ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=30563
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 02 เม.ย. 2010, 21:00 ]
หัวข้อกระทู้:  อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

ในเรื่องของอัตตา ยังคงต้องอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้ท่านทั้งหลายได้ศึกษา เรียนรู้และทำความเข้าใจ ใครจะมีความคิดความเห็น ค้าน ก็ไม่เป็นไร แต่ควรจะเป็นไปตามหลักความจริง เป็นไปตามหลักธรรมชาติ
ในตอนที่หนึ่ง ข้าพเจ้าก็บอกแล้วสอนแล้วอธิบายแล้วว่า พระพุทธพจน์ที่ปรากฏมีในพระไตรปิฎก
อันเกี่ยวกับเรื่องของ “อนัตตา”นั้น เป็นเพียงการสอนเฉพาะเรื่อง เฉพาะกาล และให้สอนให้สำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่ หรือพระภิกษุ ผู้ยังติดหลงใน ลาภ ,ยศ,สรรเสริญ ยังไม่บรรลุธรรมใดใด เท่านั้น
ดังข้าพเจ้าเขียนไว้ว่า “ข้าพเจ้าเอง ก็ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับคำว่า "อัตตา" เพราะข้าพเจ้าถือว่า
"สรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ล้วนมีตัวตน" การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสรรพสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเรื่องธรรมดา อาจนำมาใช้พิจารณาเป็นครั้งคราว หรือนำมาพิจารณา ตามแต่เหตุการณ์นั้นๆ ไม่นำมาพิจารณาอยู่เนืองๆ”
การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสรรพสิ่ง ก็คือ ไตรลักษณ์ อันได้แก่ ความไม่เที่ยง ,เป็นทุกข์,ความไม่ใช่ตัวตน หรืออนัตตานั่นเอง หรือหากจะอธิบายความเป็นอนัตตา ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏกฯ ได้ให้ความหมายไว้ว่า

“อนัตตาคือ, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน ได้แก่

๑) เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
๒) เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
๓) ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ ๔) เป็นสภาวธรรมอันเป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
****๕) โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา *****
จากความหมายตามพจนานุกรมฯดังกล่าว ก็ให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาให้ดีว่า
- เมื่อยังไม่สูญ คือยังไม่ถึงเวลาที่จะสูญ นั่นคือ อัตตา เมื่อสูญสลายไปแล้วนั่นคือ อนัตตา
-เมื่อยังมีเจ้าของนั้นคือ อัตตา เมื่อพ้นจากเจ้าของไปแล้ว นั่นคือ อนัตตา
-เมื่อยังอยู่ในอำนาจ เมื่อยังเป็นไปตามความปรารถนาจะช้าหรือเร็วก็ตามแต่ และต้องขึ้นกับการบังคับบัญชา นั่นคือ อัตตา ต่อเมื่อไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชา นั่นคือ อนัตตา
- สภาวธรรมทั้งหลายล้วนเป็นความคิดความรู้สึกหรือสภาพสภาวะจิตใจที่อยู่ในตัวบุคคล เป็นไปตามเหตุและปัจจัย อันหมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ทำให้เกิดผล (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) และ สิ่งหรือเรื่องที่เป็นหนทางให้เกิดผล นั้นคือ อัตตา แต่หาก ความคิด ความรู้สึก หรือสภาพสภาวะจิตใจ ทั้งหลายเหล่านั้น สิ้นไปหรือสูญไป จากตัวบุคคลตามเหตุและปัจจัย นั้นคือ “อนัตตา”
(ให้กลับขึ้นไปอ่านในตอนต้นของบทความนี้)

** ที่สำคัญยิ่ง **
พระพุทธองค์สอน ให้มองดูตัวตน ให้รู้จักตัวตน และให้เข้าใจในตัวตนของตนเองและผู้อื่น พระพุทธองค์สอนให้รู้จักว่า ตัวตนทั้งหลายล้วน เป็นทุกข์ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นเหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ และเป็นหนทางแห่งความดับทุกข์ หรือเรียกว่า “อริยสัจ ๔” อีกทั้งยังสอนในเรื่องของ “ฌาน” “โพชฌงค์ ๗” “สติปัฏฐาน๔” “อริมรรคมีองค์๘”ฯลฯ ซึ่งก็ล้วนเป็นการสอนให้ประพฤติปฏิบัติตัวตน สอนให้รู้จักตัวตน สอนให้รู้จักควบคุมตัวตน และสอนให้รู้จักสอนใจในตัวตน ทั้งสิ้น

ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ในตอนที่หนึ่งของเรื่อง “อัตตา คืออะไร” ว่า
“ความมีตัวตน หรือ อัตตาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน และในทางศาสนาใดใดก็ตาม อัตตา หรือตัวตน ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จักเป็นปัจจัยในอันที่จะทำให้บุคคลนั้นๆ สามารถบรรลุมรรคผล บรรลุนิพาน ได้ฉะนี้”

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
เขียนเมื่อ ๒ เมษายน ๒๕๕๓

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 05 เม.ย. 2010, 19:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

เอากระทู้ขึ้นมา เพื่อให้พวกที่เถียงกันได้อ่าน จะได้รู้สึกตัวกันซะบ้าง ว่า จริงดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ ว่า "พวกบ้า"

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 05 เม.ย. 2010, 19:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

เอากระทู้ขึ้นมา เพื่อให้พวกที่เถียงกันได้อ่าน จะได้รู้สึกตัวกันซะบ้าง

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 06 เม.ย. 2010, 20:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

คงจะมีหลายๆท่าน ที่ยังมีข้อสงสัยว่า ใน "สังโยชน์" (กิเลสที่มัดใจสัตว์ไว้ทำให้เกิดทุกข์) ธรรม ทำไมจึงมีคำว่า
"สักกายทิฏฐิ" อันหมายถึง ความเห็นว่าเป็นต้วของตน (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก)

สังโยชน์ ธรรม ในข้อ สักกายทิฏฐิ นี้ ข้อให้ท่านทั้งหลายพิจารณาให้ดี เนื่องจากตามหลักความเป็นจริง หรือตามหลักธรรมชาติแล้ว
"หากบุคคล มีความถือตัว เช่น ถือว่า เป็น ผู้มีอันจะกิน ,ถือว่าเป็นผู้มีความรู้,ถือว่าเป็นผุ้อาวุโสกว่า,ถือว่ามาก่อน ,ถือว่ามาหลัง,ฯลฯ ย่อมจะทำให้เกิดความทุกข์ คือ เกิดความคิด เกิดอารมณ์ เกิดความรู้สึก เมื่อได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆที่ไม่ถูกต้องตามใจ "

หากท่านทั้งหลายได้ศึกษา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ สังโยชน์ ๑๐ ก็จะพบ ว่า สังโยชน์เบื้องสูง จะมีคำว่า "มานะ" ความถือตัว อยู่
ซึ่งความจริงแล้ว สักกายทิฏฐิ ความถือว่าเป็นตัวของตัว นั้น มันไปขัดแย้ง กับ หลักธรรมต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไป ในตอนก่อน

ส่วนการถือว่าเป็นตัวของตนนั้น ในแง่หลักธรรมชาติ และการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันในสังคม ตั้งแต่ระดับปุถุชนคนทั่วไป จนไปถึงระดับ อริยะบุคคล ย่อมต้องถือว่า เป็นตัวของตน ตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ และยังตัองสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน แม้จะปลีกวิเวกก็ตาม
แม้จะถือว่าเป็นตัวของตน แต่ไม่ถือตัว ว่าเป็นใคร เป็นอะไร ความทุกข์ก็จะเสื่อมคลายไป ไม่เกิดความคิด อารมณ์ ความรู้สึก อันก่อให้เกิดความทุกข์
อันนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายได้นำไปคิดพิจารณาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และย่อมสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านเอง

เจ้าของ:  อนัตตาธรรม [ 08 เม.ย. 2010, 08:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

cool
สักกายทิฐิ เป็นอัตตา หรือ กูตัวพี่ ฆ่าครั้งเดียว ตาย คือฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรค

มานะ หรือ มานะทิฐิ เป็นอัตตาหรือ กู ตัวน้อง ต้องฆ่า 3 ครั้ง ด้วยสกิทาคามีมรรค(ตัดขา)
อนาคามีมรรค (ตัดมือ)
อรหัตมรรค (ตัดคอ) แล้วมานะทิฐิ กู ตัวน้องจึงจะตายเกลี้ยงครับ

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12:

ไฟล์แนป:
dd148.jpg
dd148.jpg [ 101.35 KiB | เปิดดู 5779 ครั้ง ]

เจ้าของ:  enlighted [ 08 เม.ย. 2010, 08:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

30563.อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

คืออวิชชา

เจ้าของ:  Kamonchanok [ 08 เม.ย. 2010, 12:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

enlighted เขียน:
30563.อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

คืออวิชชา


:b12: :b12: :b12:

:b17: :b17: :b17:

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 09 เม.ย. 2010, 19:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

อวิชชา คือ ความไม่รู้
ถ้าคุณผู้ใช้ชื่อว่า "enlighted" จะใช้วิจารณญาณ อ่านให้จบ ทุกตอน ก็จะเกิดความรู้ ไม่ใช่ทำตัวเป็นประเภท "ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด"
ถ้าคุณจะแสดงความคิดเห็น ตามความรู้ความเข้าใจของคุณ คุณก็แสดงออกมา เพราะต่อนี้ไปในเวบฯนี้ จะมีแต่การศึกษาพระไตรปิฎก ร่วมกัน เพื่อความเข้าใจ เพื่อความรู้ ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นไปตามหลักธรรมชาติ เป็นไปตามหลักความจริง ไม่มีการอวดรู้ อวดฉลาด พล่ามเพ้อเจ้อ ไม่สามารถพิสูจน์ได้
นี้แหละ ศาสนา จึงจะเจริญ เพราะความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความเข้าใจในความหมายแบบเดียวกัน และสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง อีกทัังยังสามารถพิสูจน์ให้ผู้อื่นได้รู้ได้เห็นได้เข้าใจ ตามหลักความเป็นจริง ตามหลักธรรมชาติ


เวบฯอื่น จะเป็นอย่างไรก็ช่างเขา แต่เวบฯนี้ ข้าพเจ้าเห็นควรว่า ให้ทุกท่านที่เข้ามาได้แสดงความคิดเห็น แสดงความรู้เพื่อปรึกษา หรือทำความรู้ ความเข้าใจ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

เจ้าของ:  enlighted [ 09 เม.ย. 2010, 21:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

sriariya เขียน:
อวิชชา คือ ความไม่รู้
ถ้าคุณผู้ใช้ชื่อว่า "enlighted" จะใช้วิจารณญาณ อ่านให้จบ ทุกตอน ก็จะเกิดความรู้ ไม่ใช่ทำตัวเป็นประเภท "ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด"


ใช้วิปัสนาญาณ แม่นกว่า

ความรู้เกิด แล้วความรู้ดับไป

เจ้าของ:  noohmairu [ 09 เม.ย. 2010, 22:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

:b17: อนุโมทนาสีอานิยะที่มาแสดงอัตตาให้ดู แจ่มๆ :b17:

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 24 เม.ย. 2010, 20:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

การใช้วิจารณญาณ ในมนุษย์ หรือ สัตว์ เดรัจฉานบางชนิด ก็คือ วิปัสสนา อย่างหนึ่ง แต่มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ตรงที่ว่า การใช้วิจารณญาณ นั้น จะใช้จำเพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็ย่อมเกี่ยวข้องกับหลักธรรมตามศาสนาอยู่ในตัวของการใช้วิจารณญาณ นั่นก็คือ ระลึก ดำริ
ที่อธิบายนี้ เป็นการโปรดพวกท่านทั้งหลายได้ทำความเข้าใจเอาไว้

เจ้าของ:  natdanai [ 26 เม.ย. 2010, 12:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

sriariya เขียน:
เวบฯอื่น จะเป็นอย่างไรก็ช่างเขา แต่เวบฯนี้ ข้าพเจ้าเห็นควรว่า ให้ทุกท่านที่เข้ามาได้แสดงความคิดเห็น แสดงความรู้เพื่อปรึกษา หรือทำความรู้ ความเข้าใจ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

:b35: :b35: :b35:

เจ้าของ:  จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 28 เม.ย. 2010, 20:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

ถ้าผู้ใดจะแสดงความคิดเห็น ตามความรู้ความเข้าใจ
ก็แสดงออกมา เพราะต่อนี้ไปข้าพเจ้าคิดว่าในเวบฯนี้
จะมีแต่การศึกษาพระไตรปิฎก ร่วมกัน เพื่อความเข้าใจ
เพื่อความรู้ ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
และเป็นไปตามหลักธรรมชาติ เป็นไปตามหลักความจริง
ไม่มีการอวดรู้ อวดฉลาด พล่ามเพ้อเจ้อ ไม่สามารถพิสูจน์ได้
นี้แหละ ศาสนา จึงจะเจริญ
เพราะความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มีความเข้าใจในความหมายแบบเดียวกัน
และสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง
อีกทัังยังสามารถพิสูจน์ให้ผู้อื่นได้รู้ได้เห็นได้เข้าใจ
ตามหลักความเป็นจริง ตามหลักธรรมชาติ

เวบฯอื่น จะเป็นอย่างไรก็ช่างเขา ไม่อยากกล่าวถึง เพราะมันเป็นเรื่องของความคิด ความเข้าใจของพวกเขา
แต่เวบฯนี้ ข้าพเจ้าเห็นควรว่า ให้ทุกท่านที่เข้ามาได้แสดงความคิดเห็น
แสดงความรู้เพื่อปรึกษา หรือทำความรู้ ความเข้าใจ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

เจ้าของ:  enlighted [ 28 เม.ย. 2010, 21:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

sriariya เขียน:
ถ้าผู้ใดจะแสดงความคิดเห็น ตามความรู้ความเข้าใจ
ก็แสดงออกมา เพราะต่อนี้ไปข้าพเจ้าคิดว่าในเวบฯนี้
จะมีแต่การศึกษาพระไตรปิฎก ร่วมกัน เพื่อความเข้าใจ
เพื่อความรู้ ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
และเป็นไปตามหลักธรรมชาติ เป็นไปตามหลักความจริง
ไม่มีการอวดรู้ อวดฉลาด พล่ามเพ้อเจ้อ ไม่สามารถพิสูจน์ได้
นี้แหละ ศาสนา จึงจะเจริญ
เพราะความรู้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มีความเข้าใจในความหมายแบบเดียวกัน
และสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง
อีกทัังยังสามารถพิสูจน์ให้ผู้อื่นได้รู้ได้เห็นได้เข้าใจ
ตามหลักความเป็นจริง ตามหลักธรรมชาติ

เวบฯอื่น จะเป็นอย่างไรก็ช่างเขา ไม่อยากกล่าวถึง เพราะมันเป็นเรื่องของความคิด ความเข้าใจของพวกเขา
แต่เวบฯนี้ ข้าพเจ้าเห็นควรว่า ให้ทุกท่านที่เข้ามาได้แสดงความคิดเห็น
แสดงความรู้เพื่อปรึกษา หรือทำความรู้ ความเข้าใจ ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น


เหอๆๆ

ซ้ายหัน ขวาหัน

อย่าออกนอกแนว ต้องตามแนวศรีอารีย์ เท่านั้นเหรอ

แนวศรีอารีย์ อีกนาน
รอให้หมดสมัยพุทธสมณะโคดมก่อน

เจ้าของ:  noohmairu [ 28 เม.ย. 2010, 23:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อัตตา คือ อะไร ตอนที่ ๒

sriariya เขียน:
การใช้วิจารณญาณ ในมนุษย์ หรือ สัตว์ เดรัจฉานบางชนิด ก็คือ วิปัสสนา อย่างหนึ่ง แต่มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ตรงที่ว่า การใช้วิจารณญาณ นั้น จะใช้จำเพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็ย่อมเกี่ยวข้องกับหลักธรรมตามศาสนาอยู่ในตัวของการใช้วิจารณญาณ นั่นก็คือ ระลึก ดำริ
ที่อธิบายนี้ เป็นการโปรดพวกท่านทั้งหลายได้ทำความเข้าใจเอาไว้


อิอิ สีอานนะยะ

พระพุทธสมณโคดมให้ใช้ วิปัสสนาญาน ละจ้าๆๆ

ความเข้าใจ ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา บังคับบัญชาไม่ได้


อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/