ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=30183
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  k99 [ 20 มี.ค. 2010, 17:18 ]
หัวข้อกระทู้:  สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

เป็นสมาชิกใหม่ค่ะ อยากจะสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับการตั้งโต๊ะหมู่ค่ะ ใครรู้ช่วยเข้ามาตอบหน่อยนะ หลายๆท่านก็ดีค่ะจะได้หลายแง่มุมทางความคิดค่ะ

คือสถานที่ที่ดูไว้ก็ อยู่ใกล้ใต้บันไดค่ะ ประมาณว่าพ้นจากบันไดแล้ว หันหน้าไปทางทิศ ตะวันออกค่ะ มีรปให้ดูด้วยค่ะ

อีกอย่างนะ มีเสด็จพระรัชการที่ 5 ใต้ฮงกง (ที่ตั้งอยู่ ปอเต็กตึ้ง) แม่นางกวัก จะเชิญท่านมารวมที่โต๊ะหมู่ได้มั้ย ขอบคุณค่ะ

ไฟล์แนป:
-0084.jpg
-0084.jpg [ 36.36 KiB | เปิดดู 7683 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 20 มี.ค. 2010, 20:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

แหม ตั้งใต้บันไดแบบนี้

ข้าพเจ้าทรมานใจจริงๆ
ถ้าจะตั้งจริงๆก็พอได้นะ แต่ไม่เหมาะสม

บนบ้านไม่ได้เหรอ เห็นมีบันไดขึ้นไป

เจ้าของ:  nigpo [ 20 มี.ค. 2010, 20:33 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

ไม่เหมาะสม คนเดินขึ้นบันไดไปมา เอาพระไปไว้ใต้เท้าไม่ได้ ไม่เป็นมงคล


หาห้องเเคบเป็นที่ตั้งดีกว่าครับ :b11:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 20 มี.ค. 2010, 22:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

ใต้บันได ไม่ดี Onion_L อย่าเอาเทพไปตั้งปนกันพระรัตนตรัย ไต้ฮงกงได้ครับเป็นพระสงฆ์ :b12:

เจ้าของ:  supaporn3 [ 20 มี.ค. 2010, 23:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

ไม่สมควรอย่างยิ่ง ใต้บันไดไม่ดีนะคะ :b8:

เจ้าของ:  moddam [ 20 มี.ค. 2010, 23:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

ไม่แนะนำครับ
ควรหาที่ที่เหมาะสมกว่านี้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออกได้ยิ่งดีครับ

ถ้าไม่ได้ก็ควรทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ

การวางรูปอื่นก็ตามความเหมาะสมกับสถานที่ครับ แต่ไม่ควร ปะปนกัน ครับ

หรือรอท่านอื่นที่มีความคิดดีๆ มาดูกันนะครับ cool

เจ้าของ:  kyoung [ 21 มี.ค. 2010, 00:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

อืม...จัดในห้องนอนยังพอทนครับ
แต่งานนี้ใต้บันไดดูไม่ค่อยเหมาะสมครับผม
ถ้าจัดในห้อนนอนนี่ ผมยังแนะนำให้เค้าเอาผ้าม่านมากั้นเลยครับ
ยังไงลองดูชั้นบนก่อนมั้ยครับ อาจจะมีเนื้อที่พอกั้นห้องได้ครับ

ปล.บางคนถามว่าทำไมไม่ควรจัดที่ห้องนอน สะดวกจะตาย สวดเสร็จก็นอนได้เลย
คือผมก็เลยตอบไปว่า ที่ห้องนอนนั้นหากคนมีครอบครัว มีสามี หรือ ภรรยา
ย่อมมีกิจกรรมช่วงค่ำคืนครับ (อันนี้เข้าใจนะครับว่าคืออะไร)
ดังนั้น จึงไม่เหมาะที่จะตั้งไว้ในห้องนอนครับ
ซึ่งถ้าเป็นไปได้ถ้ามีห้องว่างๆ หรือมีเนื้อที่พอกั้นห้อง ควรจะแยกไปเลยครับผม
แต่ถ้าหากจะไว้ส่วนโซนห้องนอนในกรณีมีเนื้อที่น้อย ก็หาม่านมากั้นก็น่าจะพออนุโลมได้ครับผม
คือกะให้พอมีเนื้อที่ตั้งโต๊ะและช่วงให้กราบไหว้ นั่งสมาธิ สบายๆ ก็พอครับผม

อ้างคำพูด:
อีกอย่างนะ มีเสด็จพระรัชการที่ 5 ใต้ฮงกง (ที่ตั้งอยู่ ปอเต็กตึ้ง) แม่นางกวัก จะเชิญท่านมารวมที่โต๊ะหมู่ได้มั้ย ขอบคุณค่ะ

แยกดีกว่าครับ

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 21 มี.ค. 2010, 09:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ได้เกิดบุคคลสำคัญขึ้นท่านหนึ่ง แซ่ลิ้ม เป็นชาวมณฑลฮกเกี้ยน และมีสติปัญญาปราดเปรื่องสามารถสอบไล่ได้ตำแหน่ง "จิ้นสือ" และเข้ารับราชการในตำแหน่งนายอำเภอ มณฑลเจียะเจียง ท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต สามารถปกครองราษฎรให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ต่อมาท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตราชการ ท่านจึงได้สละลาภยศอันสูงเกียรติออกอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนานิกาย มหายาน ณ วัดแห่งหนึ่งในมณฑลฮกเกี้ยนได้รับฉายาว่า "ไต้ฮง" เมื่อได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้หมั่นบำเพ็ญศาสนกิจ ศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน ปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุธรรมอันวิเศษ

ท่านไต้ฮงพำนักอยู่ที่ วัดดังกล่าวเป็นเวลาหลายปี ด้วยจิตที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาต้องการออกโปรดสัตว์ ท่านจึงได้ออกธุดงควัตรจากเมืองฮกเกี้ยนไปตามเมืองต่างๆ ตลอดเส้นทางที่ท่านธุดงค์ผ่านไปนั้น เมืองใดที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ ท่านก็จะช่วยขจัดปัดเป่า บรรเทาทุกข์ให้เมืองใดที่ทำการสร้างถนนหรือสะพาน ท่านก็จะช่วยเหลือจนกระทั่งเสร็จเรียบร้อย ในบางแห่งที่มีโรคระบาด มีคนเจ็บและล้มตาย ท่านก็จะช่วยนำยารักษาโรคออกแจกจ่ายแก่ผู้เจ็บป่วย และออกบิณฑบาตไม้ มาทำโลงศพและนำศพไปบรรจุฝังตามธรรมเนียม



พระ ภิกษุไต้ฮงออกธุดงค์โปรดสัตว์อยู่หลายปี จนกระทั่งผ่านมายังเมืองแต้จิ๋ว ก็มีพุทธศาสนิกชนนิมนต์ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งบนภูเขาปัก ซัว อำเภอเตี่ยนเอี้ย ซึ่งตลอดเวลาที่ท่านได้พำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ท่านได้บำเพ็ญศาสนกิจอย่าง เคร่งครัด ด้วยความมีเมตตาธรรมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว ทำให้บรรดาสาธุชนที่มีความศรัทธาเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนาเป็น จำนวนมาก นอกจากนี้ ท่านยังได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดดังกล่าวจนกลายเป็นพระอารามใหญ่ เจริญรุ่งเรืองมาจนทุกวันนี้

ในบั้นปลายชีวิตของท่าน ได้ออกธุดงค์ไปอยู่จำพรรษาที่วัดเมี่ยงอัง ตำบลฮั่วเพ้ง ห่างจากอำเภอเตี่ยนเอี้ยไปประมาณ 15 กิโลเมตร ที่หมู่บ้านนี้มีแม่น้ำเหลียงเจียงไหลผ่าน แบ่งเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตก วัดเมี่ยงอังตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ในสมัยนั้นแม่น้ำเหลียงเจียงเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำไหลเชี่ยวกรากมาก อีกทั้งมีความกว้างใหญ่และลึก ประชาชนจึงใช้เรือเป็นพาหนะ ยามเมื่อเกิดมรสุมจะเกิดเหตุเรือล่มบ่อยๆ ทำให้มีผู้คนเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ท่านไต้ฮงจึงเกิดความเวทนาสงสารประชาชน จึงดำริที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหลียงเจียง เพื่อให้ประชาชนได้สัญจรโดยสะดวก ท่านจึงได้บิณฑบาตวัสดุก่อสร้างต่างๆ อยู่หลายปี จนในปีพ.ศ.1671 มีพ่อค้าใหญ่เดินทางมานมัสการท่าน และทราบว่าท่านจะสร้างสะพาน จึงได้นำช่างก่อสร้างและวัสดุมาร่วมสร้างสะพานด้วย

ส่วนบริเวณที่จะ สร้างสะพานนั้นท่านได้เลือกตรงหน้าศาลเจ้าหลักเมือง และดูฤกษ์ยามสำหรับการเริ่มงาน ในวันที่เริ่มสร้างสะพานสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดคือน้ำในแม่น้ำเกิดลดลงไปจน เกือบแห้งเป็นที่อัศจรรย์ บรรดาประชาชนและช่างต่างก็ก้มลงกราบท่านด้วยความศรัทธา ท่านกลับบอกว่าให้กราบฟ้าดินเถิด การครั้งนี้น้ำทะเลที่ปากแม่น้ำจะไม่ขึ้นลงเป็นเวลา 7 วัน เมื่อทราบเช่นนั้นพวกช่างจึงทำการสร้างรากฐานสะพานและสร้างถ้ำสำหรับระบาย น้ำจำนวน 19 ถ้ำ จนแล้วเสร็จโดยใช้เวลา 7 วันพอดี วันต่อมาน้ำในแม่น้ำเหลียงเจียงก็ขึ้นลงตามปกติ การก่อสร้างสะพานจึงเป็นไปด้วยความราบรื่นจนกระทั่งเสร็จ จัดว่าเป็นสะพานหินที่มีความยาวมาก และตั้งชื่อสะพานนี้ว่า "ฮั่วเพ็ง" หลังจากที่สร้างสะพานเสร็จท่านก็เริ่มอาพาธด้วยโรคชรา และมรณภาพลงด้วยอาการสงบ สิริอายุได้ 85 ปี ชาวเมืองจึงได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลและฝังร่างของท่านไว้ ณ ภูเขาฮั่วเพ็ง และยังสร้างศาลเจ้าประดิษฐานรูปเหมือน ไต้ฮงกงโจวซือไว้สักการบูชา มีนามว่า "ศาลเจ้าป่อเต็กตึ๊ง" มาจนทุกวันนี้

ในประเทศไทย ประมาณปีพ.ศ.2453 ชาวจีนโพ้นทะเลได้เข้ามาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย ด้วยความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา จึงร่วมกันจัดตั้งองค์กรสงเคราะห์สาธารณภัย เพื่อเจริญรอยตามกุศลเจตนาของท่านไต้ฮงกงโจวซือ โดยใช้ชื่อว่า "มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง" หรือที่เรารู้จักกันในนาม "มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง" ตั้งอยู่บนถนนพลับพลาไชย กทม.



พระไต้ฮงกง จึงเหมาะสมที่จะสักการะอยู่ในโต๊ะหมู่บูชาพระครับ ไม่ใช่ไปอยู่กับนางกวัก
:b7: แม้เราจะไม่รู้ว่าท่านบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์หรือไม่ก้ตามเพราะเป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าครับ :b8:

ไฟล์แนป:
.jpg
.jpg [ 50.54 KiB | เปิดดู 7585 ครั้ง ]

เจ้าของ:  k99 [ 21 มี.ค. 2010, 16:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

ขอบคุณทุกความเห็นค่ะ tongue
ถ้าไต้ฮงกงตั้งรวมได้แล้ว เสด็จพ่อราชการที่ 5 ล่ะ ตั้งรวมได้ป่าวคะ
จริงๆแล้วชั้น 2 มีที่ว่างเยอะค่ะ แต่ที่ไม่ตั้งชั้น 2 เพราะขึ้น-ลง ลำบาก(อายุเยอะแระ 555) ก็เลยคิดว่าอยู่ที่ ที่สะดวกต่อการบูชาจะได้ไม่เป็นอย่างที่หลายคนเคยบอกไว้ว่า "ถ้าตั้งแล้วไม่บูชาก็ไม่มีประโยชน์อะไร"

เจ้าของ:  กุหลาบสีชา [ 21 มี.ค. 2010, 23:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

เพิ่มเติมความเชื่อตามโบราณกาลในเรื่องทิศทางการตั้งโต๊ะหมู่บูชา...ตามนี้ค่ะ :b1:

:b8: :b8: :b8:

ทิศทางการตั้งโต๊ะหมู่บูชาแบบโบราณ
viewtopic.php?f=23&t=30215

เจ้าของ:  ลูกโป่ง [ 22 มี.ค. 2010, 10:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

ลองอ่านเพิ่มเติมในหนังสิอ ตาม LINK ด้านล่างค่ะ

การจัดโต๊ะหมู่บูชา(ฉบับปรับปรุง)


viewtopic.php?f=6&t=30220

:b48: :b8: :b48:

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 23 มี.ค. 2010, 09:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

คุณความดีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5
:b8:





เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 23 มี.ค. 2010, 09:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

นางกวัก..เป็นใคร?

นางกวัก นับเป็นรูปเคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก นางกวักมีรูปลักษณะสำคัญเป็นสตรีไทยสมัยโบราณ ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก ประกอบด้วยพาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล


นางกวัก งาแกะหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์



"นางกวัก" นับเป็นรูปเคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก มีรูปลักษณะสำคัญเป็นสตรีไทยสมัยโบราณ ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก ประกอบด้วยพาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล




นางกวัก งาแกะหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว



นั่งพับเพียบเรียบร้อยอยู่บนแท่นทอง หัตถ์ขวายกงอขึ้นในลักษณะท่ากวักมือ หัตถ์ซ้ายส่วนมากจะถือถุงเงิน และจารึกอักขระขอม เป็นหัวใจพระสีวลีผู้เป็นเอตทัคคะทางโชคลาภ คือ นะ ชา ลิ ติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เป็นที่กล่าวขานกันว่า "นางกวัก" สามารถดลบันดาลโชคลาภให้บังเกิดแก่ผู้กราบไหว้บูชา และทำมาค้าขึ้น ซื้อง่าย ขายคล่อง และมีเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย

โดยเฉพาะในมวลหมู่ผู้มีอาชีพค้าขายด้วยเชื่อว่านามของ "นางกวัก" มีความหมายในทางทำมาหากินคล่องเจริญก้าวหน้า ตามร้านค้าจึงพบเห็นรูปนางกวักบนหิ้งบูชา หรือแม้กระทั่งรถเข็นค้าขายในตะกร้าเก็บสตางค์ หรือมุมเล็กๆ ต้องมีรูปนางกวักอยู่ด้วยเสมอ

นอกจากนี้แล้วนามของ"นางกวัก" มีนัยเป็นการ "กวัก" เรียกผู้คนมาอุดหนุนร้านค้า รูป"นางกวัก" จึงมีพระเกจิอาจารย์นิยมสร้างขึ้นมากมายหลายสำนัก


นางกวัก หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง




วันชัยสุพรรณ เจ้าของรายการ"วัดดี พระเครื่องดัง พระเกจิขลัง" อธิบายให้ฟังว่า

ประวัตินางกวัก หรือแม่นางกวัก
ตามประวัติพุทธสาวกในสมัยพุทธกาลที่เมืองมิจฉิกาสีณฑนคร อยู่ไม่ไกลนักจากเมืองสาวัตถีมีครอบครัวหนึ่ง ประกอบอาชีพซื้อขายสินค้าต่างๆ เลี้ยงชีพสองสามีภรรยามีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ "สุภาวดี" ต่อมาสุจิตตพราหมณ์ผู้เป็นพ่อ ได้ขยายกิจการซื้อเกวียนมา ๑ เล่ม นำสินค้าไปเร่ขายในต่างถิ่น บางครั้งบุตรสาวขออนุญาตเดินทางไปด้วยเพื่อเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ

การไปค้าขายกับบิดานี่เองณ จุดพักขายสินค้า ทำให้สุภาวดี ได้มีโอกาสพบกับ "พระกัสสปเถรเจ้า" เป็นอริยสงฆ์แสดงธรรม


นางกวัก ทองแดงเถื่อน กรุนครศรีธรรมราช



หลังจากสุภาวดีฟังธรรมเทศนาอย่างตั้งใจแล้ว พระกัสสปเถรเจ้ากำหนดจิตเป็นอำนาจจิตพระอรหันต์ ประสิทธิประสาทพรให้สุภาวดีและครอบครัว โดยได้ตั้งกุศลจิตประสาทพรเช่นนี้ทุกครั้งที่สุภาวดีมีโอกาสไปฟังจนจบอำลากลับ


เมื่อสุภาวดีติดตามบิดาไปค้าขายยังเมืองอื่น ด้วยกุศลบารมีบันดาลให้สุภาวดีมีโอกาสฟังธรรมพระอริยสงฆ์อีกท่านหนึ่งนามว่า "พระสิวลีเถรเจ้า" ในถิ่นที่บิดานำสินค้าไปขายการได้ฟังธรรมอย่างตั้งใจ สุภาวดีจึงมีความรู้แตกฉานในหลักธรรมต่างๆเป็นอันมาก


นางกวัก หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม



พระสิวลีเป็นผู้มีชีวิตอัศจรรย์กว่าพระสงฆ์อื่น คือท่านอยู่ในครรภ์มารดานานถึง ๗ ปี ๗ เดือน จึงคลอดออกมา พร้อมด้วยวาสนา บารมี ที่ติดกับวิญญาณธาตุของท่านท่านจึงเป็นผู้มีลาภสักการบูชามาหาท่านตลอด เมื่อถึงคราวจำเป็นและต้องการ

ทุกครั้งที่สุภาวดีได้ฟังธรรมและลากลับ พระสิวลีเถรเจ้าได้กำหนดกุศลจิตประสาทพรให้สุภาวดีและครอบครัว เช่นเดียวกัน จิตของสุภาวดีจึงได้รับประสาทพรจากพระอรหันต์ถึง๒ องค์ ส่งผลให้บิดาทำการค้าได้กำไรไม่เคยขาดทุน

นายวันชัยอธิบายต่อว่า บิดารู้ว่า สุภาวดีคือผู้ที่เป็นสิริมงคลที่แท้จริง เป็นที่ไหลมาแห่งทรัพย์สมบัติของครอบครัวเวลาผ่านไปไม่นาน ครอบครัวร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีมีเงินทอง และกองเกวียนสินค้ามากมาย เทียบได้กับธนัญชัยเศรษฐี บิดาของวิสาขาแห่งแคว้นโกศล



เมื่อร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีแล้ว บิดาของสุภาวดีได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าปฏิบัติธรรมด้วยความศรัทธา พร้อมทั้งใช้ทรัพย์สินที่ได้มาจากบุญบารมีของลูกสาวนั้น บำรุงศาสนา เช่น สร้างอุทยานแห่งหนึ่งแล้วยกถวายเป็นที่พักแก่พระภิกษุสงฆ์จากทั่วทุกทิศได้พัก พร้อมทั้งสร้างวิหารแล้วยกให้เป็นของวัด ถวายปัจจัยแก่พระสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ

เมื่อนำสินค้าไปขายต่างเมืองก็ถามพระภิกษุ ภิกษุณี และประชาชนรวมถึงคนที่นับถือศาสนาอื่น ที่มีกิจธุระไปยังเมืองนั้นๆ บ้างก็จัดหาพาหนะไปส่งช่วยเหลือคนตลอด

ผู้คนต่างรับรู้เรื่องราวและบารมีของสุภาวดี(นางกวัก) ที่เป็นที่มาแห่งความร่ำรวยก่อโชคลาภทางการค้าขาย ทั้งเป็นผู้มีศีลธรรม และคุณธรรม แม้เมื่อสุภาวดีตายไปแล้ว ความมีอิทธิฤทธิ์ในทางโชคลาภและการค้า ก็เล่าสืบต่อกันมาถึงคนรุ่นหลัง มีผู้นับถือมากมายถึงกับปั้นรูปสุภาวดีไว้บูชา ขอให้การค้ารุ่งเรืองและความเชื่อดังกล่าวนี้ก็แพร่หลายเข้ามายังสุวรรณภูมิ จากการเผยแพร่ของพราหมณ์

"การสร้างนางกวัก มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งเก่าและใหม่ ท่านที่ปรารถนาอยากจะได้นางกวักไว้บูชาเพื่อให้การค้าขายเจริญรุ่งเรือง ก็ลองไปดูตามวัดวาอารามต่างๆ จะนิยมสร้างกันมาก ส่วนราคาถ้าเก่าหายากก็แพง ถ้าใหม่ก็ไม่แพง หรือบางท่านไปซื้อ(นางกวัก)ตามร้านเครื่องสังฆภัณฑ์ และนำ(นางกวัก)ไปให้พระเกจิอาจารย์ที่นับถือ อธิษฐานจิตปลุกเสก พุทธคุณก็เหมือนกัน"


ตำนานนางกวัก
ธิดาของ"ปู่เจ้าเขาเขียว"ส่วนอีกตำนานหนึ่งซึ่งเป็ของทางฟากไทยยังมีกล่าวถึงว่า มีความสืบเนื่องมาจากเรื่อง รามเกียรติ์ ตอนพระรามออกตามหานางสีดา

พระรามได้พบกับท้าวอุณาราชพญายักษ์เจ้านครสิงขร พระรามจึงแผลงศรเอาต้นกกเป็นศรมาถูกยอดอกท้าวอุณาราช คนทั้งหลายจึงเรียกกันว่า ท้าวกกขนาก

พระรามได้สาปให้ศรตรึงท้าวอุณาราชอยู่ภายในถ้ำเขาวงพระจันทร์ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของจ.ลพบุรี แล้วยังสาปสำทับไว้ว่า ท้าวกกขนากจะต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในถ้ำเขาวงพระจันทร์จนกระทั่งถึงศาสนาพระศรีอาริย์

นางประจันทร์ธิดาของท้าวอุณาราช ทราบเรื่องก็เข้ามาเฝ้าปฏิบัติเป็นเพื่อนบิดาทั้งยังเอาใยบัวมาทอทำเป็นจีวร เตรียมไว้ถวายเมื่อถึงคราวพระศรีอาริย์เสด็จมา เป็นการสร้างกุศลอุทิศให้บิดา

ขณะนั้นชาวเมืองต่างเกรงกลัวท้าวอุณาราชหรือท้าวกกขนาก จะฟื้นคืนชีพขึ้นมาอาละวาด เห็นนางประจันทร์เอาน้ำส้มสายชูไปหล่อที่ศรก็พากันขับไล่นางประจันทร์ พร้อมกับกลั่นแกล้งด้วยนานาประการ

ความได้ทราบไปถึง"ปู่เจ้าเขาเขียว" ผู้เป็นสหายของท้าวอุณาราชจึงส่งธิดาองค์หนึ่ง ซึ่งมีรูปโฉมงดงามเป็นที่สุด เป็นที่แสนเสน่หาแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงในแผ่นดิน มาเป็นเพื่อนนางประจันทร์ เพื่อนางประจันทร์จะได้เสื่อมคลายความเศร้าโศกลงบ้าง

ปรากฏว่านับแต่ธิดา(แม่นางกวัก) ของปู่เจ้าเขาเขียวมาอยู่เป็นเพื่อนนางประจันทร์แล้ว ประชาชนที่เคยเกลียดชังนางประจันทร์มาแต่ก่อนกลับใจเป็นรักใคร่ นำของกำนัลต่างๆ มาให้นางประจันทร์เป็นบรรณาการอยู่เสมอไม่ขาด

แม้การเดินทางจะแสนทุรกันดารเพียงไร ประชาชนเหล่านั้นก็หาย่อท้อไม่พยายามเดินทางมาด้วยความรัก และเมตตาต่อนางประจันทร์เป็นที่ยิ่งมุ่งหน้ามาทำบุญกุศลกันอย่างคับคั่งมากมาย ความเกลียดชังที่ท่วมท้นเป็นอันเสื่อมสลายไปสิ้น

ด้วยเหตุนี้ นางประจันทร์จึงตั้งชื่อให้ธิดาของปู่เจ้าเขาเขียวว่า "นางกวัก" ด้วยคุณงามความดีอันมหาศาลนี้สัตบุรุษุทั้งหลาย จึงได้ให้พระเกจิอาจารย์ผู้ขลังทางเวทมนตร์สร้างรูป "แม่นางกวัก" ขึ้นไว้เป็นที่สักการบูชา เพื่อผลทางมหานิยมในการค้าขาย
เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู ที่มา...
ที่มาลอกเขามาอีกที :b13:

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 23 มี.ค. 2010, 13:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

:b8: :b8: :b8:

หลับอยุ่ เขียน:
เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู ที่มา...
ที่มาลอกเขามาอีกที


คงไม่เป็นไรหรอกครับ
ถือเป็นการเผยแผ่ผลงานของท่านครับ

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  enlighted [ 12 พ.ค. 2010, 23:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาชิกใหม่ ถามผู้รู้ เรื่องการตั้งโต๊ะหมู่ ค๊า

ตั้งตรงไหนก็ได้คร๊าบบ
บูชาอยู่ที่ใจคร๊าบบ

แต่อย่าตั้งโต๊ะแบบหงายท้องน๊ะคร๊าบ

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/