ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ละความยึดมั่นถือมั่น คือละขันธ์๕
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=27296
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  พงพัน [ 27 พ.ย. 2009, 17:07 ]
หัวข้อกระทู้:  ละความยึดมั่นถือมั่น คือละขันธ์๕

"......รู้ขันธ์ ๕ เพื่อละ ขันธ์ ๕
ดูความพอใจ-ไม่พอใจ
ในกายเป็นหลัก ดูไปเรื่อยๆ จะเห็นว่ามันผ่านมา ผ่านไป ไม่เที่ยง
แล้วจะปล่อยวาง ละมันได้ พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านก็ดูขันธ์ ๕ นี่แหละ
นักปฏิบัติทั้งหลาย ขันธ์ ๕ เป็นของใคร? แล้วพวกท่านจะยึดอะไร?
ให้ถามตัวเองอยู่อย่างนี้ ถ้าเอาจิตจ่ออยู่กับขันธ์ ๕ พวกท่านทั้งหลายจะไปได้นานแล้ว....."
(หลวงพ่อชานนท์ ชยนันโท)


"ถึงจิตจะไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล
ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้
ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา ว่าหาสาระแก่นสารไม่ได้
เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็จะเกิดความสลดสังเวช
เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกำหนัด
ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ ๕ ได้เช่นเดียวกัน"
(หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)


แจกหนังสือและMP3เพื่อเป็นแนวทางในการละอุปาทานขันธ์ ๕ ครับ
จัดส่งฟรี เพียงทิ้งที่อยู่ไว้ในเว็บไซต์ด้านล่างนี้ครับ
http://www.watpachareongtham-chonburi.com

เจ้าของ:  อโศกะ [ 27 พ.ย. 2009, 19:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ละความยึดมั่นถือมั่น คือละขันธ์๕

tongue อนุโมทนากับคุณพงพันครับ

เราจะละความยึดมั่นถือมั่น หรือ

ทำลายตัวผู้ยึดมั่น ถือมั่นดีครับ

tongue :b8: :b10:

ไฟล์แนป:
100_2149_resize_resize.JPG
100_2149_resize_resize.JPG [ 86.68 KiB | เปิดดู 2587 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 27 พ.ย. 2009, 19:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ละความยึดมั่นถือมั่น คือละขันธ์๕

จั่วหัวชื่อกระทู้แบบนี้ดีกว่าไหมครับ


ละความยึดมั่นถือมั่น คือละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์๕


ถ้าพูดว่าละขันธ์ 5 เฉยๆ มันแปลว่า "ตาย"
เดด น่ะครับ เดด
ซี้แหงน่ะ

ดูหลวงปู่พูดน่ะ หลวงปู่ใช้คำว่า
"ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ ๕ "
ท่านไม่ได้พูดว่า "ย่อมตัดขันธ์ ๕ "

ถ้าอยากละขันธ์ไม่ยากเลย
เอามีดปาดคอก็ได้ละขันธ์แล้วล่ะ
ถ้ามันจบก็ดี แต่มันไม่จบน่ะสิ ปวดหัว

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 27 พ.ย. 2009, 23:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ละความยึดมั่นถือมั่น คือละขันธ์๕

ละอุปาทานในขันธ์ 5 แล้วเหลือขันธ์ 5 ที่ปราศจากกิเลสสังโยชน์ไปจนกว่าดับขันธ์ปรินิพพาน



เจริญในธรรมครับ

เจ้าของ:  พงพัน [ 29 พ.ย. 2009, 16:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ละความยึดมั่นถือมั่น คือละขันธ์๕

อโศกะ เขียน:
tongue อนุโมทนากับคุณพงพันครับ

เราจะละความยึดมั่นถือมั่น หรือ

ทำลายตัวผู้ยึดมั่น ถือมั่นดีครับ

tongue :b8: :b10:


ขอตอบตามความรู้ที่มีเพียงน้อยนะครับ

เราทำลายไม่ได้หรอกครับ แต่ให้เข้าไปพิจารณาดู ความเข้าใจจะทำให้เราละได้เอง
ถ้าเข้าใจแล้วมันจะละของมันเอง
พิจารณาในกาย ใจ เป็นหลักนะครับ
ฟังจากที่กล่าวมา มีอยู่ 3 ตัวที่ต้องพิจารณาครับ
1.ความยึดมั่น
2.ผู้ยึดมั่น
3.เรา
ก่อนอื่นเราต้องเห็นสิ่งที่เราเข้าไปยึดก่อนครับ นั่นคือขันธ์ ๕
เมื่อเห็นตัวขันธ์ ๕ พิจารณาว่ามันเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนแล้ว
ถามตัวเองว่า แล้วเราไปยึดอะไร
เมื่อจิตยอมรับว่ามันยึดไว้ไม่ได้ "ความยึดมั่น"จะถูกละเอง
ยิ่งพิจารณาแบบนี้บ่อยๆก็จะยิ่งละความยึดมั่นได้มากขึ้น

ส่วน"ผู้ยึดมั่น" มันก็คือขันธ์ ๕ ครับ
ให้พิจารณาว่ามันเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนเช่นกัน
และถามตัวเองอีกว่า แล้วเราไปยึดอะไร
เมื่อจิตยอมรับว่ามันยึดไว้ไม่ได้ ผู้ยึดมั่นก็จะถูกละเอง

ส่วน"เรา"ก็คือขันธ์ ๕ ครับ
เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนเช่นกัน
ถามตัวเองอีกว่า แล้วไปยึดอะไร
เมื่อจิตยอมรับว่ามันยึดไว้ไม่ได้ เราก็จะถูกละเอง

พิจารณาเพียงในกายและใจเท่านั้นนะครับ(ขันธ์ ๕ ของเราเอง)
ต้องละเอียดในขันธ์ ๕ ครับ และพิจารณาขันธ์ ๕ สู่ความเป็นไตรลักษณ์

ขันธ์ ๕ คือผู้ถูกดูถูกรู้ ขันธ์ ๕ คือผู้ดูผู้รู้
นอกเหนือจากขันธ์ ๕ ไม่อย่างอื่นครับ
ไม่มีเราในขันธ์ ไม่มีขันธ์ในเรา

หลักการพิจารณาโดยละเอียดอยู่ในเว็บไซต์ด้านล่างนี้นะครับ
(สามารถขอหนังสือและMP3ได้ จัดส่งฟรีฟรี เพียงทิ้งชื่อและที่อยู่ไว้ที่เว็บไซต์ครับ)
http://www.watpachareongtham-chonburi.com

เจ้าของ:  พงพัน [ 29 พ.ย. 2009, 17:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ละความยึดมั่นถือมั่น คือละขันธ์๕

ชาติสยาม เขียน:
จั่วหัวชื่อกระทู้แบบนี้ดีกว่าไหมครับ


ละความยึดมั่นถือมั่น คือละความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์๕


อ้อ ดีๆๆกว่าครับ ต้องขออภัยด้วยครับ
บางทีพูดสั้นไปทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ครับ
จะไตร่ตรองก่อนพูดให้มากขึ้นครับ

อนุโมทนาสาธุการครับ
:b16:

ชาติสยาม เขียน:
ถ้าอยากละขันธ์ไม่ยากเลย
เอามีดปาดคอก็ได้ละขันธ์แล้วล่ะ
ถ้ามันจบก็ดี แต่มันไม่จบน่ะสิ ปวดหัว


5555 ไม่ต้องปวดหัวหรอกครับ
เร่งปฏิบัติ เร่งพิจารณา ก็ละความยึดมั่นในขันธ์ได้ในชาตินี้ล่ะครับ
ละได้แล้วก็เหลือแต่ขันธ์ ก็สบายแล้วครับ

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/