วันเวลาปัจจุบัน 02 พ.ค. 2024, 13:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


บางท่านอาจจะ งงๆ ว่า คลื่นวิปัสสนา หมายถึงคลื่นอย่างใด ???




ถ้าสนใจ ลองอ่านในเว็บพลังจิต ส่วนแยก วิทยาศาสตร์-เรื่องลึกลับ กระทู้ คลื่นสมอง สมถะ/วิปัสสนา ของคุณFALKMAN เอาน่ะครับ.... คลื่นวิปัสสนา นี้ ในกระทูนั้น เขาหมายถึง คลื่นสมองในย่านแกมม่า

ผมก็ขออนุญาต ใช้คำๆเดียวกันไปเลยน่ะครับ เพราะ คลื่นนี้บังเกิดตามการเจริญสติปัฏฐาน(ในลักษณะ รู้ตัวทั่วพร้อม) ....ไม่ใช่ ลักษณะการเข้าฌานแบบดิ่งลึก




มีการวิจัย เรื่อง คลื่นสมองวิปัสสสนา(คลื่นแกมม่า)นี้ โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านประสาทวิทยาของอเมริกา คือ เดวิดสัน


Meditation Gives Brain a Charge, Study Finds

By Marc Kaufman
Washington Post Staff Writer
Monday, January 3, 2005; Page A05
Brain research is beginning to produce concrete evidence for something that Buddhist practitioners of meditation have maintained for centuries: Mental discipline and meditative practice can change the workings of the brain and allow people to achieve different levels of awareness.

Those transformed states have traditionally been understood in transcendent terms, as something outside the world of physical measurement and objective evaluation. But over the past few years, researchers at the University of Wisconsin working with Tibetan monks have been able to translate those mental experiences into the scientific language of high-frequency gamma waves and brain synchrony, or coordination. And they have pinpointed the left prefrontal cortex, an area just behind the left forehead, as the place where brain activity associated with meditation is especially intense.


"What we found is that the longtime practitioners showed brain activation on a scale we have never seen before," said Richard Davidson, a neuroscientist at the university's new $10 million W.M. Keck Laboratory for Functional Brain Imaging and Behavior. "Their mental practice is having an effect on the brain in the same way golf or tennis practice will enhance performance." It demonstrates, he said, that the brain is capable of being trained and physically modified in ways few people can imagine.

Scientists used to believe the opposite -- that connections among brain nerve cells were fixed early in life and did not change in adulthood. But that assumption was disproved over the past decade with the help of advances in brain imaging and other techniques, and in its place, scientists have embraced the concept of ongoing brain development and "neuroplasticity."

Davidson says his newest results from the meditation study, published in the Proceedings of the National Academy of Sciences in November, take the concept of neuroplasticity a step further by showing that mental training through meditation (and presumably other disciplines) can itself change the inner workings and circuitry of the brain.

The new findings are the result of a long, if unlikely, collaboration between Davidson and Tibet's Dalai Lama, the world's best-known practitioner of Buddhism. The Dalai Lama first invited Davidson to his home in Dharamsala, India, in 1992 after learning about Davidson's innovative research into the neuroscience of emotions. The Tibetans have a centuries-old tradition of intensive meditation and, from the start, the Dalai Lama was interested in having Davidson scientifically explore the workings of his monks' meditating minds. Three years ago, the Dalai Lama spent two days visiting Davidson's lab.

The Dalai Lama ultimately dispatched eight of his most accomplished practitioners to Davidson's lab to have them hooked up for electroencephalograph (EEG) testing and brain scanning. The Buddhist practitioners in the experiment had undergone training in the Tibetan Nyingmapa and Kagyupa traditions of meditation for an estimated 10,000 to 50,000 hours, over time periods of 15 to 40 years. As a control, 10 student volunteers with no previous meditation experience were also tested after one week of training.

The monks and volunteers were fitted with a net of 256 electrical sensors and asked to meditate for short periods. Thinking and other mental activity are known to produce slight, but detectable, bursts of electrical activity as large groupings of neurons send messages to each other, and that's what the sensors picked up. Davidson was especially interested in measuring gamma waves, some of the highest-frequency and most important electrical brain impulses.

Both groups were asked to meditate, specifically on unconditional compassion. Buddhist teaching describes that state, which is at the heart of the Dalai Lama's teaching, as the "unrestricted readiness and availability to help living beings." The researchers chose that focus because it does not require concentrating on particular objects, memories or images, and cultivates instead a transformed state of being.

Davidson said that the results unambiguously showed that meditation activated the trained minds of the monks in significantly different ways from those of the volunteers. Most important, the electrodes picked up much greater activation of fast-moving and unusually powerful gamma waves in the monks, and found that the movement of the waves through the brain was far better organized and coordinated than in the students. The meditation novices showed only a slight increase in gamma wave activity while meditating, but some of the monks produced gamma wave activity more powerful than any previously reported in a healthy person, Davidson said.

The monks who had spent the most years meditating had the highest levels of gamma waves, he added. This "dose response" -- where higher levels of a drug or activity have greater effect than lower levels -- is what researchers look for to assess cause and effect.

In previous studies, mental activities such as focus, memory, learning and consciousness were associated with the kind of enhanced neural coordination found in the monks. The intense gamma waves found in the monks have also been associated with knitting together disparate brain circuits, and so are connected to higher mental activity and heightened awareness, as well.

Davidson's research is consistent with his earlier work that pinpointed the left prefrontal cortex as a brain region associated with happiness and positive thoughts and emotions. Using functional magnetic resonance imagining (fMRI) on the meditating monks, Davidson found that their brain activity -- as measured by the EEG -- was especially high in this area.

Davidson concludes from the research that meditation not only changes the workings of the brain in the short term, but also quite possibly produces permanent changes. That finding, he said, is based on the fact that the monks had considerably more gamma wave activity than the control group even before they started meditating. A researcher at the University of Massachusetts, Jon Kabat-Zinn, came to a similar conclusion several years ago.

Researchers at Harvard and Princeton universities are now testing some of the same monks on different aspects of their meditation practice: their ability to visualize images and control their thinking. Davidson is also planning further research.

"What we found is that the trained mind, or brain, is physically different from the untrained one," he said. In time, "we'll be able to better understand the potential importance of this kind of mental training and increase the likelihood that it will be taken seriously."



ลองอ่านดูไปก่อนน่ะครับ เดี๋ยวผมจะค่อยๆนำข้อมูลความรู้พื้นฐานทางคลื่นสมองมาลงเพิ่ม

มีจุดที่จะเสวนากันมาก จากผลการวิจัยนี้





ในการวิจัยนี้ เปรียบเทียบสองกลุ่ม

กลุ่มแรก คือ ภิกษุธิเบตที่เจริญสมถะมาก่อน และ มาเจริญสติในชีวิตประจำวัน(ที่บอกว่าเป็นหัวใจคำสอนของท่านดาไลลามะ)ภายหลังในช่วงทดลอง

กลุ่มสอง คือ อาสาสมัครที่เจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างเดียวในช่วงทดลอง




โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า

ถ้า สมถะ ที่พระภิกษุธิเบตเจริญ(เมตตาภาวนา) เป็นการกดสมองจริงๆ แล้ว.....

ทำไม ในกลุ่มภิกษุธิเบตที่เจริญทั้งสมถะและสติปัฏฐานภาวนา จึงสามารถมีคลื่นแกมม่าสูงมากได้ (คลื่นแกมม่า น่าจะถูกกดจากสมถะ จนไม่ปรากฏให้เห็น)


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 12 มี.ค. 2010, 21:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่าน รายละเอียด คลื่นสมองที่

http://en.wikipedia.org/wiki/Electroencephalography




เพ่งเล็งตรง

Gamma is the frequency range approximately 30–100 Hz. Gamma rhythms are thought to represent binding of different populations of neurons together into a network for the purpose of carrying out a certain cognitive or motor function.


......................................


และ

http://en.wikipedia.org/wiki/Gamma_wave

Relation to meditation

Experiments on Tibetan Buddhist monks have shown a correlation between transcendental mental states and gamma waves.[12][13] A suggested explanation is based on the fact that the gamma is intrinsically localized. Neuroscientist Sean O'Nuallain suggests that this very existence of synchronized gamma indicates that something akin to a singularity - or, to be more prosaic, a conscious experience - is occurring[12]. This work adduces experimental and simulated data to show that what meditation masters have in common is the ability to put the brain into a state in which it is maximally sensitive and consumes power at a lower (or even zero) rate, briefly. The "Zero power hypothesis" suggests that the lower power states may correspond to a "selfless" state and the more typical non-zero state, in which gamma is not so prominent, corresponds to a state of empirical self.

Recently, attempts to induce gamma waves in mice brains using optogenetics have been successful [14], leading to possibilities of testing many other implications.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผลการวิจัยนี้



อาจจะ "ตอบโจทย์" ประเด็น

" การแผ่เมตตา ขัดขวางการเจริญวิปัสสนาไหม"??? ..... ลงได้



เพราะ ผลออกมาชัดเจนว่า ในกลุ่มภิกษุทีเจริญเมตตาภาวนา ก็สามารถเจริญสติได้ผลดี(และ ดีมากด้วย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Falkman

ทีนี้ขออนุญาตเอาบทสนทนาธรรม ที่อาจารย์ท่านหนึ่งกับคุณหมออีกท่านหนึ่ง สนธนากันไว้ ณ วันที่ 22 มกราคม 2553 ดังนี้

.................

คุณหมอ - นักวิทยาศาสตร์เค้าดูคลื่นสมองครับ พวกที่เข้าฌาณคลื่อนสมองมันช้ามาก 2 หรือ 4 (cycle per second) ความแกว่งมันมีน้อย, แต่ที่เป็นพวกพุทธที่เจริญสติภาวนาเนี่ยะ มันขึ้นไปเป็น 80 หรือ 90 มันเร็วมาก

ในขณะที่การดำเนินชีวิตเนี่ย ใช้ประมาณ 13-34 อะไรอย่างนี้ เป็นกลางๆ เพราะฉะนั้นมันเป็นคนละขั้วกันเลย มาดูกันทางนี้ก็มองเห็นว่าความคิดเป็นอย่างไร ทางนี้มันก็ไปกดเอาไว้เลยหน่ะ

อาจารย์ - ที่เรียกเป็น bio feedback หรือเปล่า
คุณหมอ - ไม่ใช่ครับ นี่มันเกี่ยวกับคลื่นสมองล้วนๆ เลย เป็นสิ่งที่เค้าพึ่งค้นพบใหม่ และเค้าก็ตื่นเต้นมากเลยนะว่าคนละเรื่องเลยนะ

อาจารย์ - สอดคล้องกันดีใช่ไหมครับ
คุณหมอ - ครับ ของวิปัสนานี่ สมองมันทำงานเร็วมาก Interactive ส่วนทางด้านสมถะมันไปกดเอาไว้เข้าฌาณ ...นิ่งเหมือนกบจำศีลอย่างนี้ มันก็สงบแต่ไม่พ้นทุกข์ แต่ทางนี้ก็เห็นว่า มันเร็วมากครับ สามารถจับความคิดของเค้าเองได้ ก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ คือ เค้าไปเจอโดนบังเอิญครับ



.................................................



อ้างคำพูด:
คุณหมอ - นักวิทยาศาสตร์เค้าดูคลื่นสมองครับ พวกที่เข้าฌาณคลื่อนสมองมันช้ามาก 2 หรือ 4 (cycle per second) ความแกว่งมันมีน้อย, แต่ที่เป็นพวกพุทธที่เจริญสติภาวนาเนี่ยะ มันขึ้นไปเป็น 80 หรือ 90 มันเร็วมาก

ในขณะที่การดำเนินชีวิตเนี่ย ใช้ประมาณ 13-34 อะไรอย่างนี้ เป็นกลางๆ เพราะฉะนั้นมันเป็นคนละขั้วกันเลย มาดูกันทางนี้ก็มองเห็นว่าความคิดเป็นอย่างไร ทางนี้มันก็ไปกดเอาไว้เลยหน่ะ


และ

อ้างคำพูด:
พวกที่เข้าฌาณคลื่อนสมองมันช้ามาก 2 หรือ 4 (cycle per second) ความแกว่งมันมีน้อย



คลื่นสมอง 2-4cycle น่าจะเป็นระดับ เดลต้าเวฟ (0.5-3เฮิรทซ์) เป็นคลื่น ของจิตสงบลึกสุด เช่น นอนหลับสนิท สลบ โดนยาสลบ น่าจะนับรวมถึงอรูปฌานต่างๆ. ขั้นนี้ไม่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้แล้ว.จิตมันสงบลึกจนเกินไปแล้ว.แต่ ก็มีผู้กล่าวว่า มีส่วนช่วยให้สมองได้พักอย่างเต็มที่สุดๆ

อยากเรียนว่า คำว่า สมถะ นั้นมีขอบเขตความหมายที่กว้างมากครับ... ในพระอภิธรรมปิฎก(ไม่ใช่พระคัมภีร์อภิธัมมัตถะสังคหะ) สมถะ ครอบคลุมตั้งแต่ มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกียะ จนถึง สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค ..... ดังนั้น จะจำกัดความหมายของสมถะ เอาไว้ที่ตรงระดับฌานขั้นลึกเท่านั้น คงไม่ถูกต้อง. เพราะ แม้นแต่ คลื่นสมองใน Hiband alfa wave ก็มีลักษณะของสมถะ(สมาธิ)ปรากฏอยู่เช่นกัน. อัลฟาเวฟ (8-12เฮิรทซ์) เป็นคลื่นของคน กายสงบ กายสบาย ใจสงบ ใจสบาย(กายลหุตา จิตลหุตา กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ) ...เหมาะสำหรับการเรียนรู้ และ ความจำระยะยาว ก็จัดว่า มีสมถะปรากฏเช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ไม่มีอะไรที่ขัดขวางการทำวิปัสสนาได้หรอกค่ะ
มีแต่ความไม่รู้เท่านั้นแหละค่ะที่เป็นตัวขัดขวาง

ยังไงๆสมถะและวิปัสสนาต้องไปควบคู่กันค่ะ ขาดตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้
หากสมถะแรง แต่ขาดวิปัสสนา ปัญญาที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้นั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ยาก
หากวิปัสสนาแรง ปัญญาย่อมคมกล้า ความฟุ้งซ่านย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย
เพียงแต่ว่าผู้ปฏิบัติจะมองเห็นตรงนี้หรือเปล่าเท่านั้นเอง
ในแนวทางการปฏิบัติ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรตายตัวแน่นอน




ตรงประเด็น เขียน:

อยากเรียนว่า คำว่า สมถะ นั้นมีขอบเขตความหมายที่กว้างมากครับ... ในพระอภิธรรมปิฎก(ไม่ใช่พระคัมภีร์อภิธัมมัตถะสังคหะ) สมถะ ครอบคลุมตั้งแต่ มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกียะ จนถึง สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค ..... ดังนั้น จะจำกัดความหมายของสมถะ เอาไว้ที่ตรงระดับฌานขั้นลึกเท่านั้น คงไม่ถูกต้อง.



อนุโมทนาค่ะ :b8:
แม้แต่ฌานก็มีทั้ง สัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ อันนี้เรื่องจริงค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 13 มี.ค. 2010, 19:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษาเรื่องคลื่นของสมอง เป็นข้อดีอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นความสงบ ออกมาเป็นรูปธรรมในบุคคลที่เชื่ออะไรยาก หรือต้องพิสูจน์เสียก่อนให้เห็นด้วยตาเสียก่อนจึงคลายข้อสงสัยได้ แต่นี่เป็นเพียงส่วนเล็ก ๆที่มันสมองของมนุษย์พอจะสรรหามาพิสูจน์ ใบไม้ในกำมือ

สมาธิที่มากไป อย่างหนึ่ง สมาธิที่น้อยไป อย่่างหนึ่ง ทั้งสอง ไม่เหมาะ ไม่ควรแก่การงาน

แค่ไหนจึงจะเหมาะ จะควรแก่การงาน นั้น ในแต่ละบุคคล ก็ยังแตกต่างกัน

สมาธิในระดับช่วงคลื่นหนึ่ง เหมือนตัว แอคติเวท ที่เอื่้อต่อการวิปัสสนา
(คือสามารถปรับให้ขึ้นไปที่ช่วงเวฟเลงท์สูงได้โดยทันที)

คล้าย อิเล็คตรอน ที่จะเปลื่ยนวง จากด้านนอกเข้าหาชั้นในซึ่งใกล้นิวเคลียรส ต้องได้รับการกระตุ้นเล็กน้อย จึงสมควรแก่การปรับวงโคจร

สมาธิลึก มันเป็นสุข มันติด
สมาธิเพียงเล็กน้อย เป็นบาท ฐานแก่การเจริญวิปัสสนา แก่การเจริญปัญญา

การศึกษามาก ก็แค่รู้มาก ประโยชน์ทางธรรมน้อยค่ะ

อนุโมทนาในการนำความรู้มาบอกเล่านะค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


แมวขาวมณี เขียน:


สมาธิลึก มันเป็นสุข มันติด
สมาธิเพียงเล็กน้อย เป็นบาท ฐานแก่การเจริญวิปัสสนา แก่การเจริญปัญญา







หลวงตา มหาบัว ท่านแสดงเรื่องนี้ไว้อย่างนี้ครับ




วิธีตั้งจิตให้สงบเป็นสมาธิ
โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔

ๆลๆ

ทีนี้เวลามันสงบลงไป ถอนขึ้นมา หลายครั้งหลายหน มันสร้างฐานแห่งความมั่นคง ภายในตัวของมันขณะที่สงบนั้นเรื่อยมา จนกระทั่งกลายเป็นจิตที่แน่นหนามั่นคงขึ้นมา

จากความสงบที่สั่งสมกำลังแห่งความแน่นหนามั่นคงมาเป็นลำดับนั้น ติดต่อกันมาเรื่อยๆ เลยกลายเป็นสมาธิขึ้นมาแน่นหนามั่นคง นี่เรียกว่าจิตเป็นสมาธิแล้ว

เวลาสงบแล้วถอนขึ้นมาๆ นั้นเรียกว่าจิตสงบ หรือว่าจิตรวม พอถึงขั้นจิตเป็นสมาธิแล้ว จิตจะถอนขึ้นมาไม่ถอนขึ้นมาก็ตาม ฐานของจิตคือความสงบนั้นแน่นปึ๋งๆ ตลอดเวลา นี่ท่านเรียกว่าจิตเป็นสมาธิ เห็นประจักษ์ในหัวใจอย่างนี้ อ๋อ สมาธิกับความสงบนี้ต่างกัน นี่เรียกว่าสมาธิ เพื่อให้ถูกต้อง ดำเนินด้วยความราบรื่น

พอจิตเป็นสมาธิ มีความสงบ มันอิ่มอารมณ์ ไม่เสียดายในความคิดความปรุงไปทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรสต่างๆ พอใจอยู่กับความสงบใจของตนนั้น เรียกว่าจิตมีสมาธิ จิตอิ่มอารมณ์ คือไม่อยากคิดกับอารมณ์นั้นอารมณ์นี้ อาศัยความสงบเย็นใจ ความแน่นหนามั่นคงของสมาธินั้นเป็นเรือนอยู่ของใจ

จิตขั้นนี้ เวลามันสงบมีกำลังมากๆ แล้วมันจะรำคาญในการคิด การปรุงต่างๆ ซึ่งแต่ก่อนมันหิวโหยมาก ไม่ได้คิดได้ปรุงอยู่ไม่ได้ ดีดดิ้นอยากคิดอยากปรุง พอจิตมีความสงบเป็นจิตแน่นหนามั่นคง เรียกว่าเป็นสมาธิเต็มที่แล้วนั้น ไม่อยากคิด ความคิดเป็นการรบกวนตัวเอง จิตที่อยู่แน่วมีแต่ความรู้ที่เด่นอยู่ภายในตัวนั้น ถือว่า เป็นความสะดวกสบาย ไม่มีอะไรมากวนใจ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสมาธิ จึงมักติดในสมาธิ หรือติดในสมาธิ เพราะสมาธินี้ก็เป็นอารมณ์กล่อมใจได้ดี

เมื่อยังไม่ถึงขั้นปัญญา ที่จะมีผลมากกว่านี้แล้ว จะติดได้



ทีนี้ พอจิตมีความแน่นหนามั่นคงแล้ว มันอิ่มอารมณ์แล้วที่นี่ เมื่อจิตอิ่มอารมณ์แล้ว พาออกทางด้านปัญญา

ถ้าจิตไม่อิ่มอารมณ์ ยังหิวอารมณ์อยู่แล้ว ออกทางด้านปัญญา จะเป็นสัญญาไปเรื่อยๆ คาดหมายอย่างนั้นอย่างนี้ กลายเป็นสมุทัยไปหมด เลยไม่เป็นปัญญาให้

เพราะฉะนั้น ท่านถึงสอนให้อบรมทางสมาธิเสียก่อน
สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา คือสมาธิมีความแน่นหนามั่นคงแล้ว สมาธิมีความอิ่มตัวแล้ว ก็หนุนปัญญาได้ พิจารณาทางด้านปัญญาก็คล่องตัวๆ เป็นปัญญาจริงๆ ไม่ได้เป็นสัญญาอารมณ์ เพราะจิตอิ่มอารมณ์แล้ว ออกพิจารณาทางด้านปัญญา ยกเอาเรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก กระทั่งถึงร่างกายทุกสัดทุกส่วน ให้เป็นเหมือนไฟได้เชื้อ เชื้อนั้นคือร่างกายทุกส่วนนี้แล ไฟคือสติปัญญา ตปธรรม หนุนเข้าไปพิจารณาเข้าไป

ๆลๆ


นี่การพิจารณาภาวนา เบื้องต้นก็อย่างที่พูดให้ฟังแล้ว ต้องตั้งจิตตั้งใจเอาให้จริงจัง

ถ้าว่าบริกรรมก็เอาให้จริงแล้วจะเข้าสู่ความสงบ
จากความสงบแล้วเข้าเป็นสมาธิ
จากสมาธิแล้ว ออกพิจารณาทางด้านปัญญา เป็นขั้นเป็นตอน เป็นเวล่ำเวลา

เวลาที่มันหมุนทางด้านปัญญานี้ มันหมุนจริงๆ นะจนไม่มีวันมีคืน ต้องพัก จิตอันนี้ถึงขั้นมันหมุนติ้วเสียจริงๆ แล้วเจ้าของเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า เพราะสังขาร ปัญญาเอาสังขารความปรุงนี้ออกใช้ แต่เป็นความปรุงฝ่ายมรรค ไม่ได้เหมือนความปรุงของกิเลสที่เป็นฝ่ายสมุทัย

เมื่อทำงานมากๆ มันก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ให้เข้าพักสมาธิเข้าสู่ความสงบ อย่ายุ่งเวลานั้น บังคับเข้าให้ได้ มันเพลินนะ จิตเวลาถึงขั้นปัญญาแล้ว มันจะไม่ยอมเข้าพักสมาธิ มันเห็นสมาธิว่านอนตายอยู่เฉยๆ

ปัญญาต่างหากฆ่ากิเลส แล้วการฆ่ากิเลสไม่รู้จักประมาณ มันก็เป็นสมุทัยอีกเหมือนกัน ไม่รู้จักประมาณ เพราะฉะนั้นจึงเวลาเข้าพักให้เข้าพัก พักความสงบของจิต ถ้ามันพักไม่ได้จริงๆ ก็อย่างที่ผมเคยพูดให้ฟัง เอาพุทโธบริกรรมเลยก็มี ผมเคยเป็นแล้วนะ มันไม่ยอมจะเข้าพัก มันจะหมุนแต่ทางด้านปัญญา ฆ่ากิเลสถ่ายเดียวๆ ทั้งๆ ที่กำลังวังชาเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าพอแล้ว เราจึงต้องเอาพุทโธบังคับไว้ให้อยู่กับพุทโธ สติตั้งอยู่นั้น ไม่ยอมให้ออกปัญญาหมุนไว้ สักเดี๋ยวก็ลงสู่ความสงบแน่วเลย นั่นเห็นไหมล่ะ พอจิตเข้าสู่ความสงบนี่ โอ๋ย เหมือนถอดเสี้ยนถอดหนามนะ

เวลาออกทางด้านปัญญามันเหมือนชุลมุนวุ่นวาย เหมือนนักมวยเข้าวงในกัน ทีนี้เวลาเข้ามาสู่สมาธินี้ มันเหมือนถอดเสี้ยนถอดหนาม เพราะได้พักผ่อนหย่อนจิต ตอนนี้บังคับเอาไว้นะ ไม่อย่างนั้นมันจะออกอีก เพราะกำลังของด้านปัญญามันหนักมากกว่าสมาธิเป็นไหนๆ

ถ้าว่าเราเผลอนี้ ผมไม่อยากพูด ถ้าว่ารามือ พอพูดได้ เพราะมันไม่เผลอนี่ พอเราอ่อนทางนี้ รามือสักนิดหนึ่ง มันจะพุ่งออกด้านปัญญา เพราะฉะนั้น จึงต้องบังคับไว้ให้อยู่กับสมาธิแน่วอยู่นั้น จนเห็นว่าเป็นที่พอใจ มีกำลังวังชาทางด้านสมาธิ แล้วค่อยถอนออกมา พอถอนออกมามันจะดีดผึงเลยทางด้านปัญญา

ให้ทำอย่างนี้ตลอดไปสำหรับนักปฏิบัติ อย่าเห็นแก่ว่าปัญญาดี ปัญญาฆ่ากิเลส แล้วเตลิดเปิดเปิงทางด้านปัญญา นี้เป็นสมุทัยประเภทหนึ่ง ที่แทรกจิต โดยการพิจารณา ไม่รู้จักประมาณ เลยกลายเป็นเรื่อง หลงสังขารทางด้านปัญญาไป สังขารทางด้านปัญญา กลายเป็นสมุทัยไปได้ เพราะเราไม่รู้จักประมาณ

เวลาพิจารณาให้พิจารณาเต็มที่ ไม่ต้องบอกพอ ถึงขั้นปัญญาขั้นนี้แล้ว มันจะหมุนของมันเอง แต่เวลาพักให้พักเต็มที่ อย่างนั้นถูก ถึงขั้นปัญญาแล้ว มันจะไม่ยอมพัก มันจะหมุนทางด้านปัญญา เพราะเพลินในการฆ่ากิเลส

หมุนเข้ามาทางสมาธิ เรียกว่าพักเอากำลัง เหมือนเราพักผ่อนนอนหลับ รับประทานอาหารมีกำลังวังชา

ถึงจะเสียเวล่ำเวลาในการพักก็ตาม สิ้นเปลืองไปเพราะอาหารการกินก็ตาม แต่สิ้นเปลืองไปเพราะผลอันยิ่งใหญ่ในกาลต่อไปโน้น ประกอบการงานมีกำลังวังชา

นี่จิตของเราพักสมาธินี้จะเสียเวล่ำเวลา แต่เป็นกำลังอันยิ่งใหญ่ในสมาธินี้ จะหนุนปัญญาให้ก้าวเดินสะดวก คล่องแคล่ว นั่น ให้เป็นอย่างนั้น พิจารณาอย่างนั้น

ผู้ปฏิบัติจับไว้ให้ดีนะที่สอนนี้ ผมไม่ได้สอนด้วยความลูบคลำนะ สอนตามหลักความจริงที่ได้ผ่านมาอย่างไร อย่าเหลาะๆ แหละๆ นะการภาวนา เอาให้จริงจัง เรื่องมรรคผลนิพพานไม่ต้องถาม ขอให้ก้าวเดิน นี่คือทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพาน ไม่ไปที่ไหน ขอให้ก้าวเดินตามนี้ให้ถูกต้องเถิด จะเข้าถึงมรรคผลนิพพานโดยไม่ต้องสงสัย สำคัญอยู่ที่การดำเนิน ถ้าผู้แนะไม่เข้าใจนี้ทำให้ผิดพลาดได้ นี้เราแนะด้วยความแน่ใจ เพราะเราดำเนินมาแล้วอย่างช่ำชอง ไม่มีอะไรสงสัยแล้ว

ในการแนะนำสั่งสอนหมู่เพื่อน ไม่ว่าจะสมถะ ไม่ว่าจะสมาธิ ไม่ว่าจะปัญญา ปัญญาขั้นใด ตั้งแต่สติปัญญาอัตโนมัติไปเรื่อย จนกระทั่งมหาสติมหาปัญญา มารวมอยู่ที่หัวใจนี้ทั้งหมด มีความคล่องแคล่วแกล้วกล้า ประจักษ์หัวใจตลอดเวลา แล้วจะไปสงสัยสติปัญญา และสติปัญญาอัตโนมัติ ตลอดมหาสติ มหาปัญญาไปได้ยังไง ก็มันเป็นอยู่กับหัวใจ พากันจำให้ดี ให้ตั้งใจปฏิบัติตัวให้ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 09:12
โพสต์: 9

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: เรียน
สิ่งที่ชื่นชอบ: BTS
ชื่อเล่น: จันทร์
อายุ: 20
ที่อยู่: ห้องเล็กๆ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านแล้วยัง งงง ที่ว่าปัญญาต่างหากฆ่ากิเลส กิเลสฆ่าได้ด้วยหรอ ?? ถ้าฆ่าได้ทำไมมันไม่ตาย แล้วทำไมความอยากความต้องการของเรามันมีไม่รู้จักหมด..??(น่าคิดไมคับ)

.....................................................
การสร้างวัดนั้นเป็นสิ่งสำคัญก็จริง แค่เป็นได้แค่เพียงมรดกโลก
แต่การสร้างคนให้เป็นพระนั้น สำคัญยิ่งกว่าเพราะจะได้เป็นมรดกธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2010, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


BTS เขียน:
อ่านแล้วยัง งงง ที่ว่าปัญญาต่างหากฆ่ากิเลส กิเลสฆ่าได้ด้วยหรอ ?? ถ้าฆ่าได้ทำไมมันไม่ตาย แล้วทำไมความอยากความต้องการของเรามันมีไม่รู้จักหมด..??(น่าคิดไมคับ)




คำว่า ฆ่ากิเลส... หรือ ประหารกิเลส

เป็นคำที่ใช้กัน อยู่แล้ว ครับ

ลองอ่าน



อ้างคำพูด:
อนุสยกิเลส

ได้แก่ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน ซึ่งตนเองและผู้อื่น
ก็ไม่สามารถรู้ได้ กิเลสจำพวกนี้ต้องประหารด้วยปัญญา
อันหมายถึงมัคคจิต ซึ่งมัคคจิตสามารถประหารได้จนหมดสิ้น
สูญเชื้อโดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน

จาก
คู่มือการศึกษาพระอภิธรรม
ปริจเฉทที่ ๑ จิตปรมัตถ์
หลักสูตรปริญญาธรรมชั้นตรี
สถาบันการศึกษาพระอภิธรรม มูลนิธิปริญญาธรรม
[หน้า ๖๙ - ๗๐]
รวบรวมโดย
ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร)



คำว่า ประหาร พูดด้วยภาษาชาวบ้าน ก็ใช้คำว่า ฆ่า....

ถ้าหากท่านใดเห็นว่า ใช้ภาษาไม่เหมาะสม ก็ลองเสนอไปทางสถาบันพระอภิธรรมนั้น เอาเองน่ะครับ



ส่วนที่ ฆ่ากิเลสไม่ตาย ... เพราะ เจริญอริยมรรคยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ ที่จะละสังโยชน์ในระดับต่างๆลงได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 37 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร