วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 13:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:34
โพสต์: 173

ชื่อเล่น: เจ้ก
อายุ: 23

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์เกิดจากอะไร และจะหมดทุกข์ได้อย่างไร

ถ้าจะถามว่าทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร ก็จะขอให้ดูง่าย ๆ ว่า เมื่อตอนเราเป็นเด็กเล็ก ๆ เราเคยทุกข์ไหม ก็ต้องย้อนไปดูเมื่อเยาว์วัยของทุกท่านว่า ทุกท่านมีทุกข์ไหม ถ้าย้อนอดีตไปได้น่ะ ทุกท่านก็จะตอบกันเป็นเสียงเดียวกันว่า เอ่อ ! จริง ตอนเป็นเด็กเล็ก ๆ เราไม่เคยทุกข์เลย ดังนั้นตามหัวข้อที่ขึ้นต้นนั้นขึ้นต้นว่า ทุกข์เกิดจากอะไร ก็พอจะตอบได้คร่าว ๆ ว่า ออ ! ทุกข์เกิดจากการที่เราเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง ยิ่งเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่(อายุมากขึ้น) ยิ่งทุกข์หนักขึ้นเรื่อย ๆ เพราะอะไรลองพิจารณาดูนะครับ

เหตุผลคงมีหลายสาเหตุ แต่อาจพอสรุปได้คร่าว ๆ ดังนี้

1. การเจริญเติบโตของเรา(อายุมากขึ้น)

2. สังคมรอบข้างที่อยู่รอบตัวเรา (สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา)

3. ขาดการดูแลตัวเอง

4. และอื่น ๆ

1. การเจริญเติบโตของเรา จะเห็นได้ว่าเมื่อเรายังเด็ก ๆ เล็ก ๆ เราไม่ค่อยมีความทุกข์เลย (ถ้าย้อนอดีตไปได้ก็จะเห็นความจริง) เพราะอะไร ก็เพราะว่าเราไม่มีภาระอะไรที่จะรับผิดชอบต่อตัวเราเองนั่นเอง ภาระต่าง ๆ นี่แหละสำคัญที่สุด เพราะภาระคือหน้าที่ที่เราต้องรับผิดชอบต่อตัวเราเอง (หรือผู้อื่น) เพราะเราต้องแสวงหาสิ่ง
ต่าง ๆ มาตอบสนองความต้องการของตัวเรา(และผู้อื่น) เช่น ปัจจัย 4 ก็ดี หรือสิ่งต่าง ๆอีกมากมาย

ตัวอย่างเช่นปัจจัย 4 เมื่อเรายังเด็ก ภาระหน้าที่ทั้งหมดไปตกอยู่กับบิดา มารดา เป็นผู้ดูแลเราทั้งหมด เราไม่ต้องแบกภาระหน้าที่ในการแสวงหามันมาตอบสนองความต้องการของตัวเราเลย พูดง่าย ๆ ก็คือ เราอยากได้อะไรในปัจจัย 4 ก็จะมีบิดา มารดา คอยหามาให้หมด จึงไม่เป็นภาระหน้าที่ของเราที่จะต้อง “คิด” แสวงหา

เมื่อเราเจริญเติบโตขึ้นแล้ว ปัจจัย 4 ต่าง ๆ ที่เราเคยได้จากบิดามารดา เราก็ต้องแสวงหาเอาเอง จึงเป็นภาระหน้าที่ให้แก่ตัวเอง และยิ่งมีครอบครัวและมีบุตรธิดาแล้วยิ่งไปกันใหญ่ ภาระหน้าที่ทั้งของตัวเราเองและของผู้อื่นด้วยแล้วยิ่งหนักกันไปใหญ่

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทุกข์เริ่มเกิดขึ้นแล้วเมื่อเราเจริญเติบโตขึ้น จากอะไรเล่า ก็จะเห็นได้ว่าความต้องการของตัวเราในความจำเป็นที่จะต้องใช้ปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต มนุษย์ทั้งหลายต้องพึ่งปัจจัย 4 เมื่อเราต้องพึ่งปัจจัย 4 เราจะหามาได้เองที่ไหนเล่า เพราะเราหาเองไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่จะหาได้ก็คือ “เงิน” เงินนั่นเองที่เป็นสิ่งที่เราจะไปใช้จ่ายในการได้มาซึ่งปัจจัย 4 ดังนั้นเมื่อเราเริ่มโตขึ้นแล้วเราจึงต้องมีการเล่าเรียนหนังสือ หรือบางคนไม่เรียนหนังสือก็ต้องปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เกิดอาชีพแก่ตนเอง

มนุษย์นั้นต่างจากสัตว์ทั้งหลายตรงที่มนุษย์ต้องมีอาชีพเพื่อใช้ในการที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งผิดกับสัตว์ทั้งหลายที่ไม่ต้องประกอบอาชีพอะไรก็สามารถดำรงตนให้มีชีวิตอยู่ได้ ดังนั้นภาระหน้าที่ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคนที่เริ่มเจริญเติบโตขึ้น

ช่วงแรกก็เป็นภาระหน้าที่ในการเล่าเรียนหนังสือ (หรือเล่าเรียนโดยการแสวงหาประสบการณ์ชีวิต) เมื่อเรียนหนังสือจบก็ต้องทำงานประกอบอาชีพ เพื่อจะได้มาซึ่งเงินทองที่จะใช้จ่ายในการได้มาซึ่งปัจจัย 4 ดังนั้นสิ่งที่ทำให้เราทุกข์หนักจึงเกิดขึ้นมากน้อยเพียงไรก็ขึ้นอยู่กับตัวเราว่า มีความพอใจมากน้อยเพียงใดกับปัจจัย 4 ที่เราได้รับ หากเราพึ่งพอใจในปัจจัย 4 ที่เรามีอยู่ไม่แสวงหาให้มากเกินไป หรือน้อยเกินไปก็จะเกิดความทุกข์น้อย หากแสวงหามันโดยไม่มีวันสิ้นสุดก็จะทุกข์มาก พูดง่าย ๆ ก็คือไม่พึ่งพอใจในสิ่งที่มีอยู่นั่นเอง

เพราะอะไร เพราะการที่เราจะได้ปัจจัย 4 มานั้น เราต้องใช้ความคิดอย่างมากมาย เราอยากได้มากเราต้องใช้ความคิดมาก ความคิดนี้รวมทั้งความคิดในทางทุจริต และความคิดในทางสุจริต

ความคิดนี่แหล่ะตัวสำคัญที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะว่าเมื่อเราคิดมากก็จะเกิดความกังวลมาก ไอ้ความกังวลนี่แหละที่ทำให้เกิดทุกข์อย่างแสนสาหัส เพราะ พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้ว่า นิวรณ์ 5 ทำให้เกิดทุกข์ ความกังวลใจ ก็อยู่ในนิวรณ์ 5 เช่นกัน คนเราเมื่อคิดกังวลมาก ๆ ก็จะทำให้ทุกข์ทรมานใจ (เกิดความคิดฟุ้งซ่าน) เมื่อเกิดความกังวลมาก ๆ ก็จะสะสมเข้าไปในจิต จิตของเราก็มีสัญญาอยู่ในจิต ตัวสัญญาก็จะจดจำเอาสิ่งต่าง ๆ ไว้ จึงกลายเป็นสัญญาผิด ๆ ที่คอยอบรมสั่งสอนให้จิตทำงานผิดไป ก็คือคิดอยู่ตลอดเวลาว่าสิ่งที่จะทำให้เราเป็นสุขนั่นคือปัจจัย 4 ยิ่งมีมากเท่าไหร่ยิ่งดียิ่งสุขมาก จึงระดมความคิดทุกอย่างที่จะแสวงหามันมาไว้เป็นของเราให้มากที่สุด (ความคิดนี้เป็นความคิดในทางสุจริตและในทางทุจริต)


นี่คือความทุกข์ตัวแรกที่ทุกท่านมองเห็น ดังนั้นเราจะดับทุกข์ตัวนี้ได้อย่างไร ก็คงบอกว่าไม่ยาก ก็เพียงเรากลับไปเป็นเด็ก ๆ เล็ก ๆ อีกครั้ง เราก็จะไม่ทุกข์แล้ว ก็จะบอกว่าเราจะกลับไปเป็นเด็กได้อย่างไร ใช่เรากลับไปเป็นเด็กไม่ได้ เรากลับไปเป็นเด็กไม่ได้แต่กาย แต่ใจ (จิต)เราสามารถกลับไปเป็นเด็กได้โดยจิต (ใจ) ของเรา จิต (ใจ) เราสามารถกลับไปเป็นเด็กได้ ก็เพียงเราประพฤติปฏิบัติธรรม ในข้อศีล สมาธิ ปัญญา หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเราพยายามทำจิต (ใจ) เราให้นิ่งมากที่สุด ใช้ความคิดวัน ๆ หนึ่ง ให้น้อยที่สุดเหมือนครั้งที่เราเป็นเด็กเล็ก ๆ เท่านั้นเราก็จะมีทุกข์น้อยแล้ว ยากหรือเปล่า

2. สังคมรอบข้างที่อยู่รอบตัวเรา (สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา)
นี่ก็คือความทุกข์อีกอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเรา สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรานี้ถ้าเปรียบไปก็เหมือนกับอากาศที่อยู่รอบตัวเรา เย็น ๆ ก็สบายดี ร้อน ๆ ก็ไม่สบาย เย็นมากไปก็ไม่สบาย ร้อนมากไปก็ไม่สบาย ร้อนน้อยไปก็หนาวอีก และ ฯลฯ

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าถ้าเปรียบสังคมรอบข้างเราเหมือนกับสภาพอากาศ เราจะเห็นได้ว่าเราไม่สามารถที่จะไปกำหนดสภาพอากาศให้เป็นไปตามใจที่เราปรารถนาได้เลย ดังนั้นเมื่อเราไม่สามารถกำหนดสภาพอากาศให้เป็นไปตามที่ใจเราปารารถนาได้ เราจะทำอย่างไร ก็มีวิธีการเดียวเท่านั้นก็คือเราต้องหาเครื่องป้องกัน หรือหาสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จะปลดทุกข์ให้แก่ตัวเรา เมื่อร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป สิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งป้องกันนี้เราต้องหา เราต้องทำมันถึงจะเกิดขึ้น

เปรียบสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา ที่จะทำให้เราเกิดความทุกข์ขึ้นนั้น ถ้าจะหมดไปหรือทุเลาลง เราก็ต้องหาสิ่งป้องกันหรือสิ่งอำนวยความสะดวกมาเป็นตัวช่วย สิ่งอำนวยความสะดวกก็คือบุญกุศล บุญกุศลจะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะทำให้เรา หมดทุกข์หรือทุเลาจากความทุกข์ที่เราได้รับอยู่ ก็คือความสบายใจเวลาเราทำบุญกุศลนั่นเอง สิ่งป้องกันสภาพแวดล้อมในอันที่จะทำให้เกิดความทุกข์ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สิ่งทั้ง 3 นี้จะเป็นเครื่องป้องกันเมื่อเราตกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี (สังคมรอบข้างไม่ดีงาม) หรือเมื่อเราต้องเจอกับสิ่งไม่ดีไม่งามที่คุกคามเราอยู่ นี่คือทุกข์ตัวที่ 2

3. ขาดการดูแลตัวเอง นี่คือความทุกข์ตัวที่ 3 จะเห็นได้ว่าเมื่อเรายังเด็ก จนเราโตขึ้นมานั้น เราจะถูก ปัจจัย ในข้อที่ 1 และข้อที่ 2 ดึงเราเข้าไปสู่ความทุกข์ แต่คนเราเกิดขึ้นมาแล้วต้องทุกข์ทุกคนนั่นแหละ แต่จะทุกข์มากหรือทุกข์น้อยก็ขึ้นอยู่กับเราดูแลตัวเองมากน้อยเพียงใด


การดูแลตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องยากนัก เพียงแต่เรามี “สติ” คิดเห็นในผิดชอบชั่วดี สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ ในสิ่งที่เกิดขึ้นในข้อที่ 1 และข้อที่ 2 ประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ ก็จะเกิดข้อผิดพลาดน้อย ก็จะทุกข์น้อย ดังคติธรรมในพุทธศาสน สุภาสิตที่ท่านกล่าวว่า "ธรรมะย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม"

4. อื่น ๆ เช่น ความรักในบุคคล หรือสิ่งต่าง ๆ ความเจ็บไข้ได้ป่วย และอื่น ๆ ฯลฯ

เราจะเห็นได้ว่าพระสงฆ์ ที่ท่านผ่านการปฏิบัติธรรมมาอย่างมากมายหรือปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่วัยเด็ก จะเห็นได้ว่าท่านไม่ค่อยมีความทุกข์ สุขภาพจิตท่านจะดีมาก ทำให้อายุท่านยืนนาน ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บ เพราะว่าท่านไม่ปล่อยให้ใจ (จิต)ท่านเจริญเติบโต ท่านปล่อยให้โตเพียงแต่กายแต่จิต (ใจ) ท่านไม่โตตามร่างกาย และท่านเข้าใจในข้อกล่าวทั้ง 4 ข้อที่ได้ยกมาแล้วนั่นเอง

หากผู้ใดอยากมีทุกข์น้อย หรือยังไม่เห็นความทุกข์ก็ขอให้ลองพิจารณาดูน่ะครับ 4 ข้อ จำง่าย ๆ ทำง่าย ๆ เข้าใจง่าย ๆ แล้ว “สุข” ก็จะหาได้ง่าย ๆ เช่นกัน

คติ................ อยากมีทุกข์น้อย ก็ทำใจ (จิต) ให้เป็นเด็กอยู่เสมอ (สงบจากความคิด)

credit:จากคุณ : มหาไม่มีเปรียญ pantip.com ครับ

.....................................................
จะขอเป็นแก้วน้ำที่ว่างเปล่า..เพื่อเติมเต็มธรรมที่ขาดหาย


แก้ไขล่าสุดโดย jekky เมื่อ 30 พ.ย. 2009, 08:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7503

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b12:
...ทุกข์เกิดจากอะไร...ทุกข์เพราะยึดมั่นถือมั่นหลงตัวตนเรา-เขา...หลงสมมุติ...
...ทุกข์เพราะเกิด...ทุกข์เพราะแก่...ทุกข์เพราะเจ็บป่วย...ทุกข์เพราะตาย...
...มันไม่ใช่พึ่งทุกข์เพียงชาตินี้ที่รู้ชาติเดียวหรอก...ตายแล้วเกิดนับชาติไม่ได้...
...คนที่เกิดก่อนเขาก็ตายไปหมดแล้ว...แล้วยังที่เกิดใหม่อีก...ที่กำลังจะตายอีก...

:b17:
...และจะหมดทุกข์ได้อย่างไร...ก็ต้องรีบดับทุกข์...ทุกข์ที่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด...
...เป็นวัฏฏะวน...(หลวงตามหาบัวเทศน์ว่า...เทียวตายเทียวเกิดเหมือนมดไต่ขอบด้ง...
...เป็นยังไงเอ้าพิจารณาซิ...มดไต่ขอบด้งมันวนเป็นวงกลม...หาที่สิ้นสุดได้ไหม)...
...อริยสัจจ์สี่และอริยมรรค8เป็นหนทางออกจากกองทุกข์มีศาสนาพุทธเท่านั้นสอน...

:b8:
:b13:
:b13:
:b13:
...ทุกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 23:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทุกข์เกิดจากอะไร


เกิดจากจิตอวิชชา..หรือจิตโง่ :b12:

อ้างคำพูด:
และจะหมดทุกข์ได้อย่างไร


ก็เอาความโง่..ออกจากจิต.. :b12:

จะเอาความโง่ออกจากจิต..ด้วยวิธีการไหนละ?

ก็ด้วยวิถีทางอันประเสริฐ 8 ประการ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2009, 06:18
โพสต์: 731

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์
เกิดจาก เราไม่รู้เท่าทันสิ่งที่มากระทบ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา
เมื่อใด "อัตตา" อ่อนกำลังลงไปเท่าใด ก็แปลว่า ฉลาดขึ้นเท่านั้น
ความเห็นแก่ตนถ่ายเดียว ก็น้อยลงไปเท่านั้น
ความทุกข์จะเบาบางลงเท่านั้นนั่นเอง
เมื่อใด "อัตตา" หมดไป "อนัตตา" ก็เกิดขึ้นแทน
ซึ่งแปลว่า วิชชา หรือแสงสว่างเกิดขึ้นถึงที่สุด
ก็หมดทุกข์โดยประการทั้งปวง
เนื่องจากเป็นผู้เห็นคำตอบอย่างแจ่มแจ้งของปัญหาชีวิต
ทุกข้อทุกกระทง คนเราเกิดมาทำไม?.. ชีวิตคืออะไร?...

ดังนั้น ความรู้นี้เกิดขึ้น ความไม่รู้(อวิชชา)ก็หายไป
กิเลส ตัณหา อุปาทาน ราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งเกิดจากความไม่รู้เป็นมูลฐาน
ก็พลอยถูกโค่นทำลายสาปสูญไปด้วย

เมื่อเราพรากความรู้สึกว่า "ของตน" ออกมาเสียจากสังขารร่างกาย
มายึดเอาศีล สมาธิ ปัญญา
เมื่อถึงยอดของปัญญา มันก็จะพรากจากที่นั้น
มายึดยึดถือเอาที่มรรคและผลจนถึงชั้นยอด
เราจะหมดอะไรที่จะยึดถือต่อไปเอง
พรากจากสิ่งที่เป็นตัวตน(นัตตา)
ขยับขึ้นมาว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน(อนัตตา)

เราจะหมดทุกข์ได้ถ้าเราไม่ยึดติดในสิ่งที่มากระทบ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเรา
เพราะในที่สุดแล้ว ตัวตนของเรานั้นไม่มี

สัพเพ ธํมมา นาลัง อภินิเวสายะ
สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


ขอกราบอนุโมทนาบุญ สาธุ.......... tongue


แก้ไขล่าสุดโดย damjao เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 10:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:33
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์คือ ตัณหา

สาเหตุที่ทำให้หมดทุกข์คือ ศีล สมาธิ ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ธ.ค. 2009, 16:37
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากนะค่ะ
ฝากบทกลอนด้วยนะค่ะ


เพื่อนที่ดีมีหนึ่งถึงจะน้อย
ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา
ดุจก้อนเกลือเค็มนิดหน่อยด้อยราคา
ยังมีค่ากว่าน้ำเค็มเต็มทะเล

บทเพลงแห่งรักที่นี่เลยค่ะ
ฟังเพลงเพราะๆ เพลงใหม่ ฟังเพลงใหม่ เพลงmp3 mp3ใหม่ คลายเครียดดีกว่าค่ะ
โหลดเพลง โหลดเพลงmp3 โหลดเพลงmp3ฟรี โหลดเพลงฟรี โหลดเพลงใหม่ฟรี โหลดเพลงใหม่ โหลดmp3ไม่มีนะค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 17:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ เกิดจาก
การยึดมั่นถือมั่น ด้วยทิฏฐิ
การพัวพัน การถือเอาด้วยตัณหา

สละคืนทิฏฐิ ละวางตัณหา ด้วยมรรค 4 ผล4

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 00:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 00:08
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ นั้นเป็นทุกข์
ไม่ว่าตอนใหนก็มีทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:33
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ (ปัญหา) 10 ประการ

ทุกข์มี ทุกข์ทางกาย ทุกข์ทางใจ ทุกข์ทางเศรษฐกิจ และทุกข์ทางสังคม

1.) ทุกข์ประจำ (นิพพันธทุกข์)

ทุกข์เนืองนิจ เป็นทุกข์ทางกาย ทุกข์อยู่ตลอดเวลา เป็นทุกข์สากล ทุกคนมีเหมือนกันได้แก่ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ

2.) ทุกข์เจ็บป่วย (พยาธิทุกข์)

ทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นทุกข์ทางกาย
เจ็บหมายถึงอาการเจ็บปวดเมื่อยขบตามส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่ออยู่อิริยาบถเดิมอยู่นานๆ ทำให้ต้องเปลี่ยนอิริยาบถอยู่เป็นระยะๆ
ป่วย เกิดจากความไม่สมบูรณ์ของร่างกาย จนเชื้อโรคเล่นงาน เช่นไข้หวัด ท้องร่วง โรคผิวหนัง

3.) ทุกข์อาชีพ (อาหารปริเยฏฐิทุกข์)

ทุกข์จากการแสวงหาอาหารมาเลี้ยงชีพ เป็นทุกข์ทางเศรษฐกิจ ทางกาย และทางใจ ตอนเด็กก็ต้องร่ำเรียน จบมาแล้วก็หางานทำ แต่งงาน เลี้ยงครอบครัว และบริวาร

4.) ทุกข์ตามสภาพ (สภาวทุกข์ 3 )

ทุกข์โดยสภาพ ทุกข์ที่ทุกคน สัตว์ ต้นไม้ หิน มีเหมือนกันหมดเป็นไปตามธรรมชาติ เป็นทุกข์ทางกาย หมายถึง ทุกข์ประจำสังขาร 3 อย่าง เป็นมี ความเกิด (ชาติ) ความแก่ (ชรา) และความตาย (มรณะ)

5.) ทุกข์ขัดแย้ง (วิวาทมูลกทุกข์)

ทุกข์ที่เกิดจากการทะเลาะวิวาทหรือขัดแย้งกับผู้อื่น เป็นทุกข์ทางสังคม เกิดจากความแตกต่างของมนุษย์ที่มีอุปนิสัย นิสัย อารมณ์ และความต้องการที่ไม่เหมือนกัน แต่ต้องมาอยู่ร่วมกัน ก็อดที่จะขัดแย้งกันไม่ได้ อาจทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท รุ่มร้อนใจ การต่อสู้ทำลาย ล้างผลาญกัน

6.) ทุกข์โลก (สหคตทุกข์)

ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ที่เกิดจากการเอาใจใส่ดูแลทะนุถนอม ลาภ (ทรัพย์) ยศ สรรเสริญ และสุข เพื่อไม่อยากให้เกิดการเสื่อมไป เป็นทุกข์ทางสังคม ลาภทำให้เกิดสุขจากความสะดวกสบาย แต่ก็ต้องทุกข์จากการต้องดูแลทรัพย์ ยศทำให้มีอำนาจมีตำแหน่งมีหน้ามีตา แต่ก็ต้องทุกข์จากการทำงานตามหน้าที่รับผิดชอบสูง ต้องแก้ปัญหาหนักๆ ต้องพบปะผู้คน การยกย่องสรรเสริญ ทำให้อิ่มใจ แต่ต้องระวังตัว กลัวจะไม่เป็นไปตามที่เขาสรรเสริญ ความสุขกายมีสุขภาพอนามัย ก็ต้องออกกำลังกาย กินอาหารดี ผักผ่อนเพียงพอ เป็นภาระที่ต้องดูแลสุขภาพ และความสุขใจ ก็ต้องมีทุกข์จากการดิ้นรนต่อสู้ จะได้สมอยาก พอใจชั่วครู่ก็อยากใหม่ ก็ต้องมีทุกข์อีก เพราะอยากได้มากกว่าเก่า

7.) ทุกข์วิบากกรรม (วิปากทุกข์)

ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ที่เกิดจากกรรมชั่วที่ตนได้กระทำแล้ว ทั้งในชาติก่อนและในชาตินี้ เป็นทุกข์กาย ทุกข์ใจ และทุกข์ทางสังคม เมื่อไปขโมยของของคนอื่น ก็ต้องถูกตำรวจจับ ถูกปรับหรือติดคุก

8.) ทุกข์ใจ (ปกิณกทุกข์ 8)

ทุกข์จร หรือทุกข์เบ็ดเตล็ด หมายถึง ทุกข์ที่เกิดขึ้นภายหลัง 8 อย่าง มักเป็นทุกข์ทางใจที่เกิดจากการพลัดพรากจากคนรัก ของรัก การที่ต้องอยู่กับคนที่ตนเกลียดหรือของที่ตนเกลียด และการไม่ได้สมหวัง มี

ความเศร้าโศก แห้งใจ (โสกะ)
ความคร่ำครวญ พิไรรำพัน (ปริเทวะ)
ความไม่สบายกาย (ทุกข์)
ความไม่สบายใจ (โทมนัส)
ความคับแค้นใจ (อุปายาส)
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก(ปิยวิปโยค)
ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก (อัปปิยสัมปโยค)
และความไม่สมปรารถนา(อิจฉิตาลาภ)

9.) ทุกข์กิเลส (สันตาปทุกข์)

ทุกข์ใจที่เกิดจากการถูกกิเลสบางอย่างเผาลน เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอิจฉา การริษยา ความใคร่ เป็นต้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็จะทำให้ใจเดือดร้อนวุ่นวาย

10.) ทุกข์ยึดถือ (ทุกข์ขันธ์)

ทุกข์ ใจที่เกิดจากการเข้าไปยึดถือ อุปาทานขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวกูของกู ถ้าไม่เข้าไปยึดถือมันก็เป็นธรรมชาติ ก็จะไม่ทุกข์ ขันธ์ 5 เป็นทุกข์ในตัวเอง เพราะมีความแปรปรวนมี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มันไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์ เป็น อนัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:33
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทางดับทุกข์ปัญหา (มรรค)

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสนิทแห่งปัญหา (ทุกข์) คือ อริยมรรค มีองค์ 8

หมวดปริยัติหรือปัญญา
รู้ : ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)
คิด : ความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ)

หมวดปฏิบัติทางกายหรือศีล
พูด : การเจรจาชอบ (สัมมาวาจา)
ทำ : การกระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ)
งาน : การเลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ)

หมวดปฏิบัติทางใจหรือสมาธิ
ขยัน : ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)
สติ : การตั้งสติชอบ (สัมมาสติ)
มุ่ง : การตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์ เป็นสิ่งที่ทนได้ยาก
ไม่ทุกข์ เป็นสิ่งที่เราทนได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์..เกิดจาก..ใจ
ทุกข์..หมดได้ด้วย..ใจ
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร