ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ปริศนาธรรมจากพิธีกรรมในงานศพ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=30348
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 26 มี.ค. 2010, 11:36 ]
หัวข้อกระทู้:  ปริศนาธรรมจากพิธีกรรมในงานศพ

:b8: :b8: :b8:

ปริศนาธรรมจากพิธีกรรมในงานศพ อุบายการสอนธรรมะอันแยบคาย

ศาสนพิธี ประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ การกระทำแต่ละขั้นตอนนั้นโบราณท่านได้สอนธรรมะไว้ในพิธีกรรมเหล่านั้นไว้ด้วยอุบายอันแยบคาย เช่น ประเพณีพิธีกรรมในงานศพ

การรดน้ำกันที่มือของผู้ตาย ซึ่งบางท่านเข้าใจว่าเป็นการขออโหสิกรรม ความจริงแล้วมุ่งเตือนสติผู้ที่มาร่วมงานว่าผู้ที่ตายทุกคนไปแต่มือเปล่าไม่ได้อะไรติดตัวไปเลย แม้แต่น้ำที่เทลงฝ่ามือก็ไหลร่วง

เอาเงินเหรียญใส่ปาก ก็เพื่อจะเตือนให้รู้ว่า แม้แต่บาทเดียวก็เอาไปไม่ได้ เพราะสัปเหร่อบางคนเขายังควัก ออกมา"

มัดตราสังข์สามเปราะ มัดที่คอ หมายถึงบ่วงรักลูก มัดที่มือ หมายถึงบ่วงรักสามี-ภรรยา มัดตรงข้อเท้า หมายถึงบ่วงรักทรัพย์สมบัติ ติดอยู่สามบ่วงนี้ ไปนิพพานไม่ได้ ต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏฏ์ไม่มีจบสิ้น

เคาะโลงรับศีล ไม่ใช่ให้คนตายมารับศีล แต่เพื่อเป็นการบอกคนที่มาร่วมงานว่าเอาแต่มัวเมาประมาทขาดสติ ไม่สนใจในหลักธรรมคำสอน เมื่อตายไปหมดโอกาสทำความดี จะเคาะจนโลงแตกก็ลุกขึ้นมาไม่ได้

จุดตะเกียงหรือจุดเทียนไว้หน้าศพ เตือนให้รู้ว่าการเกิดของคนเราต้องการแสงสว่าง ต้องมีพระธรรมเป็นดวงประทีปช่วยส่องทาง เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต

สวดอภิธรรม มักสวดเป็นภาษาบาลี คนเป็นฟังไม่รู้เรื่อง จึงนึกว่าสวดให้คนตาย แต่จริงๆแล้วเป็นการสวดเพื่อสอนคนที่ยังมีชีวิตอยู่เพื่อที่จะได้นำหลักธรรมไปปฏิบัติให้เกิดผลดีในชีวิตประจำวัน ดังนั้นแม้จะฟังไม่เข้าใจแต่เพื่อให้การฟังสวดอภิธรรมเกิดผล ควรสำรวมส่งจิตไปอยู่กับเสียงพระสวด ให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเสียงพระสวดก็เกิดสมาธิจิตได้

บวชหน้าไฟ มักเข้าใจว่า เป็นการบวชจูงผู้ตายขึ้นสวรรค์ ความจริงนั้น ไม่ใช่ เพราะการบวชหน้าไฟเป็นการปลงธรรมสังเวช เบื่อหน่ายต่อชีวิตในโลกียวิสัย ไม่ประสงค์จะอยู่ในเพศฆราวาส มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น เข้าสู่มรรคผลนิพพาน

การนิมนต์พระจูงออกหน้าศพ เพื่อจะสอนคนที่ยังอยู่ให้ได้สำนึกว่า ตอนที่ยังอยู่ต้องเดินตามหลังพระ หมายความว่าได้เดินตามพระธรรมคำสอนของพระนั่นเอง จึงอยู่ดีมีสุข มีความเจริญก้าวหน้า

การเวียนซ้าย 3 รอบ หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้งสาม อันมี กามภพ รูปภพ อรูปภพ ด้วยอำนาจกิเลสตัณหาอุปทาน ก็จะเป็นทุกข์ไม่จบสิ้น ฉะนั้นต้องทวนกระแสกิเลส เป็นการสอนธรรมชั้นสูง จึงได้พาศพเวียนซ้าย

การใช้น้ำมะพร้าวล้างหน้าศพ เพื่อชี้ให้เห็นว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำสะอาด บริสุทธิ์ ผู้เข้าสู่มรรคผลนิพพาน ต้องชำระจิตให้สะอาดด้วยน้ำพระธรรม

การแปรรูป หลังจากเผาแล้ว มีการเก็บอัฐิ และมีการเขี่ยขี้เถ้าผู้ตายให้เป็นรูปร่าง กลับไปกลับมาเพื่อจะบอกว่า ได้กลับชาติใหม่แล้ว ตามวิบากของกรรมต่อไป

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  Bwitch [ 26 มี.ค. 2010, 11:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริศนาธรรมจากพิธีกรรมในงานศพ

รูปภาพ

:b43: ขออนุโมทนาค่ะ :b43:

เจ้าของ:  ดุสิตธานี [ 26 มี.ค. 2010, 12:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริศนาธรรมจากพิธีกรรมในงานศพ

tongue

ขอบคุณมากๆเลยคุณวรานนท์...คนไทยน้อยคนจะเข้าใจในพิธีกรรมงานศพนะคะ (เพิ่งทราบเช่นกัน)

พี่สใภ้อยู่ที่ ชลบุรี มีพี่สาวที่เคร่งมากๆ บอกว่า เทียนและธูปที่หน้ารูปผู้ตายจะต้องไม่ดับ ต้องจุดต่อเนื่องตลอดเวลาตั้งแต่วันที่เสียชีวิต จนครบ 100 วัน เพื่อบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ต่อผู้เป็นพ่อที่เสียไปแล้ว

เราเองก็พยายามหาเหตุหาผล ว่ามีประเด็นหรือจุดใหนบ้างที่จะเป็นการทำดีเป็นบุญกุศล...ก็คิดไม่ได้แต่ก็สรุปเองว่า ก็คงเป็นการแสดงออกที่ตั้งใจ มั่นคง อย่างแน่แท้เพื่อพ่อกระมัง (ที่จริงบุคคลที่เป็นลูกหลานหากได้รับหน้าที่นี้แล้ว ก็คงไปทำงานที่ใหนไม่ได้เพราะต้องคอยดูตลอดเรื่อยๆไม่ให้ธูปเทียนดับหรือหมด แบบนี้ ทำสมาธิ ภาวนาไปด้วยจะยิ่งได้กุศลมหาศาล )



:b13: :b8:

เจ้าของ:  ภาวิตา-พหุลีกตา [ 26 มี.ค. 2010, 20:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริศนาธรรมจากพิธีกรรมในงานศพ

พึ่งจะทราบก็วันนี้แหละครับ ไม่เคยรู้เลยว่าความหมายเป็นแบบนี้ :b44: :b44: :b44:

เจ้าของ:  chulapinan [ 26 มี.ค. 2010, 20:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริศนาธรรมจากพิธีกรรมในงานศพ

ขอบคุณที่เอามาบอกกันค่ะ

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 26 มี.ค. 2010, 21:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปริศนาธรรมจากพิธีกรรมในงานศพ

:b8: :b8: :b8:

โอ้กายไม่นานหนอ บังเกิดก่อแล้วกลับกลาย
ดุจฟองแห่งน้ำหมาย แล้วแตกดับโดยฉับพลัน
สิ้นลมแห่งหายใจ ชีพบรรลัย บ่ กลับหัน
ห่อนมีสิ่งสำคัญ เพื่อประโยชน์สักนิดเดียว
ทอดทิ้งดุจท่อนฟื้น กลิ้งเหนือพื้นสุธาเทียว
พองช้ำเน่าดำเขียว กลิ้งเหนือพื้นสุธาเทียว
ดูเถิดท่านทั้งหลาย บุรุษชาย คณานาง
ควรปลงปัญญาทาง ปรมัตถ อรรถธรรม
ปัญญาปรากฏแก่ จักษุแท้ บ่ ปิดงำ
ควรคิดพินิจจำ หีบศพนั้น..อันแลเห็น ฯ


ชีวิตความเป็นอยู่ ใครห่อนรู้กำหนดการ
เพียงแต่จะประมาณ เร็วแลช้าก่อนหน้าหลัง
ความตาย บ่ เลือกหน้า กษัตราพราหมาณัง
มีจนชนทุพพลัง แลเรืองฤทธิ์อิสสโร
หรือใครจะโกรธกริ้ว ชักหน้านิ่ว มุโมโห
หรืออ่อนหย่อนกาโย น้อมคำนับอภิวันท์
หรือให้แก้วเงินทอง เป็นก่ายกองมากครามครัน
หรืออ้อนวอนจำนรรจ์ ด้วยคำหวานสมานใจ
มัจจุราชไป่ยำเยง ด้วยคำหวานสมานใจ
มัจจุราชไป่ยำเยง แลบ่เกรงผู้ใด ๆ
ไป่รับคำนับใคร แล บ่ เกื้อกรุณัง
ถึงคราวแล้วเร่งรีบ เข้าคั้นบีบดวงชีวัง
ดุจนายเพชฌฆาตฟัง คำบัญชาไม่รารอ
ลงดาบโดยทันใด ฟันลงไปที่ตรงศอ
เชือดซ้ำกระหน่ำคอ แห่งนักโทษก็ปานกัน

สลักธรรม 3

เห็นความเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่งแห่งสรรพสิ่ง

ธรรมา อนัตตาติ ธรรมทั้งหลาย เป็นของไม่มีตัวตน
แม้กระนั้น ก็ยากยิ่งต่อการเข้าใจ

เพราะจริง ๆ แล้ว มันไม่มีของจริง มันเป็นแต่ของปลอม

เราใช้ของปลอมสอนกันทั้งสิ้น
ของปลอมอย่างไร...

ซากศพนั่นไง เป็นของปลอม เน่าเปื่อย ผุพัง สูญสลาย
กลายกับคืนสู่ ปฐมธาตุทั้งสี่
จะถือว่าเป็นของจริงไม่ได้ ถือเป็นของปลอม
แต่เราก็ยังประโยชน์นั้น ๆ ได้
เพราะโน้มนำปัญญาเข้าไปสู่สภาพแห่งความไม่คงที่นั้น ๆ

ความรู้ ปัญญา เหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจำเพราะ ผู้รู้หรือผู้ศึกษาธรรม
แต่ปัญญา เหล่านั้น เกิดขึ้นกับทุกผู้ทุกนาม ที่เห็น
ผู้จากไป มอดไหม้ในกองเพลิง

มันเป็นสภาพที่จิต เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต
เห็นชีวิต เป็นของไม่แท้ ไม่เที่ยง ไม่คงที่
แม้เราเอง ก็เช่นกัน

ดูบ่อย ๆ พิจารณาบ่อย ๆ ก็คลายความเห็นแก่ตัวลง

มีผู้ยังประโยชน์ จากสิ่งเหล่า
อันเกิดจากประเพณี วัฒนธรรมของไทย
เป็นภูมิปัญญาอันลึกซึ้ง ที่สั่งสมมานาน

เราไม่ได้บอกกับเด็กรุ่นใหม่ ๆ กันถึงสิ่งเหล่านี้
จึงมักไม่ค่อยเห็นวัยรุ่นไปมั่วสุมกันตามงานศพนัก

แต่มีไม่น้อย ที่ไปนั่งเล่นไพ่ เล่นไฮโลกัน นั่นเป็นของสนุก
จิตของเขาชอบแบบนั้น ก็เลยไปแบบนั้น
แต่ก็นั่นแหละ เวลาตัวเองใกล้จะตายขึ้นมา
ก็แทบเอาตัวเองไม่รอด เพราะเป็นผู้ประมาทมาตลอด
ไม่พร้อมจะตาย เพราะยังห่วงบ้านห่วงช่อง
ห่วงครอบครัว ห่วงสนุกสนาน ห่วง ฯลฯ
แต่ผู้พิจารณาเห็นความตายเป็นเรื่องปกติ
ธรรมชาติของจิต ผู้นั้น ก็วางจากอุปทานต่าง ๆ
ได้แล้วเป็นส่วนมาก จึงเป็นผู้ได้ประโยชน์
จากการไปงานศพ

เห็นไหมครับ ....
ไม่ใช่เห็นศพครับ...
แต่เห็นธรรม...

:b8: :b8: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/