วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 11:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เพราะใจของคนเรากลับไปกลับมาเร็วมาก

ถ้าทำตามคำสั่งของผู้ป่วยว่า ไม่ให้ใส่เครื่องช่วยหายใจ รักษาพยาบาลตามสมควร

ผู้ป่วยตายเพราะหมดกรรม ญาติไม่มีส่วนแห่งปาณาติบาต แต่ถ้าเขาใส่เครื่อง

ช่วยหายใจแล้ว ผู้ป่วยดำรงชีวิตอยู่ได้เพราะเครื่องช่วยนั้น แล้วเราไปตัดเครื่องช่วย

นั้นทำให้ผู้ป่วยตาย อย่างนี้ ย่อมมีส่วนแห่งปาณาติบาต เพราะญาติมีเจตนาที่จะ

ให้ผู้ป่วยจากไป การกระทำนั้นจึงชื่อว่า เป็นปาณาติบาตครับ
บาปไม่บาปสำคัญที่เจตนาเป็นสำคัญครับ เจตนาถอดเพื่อให้เขาตายเพื่อที่จะไม่ให้

เขาทุกข์ทรมานหรือคิดว่าให้เขาไปสบายนั่นก็เป็นปาณาติบาตแล้ว เพราะมีเจตนาฆ่า

เจตนาดีอยากให้เขาพ้นทุกข์ เป็นขณะหนึ่ง ขณะนั้นเป็นกุศล แต่เจตนาที่อยากให้เขา

ตาย(เจตนาฆ่า)ก็เป็นอีกขณะหนึ่ง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็เป็นปาณาติบาต เพราะ

ฉะนั้นการพิจารณาธรรมต้องพิจารณาทีละขณะจิต ไม่ใช่พิจารณาเป็นเรื่องราวยาวๆ

รวมๆกันไปครับ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

องค์ของปาณาติบาตนั้น มี ๕ อย่าง คือ

๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสัญิตา รู้ว่าสัตว์มีชีวิต

๓. วธกจิตตัง มีจิตคิดฆ่า

๔. อุปักกโม มีความพยายาม

๕. เตนมรณัง สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

ตามหลักคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าบุคคลมีเจตนาจะให้ผู้อื่นตายด้วยวิธีใด ๆก็

ตาม เมื่อสำเร็จตามเจตนานั้นย่อมเป็นอกุศลกรรม ถ้าเรามองอย่างผิวเผินอาจจะคิดว่า

เป็นการกระทำที่ดีเพราะช่วยให้ผู้ป่วยพ้นจากความทรมาน แต่เราไม่ทราบว่าผู้ป่วยตาย

แล้วไปเกิด ณ ที่ใดมีสุขมีทุกข์อย่างไร เขาอาจไปเกิดในสถานที่มีทุกข์มากกว่านี้หลาย

แสนเท่าก็ได้ ดังนั้น ตามหลักคำสอนจึงไม่ควรทำให้ผู้อื่นตาย เพราะการเกิดเป็นมนุษย์

นี้แสนยากแท้

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

วินีตวัตถุ

เรื่องพรรณนา

[๒๐๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้

พรรณนาคุณแห่งความตายแก่ภิกษุนั้น ด้วยความกรุณา ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ

แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความรังเกียจว่า พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

วินีตวัตถุในตติยปาราชิก

[เรื่องพรรณนาคุณความตาย]

ในเรื่องแรก (ซึ่งมีอยู่) ในคาถาแห่งวินีตวัตถุทั้งหลาย มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า การุญฺเณน ความว่า ภิกษุเหล่านั้น เห็นความทุกข์เพราะความเป็น

ไข้อย่างมากของเธอแล้ว เกิดความกรุณาขึ้น ทั้งเป็นผู้มีความต้องการจะให้ตาย

ด้วย แต่ไม่ทราบว่าเธอมีความต้องการจะตาย จึงได้พรรณนาคุณความตาย

อย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้มีศีล ได้ทำกุศลไว้แล้ว เพราะเหตุไร เมื่อจะตายจึงกลัว

เล่า ? ขึ้นชื่อว่า สวรรค์ของผู้มีศีล เป็นของเนื่องด้วยเหตุเพียงความตาย

เท่านั้น มิใช่หรือ ? ภิกษุแม้นั้นก็ตัดอาหาร เพราะการพรรณนา (คุณความตาย)

ของภิกษุเหล่านั้น แล้วก็มรณภาพไปในระหว่างนั้นเอง เพราะเหตุนั้น ภิกษุ

เหล่านั้น จึงต้องอาบัติ. แต่ท่านพระอุบาลีเถระกล่าวไว้ด้วยอำนาจโวหารว่า

ภิกษุเหล่านั้น ได้พรรณนาคุณความตายด้วยความกรุณา, เพราะฉะนั้นถึงในบัด

นี้ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ก็ไม่ควรพรรณนาคุณความตายอย่างนั้น แก่ภิกษุผู้อาพาธ.

จริงอยู่ ถ้าภิกษุผู้อาพาธนั้นได้ฟังการพรรณนาของภิกษุนั้นแล้ว มรณภาพลง

ในระหว่าง ในเมื่ออายุแม้ยังเหลืออยู่ชั่วชวนวาระเดียว ด้วยความพยายามมีการ

อดอาหารเป็นต้น ไซร้, เธอเป็นผู้ชื่อว่าอันภิกษุนี้แลฆ่าแล้ว. แต่ควรให้คำพร่ำ

สอนโดยนัยนี้ว่า ความเกิดขึ้นแห่งมรรคและผลของท่านผู้มีศีล เป็นของไม่น่า

อัศจรรย์เลย; เพราะฉะนั้น ท่านไม่ควรทำความเกี่ยวข้องในสถานที่มีวิหารเป็น

ต้น ควรตั้งสติให้ไปในพระพุทธเจ้าพระธรรม พระสงฆ์ และในกาย ทำความ

ไม่ประมาทในมนสิการ. และแม้เมื่อภิกษุพรรณนาคุณความตายแล้ว ภิกษุใดไม่

ทำความพยายามอะไรๆ เพราะการพรรณนานั้น มรณภาพไปตามธรรมดาของตน

ตามอายุ และตามความสืบต่อ (แห่งอายุ), ภิกษุผู้พรรณนา อันพระวินัยธรไม่

ควรปรับอาบัติ เพราะความตายของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ฉะนี้แล.
ควรทราบว่า บาป คือ อกุศลธรรม ถ้าหากกระทำไปด้วยจิตไม่แยบคาย มี

เจตนาให้คนไข้ตาย แล้วถอดเครื่องช่วยหายใจ คนไข้ตาย เพราะการถอดนั้น

เป็นเหตุ ลักษณะนี้ เข้าองค์ปาณาติบาต แต่ถ้าคนไข้ตายเพราะหมดอายุ คือ

แม้ถอดเครื่องช่วยหายใจ เขาก็อยู่ได้หลายวัน อย่างนี้ไม่เข้าองค์ปาณาติบาต

ที่สำคัญอยู่ที่เจตนา แต่สภาพจิตสลับกันอย่างรวดเร็ว ควรละเว้นการกระทำ

ที่ใกล้ต่อปาณาติบาต เพราะถ้าคนไข้เป็นผู้มีอุปการะคุณ ย่อมมีโทษมาก จะ

ทำให้ผู้ที่เป็นบุตรเดือดร้อนใจในภายหลัง
ไม่ต้องเป็นห่วง ตราบใดที่ยังไม่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ยังต้องเวียนว่ายตาย

เกิด รับผลของกุศล และอกุศลต่อไปอีกยาวนานนับไม่ได้

ควรอบรมเจริญปัญญาในขณะนี้โดยการฟังพระธรรม ไม่ใช่ขณะใกล้ตายรอให้

ใครมาบอก ความตายเป็นเรื่องไม่แน่นนอน ความตายอาจเกิดในขณะจิตต่อไปก็

ได้ ถึงแม้จะไม่ได้เจ็บป่วยอะไรเลย ผู้ที่อบรมเจริญปัญญามาพร้อม ก็สามารถบรรลุ

ธรรมเป็นพระอริยบุคคลได้ ดังเช่นท่านพาหิยทารุจีริยะ เราฟังข้อความเดียวกัน

แล้วมีความเข้าใจหรือไม่ ฟังซ้ำแล้ว ซ้ำอีก ก็ยังไม่สามารถบรรลุเป็นพระอริยบุคคล

ได้ ถ้าสะสมปัญญายังไม่ถึงพร้อมที่จะบรรลุธรรมได้ แต่ท่านพาหิยทารุจีริยะฟัง

แล้วสามารถบรรลุธรรมตามลำดับขั้น เป็นพระอรหันต์ในขณะฟังธรรมนั้นเอง
การบรรลุธรรมของท่านพาหิยทารุจีริยะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 127-128


พาหิยสูตร ว่าด้วยการตรัสถึงที่สุดแห่งทุกข์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล

พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟ้ง

เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารูแจ้ง ดูก่อนพาหิยะ

ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจัก

เป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อ

รู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี

ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไมมีในโลกหน้า ย่อมไม่มี

ระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

ลําดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ

ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลําดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนพาหิย-

ทารุจีริยกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.

[๕๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน

แม่โคลูกอ่อนขวิดพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต ครั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตนพระนครสาวัตถี เสด็จกลับจากบิณฑบาต

ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จออกจากพระนครพร้อมกับภิกษุเป็นอันมาก ได้

ทอดพระเนตรเห็นพาหิยทารุจีริยะทํากาละแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงช่วยกันจับสรีระของพาหิยทารุจีริยะ

ยกขึ้นสู่เตียงแล้ว จงนําไปเผาเสีย แล้วจงทําสถูปไว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พาหิยทารุจีริยะประพฤติธรรมอันประเสริฐเสมอกับท่านทั้งหลาย ทํากาละแล้ว

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ช่วยกันยกสรีระของ

พระพาหิยทารุจีริยะขึ้นสู่เตียง แล้วนําไปเผา และทําสถูปไว แล้วเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้นั่งอยูณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ทูลถามพระผูมีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรีระของพาหิย-

ทารุจีริยะ ข้าพระองคทั้งหลายเผาแล้ว และสถูปของพาหิยทารุจีริยะนั้น

ข้าพระองค์ทั้งหลายทําไว้แล้ว คติของพาหิยทารุจีริยะนั้นเป็นอย่างไร ภพ

เบื้องหน้าของเขาเป็นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะ

เป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ทั้งไม่ทําเราให้ลําบาก เพราะ

เหตุแห่งการแสดงธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะปรินิพพานแล้ว
โดยทั่วไปผู้ที่จะมีหน้าที่ชำระหนี้ หมายถึงผู้นั้นได้ทำการกู้ยืม เพราะมีการกู้ยืม มีหนี้

จึงมีการชำระหนี้ ในทางธรรมก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราทำการกู้ยืมของสงฆ์ กิจ คือ การ

ชำระหนี้สงฆ์ก็ไม่มี เพราะไม่มีข้อความนี้ในพระไตรปิฎกอรรถกถาและฎีกา

แต่การทำบุญถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เพื่อบูชาพระสังฆรัตนะ

ไม่ใช่การชำระหนี้ครับ
หนี้คือสิ่งที่ต้องชดใช้ ซึ่งตามความเข้าใจทั่วไปแล้ว เราก็เป็นหนี้บุญคุณของผู้มี

พระคุณ ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดงเรื่องหนี้ การใช้หนี้ของผู้มีพระคุณมีบิดา มารดา

เป็นต้น ไว้น่าฟังดังนี้

พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกแขกเต้า เมื่อบิดา มารดาแก่เฒ่า ก็บินไปออกหาอาหารมาให้

พระโพธิสัตว์บินไปกินข้าวสาลีและคาบมาด้วยเพื่อให้ บิดา มารดาได้กินด้วย แต่ตัวอื่น

กินอย่างเดียวไมได้คาบมาให้ใคร ต่อมาพระโพธิสัตว์ถูกจับ จึงได้ถูกถามว่าทำไมท่าน

จึงคาบข้าวสาลีเอากลับไปด้วยเพราะอะไร พระโพธิสัตว์จึงตอบว่า

ข้าพเจ้านำเอาข้าวสาลีของท่านไปถึงยอดงิ้วแล้ว

ก็เปลื้องหนี้เก่า ให้เขากู้หนี้ใหม่ และฝังขุมทรัพย์ไว้ที่

ป่างิ้วนั้น ข้าแต่ท่านโกสิยะ ขอท่านจงทราบอย่างนี้เถิด.

บุคคลนั้นถามว่า เปลื้องหนี้เก่าคือะไร ให้เขากู้หนี้ใหม่คืออะไร ฝังขุมทรัพย์คืออะไร

พญานกแขกเต้า ถูกพราหมณ์ถามอย่างนี้แล้ว เมื่อจะพยากรณ์ปัญหาได้กล่าว

คาถา ๔ คาถาว่า

ข้าแต่ท่านโกสิยะ บุตรน้อยทั้งหลายของข้าพเจ้ายังอ่อน ขนปีกยังไม่ขึ้น บุตร

เหล่านั้นข้าพเจ้าเลี้ยงมาแล้ว เขาจักเลี้ยงข้าพเจ้าบ้าง เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงชื่อ

ว่าให้บุตรเหล่านั้นกู้หนี้ มารดาและบิดาของข้าพเจ้าแก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว

ข้าพเจ้าคาบข้าวสาลีไปด้วยจะงอยปาก เพื่อท่านเหล่านั้นชื่อว่าเปลื้องหนี้ที่ท่านทำ

ไว้ก่อน อนึ่ง นกเหล่าอื่นที่ป่าไม้งิ้วนั้น มีขนปีกอันหลุดหมดแล้ว เป็นนกทุพพลภาพ

ข้าพเจ้าต้องการบุญ จึงได้ให้ข้าวสาลีแก่นกเหล่านั้นบัณฑิตทั้งหลายกล่าวการทำ

บุญนั้นว่า เป็นขุมทรัพย์ การให้กู้หนี้ของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้ การเปลื้องหนี้ของ

ข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าบอกการฝังขุมสมบัติไว้เช่นนี้ ข้าแต่ท่านโกสิยะขอท่าน

จงทราบอย่างนี้เถิด.

เมื่ออ่านจบแล้วก็อย่าลืมใช้หนี้คือตอบแทนพระคุณพ่อแม่นะครับ หากท่านล่วงลับไป

แล้วก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ รวมทั้งฝังขุมทรัพย์คือเจริญกุศลทุกประการครับ
แต่เมื่อว่าสภาพธรรมที่เป็นจริง เป็นสัจจะแล้วพระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ขณะที่เป็น

หนี้คือขณะที่ทำอกุศลกรรม ทำบาป เพราะต้องตามใช้หนี้ คือเกิดอีกและได้รับทุกข์

ทุกข์ที่เดือดร้อนทางใจและทางกาย ทั้งเป็นปัจัยให้ไปอบายภูมิ อันเป้นคุกที่น่ากลัว

การจะไม่ให้มีหนี้คืออกุศลกรรม คือ ดับเหตุให้เป็นหนี้ คือ กิเลส ทาน ศีล สมถภาวนา

ดับกิเลสไม่ได้ ต้องเป็นวิปัสสนาภาวนา (สติปัฏฐาน) แต่ที่สำคัญเราเข้าใจถูกใน

เรื่อง การอบรมวิปัสสนาภาวนาหรือยัง ถ้าเข้าใจผิด ก็เป็นการเพิ่มหนี้ ไม่มีทางออกจาก

คุกคือสังสารวัฏได้เลย การเจริญอบรมปัญญาเพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ เป็น

หนทางเดียวที่จะชำระหนี้ เพราะเมื่อดับกิเลสหมด ย่อมไม่เป้นปัจจัยให้เกิดอีก จึงไม่

เป็นปัจจัยให้หนี้คืออกุศลกรรมที่ทำไว้ให้ผลได้เลย นี่คือหนทางเดียวของการชำระหนี้

จริงๆ ขออนุโมทนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 665

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มี

หิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรมไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศล-

ธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกายวาจา ใจ เรากล่าวการประพฤติทุจริตของเขาว่า

เป็นการกู้ยืม เขาย่อมตั้งบุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส ให้ทานด้วย

บุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส ให้ทานด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาโดยชอบธรรม

ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลกทั้งสองของผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน คือ เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ การบริจาคของคฤหัสถ์

ดังกล่าวมานั้นย่อมเจริญบุญ ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ

มีปัญญาและสำรวมในศีล ในวินัยของพระอริยเจ้าผู้นั้น แลเราเรียกว่ามีชีวิตเป็นสุข

ในวินัยของพระอริยเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 664

๓. อิณสูตร

ว่าด้วยความจนทางโลกกับทางธรรม

[๓๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็น

คนจน เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้ยืม แม้การกู้ยืม

ก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ กู้ยืมแล้วย่อมรับใช้

ดอกเบี้ย แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของผู้บริโภคกามในโลก.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ รับใช้ดอกเบี้ยแล้ว

ไม่ใช้ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขาแม้การทวงก็เป็น

ทุกข์ของบุคลผู้บริโภคกามในโลก.

ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริ

ในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มี

ปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนเข็ญใจยากไร้ในวินัยของพระ-

อริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล

เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม

ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย

วาจา ใจ เรากล่าวการประพฤติทุจริตของเขาว่า เป็นการกู้ยืม เขาย่อมตั้ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 666

ความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิดกายทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า

ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการ

ปกปิดวจีทุจริตนั้น ฯลฯ เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการ

ปกปิดมโนทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา. . . ย่อม

พยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา เรากล่าวเหตุการปกปิดทุจริต

ของเขานั้นว่า เป็นการรับใช้ดอกเบี้ย เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักได้กล่าว

กะเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านผู้มีอายุรูปนี้ เป็นผู้กระทำอย่างนี้ เป็นผู้ประพฤติอย่างนี้

เรากล่าวการถูกว่ากล่าวของเขาว่า เป็นการทวงดอกเบี้ย อกุศลวิตกที่เป็นบาป

ประกอบด้วยความเดือดร้อน ย่อมครอบงำเขา ผู้อยู่ป่า ผู้อยู่โคนไม้ หรือผู้

อยู่ในเรือนว่าง เรากล่าวการถูกอกุศลวิตกครอบงำนี้ ของเขาว่า เจ้าหนี้

ติดตามเขา คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ

เมื่อตายไปแล้ว ย่อมถูกจองจำ ในเรือนจำ คือ นรก หรือในเรือนจำ คือ

กำเนิดดิรัจฉาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเรือนจำอื่นเพียง

แห่งเดียว ซึ่งร้ายกาจ เป็นทุกข์ กระทำอันตรายแก่การบรรลุนิพพานซึ่งเป็น

ธรรมเกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อย่างนี้ เหมือนเรือนจำ คือ

นรก หรือเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉานเลย.

ความเป็นคนจน และการกู้ยืม

เรียกว่าเป็นทุกข์ในโลก คนจนกู้ยืมเลี้ยง

ชีวิตย่อมเดือดร้อน เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อม

ติดตามเขา เพราะไม่ใช่หนี้นั้น เขาย่อม

เข้าถึงแม้การจองจำ ก็การจองจำนั้น เป็น

ทุกข์ของชนทั้งหลายผู้ปรารถนาการได้กาม

ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้ใดไม่มีศรัทธา

ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม

กระทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต

ย่อมปรารถนา ย่อมดำริว่า คนเหล่าอื่น

อย่ารู้จักเรา พอกพูนบาปกรรมในที่นั้น ๆ

อยู่ บ่อย ๆ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

เราตถาคตย่อมกล่าวว่า เป็นทุกข์เหมือน

อย่างนั้น เขาผู้บาปกรรม มีปัญญาทราม

ทราบความชั่วของตนอยู่ เป็นคนจน มี

หนี้สิน เลี้ยงชีวิตอยู่ย่อมเดือดร้อน

ฯลฯ
บางท่าน เมื่อได้ฟัง เรื่องปาฏิหาริย์ ต่าง ๆ เรื่องโลกต่าง ๆ

เรื่องสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ แล้วอยากรู้ไปหมดเลย

แล้วจะรู้ได้ไหม.?


ถ้าพยายามที่จะไปรู้ให้ได้ อาจจะด้วยการสร้างภาพ

หรือหาวิธีการที่คิดว่า จะทำให้เห็นได้ รู้ได้

และ อาจจะคิดว่า ได้เห็นแล้ว ได้รู้แล้ว.!

แต่ไม่ใช่สิ่งที่มีจริง คือ ไม่ใช่การรู้ "ตามความเป็นจริง"


เพราะฉะนั้น

ก็คิดไป-คิดมา ๆ ใน "สิ่งที่ไม่ควรคิด" (อจินไตย ๔ ประการ)

เป็นเหตุให้ค่อย ๆ เปลี่ยนไป ๆ ค่อยเพี้ยนไปทีละเล็ก ทีละน้อย

จนกระทั่งถึงอาการที่เรียกว่า "ผิดปกติ"
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 235

๗. อจินติตสูตร ว่าด้วยอจินไตย ๔

[๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ อย่างนี้ไม่ควรคิด
ผู้ที่คิดก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า อจินไตย ๔ คือ

อะไรบ้าง คือ

๑. พุทธวิสัยแห่งพระพุทธทั้งหลาย เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด

ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

๒. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะ

พึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำปากเปล่า

๓. วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วน

แห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

๔. โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตยไม่ควรคิด

ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล อจินไตย ๔ ไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึง

มีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า.

จบอจินติตสูตรที่ ๗
อรรถกถาอจินติตสูตร

บทว่า อจินฺเตยฺยานิ ได้แก่ไม่ควรคิด.

บทว่า น จินฺเตตพฺพานิ ความว่า บุคคลไม่ควรคิด เพราะเป็นอจินไตยนั่นเอง

บทว่า ยานิ จินฺเตนฺโต คือ คิดสิ่งที่ไม่มีเหตุเหล่าใด.

บทว่า อุมฺมาทสฺส ได้แก่ ความเป็นคนบ้า.

บทว่า วิฆาตสฺส คือ เป็นทุกข์. บทว่า พุทฺธวิสโย แปลว่า วิสัยของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ความเป็นไปและอานุภาพของพระพุทธคุณมีพระ-

สัพพัญญุตญาณเป็นต้น. บทว่า ฌานวิสโย ได้แก่ ฌานวิสัยในอภิญญา.

บทว่า กมฺมวิปาโก ได้แก่ วิบากของกรรมมีกรรมที่จะพึงเสวยผลในปัจจุบัน

เป็นต้น. บทว่า โลกจินฺตา ความว่า โลกจินดา ความคิดเรื่องโลกเช่นว่า

ใครหนอสร้างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ใครสร้างแผ่นดินใหญ่ ใครสร้าง

มหาสมุทร ใครสร้างสัตว์ให้เกิด ใครสร้างภูเขา ใครสร้างต้นมะม่วงต้นตาล

และต้นมะพร้าวเป็นต้น ดังนี้.
ความเห็นผิด".....เกิดง่าย หรือยาก
ถ้า ศึกษา เพียงนิด ๆ หน่อย ๆ "ศึกษาไม่ละเอียด"


"การศึกษาที่ไม่ละเอียด" ไม่เป็นปัจจัยให้เกิด "ความเข้าใจอย่างละเอียด"

ไม่เป็นปัจจัยให้สามารถ "รักษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคฯ" ไว้ได้.!

และ "การศึกษาที่ไม่ละเอียด" ไม่เป็นปัจจัยให้สามารถที่จะได้รับ "ประโยชน์"

จาก พระธรรม-คำสอน ของพระผู้มีพระภาคฯ อีกด้วย.!


เช่น

คำว่า "ปริยัติ , ปฏิบัติ , ปฏิเวธ"....ถ้าไม่-ศึกษาให้ละเอียด-รอบคอบจริง ๆ

บางท่าน อาจจะ "เข้าใจผิด" ว่า "ปัญญาขั้นฟัง-เพียงแค่นี้"

ก็เป็น "ปัญญา-ระดับความเข้าใจธรรมะ-ขั้นนามรูปปริจเฉทญาณ"


หมายความว่า ศึกษาแล้ว อาจจะแปลคำ หรือ แปลชื่อ

แต่ ไม่ใช่ "ความรู้ตรงลักษณะ-สภาวะของสภาพธรรมประเภทต่าง ๆ"

และ ไม่เข้าใจ ว่า ปัญญามีหลายขั้น ซึ่ง ปัญญาแต่ละขั้น ๆ นั้น

สามารถที่จะรู้ สภาพธรรมได้ ต่างกันอย่างไร และ รู้ ลึกซึ้ง แค่ไหน.!
เพราะเหตุว่า...ขณะนี้นะ
ขณะที่กำลังฟัง" แล้วมีสภาพธรรม-เกิด-ปรากฏ.


"ผู้ที่ตรงต่อสภาพธรรมจริง ๆ"

จะรู้ได้ ว่า แม้ ธรรมะ-กำลังเกิด-ดับ ๆ

ปรากฏเป็นธรรมะ-แต่ละลักษณะ ที่ต่าง ๆ กัน

ยังไม่ใช่ "ปัญญา" ขั้นเดียวกันกับขณะที่ กำลังฟังและเข้าใจ.


และ "ไม่เข้าใจผิด" ว่า เป็นเพียง "ปัญญา-ขั้นฟัง"

ซึ่ง เป็น "ปัญญาขั้นเข้าใจ-เรื่องของสภาพธรรม" เท่านั้น.!

ยังไม่ใช่ "ปัญญา-ขั้นประจักษ์แจ้ง-ตรงลักษณะของสภาพธรรม"


เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ได้ "ศึกษา-ตามลำดับ"

แล้วได้ยิน คำว่า...."ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ"

ก็ คิดว่า....แค่นี้ พอแล้ว.!


หรือ บางท่าน อาจจะ "ไม่มีการศึกษาใด ๆ ทั้งสิ้น"

คือ ไม่เข้าใจเรื่องพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม

แล้วก็จะ "ปฏิบัติ-ทันที"

โดยอ้างว่า มีข้อความนี้ ในพระไตรปิฎก

เช่น คำว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ มหาสติปัฏฐาน ฯ


แต่ "ความละเอียด-ลึกซึ้ง-ของปัญญา"

ที่จะต้องมี "ความเห็นถูก" หรือ เข้าใจถูก-ในลักษณะของสภาพธรรม.


ต่างกับ "การมีความรู้-เพียงพยัญชนะ หรือ คำ"

เช่น ที่กล่าวกันว่า......."ขณะที่นั่ง....ก็ รู้ ว่านั่ง"

แค่นี้...พอไหม? เป็นการ"ศึกษา"หรือเปล่า.?

ท่านผู้ฟังคิดว่า เป็น "การศึกษา" แล้ว หรือ ยัง.?


ความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างนี้

ถ้าหากคิดว่า พอ-ที่จะเป็นปัจจัยให้ "รู้แจ้งอริยสัจจธรรม" ได้

ก็ไม่ใช่ "ความเห็น-ที่ถูกต้อง

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทาน ตื่นแต่ดึกด้เจริญอนุสติ 8 อย่าง
กำหนดอิริยาบทย่อย ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
สวดมนต์ อาราธนาศีล รักษาศีล กรวดน้ำอุทิศบุญ และตั้งใจว่า
จะเดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ อฐิษฐานจิต เจริญสมถะกรรมฐาน
ฟังธรรม ศึกษาธรรม ศึกษาการรักษาโรค เมื่อวานนี้ได้รักษาผู้ป่วยโดยไม่คิดเงิน
และตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่าง ตั้งแต่ ทานบารมีถึงอุเบกขาบารมี
ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญท่องเที่ยวพระเจดีย์กลางน้ำ



ความงดงามแห่งศรัทธาบนเกาะกลางแม่น้ำระยอง ห่างจากตัวเมืองระยองไปทางใต้ 2 กิโลเมตร เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดระยอง คือ พระศรีสมุทรโภคชัยโชค ชิตสงคราม (เกตุ ยมจินดา) เป็นผู้สร้าง ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ของชาวเรือว่าได้เดินทางมาถึงเมืองระยองแล้ว ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของวัดปากน้ำ ในวันเพ็ญเดือน 12 จะมีงานประเพณีห่มผ้าพระเจดีย์ แข่งเรือยาวและงานลอยกระทง ซึ่งได้จัดสืบทอดกันมา 60 กว่าปีแล้ว

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 203 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร