ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
อิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท แตกต่างหรือสอดคล้องกันอย่างไรครั http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=29015 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | LOCOMOTIVE [ 27 ม.ค. 2010, 01:37 ] |
หัวข้อกระทู้: | อิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท แตกต่างหรือสอดคล้องกันอย่างไรครั |
อิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท แตกต่างหรือสอดคล้องกันอย่างไรครับ ขอบคุณผู้รู้ทุกท่านล่วงหน้าครับ |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 27 ม.ค. 2010, 10:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท แตกต่างหรือสอดคล้องกันอย่างไรครั |
อิทัปปัจจยตา คือชื่อของกระบวนการที่สิ่งหนึ่งเป็นเหตุให้อีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น แต่ถ้ากระบวนการนั้นพูดถึงวงจรของทุกข์ของสัตว์ในวัฏสงสาร ก็เรียกว่า ปฏิจสมุปบาท คือวงจรของกรรม วงจรของวัฏฏะสงสาร อิทัปปัจจยตา ต้องเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามจริง เช่น ความร้อนเป็นเหตุ น้ำจึงกลายเป้นเมฆ เมฆเจอความเย็น ความเย็นเป้นเหตุ เมฆจึงกลายเป็นฝน นี่เรียกว่าอิทัปปัจจยตา แต่น้ำ เมฆ ฝน ไม่เกี่ยวอะไรกับการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลก เลยไม่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท แต่ถ้าเป็นการที่เราได้ยินอะไรแล้วมีความรู้สึกดีร้ายอะไรขึ้นมา นี่คือปฏิจสมุปบาท เพราะเกี่ยวข้องกับสัตว์ คำว่าสัตว์ของพระพุทธเจ้าหมายถึงทุกผู้ในวัฏฏะสงสาร ตั้งแต่นรกขุมต่ำสุดไปถึงสวรรคืสุงสุด พระองค์เรียกว่าสัตว์ในวัฏฏะสงสาร |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 27 ม.ค. 2010, 19:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท แตกต่างหรือสอดคล้องกันอย่างไรครั |
LOCOMOTIVE เขียน: อิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท แตกต่างหรือสอดคล้องกันอย่างไรครับ ขอบคุณผู้รู้ทุกท่านล่วงหน้าครับ อิทัปปัจจยตา และ ปฏิจจสมุปบาท ก็คือ สิ่งๆเดียวกันขอรับ ดังความหมาย จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับพระธรรมปิฎกฯ ให้ไว้ว่า อิทัปปัจจยตา หมายถึง"“ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย”, ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย, กระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย, กฎที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น; เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ”, เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ |
เจ้าของ: | LOCOMOTIVE [ 27 ม.ค. 2010, 22:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท แตกต่างหรือสอดคล้องกันอย่างไรครั |
ชาติสยาม เขียน: อิทัปปัจจยตา คือชื่อของกระบวนการที่สิ่งหนึ่งเป็นเหตุให้อีกสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น แต่ถ้ากระบวนการนั้นพูดถึงวงจรของทุกข์ของสัตว์ในวัฏสงสาร ก็เรียกว่า ปฏิจสมุปบาท คือวงจรของกรรม วงจรของวัฏฏะสงสาร อิทัปปัจจยตา ต้องเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามจริง เช่น ความร้อนเป็นเหตุ น้ำจึงกลายเป้นเมฆ เมฆเจอความเย็น ความเย็นเป้นเหตุ เมฆจึงกลายเป็นฝน นี่เรียกว่าอิทัปปัจจยตา แต่น้ำ เมฆ ฝน ไม่เกี่ยวอะไรกับการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลก เลยไม่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท แต่ถ้าเป็นการที่เราได้ยินอะไรแล้วมีความรู้สึกดีร้ายอะไรขึ้นมา นี่คือปฏิจสมุปบาท เพราะเกี่ยวข้องกับสัตว์ คำว่าสัตว์ของพระพุทธเจ้าหมายถึงทุกผู้ในวัฏฏะสงสาร ตั้งแต่นรกขุมต่ำสุดไปถึงสวรรคืสุงสุด พระองค์เรียกว่าสัตว์ในวัฏฏะสงสาร ที่คุณ"ชาติสยาม"อธิบายมานั้นพอเข้าใจแล้วครับ แต่ที่ไม่เข้าใจก็คือไม่เข้าใจว่าทำไมนักแสดงตกลูกออกมาแล้วต้องดีใจ ออกข่าวใหญ่โตมโหฬารให้คนรู้ทั่วบ้านทั่วเมือง ทั้งที่การเกิดเป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท การเกิดหาใช่เกิดแต่กระบอกไม้ไผ่ไม่...ใช่มั้ยครับ ขอบคุณคุณ"ชาติสยาม"อีกครั้งครับ |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 28 ม.ค. 2010, 00:56 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อิทัปปัจจยตาและปฏิจจสมุปบาท แตกต่างหรือสอดคล้องกันอย่างไรครั |
LOCOMOTIVE เขียน: แต่ที่ไม่เข้าใจก็คือไม่เข้าใจว่าทำไมนักแสดงตกลูกออกมาแล้วต้องดีใจ ออกข่าวใหญ่โตมโหฬารให้คนรู้ทั่วบ้านทั่วเมือง ทั้งที่การเกิดเป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท การเกิดหาใช่เกิดแต่กระบอกไม้ไผ่ไม่...ใช่มั้ยครับ ขอบคุณคุณ"ชาติสยาม"อีกครั้งครับ[/color][/b] เราไม่อยากให้ออกข่าวใหญ่โตทั่วบ้านทั่วเมืองใช่ไหมล่ะ "ไม่อยาก"ก็เป็นตันหา ชื่อ วิภวตันหา "อยาก"ออกข่าวใหญ่โต ก็เป้นตันหา ชื่อ ภวตันหา สรุปว่าทั้งอยากและไม่อยาก มีค่าเท่ากัน เพราะเป็นตันหา ถ้าเกลียดเมื่อไหร่ก็เท่ากับรัก รักเมื่อไหร่ก็เท่ากับเกลียด รักคือโหยเข้ามา เอาเข้ามาสู่ใจ ผูกสมัครผูกพันคลอเคลียกับใจ นี่คือรัก เกลียดคือ อยากผลักอยากดันออกไปจากใจ ไม่อยากคลอเคลีย ไม่อยากให้มาสู่ใจ นี่คือเกลียด อยากเอาเข้ามา กับอยากผลักออกไป อยากอาเข้ามาชื่อโลภะ อยากผลักออกไปชื่อโทสะ เสมอกันเพราะเป็นตันหา ถ้าผู้ใดแจ้งในปฏิจสมุปบาท แจ้งถึงใจจริงๆ (ซึ่งนับคนได้) เวลาเจอปรากฏการณ์ในโลก จะไม่มีรักใคร่ผูกพัน หรือรังเกียจอะไรเลย ตามหลักการแล้ว ใจมันจะเป้นอิสระกับโลก ไม่มีดีชั่วอะไรมาย้อมใจไว้ได้ อธิบายยากนะ เพราะมันเป็นภูมิของคนบรรลุธรรมชั้นสูง เราก็ไม่ทราบ แต่อธิบายสิ่งตรงกันข้ามจะทราบได้ง่าย เช่น ไฟมันอยู่ปกติของมัน แต่ถ้าไฟมันตกใส่บ้าน เราก้จะเกลียดไฟเข้าให้ พออากาศหนาวก็อุ่นสบาย นี่ก้รักไฟเข้าให้ สรุปว่าไฟมันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แต่กลายเป้นดีก็เมื่อมันถูกใจเรา กลายเป้นชั่วเมื่อเราไม่ถูกใจเรา คนที่ถึงเห็นแจ้งในปฏิจสมุปบาทจะมีจิตใจปกติต่อสิ่งเหล่านี้ แต่ไม่ใช้ว่าไฟไหม้บ้านยืนดูเฉยนะ ถ้ายืนเฉยแปลว่าคงจะ"ไม่ค่อยปกติ" คนที่เป็นกลางกับโลกจริงๆ เวลาไฟไหม้ เขาจะไม่ตกใจ ไม่ลนลาน แล้วก็แก้ไขไปตามหน้าที่ ตามสมควร ถ้าพอช่วยดับได้ กรุณาได้ ก็คงจะไปเอาน้ำมาช่วยดับ อะไรพ้นอำนาจไปแล้วก็วางใจเป้นอิสระได้ อุเบกขาได้ ไม่เดือดร้อนอะไรที่ใจเลย |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |