วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 05:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:34
โพสต์: 173

ชื่อเล่น: เจ้ก
อายุ: 23

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีผมพึ่งได้เริ่มอ่านพระไตรปิฏกฉบับประชาชนครับ

แล้วอ่านไปเจอคำว่าพรหมจรรย์

ความตั่งมั้นแห่งพรหมจรรย์นี้ หมายถึงอะไรเหรอครับ

หรือหมายถึงพรหมจรรย์ที่ใช้กันในปัจจุบันหรือเปล่าครับ
วานผู้รู้ช่วยตอบทีครับ

...พึ่งเริ่มอ่านน่ะครับอาจเป็นคำถามที่ง่ายไปหรือเปล่าก็ไม่รู้อ่ะครับ :b10: :b10: :b10:

.....................................................
จะขอเป็นแก้วน้ำที่ว่างเปล่า..เพื่อเติมเต็มธรรมที่ขาดหาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 3810 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: tongue

jekky เขียน:
พอดีผมพึ่งได้เริ่มอ่านพระไตรปิฏกฉบับประชาชนครับ

แล้วอ่านไปเจอคำว่าพรหมจรรย์

ความตั่งมั้นแห่งพรหมจรรย์นี้ หมายถึงอะไรเหรอครับ

หรือหมายถึงพรหมจรรย์ที่ใช้กันในปัจจุบันหรือเปล่าครับ



จากพจนานุกรม ฉบับประมวลศัพท์ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

พรหมจรรย์ หรือ พรหมจริยะ
หมายถึง ความประพฤติอันประเสริฐ

พรหมจรรย์
หมายถึง การศึกษาพระเวท, การบวชซึ่งละเว้นเมถุน, การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน,
การประพฤติธรรมอันประเสริฐ, การครองชีวิตประเสริฐ, มรรค, พระศาสนา

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

พฺรหฺมจริยญฺจ
คือ ประพฤติพรหมจรรย์, ดำเนินตามอริยมรรค, เป็นมงคลชีวิตที่ 32 จากมงคลชีวิต 38 ประการ


:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

จากมหาสาโรปมสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระผ้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงพรหมจรรย์ในพระพุทธศาสนา
ทรงอุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้

เอตํ สารํ

อรหัตตมรรคและอรหัตตผลนี้เป็นสาระแห่งพรหมจรรย์.

เอตํ ปริโยสานํ

อรหัตผลนี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ นี้เป็นสุดท้าย ไม่มีผลที่จะพึงบรรลุยิ่งขึ้นไปกว่านี้

ใน มหาสาโรปมสูตร ตรัสถึง


กิ่งและใบของพรหมจรรย์
สะเก็ดของพรหมจรรย์
เปลือกแห่งพรหมจรรย์
กระพี้แห่งพรหมจรรย์
แก่นแห่งพรหมจรรย์


และ แก่นแห่งพรหมจรรย์ ในศาสนานี้ คือ อสมยวิโมกฺขํ อาราเธติ
อันได้แก่ โลกุตรธรรม 9 คือ อริยมรรค 4 อริยผล 4 และ นิพพาน นั่นเองค่ะ



รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




173685.jpg
173685.jpg [ 20.6 KiB | เปิดดู 3803 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: tongue


กุลบุตรบางคนในโลกนี้
มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า
เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว
ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า
ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.
เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ
นั้น.



:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น
เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า
เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย.

อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด
ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่าและประณีตกว่าลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย


เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น
ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่
เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่
ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย
ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น

และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.

ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 12 ม.ค. 2010, 22:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




12060608512794.jpg
12060608512794.jpg [ 43.05 KiB | เปิดดู 3792 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: tongue


กุลบุตรบางคนในโลกนี้
มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า
เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว
ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า
ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.

เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น.

เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า
และประณีตกว่า ลาภสักการะและความสรรเสริญ
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.

เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ.
เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้ว ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น.


:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า
เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม.

อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย.


เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น
ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่
เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย
ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น

และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด

ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 12 ม.ค. 2010, 22:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Dhamma.jpg
Dhamma.jpg [ 26.82 KiB | เปิดดู 3783 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: tongue


กุลบุตรบางคนในโลกนี้
มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า
เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว
ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า
ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.
เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น.

อนึ่งเขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า
และประณีตกว่า ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.
เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ


เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น.

อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.
เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ.
เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธิ
นั้น


:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:


เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น
เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว
ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว.

เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น
ทั้งเป็นผู้ประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย.


เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น
ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่
เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย
ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น

และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด

ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 12 ม.ค. 2010, 22:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




00051.jpg
00051.jpg [ 32.09 KiB | เปิดดู 3772 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: tongue


กุลบุตรบางคนในโลกนี้
มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า
เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว
ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า
ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.
เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น.


อนึ่งเขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า
และประณีตกว่า ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.
เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น.



อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.
เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ.

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น.


อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ.
เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยญาณทัสสนะอันนั้น



:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:


เพราะญาณทัสสนะนั้น
เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็น
ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่รู้ไม่เห็นอยู่.

อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าญาณทัสสนะนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย.


เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น
ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่
เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย
ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น

และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด

ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




alone-IX.jpg
alone-IX.jpg [ 18.39 KiB | เปิดดู 3753 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: tongue


กุลบุตรบางคนในโลกนี้
มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า
เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว
ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า
ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.

เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.
เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น.


อนึ่งเขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า
และประณีตกว่า ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.
เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น.



อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.
เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ.

เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น.



:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:


อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.
เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ.


อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นยิ่งกว่า และประณีตกว่า ญาณทัสสนะนั้น
ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย.


:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:



รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




guan-im62.jpg
guan-im62.jpg [ 18.79 KiB | เปิดดู 3737 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: tongue


ดูกรพราหมณ์
ก็ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ญาณทัสสนะเป็นไฉน?



ภิกษุในพระศาสนานี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน

มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่.

แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่.

แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
บรรลุตติยฌาน
ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข.

แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

อีกข้อหนึ่ง
ภิกษุบรรลุ จตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ญาณทัสสนะ.

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:
อีกข้อหนึ่ง
เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
ภิกษุย่อมบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่าอากาศหาที่สุดมิได้.

แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

อีกข้อหนึ่ง
เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้.

แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

อีกข้อหนึ่ง
เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี.

แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

อีกข้อหนึ่ง
เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุย่อมบรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน.

แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.

:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:

อีกข้อหนึ่ง
เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุย่อมบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ.
เพราะเห็นด้วยปัญญาของเธอ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป.

แม้ธรรมข้อนี้ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.


ดูกรพราหมณ์
ธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.


:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48:


เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น
ที่มีความต้องการแก่น แสวงหาแก่น เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่
เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น
และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด.

ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมา ฉันนั้น.





รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 12 ม.ค. 2010, 23:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 23:02
โพสต์: 530

แนวปฏิบัติ: เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ด้วยอานาปานสติ
งานอดิเรก: อ่านพระไตรปิฎก
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




R2267-7.gif
R2267-7.gif [ 49.45 KiB | เปิดดู 3724 ครั้ง ]
:b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: :b41: :b48: :b48: tongue


ดูกรพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้
พรหมจรรย์จึง
มิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญ เป็นอานิสงส์
มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีล เป็นอานิสงส์
มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิ เป็นอานิสงส์
มิใช่มีญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์


พรหมจรรย์นี้
มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด.



นี่แหล่ะค่ะ คือพรหมจรรย์ในศาสนานี้.....สาธุค่ะ


Quote Tipitaka:

สมยวิโมกข์
เป็นไฉน
ฌาน ๔ และอรูปสมาบัติ ๔ นี้เป็นสมยวิโมกข์ ฯ

อสมยวิโมกข์
เป็นไฉน
อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ และนิพพานนี้เป็นอสมยวิโมกข์ ฯ




รูปภาพ เจริญในธรรมค่ะ
:b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................


ผลกล้วยแลย่อมฆ่าต้นกล้วย
ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่
ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ
สักการะย่อมฆ่าบุรุษชั่ว
เหมือนลูกในท้องฆ่าแม่ม้าอัสดร ฉะนั้น ฯ



:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย กระบี่ไร้เงา เมื่อ 12 ม.ค. 2010, 23:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 187 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร