ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
โต้แย้งดูจิต-ทำไม ดูจิตแล้วได้ผลทุกคน แล้วสิ่งที่ได้ ได้อะไร http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=30039 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | fakemonk [ 14 มี.ค. 2010, 12:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | โต้แย้งดูจิต-ทำไม ดูจิตแล้วได้ผลทุกคน แล้วสิ่งที่ได้ ได้อะไร |
โต้แย้งดูจิต พระอาจารย์สงบ มนัสสันโต ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๑ กรกฏาคม ๒๕๕๒ ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ถ้าคนภาวนาเป็น ไอ้เรื่องดูจิตน่ะ เพราะคำว่าจิตใช่มั้ย คำว่าจิตน่ะ จิตมันมีอยู่แล้ว แล้วดูจิตน่ะ เพราะหลวงปู่ดูลย์ก็สอนดูจิต ทำไมหลวงปู่ดูลย์สอนถูกล่ะ หลวงปู่ดูลย์ท่านบอกดูจิต จิตส่งออกทั้งหมด ความคิดที่ส่งออกให้ผลเป็นทุกข์ ความคิดทั้งหมดที่ส่งออกเป็นสมุทัย ให้ผลเป็นทุกข์ ต้องหยุดความคิด การหยุดความคิดก็ต้องใช้ความคิด นี้ การหยุดความคิดก็ต้องใช้ความคิด เพราะความคิดมันเป็นสมุทัย มันเป็นสมุทัย มันเป็นตัณหาความทะยานอยากมีความคิดนะ นี้ความคิดปั๊ปเนี่ย เราต้องดูจิต เพราะจิตมันไม่ใช่ความคิด จิตเป็นจิต ฉะนั้น เวลาเราคุยกับ ดร.มนตรี น่ะ เขาบอกว่า ตอนที่เขาเป็นฆราวาส เขาไปฝึกกับหลวงปู่ดูลย์ แล้วเขาจะไปรายงานกับหลวงปู่ดูลย์ตลอดเวลา พอไปรายงานปั๊ป หลวงปู่ดูลย์ บอกว่า ไม่ใช่ คือ ยังไม่เห็นจิต ๆๆๆ ไอ้ดูจิตนี้ยากนะ ถ้าดูจิตให้เป็นตามความเป็นจริงน่ะ แต่นี้มันดูจิต มันไม่ใช่ดูจิต มันดูความคิด เห็นความคิดของตัวไง ความคิดเกิดดับ มันไม่ใช่ดูจิตนะ ดูจิตเนี่ย คำว่าดูจิต อย่างเช่น มหายานเนี่ย เค้าทำจริงจังของเค้าจนกว่าจิตจะสงบนั่นแหละ ดูจิตคือจิตมันนิ่งนั่นแหละ จิตมันก็คือสมาธินี่แหละ แล้วมันดูจิตนี้มันยากเพราะอะไร นี่มันง่าย คำว่าเรียบง่ายๆ ดูแล้วมันว่างไป ทีนี้ถ้าคนเป็น เขามาพูดเมื่อวานนี้ เค้าบอกว่า จิตดับ บอกว่าจิตดับ เราอธิบายทันทีเลย เราอธิบายเค้ายาวมาก เราอธิบายเค้าว่า จิตมันมาจากไหน ธรรมชาติของจิตมันมายังไง แล้วจิตมันจะดับได้ไหม จิตมันดับไม่ได้ แต่ความคิดมันดับ ตัวจิตมันจะดับได้ยังไง แต่ความคิดนี้เกิดดับ แต่ตัวจิตมันไม่ดับหรอก นี้ ตัวจิตมันทรงอยู่ตัวไม่ได้ มันต้องมีความคิดตลอดเวลา เพราะเวลาความคิดมันขาดปั๊ปเดี๋ยวมันก็คิดอีก เพราะความคิดมันทำให้เราฟุ้งซ่านมาก ความคิดเนี่ย แล้วเวลาความคิดมันหยุด บางทีมันแบบว่า ใจเราสบายๆเฉยๆ ไม่มีความคิดแต่จิตมันก็มีอยู่ แต่อันนั้น มันไม่ได้ประโยชน์เพราะอะไร เพราะจิตไม่ได้ดูมัน จิตมันส่งออกมา มันสบายๆ มันส่งออกไปข้างนอกไง ทีนี้ ถ้าเราจะดูให้เห็นจิตเนี่ย มันจะมีสติเข้ามา สติเข้ามาจนถึงตัวจิต จนถึงจิตก็ โอ๊ะๆ นั่นนะ ทีนี้ ดูจิตพูดถึงตัวจิต มันแบบว่า มันกระจายไปกว้าง กระจายไปกว้างเพราะอะไร เพราะว่าเวลากำหนดพุทโธ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิเนี่ย เวลาจิตมันสงบขึ้นมามันไม่มีใครทำได้ง่าย แต่ถ้ามันใช้ปัญญาหรือใช้ความคิดไปอย่างนั้นมันจับต้องได้ ทีนี้มันถึงเป็นจุดขายไง จุดขายเนี่ย มันเป็นเรื่องเหมือนกับเราใครมาศึกษาธรรมะ พอศึกษาธรรมะแล้วเนี่ย มันมีคุณธรรมในใจไง พอศึกษาธรรมะก็เหมือนกับว่าเป็นคนดีไง อย่างเช่นเด็กดีคนดี มันมีความรับผิดชอบ ใช่มั้ย นี่ก็เหมือนกันโดยธรรมดา เราก็อยู่ภาษาเรา ภาษาเรา เราคิดอะไรมันก็เรื่องของเรา แต่พอเรามีระเบียบมีกฎกติกาขึ้นมา เราจะควบคุมตัวเราให้ดีขึ้น พอไปศึกษาธรรมะ ธรรมะเห็นมั้ย ธรรมะคือศีลธรรมจริยธรรม มันก็คิดแต่สิ่งที่ดีๆ พอคิดแต่สิ่งที่ดีๆเห็นมั้ย จิตมันว่างๆสบายๆ นี่ไง ทุกคนบอกว่าได้ผล มันก็เหมือนกับคนโบราณเราแหละ สมัยดึกดำบรรพ์น่ะพ่อแม่ปู่ย่าตายายจะจูงลูกหลานไปวัด พอจูงลูกหลานไปวัด ไปเข้าวัดเห็นมั้ย นี่ไงเด็กดีใช่มั้ย พอเด็กทำดี เด็กดีใช่มั้ย ไอ้นี้จิตดีขึ้นไง (1) แต่ไอ้เรื่องดูจิตเห็นจิต เรายังไม่เชื่อ เป็นไปไม่ได้ คืออย่างเรายืนยันน่ะว่า ที่เค้าทำกันนี้ ผิดๆ เพราะอะไร คำว่าดูจิต ดูจิตของเค้า เค้าเห็นจิตของเค้ามั้ย ถ้าเห็นจิตของเค้า เค้าจะไม่พูดอย่างนี้ เหมือนเราเนี่ย อย่างเราจับขโมยได้เนี่ย ของเราหายไปแล้วเราจับขโมยที่ขโมยของเราได้เนี่ย เราจะบอกของเราไม่หายของเรา เราไม่จับขโมยไว้ได้ มันจะเป็นไปเอง มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันจับเค้าได้ นี่ไง พอมันจับจิตได้เนี่ย พอมันจับจิตได้ ถ้ามันจับจิตได้ แล้วจิตออกวิปัสสนาเนี่ย มันจะรู้ขบวนการของมันไง ว่ากระบวนการของมัน มันเป็นเรื่องธรรมดาของจิต ธรรมชาติของจิตมันเป็นอย่างนั้น ธรรมชาติของจิตจะเป็นอย่างนั้น ทีนี้ ทุกคนจะมาถามว่า ทำไมเค้ารู้วาระจิตล่ะ เค้ารู้สิ่งใดล่ะ ไอ้อย่างนี้นะ เราบอกหมอดูเนี่ย หมอดูมันภาวนาอะไรของมัน มันทายเปี๊ยะๆๆเลย มันเป็นปฏิภาณของคน ปฏิภาณมันหลากหลายมันแตกต่างกันมา ปฏิภาณของใครเป็นของคนๆนั้น นี่มันเป็นปฏิภาณของเค้า ถ้าเป็นปฏิภาณของเค้า ปฏิภาณของเค้าหนึ่ง แล้วตรรกะของเค้ามันมีอยู่ อย่างนั้น ไอ้อาชีพของหมอดูเค้าทำกันยังไง ฉะนั้น สิ่งที่ ดูจิตๆที่ว่า มันหลากหลาย มันกว้างออกไป เมื่อก่อนนะ ไม่ใช่เมื่อก่อน ในปัจจุบันเนี่ย ครูบาอาจารย์เราเนี่ย ไม่รับ เพราะการดูจิตโดยสัจจะความจริงมันแล้ว มันก็คือนามรูปนั่นแหละ คืออภิธรรมนั้นแหละ อภิธรรมเนี่ยกำหนดเห็นมั้ย เราบอกอภิธรรมเห็นมั้ย เวลาราดื่มเรากินแล้วเนี่ย ทำไมต้องดื่มหนอ กินหนอ รู้หนอ มันเป็นสองมา ดูจิตก็เหมือนกัน ความจริงก็คือการดื่มการกินนั้นแหละ ทำไม กินแล้วต้องกินหนออีก เพราะอะไร เพราะว่าจิตมันทำโดยธรรมชาติใช่มั้ย แต่ธรรมชาติ ตัวมันทำไง ตัวมันทำใช่มั้ย เนี่ย เราทำอะไรไปเราทำได้หมดเลย เราไม่รู้เรื่องหรอก แต่คนดูอยู่มันรู้ใช่มั้ย พอจิตมันทำเห็นมั้ย พอทำ มันกินน่ะ มันไม่รู้ว่ากินหรอก ต้องบอก กินหนอ คือ ดูอีกทีนึงน่ะ เราจะบอกว่า มันเป็นสัญญาอารมณ์ มันเป็นสัญญาอารมณ์ขึ้นมา ทีนี้ คำว่าดูจิตกับนามรูปมันอันเดียวกันมั้ย ถ้าอันเดียวกัน พออันเดียวกันเนี่ย จะบอกว่าถ้าทำจริงๆด้วยความวิริยะอุตสาหะนะ เข้าถึงสมาธิได้เหมือนกัน แต่ถ้าเข้าถึงสมาธิได้เขาจะไม่พูดอย่างนี้ เพราะมีพวกนี้ไปหาหลวงตาเยอะมาก พอไปหาหลวงตาเนี่ย พออธิบายให้หลวงตาฟังว่าเป็นอย่างนั้นๆๆ มันจะขัดแย้งกับทฤษฎีที่เค้าทำกันอยู่ พอมันขัดแย้งปั๊ป เค้าก็ถาม อาจารย์เค้าบอก เค้าผิดไง แต่ความจริงเค้าภาวนาถูก หลวงตาถามว่า อาจารย์มึงใคร ทีแรกเค้าไม่ยอมบอก หลวงตาบอกว่า มึงน่ะถูก คือ คนปฏิบัติน่ะถูก แต่ทฤษฎีที่เค้าสอนน่ะผิด เนี่ย เห็นมั้ย ถ้าคนทำจริงนะ ดูจิตเนี่ย ทำจริงๆถ้ามีวิริยะอุตสาหะจริงๆ มันเข้าถึงตัวจิตได้จริงๆ มันก็ย้อนกลับมาที่พวกเราที่พุทโธๆเนี่ย ยากมั้ย ยาก กว่าจิตจะลงเนี่ย ยาก แล้วดูจิตน่ะ ก็ดูจิตถ้าเข้าถึงสมาธิ ก็เหมือนกับพุทโธเข้าถึงสมาธิ ดูจิต ถ้าเพื่อให้จิตนิ่งก็คือสมาธิใช่มั้ย ในเมื่อเป้าหมายอันเดียวกัน เป้าหมายคือสมาธิเหมือนกัน ทำไม พุทโธมันยาก ดูจิตมันง่ายล่ะ เอ้อ มันก็อันเดียวกันน่ะ ทีนี้ พอมันอันเดียวกันใช่มั้ย แต่ของเราเนี่ย ของเราพุทโธ หรือปัญญาอบรมสมาธิ เราเข้าถึงเป้าหมายจริง พอเข้าถึงเป้าหมายจริง พวกเราที่ปฏิบัติอยู่เนี่ย มันถึงทุกข์ๆยากๆที่ว่าโอดโอยกันอยู่เนี่ยเพราะมันเข้าได้ยากไง เพราะมันเป็นความจริง เนี่ยมันทำแล้วมันทำยาก แต่ทำยาก มันทำเพื่อความเป็นของจริง ทำจริง รู้จริง กับ ทำเล่นๆ รู้เล่นๆ เราจะเอาอะไรกัน นี้ เราไปดูกัน เราเหมือนทำเล่นๆนะ ทำเล่นๆ ทำไมมันสบายล่ะ? อ้าว ก็เนี่ย ลูกหลานเราเนี่ย ให้มันเรียนหนังสือให้มันทำงาน ทุกคน มันทำงานมันไม่เอาน่ะ ให้มันเล่นสบาย มันสบายมั้ย ก็เหมือนกัน ดูจิตกันเฉยๆมันสบายน่ะ มันจะเป็นอะไรก็ได้ เพราะไม่มีขอบเขต ไม่มีขอบเขตว่าตรงไหนคือสมาธิ คือว่างน่ะ แล้วว่างของใครล่ะ คราวนี้ ไอ้ว่างของใครเนี่ย เราพูดภาษาเรานะ ไอ้ว่างของใครคือ ไม่มีใครสามารถชี้ขอบเขตมันได้ แต่ถ้าใครทำสมาธิเป็นนะ ชี้ได้ เพราะคนเคยเป็นสมาธิ คนได้สมาธินะ พอไปดูจิตน่ะ รสชาติมันต่างกัน เราเปรียบเหมือนน้ำเย็นกับน้ำร้อนเห็นมั้ย น้ำมันอุณหภูมิต่างกัน จิตก็เหมือนกัน จิตปกติน้ำเย็น เวลาอุณหภูมิมันร้อนมันเป็นสมาธิขึ้นมา มันต่างกัน ถ้ามันต่างกัน ทำไมเค้าไม่อธิบาย เค้าไม่รู้จัก คนถ้ารู้จักน้ำร้อนน้ำเย็นเนี่ย น้ำร้อนก็มีน้ำเย็นก็มีใช่มั้ย นี่ มันบอกว่า ปฏิเสธน้ำร้อนไม่มี มีแต่น้ำเย็น คือ ว่างๆ ว่างๆ แต่บอกอะไรไม่ได้ แต่มันเป็นสมาธิเนี่ย มันจะบอกอารมณ์ปกติได้ อารมณ์ปกติคือก่อนที่เราทำสมาธิ พอเราทำสมาธิขึ้นมาแล้วจิตมันเป็นสมาธิเนี่ย ระหว่างจิตที่เป็นปุถุชนกับจิตที่เป็นสมาธิเนี่ย มันต่างกันยังไง ตรงนี้ไง ตรงนี้เค้าก็พูดไม่ถูก ตรงนี้เค้าก็พูดไม่ได้ ใครมาก็ว่างๆๆๆ ดูจิตว่างๆ มัน เนี่ย ที่เราไม่เห็นด้วย เหมือนกับครูบาอาจารย์หรือว่าพระทธเจ้าสอนให้พวกเราหมั่นเพียร ความเพียรชอบ งานชอบ วิริยะชอบ อุตสาหะชอบ ให้ผู้ประพฤติปฏิบัติขยันหมั่นเพียร แต่ผู้ที่มา มาพูดอีกอย่างนึง ปล่อยมัน ตามสบาย ไม่ต้องทำอะไรเลย นี่ไง ที่เราค้าน เราค้านตรงนี้ไง คนเราน่ะ หมั่นเพียรวิริยะอุตสาหะขนาดนี้ มันยังจับต้นชนปลายไม่ได้เลย แล้วไปทำกันอย่างนั้น มันจะได้อะไร มันได้สบายไง ทุกคนจะบอกว่าสบาย เมื่อก่อนเป็นคนโกรธมากเลย เดี๋ยวนี้ไม่มีโกรธเลย หายโกรธเลย ลองแหย่มันสิ ออกทันทีน่ะ เพราะอะไรรู้มั้ย เพราะว่าเป้าหมายของพุทธศาสนาคือลดละความโลภความโกรธ ความหลง เป้าหมายของพุทธศาสนา ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ทีนี้ เราจะไปปฏิบัติ เราเป็นคนดีใช่มั้ย ก็ต้องไม่มีความโลภความโกรธความหลง เราก็รักษา มันก็ได้ แต่เมื่อก่อนไม่เป็นอย่างนั้น แต่เมื่อก่อนไม่ได้ปฏิบัติ มันก็ปล่อยตามอารมณ์ ปล่อยตามสบายของมัน แต่ทีนี้ มันมีคนรักษามัน แต่ไม่ใช่ไปแก้ไขมัน รักษา ไม่ใช่แก้ไข ยังไม่ได้แก้ไขมัน รักษามันเฉยๆ พอรักษามัน มันก็อยู่ในขอบ ในกติกา พวกนี้ ยังไม่กิเลสตีกลับนะ ลองกิเลสตีกลับ มันจะมากกว่านั้นอีก ทีนี้ว่า ดูจิตมันกว้างขวาง เราจะบอกเลยว่าดูจิตที่มันกว้างขวางเนี่ยมันอธิบายไม่ได้ แล้วดูจิตน่ะ ต่างคนต่างดูจิต หลวงตายังพูดเลย ถ้าจริงๆแล้วท่านก็ดูจิตนั่นแหละ เราก็เคยดูจิต คำว่าดูจิตทุกคนปฏิบัติใหม่ มันก็จับพลัดจับผลูลองผิดลองถูกกันทั้งนั้นน่ะ ไม่มีใครทำทีเดียวแล้วก็ถูกหรอก หลวงตาท่านบอกว่า เนี่ย เมื่อก่อนกำหนดไว้เฉยๆอยู่ที่ตัวจิต ดูจิตเนี่ย จิตเราเสื่อมไป ปีกับหกเดือน อกแทบระเบิด เนี่ย กำหนดได้ ตั้งสตินี้ได้ เป็นสมาธินี้ได้ไม่ได้ แต่วันสองวัน มันจะกลิ้งทับเหมือนครกกลิ้งทับเราเลย เอ๊ ทำยังไงมันก็ไม่ได้ เพราะมันไม่มีจุดยืน มันไม่มีหลัก เป็นเพราะเหตุใด เนี่ย ไอ้ตรงนี้ มันเป็นปฏิภาณไหวพริบของแต่ละคน มันเป็นอำนาจวาสนาบารมีของแต่ละคนที่มันจะปิ๊งขึ้นมา หลวงตาปิ๊ง สงสัย เราจะขาดคำบริกรรม พอดีตอนนั้นหลวงปู่มั่นตอนนั้นไปเผาศพหลวงปู่เสาร์ ตอนนั้นท่านให้หลวงตาท่านรออยู่ ท่านบอก สามสี่วันนั้น ท่านกำหนดพุทโธๆทั้งวัน อกแทบระเบิด เนี่ย คำว่าอกแทบระเบิดเนี่ย การดูจิตน่ะ การดูจิต เราปล่อย ให้มันสะดวกสบาย เหมือนเด็กติดยาเสพติด เหมือนเด็กใจแตก เด็กที่มันติดรูปรสกลิ่นเสียง ติดแสงสีเสียง เหมือนลูกหลานเรามันเที่ยวกลางคืนทุกคืน แล้วบังคับไม่ให้มันไปเที่ยวน่ะ มันจะคิดยังไง เด็กมันติดยาเนี่ย ถ้ามันไม่ได้เสพยา มันลงแดงตายเลย พอมันปล่อยสบายๆไง มันก็ติดน่ะสิ พอกำหนดพุทโธๆ ไปฟังหลวงตาพูดทุกเที่ยวเลย อกแทบระเบิด พุทโธๆวันแรก อกแทบระเบิดเลย เหมือนเด็กติดยานะ มันลงแดงไง บังคับไว้ไม่ให้เสพ อกแทบระเบิด อกแทบระเบิด อกแทบระเบิด วันที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ วันที่ ๓ จิตค่อยอยู่ ค่อยๆดีขึ้น ย้อนกลับมาที่เรา ย้อนกลับมาดูจิตเนี่ย เอ็งปล่อยมันไปเรื่อยๆเนี่ย ปล่อยไปเลย เอ็งว่าสบายมั้ย แล้วไม่โกรธใช่มั้ย ไม่โกรธ ไม่อะไรเลย แล้วเอ็งลองพุทโธสิ ใครกลับมาพุทโธนะ แสนทุกข์แสนยากเลย เพราะเราปล่อยเราสบายหมดแล้วน่ะ ถ้าพูดถึงนะ อย่างที่เราพูด ของเราพูด เราใช้คำว่าปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้คำว่าปัญญาอบรมสมาธิ เพราะมันไม่ปล่อยไง ถ้าดูเนี่ย มันปล่อยเฉยๆใช่ไหม เหมือนกับเราเอาเด็กมาฝาก เราก็นั่งดู เด็กมันจะตก ตกจากร้านนี้ เด็กมันจะโดนรถชน เด็กมันจะ เอ้า ก็ให้เราดู เราก็ดู รถชน ก็เห็นว่า รถชน เค้าให้ดูเด็กเนี่ย เค้าไม่ต้องการให้เด็กประสบอุบัติเหตุ ทำไม เด็กมันมีอุบัติเหตุล่ะ ทำไมไม่ดูแลมัน เอ้า ก็ดูแล้วไง ดูเฉยๆไง เด็กรถชนก็รู้ว่ารถชน แล้วมันจะได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา ก็ดูเฉยๆไง แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธินะ เค้าฝากเด็กไว้ให้ดู เอา ดูแลมัน เอ้า ให้นมให้น้ำมัน เอ้า นอนหรือยัง เอ้า จะทำอะไรเดี๋ยวมันจะประสบอุบัติเหตุ นี่ไง ปัญญามันไล่จิตไง พอเด็กเราดูน่ะ เด็กมันจะดีขึ้น เรียบร้อยขึ้น ดีขึ้นเรียบร้อยขึ้นเพราะเราสอนมัน นี่ไง ใกล้เข้ามาๆ จนถึงตัวจิต เหมือนพุทโธเหมือนกัน นี่ ถ้าคนเป็นนะ มันรู้จักว่าความเป็น มันเป็นยังไง มันไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นอย่างนั้นนะ พระพุทธเจ้าไม่บัญญติไว้ ปฏิบัติ ปริยัติ ถ้าปฏิบัติมันแตกต่างกับปริยัติ แล้วนี่มันทำอะไร มันเพ่งเฉยๆ มันมีอะไร แล้วถ้าเพ่งเฉยๆมันเป็นความจริง ฤาษีชีไพรเค้าต้องได้แล้ว ฤาษีชีไพรเค้าเพ่งมาตั้งแต่สมัยไหนแล้ว มันทำได้ เราจะบอกว่าที่เค้าพูดกันน่ะ มันมีเหตุมีผลมั้ย มันมีข้อเท็จจริงของมันอยู่ไง เราพยายามอธิบายว่า จิตมันเป็นอย่างนี้เอง เรียกว่า มันเป็นเช่นนี้เอง จิตมันเป็นเช่นนี้เอง มันเป็นเช่นนี้เองแต่มันเป็นโดยกิเลสน่ะ มันไม่เป็นไปโดยธรรมน่ะ ถ้าเป็นไปโดยธรรมน่ะ มันจะเป็นในธรรมของพระพุทธเจ้า ศีล สมาธิ ปัญญา แต่นี้ จิตมันเป็นเช่นนั้นเองเพราะธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น แล้วเราศึกษาธรรมะ มันเป็นปริยัติน่ะ เราเห็นหนังสือตำรา เราอ่านหนังสือเราเข้าใจมันใช่มั้ย นี่เราว่าเราจะมาปฏิบัติ ใช่มั้ย เราก็เพ่งดูมันไป มันก็เหมือนหนังสือเล่มหนึ่ง จิตนี้ เหมือนหนังสือเล่มหนึ่งนะ เราก็ดูจิตของเราใช่มั้ย มันก็เหมือนหนังสือเล่มหนึ่ง มันก็อ่านตามข้อมูลนั้น แต่หนังสือนี้ มันหนังสือของกิเลสไง คืออ่านตามข้อมูลนั้น ข้อมูลคือว่า พอใจไม่พอใจ เราขัดข้องใจยังไง แต่ถ้าเป็นธรรมนะ เราไม่มีอะไรเลยในหัวใจนะ เราไม่มีอะไรในหัวใจเลย แต่ที่เราศึกษาในธรรมของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกต้องมีสติ สติต้องฝึกขึ้นมา สติปุถุชน สติโดยปกติเราก็ยับยั้งความคิดของเราได้ แต่พอกิเลสมันละเอียดเข้าไป ทำไมมันมีมหาสติล่ะ ทำไมมันมีสติอัตโนมัติล่ะแล้วปัญญาที่มันเกิดขึ้นมาเนี่ย ปัญญาอย่างนี้ ฆ่ากิเลสได้มั้ย เหมือนเงินเลย เงินบาทเค้าใช้ในเมืองไทยนะเว้ย แต่พอไปอเมริกาเค้าใช้ดอลล่าร์ นี่ก็เหมือนกัน เราจะบอกว่า ความคิดเนี่ย ความคิดของเรา ปุถุชน กับปัญญาที่เกิดจากธรรม มันคนละมิติกัน มันคนละมิติกันเลย ปัญญาคนละปัญญาเลย ฉะนั้น หลวงตาเนี่ย พูดบ่อย ใครพูดออกมาเนี่ย รู้เลยว่าอยู่ขั้นไหน อย่างเราเนี่ย ใช้เงินบาท อยู่เมืองไทยเนี่ย แล้วดอลล่าร์มาทำไมอะ ดอลล่าร์มา กูไปซื้อของ กูไม่เอาน่ะ แต่ถ้ามึงไปอยู่อเมริกาเนี่ย ดอลลาร์เนี่ย สุดยอดเลย จิตที่มันลงลึกไปอีกระดับหนึ่งน่ะ ดอลลาร์นี่สุดยอดเลย คือ มันใช้เงินอีกประเภทหนึ่ง มันใช้ปัญญาอีกประเภทหนึ่ง มันใช้สติปัญญาอีกประเภทหนึ่งเลยนะ เนี่ย ยังงี้ ถ้ามันดูจิตกันอยู่เฉยๆ มันไม่รู้จักตัวนี้แล้วมันพูดตัวนี้ไม่เป็น มันพูดตรงนี้ไม่เป็นแล้วพูดตรงนี้ไม่ได้ ทีนี้ ถ้าสิ่งที่ว่ามันเป็นเรื่องดักดาน เรื่องของการตลาดน่ะ การตลาดว่า มนุษย์ทั่วไปใช่มั้ย ก็มีกายกับใจ คือมีกายกับจิต ถ้าดูจิต ก็แบบว่า ดูมหัศจรรย์ขึ้นมาแล้ว และดูสิ คนทั่วไปเห็นมั้ย เวลาไปเข้าทรง ทรงเจ้า ไหว้ผีอะไรต่างๆ ไปอ้อนวอนขอเนี่ย แค่เค้าบ้วนน้ำลายใส่หัวพรวดเดียวน่ะ โห โล่งหมดเลยนะ สบายเลย นี่ไง มันมีอยู่แล้วไง แล้วดูจิตมันก็เป็นอย่างนั้นไง เวลาโยมพูดน่ะว่า เดี๋ยวนี้ดูจิตมันกว้างขวางแล้วดูจิตมันกระจายไปมาก เราจะบอกว่า ภาพก็คือ ทรงเจ้าเข้าผีนั่นน่ะ พระเราก็มีเท่านั้นเองน่ะ ทำให้มันครบขั้นตอน เหมือนสะเดาะเคราะห์เลย มาถึงน่ะ มาทำอะไร มาสะเดาะเคราะห์ มากราบไหว้ เสร็จแล้วก็กลับ นี่ก็เหมือนกัน ดูจิตก็ไปสะเดาะเคราะห์ พอดูแล้วก็จบกระบวนการ เอ้อ สบาย ตรงนี้เป็นจุดขายนะ ใครๆก็ว่า สบายๆ มันสบายไม่ได้ หลวงตาน่ะเทศน์บ่อยนะ แต่คนอื่นฟังอาจจะผ่านหูไปเฉยๆ ท่านเทศน์ปกติเนี่ย เราจะฟัง ท่านบอกว่า ต้องเข้มแข็งนะ ต้องจริงจังนะ จะมาสักแต่ว่า จะมาทำสักแต่ว่าไม่ได้ คนเป็นจริงๆต้องทำอย่างนี้ อย่างที่มหายาน มหายานที่เขาบอกว่า ลัดสั้นๆ เค้าทำยิ่งกว่าเราอีก เค้าทำยิ่งกว่าเราอีก แต่มันเป็นคำพูดเฉยๆ คำพูดเพื่อไม่ให้ติดที่ตรงใดไง อย่างเช่น เซ็น ธรรมะ เห็นมั้ย เปรียบมนุษย์เหมือนเป็นสวะ ถ้าสวะมันไม่ไปติดกิ่งไม้ที่ใด สวะนี้ มันจะลอยออกน้ำทะเลตามแหล่งน้ำออกไป จิตก็เหมือนกัน เนี่ย ถ้าเราทำของมันให้มันดีเนี่ย มันจะไปของมัน แต่นี้มันไปติดน่ะสิ พอมันไปติดที่ไหน เอ็งแก้ยังไงล่ะ ถ้ามันไม่ติดน่ะ จะทำยังไง มันไม่จริง มันไม่เป็นตามนั้นหรอก แต่มันฮือฮา ฮือฮาแบบว่า มันทำได้ แล้วมาไอ้เนี่ย มาพุทโธ มาปัญญาอบรมสมาธิเนี่ย กว่าจะทำความสงบของใจแต่ละคน แต่มันทำได้ อย่างเช่นไอ้ที่ว่าเนี่ย ไปดูจิตมาสามปี มานั่งพุทโธๆที่เนี่ย พอจิตมันลงอะ แล้วมันมาพูดกับเราเนี่ย เดี๋ยวเราจะอธิบายให้ฟัง อธิบายให้ฟังเพราะอะไร เพราะถ้ามันดูจิตเนี่ย มันก็เหมือนกับธรรมชาติของจิตที่มันมีอยู่แล้ว ว่างๆสบายอยู่อย่างนี้ แต่พอเค้ากำหนดพุทโธๆๆของเค้า เค้ามาลองของเค้าเอง แล้วจิตมันลง จิตมันลง หมายความว่า ไม่ใช่เราบอกว่าลง หรือเค้าบอกว่าลงนะ จิตของเค้ามันลงเนี่ย รสชาติของเค้า เค้าบอกว่า เค้าพูดเองนะ "เสียใจมาก ที่เสียเวลาไปสามปี ไปนั่งดูจิตอยู่เนี่ย" แล้วพอพุทโธๆ พอจิตมันลง มันลึกซึ้งกว่าดูจิตมาสามปี สามปี ไม่เคยได้รับ ได้สัมผัส ความรู้สึกอย่างนี้เลย แล้วพอกำหนดพุทโธๆ จิตมันมีความรู้สึกแบบว่า ลึก มันลง มันต่างกับที่ทำมาเยอะมาก พอต่างปั๊ป มันก็ไปเห็นกายเลย พอเห็นกายปั๊ป มันก็แทงใจ แทงหัวใจของมัน นั่งร้องไห้อยู่ที่กุฏิเนี่ย นั่งร้องไห้ทั้งคืนเลย แล้วพอคืนที่สองทำอีก ก็ได้อีก นี่ไง เพราะเค้าดูจิตมาสามปี สามปีก็สบายๆอยู่สามปี แล้วเค้าพูดด้วย เค้าพูดกับยานะ ไม่กล้าพูดกับเรา บอกว่า "เสียดายเวลามาก เสียดายเวลาที่ทำไปที่สามปี" คำว่าสบายๆเนี่ยนะ มันทำทีแรก อย่างเช่นเราเนี่ย เราทุกข์ยากมา เรามีสิ่งใดรกในสมองมามาก แล้วเรามาเพ่งดูมัน ให้มันว่าง สบายมาก แล้วต่อไป มันจะสบายแค่ไหนล่ะ ในเมื่อสมองมันว่างแล้ว มันก็จะไปได้รับรู้รสอันนี้ แล้วรสอันนี้ กับที่มันสัมผัสมาแล้วน่ะ มันจะลึกซึ้งไปไหนล่ะ มันก็ไปได้แค่นี้ไง แต่ถ้าเป็นสมาธินะ เพราะความละเอียดของจิตน่ะ ความละเอียดของมัน ธรรมชาติของมัน เวลามันฟรี เวลามันปล่อยของมัน แล้วตัวมันเอง เวลามันละเอียดเข้าไปๆ มันจะมีขณิกะ อุปจาระ อัปปนา มันต่างกันทั้งนั้นน่ะ เค้าพูดตรงนี้ไม่ถูก เค้ามีอยู่คำเดียว ว่าง โล่ง สบาย คำพูดน่ะ พูดให้เหมือน มันพูดได้ แต่ความจริง ไม่มี ทีนี้ พูดถึงพื้นฐานเลยนะ แต่เราอธิบาย อธิบายให้หมอฟังน่ะ เค้าบอกว่า จิตดับยังไง เค้าถามมาว่า จิตดับยังไง เราบอกว่า จิตเป็นสันตติ ไม่มีวันดับ ถ้ามีวันดับนะ จิตเนี่ย มันต้องมีวาระ มันต้องตาย แล้วจิตนี้ มันไม่เคยตาย จิตนี้ไม่เคยตาย เห็นมั้ย ดูสิ พระเวสสันดร พระโพธิสัตว์ มันยาวไกลมาขนาดไหน ถ้ามันตายไป มันตัดตอน มันจะต่อเนื่องกันมาได้ยังไง จิตมันไม่เคยดับ แล้วมันไปเกิดเป็นเทวดาอินทร์พรหมเห็นมั้ย แล้วนี้มาเกิดเป็นมนุษย์น่ะ มาเกิดเป็นมนุษย์มันก็มีธาตุสี่ขันธ์ห้า พอธาตุสี่ขันธ์ห้า การพิจารณาลงไป เค้าก็ดูจิตไปแล้วมันหยุด พอมันหยุดแล้วเค้าไปทึ่งมันไง พอเค้าทึ่งปั๊ป เค้าใช้คำว่ามันแฮ้ง มันไม่รู้สึกตัวเลย เราอธิบายเลย เราอธิบายว่า เนื้อส้มกับเปลือกส้ม ความคิดเป็นเนื้อส้ม เห็นมั้ย พลังงานเป็นเปลือกส้ม ถ้าธรรมชาติของมันเนี่ย มันจะเข้าถึงตัวเนื้อส้ม แต่นี่พอเข้าไปปั๊ป มันเกิดสติขึ้นมา คือเหมือนกับพอเราไปเจออะไรแล้วเราควบคุมไม่ได้ มันแฮ้งนี่เห็นมั้ย พองั้น เนี้ย ถ้ามันแฮ้งปั๊ป แล้วมันมีสติ มันแฮ้งขึ้นมา แล้วนั่นคืออะไร เราบอก นั่นคือตัวสติ มันรู้น่ะ มันรู้ แต่มันทำอะไร ไม่เป็น เราจะบอกว่า ให้ทำเข้าไปอีก เห็นมั้ย มันเข้าไปเห็นจิต จับจิต รู้จิตเลย ถ้ามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันจะเป็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นอย่างเขาว่า มันจะเป็นสัญญาอารมณ์ โทษนะ เหมือนอภิธรรม ดูนามรูปไปอย่างนั้น แล้วดูนามรูป คนที่ปฏิบัติไปบอกว่า เป็นอย่างนั้นจริงๆ มันจะละเอียดมาก อารมณ์มันจะละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ ละเอียดเข้าไปแค่ไหนนะ มันก็จินตามยปัญญา เพราะความมหัศจรรย์ของจิตไง เพราะจิตมันจะว่าง มันจะโล่ง มันจะลึกซึ้ง มันจะอะไร มันอยู่แค่นั้นแหละ มันอยู่แค่นั้น เพียงแต่ว่า อย่างเช่นเราเนี่ย เรากินข้าว กินอาหารที่รสชาติดีมากเลย อร่อยมากเลย ติดใจมากเลย พอกินๆไปมันก็เบื่อใช่มั้ย เราก็หยุด พอถึงเวลานานๆไป กลับมากินใหม่ มันก็อร่อยอีกแล้ว นี่ก็เหมือนกัน เดี๋ยวก็ดีมาก เดี๋ยวก็ดีน้อย เดี๋ยวก็ดีมาก ก็อารมณ์มึงนั่นแหละ แต่ถ้าเป็นความจริง มันไม่เป็นอย่างนั้น แม้แต่พื้นฐานเห็นมั้ย สมถกรรมฐาน เพราะเค้าปฏิเสธสมถกรรมฐาน เค้าถึงไม่เป็นความจริง เราบอกเลยนะ เมื่อวานพูดกับพระ พระหัวเราะใหญ่เลย กินข้าวเนี่ย เค้าเอาข้าวใส่ปากนะ แต่เดี๋ยวนี้การปฏิบัติ เค้ากินข้าวแต่เอาข้าวใส่หู เอาข้าวยัดเข้ารูหู ก็เอาข้าวยัดรูหูแล้วมันจะเข้ากระเพาะได้มั้ย แต่ถ้าเอาข้าวใส่ปาก มันจะเข้ากระเพาะได้ ถ้าจิตสงบขึ้นมาเนี่ย เห็นมั้ย ตัวจิต พอถึงตัวจิตเนี่ย มันจะมีปาก พอถึงตัวจิต มันจะมีตัวข้อมูล ตัวภพตัวชาติ ตัวกิเลสอยู่ที่นั่น ถ้าพอจิตสงบเข้าไปที่จิต แล้วปัญญามันเข้าไปที่จิตเห็นมั้ย มันก็เข้าถึงเนื้อจิต มันก็เหมือนกับอาหารใส่ปาก เข้าท้อง พอเข้าท้อง อาหาร เข้าไปในร่างกาย ถ้ามึงไม่ใช้ปากตัวเอง เอ็งจะกินข้าว เอ็งยัดใส่หูเหรอ ยังดีนะ ยัดใส่หู ไม่ใช่เอาข้าวปาทิ้งน่ะ เอาข้าวปาทิ้ง นึกว่ากินข้าว ดูจิตๆน่ะ มันดูอาการของจิต เพราะธรรมชาติของมัน เหมือนคนเนี่ย อยู่ในที่มีแดดจะมีเงา เนี่ย เวลาจิตเนี่ย โดยธรรมชาติของจิตคือตัวเรา ความคิดเป็นเงา ความคิดน่ะ เป็นเงา แล้วมันไปแก้ไขที่เงา มันจะเป็นไปได้ยังไง เพียงแต่ว่า เพียงแต่ว่า ที่เค้าทำกันเนี่ย ภาษาเรานะ มันไม่มีใครโต้แย้ง ซีดีของเราเนี่ย ทำยอดหนังสือของเค้า ฮวบเลย ยอดหนังสือนี้ฮวบเลย แล้วเนี่ย มันไม่มีใครโต้แย้ง แล้วจะบอกว่า คนโต้แย้งมันไม่มีเหตุมีผลจะโต้แย้งเค้าอย่างใด เพราะทุกคนดูจิตแล้วได้ผลหมด เพราะคนดูจิตแล้วว่างหมด พอคนดูจิต ใครดูจิตมันจะว่างหมดเลย มันจะมีความสุขหมดเลย แต่มันไม่ใช่ธรรมะ ธรรมะพระพุทธเจ้าแก้กิเลส ฉะนั้น พอมันได้ผลอย่างนั้นปั๊ป มันได้ผลใช่มั้ย ทุกอย่างทำแล้วมันเห็นผลไง เรา เมื่อก่อนเราพูดบ่อย พวกเราใช้ศาสนา เราเข้าถึงศาสนาแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ศาสนาร้อยเปอร์เซ็นต์ เราเข้าแค่จิบๆ แล้วเราว่าเนี่ยเป็นชาวพุทธมาประพฤติปฏิบัติธรรมกัน แต่ความจริงมันไม่ใช่ เพราะเป็นความเชื่อถือของพวกเราไง อันนี้มัน มันจะถึงเวลามาก ถึงเวลาว่า พวกเราเนี่ย ชาวพุทธเนี่ย มันอ่อนแอ พอมันอ่อนแอหนึ่งแล้วก็อย่างว่า อย่างเช่นครูบาอาจารย์เรา อย่างเช่นหลวงตา เห็นมั้ย ท่านจะคอยเตือนพวกเราอย่าให้มีการบาดหมางกัน เพียงแต่ ทำไม หลวงตา จะไม่รู้ อันนี้ไง รู้แล้ว ภาษาเรานะ มันแก้ไขอะไรไม่ได้หรอก มันเป็นการฮือฮาชั่วคราว เหมือนกับตื่นทอง ตื่นทอง มันยังมีทองให้ตื่นนะ นี้ ตื่นอารมณ์ของตัวเอง ตื่นว่ามันว่าง ตื่นไปพักๆ พักนึง พอตื่นกันครบทุกคนแล้วนะ เหมือนจตุคามเลย จตุคามออกมาดังๆเนี่ย ทุกบ้านต้องมีจตุคาม พอทุกบ้านมีครบแล้ว จะออกรุ่นไหนต่อไปวะ นี่ดูจิตกัน ถ้าดูกันครบทั้งประเทศไทย ทีนี้ จะไปดูเท้าแล้วมั้ง ทีแรกก็ดูจิตน่ะ ต่อไปก็ดูหัวแม่แท้าดีกว่า พอทุกคนทำหมดแล้วไง พอทำหมดแล้วนะ แล้วได้อะไรขึ้นมา ทีนี้ เพียงแต่ที่พูดเมื่อกี้แล้วเนี่ย พอคนนั้น ได้โสดาบัน สกทาคา อนาคา เนี่ย เราเรียกว่า เค้ากล้าพูดนะ มันเป็นการตกกระไดพลอยโจน ในสังคมของเค้า เราสังเกตนะ เค้าพยายามจะประสานงานกับพระ ให้พระรับรู้ด้วย พอมันเป็นโสดาบัน สกทาคา อนาคา มันก็ยอมรับกันไป แต่ถ้ายอมรับอย่างนี้ไปนะ แล้วมันไม่เป็นจริงน่ะ มันไม่เป็นจริงหรอก ในสังคมเราเห็นมาเยอะ ขนาดที่ว่าเราปฏิบัติกันน่ะ เอาจริงเอาจังขนาดนี้ ความเป็นจริง มันเป็นจริงตรงไหน เพราะเวลาปฏิบัติไป มันมีตทังคปหานไง พิจารณากายไป พิจารณาอสุภะอะไรต่างๆไป แล้วมันปล่อยหมด ว่างหมด อันนั้น ยังไม่จริงเลย แล้วนี้ไม่ทำอะไรเลย มาบอกดูจิตเฉยๆ แล้วมันจะจริงได้ยังไง พอพิจารณาไป แล้วมันปล่อยนะ มันปล่อยเห็นมั้ย แล้วเวลามันปล่อย มันปล่อยมันเป็นตทังคะด้วย มันปล่อย แต่มันปล่อยชั่วคราว เดี๋ยวมันก็แสดงตัว แสดงตัวที่พฤติกรรมของเราเนี่ย เพราะอย่างเราเนี่ยนะ ใหม่ๆเนี่ย ใครเข้ามา เราก็ได้ เราก็สงวนท่าที กิริยามารยาท เราก็ได้ แต่อยู่นานไปๆ มันมีออกมา มันเห็นของมันได้ อันนี้ ที่เขาบอก เป็นโสดา สกทาคา อนาคากัน เราก็ไปตื่น เค้าเป็นโสดา สกทาคา อนาคา มันก็เป็นกันอยู่ในหมู่ของเค้า แล้วมันอธิบายไม่ได้ เพียงแต่ว่า สิ่งที่เค้าสอนๆกันอยู่เนี่ย พวกนี้ส่วนใหญ่เค้าเป็นปัญญาชน ทีนี้ เวลาอธิบายธรรมะมันก็เหมือนพวกปริยัติเนี่ย พวกตรรกะเนี่ย อธิบายดีมาก แต่ แต่เราฟังออกว่ะ เราฟังออกนะ เราฟังออกตรงที่มันสรุปไม่เป็นเนี่ย มันสรุปไม่ได้หรอก อย่างที่เค้าเอาเทปมาให้เราฟังนะ อย่างเช่น พระโสดาบัน พิจารณากาย พิจารณากายไปเรื่อย จิตสงบก็พิจารณากายนะ พอพิจารณากายเสร็จแล้วนะ พอสรุปปั๊ป จะเข้าไปอยู่ในอริยสัจ คือเค้ายกเข้าไปอยู่ในพระไตรปิฎกเลย แต่พอของหลวงตาเนี่ย พอพิจารณากายไปเนี่ย มันแยกกันดังสามทวีป คำนี้เป็นคำของหลวงตาเลย จดลิขสิทธิ์ไว้ด้วย เดี๋ยวคนมันจะเอาไปใช้ เวลากายมันแยกนะ กายกับจิต กับทุกข์ แยกกันดั่งสามทวีป แยกออกจากกันเลย ในพระไตรปิฎกไม่มี นี่ คำนี้ เป็นคำของหลวงตา กายกับจิตนี้แยกกันออกไปเลย ดั่งทวีปนี้แยกออกจากกัน กั้นไว้ด้วยมหาสมุทร จิตรวมลง จิตรวมลง กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ จิตรวมลงแล้วมันเหลืออะไร เดี๋ยวมันเป็นไป เนี่ย เราพูดอย่างนี้ปั๊ป ใครฟังนี่ฟังเลย แล้วเอาไปพูดซ้ำเลย แล้วมันแยกยังไง ตอบไม่ได้ นี่ไง คำพูดเดียวกันไง คำพูดหลวงตาเนี่ย ถ้าออกเป็นเทปไปเนี่ย ใครก็จำได้ ใครก็พูดได้ แล้วเอามาร้อยเรียงกันนะ ร้อยเรียงกันให้เป็นสเต็ปเลย หนึ่งสองสามสี่ เห็นมั้ย หนี่ง กายแยกออกจากกัน สอง นั่งตลอดรุ่ง จิตสู่สภาวะ???เดิม นั่งตลอดรุ่งเป็นอสุภะ นั่งตลอดรุ่ง เป็นจุดและต่อม แล้วก็จำเอาไปพูด ถามกลับเลย แล้วทำยังไง ไม่รู้... พอทำยังไงปั๊ปนะ คนนี้แปลกนะ เหมือนขึ้นศาล เวลาเบิกความกับศาล แล้วโดนทนายมันซักค้านดิ้นเข้าไปที่หัวใจเนี่ย มันออกอาการนะ มันเลิกลั่กๆ เพราะไม่รู้จะตอบยังไง เพราะตีข้อมูลแตก ตายเลย นี่ก็เหมือนกัน พอบอกว่า กายแยกเลย แล้วแยกยังไง อ้าว ก็แยกแล้วก็จะยอมรับไง พอบอกว่า แยกแล้วจะให้ตอบว่าแยกอีก ก็มันแยกแล้วก็จบไปแล้ว คือเสนอข้อมูลหมดแล้ว แล้วถามกลับมาว่า มันแยกยังไง ต้องกลับไปทำการบ้าน ถ้ากลับไปทำการบ้าน เค้ายังพูดได้นะ แต่ความจริงมันกลับไปทำไม่ได้ เลิกลั่กเลย แต่ถ้าพูดแล้วคนยอมรับ เพราะพูดธรรมะเหมือนกัน ธรรมะของหลวงตาที่เป็น ๑ ๒ ๓ ๔ เนี่ย พูดเหมือนกันหมดเลย แต่ถ้าใครพูดนะ เราให้คะแนน ศูนย์ หมด ศูนย์เพราะอันนี้ เป็นวิทยานิพนธ์ของหลวงตา เป็นการทดสอบการทดลองของบุคคลคนนั้น ถ้าเอ็งเอามาพูด เอ็งก็อปปี้มา เหมือนเรา ทางวิชาการ เราไปเอางานวิชาการของคนอื่นมาแอบอ้างว่าเป็นของเรา เราไม่ได้ทำการวิจัยของเรามา เราไม่รู้จริง ถ้าเราทำวิจัยของเรามาเอง เราทำมาทางวิชาการด้านนั้นมา เอ็งถามข้ามา เราทำมาใช่มั้ย มาๆๆ ทำให้ดู เนี่ย มาเลยๆ จะทำให้ดู ของจริงจะเป็นอย่างนั้น แต่นี้เราอาศัยแค่พูดกันให้คนยอมรับ แล้วคนเดี๋ยวนี้ มันเป็นไป มันฟังธรรมะได้ แล้วมันเอาสิ่งนี้มา แล้วดูจิต ดูจิตเนี่ย ดูจิตของหลวงปู่ดูลย์นี่ถูก แล้วหลวงปู่ดูลย์พูดถูก ดูจิตจนเห็นอาการของจิต แล้วหลวงปู่ดูลย์พูดนะ ดูจิต เราถามนะ เห็นจิตมั้ย เห็นกิเลสมั้ย พิจารณามัน คำว่า พิจารณามันเนี่ย ไปดูในหนังสือหลวงปู่ดูลย์สิ พิจารณามัน พิจารณามัน คนเป็นน่ะ มันเป็นสเต็ปขึ้นมาไง ดูจิต ๆ ก่อน แล้วหาทุนให้ได้ก่อน ทำจิตให้สงบก่อน เห็นอาการมั้ย เห็นอาการคือเห็นกิเลสน่ะ จิต เห็นอาการของจิต จิต เห็นอาการของจิตแล้ววิปัสสนามัน วิปัสสนา อาการคือขันธ์ห้า พิจารณามัน มันจะขาด ขันธ์ห้าไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ห้า มันหลบไปไหนล่ะ ในโสดาบัน? หลวงปู่ดูลย์พูดถูก คนเป็นนะ พูดยังไงก็ถูก จะแกล้งพูดให้ผิดก็ถูก คนไม่เป็น พูดให้ถูกมันก็ผิด พูดถูก ก็ถูกของครูบาอาจารย์ไง จำไว้น่ะ พูดถูกหมดเลย พูดเหมือนกันเปี๊ยะเลย ผิด คนทำไม่เป็นผิด ยังไงมันก็ผิด แล้วยิ่งตอนนี้ พอถึงเวลาแล้ว อย่างคำว่าถึงเวลานะ อย่างของเราเนี่ย เราโดนเค้าแบบว่า โดนเค้าฉ้อโกง หรือโดนเค้าหลอกลวงแล้วแต่ แล้วเราก็จะใช้หาข้อมูลจนเราจะทันเหตุผลนั้น เค้าก็หลอกไปทางอื่นต่อไป นี่ก็เหมือนกัน ถึงที่สุดตอนนี้ เรื่องมันจะแดงขึ้นไปเรื่อยๆน่ะ พระโสดาบันมันจะเดินชนกันทั่วประเทศไทย อนาคาเนี่ย ไม่รู้จะหาที่ไหน นับไม่ถูก เรียงแถวเลย แล้วมันจะอนาคาไหน แล้วพอถึงเวลาแล้วนะ มันเหมือนแชร์แม่ชม้อยเลย พอจบแชร์แม่ชม้อย สังคมรู้ทัน มันก็เป็นแชร์แม่นกแก้ว พอจบแชร์แม่นกแก้ว มันก็เป็นแชร์ฟ้าคราม มันจะหลอกไปเรื่อยๆ หลอกจากเรื่องนี้จบมันก็ไปหลอกคนอื่นไปเรื่อยๆ ไม่ใช่จบแล้วคือจบนะ เพราะสังคมไทยมันอ่อนแอ มันอ่อนแอกันไปเอง เมื่อก่อนถ้ามันไม่มีความเชื่อถือเนี่ย ไอ้ดูจิตๆ ดูยังไง ดูจิตๆที่มันเป็นไปได้ เพราะธรรมชาติของมันเป็นอย่างนี้ไง อภิธรรมเนี่ย อภิธรรมเค้ายังอยู่ได้เลย อยู่สบายๆเลย แล้วส่งอารมณ์ๆเนี่ย คนไม่เคยปฏิบัติ แล้วอย่างเราปฏิบัตินะ เราไม่เชื่อ แหม นั่งสมาธิแต่ละวันแต่ละคืนกว่ามันจะเป็นไปได้ แล้วนี่ส่งอารมณ์ทุกวัน เหมือนกับคนภาวนานี้ มันจะพัฒนา ถ้าส่งอารมณ์แล้ว เหมือนกับเด็กส่งข้อสอบนี่นะให้กันทุกวันนะ ไอ้พวกนั้นมันเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว ไอ้พวกที่ส่งอารมณ์ทุกวันๆน่ะ ต้องเป็นพระอรหันต์แล้วนะ เพราะมันส่งทุกวันเลย เค้าให้คะแนนทุกวันเลย คะแนนมันเกินร้อยไปแล้ว แต่นี่ส่งอารมณ์ตั้งแต่เริ่มฝึกหัดปฏิบัติจนแก่ตาย ยังไม่มีใครได้อะไรเลย ส่งอารมณ์อะไรกัน แต่ของเราครูบาอาจารย์เราปฏิบัติ ไม่ต้องมาส่ง หลวงปู่มั่นนี่ดักหน้าหมดเลย จะเป็นอย่างนี้ๆๆ จะเข้าทางนี้ จะมาทางนี้ ออกถนนนี้ จะเข้าถนนนี้ จากถนนนี้ จะเข้าซอยนี้ เข้าซอยนี้จะเข้าบ้านตรงนั้น มันเป็นโดยธรรมชาติ เป็นอย่างนี้จริงๆ ทำความสงบเข้ามา ถ้าสงบได้นะ เริ่มจับจิต จับกายเวทนาจิตธรรมได้นะแล้ววิปัสสนาไป จะเข้าถึงโสดาบัน เข้าถึงโสดาบันพอโสดาบันแล้วจับกายได้อีกจะเข้าสกทาคา ถ้าจิตสงบอีกจับกายได้อีกเป็นอสุภะจะเป็นอนาคา แล้วจับได้ไม่ได้ มันรู้ด้วยว่าจับกายได้ขั้นไหน เราปฏิเสธอสุภะๆตลอดเห็นมั้ย ทีแรกพอเห็นอสุภะ เห็นกาย เห็นกายกลับคืนสู่สภาพเดิม เห็นกายอีกทีนึงเป็นอสุภะ เห็นกายในกายของจิตและ เห็นกายคนละกายนะมึง เห็นกายมันคนละกายตรงไหน ตรงที่สมาธิ มหาสมาธิ สติ มหาสติ สติเห็นก็เป็นอย่างหนึ่ง มหาสติเห็นก็เป็นอย่างหนึ่ง วุฒิภาวะของเราไง อย่างเราเซ็นชื่อเนี่ย เราเนี่ยเป็นไอ้ขี้ครอก เซ็นชื่อก็เซ็นชื่อไง ถ้านายกเซ็นชื่อนะ เซ็นชื่อ FTA ประเทศไทยต้องเปิดช่องทางให้เค้ายกประเทศเลย เซ็นชื่อเหมือนกันแต่ใครเซ็น ไอ้ขี้ครอกเซ็นเค้าเผาทิ้งน่ะสิ แต่ถ้านายกเซ็น ประเทศชาติต้องยอมรับถึงข้อตกลงอันนั้น สติ มหาสติ สมาธิ มหาสมาธิ ใครเป็นคนรับผิดชอบ ใครเป็นคนรู้ใครเป็นคนเห็น ดูจิตมันพูดอย่างนี้มั้ย ดูจิตก็คือดูจิตไง พอมันดูจิตก็คือดูจิต มันไม่รู้อะไร ก็รู้จิตไง แต่หลวงปู่ดูลย์น่ะ พูดถูก พูดกับหลวงปู่กิมเห็นมั้ย กิม เห็นอวิชชามั้ย เห็นจิตมั้ย พิจารณามัน พิจารณามัน เค้าต้องเห็นจริงรู้จริงเห็นจริง แต่รู้จริงเห็นจริง คนรู้จริงๆมันทำยาก มันทำยาก แต่นี่บอกง่ายพอบอกง่ายแล้ว ไอ้แก้วไอ้แสงมันก็ดูได้ ไอ้แก้วไอ้แสงเนี่ย ไปกราบมันนะ เป็นพระอรหันต์หมดน่ะ ก็มันดูจิตน่ะ แล้วมันดูเสร็จแล้วมันวาดลงกระดาษน่ะ โห สวยเลย มันจินตนาการของมันน่ะเห็นมั้ย เด็กๆมันวาดลงกระดาษเลย มึงเอานิพพานชั้นไหนล่ะ มันวาดให้มึงดูเลย มันมีอะไรเป็นขอบเขต มันมีอะไรเป็นเนื้อหาสาระ มันมีอะไรเป็นความจริง แต่ถ้าเป็นธรรมนะ สันทิฏฐิโก ปัจจัตตัง รู้เฉพาะตน เราจะบอกว่า สังคมไทยมันอ่อนแอ ไอ้ที่ว่าดูจิตมันกำลังระบาดเนี่ย มันระบาดก็เพราะว่าถ้าดูจิตเนี่ยนะ มันเหมือนอภิธรรม อภิธรรมเนี่ยนะ เราไม่ได้ดูถูกตัวอภิธรรมนะ เนื้ออภิธรรม พระไตรปิฎกไง สุตตันตปิฎก อะไรนะ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก อภิธรรมปิฎกเนี่ย ถ้าอภิธรรมปิฎกเป็นผลของจิตที่ภาวนาแล้ว สิ้นกิเลสเนี่ย เนี่ย วิธีแห่งวิทยาศาสตร์ทางจิต คือจิตพระอรหันต์เป็นอย่างนั้น ฉะนั้น เราเอาตรงเนี้ย เนี่ยจิตพระอรหันต์ใช่มั้ย จิตกี่ดวงๆเนี่ย อธิบายถึงอาการของจิตที่มันเป็นไป เนี่ยโดยวิทยาศาสตร์ ทีนี้เราไปจับตรงนั้นมาตั้ง แล้วเราจะเอาอารมณ์เราเป็นอย่างนั้น แล้วไอ้อภิธรรมเนี่ย มันเป็นอารมณ์มันเป็นวิทยาศาตร์ทางจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ แล้วจิตของพวกเราเนี่ยมันสกปรก เราจะเอาความรู้สึกเราให้ไปเป็นอย่างอารมณ์ในอภิธรรม มันเป็นไปได้มั้ย มันเป็นไปไม่ได้ พอมันเป็นไปไม่ได้ มันต้องเอาจิตที่สกปรกอย่างพวกเราเนี่ยมากรอง มาทำสมาธิให้มันใสให้มันสะอาดก่อน ให้มันมีโอกาสได้มาประพฤติปฏิบัติ แล้วพอปฏิบัติถึงสิ้นกระบวนการ จบสิ้นกระบวนการ มันก็จะเป็นอภิธรรมแบบนั้นแหละ เพราะฉะนั้นบอก ตัวอภิธรรมน่ะ ในพระไตรปิฎก เราไม่ค้านตรงนั้น ตรงนั้นมันเป็นผลของพระอรหันต์ ของพระพุทธเจ้าที่ทำแล้วเป็นอย่างนั้น แต่เวลาเขามาตั้งอารมณ์พวกเรา นามรูปๆๆเนี่ย มันก็นามรูปอยู่นั่นน่ะ ทีนี้ นามรูปกับดูจิตมันก็อันเดียวกัน ทีนี้สังคมอย่างนี้ เราจะบอกว่า ในการปฏิบัติน่ะ วัตรทั่วไปเนี่ย ไอ้เรื่องดูนามดูรูป เนี่ย เค้าทำกันอยู่แล้วไง เพราะเวลาเค้าฝึกกันน่ะ วิปัสสนาจารย์น่ะ ฝึกพระที่สอนอภิธรรมเนี่ย เค้าฝึกอยู่แล้ว แล้วเค้าฝึกมาเป็นรุ่นๆๆๆร้อยองค์ๆๆๆเต็มไปหมดเลย แล้วเขาก็กระจายสอนกันไป คนเค้าก็รับฟังรู้กันไปหมดเลยนะ รู้เป็นนาม นี่เป็นรูป รู้กันไปทั่วประเทศไทย นี่รู้ทั่วประเทศไทย พอดูจิต มันก็อันเดียวกันไง สังคมเนี่ย มันแบบ แม่น้ำทุกๆสาย ไหลไปรวมกันไง พอไหลไปรวมกันนะ ไอ้ดูจิตมันก็เลยฮือฮาขึ้นมาไง ถ้าเป็นอภิธรรม บอกพวกที่ดูจิต บอกว่า เอ็งปฏิบัติอภิธรรม มันจะยอมรับไหม บอกว่าดูจิตเนี่ย บอกว่าพวกมึงเนี่ย ปฏิบัติอภิธรรม เหมือนอภิธรรม ดูนามรูปเลย เอ็งจะยอมรับมั้ย เพราะอะไร เพราะเค้าทำกันอยู่ใช่มั้ย แต่พอบอกดูจิตเนี่ย นี้มันเก๋ มันเท่ห์ไง พอบอกดูจิต กูเป็นกรรมฐานนะโว้ย กูไม่ใช่อภิธรรมนะโว้ย กูเป็นกรรมฐานน่ะ กูดูจิตน่ะ กูเป็นพระป่านะ ก็กูดูจิตน่ะ แต่มาถึงข้อเท็จจริงเนื้อหาสาระของมันคืออะไรล่ะ ก็อภิธรรมนั่นแหละ เค้าดูนามรูป พอดูรูปดูนาม ดูจิตดูอาการ มันก็วนอยู่นั่นน่ะ หลวงปู่เจี๊ยะท่านบอกไง ดูจิต แก้กิเลสได้หรือไม่ได้ หลวงปู่เจรียญบอก ไม่ได้ หลวงตาบอกว่าท่านก็ดูจิตมาแล้ว เราดูจิตน่ะ จิตมันเสื่อมไปหนึ่งปีกับหกเดือน ถึงต้องกลับมาใช้คำบริกรรม คำบริกรรมเนี่ย ดูจิตเนี่ยนะ เหมือนกับ โยมมองเรา ทุกสายตามองมาที่เรา ตัวโยมเอง ไม่มีอะไรเลย เพราะโยมมองอยู่ที่เรา แต่ถ้ากำหนดพุทโธ เห็นมั้ย โยมมองมาที่เรา แล้วก็คิดว่า โยมกับเราเหมือนกันมั้ย ร่างกายเหมือนร่างกายมั้ย เอามาเปรียบเทียบกัน เอามาเปรียบเทียบกันว่า ร่างกายเรากับร่างกายของครูบาอาจารย์เหมือนกันมั้ย ว่ามันมองมา พุทโธก็เหมือนกัน พุทโธๆๆเนี่ย เรากำหนดพุทโธใช่มั้ย จิตเนี่ย มองมาที่เรา จิตเนี่ย ตามองมาที่เรา จิตนึกถึงพุทโธ ก็เหมือนมองมาที่เรา แล้วคิดว่าเรากับอาจารย์เนี่ย ร่างกายเหมือนกันมั้ย คือ มันสะท้อนกลับมาที่จิตเพราะมันออกไปจากจิตไง ความคิดที่มันออกมาจากจิต แต่พิจารณานามรูปเนี่ย มันก็มองมาที่เราเลย แต่ตัวเองไม่เกี่ยว มองมาที่เราเลย นามรูปๆไปเลย คือมันส่งออก แต่ถ้าเป็นพุทโธ หรือปัญญาอบรมสมาธิเนี่ย ส่งออกเหมือนกัน เริ่มต้นส่งออกเหมือนกัน แต่ส่งออกเพื่อจะค้นหาตัวมัน เพราะเรามีสติ พุทโธๆๆเข้ามาเห็นมั้ย พุทโธๆๆระยะสั้นเข้ามา จนพุทโธชัดเจนขึ้นมา จนพุทโธไม่ได้เห็นมั้ย จนพุทโธกับจิตเป็นอันเดียวกัน จนพุทโธกับจิตเป็นอันเดียวกัน นี่คือตัวสมาธิไง ปัญญาอบรมสมาธิก็เหมือนกัน ถ้าดูเฉยๆ มันดูส่งออก เหมือนดูเพ่ง ดูกสิณ เพ่งกสิณน่ะ แล้วไปเพ่งกสิณนี้มันเป็นสมาธิได้หรือเปล่า เพ่งกสิณ กสิณไฟ กสิณลม กสิณอะไรต่างๆ เพ่งเอาน่ะ มันเห็นภาพ เห็นมั้ย พอเห็นภาพเนี่ย กสิณไฟ แล้วขยายกสิณไฟให้มันใหญ่ขึ้นๆ นี่ไง มันไม่ส่งออกไป จิตมันนิ่งแล้วมันขยายภาพขยายส่วนได้ ถ้าเข้าใจเรื่องสมาธินะ เข้าใจเรื่องจิตเรื่องอะไรต่างๆนะ เรื่องดูจิตเนี่ย เรา อันนี้ ไอ้ที่พูดเนี่ยก็พูดเพื่อ ในวันนี้พูดเพื่อข้อเท็จจริงของจิตเลย เพราะถ้าดูจิต มันส่งออกยังไง ดูอย่างที่พูดที่เริ่มต้นมาเห็นมั้ย เพราะถ้าดูจิตจริงๆตั้งสติดีๆมีความมั่นคงอย่างหลวงปู่ดูลย์ ก็ทำได้ แต่เราจะบอกว่า คนต้องมีเชาวน์มีปัญญา ถ้าเลือกอย่างนี้แล้วนะ มันจะไปลงกับหลวงปู่ชา หลวงปู่ชา หลวงปู่ดูลย์เนี่ย เป็นคนที่มีเชาวน์ปัญญา หลวงปู่ชาเนี่ย ไม่ค่อยฟังใคร ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง มันอยู่ที่ทัศนคติน่ะ ทัศนคติน่ะแบบคนหัวแข็งว่ายังงั้นเลย คนไม่ลงคน ถ้าคนที่ไม่ลงใคร แต่ต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง พวกเนี้ย มันจะเข้มแข็งในใจ แต่ไอ้พวกที่พูดๆกันอยู่เนี่ย มันหัวอ่อนน่ะ ไม่ใช่ไม่ลงเค้า เอาหัวซุกให้เค้าด้วย แต่ถ้าคนจริงน่ะ คนจริง คนเป็นจริงอย่างหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ชา พวกเนี้ย หลวงตาเนี่ยนะ คนเข้มแข็ง แต่ท่านก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิของท่าน ถ้ามันเข้มแข็งนะ มันเอาจริงเอาจัง ไอ้นี้ ที่มันขัดแย้งกัน มันขัดแย้งกันตรงที่ว่า ดูสบายๆอย่าเกร็ง อย่าอะไรเนี่ย เหมือนทำให้คนที่อ่อนแออยู่แล้ว แล้วก็ทำให้ตัวเองอ่อนแอไปอีก แล้วอ่อนแอคืออะไร อ่อนแอคือว่า หลบไปเลย จิตหายไปเลย ว่างงงงง ไม่มีอะไรเลย แต่ถ้าเป็นคนจริงจังนะ จะบอกว่าถ้าเอาจริงเอาจังแล้วมีวาสนาจริงแล้วจะทำยังงี้จนเป็นสมาธิ เราว่าได้ แต่... มีส่วนน้อยมาก ทีนี้บางคนที่ทำเนี่ย มันเป็นส่วนใหญ่ แล้วส่วนใหญ่เราบอกนจะได้ผลจริงตามนั้น ผลจริงตามนั้นคืออะไร ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเป็นศีล เป็นสมาธิจริงๆเนี่ย ตัวสมาธิ ตัวปัญญา เนี่ยสุดยอดมาก ถ้ามันทำได้จริงเนี่ย สุดยอด นี้เอาหลักตัวนี้มาตั้ง แต่เอาจริตนิสัย เอาความเห็นของตัวมาทำ มันก็เลยกลายเป็นสิ่งที่แบบว่า ถอนรากถอนโคนตัวเอง ถอนรากถอนโคนเลยนะ ถอนราก สติปัญญาของเราหมดเลย ว่างๆๆๆ เหมือนฤาษีชีไพร อะ ใครมีอะไรค้านมั้ย อ้าว มีอะไรว่ามา มีมั้ย เอ้า มีอะไรที่เป็นประเด็นที่เราพูดแล้ว แบบว่า หลวงพ่อนี้พูดข้างเดียวน่า ตีหัวเข้าบ้านไม่ได้ ไม่มีก็จบล่ะ (1) นั่นก็คือ อินทรียสังวรศีล ที่พวกท่านทำกันอยู่นั่นไง |
เจ้าของ: | fakemonk [ 14 มี.ค. 2010, 13:03 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: โต้แย้งดูจิต--ทำไม ดูจิตแล้วได้ผลทุกคน แล้วสิ่งที่ได้ ได้อะไ |
โอ้โห มีคนมาบอกว่า ครูบา ท่านนี้ สร้างวิบาก??? ท่านบวชมา 30 กว่าพรรษาแล้วนะ เรียกครูบา ? เอาอันนี้ไปอ่านดูซะ หลวงตามหาบัวพูดถึงท่านอย่างไรบ้าง คงไม่หาว่า เขียนเอาเองหรอกนะ “ท่านสงบจะเป็นหลักคนหนึ่งทางโน้น ท่านเคยอยู่ที่นี่ ออกจากนี้แล้วก็ไปอยู่ที่โพธาราม จากนั้นย้ายไปอยู่ที่ใหม่ ที่ใหม่เราก็ไป ก็ดีอยู่ นี่ก็จะปลูกต้นไม้ขึ้น ยังไม่มีร่ม ส่วนที่เก่านั้นก็ดีหากแคบ คับแคบเกินไป ท่านหยีองค์หนึ่งจะได้เป็นประโยชน์ทางด้านโน้น ไปจากวัดนี้ก็ไปอยู่ที่นั่นเลย อยู่ที่โพธาราม” “ท่านสงบ เป็นพระวัดป่าบ้านตาด เป็นชาวโพธาราม ไปอยู่วัดป่าบ้านตาด จากนั้นมาแล้วก็มาตั้งวัดที่ โพธาราม ทีแรกไปเช่าที่เขาอยู่ เหมือนอย่างเราว่าเอาราชสีห์ไปหมอบอยู่ในกรง ศาสนาพระพุทธเจ้าเลิศเลอขนาดไหน เหมือนเข้าไปหมอบอยู่ในลูกกรง ถูกกรงขัง ไปเช่าที่เขาอยู่ ว่าอย่างนั้น พอเราไปได้ยินว่าเช่าที่เขาอยู่ เราสลดสังเวชทันทีเลย” “ท่านสงบเป็นพระปฏิบัติดี ออกมาจากวัดป่าบ้านตาด คือใครก็ตามถ้าออกจากวัดป่าบ้านตาดเราจะสอดแทรกตามดูตลอดเวลาบรรดาลูกศิษย์ ถ้าใครดีเราก็ไปเยี่ยมเรื่อยเสริมเรื่อย เยี่ยมเรื่อย ถ้าไม่ดีไม่ไปเหยียบเลย พูดง่ายๆ ดีไม่ดีชี้หน้าด้วย เอาอย่างนั้นนะเรา ไม่ได้เหมือนใคร นี่พูดถึงเรื่องท่านหยีก่อนนะ เขาเรียกท่านหยี ชื่อสงบ แต่ท่านตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมนามที่ว่าท่านชื่อสงบ” ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 14 มี.ค. 2010, 13:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: โต้แย้งดูจิต--ทำไม ดูจิตแล้วได้ผลทุกคน แล้วสิ่งที่ได้ ได้อะไ |
fakemonk เขียน: ถ้าคนภาวนาเป็น ไอ้เรื่องดูจิตน่ะ เพราะคำว่าจิตใช่มั้ย คำว่าจิตน่ะ จิตมันมีอยู่แล้ว แล้วดูจิตน่ะ เพราะหลวงปู่ดูลย์ก็สอนดูจิต ทำไมหลวงปู่ดูลย์สอนถูกล่ะ หลวงปู่ดูลย์ท่านบอกดูจิต จิตส่งออกทั้งหมด ความคิดที่ส่งออกให้ผลเป็นทุกข์ ความคิดทั้งหมดที่ส่งออกเป็นสมุทัย ให้ผลเป็นทุกข์ ต้องหยุดความคิด การหยุดความคิดก็ต้องใช้ความคิด นี้ การหยุดความคิดก็ต้องใช้ความคิด เพราะความคิดมันเป็นสมุทัย มันเป็นสมุทัย มันเป็นตัณหาความทะยานอยากมีความคิดนะ นี้ความคิดปั๊ปเนี่ย เราต้องดูจิต เพราะจิตมันไม่ใช่ความคิด จิตเป็นจิต ฉะนั้น เวลาเราคุยกับ ดร.มนตรี น่ะ เขาบอกว่า ตอนที่เขาเป็นฆราวาส เขาไปฝึกกับหลวงปู่ดูลย์ แล้วเขาจะไปรายงานกับหลวงปู่ดูลย์ตลอดเวลา พอไปรายงานปั๊ป หลวงปู่ดูลย์ บอกว่า ไม่ใช่ คือ ยังไม่เห็นจิต ๆๆๆ ไอ้ดูจิตนี้ยากนะ ถ้าดูจิตให้เป็นตามความเป็นจริงน่ะ แต่นี้มันดูจิต มันไม่ใช่ดูจิต มันดูความคิด เห็นความคิดของตัวไง ความคิดเกิดดับ มันไม่ใช่ดูจิตนะ จากท่อนนี้ แสดงให้เห้นว่า หลวงพ่อสงบ นิยามคำว่าจิต ที่เป็นธาตุรู้ ท่านจึงบอกทำนองว่า การไปดูความคิดน่ะ ไม่ใช่จิตหรอก มันเป็นเจตสิก ซึ่งหลวงพ่อปราโมทย์ นิยามว่าเป้นเจตสิก ดูจิต คือดูเจตสิก ท่านพูดชัดขนาดไหน มาดูกัน อ้างคำพูด: จากหนังสือ ดูจิต ปี 1 หน้า 27 ถาม-เป็นน้องใหม่เพิ่งเริ่มต้นค่ะไม่ทราบว่าการดูจิตคืออะไร ทำอย่างไรดูแล้วมีผลอย่างไรคะ ความหมายของการดูจิต คำว่าการดูจิตเป็นคำที่นักปฏิบัติกลุ่มหนึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมายกันเองภายในกลุ่ม หมายถึงการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทุกบรรพ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน(ทุกบรรพ) รวมถึงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน(บางอย่างที่เป็นฝ่ายนามธรรม) กล่าวอย่างย่อก็คือการเจริญวิปัสสนาด้วยอารมณ์ฝ่ายนามธรรม ได้แก่การรู้จิตและเจตสิกนั่นเอง ประเด็นแรก หลวงพ่อทั้งสอง จึงพูดตรงกัน สังเกตุคำว่า หลวงพ่อปราโมทย์ เขียน: ได้แก่การรู้จิตและเจตสิกนั่นเอง หลวงพ่อปราโมทย์ท่านนิยามคุลมหมดเลย ทั้งรู้เจตสิก และรู้จจิตที่เป็นธาตุรู้ แต่หลวงพ่อสงบนิยามว่า คำว่า"ดูจิต" ในความหมายของท่านคือ การรู้จิต ที่เป็นธาตุรู้ ท่านไม่นับ การรู้เจตสิก ให้เป็นความหมายของคำว่าดูจิต พูดง่ายๆ สรุปง่ายๆ คำว่าดูจิต ของหลวงพ่อสงบ ท่านจำกัดวงแค่ การรู้จิตที่เป็นธาตุรู้ คำว่าดูจิต ของหลวงพ่อปราโมทย์ ท่านนิยามรวมทั้งหมด ทั้งรู้เจตสิก และรู้จิตที่เป็นธาตุรู้ ประเด็นนี้ ในระดับปรมัตถ์ หลวงพ่อทั้งสองไม่มีความขัดกันในธรรม แต่ในระดับบัญญัติ แน่นอน ขัดกันแน่นอน ขัดเพราะนิยามขัดกัน จังเป็นที่ว่าที่ หลวงพ่อสงบพูดทำนองว่า ในเมื่อมันผิดตั้งแต่ต้น ก็ไม่มีความจำเป้นต้องดูรายละเอียด นักปฏิบัติธรรมคนไหนฉลาดเพียงพอ จะไม่มัวมาเสียเวลาพิสูจน์ธรรมของผู้อื่นในตัวผู้อื่นหรอกครับ แม้แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้า เราก็ไปพิสูจน์ที่ตัวพระองค์ท่านไม่ได้ แต่เอาธรรมของท่าน มาพิสูจน์ในตัวเราได้ โอปนยิโก น้อมเข้ามาสู่ตน ปัตจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู หิติ วิญญูชน พึงรู้ได้ด้วยตน |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 14 มี.ค. 2010, 13:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: โต้แย้งดูจิต--ทำไม ดูจิตแล้วได้ผลทุกคน แล้วสิ่งที่ได้ ได้อะไ |
[คัดมาจาก http://larndham.org/index.php?s=d22b7d0 ... opic=26358] . . . . . . . . . . . . . . เพื่อนใหม่ที่เข้ามาสู่ลานธรรม มักจะมีคำถามเสมอว่า การดูจิตคืออะไร ทำอย่างไร ดูแล้วมีผลอย่างไร คำตอบที่ได้รับจากหลายๆ ท่าน ค่อนข้างแยกเป็นส่วนๆ วันนี้ผมขอโอกาสเล่าถึง การดูจิตในภาพรวม สักครั้งนะครับ ความหมายของการดูจิต คำว่า การดูจิต เป็นคำที่นักปฏิบัติกลุ่มหนึ่ง บัญญัติขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมายกันเองภายในกลุ่ม หมายถึงการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ทุกบรรพ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ทุกบรรพ) รวมถึงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (บางอย่างที่เป็นฝ่ายนามธรรม) กล่าวอย่างย่อ ก็คือการเจริญวิปัสสนาด้วยอารมณ์ฝ่ายนามธรรม ได้แก่การรู้จิตและเจตสิกนั่นเอง วิธีการเจริญวิปัสสนา (ดูจิต) การเจริญวิปัสสนาทุกประเภท รวมทั้งการดูจิต ไม่มีอะไรมาก เพียงแต่ให้ผู้ปฏิบัติ "รู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่เป็นกลางเท่านั้น" แต่จะรู้ได้ถูกต้อง ก็ต้อง (1) มีจิตที่มีคุณภาพ และ (2) มีอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง เท่านั้น ซึ่งจิตที่มีคุณภาพสำหรับการทำสติปัฏฐานหรือวิปัสสนา ได้แก่จิตที่มีสติ(สัมมาสติ) สัมปชัญญะ(สัมมาทิฏฐิ) และสัมมาสมาธิ ส่วนอารมณ์กรรมฐานที่ถูกต้อง คืออารมณ์ที่มีตัวจริงที่สามารถแสดงไตรลักษณ์ได้ หรือที่นักปฏิบัติมักจะเรียกว่าสภาวะ และนักปริยัติเรียกว่าอารมณ์ปรมัตถ์ เมื่อจะลงมือปฏิบัติ ก็ให้ (1) มีสติเฝ้ารู้ให้ทัน (มีสัมมาสติ) (2) ถึงอารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ (มีอารมณ์ปรมัตถ์) (3) ด้วยจิตที่ตั้งมั่น ไม่เผลอส่งส่ายไปที่อื่น และไม่เพ่งจ้องบังคับจิต (มีสัมมาสมาธิ) แล้ว (4) จิตจะรู้สภาวธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง (มีสัมปชัญญะ/สัมมาทิฏฐิ) การมีสติเฝ้ารู้ให้ทัน หมายถึงสิ่งใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับไป ก็ให้รู้เท่าทัน เช่นขณะนั้นรู้สึกมีความสุข ก็ให้รู้ว่ามีความสุข เมื่อความสุขดับไป ก็ให้รู้ว่าความสุขดับไป มีความโกรธก็รู้ว่ามีความโกรธ เมื่อความโกรธดับไปก็รู้ว่าความโกรธดับไป เมื่อจิตมีความทะยานอยากอันเป็นแรงผลักดัน ให้ออกยึดอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ให้รู้ว่ามีแรงทะยานอยาก เป็นต้น อารมณ์หรือสภาวธรรมที่กำลังปรากฏ ต้องเป็นอารมณ์ของจริงไม่ใช่ของสมมุติ โดยผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ออกว่า อันใดเป็นของจริง หรือปรมัตถธรรม อันใดเป็นของสมมุติ หรือบัญญัติธรรม เช่นเมื่อจิตมีความสุข ก็ต้องมีสติรู้ตรงเข้าไปที่ความรู้สึกสุขจริงๆ เมื่อจิตมีความโกรธ ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความโกรธจริงๆ เมื่อมีความลังเลสงสัย ก็ต้องรู้ตรงเข้าไปที่สภาวะของความลังเลสงสัยจริงๆ ฯลฯ และเมื่อหัดรู้มากเข้าจะพบว่า นามธรรมจำนวนมากผุดขึ้นที่อก หรือหทยรูป แต่ผู้ปฏิบัติไม่ต้องเที่ยวควานหาหทยรูป หากกิเลสเกิดที่ไหน และดับลงที่ไหน ก็รู้ที่นั้นก็แล้วกันครับ ถ้าเอาสติไปตั้งจ่อดูผิดที่เกิด ก็จะไม่เห็นของจริง เช่นเอาสติไปจ่ออยู่เหนือสะดือสองนิ้ว จะไม่เห็นกิเลสอะไร นอกจากเห็นนิมิต เป็นต้น และการมีสติรู้ของจริง ก็ไม่ใช่การคิดถามตนเอง หรือคะเนเอาว่า ตอนนี้สุขหรือทุกข์ โกรธหรือไม่โกรธ สงสัยหรือไม่สงสัย อยากหรือไม่อยาก ตรงจุดนี้สำคัญมากนะครับ ที่จะต้องรู้สภาวธรรม หรือปรมัตถธรรมให้ได้ เพราะมันคือ พยานหรือแบบเรียนที่จิตจะได้เรียนรู้ ถึงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของมันจริงๆ ไม่ใช่แค่คิดๆ เอาว่ามันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อมีสติรู้สภาวธรรมหรือปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏแล้ว ผู้ปฏิบัติจะต้องมีจิตที่รู้ตัว ตั้งมั่น ไม่เผลอไปตามความคิดซึ่งจะเกิดตามหลังการรู้สภาวธรรม เช่นเมื่อเกิดสภาวะบางอย่างขึ้นในจิต อันนี้เป็นปรมัตถธรรม ถัดจากนั้นก็จะเกิดสมมุติบัญญัติว่า นี้เรียกว่าราคะ สมมุติตรงนี้ห้ามไม่ได้ เพราะจิตเขามีธรรมชาติเป็นนักจำและนักคิด ผู้ปฏิบัติจึงไม่ต้องไปห้ามหรือปฏิเสธสมมุติบัญญัติ เพียงรู้ให้ทัน อย่าได้เผลอหรือหลงเพลินไปตามความคิดนึกปรุงแต่งนั้น หรือแม้แต่การหลงไปคิดนึกเรื่องอื่นๆ ด้วย แล้วให้เฝ้ารู้สภาวะ (ที่สมมุติเรียกว่าราคะนั้น) ต่อไป ในฐานะผู้สังเกตการณ์ จึงจะเห็นไตรลักษณ์ของสภาวะอันนั้นได้ ในทางกลับกัน ผู้ปฏิบัติที่ไปรู้สภาวะที่กำลังปรากฏ จะต้องไม่เพ่งใส่สภาวะนั้นด้วย เพราะถ้าเพ่ง จิตจะกระด้างและเจริญปัญญาไม่ได้ แต่จิตจะ "จำ และจับ" สภาวะอันนั้นมาเป็นอารมณ์นิ่งๆ แทนการรู้สภาวะจริงๆ พึงให้จิตเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ เหมือนคนดูละคร ที่ไม่โดดเข้าไปเล่นละครเสียเอง จิตที่ทรงตัวตั้งมั่น นุ่มนวล อ่อนโยน ควรแก่การงาน โดยไม่เผลอและไม่เพ่งนี้แหละ คือสัมมาสมาธิ เป็นจิตที่พร้อมที่จะเปิดทางให้แก่การเจริญปัญญาอย่างแท้จริง คือเมื่อจิตมีสติ รู้ปรมัตถธรรม ด้วยความตั้งมั่น ไม่เผลอและไม่เพ่ง จิตจะได้เรียนรู้ความจริงของปรมัตถธรรมอันนั้นๆ 4 ประการ คือ (1) รู้สภาวะของมันที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (รู้ตัวสภาวะ) (2) รู้ว่าเมื่อสภาวะอันนั้นเกิดขึ้นแล้ว มันมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร (รู้บทบาทของสภาวะ) (3) รู้ว่าถ้ามันแสดงบทบาทของมันแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น (รู้ผลของสภาวะ) และเมื่อชำนาญมากเข้า เห็นสภาวะอันนั้นบ่อยครั้งเข้า ก็จะ (4) รู้ว่า เพราะสิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว จึงกระตุ้นให้สภาวะอันนั้นเกิดตามมา (รู้เหตุใกล้ของสภาวะ) การที่จิตเป็นผู้สังเกตการณ์และเรียนรู้ หรือวิจัยธรรม (ธรรมวิจัย) อันนี้เองคือการเจริญปัญญาของจิต หรือสัมปชัญญะ หรือสัมมาทิฏฐิ ตัวอย่างเช่นในขณะที่มองไปเห็นภาพๆ หนึ่งปรากฏตรงหน้า จิตเกิดจำได้หมายรู้ว่า นั่นเป็นภาพสาวงาม แล้วสภาวธรรมบางอย่างก็เกิดขึ้นในจิต (ซึ่งเมื่อบัญญัติทีหลังก็เรียกว่า ราคะ) การรู้สภาวะที่แปลกปลอมขึ้นในจิตนั่นแหละคือการรู้ตัวสภาวะของมัน แล้วก็รู้ว่ามันมีบทบาทหรืออิทธิพลดึงดูด ให้จิตหลงเพลินพอใจไปกับภาพที่เห็นนั้น ผลก็คือ จิตถูกราคะครอบงำ ให้คิด ให้ทำ ให้อยาก ไปตามอำนาจบงการของราคะ และเมื่อรู้ทันราคะมากเข้า ก็จะรู้ว่า การเห็นภาพที่สวยงาม เป็นเหตุใกล้ให้เกิดราคะ จึงจำเป็นจะต้องคอยเฝ้าระวังสังเกต ขณะที่ตากระทบรูปให้มากขึ้น เป็นต้น ในส่วนตัวสภาวะของราคะเอง เมื่อผู้ปฏิบัติมีสติรู้อยู่นั้น มันจะแสดงความไม่เที่ยงให้เห็นทันที คือระดับความเข้มของราคะจะไม่คงที่ มันตั้งอยู่ไม่นาน เมื่อหมดกำลังเพราะเราไม่ได้หาเหตุใหม่มาเพิ่มให้มัน (ย้อนไปมองสาว) มันก็ดับไป แสดงถึงความเป็นทุกข์ของมัน และมันจะเกิดขึ้นก็ตาม ตั้งอยู่ก็ตาม ดับไปก็ตาม ล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยกำหนด ไม่ใช่ตามที่เราอยากจะให้เป็น นอกจากนี้ มันยังเป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเรา เหล่านี้ล้วนแสดงความเป็นอนัตตาของสภาวะราคะทั้งสิ้น ผลของการดูจิต และข้อสรุป จิตที่อบรมปัญญามากเข้าๆ ถึงจุดหนึ่งก็จะรู้แจ้งเห็นจริงว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจิต เจตสิก กระทั่งรูป ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งสิ้น ถ้าจิตเข้าไปอยาก เข้าไปยึด จิตจะต้องเป็นทุกข์ ปัญญาเช่นนี้แหละ จะทำให้จิตคลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวกูของกูลง ความทุกข์ก็จะเบาบางลงจากจิต เพราะจิตฉลาด ไม่ไปส่ายแส่หาความทุกข์มาใส่ตัวเอง (แต่ลำพังคิดๆ เอา ในเรื่องความไม่มีตัวกูของกู ย่อมไม่สามารถดับ ความเห็นและความยึด ว่าจิตเป็นตัวกูของกูได้ จะทำได้ก็แค่ "กู ไม่ใช่ตัวกูของกู" คือจิตยังยึดอยู่ ส่วนการที่จะลดละได้จริง ต้องเจริญสติปัฏฐานจริงๆ เท่านั้นครับ) สรุปแล้ว การดูจิตที่ชาวลานธรรมพูดถึงกันนั้น ไม่ใช่การดูจิตจริงๆ เพราะจิตนั้นแหละ คือผู้รู้ ผู้ดู ผู้ยึดถือ อารมณ์ แต่การดูจิต หมายถึงการเจริญวิปัสสนา โดยเริ่มต้นจากการรู้นามธรรม ซึ่งเมื่อชำนิชำนาญแล้ว ก็จะรู้ครบสติปัฏฐานทั้งสี่นั่นเอง ดังนั้น ถ้าไม่ชอบคำว่า ดูจิต ซึ่งนักปฏิบัติส่วนหนึ่งชอบใช้คำนี้เพราะรู้เรื่องกันเอง จะใช้คำว่าการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน + การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน + การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็ได้ครับ แต่การที่นักปฏิบัติบางส่วนชอบพูดถึงคำว่า "การดูจิต" ก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน คือเป็นการเน้นให้ทราบว่า จิตใจนั้นเป็นใหญ่ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง และเป็นการกระตุ้นเตือนให้หมั่นสังเกตพฤติกรรมของจิตเมื่อมันไปรู้อารมณ์เข้า เพราะถ้ารู้จิตชัด ก็จะรู้รูปชัด รู้เวทนาชัด รู้กิเลสตัณหาชัดไปด้วย เนื่องจากจิตจะตั้งมั่น และเป็นกลางต่ออารมณ์ทั้งปวง ในทางกลับกัน ถ้าจิตไม่มีคุณภาพ คือไม่มีสัมมาสมาธิ สัมมาสติ และสัมมาทิฏฐิ แม้จะพยายามไปรู้ปรมัตถ์ ก็ไม่สามารถจะรู้ปรมัตถ์ตัวจริงได้ นอกจากจะเป็นเพียงการคิดถึงปรมัตถ์เท่านั้น ถ้าเข้าใจจิตใจตนเองให้กระจ่างชัดแล้ว การเจริญสติปัฏฐานก็จะทำได้ง่าย ถ้าไม่เข้าใจจิตใจตนเอง ก็อาจจะเกิดความหลงผิดได้หลายอย่างในระหว่างการปฏิบัติ เช่นหลงเพ่ง โดยไม่รู้ว่าเพ่ง อันเป็นการหลงทำสมถะ แล้วคิดว่ากำลังทำวิปัสสนาอยู่ พอเกิดนิมิตต่างๆ ก็เลยหลงว่าเกิดวิปัสสนาญาณ หรือหลงเผลอ ไปตามอารมณ์ โดยไม่รู้ว่ากำลังเผลอ หรือหลงยินดียินร้ายไปตามอารมณ์ หรือหลงคิดนึกปรุงแต่ง อันเป็นเรื่องสมมุติบัญญัติ แล้วคิดว่ากำลังรู้ปรมัตถ์หรือสภาวะที่กำลังปรากฏ เป็นต้น ถ้าเข้าใจจิตตนเองได้ดีพอประมาณ ก็จะไม่เกิดความหลงผิดเหล่านี้ขึ้น ข้อดีที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการดูจิตก็คือ การดูจิตเป็นวิปัสสนาชนิดเดียวที่ทำได้ทั้ง 3 โลก คือในกาม (สุคติ) ภูมิ รูปภูมิ (ส่วนมาก) และอรูปภูมิ แม้แต่ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ อันเป็นภวัคคภูมิหรือสุดยอดภูมิของอรูปภูมิ ก็ต้องอาศัยการดูจิตนี้เอง เป็นเครื่องเจริญวิปัสสนาต่อไปได้จนถึงนิพพาน อันที่จริงสิ่งที่เรียกว่าการดูจิตนั้น แม้จะเริ่มจากการรู้นามธรรมก็จริง แต่เมื่อลงมือทำไปสักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถเจริญสติปัฏฐานได้ทั้ง 4 อย่าง โดยจิตจะมีสติสัมปชัญญะต่อเนื่องอยู่ในชีวิตประจำวันนี่เอง เพียงก้าวเดินก้าวเดียว ก็เกิดการเจริญสติปัฏฐานได้ตั้งหลายอย่างแล้ว คือเมื่อเท้ากระทบพื้น ก็จะรู้รูป ได้แก่ธาตุดินคือความแข็งภายในกาย (รูปภายใน) และธาตุดินคือความแข็งของพื้นที่เท้าเหยียบลงไป (รูปภายนอก) อันนี้ก็คือการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว และรู้ถึงความเย็น ความร้อนคือธาตุไฟของพื้นที่เท้าเหยียบลงไป เป็นต้น ขณะที่เหยียบพื้นนั้น ถ้าสติรู้เข้าไปที่ความรู้สึกอันเกิดจากการที่เท้ากระทบพื้น เช่นความเจ็บเท้า ความสบายเท้า ก็คือการเจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว ขณะที่เหยียบพื้นนั้น ถ้าพื้นขรุขระ เจ็บเท้า ก็สังเกตเห็นความขัดใจ ไม่ชอบใจ หรือถ้าเหยียบไปบนพรมนุ่มๆ สบายๆ เท้า ก็สังเกตเห็นความพอใจ อันนี้ก็เป็นการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว ขณะที่เหยียบนั้น ถ้ารู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ ก็จะเห็นกายเป็นส่วนหนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นแต่ละส่วนๆ หรือรู้ถึงความทะยานอยากของจิตที่ส่งหลงเข้าไปที่เท้า หรือรู้อาการส่งส่ายของจิต ตามแรงผลักของตัณหาคือความอยาก แล้วหนีไปเที่ยวทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือรู้ถึงความเป็นตัวกูของกูที่เกิดขึ้นในจิต หรือรู้ถึงนิวรณ์ที่กำลังปรากฏขึ้น แต่ยังไม่พัฒนาไปเป็นกิเลสเข้ามาครอบงำจิต หรือรู้ชัดถึงความมีสติ มีสัมปชัญญะ มีความเพียร มีปีติ มีความสงบระงับฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งสิ้น ที่เล่ามายืดยาวนี้ เพื่อนใหม่ที่ไม่เคยลงมือเจริญสติสัมปชัญญะจริงๆ มาก่อน อาจจะเข้าใจยากสักหน่อยครับ ดังนั้น ถ้าอ่านแล้วเกิดความสงสัยมากขึ้น ก็ลองย้อนมารู้เข้าไปที่ ความรู้สึกสงสัยในจิต เลยทีเดียว ก็จะทราบได้ว่า ความสงสัยมันมีสภาวะของมันอยู่ (ไม่ใช่ไปรู้เรื่องที่สงสัยนะครับ แต่ให้รู้สภาวะหรือปรมัตถธรรมของความสงสัย) เมื่อรู้แล้วก็จะเห็นว่า เมื่อความสงสัยเกิดขึ้น มันจะยั่วจิตให้คิดหาคำตอบ แล้วลืมที่จะรู้เข้าไปที่สภาวะความสงสัยนั้น เอาแต่หลงคิดหาเหตุหาผลฟุ้งซ่านไปเลย พอรู้ทันมากเข้าๆ ก็จะเข้าใจได้ว่า ความสงสัยนั้นมันตามหลังความคิดมา เป็นการรู้เท่าทันถึงเหตุใกล้ หรือสาเหตุที่ยั่วยุให้เกิดความสงสัยนั่นเอง เมื่อรู้ที่ สภาวะของความสงสัย ก็จะเห็นสภาวะนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันเกิดขึ้นเพราะความคิด พอรู้โดยไม่คิด มันก็ดับไปเอง หัดรู้อยู่ในจิตใจตนเองอย่างนี้ก็ได้ครับ แล้วต่อไปก็จะทำสติปัฏฐาน 4 ได้ในที่สุด เพราะจะสามารถจำแนกได้ชัดว่า อะไรเป็นจิต อะไรเป็นอารมณ์ อะไรเป็นอารมณ์ของจริง และอะไรเป็นเพียงความคิดนึกปรุงแต่งหรือสมมุติบัญญัติที่แปลกปลอมเข้ามา รวมทั้งจำแนกได้ด้วยว่า อันใดเป็นรูป อันใดเป็นจิต อันใดเป็นเจตสิก ขอย้ำแถมท้ายอีกนิดหนึ่งนะครับว่า การดูจิต ไม่ใช่วิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดเสมอไป เพราะในความเป็นจริง ไม่มีวิธีการปฏิบัติธรรมที่ดีที่สุดในโลก มีแต่ "วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด" เฉพาะของแต่ละบุคคลเท่านั้น ดังนั้น ถ้าถนัดจะเจริญสติปัฏฐาน อย่างใดก่อน ก็ทำไปเถิดครับ ถ้าทำถูกแล้ว ในที่สุดก็จะทำสติปัฏฐานหมวดอื่นๆ ได้ด้วย จากคุณ : สันตินันท์ [ 19 ต.ค. 2543 / 11:13:47 น. ] |
เจ้าของ: | walaiporn [ 14 มี.ค. 2010, 13:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: โต้แย้งดูจิต--ทำไม ดูจิตแล้วได้ผลทุกคน แล้วสิ่งที่ได้ ได้อะไ |
พระพุทธเจ้ายังต้องทรงเผชิญวิบากกรรมที่พระองค์เคยกระทำไว้ในอดีต แล้วครูบาฯจะแตกต่างจากพระพุทธเจ้าไปได้ยังไง? จะเรียก " พระ " หรือเรียก " ครูบาฯ " มันก็แค่บัญญัติ แต่เพราะเราเคารพที่ท่านเป็น " พระ " และเห็นท่านสอนคนอื่นๆ เลยเรียกท่านว่า " ครูบาฯ " จะกี่พรรษาก็ไม่สำคัญ สำคัญที่จิตต่างหาก จิตของผู้เรียกว่ามีความเคารพแค่ไหน หากจิตมีความเคารพ จะเรียกว่าอะไรก็ไม่สำคัญ ผู้ที่เจริญสติ มีสติสัมปชัญญะในระดับหนึ่ง หมอดู ต่อให้ดูแม่นแค่ไหนก็ตาม จะไม่สามารถทำนายทายทักเจ้าของดวงชะตาได้เลย หมอดูจะดูได้แต่เรื่องราวในอดีต แต่เรื่องราวในปัจจุบันกับอนาคต จะดูให้ไม่ได้อย่างเด็ดขาด |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |