วันเวลาปัจจุบัน 11 พ.ค. 2024, 22:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านชาติสยามงับ
ผมก็ไม่เคยเห็น พวกที่เป็นลูกศิษย์พระที่ภาวนาสาย พุทโธ
มาโจมตีแต่ สาย พุทโธ ตลอดเวลา
ว่า พุทโธ ตัวแข็งบ้าง พุทโธ ฌาน 2 บ้าง
พุทโธ ทำแล้วหลง พวกสายพุทโธ คลาดเคลื่อนบ้าง พระเหยียบพระสงสัยต้องยกให้พวกที่ว่าพุทโธแล้ว

คนนะ เกิดจากพ่อและแม่ แต่มาด่าพ่อแม่ว่า พ่อแม่นี่ไม่ดี ปู่ย่าไม่ดี พวกนี้มันชาติตระกูลไม่ดี
ไม่มีพระที่ไหนจะมาเทศน์ให้ทะเลาะกันมีแต่ พระที่ว่าพวกภาวนาพุทโธ ให้ร้ายแบบนิ่มนวล เชื่อดแบบเบาๆ
ฟังแล้ว สังคมนี่น่าสงสารนะ พุทโธ เอโกทิภาวะ มันฌาน 2 ตัวแข็ง อะไรกันหนักหนาจะโจมตีไปถึงไหน
นี่ก็ทนฟังมานะ เลยเก็บมาเล่าให้ฟัง


อยากจะขอคุยด้วยนะครับ

แยกความคิดให้มันชัดๆว่า
1. หลวงพ่อ โจมตีบุคคลที่สอนพุทธโธ
2. หรือโจมตีคำบริกรรม ปฏิเสธอคำบริกรรม
3. หรือโจมตีการขาดสติรู้คำบริกรรม

ข้อ 1 กับ 2 มันจริงไหม
หรือที่จริงมันคือข้อ 3


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้มาดูการเจริญสติปัฏฐานครับ
จากหนังสือแด้เธอผู้มาใหม่
ท่านเขียนไว้ตอนยังไม่บวช

อ้างคำพูด:
3. การเจริญสติปัฏฐาน

เมื่อพวกเรามีเครื่องมือ หรืออาวุธในการปฏิบัติธรรมแล้ว
ขั้นตอนต่อไปผมจะแนะนำให้พวกเราเจริญสติปัฏฐาน

คือมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ กาย เวทนา จิต และ/หรือ ธรรม
ตามความถนัดของแต่ละบุคคล

เช่นให้รู้อิริยาบถ รู้ความเคลื่อนไหวระหว่างการเดินจงกรม
รู้ลมหายใจเข้าออก

เบื้องต้นถ้าจิตยังไม่มีกำลัง ก็ให้รู้ไปอย่างสมถะ
คือเอาสติจดจ่อสบายๆ ลงในกายที่ถูกรู้นั้น

เมื่อจิตมีกำลังขึ้นแล้ว ก็ให้เห็นว่า อิริยาบถ ความเคลื่อนไหวกาย หรือลมหายใจนั้น
เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ถูกเห็น ไม่ใช่จิต
มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตานั้นเอง

เมื่อทำได้อย่างนั้นแล้ว จิตจะมีกำลังสติสัมปชัญญะมากขึ้นอีก
หากนามธรรมใดปรากฏกับจิต ก็สามารถจะรู้เท่าทันได้
เช่นเกิดความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ เกิดกุศล อกุศล ต่างๆ
ก็ให้รู้ทันนามธรรมนั้น ในลักษณะสิ่งที่ถูกรู้ เช่นเดียวกับการรู้รูปนั่นเอง

อนึ่ง คนไหนมีกำลังรู้นามธรรมได้เลย ผมมักแนะให้รู้นามธรรมไปเลย
หรือผู้ไม่ถนัดจะระลึกรู้นามธรรม
สมัครใจจะรู้รูปธรรมอย่างเดียว ก็ได้

เมื่อจิตรู้ รูปธรรม หรือนามธรรมอย่างต่อเนื่องแล้ว
พอมีกำลังสติปัญญามากขึ้น ก็จะเห็นว่า
เมื่อจิตไปรู้รูปธรรมหรือนามธรรมต่างๆ แล้ว
จิตจะมีความยินดี ยินร้าย หรือเป็นกลางขึ้นมา

ผมมักแนะนำหมู่เพื่อน ให้ระลึกรู้ความยินดี ยินร้าย หรือความเป็นกลางนั้น
เมื่อจิตรู้ความเป็นยินดี ยินร้ายแล้ว ก็จะเห็นความยินดี ยินร้ายนั้น
เกิดดับเช่นเดียวกับรูปธรรมและนามธรรมทั้งปวงนั้นเอง
แล้วจิตปล่อยวางความยินดียินร้าย เข้าไปสู่ความเป็นกลางของจิต

ตอนแรกความเป็นกลางๆ จะมีสั้นๆ แล้วก็มีความยินดี ยินร้ายเกิดขึ้นอีก
ต่อมาชำนิชำนาญขึ้น จิตจะเป็นกลางมากขึ้นตามลำดับ
ก็ให้ผู้ปฏิบัติรู้อยู่ที่ความเป็นกลางของจิต
เมื่อจิตมีกำลังขึ้น ก็จะสามารถจำแนกขันธ์ละเอียดต่อไปจนเข้าถึง ใจ ได้

ในขั้นที่จิตเฝ้าระลึกรู้ความเป็นกลางนั้น
ปัญญาชนจะเกิดโรคประจำตัว 2 ประการเป็นส่วนมาก
คือ (1) เกิดความเบื่อหน่าย แล้วเลิกปฏิบัติ
หรือ (2) เกิดความลังเลสงสัย ว่าจะต้องทำอะไรต่อไปอีกหรือไม่
แล้วเลิกปฏิบัติโดยการ รู้
หันมาคิดค้นคว้าหาคำตอบด้วยการคิดเอา

แท้จริงเมื่อจิตเข้าไปรู้อยู่ที่ความเป็นกลางแล้ว ก็ให้รู้อยู่อย่างนั้น
แล้วจิตเขาจะพัฒนาของเขาไปเองเมื่อกำลังของ สติ สมาธิ ปัญญาสมบูรณ์เต็มที่

นี้เป็นข้อสรุปแนวทางการปฏิบัติธรรมโดยสังเขป
ที่ขอฝากไว้ให้กับหมู่เพื่อนเพื่อประกอบการพิจารณาปฏิบัติต่อไป


อ้างคำพูด:
จากแนวทางอันเดียวกันข้างต้น
เมื่อแต่ละคนลงมือปฏิบัติธรรมจริงๆ
กลับปรากฏปัญหาปลีกย่อยแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก
ปัญหาหลักก็มาจาก การเจริญสติสัมปชัญญะ ไม่ถูกต้อง

พวกเราจำนวนมากในขณะนี้ ยิ่งปฏิบัติ ยิ่งเกิดความคลาดเคลื่อน
ยิ่งขยัน ยิ่งพลาดไปไกล
จุดที่พากันพลาดมากในช่วงนี้ก็คือ
แทนที่จะ รู้ ตามความเป็นจริง
พวกเรากลับไป สร้าง อารมณ์อันหนึ่งขึ้นมา
แล้วพากันเข้าไปติดอยู่ในอารมณ์อันนั้น


ความผิดพลาดนั้นเกิดจากบางคนรู้สึกว่าตนฟุ้งซ่านมากไป
จึงเห็นว่าจำเป็นต้องฝึกสมถกรรมฐานเสียก่อน

แล้วการฝึกสมถกรรมฐานนั้น ก็กระทำอย่างผิดพลาด
คือแทนที่จะกระทำสัมมาสมาธิ
กลับไปทำมิจฉาสมาธิอันไม่ประกอบด้วยความรู้ตัว
โดยการเพ่งเข้าไปที่อารมณ์อันเดียว
กล่อมจิตให้เคลื่อน เคลิ้ม เข้าไปเกาะอารมณ์อันเดียว
แทนที่จะมีสติระลึกรู้อารมณ์อันเดียวไปอย่างสบายๆ
โดยมีความรู้ตัวไม่เผลอ ไม่เพ่ง

จิตแค่ระลึกรู้อารมณ์อันเดียวอย่างสบายๆ เป็นธรรมเอก

เมื่อทำมิจฉาสมาธิ จิตเคลื่อนไปเกาะอารมณ์ที่สร้างขึ้นมา
พอหยุดการทำสมาธิ หันมาดูจิต หรือเจริญสติปัฏฐาน
ก็เอาจิตที่เกาะติดอารมณ์นั้นเอง มาใช้ดูจิต
ซึ่งจิตชนิดนี้ ใช้เจริญสติปัฏฐานไม่ได้จริง
เพราะกระทั่งจิตติดอารมณ์อยู่ก็มองไม่เห็นความจริงเสียแล้ว

สาเหตุของความผิดพลาดที่เป็นกันมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ
แทนที่จะรู้อารมณ์ไปตามธรรมดา ง่ายๆ สบายๆ
พวกเราจำนวนมากกลัวจะเผลอ กลัวจะหลงมากเกินไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่พบกับผม หรือใกล้จะพบกับผม
จิตจะเกิดการตื่นตัวขึ้น เกิดอาการเกร็ง ระวังตัวแจ
ไม่ผิดอะไรกับนักวิ่ง เวลาเข้าเส้นสตาร์ท

สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ การปฏิบัติธรรมด้วยความอยาก
เช่นอยากรู้ธรรมเห็นธรรมเร็วๆ
อยากเป็นคนเก่ง เป็นดาวเด่น อยากได้รับการยอมรับและคำชมเชยจากหมู่เพื่อน
พออยากมาก ก็ต้อง "เร่งความเพียร"
แต่แทนที่จะเจริญสติสัมปชัญญะอย่างเป็นธรรมชาติให้ต่อเนื่องตลอดเวลา
อันเป็นความหมายที่ถูกต้องของการเร่งความเพียร
กลับกลายเป็นการปฏิบัติด้วยความหักหาญ เคร่งเครียด
ดูผิวนอกเหมือนจะดี แต่จิตภายในไม่มีความสงบสุขใดๆ เลย

สาเหตุที่นึกได้ในตอนนี้ทั้ง 3 ประการนี้แหละ
ทำให้พวกเราจำนวนมาก หลงไปยึดอารมณ์อันหนึ่งไว้
แล้วคิดว่า สามารถรู้จิตรู้ใจได้อย่างแจ่มชัด
ตอนนี้บางคนพอจะแก้ไขได้บ้างแล้ว
เมื่อเริ่มรู้ทัน การที่จิตไปสร้าง ภพของนักปฏิบัติขึ้นมา
แทนที่จะ รู้ สิ่งที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง

มีเรื่องขำๆ เรื่องหนึ่งคือน้องคนหนึ่งจิตติดอารมณ์ภายในอยู่
ผมก็แนะนำว่า ให้ดูให้รู้ว่ากำลังติดอยู่
ถ้ารู้แล้วจะได้กลับออกมาอยู่ข้างนอก
และแทนที่จะเพ่งเข้าไปข้างใน
ให้พยายามรู้ตัวออกไปยังภายนอก ออกไปสัมผัสสิ่งแวดล้อมให้ดี
จิตที่ติดอยู่ข้างในจะได้หลุดออกมา
น้องคนนั้นฟังแล้วกลุ้มใจมาก เพราะคิดว่าผมสอนให้ส่งจิตออกนอก
ยังดีว่าสงสัยแล้วถามผมเสียก่อน
ไม่นำไปเล่าถวายครูบาอาจารย์ ว่าผมสอนให้ส่งจิตออกนอก
มิฉะนั้น ถ้าท่านพบผม ท่านคงทุบผมตกกุฏิเลย

ความจริงการที่หลงสร้างอารมณ์ออกมาอันหนึ่ง
แล้วตนเองเข้าไปติดอยู่ภายในนั้น
ก็เป็นการส่งจิตออกนอกแล้ว คือออกไปนอกจาก รู้
ผมพยายามแก้การส่งจิตออกไปสร้างภพโดยไม่รู้ตัวให้
ไม่ได้ปรารถนาจะให้หัด ส่งจิตออกนอก แต่อย่างใด


ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พวกเราส่วนน้อยเป็นกัน
ได้แก่การหลงตามอาการของจิต
เช่นหลงในนิมิต แสง สี เสียง ต่างๆ
หรือหลงในการกระตุกของร่างกาย ฯลฯ
พอเกิดอาการขึ้น บางคนก็ยินดี บางคนก็ยินร้าย
ต้องคอยปลอบคอยแนะให้หันมาสังเกตรู้ความยินดียินร้ายของจิต
จนจิตเข้าถึงความเป็นกลางเอง
แทนการไปเพ่งใส่อาการต่างๆ เหล่านั้น
และมีราคะ โทสะ หรือโมหะ ครอบงำโดยไม่รู้ตัว

การปฏิบัตินั้น ถ้าจะป้องกันความผิดพลาด
ก็ควรจับหลักให้แม่นๆ ว่า
"เราปฏิบัติเพื่อรู้ทันกิเลสตัณหา ที่คอยแต่จะครอบงำจิตใจ
ปฏิบัติไปจนจิตฉลาด พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา"
ไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อสิ่งอื่น
หากปฏิบัติโดยแฝงสิ่งอื่นเข้าไป
เช่นความอยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ อยากเด่น อยากดัง อยากหลุดพ้น
โอกาสพลาดก็มีสูง เพราะจิตมักจะสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา
แทนที่จะรู้ทุกอย่างตามความเป็นจริง

แล้วก็ควรสังเกตจิตใจตนเองไว้บ้าง
หากรู้สึกว่า จิตใจเกิดความหนักที่แตกต่างหรือแปลกแยกจากธรรมชาติแวดล้อม
ก็แสดงว่าจิตไปหลงยึดอะไรเข้าให้แล้ว
เพราะโดยธรรมชาติของสิ่งภายในภายนอกนั้น มันไม่มีน้ำหนักอะไรเลย
ที่มีน้ำหนักขึ้นมา ก็เพราะเราไปแบกไปถือไว้เท่านั้นเอง
ลองสังเกตดูตอนนี้ก็ได้ครับ
ลองทำใจให้สบายๆ สังเกตไปยังสิ่งแวดล้อมภายนอก
เช่นอาคารบ้านเรือน โต๊ะเก้าอี้ ต้นหมากรากไม้
จะเห็นว่า สิ่งภายนอกนั้นโปร่ง เบา ไม่มีน้ำหนัก
เพราะเราไม่ได้เข้าไปแบกหามเอาไว้
ส่วนจิตใจของเรานั้น มองย้อนเข้ามาจะเห็นว่ามันหนักมากบ้างน้อยบ้าง
ถ้ายึดมากก็หนักมาก ยึดน้อยก็หนักน้อย
มันยังแปลกแยกออกจากธรรมชาติ ธรรมดา
สิ่งที่แปลกแยกนั่นแหละครับ
คือส่วนเกินที่เราหลงสร้างขึ้นมาโดยรู้ไม่เท่าทันมายาของกิเลส

เมื่อรู้แล้ว ก็สังเกตจิตตนเองต่อไปว่า
มันยินดียินร้ายต่อสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามานั้นหรือไม่
แล้วก็รู้เรื่อยไป จนจิตเป็นกลางต่ออารมณ์ทั้งปวง
ธรรมชาติภายใน กับธรรมชาติภายนอกก็จะเสมอกัน
คือไม่มีน้ำหนักให้ต้องแบกหามต่อไป

พระศาสดาทรงสอนว่า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นของหนัก
บุคคลแบกของหนักพาไป เขาย่อมไม่พบความสุขเลย

คำสอนของพระองค์นั้น คำไหนก็เป็นคำนั้น
ขันธ์เป็นของหนักจริงๆ สำหรับคนที่มีตาที่จะดูออกได้



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 12:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร