


ความสับสนอาจเกิดขึ้นได้ ถ้า นำผลมาปฏิบัติ แทนที่จะปฏิบัติประกอบเหตุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีอีกคำหนึ่ง ที่ใช้กันบ่อยในยุคปัจจุบัน คือคำว่า "รู้ตลอดสาย"



รู้ตลอดสาย มีความหมายที่เป็นกลาง กล่าวถึงการที่มีสติสืบเนื่องตลอดการภาวนา น่าจะตรงกันกับลักษณะ มีสติในกาลทุกเมื่อ

การ"ข่ม-ประคอง-ยังจิตให้ร่าเริง ในสมัยที่ควร" ก็เป็นการรู้ตลอดสาย เช่นเดียวกันกับ การ"วางเฉยต่อจิต ในสมัยที่ควร".....

เช่น เมื่อรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน และ เพียรข่มจิตลง ก็เป็นการรู้ตลอดสายเช่นกัน....หาใช่ว่า ในขณะที่เพียรข่มจิตลงจะเป็นการขาดสติแต่อย่างใด....พระพุทธองค์ไม่ทรงสอนให้สาวกกระทำการที่ขาดสติไว้หรอก

"รู้ตลอดสาย" จะมีนัยยะที่แตกต่างจาก ให้เพียงแค่รู้อย่างเดียว ห้ามไม่ให้"ข่ม-ประคอง-ยังจิตให้ร่าเริง ในสมัยที่ควร" ......




ในกรณีของ ให้เพียงแค่รู้อย่างเดียว นั้น จะเป็นลักษณะห้ามไม่ให้ปฏิบัติอื่นๆต่อจิตทั้งสิ้นเลย คือ ให้รู้แล้ววางเฉยอย่างเดียวเท่านั้น




ในขณะที่ "รู้ตลอดสาย" จะครอบคลุม การปฏิบัติต่อจิตทั้ง๔ลักษณะในสีติวรรค ไม่ว่าจะ

1.รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน +เพียรข่มจิตลง

2.รู้ว่าจิตดำรงด้วยดี+เพียรประคองจิตไว้

3.รู้ว่าจิตหดหู่+เพียรยังจิตให้ตั้งขึ้น

4.รู้ลักษณะของจิตตามที่เป็น +วางเฉยในลักษณะของจิต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย yahoo เมื่อ 19 ก.ค. 2018, 23:31, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตค่ะ

ไม่ใช่การเห็นด้วย หรือการปฏิเสธ ประเด็นของกระทู้
เพียงเก็บถ้อยคำของครูบาอาจารย์มาฝาก

“ สมาธิตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่พอ
ไม่พอจะใช้ดับทุกข์ดับกิเลสได้
จึงต้องฝึกให้สมาธิตามธรรมชาตินั้นให้เป็นสมาธิที่ยิ่งๆ ขึ้นไป
สมาธิที่เกิดตามธรรมชาติ เรียกว่า สัญชาตสมาธิ
สมาธิที่ฝึกขึ้นมาอย่างดีแล้ว เรียกว่า ภาวิตสมาธิ.....”

“เมื่อฝึกให้จิตเป็นสมาธิ
แล้วก็ใช้จิตชนิดนั้นให้ “ดู” ลงไปที่สิ่งที่ต้องการจะดู
ไม่ใช้คำว่า “คิด”
อาจจะใช้คำอื่นก็ได้ ใช้ "พิจารณาก็ได้"……”

ดู – เห็น - แล้วก็แจ่มแจ้ง

“ ความรู้นี้ก็เหมือนกัน รู้ได้เองตามธรรมชาติก็มี แต่มันไม่ถึงขนาด
การที่จะเห็นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นี้คนธรรมดาก็เห็นได้บ้าง
แต่มันไม่พอ ต้องเพิ่มน้ำหนักแห่งการเห็นให้มาก ให้เห็นชัด
ให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แจ่มชัด มันจึงจะกระเทือนถึงกิเลส
.......สัญชาตญาณ – รู้เองตามธรรมชาติ
......ภาวิตญาณ – รู้เพราะอบรมสมาธิจิตแล้วใช้สมาธิจิตดู
ญาณที่เกิดเองตามธรรมชาติไม่พอ ยังไม่ถึงขนาดที่ตัดกิเลสได้
ต้องอบรมให้ถึงขนาดที่จะตัดกิเลสได้ ”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิรินธน์ เขียน:

“ สมาธิตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่พอ
ไม่พอจะใช้ดับทุกข์ดับกิเลสได้
จึงต้องฝึกให้สมาธิตามธรรมชาตินั้นให้เป็นสมาธิที่ยิ่งๆ ขึ้นไป
สมาธิที่เกิดตามธรรมชาติ เรียกว่า สัญชาตสมาธิ
สมาธิที่ฝึกขึ้นมาอย่างดีแล้ว เรียกว่า ภาวิตสมาธิ.....”

“เมื่อฝึกให้จิตเป็นสมาธิ
แล้วก็ใช้จิตชนิดนั้นให้ “ดู” ลงไปที่สิ่งที่ต้องการจะดู
ไม่ใช้คำว่า “คิด”
อาจจะใช้คำอื่นก็ได้ ใช้ "พิจารณาก็ได้"……”

ดู – เห็น - แล้วก็แจ่มแจ้ง

“ ความรู้นี้ก็เหมือนกัน รู้ได้เองตามธรรมชาติก็มี แต่มันไม่ถึงขนาด
การที่จะเห็นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นี้คนธรรมดาก็เห็นได้บ้าง
แต่มันไม่พอ ต้องเพิ่มน้ำหนักแห่งการเห็นให้มาก ให้เห็นชัด
ให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แจ่มชัด มันจึงจะกระเทือนถึงกิเลส
.......สัญชาตญาณ – รู้เองตามธรรมชาติ
......ภาวิตญาณ – รู้เพราะอบรมสมาธิจิตแล้วใช้สมาธิจิตดู
ญาณที่เกิดเองตามธรรมชาติไม่พอ ยังไม่ถึงขนาดที่ตัดกิเลสได้
ต้องอบรมให้ถึงขนาดที่จะตัดกิเลสได้ ”


อนุโมทนา คุณทำให้ผมรู้สึกสนใจกระทู้นี้มากขึ้นมาอีกหน่อย..แล้ว

ตามด้วย...

ตรงประเด็น เขียน:

ส่วนคำว่า รู้แล้วดับตาม นี้ สื่อถึง สังขารุเบกขาญาณ อันเป็นฝ่ายผล(วิปัสสนาญาณ) จากการเจริญอริยมรรค มาถูกทาง....
ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย.....
แต่ เป็นเรื่องของ ผล ที่บังเกิดเมื่อประกอบเหตุได้บริบูรณ์แล้ว.


เอ้อ... สอง กรอบนี้ เป็นสิ่งที่มีโอกาสจะเกิดสืบเนื่องกันได้รึเปล่าครับ...


แก้ไขล่าสุดโดย yahoo เมื่อ 11 พ.ย. 2009, 09:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ yahoo ครับ



การ "รู้ตลอดสาย" ....ไม่ผิดแน่นอน

จะรู้ตลอดสาย และ ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม

จะรู้ตลอดสาย และ ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง

จะรู้ตลอดสาย และ ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรยังจิตให้ร่าเริง

จะรู้ตลอดสาย และ ไม่ทำอะไรเลย คือ วางเฉยต่อสภาวะของจิตต่างๆ ในสมัยที่ควร(ในบางสมัย)

ทั้ง๔แบบนี้ ผมเรียกว่า รู้ตลอดสาย ทั้งนั้น


ที่ผมยกประเด็นเรื่อง รู้ตลอดสาย มาพูด....

เพราะ ช่วงหลัง บางท่านจะให้ความหมานของคำว่า รู้ตลอดสาย = ให้รู้เพียงอย่างเดียว ห้ามไม่ให้ทำอะไรเลย.... ห้ามข่ม ห้ามฝืน ๆลๆ ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดๆ....

ดังเช่นที่ คุณ capulet ท่านสงสัยไงครับ ว่า บางครั้งเวลารักษาศีล มันก็ต้องฝืนจิตกันบ้าง แล้ว มันจะไม่ขัดกันกับหลักการ ให้รู้อย่างเดียวห้ามไม่ให้ทำอะไร หรือ?

http://larndham.net/index.php?showtopic=36646&st=0



แต่ หากท่านใด จะเน้น วิธีที่๔ในสีติวรรค(รู้ตลอดสาย และ ไม่ทำอะไรเลย คือ วางเฉยต่อสภาวะของจิตต่างๆ ในบางสมัย)..... ก็ไม่ผิด

ที่เป็นปัญหา คือ ผู้ที่เน้นแนวที่๔นี้ส่วนหนึ่ง จะเลยเถิดไปตีความว่า เมื่อไรก็ตามที่มีการปฏิบัติอื่นๆต่อจิตในบางสถานการณ์ จะถือว่าเป็นการแทรกแซงจิต-ปิดกั้นปัญญา ทันที....

ซึ่ง ผมเห็นว่า ไม่ตรงกับ พระพุทธพจน์ดั้งเดิมในสีติวรรค ที่ครอบคลุมทุกประเด็น และ ชัดเจนพร้อมอยู่แล้ว


จึง เสนอประเด็นนี้ ขึ้นมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ ทุกๆความเห็นเพิ่มเติมน่ะครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
คุณ yahoo ครับ

ที่ผมยกประเด็นเรื่อง รู้ตลอดสาย มาพูด....

เพราะ ช่วงหลัง บางท่านจะให้ความหมานของคำว่า รู้ตลอดสาย = ให้รู้เพียงอย่างเดียว ห้ามไม่ให้ทำอะไรเลย.... ห้ามข่ม ห้ามฝืน ๆลๆ ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดๆ....

ที่เป็นปัญหา คือ ผู้ที่เน้นแนวที่๔นี้ส่วนหนึ่ง จะเลยเถิดไปตีความว่า เมื่อไรก็ตามที่มีการปฏิบัติอื่นๆต่อจิตในบางสถานการณ์ จะถือว่าเป็นการแทรกแซงจิต-ปิดกั้นปัญญา ทันที....

ซึ่ง ผมเห็นว่า ไม่ตรงกับ พระพุทธพจน์ดั้งเดิมในสีติวรรค ที่ครอบคลุมทุกประเด็น และ ชัดเจนพร้อมอยู่แล้ว

จึง เสนอประเด็นนี้ ขึ้นมา


อ้อ... เอ้อ... นั่นสิ่ ผมอ่านแล้วงง เกือบหลงประเด็นไปแล้วเชียว...

โอเค...เห็นคุณกระพริบไฟสูง
เมื่อผมพิจารณาดูแล้ว รถที่ผมขับไม่เข้าข่ายผิดกฎจราจร และไม่ได้ขนสินค้าผิดกฎหมาย
และผมก็ไม่ได้กำลังเมา อิ อิ
ผมไปต่ออย่างสบายใจ...ล่ะเด้อ...

ขอบคุณครับ กับความรู้ทางธรรมดี ๆ

:b8: :b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างอิง:ตรงประเด็น



การ "รู้ตลอดสาย" ....ไม่ผิดแน่นอน

จะรู้ตลอดสาย และ ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม

จะรู้ตลอดสาย และ ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง

จะรู้ตลอดสาย และ ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรยังจิตให้ร่าเริง

จะรู้ตลอดสาย และ ไม่ทำอะไรเลย คือ วางเฉยต่อสภาวะของจิตต่างๆ ในสมัยที่ควร(ในบางสมัย)

ทั้ง๔แบบนี้ ผมเรียกว่า รู้ตลอดสาย ทั้งนั้น


ที่ผมยกประเด็นเรื่อง รู้ตลอดสาย มาพูด....

เพราะ ช่วงหลัง บางท่านจะให้ความหมานของคำว่า รู้ตลอดสาย = ให้รู้เพียงอย่างเดียว ห้ามไม่ให้ทำอะไรเลย.... ห้ามข่ม ห้ามฝืน ๆลๆ ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดๆ....

ดังเช่นที่ คุณ capulet ท่านสงสัยไงครับ ว่า บางครั้งเวลารักษาศีล มันก็ต้องฝืนจิตกันบ้าง แล้ว มันจะไม่ขัดกันกับหลักการ ให้รู้อย่างเดียวห้ามไม่ให้ทำอะไร หรือ?

http://larndham.net/index.php?showtopic=36646&st=0



แต่ หากท่านใด จะเน้น วิธีที่๔ในสีติวรรค(รู้ตลอดสาย และ ไม่ทำอะไรเลย คือ วางเฉยต่อสภาวะของจิตต่างๆ ในบางสมัย)..... ก็ไม่ผิด

ที่เป็นปัญหา คือ ผู้ที่เน้นแนวที่๔นี้ส่วนหนึ่ง จะเลยเถิดไปตีความว่า เมื่อไรก็ตามที่มีการปฏิบัติอื่นๆต่อจิตในบางสถานการณ์ จะถือว่าเป็นการแทรกแซงจิต-ปิดกั้นปัญญา ทันที....

ซึ่ง ผมเห็นว่า ไม่ตรงกับ พระพุทธพจน์ดั้งเดิมในสีติวรรค ที่ครอบคลุมทุกประเด็น และ ชัดเจนพร้อมอยู่แล้ว


จึง เสนอประเด็นนี้ ขึ้นมา
คุณ yahoo ครับ



การ "รู้ตลอดสาย" ....ไม่ผิดแน่นอน

จะรู้ตลอดสาย และ ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม

จะรู้ตลอดสาย และ ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง

จะรู้ตลอดสาย และ ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรยังจิตให้ร่าเริง

จะรู้ตลอดสาย และ ไม่ทำอะไรเลย คือ วางเฉยต่อสภาวะของจิตต่างๆ ในสมัยที่ควร(ในบางสมัย)

ทั้ง๔แบบนี้ ผมเรียกว่า รู้ตลอดสาย ทั้งนั้น


ที่ผมยกประเด็นเรื่อง รู้ตลอดสาย มาพูด....

เพราะ ช่วงหลัง บางท่านจะให้ความหมานของคำว่า รู้ตลอดสาย = ให้รู้เพียงอย่างเดียว ห้ามไม่ให้ทำอะไรเลย.... ห้ามข่ม ห้ามฝืน ๆลๆ ไม่ว่าจะในสถานการณ์ใดๆ....

ดังเช่นที่ คุณ capulet ท่านสงสัยไงครับ ว่า บางครั้งเวลารักษาศีล มันก็ต้องฝืนจิตกันบ้าง แล้ว มันจะไม่ขัดกันกับหลักการ ให้รู้อย่างเดียวห้ามไม่ให้ทำอะไร หรือ?

http://larndham.net/index.php?showtopic=36646&st=0



แต่ หากท่านใด จะเน้น วิธีที่๔ในสีติวรรค(รู้ตลอดสาย และ ไม่ทำอะไรเลย คือ วางเฉยต่อสภาวะของจิตต่างๆ ในบางสมัย)..... ก็ไม่ผิด

ที่เป็นปัญหา คือ ผู้ที่เน้นแนวที่๔นี้ส่วนหนึ่ง จะเลยเถิดไปตีความว่า เมื่อไรก็ตามที่มีการปฏิบัติอื่นๆต่อจิตในบางสถานการณ์ จะถือว่าเป็นการแทรกแซงจิต-ปิดกั้นปัญญา ทันที....

ซึ่ง ผมเห็นว่า ไม่ตรงกับ พระพุทธพจน์ดั้งเดิมในสีติวรรค ที่ครอบคลุมทุกประเด็น และ ชัดเจนพร้อมอยู่แล้ว


จึง เสนอประเด็นนี้ ขึ้นมา


โดยส่วนตัว เห็นว่าผู้ที่ปฏิบัติแบบเน้นแนวทางที่ ๔ ตามที่คุณตรงประเด็นจัดเรียงไว้ จะเป็นการปฏิบัติที่ไม่ผิดไม่ได้ เป็นการปฏิบัติที่ผิด (แต่ไม่ใช่จะนำไปปฏิบัติไม่ได้ นำไปปฏิบัติได้ แต่ปฏิบัติผิด) ที่ผิดหมายถึง เป็นการปฏิบัติที่ไม่สมควรแก่การบรรลุเลย เรื่องนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสอนเอาไว้ชัดเจน เพราะการปฏิบัติแบบนั้น เป็นการปฏิบัติแบบไม่รู้จักป้องกันจิตให้ไม่เกิดอกุศลธรรมเอาไว้ก่อน จิตจะมารู้เอาก็ตอนที่เกิดอกุศลธรรมขึ้นกับจิตแล้วเป็นส่วนใหญ่ ในทางปฏิบัติจริงสภาวะอย่างนี้จะเรียกว่า "เสื่อม" ไปแล้ว ครั้งใดก็ตาม จิตได้เกิดอกุศลธรรม ครั้งนั้นจิตเราจะเสื่อม เหมือนกับเวลาเรามีน้ำสีขาวอยู่แก้วหนึ่ง เวลาจิตเกิดอกุศลก็จะเป็นการหยดสีดำลงไปหนึ่งหยดนั่นแหละ ส่วนเวลาจิตเป็นกุศลหรือทำดีก็เป็นการเติมน้ำสีขาวลงไปหนึ่งหยดเหมือนกัน

และอีกอย่างหนึ่งการปฏิบัติแนวทางนี้ หากปฏิบัติแบบที่เขาสอนกันดั่งเดิม (ไม่ใช่เวอร์ชั่นปรับปรุงใหม่ เพราะเดี๋ยวนี้มีเวอร์ชั่นปรับปรุงใหม่ ไม่รู้ว่าเพราะโดนกระแสต่อต้านมากหรือเปล่า?) ก็จะสอนกันไม่ให้ละหรือไม่ให้ดับอกุศล ไม่ให้เปลี่ยนอารมณ์หนึ่งไปสู่อีกอารมณ์หนึ่ง หมายถึง เวลาจิตเกิดทุกข์ เช่น เกิดโทสะก็รู้ รู้แค่นั้น หน้าที่เราต่อทุกข์ ไม่ไปดับ ไม่ต้องไปละ เพราะการทำเช่นนั้นมันเป็นการปฏิบัติผิดมันเป็นการแทรกแทรงจริง ให้รู้ซื่อๆ เดี๋ยวมันก็จะดับเองหากเราหมั่นรู้บ่อยๆ เพราะจิตมันฉลาดขึ้น โดยเขาไม่รู้เลยว่ากว่าจิตจะฉลาดนั้น หรือกว่าโทสะมันจะดับด้วยวิธีนั้นจิตมันเสื่อมไปถึงไหนแล้ว (จึงมีเวอร์ชั่นต่อมาเป็นต้นว่า "ในรูปแบบก็จำเป็นนะบางครั้ง"?) ตรงนี้ก็ผิดกับหลักที่พระพุทธเจ้าทรงสอนที่ให้หมั่นละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นปุ๊บ ไม่ใช่แค่รุ้ รู้มันเป็นสติ แต่เราต้องมีสัมปชัญญะด้วย คือ ปัญญา เฉพาะกรณีนี้ก็ละมันด้วยวิธีการอันเหมาะสม รีบจัดการให้ดับเสียโดยพลัน ดุจผู้ดับไฟที่กำลังไหม้ศรีษะฉะนั้น ทีนี้ใจเราก็กลับมาเจริญ

การเพียงแค่รู้แล้วอารมณ์ดับไป สภาวะจิตจริงๆ มันไม่ได้ดีอะไรขึ้นมามากมายเลย กุศลต่างๆ ก็ถูกพัฒนาล่าช้า เนิ่นช้า การปฏิบัติอย่างนี้ไม่ต่างกับฝึกสมถะแบบไม่มีคำบริกรรม (สมาธิแบบไม่มีวิตก มีแต่วิจาร) ลองสังเกตดูก็ได้ สติมันพัฒนาจริง แต่กุศลธรรมอื่นๆ มันจะไม่ค่อยพัฒนา อุปมาก็เหมือนกับ จิตโดยธรรมดามีค่าศูนย์ จิตเกิดราคะ จิตจะติดลบ 1 พอเรารู้มัน จิตมันก็ดับราคะได้จริง ราคะมันไม่สืบต่อ เหมือนจะถูกนะ แต่จริงๆ มันไม่ดีเลย จิตมันแต่กลับมาจากติดลบ เป็นค่าศูนย์อีกครั้งเท่านั้น แต่ตามเป็นจริงแล้วจิตที่ควรแก่การบรรลุมันไม่ได้มีค่าศูนย์มันจะต้องเป็นค่าบวกสิบ ค่าบวกร้อย มันจึงไม่ค่อยพัฒนากุศลธรรมให้เกิดขึ้นไงล่ะ สติเด่นอย่างเดียวมันไม่แรงพอหากปฏิบัติอย่างนี้นะ

เอาเป็นว่าฝากให้คิดเท่านี้ก็แล้วกัน จริงๆ ก็ยังมีอีกหลายประเด็น และก็ขอสนับสนุนคุณตรงประเด็นด้วยพระสูตรของพระพุทธเจ้าว่าผู้ที่รู้อย่างเดียวเป็นผู้ไม่ควรแก่การบรรลุอย่างไรมาฝากก็แล้วกัน

*****************************

อปริชานสูตรที่ ๑
[๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละจักษุ ย่อมไม่
ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่ายไม่ละใจ ย่อมไม่ควรเพื่อความ
สิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลรู้ยิ่งกำหนดรู้ หน่าย ละจักษุ ย่อมควรเพื่อความสิ้น
ทุกข์ ฯลฯ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้หน่าย ละใจ ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละรูป ย่อมไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่
กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ย่อมไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละรูป ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละ
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ย่อมควรเพื่อความสิ้นทุกข์ ฯ
จบสูตรที่ ๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพรนี่ Onion_L

ผ่านมาป่านนี้แล้วยังวิปัสนึก
ไม่มีอะไรก้าวหน้าเล๊ยย แถมถอยหลังฝังแน่นอีก
จับแพะชนแกะระเนระนาด

ผมยังนึกเก่งกว่าคุณอีกนะ
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ศิรัสพรนี่

ผ่านมาป่านนี้แล้วยังวิปัสนึก
ไม่มีอะไรก้าวหน้าเล๊ยย แถมถอยหลังฝังแน่นอีก
จับแพะชนแกะระเนระนาด

ผมยังนึกเก่งกว่าคุณอีกนะ


ขอแนะนำคุณชาติสยาม

หากคุณชาติสยามได้อ่านกระทู้ "ท่านกำลังเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนาหรือไม่?" ก็ได้ยกพระสูตรให้อ่านและเน้นเฉพาะแล้วว่า

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่
อบรมปัญญา พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง
เป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่
ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรม
เหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบท
กวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต
เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ
จักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้
แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการ
ลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึง
พยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ



ซึ่งพระสูตรดังกล่าว พระพุทธเจ้าทรงสอนเอาไว้ชัดเจน ซึ่งในที่นี้เรื่องหนึ่งที่ถือว่าเป็นคำสอนที่คลาดเคลื่อนบิดเบือนไปก็คือเรื่อง "วิปัสสนึก" ที่คุณใช้ ไม่ว่าคุณจะได้ยินได้เรรียนรู้มาจากใครก็ตามขอให้รู้ไว้ว่าเป็นคำที่ไม่ถูกต้อง เป็นคำที่ส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติผิด ทำให้การปฏิบัติที่ถูกต้องสาปสูญไป โดยเรื่องนี้ผมก็ได้พยายามอธิบายแสดงให้เห็นมาอยู่หลายกระทู้เป็นระยะเวลายาวนานก็ว่าได้ว่าเป็นคำสอนที่คลาดเคลื่อนอย่างไร ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำตามเลย แต่ก็ดูเหมือนยังสู้กระแสแห่งสัจธรรมเสื่อมถอยไม่ได้ เพราะคุณเองก็ยังเข้าใจผิดๆอยู่? ดังนั้นผมขอยกพระสูตรบางส่วนมาทวนความจำอีกครั้งจะได้ไม่หลงใช้คำทำนองให้คนอื่นเข้าใจผิดและนำไปปฏิบัติผิดอันเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนาได้สืบไป ดังนี้

************************

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔
[๑๖๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าตรึกถึงอกุศลวิตกอันลามก คือ กาม-
*วิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความ
ดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะตรึก พึงตรึกว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความตรึกเหล่านี้ ประกอบด้วยประโยชน์
เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ
ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำ
ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๗

*************************

หากอ่านแล้ว ต่อไปคำนี้ "วิปัสสนึก" ขอร้องอย่าได้ใช้ จะเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา เพราะคนเชื่อ หรือไม่รู้เขาก็จะไม่เจริญสัมมาสังกัปปะ จะไม่ปฏิบัติตามพระสูตรนี้อีก มันจะบาป มันจะบิดเบือนกล่าวตู่คำสอนของพระพุทธเจ้า อย่าลืมว่าไม่มีใครรู้เท่าพระพุทธเจ้า อาจารย์รุ่นหลังๆ ไม่มีใครรู้ดีเท่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ใช่ถูกไปหมดได้ รู้วิธีได้หมดได้ หากไม่เชื่อพระพุทธเจ้าแล้วจะไปเชื่อใคร ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้ามันจะเป็นวิปัสสนึกได้อย่างไร หากจะเป็นอย่างนั้นก็ยอมล่ะ อย่างน้อยๆ เราก็รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดำรงสืบไป :b16:

ขอโทษคุณตรงประเด็นด้วยนะครับ ที่นำเรื่องเก่าๆ มาเล่าใหม่อีก แต่ก็จำเป็นครับ เพราะเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทที่ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จ้าๆๆ
ผิดก็ผิด

ขอล่วงหน้าไปแบบผิดๆก็แล้วกันนะ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอ เสนอประเด็นเพิ่มน่ะครับ


จาก วิธีปฏิบัติต่อจิต๔ประการ(ในธรรม๖ประการ สีติวรรค)

ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม

ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง

ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรยังจิตให้ร่าเริง


วางเฉยต่อจิตในสมัยที่ควรวางเฉย




จะแยก เป็นสองส่วนหลักๆคือ

ส่วนสีม่วง คือ 3ข้อแรก ซึ่ง ก็คือ การปฏิบัติต่อจิตในลักษณะ รู้แล้วจึง ข่ม-ประคอง-ยังให้ร่าเริง

ส่วนสีแดง ซึ่ง ก็คือ การปฏิบัติต่อจิตในลักษณะ รู้แล้ววางเฉย หรือ บางท่านอาจจะมองว่าไม่ทำอะไรเลย ก็ได้



จะปฏิบัติในลักษณะตามสีม่วง หรือ สีแดง ผมก็ว่า มันก็ไม่ผิดทั้งสองทาง... เพราะ พระพุทธพจน์ก็แสดงเอาไว้ทั้งสองฝ่าย


เมื่อไร ถ้าเป็นลักษณะ ต้องเป็นสีม่วงห้ามเป็นสีแดง(ให้ปฏิบัติต่อจิต ในลักษณะ ข่ม-ประคอง-ยังให้ร่าเริง ห้ามวางเฉย)

หรือ ต้องเป็นสีแดง ห้ามเป็นสีม่วง (ให้เพียงแค่รู้เท่านั้น ห้ามไม่ให้ปฏิบัติต่อจิตใดๆเลย ไม่ว่ากรณีใด)

จะเป็นปัญหาทันที



ผมจึงเห็นตามพระพุทธพจน์นั้น ด้วย เชื่อมั่นว่า ชัดเจน และ ครอบคลุมทุกแง่มุม ที่สุด แล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่คุณหมอพูดมา ประเด็นที่คุณหมอเน้น
ไม่ขัดกับการดูจิตเลยครับ :b8:


สิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อทำบ่อยมาก คือ หลวงพ่อ"ชวนหัวเราะ"
"ไล่ให้ไปฟังเพลง" "ให้เลิกปฏิบัติ" และยังมีกลเม็ดอีกเยอะแยะ

ท่านมีอุบายเยอะครับ

ถามว่าทำไมท่านกลับไม่ยืนกรานว่า "ห้ามแทรกแทรง"
ก็ในเมื่อท่านเองสั่งให้เลิกทำ สั่งให้ไปหาความร่าเริง
สั่งให้หนีไปจากสภาวะจิตเดิม หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ "ทำไมท่านเอง สั่งให้แทรกแทรง"

นี่คือเรื่องที่ผมก็ได้อธิบายเรียนคุณหมอในตอนแรก ที่ว่าเบื่อก็ไปฟังเพลงนั่นน่ะครับ
เขาเรียกว่า "รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว"

ถ้าจิตเราเหมือนเส้นจำนวนที่มี -10 ไปถึง +10
ถ้าอัตกิลมถานุโยคคือ -10
กามสุขัลนุโยค คือ +10
จิตที่เหมาะจะเจริญสติคือจิตที่เข้าใกล้ 0 เข้าใกล้ภูมิมนุส

ที่คนเข้าใจกันว่า "ห้ามแทรกแทรงๆ" นั้น
คือพวกเข้าใจว่าัมันจะติดลบ 10 ก็ช่างมัน หรือจะ +10 ก็ช่างมัน
ต้องปล่อยลูกเดียว ห้ามแทรกแทรง

ในทางดุจิต เมื่อมันติดลบมากไป หรือติดบวกมากไป ต้องดึงให้เข้า 0
มีความเบาสบาย นุมนวล ว่ิองไว ควรแก่การงาน(ที่จะมาเจริญจิตภาวนา)


0 นั้นคือความวางเฉยต่อการปรุงแต่งของจิต (สังขารุเบกขาญาน)
0 อาจจะพอแบ่งได้เป็นสองพวก
0 พวกแรกมีเป็นขณะๆ ได้แก่ผู้รู้ตื่น
0 ที่สองคือพระอรหันต์ ที่มี"สติในทุกวาระจิต"

ส่วนประเภทที่สามที่เข้าใจว่า สติพระอรหันต์มีอันเดียวสืบเนื่องไม่ขาดนี้
ถามว่า .. สติตามอะไร ถึงตามแล้วมีอันเดียว
ตามอะไรกันนักหนา ถึงไม่มีความเกิด ไม่มีความดับ มีแต่สิ่งที่ตามมันเที่ยงอยู่กระนั้นหรือ


ถ้าใครอยากจะเข้าใจเรื่องดูจิต
อ่านหนังสือท่านสักเล่ม ฟังเทศน์สัก 3 แผ่น
อย่าไปเอาผิดเอาถูกกับคนที่มาคุยเรื่องดูจิตตามเว็บเลยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2009, 23:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
จ้าๆๆ
ผิดก็ผิด

ขอล่วงหน้าไปแบบผิดๆก็แล้วกันนะ :b32:


:b12: :b12:

เคยได้ยินมาว่า..

ลูกศิษย์ดูจิต..ติดปัญหา..ไปถามอาจารย์..ได้คำตอบมาแต่ยังมีตะขิดนิด ๆ

ก็เลยไปถามหลวงตาฯ

หลวงตาก็บอกว่า..เองนะถูก..อาจารย์เองนะผิด

จึงได้นึกขึ้นว่า..อ่อ..ดูผิดก็มี..ดูถูกก็มี.. ด้วยเน่อะ

:b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 91 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 146 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร