วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 15:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น





..........แต่ถ้าตราบใดยังขาดการฟัง

หรือว่า การเข้าใจถึงความละเอียดของสภาพธรรม

แม้สติปัฏฐานจะเกิดบ้าง.............

แต่ปัญญาก็ยังไม่คมกล้าพอที่จะเป็นปัจจัยให้ละการยึดถือสภาพธรรม

ที่กำลังเกิด-ปรากฏ ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนได้.



อะไรเป็นปัจจัยปัญญาคมกล้าขึ้น.!


เพราะเหตุว่า สติปัฏฐานก็ไม่มีปัจจัยที่จะเกิดบ่อย เท่ากับอวิชชา

หรือ อกุศลกรรม ซึ่งสะสมพอกพูนมากขึ้นเรื่อย ๆ



เพราะฉะนั้น

ทางเดียวคือ ฟังพระธรรมโดยละเอียดยิ่งขึ้น

เพื่อเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เป็น "สังขารขันธ์"



ขณะที่มีปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิดขึ้น

คือ สติระลึก ตรงลักษณะของสภาพนามธรรมใด หรือ รูปธรรมใด

ความเข้าใจใน "ลักษณะที่เป็นอนัตตา"โดยละเอียดยิ่งขึ้น

ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น ๆ นั่นเอง

จะเกื้อกูล และเป็นปัจจัยให้ปัญญาคมกล้าขึ้น.

เพราะเหตุว่า มี (ปัญญา) ความรู้-ความเข้าใจจริง ๆ

ว่าสภาพนั้น ๆ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนอย่างไร

ตามที่ได้ยินได้ฟังเรื่องของสภาพธรรมโดยละเอียด.



เพราะฉะนั้น

ท่านผู้ฟังควรที่จะศึกษาเรื่องของสภาพธรรม

ที่เป็น จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์

โดยละเอียดยิ่งขึ้น.



จะเห็นได้ว่า

แม้จะกล่าวถึงสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด

เพียงสภาพธรรมเดียว เช่นผัสสเจตสิก...

ก็รวมไปถึงจิตทุกประเภท (และรูปทุกประเภท) ได้

เพราะเหตุว่า "ผัสสเจตสิก" เกิดกับจิตทุกประเภท

และเกิดกับเจตสิกทุกประเภท

และยังรวมไปถึง รูปทุกประเภทด้วย

เพราะเมื่อผัสสเจตสิก เกิดกับจิตและเจตสิกประเภทใดประเภทหนึ่งแล้ว

ก็เป็นปัจจัยให้รูป สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย.



อธิปติปัจจัย


สำหรับคำว่า "อธิปติ" หมายความถึงธรรมที่เป็นหัวหน้า

เป็นธรรมที่ชักจูงให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้น และเป็นไปตามกำลังของตน.



จิตกับเจตสิกแยกกันเกิดไม่ได้เลย

ขณะที่จิตเกิด ขณะนั้นจะมีต้องเจตสิกเกิดร่วมด้วย

ขณะที่เจตสิกเกิด ก็ต้องมีจิตเกิดร่วมด้วย.

เพราะเหตุว่า ทั้งจิตและเจตสิกเป็นสังขารธรรม

(คือ สภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดขึ้นได้)



แต่โดยความละเอียด

โดยการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคฯ

ก็ยังทรงแสดงความเป็นปัจจัยของจิตและเจตสิกแต่ละประเภท

โดยความเป็นสภาพธรรมที่เป็นหัวหน้า

ที่จะชักจูงให้สภาพธรรมอื่น ๆ เกิดขึ้น.



สำหรับ "รูป" ก็สามารถที่จะเป็นปัจจัยชักจูงให้สภาพธรรมอื่น

คือ จิตและเจตสิกเกิดได้ เช่นกัน.

ถ้ารูปนั้น เป็นอารมณ์ที่หนักแน่น เป็นที่น่าพอใจ

คือ เป็นอารมณ์ที่ควรได้ ไม่ควรทอดทิ้ง หรือว่าควรดูหมิ่น

ด้วยอำนาจการเคารพยำเกรง หรือด้วยอำนาจความปรารถนา

นี่เป็น เรื่องปกติในชีวิตประจำวันจริง ๆ



เพราะฉะนั้น

อธิปติปัจจัย แยกเป็นสองปัจจัย (ย่อย)

คือ

เป็น สหชาตาธิปติปัจจัย ๑ และ อารัมมณาธิปติปัจจัย ๑



สำหรับ สหชาตาธิปติปัจจัย คือ สภาพธรรมที่เป็นใหญ่

ได้แก่ นามธรรม คือ

ฉันทเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ จิต ๑ และ วิมังสะ คือ ปัญญาเจตสิก ๑



ชีวิตประจำวันจริง ๆ


แม้ว่า จิตและเจตสิก จะเกิดพร้อมกัน และดับพร้อมกัน

แต่สภาพอื่นนอกจากฉันทเจตสิก นอกจากวิริยะเจตสิก

นอกจากจิต และนอกจากปัญญาเจตสิก แล้ว.............

สภาพธรรมอื่นเป็นอธิปดี หรือว่าเป็นอธิปติปัจจัยไม่ได้.


นี่เป็นชีวิตประจำวัน ที่จะต้องทราบ

ซึ่ง เหตุ ผล ก็จะได้พิจารณาต่อไป.
ปกติในชวิตประจำวัน จิต เกิด-ดับ-สืบต่อ-สั่งสมสันดานอยู่เรื่อย ๆ

ในวันหนึ่ง ๆ โดย ชาติ (การเกิดของจิต)

จิตที่เป็นกุศลก็มี จิตที่เป็นอกุศลก็มี จิตที่เป็นวิบากก็มี จิตที่เป็นกริยาก็มี.



เพราะฉะนั้น

ก็ควรที่จะได้ทราบว่า ขณะที่เป็นวิบากจิต หรือโลกิยวิบากจิต

ฉันทะ ซึ่งเกิดกับโลกิยวิบาก หรือว่าวิริยะ ซึ่งเกิดกับโลกิยวิบากจิต

หรือ ปัญญา ซึ่งเกิดกับโลกิยวิบากจิต

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น...ไม่เป็นอธิปดี

คือ ไม่เป็นอธิปติปัจจัย ไม่เป็นใหญ่ หรือ ไม่เป็นหัวหน้า

ฟังดูเหมือนเรื่องอื่น........................

แต่ให้ทราบว่าเป็นชีวิตประจำวันจริง ๆ


เพราะเหตุใด.?

.
.
.


เพราะเหตุว่า...........

จิตที่เป็นชาติวิบาก ที่เป็นโลกิยวิบากจิตทั้งหมด ทำอะไรไม่ได้

จะทำกุศลกรรมใด ๆ ก็ไม่ได้.....จะทำอกุศลกรรมใด ๆ ก็ไม่ได้

เพราะว่า ไม่ใช่โลภมูลจิต ไม่ใช่โทสมูลจิต ไม่ใช่โมหมูลจิต

คือ ไม่ใช่ขณะที่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา หรือ อกุศลกรรม.


ตั้งแต่ขณะปฏิสนธิ......

คือ ขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน

โดยมีกรรมเป็นปัจจัย (กัมมปัจจัย)

ซึ่งแล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมเป็นปัจจัย

ที่ทำให้อกุศลวิบาก หรือกุศลวิบาก เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น.



ในภูมิมนุษย์ (ภูมิที่มีขันธ์ ๕) เป็นกุศลวิบากจิต (ผลของกุศลกรรม)

ที่เป็นปัจจัยทำกิจปฏิสนธิ (เกิดเป็นมนุษย์)



ในขณะที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น......

พระผู้มีพระภาคฯ ทรงแสดงไว้โดยละเอียดว่า

ฉันทเจตสิก ก็เกิดร่วมกับมหาวิบากจิต

ซึ่งประกอบด้วยโสภณเหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ

(เหตุ ๒ เรียกว่า ทวิเหตุ)

สำหรับการเกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่บกพร่อง ไม่พิการตั้งแต่กำเนิด

(หมายความว่า ผู้ที่เกิดด้วยทวิเหตุ จะเป็นมนุษย์ที่ไม่พิการแต่กำเนิด)


แต่ถึงแม้ว่า ฉันทเจตสิก จะเกิดกับวิบากจิต (ในขณะที่ปฏิสนธิ)

วิริยเจตสิกที่เกิดกับวิบากจิต ทำกิจอะไรได้ไหม...?

ในขณะจิตที่ปฏิสนธิจิต เกิดแล้วดับ

แม้ว่าจะเป็นมหาวิบากจิต ซึ่งเป็นผลของกุศลกรรม

ที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่พิกลพิการตั้งแต่กำเนิด.




โดยสภาพ หรือโดยชาติของจิต ซึ่งเป็นชาติวิบาก



หมายถึงขณะที่จิต ซึ่งเกิดขึ้นโดยความเป็นผลที่สุกงอมของกรรม

เพราะฉะนั้น วิบากจิตทั้งหมด เป็นจิตที่ไม่มีกำลัง

โดยฐานะ (โดยสภาพ-การเกิด)

ซึ่งหมายความว่า วิบากจิตไม่สามารถจะทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นได้

เพราะเหตุว่า วิบากจิตเองเป็นผลของกรรมซึ่งสุกงอมแล้ว

เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ร่วงหล่น คือ ดับไปไม่เป็นปัจจัยให้วิบากต่อ ๆไปเกิดได้

ต่างกับกับกุศลจิตและอกุศลจิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีกำลัง.



เพราะฉะนั้น วิบากจิต นอกจากทำกิจปฏิสนธิกิจแล้ว ก็ดับไป

แม้ปัญญาเจตสิก(ทีเกิด)ในขณะนั้น ก็ทำกิจอะไรไม่ได้

จะเป็นอธิปติ เป็นอธิปดี เป็นหัวหน้าอะไรก็ไม่ได้

เพราะเหตุว่า เป็นเพียง ชาติวิบากเป็นผลของกรรมเกิดแล้วก็ดับไป.



เมื่อปฏิสนธิจิต ซึ่งเป็นวิบากจิตดับแล้ว...

ภวังคจิต เกิดสืบต่อดำรงภพชาติ ภวังจิตก็เป็นวิบากจิตอีก

และในขณะที่ กำลังนอนหลับสนิท จะไม่ปรากฏว่า

เจตสิกใด เป็นอธิปติ หรือว่าเป็นหัวหน้าเลย

เพราะว่า เจตสิกทั้งหมดต้องเป็นชาติวิบากด้วยกัน

คือ เกิด-ดับพร้อมกั่เดียวกันกับจิตซึงเป็นชาติวิบาก.


วิบากจิต เกิดขึ้นเพราะความสุกงอมของกรรม

คือ กรรมใด กรรมหนึ่ง เป็นเหตุทำให้วิบากจิต(ซึ่งเป็นผล)

เกิดแล้วก็ดับไป.



แต่ขอให้ท่านผู้ฟังพิจารณาดู...ถ้าหากไม่ทราบว่า

จิตและเจตสิกชาติวิบากนั้น ปราศจากกำลัง ไม่มีกำลังอะไรเลย

เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นผลของกรรม

โดยการเป็นปฏิสนธิจิตและเป็นภวังคจิต

และต่อจากนั้น ก็เป็นการเห็นบ้าง การได้ยินบ้าง การได้กลิ่นบ้าง

การลิ้มรสบ้าง การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสบ้าง

ซึ่งเป็นผลของกรรมเช่นเดียวกัน.

แต่ในปกติชีวิตประจำวัน

เราปรารถนากันมากเหลือเกิน ที่จะให้เป็นกุศลวิบาก

โดยลืมว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นจิตประเภทที่ไม่มีกำลังอะไรเลย

เพียงเกิดขึ้นรู้อารมณ์ แล้วก็ดับไป เท่านั้นเอง.




เพราะฉะนั้น

โลกิยวิบากทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต

หรือว่า จักขุวิญญาณจิต โสตวิญญาณจิต ฆานวิญญาณจิต

ชิวหาวิญญาณจิต กายวิญญาณจิต (ทวิปัญจวิญาณจิต)

สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต ตทลัมพนิต

ทั้งหมด เป็นจิตชาติวิบาก.


ฉะนั้น เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยไม่เป็นอธิปติปัจจัย

ตามเหตุ ตามผลตาม ความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน

ซึ่งจะเข้าใจตัวท่านละเอียดขึ้น

เมื่อได้ทราบกำลังของเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตแต่ละประเภท

ที่จะเห็นความเป็นอนัตตา.

เพราะฉะนั้นสำหรับ สหชาตาธิปติปัจจัย

ท่านผู้ฟังก็จะเห็นได้ว่า

ได้แก่ ฉันทเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ จิต ๑

และวิมังสะ คือปัญญา ที่เกิดกับชวนจิต ๕๒ ประเภท เท่านั้น.






จำนวนยังไม่ต้องสนใจก็ได้

แต่ให้ทราบว่า

ที่จะเป็นอธิปติ คือ มีกำลัง

เป็นหัวหน้า เป็นปัจจัยที่จะชักจูงให้สภาพธรรมอื่นเกิดร่วมด้วย

ต้องในขณะที่เป็นชวนจิต

แต่โดยความละเอียด ยังต้องเว้นอีกว่า เว้นจิตซึ่งปราศจากกำลัง.


ปกติแล้ว ขณะที่โลภะเกิดขึ้น หรือ ขณะที่กระทำกิจการงานใด ๆ ก็ตาม

ที่กระทำสำเร็จลงไปได้นั้น ให้ทราบว่าไม่ใช่สำเร็จลงด้วยวิบากจิต


เพราะเหตุว่า

วิบากจิตเป็นเพียงผลกรรมที่เกิดขึ้น ทำกิจปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ

แล้วก็จิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

และจิตอื่น ๆ เช่น สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต ตทาลัมพนจิต เท่านั้นเอง

ที่เหลือทั้งหมด ที่จะเป็นกรรมหนึ่ง กรรมใด

คือ เป็นกุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม.







ให้ทราบว่าขณะที่เป็นอกุศลจิต-อกุศลกรรม หรือ กุศลจิต-กุศลกรรม

ขณะนั้นไม่ใช่วิบากจิตซึ่งเป็นผล แต่เป็นตัวเหตุ.


เพราะฉะนั้น ในระหว่างที่เป็นชวนจิต

ซึ่งเป็นกุศลจิตบ้าง อกุศลจตบ้างนั้นเอง

สภาพธรรมที่เป็น ฉันทเจตสิกบ้าง

หรือว่าเป็น วิริยเจตสิกบ้าง เป็น จิตบ้าง

เป็นวิมังสา คือปัญญาเจตสิกบ้าง

เป็น "อธิปติ"


หมายความว่า

เป็นหัวหน้าที่ทำให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นในขณะนั้น


ไม่ใช่เรื่องในตำรา แต่เป็นเรื่องชีวิตประจำวัน

ซึ่งสามารถที่จะสังเกต และ พิจารณาได้ ว่า

การกระทำของท่านในวันหนึ่ง ๆ

ขณะที่เป็นกุศลบ้าง ขณะที่เป็นอกุศลบ้างนั้น

เพราะสภาพธรรมใด...เป็นอธิปดี.!

หรือว่าถ้าสภาพธรรมไม่ปรากฏ...ว่าเป็นอธิปดี

ก็ได้ไม่ได้หมายความว่า

จะต้องเป็นอธิปดีทุกครั้ง ที่ฉันทเจตสิกเกิดกับชวนจิต

หรือว่า วิริยเจตสิกเกิดกับชวนจิต.


สหชาตาธิปติปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล

การที่สภาพธรรมเหล่านี้ จะปรากฏเป็นอธิปดีได้

จะต้องเกิดกับจิตที่มีกำลัง.


เพราะฉะนั้น

จิตที่ปราศจากกำลัง (ที่เว้น) มี ๓ ประเภท

คือ เว้นโมหมูลจิตสองประเภท

และ หสิตตุปปาทจิต(จิตที่ทำให้เกิดการยิ้มของพระอรหันต์)



คนอื่นไม่จะสามารถที่จะรู้ได้...


แต่ท่านเอง สามารถที่จะรู้ชีวิตประจำวันของท่านได้ว่า

ขณะท่านกำลังทำสิ่งใดด้วยความพอใจ ขณะนั้นฉันทเจตสิก เป็นอธิปดี.


ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นกุศลเท่านั้น...แม้อกุศลก็เป็นอธิปดี ได้

เช่น ท่านชอบเล่นอะไร ท่านชอบสนุกอะไร ท่านชอบอ่านอะไร

ท่านชอบพูดคุยเรื่องอะไร...ฯลฯ


หรือว่า ขณะที่ท่านอาศัยวิริยเจตสิก ในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

การกระทำสิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะต้องมีความเพียร (เป็นอธิปติปัจจัย) จริง ๆ

เพราะเหตุว่าไม่ได้เป็นไปเพราะอาศัยฉันทเจตสิกเป็นอธิปติปัจจัย

เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นก็จะทราบได้ว่า

เพราะวิริยเจตสิก เป็นอธิปติปัจจัย

ซึ่งเกิดเป็นปกติในชีวิตประจำวัน.


เพราะฉะนั้น

ต้องเป็นการระลึกรู้ ลักษณะสภาพของกุศลจิตและอกุศลจิต

ของแต่ละบุคคลนั้นเอง ว่า ในขณะไหน...สภาพธรรมใดเป็นอธิปติปัจจัย.


ทั้ง ๆ ที่ จิตและเจตสิกเกิดร่วมกัน

ก็ยังเห็นความต่างกันของสภาพธรรมในชีวิตประจำวัน

ซึ่งบางครั้ง สภาพธรรมหนึ่งก็เป็นอธิปดี บ้างครั้งก็ไม่เป็นอธิปดี.


เป็นสภาพธรรมที่เกิดกับแต่ละบุคคล...ถ้าไม่รู้ก็ไม่รู้ไปเท่านั้นเอง

คือไม่เห็น "ความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมตามความเป็นจริง"


แต่ถ้ารู้...ก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่ละเอียดขึ้น

ที่จะรู้ว่า ขณะใดที่อกุศลจิตเกิดขึ้น โดยมีสภาพธรรมใด เป็นอธิปดี

หรือว่า...ขณะใดที่กุศลจิตเกิดขึ้น โดยมีสภาพธรรมใด เป็นอธิปดี.


....ทำในสิ่งซึ่งชอบ ทำด้วยความพอใจ

ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศล

หรือ ท่านที่ชอบทำอาหาร ที่ท่านทำอาหาร

ทำด้วยฉันทะ ทำด้วยวิริยะ

หรือบางคนไม่ชอบ แต่จำเป็นที่จะต้องทำ

หรือว่าจำเป็นที่จะต้องช่วยขณะนั้นก็กำลังทำ...แล้วก็ต้องมีวิริยะด้วย

ขณะนั้น จึงเห็นว่า วิริยะเป็นอธิปติ ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรือเป็นอกุศลก็ตาม

และเมื่อใช้คำว่า สหชาตาธิปติ ก็เป็นปัจจัย ๒ ปัจจัย คือ

สหชาต หรือ สหชาติ (สหชาตาธิปติปัจจัย) ๑

ปัจจัย อธิปดี หรือ อธิปติ (อธิปติปัจจัย) อีก ๑


เพราะฉะนั้น สำหรับ "สหชาตาธิปติปัจจัย"

จะต้องเกิดพร้อมกันกับสภาพธรรมที่เป็นสัมปยุต์กัน

ซึ่งตนเองเป็นหัวหน้า

หรือว่า เป็นธรรมที่ชักจูงให้สภาพธรรมอื่น

เกิดร่วมด้วยพร้อมกันในขณะนั้น.

เพราะเหตุว่า จิตและเจตสิกเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน

(โดยสัมปยุตปัจจัย)

เพราะฉะนั้น เมื่อเจตสิกเป็นอธิปติปัจจัย (เป็นใหญ่)

เจตสิกก็ต้องเป็นสหชาตาธิปติ เพราะเหตุว่า เกิดร่วมกับจิตและเจตสิก.


หรือถ้า จิต เป็นสหชาตาธิปติปัจจัย

จิตก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นหัวหน้า

และชักจูงให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นพร้อมกันกับตน

ดับพร้อมกันกับตน จึงเป็นสหชาตาธิปติ

คือจิตและเจตสิก ซึ่งเกิดร่วมกันในวันหนึ่ง ๆ นั้นเอง

ขณะใดมีสภาพธรรมใดปรากฏความเป็นอธิปติ

ขณะนั้นก็เป็นอธิปติปัจจัย เป็นปกติในชีวิตประจำวัน.


โลภะที่เกิดขึ้น เกิดได้โดยที่ไม่มีฉันทะเป็นอธิปดีก็ได้

ไม่มีวิริยะเป็นอธิปดีก็ได้

เพราะไม่ได้หมายความว่ามีอธิปติปัจจัยเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง

เพราะเหตุว่า บางครั้งสภาพที่เป็นโลภะ

ก็เกิดพอใจเพียงเล็กน้อยแล้วก็หมดไป

แต่ว่าขณะไหนซึ่งแสดงว่าสนใจมาก พอใจมาก...

ขณะนั้นอย่าลืมอธิปติปัจจัยที่ได้ศึกษาแล้ว...

เมื่อสภาพธรรมนั้นเกิด-ปรากฏ

แสดงความเป็นอธิปดีของสภาพธรรมนั้นในขณะนั้น ให้พิจารณาได้

เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังทุกท่านก็พิสูจน์ได้

ว่าในขณะไหน.....

ท่านกำลังเกิดกุศลจิตหรืออกุศลจิต ที่มีความพอใจ (โลภะ) เป็นอธิปดี

หรือว่ามีวิริยะเป็นอธิปดี หรือว่ามี ปัญญาคือวิมังสา เป็นอธิปดี.

(เจตสิกที่เป็นอธิปดี คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)




ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เมื่อพระเจ้าเทวนัมปิยดิสซึ่งเป็นกษัตริย์ของศรีลังกาได้สนทนากับพระมหินเถระที่

มาที่ประเทศศรีลังกาเพื่อประกาศพระศาสนาที่นี่ ได้สนทนากันแล้ว พระเถระได้แสดง

ธรรมให้พระราชาและข้าราชบริพารประมาณสี่หมื่นให้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์ ต่อมาได้

ให้มีประกาศการฟังธรรม หมู่มหาชาได้ประชุมกันแล้ว พระเถระ เมื่อจะให้ฝนรัตนะ

คือพระธรรมตกแก่พระราชาพร้อมทั้งชนบริวาร จึงได้แสดงเปตวัตถุ วิมานวัตถุ และ

สัจจสังยุต.สตรีทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้น พระเถระได้ไปนั่งแสดงเทวทูตสูตรในที่นั้น. ใน

เวลาจบกถา คนประมาณหนึ่งพัน ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระเถระ (ไป)

นั่งแสดงอาสิวิโสปมสูตร ในอุทยานนันทวันนั้น. เพราะฟังอาสิวิโสปมสูตรแม้นั้น คน

ประมาณพันหนึ่งได้โสดาปัตติผล.ในวันที่สองแต่วันที่พระเถระมาแล้ว ธรรมาภิสมัย

(การตรัสรู้ธรรม การบรรลุธรรม) ได้มีแก่คนประมาณ ๒,๕๐๐ คน. พระราชาได้ถวาย

พระอุทยานนันทวันเป็นวิหารสำหรับภิกษุสงฆ์ แผ่นดินได้ไหวอันเป็นนิมิตว่าพระพุทธ

ศาสนาได้ประดิษฐานตั้งมั่น ณ ประเทศศรีลังกาแล้ว พระเถระแสดงธรรมต่อไปจนถึง

วันที่ 7 มีผู้บรรลุอีก แปดพันห้าร้อย และอำมาตย์พร้อมบริวารได้ขอพระราชาบวช เมื่อ

บวชก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ในวันนั้นทีเดียว

จะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองที่ประเทศศรีลังกาเพราะมี

บุคคลที่สามารถฟังธรรมแล้วบรรลุได้ การอบรมเจริญปัญญาจึงไม่ได้จำกัดสถานที่หรือ

เวลา หากแต่ว่าเมื่อเหตุปัจจัยพร้อมคือ ปัญญาพร้อมที่จะเกิดเมื่อได้ยินได้ฟังในหนทาง

ที่ถูก ปัญญาก็สามารถเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่

เราได้ ซึ่งในตอนต่อไปจะได้ขอกล่าวถึงในเรื่องที่พระเถระได้แนะนำให้พระราชาให้สิ่ง

ที่บูชาในเกาะศรีลังกา นั่นก็คือพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งจะมีการอันเชิญมาจากสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์ ซึ่งเป็นสิ่งน่าสนใจทีเดียว เชิญติดตามตอนต่อไปเพื่อความเลื่อมใสในพระ-

รัตนตรัย

ถ้าเราทำดีหรือทำบุญ กับคุณพ่อ คุณแม่ และพระอรหันต์ ความดีนั้นก็มีผลมาก

แต่ไม่ถึงเป็นกรรมหนัก(ครุกรรม) ต้องเป็นความดีระดับรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต

คือ เจริญสมถภาวนาจนจิตสงบเป็นฌาน จึงจะเป็นครุกรรมฝ่ายดี

ควรทราบว่า เมตตาหรือความบริสุทธิ์ไม่ได้อยู่ที่อาหารที่กิน แต่อยู่ที่สภาพจิต

พระอรหันต์ท่านดับกิเลสอันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตได้หมดแล้ว จึงเป็นผู้บริสุทธิ์

พระอรหันต์ท่านยังฉันเนื้อตามพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต ดังนั้น พระภิกษุ

ท่านฉันเนื้อที่ทรงอนุญาตตามพระวินัย จึงไม่มีโทษ ไม่ควรติเตียน

การบริโภคเนื้อสัตว์

คำถามนี้เป็นที่ข้องใจไม่เฉพาะสำหรับชาวพุทธ แต่ว่าอาจจะเป็นข้อ

โจมตีหรือข้อตำหนิของศาสนาอื่น ที่เคยได้ยินได้ฟังมาว่า คำสอนของเรา

ดูคล้ายๆจะปากว่าตาขยิบ คือ เมื่อไม่ให้ฆ่า แต่ก็บริโภคเนื้อสัตว์ ความจริง

แล้วไม่ใช่เรื่องปากว่าตาขยิบ แต่แสดงให้เห็นว่า ตราบใดที่ยังมีกิเลส หรือ

กิเลสยังไม่ดับ ตราบนั้นก็ยังมีการฆ่า แต่ผู้ที่ดับกิเลส เช่น พระโสดาบัน

เป็นต้นไป จะไม่มีเจตนาฆ่าอีกเลย แต่ว่าบริโภคเนื้อสัตว์ได้





เอาบุญมาฝากเมื่อวันพฤหัส ที่ผ่านมา ได้มีผู้คนมาร่วมถวายสังฆทาน จำนวนประมาณ 500 คน และวันศุกร์ที่ผ่านมา

ได้ไปบวชเนกขัมมะ รักษาศีล 8 ได้สนทนาธรรมกับพระธุดงค์

และให้คำปรึกษาและแสดงธรรม ให้พระธุดงค์หลายท่าน

ฟัง และได้แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนา และอารมณ์

ของรูปนาม และได้แสดงธรรมให้พระคุณเจ้าฟัง เป็นเวลา

ประมาณหลายชั่วโมง หลังจากนั้นตื่นเช้าแล้วได้แสดงธรรมให้

พระคุณเจ้าได้ฟังธรรม เกี่ยวกับเรื่องของวิปัสสนา และ

เรื่องที่ต่อจากเมื่อคืนวันศุกร์เกี่ยวกับเรื่องหลักธรรมในพระไตรปิฎกด้วยและพระคุณเจ้าบอกว่าถ้ามีปัญหาธรรมใดๆ หรือพระอภิธรรม

ขอให้อาตมาได้โทรปรึกษาคุณโยมนะ ข้าพเจ้าก็รับปากกับท่านว่า

สามารถรับปรึกษาได้ตลอดเวลา และก็ได้กำหนดอิริยาบทย่อย

และได้ร่วมบุญทำบุญสร้างพระใหญ่สูง ประมาณ 28 เมตร

และได้ไหว้หอพระประธานที่ชลบุรี ไหว้หลวงพ่อโสธร ทำบุญสร้างเขื่อนป้องกันนำกัดเซาะที่ริมตลิ่งวัดหลวงพ่อโสธร และได้ทำบุญถวายแผ่นทอง และอีกหลายอย่างมากๆจำไม่หมด และได้ร่วมบุญไถ่ชีวิตโคกระบือ ได้ร่วมสร้างหลวงพ่อโสธรรุ่นสร้างเขื่อน

และได้ร่วมบุญถวายดอกไม้เพื่อถวายหลวงพ่อโสธร

และได้อธิษฐานจิต เสร็จแล้วก็ให้อาหารสัตว์เป็นทาน

และได้ไหว้หลวงพ่อพระประธานหลวงพ่อทวารวดี

และได้กำหนดอิริยาบทย่อยตลอดเวลา เมื่อมาถึงบ้านแม่ได้สวดมนต์หลายชั่วโมง และแม่ได้ถวายดอกไม้กลิ่นหอมเต็มห้อง

ถวายเพื่อบูชา พระพุทธเจ้าพระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า

และพระธาตุ และแม่ได้ศึกษาธรรม ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 15:28
โพสต์: 307

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 73 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร