วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 07:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 107 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มี.ค. 2010, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบเจ้าของกระทู้นะคะ

ตัวรู้คือจิตที่สามารถรู้อะไรมาตั้งแต่มันถูกสร้างขึ้นมาค่ะ จิตรู้แบบจำเอาเหตุการณ์ที่จิตนั้นเผชิญมาทั้งหมดเอาไว้กับจิตค่ะ

ผู้รู้คือผู้เข้าถึงธรรมค่ะ รู้โดยการรำลึกได้จากจิตว่าเคยเผชิญอะไรมาบ้างในอดีต ปริมาณความรู้ก็แล้วแต่กำลังของปัญญา ผู้รู้เรียกอีกอย่างว่าผู้มีปัญญาธรรม ปัญญาจะเป็นสุตตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา สามปัญญาที่คนไม่เข้าถึงธรรมไม่มีทางได้ การจะทำให้ได้ก็ต้องถือศีลและทำสมาธิค่ะ

ธาตุรู้ก็คือสภาวะที่จิตเข็มแข็งพอจะผุดเอาความจำออกมาได้น่ะค่ะ รู้เหตุที่เกิดจากอดีตเลยเข้าใจปัจจุบัน และรู้ผลของปัจจุบันคืออนาคตค่ะ

อย่างไรก็ตามทุกอย่างเป็นไปตามกรรมค่ะ จะได้เป็นผู้รู้ก็ต้องเริ่มปฏิบัติก่อน กรรมกำหนดไว้แน่นอนแล้วว่าใครค่ะ คนยังไม่รู้ก็ค่อยๆอธิษฐานจิตพร้อมกับปฏิบัติค่ะ แล้ววันนึงกรรมจะกำหนดให้เป็นผู้รู้เอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2010, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




41_1720.jpg
41_1720.jpg [ 31.42 KiB | เปิดดู 3652 ครั้ง ]
tongue
ในเมื่อต่างก็เป็นปัญญาชนในพุทธศาสนากันถ้วนทั่ว ต่อไปถ้าพูดถึงคำต่อไปนี้ คือ ทิฐิ สติ สมาธิ ขอให้ระบุชัดด้วยน่าจะดีนะครับ

ทิฐิ มี 3 อย่างคือ สัมมาทิฐิ ทิฐิ มิจฉาทิฐิ

สติ มี 3 อย่างคือ สัมมาสติ สติ มิจฉาสติ

สมาธิ มี 3 อย่างคือ สัมมาสมาธิ สมาธิ มิจฉาสมาธิ

มีนัยยะอย่างไร วิญญูชนทั้งหลายช่วยกันวิตกวิจารณ์กันดูนะครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตาธรรม เขียน:
tongue
ในเมื่อต่างก็เป็นปัญญาชนในพุทธศาสนากันถ้วนทั่ว ต่อไปถ้าพูดถึงคำต่อไปนี้ คือ ทิฐิ สติ สมาธิ ขอให้ระบุชัดด้วยน่าจะดีนะครับ

ทิฐิ มี 3 อย่างคือ สัมมาทิฐิ ทิฐิ มิจฉาทิฐิ

สติ มี 3 อย่างคือ สัมมาสติ สติ มิจฉาสติ

สมาธิ มี 3 อย่างคือ สัมมาสมาธิ สมาธิ มิจฉาสมาธิ

มีนัยยะอย่างไร วิญญูชนทั้งหลายช่วยกันวิตกวิจารณ์กันดูนะครับ


:b12: :b12: ทุกบทความเลยหรือค่ะ...บางบทความก็บอกในตัวของมันแล้ว ...แต่บางบทความก็อาจจะคลุมเครือ... :b39:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3620 ครั้ง ]
กบนอกกะลา เขียน:
ว่ากันไม่ได้หรอก..

ถ้าเอ่ย..คำว่า..ฌาณ..ใคร ๆ ก็นึกถึงแต่ภาพของ..การ..นั่ง..นิ่ง..เงียบ..ที่เป็นโลกียฌาณ..

แต่จะให้นึกว่า..ยื่น..เดิน..นั่ง..นอน..หรือแม้แต่..กำลังทำงานทำการอยู่..เกิดมีฌาณมีญาณอยู่ด้วยได้นั้น..มันนึกไม่ออก..ยิ่ง..ฌาณ 4 ที่เหลือแค่..รู้..อย่างเดียว..จะไปประกอบกิจการงานได้..นี้มันก็เกินจะจิตตนาการได้...หากแต่เมื่อประสพเองแล้ว..ก็คงไม่สงสัย

นี้ก็อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่เดิมประไตรปิกฎใช้คำว่า..สมาธิ..อย่างเดียว..จะได้ไม่ไปปนกันกับฌาณโลกีย์

:b12:


tongue :b12: อย่างนี้ได้มั๊ยค่ะท่าน กบฯ..
:b53: คนที่คำนวณปฏิทินโดยคิดในใจ แค่ถามว่า วันที่ 25 เมษายน 2580 ตรงกับวันอะไร
คิดไม่กี่วินาทีก็ตอบได้ว่าเป็นวันจันทร์ หรืออังคาร ฯ

:b53: นักเรียนที่สามารถคำนวณคณิต-ฟิสิก ที่สลับซับซ้อน หลายๆๆซับ หลายๆๆซ้อน
โดยคิดในใจไม่กี่นาทีก็ได้คำตอบ

ฯลฯ

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


แก้ไขล่าสุดโดย sirisuk เมื่อ 31 มี.ค. 2010, 09:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทิฐิ มี 3 อย่างคือ สัมมาทิฐิ ทิฐิ มิจฉาทิฐิ

สติ มี 3 อย่างคือ สัมมาสติ สติ มิจฉาสติ

สมาธิ มี 3 อย่างคือ สัมมาสมาธิ สมาธิ มิจฉาสมาธิ


อยากให้เราชาวพุทธศึกษาภาษาบาลีกันบ้าง เพื่อที่จะได้แยกศัพท์เหล่านั้นเข้าใจ

ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น

ความเห็นก็มีทั้งความเห็นถูก ความเห็นผิด เห็นถูกต้องเรียกเป็นศัพท์ว่า สัมมาทิฏฐิ (สัมมา+ทิฏฐิ)

ความเห็นผิดก็เรียกเป็นศัพท์ว่า มิจฉาทิฏฐิ (มิจฉา+ทิฏฐิ)

สติ แปลกันว่า ความระลึกได้ ความนึกได้

สติก็มีทั้งความระลึกถูกต้อง ความระลึกชอบ เรียกเป็นศัพท์ว่า สัมมาสติ (สัมมา+สติ)

ความระลึกผิดเรียกเป็นศัพท์ว่า มิจฉาสติ (มิจฉา+สติ)

สมาธิ แปลว่า ความตั้งใจมั่น ความที่จิตตั้งมั่น

สมาธิก็มีทั้งความตั้งใจมั่นผิด เรียกเป็นศัพท์ว่า สัมมาสมาธิ (สัมมา+สมาธิ)

ความตั้งใจมั่นผิด เรียกเป็นศัพท์ว่า มิจฉาสมาธิ (มิจฉา+สมาธิ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3565 ครั้ง ]
ชาติสยาม เขียน:
โดยย่อ

ก็คือคำว่า "จิต" ในปรมัตถธรรม 4 (รูป เจตสิก จิต และนิพพาน)
คุณลองค้นหาในรายละเอียดเอาได้ว่า จิตคืออะไร มีหน้าที่อะไร คุณสมบัติเป้นอย่างไร

ปกติเรามีผู้รู้กันอยู่แล้วทุกคน
สัตว์ทั้งหมด ตั้งแต่นรกขุมต่ำสุด จนถึงสวรรค์ชั้นสูงสุด มีจิตกันทุกผู้ทุกนาม

เพราะมีจิต ถึงเวียนว่าย
ถ้าไม่มีจิต ก็เช่น ก้อนหินดินทราย
ซึ่งไม่มีจิต มีแต่รูปธรรม ก็ไม่ต้องเวียนว่ายด้วยกรรม

ปกติผู้รู้ของเรา มีกำลังอ่อน ไม่สามารถรู้ว่าตัวเองนั้นเป้นอิสระได้
ถูกอำพรางว่าตนนั้นเป้นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งต่างๆ

คำว่าสิ่งต่างๆ ก้คือสังโยชน์ 10 ประการ


(ในเบื้องต้น ขอพูดเฉพาะขอบเขตของรูป)
ผู้รู้ ก้คือ จิตที่ได้สัมผัสเห็นถึงความเป้นอิสระของจิตที่ไม่ได้เป้นเนื้อเดียวกันกับกาย
อย่างนี้เรียกว่า ตั้งมั่นขึ้นมารู้กาย

จะมีความรู้เห้นขึ้นมาเลยว่า มี"เรา" อยู่ใน"ร่างกาย" เหมือนผีตัวเอง สิงตัวเองอยู่
คือจำกัดวงเข้ามา จากเดิมที่คำว่า"เรา" หมายถึงเราตามปกติ
ที่ทุกวันทุกคืนเราก้คือตัวเราที่เป้นอันหนึ่งอันเดียวกับร่างกาย
แต่ตอนที่ผู้รู้ตั้งมั่นขึ้นมาได้ คำว่า"เรา" จะไม่เป้นอันหนึ่งอันเดียวกับร่างกาย
นี่คือสภาพของผู้รู้
ไม่ได้มีความวิเศษณ์อะไรกว่านี้
คือรู้ว่า แท้จริงแล้วตัวเองเป็นอิสระจากกาย
(ที่จริงยังมีอีก 9 อย่าง ที่เราสามารถเป้นอิสระจากมันได้ ดุใน สัังโยชน์ทั้ง 10)

การทำผู้รู้ให้ตั้งมั่น ก็มีคำตอบเดียว คือการเพียรทำสัมมาสมาธิ
ก้คือสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
เป้นสิง่ที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งยง

:b8: :b8: :b8:

ถ้าข้าพเจ้าจะเข้าใจแบบนี้ผิดมั๊ยค่ะ
ผู้รู้ = จิต = วิญญาณ(ธาตุ) เป็นธาตุรู้ มีหน้าที่รู้เท่านั้น ไม่มีหน้าที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดมีอาการของจิต(เจตสิก)แต่อย่างใด
และยังไปเวียนว่ายตายเกิดต่อๆไปในภพภูมิอื่นๆ


อ้างคำพูด:
ปกติผู้รู้ของเรา มีกำลังอ่อน ไม่สามารถรู้ว่าตัวเองนั้นเป้นอิสระได้
ถูกอำพรางว่าตนนั้นเป้นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งต่างๆ

แสดงว่าผู้รู้ หรือจิต หรือวิญญาณ(ธาตุ)นี้ผสมกลมกลืนกับกายใจจนเหมือนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนแยกไม่ออก
นอกจากจะทำให้จิตมีกำลังตั้งมั่นจึงจะสามารถรู้ได้ว่าเป็นอิสระจากกันได้

กายใจของเราก็คือ ขันธ์ ๕ (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
วิญญาณขันธ์ หรือ จิต คือผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ
ตั้งแต่ เวทนาขัน สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และรูปขันธ์ ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
วิญญาณขันธ์นี้หากขันธ์ ๕ แตกสลาย วิญญาณขันธ์นี้ก็ดับไปพร้อมกับขันธ์ ๕ ด้วย

ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจอีกว่า วิญญาณหรือจิตในตัวเรา มีอยู่ 2 ตัว คือ
วิญญาณธาตุ(ตัวรู้ หรือธาตุรู้ รู้เฉยๆไม่ปรุงแต่งอะไร) กับ
วิญญาณขันธ์ (ที่มีในขันธ์ ๕ ที่รู้แล้วยังปรุงแต่งอะไรๆได้)

วิญญาณ 2 ตัวนี้ซ้อนกันอยู่สืบทอดสิ่งต่างๆถึงกันอย่างแนบสนิท วิญญาณธาตุรับรู้สิ่งต่างๆ บาป บุญ
กุศล อกุศล ผ่านมาจากวิญญาณขันธ์แล้วเก็บบันทึกไว้ในตัวรู้ หรือจิต หรือภวังคจิต หรือองค์แห่งภพ(ชาติ)

เพียงแต่เราทำสมถะกรรมฐานให้จิตตั้งมั่นแล้วเราจึงจะเห็นวิญญาณ 2 ตัวนี้แจกจากกันได้
แล้วถ้าจะให้วิญญาณหรือจิต รู้แจ้ง รู้ชัด รู้ตามความเป็นจริง รู้ไตรลักษณ์
เราจะต้องทำวิปัสสนากรรมฐาน


ผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แจงด้วยนะค่ะ :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




a_kao.jpg
a_kao.jpg [ 73.49 KiB | เปิดดู 3554 ครั้ง ]
tongue
สติ หน้าที่ของสติคือ รู้ทัน (ปัจจุบันอารมณ์) ระลึกได้ ไม่ลืม

สติที่จะเป็นสัมมา หรือ มิจฉา ต้องถูกสอน หรือ อบรมมาก่อน ให้มีไว้ในสัญญา จึงจะทำหน้าที่ได้ถูกต้องเป็นสัมมาสติได้

ผู้ที่อบรมสติ ก็คือ ปัญญา นั่นเอง เริ่มจากสุตต ถึงจินต และภาวนามยปัญญา

เช่นเมื่อได้ศึกษาศีล 5 รู้คุณแห่งศีล 5 เกิดศรัทธานำไปปฏิบัติ หลังจากนั้นไป สติจะมีศีล 5 เป็นหลักประจำใจ คอยรู้ทัน ระลึกได้ ไม่ลืมข้อศีล ไม่ล่วงข้อศีล

หรือในกลุ่มนักปฏิบัติธรรมที่มุ่งหน้าสู่พระนิพพาน ก็ย่อมจะต้องมีสุตตมยปัญญาเรื่องสติปัฏฐาน 4 อริยสัจ 4 มรรค 8 สามัญลักษณะ 3 เป็นต้น ไว้ในสัญญา หลักการแห่งธรรมเหล่านี้จะเป็นที่ระลึกของสติ เพื่อกำกับกายใจให้เดินไปบนทางแห่งมรรค เมื่อมีสติกำกับ สมาธิตั้งมั่นอยู่บนแนวทางแห่งมรรค จึงจักได้ชื่อว่า สัมมาสติ ความตั้งมั่นอยู่บนแนวทางแห่งมรรค 8 หรือสติปัฏฐาน 4 นั้นก็จึงเป็น สัมมาสมาธิ ดังนี้ เอวัง


:b27: :b27: :b27: :b1: :b1: :b1: :b12: :b12: :b12: :b16: :b16: :b16: :b8: :b8: :b8: onion onion onion onion
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 เม.ย. 2010, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


sirisuk เขียน:
ถ้าข้าพเจ้าจะเข้าใจแบบนี้ผิดมั๊ยค่ะ
ผู้รู้ = จิต = วิญญาณ(ธาตุ) เป็นธาตุรู้ มีหน้าที่รู้เท่านั้น ไม่มีหน้าที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดมีอาการของจิต(เจตสิก)แต่อย่างใด
และยังไปเวียนว่ายตายเกิดต่อๆไปในภพภูมิอื่นๆ


เรื่องที่ถามเป้นรายละเอียดของสิ่งที่เรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาท" นะครับ
ให้ลองศึกษาจากตรงนั้นจะดีกว่า ความรู้ของผมก็ได้แต่เดาๆและคิดๆเอา
จะหวังพึ่งพิงอะไรไม่ได้ดอกครับ




sirisuk เขียน:
แสดงว่าผู้รู้ นี้ผสมกลมกลืนกับกายใจจนเหมือนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนแยกไม่ออก

นี่แหละ ที่เรียกว่าอัตตา
อย่าว่าแต่กายใจเลย มันมากกว่านั้นอีก
เช่นบ้านของเรา เงินของเรา แฟนของเรา ชื่อเสียงของเรา เกียรติของเรา
ทั้งหมดนี้เป็นการที่จิตหลงไปยึดว่าเป้นเรา เป้นของเรา

เมื่อคราวใดสิ่งเหล่านี้ถูกลดค่าลง ถูกทำลาย ถูกกระเทือน เราจะรู้สึกทันทีว่า
เป้นการกระทบกระเทือน "เรา"

แม้แต่การที่คุณแต่งหน้าทาปาก ก็เป้นเครื่องสะท้อนให้เห็นว่า นี่คือเรา
เราต้องทาอย่างนี้ ต้องแต่งอย่างนี้ ไม่ใช่อย่างนี้ก็ไม่ใช่้เรา

แต่ไม่ต้องไปเลิกแต่งหน้าทาปากนะครับ
ฟังแล้วจะกลายเป้นว่าอัตตานี้ควรทำลาย
ก้เลยทิ้งเงิน ทิ้งบ้าน ทิ้งแฟน ทิ้งหน้าที่ เพื่อทิ้งอัตตา ซึ่งแก้ไม่ถูกจุด
กลายเป้นเลิกยึดสิ่งต่างๆ แล้วไปยึด"ความไม่มี" แทน

อันที่อยู่ตรงกลางนี่แหละครับ มันยากที่จะเข้าใจ
มันคือการ "มีแต่รู้ชัดว่าไม่ใช่ของเราจริง"


sirisuk เขียน:
นอกจากจะทำให้จิตมีกำลังตั้งมั่นจึงจะสามารถรู้ได้ว่าเป็นอิสระจากกันได้


อันนี้ลองทำดู จึงจะหายสงสัย


sirisuk เขียน:
กายใจของเราก็คือ ขันธ์ ๕ (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
วิญญาณขันธ์ หรือ จิต คือผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง รับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ
ตั้งแต่ เวทนาขัน สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และรูปขันธ์ ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
วิญญาณขันธ์นี้หากขันธ์ ๕ แตกสลาย วิญญาณขันธ์นี้ก็ดับไปพร้อมกับขันธ์ ๕ ด้วย


sirisuk เขียน:
[color=#FF00FF]ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจอีกว่า วิญญาณหรือจิตในตัวเรา มีอยู่ 2 ตัว คือ
วิญญาณธาตุ(ตัวรู้ หรือธาตุรู้ รู้เฉยๆไม่ปรุงแต่งอะไร) กับ
วิญญาณขันธ์ (ที่มีในขันธ์ ๕ ที่รู้แล้วยังปรุงแต่งอะไรๆได้)


"ผมคิดว่า" ไม่ใช่อย่างนั้นครับ

จิตได้ยินเสียง (ผ่านหู) นี่คือจิตเกิดแล้วดับไปแล้ว 1 ดวง
(คลื่นเสียงกระทบระบบหู) ผมเข้าใจว่า เขาเรียกกันว่า "โสตวิญญาน"

จิตเกิดที่ความทรงจำ จำได้หมายรู้ขึ้นมาว่าเวทนาทางหุที่เกิดนี้เป้นเสียง
นี่จิตเกิดแล้วดับไปอีกแล้ว 1 ดวง

"เป้นเสียงอะไร" พอทราบขึ้นมาก็ดับไปอีกแล้วหนึ่งดวง

โดยอาศัยสัญญาขันธ์ เกิดปรุงแต่งความกลัวขึ้นมา นี่คือเกิดดับไปอีกแล้ว 1 ดวง

อันนี้พอคร่าวๆนะครับ
ผมคิดว่าในความจริงมันละเอียดจนเกิดปัญญาผู้คนธรรมดาจะแยกแยะได้

ถามว่า แล้ว"วิญญานธาตุ" ที่คูณว่าล่ะ อยู่ไหน
มันก็อยู่ในทุกๆดวงที่เกิดดับนั่นเองครับ

เพราะไม่มีทางที่เจตสิกจะเกิดโดยไม่มีจิต
หากปราศจากธาตุรู้ที่ว่านี้ เราจะรู้เจตสิกทั้งหลายได้อย่างไร
ถ้าเราได้ยินเสียง แสดงว่าเรา"รู้" ว่ามีเสียง
"ผู้ที่รู้เสียง" นั่นแหละจิต
ผู้ที่รู้ว่าดีใจ รู้ว่าเสียใจ รู้ว่าหิว รู้ว่าหนาว นั่นแหละจิต
แต่ว่ามันผสมกันอยู่กับอะไรต่อมิอะไรจนเราแยกไม่ออก
แต่รู้แน่ๆว่าต้องอยู่ในนี้

ไม่ใช่ลักษณะที่ว่าเรามีวิญญานแบบถาวรอันหนึ่งอยู่ในร่าง
แล้วตัววิญญานผีถาวรอันนี้คอยไปเกิดใหม่ เข้าร่างใหม่

แต่มันเป้นจิตแต่ละดวงที่คอยส่งมรดกสืบทอดกันไปไม่จบสิ้น
คล้ายอาหาร ตอนแรกเป้นข้าวสาร หุงก็เป้นข้าวสุก
เอาไปผัดก็เป้นข้าวผัด เอาไปต้มก้เป็นข้าวต้ม
ใส่หมุก็เป้นข้าวต้มหมู ใส่ปลาก็เป้นข้าวต้มปลา
ข้าว เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่
ผลิตภัณฑ์ใหม่ ก็ไปบวกกับอันนี้อันนั้น กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ต่อๆกันไป




sirisuk เขียน:
เพียงแต่เราทำสมถะกรรมฐานให้จิตตั้งมั่นแล้วเราจึงจะเห็นวิญญาณ 2 ตัวนี้แจกจากกันได้
แล้วถ้าจะให้วิญญาณหรือจิต รู้แจ้ง รู้ชัด รู้ตามความเป็นจริง รู้ไตรลักษณ์
เราจะต้องทำวิปัสสนากรรมฐาน


อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ผมเห้นว่า มันไม่ได้มีวิญญานแยกกัน
แต่มันเป้นวิญญานที่เกิดดับสืบเนื่องต่อกัน
ระยิบระยับทั่วร่างกาย แล้วรู้เข้าไปสู่ใจอย่างระยิบระยับ
จนเห็นว่าเป็นอันเดียวกัน เห้นว่าเป้นตัวเรา เป้นร่างกายเรา

เหมือนแสงนีออนนี่แหละครับ ที่จริงเป้นแสงที่กระพริบนะ
กระพริบด้วยความถี่ที่เร็วมาก เกินกว่าตาของเราจะรู้ตามจริงว่ามันกระพริบ
เราเลยมองเห้นเป้นแสงเดียว นวบ สืบเนื่องกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 07:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




10309-8.gif
10309-8.gif [ 4.29 KiB | เปิดดู 3521 ครั้ง ]
yodchaw เขียน:
sirisuk เขียน:
tongue ตัวรู้ หรือผู้รู้ หรือธาตุรู้ คืออะไร?

จะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร? และรู้ได้อย่างไร?
:b8:


ขออนุโมทนาด้วยสำหรับเจ้าของกระทู้ สำหรับผู้ที่จะถามคำถามแบบนี้ย่อมบ่งบอกการใฝ่รู้ศึกษา บำเพ็ญ น้อมเข้ามาใส่จิตใจ กลั่นกรองจิตใจด้วย ไม่ใช่บุคคลที่สักแต่ว่าอ่าน หรือท่องจำความรู้ตามตำรา คัมภีร์ พระไตรปิฏกเท่านั้นแล้วอ้าง หรือยกนั้นนี้มา อวด คนอื่นๆ หากเป็นจอมยุทธในหนังจีนก็ต้องบอกว่า "ข้าน้อย เลื่อมใสท่านจริงๆ"
หากพิจารณาบทสวดมนต์เช้าจะเข้าใจชัดในเรื่องนี้ที่ มีขันธ์หนึ่ง มีขันธ์สี่ขันธ์ มีขันธ์ห้าขันธ์ กำลังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ นั้นหมายถึงมี ตัวรู้ ผู้รู้ คือมีขันธ์ก็ยังเวียนตายเวียนเกิด ยังไม่จบภพ จบชาติคือนิพพาน โดยง่าย
มาทำความเข้าใจ ตัวรู้ ธาตุรู้ หมายถึง ธาตุตามธรรมชาติที่มีอยู่เองแล้ว คือวิญญาณขันธ์ ที่จัดว่าเป็นธรรมโดยธรรมอยู่เองแล้ว
ส่วนผู้รู้ นั้นมี2สิ่งรวมกันเข้าคือ ผู้รู้ คืออัตตาตัวตน ที่หลงรู้ในปุถุชน หลงซ้อน เจตนา กับธาตุหรือวิญญาณขันธ์ ที่เรียกว่าอวิชา และ ผู้รู้ คืออัตตาตัวตนในฐานะสมมุติ ชั่วคราว ที่ดำริขึ้นมาใช้งานเท่านั้นที่เรียกว่าวิชา ในอริยะบุคคลทั้งหลาย คำว่าว่าผู้รู้อีกนัยหนึ่งคือผู้ยังไม่จบกิจพหรมจรรย์ อาจเป็นบำเพ็ญฌาณแล้วทรงฌาณ ทรงรู้อยู่ในฌาณนั้น หรือ เป็นผู้บำเพ็ญที่ปลง ในวิปัสนากรรมฐาน มาแล้วคือ ปลงรูป ปลงเวทนา ปลงจิต แต่ยังไม่ปลงฐานธรรม คือมาทรงธรรม มายึดรู้อยู่ มายึดสติตามดูรู้อยู่บ้าง มายึดปัญญาอยู่บ้างคอยพิจารณามันอนิจจังอยู่บ้าง แต่ไม่เคยปลงตัวพิจารณาเอง เป็นต้นฯ

จะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
คำถามนี้ไม่ชัดเจนเท่าไร จะให้อะไรเกิดขึ้น ตัวตน หรือ ผู้รู้ โดยปรกติก็หลงรู้ หลงยึด หลงติดกันอยู่แล้ว
แต่ที่จะตรงต่อความหลุดพ้น ความไม่ยึดติด เหตุที่ใด รู้เหตุนั้น ไม่สร้างเหตุที่นั้น หมายถึง การปลง ละ วาง หลงซ้อนรู้ ซ้อนธาตุ ก็ปลง สักแต่ว่า รู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ไปอะไรกับอะไร ไม่ต้องอะไรอีก และยกให้ความเป็นธรรมชาติ ที่ไม่ใช่เป็นไปเพื่อการมีตัวตน สำคัญตนแต่อย่างใด

และรู้ได้อย่างไร?
ปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตน ปลงได้ไม่ได้ คลายได้ไม่คลาย ผ่องแผ้วไม่ผ่องแผ้ว ยังสาระวนในจิตในใจ เรื่องนั้นนี้

คำตอบอาจไม่ชัดเจนเท่าไรก็ต้องอภัย ณ ที่นี้ด้วย


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุ ค่ะ

คำตอบของท่าน ทำให้มองเห็นได้ทั้งวัฏจักรเลยหละค่ะ...

กำลังรวบรวมธรรมจากครูบาอาจารย์เพื่อนำมาลงเพิ่มเติม ให้เกิดความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

จะทยอยนำมาลงอีกทีค่ะ ขอบคุณค่ะ
:b8:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




mini-mini-buddha1.jpeg
mini-mini-buddha1.jpeg [ 22.39 KiB | เปิดดู 3515 ครั้ง ]
:b44: :b44: :b44:

การพัฒนาจิต ก็คือการพัฒนาธาตุรู้ (ตัวรู้,วิญญาณธาตุ,ภวังคจิต,ฯ) ให้มีกำลังมากขึ้น
แล้วเอาธาตุรู้หรือตัวรู้นี้มานำทางให้กับชีวิต


ซึ่งต่างจากตัวรู้ทางโลกที่เมื่อพัฒนาให้มีกำลังมากขึ้น รู้มากขึ้นทางโลก
จึงสมมติเรียกว่า ความรู้ระดับนั้นระดับนี้ เช่น ตรี โท เอก เป็นปัญญาทางโลกที่ยังไม่ถึงความจริงสูงสุด
เข้าถึงความจริงได้แค่สภาวะสัจจะ คือความจริงที่เนื่องด้วยเวลา การแก้ปัญหาจากสมอง จากสัญญา เดี๋ยวก็ลืม
เดี๋ยวปัญหาก็เกิดใหม่ ไม่มีที่สิ้นสุด

แต่ตัวรู้สูงสุดเกิดจากดวงจิตที่มีความตั้งมั่น (สมาธิ) คนส่วนใหญ่ไม่ได้พัฒนากัน


จิตเป็นพลังงานที่มีอยู่กับทุกคน ร่างกาย (ขันธ์ ๕) เป็นเครื่องมือให้จิตได้พัฒนา หากพัฒนาธาตุรู้ตัวนี้ขึ้นมา
จะเกิดประโยชน์กับชีวิต เกิดคุณค่ามหาศาลยิ่งด้วยคุณค่าต่อชีวิต


เป็นปัญญาในธรรม ปัญญาเห็นแจ้ง การจะเข้าถึงได้ก็โดย

1. การพัฒนาจิตให้มีความตั้งมั่นเป็นสมาธิ (ปฏิบัติสมถะ)
แล้ว
2. ใช้พลังของจิตที่ตั้งมั่นนั้นไปพัฒนาให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง (ปฏิบัติวิปัสสนา)

ต้องเป็นภาคปฏิบัติเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าถึงปัญญาสูงสุดนี้ได้


ปัญญาในธรรม นั้นเป็นความรู้ในสัจจะคือความจริง ซึ่งมีอยู่เป็นไปอยู่ในตน
รวมเข้าก็ในสัจจะทั้ง ๔ คือ ในทุกข์ ในสมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
ในนิโรธความดับทุกข์ และในมรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ล้วนเป็นสัจจะคือความจริงที่มีอยู่ในตน ทุกข์ก็มีอยู่ในตน สมุทัยก็มีอยู่
นิโรธและมรรคก็มีอยู่ เมื่อปฏิบัติให้มีขึ้นก็มีอยู่ในตน


:b44: :b44: :b44:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b1:
:b12: :b12:

เอกอนไม่ได้ใช้ดาร์กี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คงไม่มีอะไรแล้ว..ละเน๊าะ

ขอเสนอต่อท่านประธาน..ว่า..

ขอปิดประชุม

:b12: :b12:


รออีกซักพักครับ....ยังมีสมาชิกสภาอีกหลายท่านที่ต้องการจะตั้งกระทู้ถามสดอยู่ :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sirisuk เขียน:

ตัวรู้ หรือผู้รู้ หรือธาตุรู้ คืออะไร?

จะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร? และรู้ได้อย่างไร?

...............................................

หุๆ

ธาตุรู้ ก็คิอ ตัว งู
ผู้รู้ ก็คือ คราบงู ลอกวิญญาณ

ชาวนาหัดสติปัฎฐาน เอางูไปเลี้ยงงงง
สุดท้ายยย ต้องตายย เพราะพิษงู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




new61.gif
new61.gif [ 1.3 KiB | เปิดดู 3438 ครั้ง ]
:b8: นำไปปล่อยตอนไหน...อย่างไร...หละท่าน โปรดชี้แนะ :b12:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 เม.ย. 2010, 12:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวรู้ คือ จิต
ผู้รู้ ก็คือ จิต
ธาตุรู้ ก็คือ จิต

จิตไม่ต้องทำให้เกิดขึ้น เพราะเป็นของที่มีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่รู้ว่ามี(อวิชาปกคลุม)

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 107 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 84 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร