วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 18:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2010, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


อานิสงส์แห่งการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ประการ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ ปี พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี หรือบุคคลเจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ....๔ ปี ....๓ ปี .....๒ ปี ....๑ ปี... พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี หรือบุคคลเจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ เดือน.... ๖ เดือน... ๕ เดือน... ๔ เดือน... ๓ เดือน... ๒ เดือน... ๑ เดือน... ครึ่งเดือน.... พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี

หรือบุคคลผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ วัน พึงหวังได้ผลอย่าง ๑ ใน ๒ อย่าง คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็จักเป็นอนาคามี ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทาให้แจ้งนิพพาน ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ เราอาศัยทางเดียวนี้แล้ว จึงกล่าวคาดังพรรณนามาฉะนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
จบมหาสติปัฏฐาน
สรุปแล้วการเจริญสติปัฏฐาน ๔ คือหลักการปฏิบัติที่มี ๔ ระดับ แต่ละระดับก็มีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับฐานของสติ ถ้าฝึกปฏิบัติไปตลอดสายแล้วผลที่จะปรากฏเกิดขึ้นได้ คือ - ระดับที่ ๑ รู้ว่ากายไม่ใช่ตัวตน - ระดับที่ ๒ รู้ว่าความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ ไม่ใช่ตัวตน - ระดับที่ ๓ รู้ว่าจิตไม่ใช่ตัวตน - ระดับที่ ๔ รู้ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่มีบุคคล เราเขา หญิงชาย ขั้นตอนการปฏิบัติถ้าผู้ปฏิบัติศึกษาเข้าใจดีแล้ว ทดลองฝึกหัดปฏิบัติในแต่ละหมวดแล้ว ก็อาจสลับรู้ระหว่างธรรมหยาบกับละเอียดเพื่อความประจักษ์แจ้งยิ่งๆ ขึ้นไปได้ แต่ที่สาคัญคือทุกระดับในการปฏิบัติแม้ในกายานุปัสสนาอันเป็นการพิจารณาสภาพธรรมที่หยาบที่สุด ก็อาจมีผลส่งให้จิตทาลายอุปาทานในตัวตน เข้าถึงมรรคผลได้ทั้งสิ้น จึงไม่มีสิ่งใดที่จะบอกได้ว่าการรู้สภาพธรรมที่หยาบกับละเอียดนั้นอย่างไหนที่มีคุณภาพยิ่งหย่อนกว่ากัน หากพิจารณาแนวปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้แล้วก็จะพบว่าเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม คือทรงสอนให้รู้ในสิ่งที่รู้ได้ง่ายก่อน ในตอนแรกมีการแบ่งรูป แบ่งนามเพื่อง่ายต่อการเอาสติไปกาหนดรู้ว่าสิ่งนี้คือรูป สิ่งนี้คือนาม แต่สุดท้ายก็ลงเอยด้วยการเห็นรูปนามควบคู่กันเป็น “ธรรม” นั่นเอง

วิสุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์ อันหมายถึงความบริสุทธิ์จากกิเลสที่เป็นไปทางกาย ทางใจ และทางปัญญา กล่าวโดยย่อได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เป็นไปโดยบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง ความหมดจดจากกิเลส มี ๓ ระดับ คือ หยาบ กลาง ละเอียด ทั้งทางกายทางจิตและปัญญา ถ้าหมดจดจากกิเลสโดยศีล ก็หมดจดจากกิเลสอย่างหยาบ โดยสมาธิ ก็หมดจดจากกิเลสอย่างกลาง โดยปัญญา ก็หมดจดจากกิเลสอย่างละเอียด วิสุทธิเป็นธรรมที่ละเอียดมากและเป็นธรรมชนิดนาไปสู่แดนเกษม คือพระนิพพาน ผู้ที่จะบรรลุพระนิพพานได้นั้นต้องดาเนินไปด้วยวิสุทธิ คือ ต้องดาเนินไปด้วยความหมดจดจากกิเลส วิสุทธิ ๗ นี้มีการดาเนินไปที่เกี่ยวเนื่องกับญาณ ๑๖ ดังนั้นจึงแสดงตารางความสัมพันธ์กันของวิสุทธิ ๗ และญาณ ๑๖ ไว้ที่หน้าสุดท้าย วิสุทธิมี ๗ คือ
๑.
สีลวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งศีล
๒.
จิตตวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งจิต
๓.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์แห่งความเห็นที่ถูกต้อง
๔.
กังขาวิตรณวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ของญาณที่ข้ามพ้นความสงสัย
๕.
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณว่าเป็นทางปฏิบัติถูกและทางปฏิบัติไม่ถูก
๖.
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณในทางปฏิบัติถูก
๗.
ญาณทัสสนวิสุทธิ
ความบริสุทธิ์ของความรู้ความเห็น
๑. สีลวิสุทธิ

สีลวิสุทธิ หมายถึง ศีลเพื่อละกิเลส ไม่ใช่ศีลเพื่อบารุงกิเลส เพราะว่าศีลนั้นกิเลสก็อาศัยเกิดได้ เช่นการรักษาศีลเพื่อต้องการได้บุญ อยากได้ไปเกิดอีก อยากร่ารวย การรักษาศีลหรือทาบุญใดๆ ที่มีเจตนาที่เป็นไปเพื่อความสุข เพื่อความร่ารวย ศีลอย่างนี้ก็ไม่ใช่ศีลเพื่อทาลายกิเลส ส่วนศีลบริสุทธิ์ที่จะเป็นสีลวิสุทธิต้องเป็น ศีลที่ประพฤติเพื่อปรารถนาพระนิพพาน ศีล หมายถึง ธรรมชาติใดที่ประกอบด้วยเจตนาของบุคคลผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น หรือของบุคคลผู้บาเพ็ญวัตรปฏิบัติ ที่ชื่อว่าศีล เพราะว่า เป็นความปกติ คือ เป็นปกติอย่างเรียบร้อย มีกิริยาทางกาย ทางวาจาที่ประกอบด้วยความสุภาพเรียบร้อย หรือหมายความว่า เป็นความรองรับ เป็นฐานรองรับกุศลธรรมทั้งหลาย ศีลมีหลายประการ เช่น ศีล ๕ ,ศีล ๘ , ศีล ๑๐ ,ศีล ๒๒๗ ,ศีล ๓๑๑ เพราะถึงแม้ศีลจะต่างกันโดยประเภทแห่งเจตนาเป็นต้น ก็ไม่พ้นไปจากความทรงอยู่อย่างเรียบร้อยและความรอบรับกุศลธรรมนั้นเอง ศีลมีจาแนกไว้หลายหมวดหลายนัย ในที่นี้จะแสดงเพียงหมวดเดียวคือ ศีล ๔ อย่าง หมวด ๔ คือ ปาติโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสสิตศีล ๑.๑ ปาติโมกขสังวรศีล คือ ศีลที่สารวมระวังไม่ล่วงละเมิดทางกายทางวาจา ความระวังนี้เองคือการสังวร บุคคลผู้ประกอบด้วยศีล ๕ , ๘ , ๑๐ , ๒๒๗ , ๓๑๑ ย่อมยังความถึงพร้อมในการสังวร บุคคลที่ไม่มีความสารวมระวังในการอยู่ ในการไป ในการอาศัย ย่อมทาให้ทุกข์เกิดขึ้นได้ การสารวมในการโคจรที่ดี มี ๓ อย่าง คือ อุปนิสสยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธโคจร ๑.๑.๑ อุปนิสสยโคจร คือ การโคจรซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ ได้แก่ - พิจารณาว่า ทาแล้วย่อมได้ฟังพุทธวจนะที่ยังไม่เคยฟัง - พิจารณาว่า ทาแล้วย่อมทาพุทธวจนะที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง

- พิจารณาว่า ทาแล้วย่อมสิ้นความสงสัย - พิจารณาว่า ย่อมทาทฤษฎีให้ถูกต้อง - พิจารณาว่า ย่อมทาจิตใจให้ผ่องใส - พิจารณาว่า กัลยาณมิตรย่อมยังให้เจริญด้วยศรัทธา - พิจารณาในศีล - พิจารณาในสุตะ คือการฟังการศึกษาเล่าเรียน - พิจารณาในจาคะ คือการบริจาค - พิจารณาในปัญญา การงานต่างๆ ของบุคคลที่พิจารณาในข้อปฏิบัติ ๑๐ ประการนี้ จะเป็นการช่วยทาให้การรักษาศีลในขั้นปาติโมกขสังวรศีลเป็นไปได้สะดวกดี เพราะพิจารณาในทุกๆ เรื่องก่อนว่าสิ่งใดกระทาแล้วเป็นไปเพื่อละกิเลสจึงกระทา สิ่งใดกระทาแล้วเป็นการบารุงกิเลสก็งดเว้นเสีย ๑.๑.๒ อารักขโคจร คือ การไปในที่ต่างๆ ก็ให้กาหนดไม่ให้มองสอดส่าย สังวรระวัง เดินอย่างสารวม ไม่เหลียวดูสิ่งล่อตาล่อใจต่างๆ ไม่ดูสตรี ไม่ดูบุรุษ อย่างนี้คือมีความอารักขาดูแลตนในการไปในที่ต่างๆ ๑.๑.๓ อุปนิพันธโคจร คือ การโคจรไปในที่ต่างๆ โดยสารวมระวังผูกจิตไว้ โดยการกาหนดสติปัฏฐาน ๔ ๑.๒ อินทรียสังวรศีล คือ ศีลที่สารวมในอินทรีย์ ๖ คือการมีสติสารวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จากพระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค สามัญญผลสูตร พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า มหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
มหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักขุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสารวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สารวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงา นั้นชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสารวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต...ดม

กลิ่นด้วยฆานะ...ลิ้มรสด้วยชิวหา...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้เเจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสารวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สารวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงานั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสารวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล. อธิบายโดยสรุปได้ดังนี้ คาว่า เห็นรูปด้วยจักษุนั้นโดยแท้จริงแล้ว คือเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ จักษุนั้นเห็นรูปไม่ได้เพราะไม่มีจิต จิตก็เห็นรูปไม่ได้เพราะไม่จักษุ แต่เพราะทวารกับอารมณ์กระทบกัน บุคคลจึงเห็นรูปได้ด้วยจิตที่เกิดขึ้นที่จักษุนั้นเอง การไม่ยึดถือซึ่งนิมิต คือ การไม่ยึดถือนิมิตเครื่องหมายว่าเป็นหญิงเป็นชาย หรือความสวยงามซึ่งเป็นสิ่งที่ทาให้กิเลสเกิดขึ้นได้ง่าย ให้หยุดอยู่เพียงแค่เห็นเท่านั้น การไม่ยึดถือซึ่งอนุพยัญชนะ คือ ไม่ยึดถือในกิริยาอาการต่างๆ เช่นเห็นว่า ยิ้มสวย เวลายิ้มมีลักยิ้มที่แก้ม กิริยาที่หัวเราะก็น่ารัก เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทาให้กิเลสเกิดขึ้นได้ง่าย ให้หยุดอยู่เพียงแค่เห็นเท่านั้น อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงา อภิชฌา คือ โลภะ โทมนัส คือ โทสะ เมื่อมีการสารวมอินทรีย์ในทวารทั้งหลายแล้ว อกุศลธรรมอันลามกก็จะไม่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลมีสติในการสารวมสังวรระวังอยู่ ก็จะสามารถกั้นอกุศลที่จะเกิดขึ้นจากการเห็น การได้ยิน เป็นต้นได้ บุคคลที่ไม่สารวมอินทรีย์ก็เหมือนคนที่มุงหลังคาไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดถูกตัวเสมอ คล้ายกับกิเลสที่รั่วไหลเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ย่อมรั่วรดจิตใจเสมอ ตนก็จะต้องเช็ดน้าตาเรื่อยไป ถ้าหากว่าผู้ที่มีการสารวมอินทรีย์ก็เหมือนกับคนที่มุงหลังคาดีแล้ว ฝนย่อมไม่รั่วลงมารดตัว ตนก็ไม่ต้องเช็ดน้าฝน นี้ก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีการสารวมอินทรีย์แล้วกิเลสก็ไม่รั่วเข้ารดใจ เมื่อเห็นหรือได้ยินแล้ว อกุศลธรรมต่างๆ ก็ไม่เกิดขึ้น

๑.๓ อาชีวปาริสุทธิศีล คือ ศีลที่เกี่ยวกับการหาเลี้ยงชีพโดยบริสุทธิ์ เป็นการประกอบอาชีพโดยสัมมาอาชีวะ สาหรับฆารวาสคือการเว้นมิจฉาชีวะต่างๆ สาหรับพระภิกษุ สามเณร คือเว้นจากการประจบประแจง การเป็นทูตให้แก่ญาติโยม เป็นต้น
๑.๔ ปัจจยสันนิสสิตศีล คือ ศีลที่อาศัยการบริโภคปัจจัย ๔ อันบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณา ดังพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้มีอาทิว่า “ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร เพียงเพื่อกาจัดเสียซึ่งความเย็น...” ความแยบคายในการใช้สอยในการบริโภคนั้นมีความสาคัญเพราะจะได้ไม่ตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น ไม่หลงใหลได้ปลื้มกับทรัพย์ภายนอกเกินควร ใช้สอยอย่างรู้คุณค่าและประโยชน์ที่ตรงชัดที่จะได้รับ มิใช่ใช้สอยเพื่อประกาศฐานะยศฐาบรรดาศักดิ์ ส่วนในด้านของภิกษุก็ได้แก่ ก่อนที่จะ รับประเคนอะไรก็ต้องพิจารณาก่อนว่าควรรับไหม รับมาเพื่ออะไร ถ้าเป็นอาหารบิณฑบาตเมื่อเวลาจะฉันก็ต้องพิจารณาว่าฉันเพื่ออะไร ถ้าไม่พิจารณาก็ไม่บริสุทธิ์ เป็นต้น อินทรียสังวร กับปาติโมกขสังวร ต่างกันอย่างไร ? ถ้ามีปาติโมกขสังวร ไม่ต้องมีอินทรียสังวรได้ไหม ? อินทรียสังวรเป็นการสังวรในขณะที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง เป็นต้น แต่ปาติโมกขสังวรนั้นเป็นศีลที่เป็นไปเพื่อไม่ให้ไปรับรูป เสียง เป็นต้น เช่นข้อห้ามในศีล คือ ไม่ให้ดูฟังการฟูอนราขับร้อง แต่เมื่อเวลาเห็นได้ยินแล้วถ้าไม่มีอินทรียสังวรกากับไว้ก่อน กิเลสก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ฉะนั้นถ้ามีปาติโมกขสังวรแล้วก็ควรปฏิบัติควบคู่กับอินทรียสังวรด้วย จะทาให้ผู้ปฏิบัติทาลายความชอบใจและความไม่ชอบใจได้ อินทรียสังวรสามารถชาระกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง ละอภิชฌา(โลภ) และโทมนัส(โทสะ) ที่เกิดทางใจได้ และสามารถทาลายกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานได้ มีทิฏฐิ เป็นต้น ส่วนปาติโมกขสังวรศีล ทาลายได้แต่กิเลสอย่างหยาบ คือกิเลสทางกายกับวาจา เหตุที่ทาให้ ศีลทั้ง ๔ อย่าง สาเร็จ


๒. จิตตวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์แห่งจิต การชาระจิตใจให้ปราศจากมลทินเครื่องเศร้าหมอง คือ นิวรณ์ จิตตวิสุทธิมี ๒ อย่าง คือ ๑. สมถสมาธิ ได้แก่ สมาธิ ๒ อย่าง คือ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เพราะเป็นสมาธิที่มีความบริสุทธิ์เป็นพิเศษ ชาระจิตใจของพระโยคีให้ปราศจากมลทินคือ นิวรณ์ ๕ จัดเป็นจิตตวิสุทธิโดยตรง อุปจารสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในมหากุศลหรือมหากิริยา ที่มี สมถกรรมฐานเป็นอารมณ์ ส่วนอัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในมหัคคตฌาน ๙ มีบัญญัติ ปรมัตถ์ ที่เนื่องด้วยสมถกรรมฐาน ๓๐ เป็นอารมณ์
๒. วิปัสสนาสมาธิ ได้แก่ ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะที่อยู่ในมหากุศล หรือมหากิริยา จัดเป็นจิตตวิสุทธิโดย
อ้อม จะเกิดขึ้นกับผู้ที่เจริญวิปัสสนาล้วนๆ มีการพิจารณาอารมณ์ โดยรูปนาม โดยความเป็นไตรลักษณ์ โดยอริยสัจจ์ ๔ เป็นต้น ๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูก หรือปัญญาที่รู้ถูก เข้าใจถูก คือ ความรู้ความเข้าใจนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เป็นเหตุให้ข่มความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เป็นญาณที่สามารถรู้รูปนามได้โดย ๑. ลักษณะ คือ รู้ลักษณะเฉพาะตนของรูปนาม ๒. รส คือ รู้หน้าที่หรือกิจของรูปนาม ๓. ปัจจุปัฏฐาน คือ รู้ผลหรืออาการปรากฏของรูปนาม ๔. ปทัฏฐาน คือ รู้เหตุที่ใกล้ชิดของรูปนาม ทิฏฐิวิสุทธิ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ ที่มีรูปนาม เป็นอารมณ์ การกาหนดรู้แม้จะไม่ครบทั้ง ๔ ข้างต้น เพียงแต่รู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิเมื่อว่าโดยญาณ ๑๖ จัดเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ คาถาม-ตอบ เพื่อให้รู้จักรูปนาม ๑. จะเข้าใจนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง ได้อย่างไร ? การที่จะพิจารณาจนเห็นว่านามรูปนี้ไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่ของตน เป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ ไม่อยู่ในอานาจของใคร และไม่ใช่สัตว์ บุคคล ต้องเป็นปัญญาที่รู้และเข้าใจในสภาพธรรมของรูปและนามจริงๆ ๒. จะเอาปัญญาจากไหนมาเข้าใจ ? ต้องเป็นทิฏฐิขั้นวิสุทธิที่เข้าใจถูกรู้ถูกในรูปนาม ๓. จะมีทิฏฐิวิสุทธิได้อย่างไร ? ต้องได้มาจากการพิจารณารูปนาม
๔. การพิจารณานามรูปนั้นพิจารณาอย่างไร ? ต้องพิจารณาตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ แต่ก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะเจริญมหาสติปัฏฐาน ๔

จะต้องศึกษารูปและนามให้เข้าใจให้ดีก่อน จึงจะสามารถกาหนดได้ ถ้ายังไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนามก็กาหนดไม่ถูก เช่น ต้องรู้ว่าลมหายใจเป็นรูป จิตที่กาหนดระลึกรู้ลมหายใจเป็นนาม หรือการพิจารณาอิริยาบถ ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน จะต้องพิจารณาอิริยาบถเหล่านั้นว่าเกิดขึ้นได้เพราะอะไร ? เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องแล้วก็จะพบว่า เพราะจิตเป็นปัจจัยทาให้อิริยาบถเป็นไปได้ และอิริยาบถจะเกิดขึ้นได้ก็เนื่องด้วยกายที่เกี่ยวกับธาตุ ๔ เมื่อจิตคิดจะเดิน ธาตุ ๔ นี้ก็ทางาน เมื่อจิตคิดจะนั่งธาตุ ๔ ก็ทางาน เมื่อจิตคิดจะยืนธาตุ ๔ ก็ทางาน เพราะว่าธาตุ ๔ ทางานปรุงแต่งต่างกัน อิริยาบถก็เป็นไปต่างกัน และธาตุ ๔ ก็เกิดขึ้นได้ด้วยเจตนาที่เข้าปรุงแต่งจิต เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาได้อย่างนี้ก็จะทราบว่าจิตนี้สามารถจะเป็นปัจจัยให้ธาตุทั้ง ๔ เป็นไปได้ตามเจตนา ที่ปรุงแต่งจิตนั่นเอง เวลาจะเดิน ธาตุทั้ง ๔ ก็จะทางานโดยธาตุเบา คือ ธาตุลมกับธาตุไฟจะมีกาลัง ส่วนธาตุหนักคือธาตุดินกับธาตุน้าจะอ่อนกาลัง ทาให้เท้ายกขึ้นแล้วเคลื่อนไปข้างหน้าได้ด้วยกาลังของธาตุไฟกับธาตุลม เมื่อวางเท้าลงธาตุไฟกับธาตุลมก็จะอ่อนกาลัง แต่ธาตุดินกับธาตุน้าก็มีกาลังทาให้หย่อนเท้าเหยียบลงพื้นไว้ได้ เป็นต้น ต้องกาหนดรู้ว่าธาตุทั้ง ๔ เป็นรูป จิตและเจตสิกที่พิจารณาธาตุ ๔ เป็นนาม ฉะนั้นทิฏฐิวิสุทธิต้องเป็นปัญญาที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐานและพิจารณารูปนามได้ถูกต้อง จนปราศจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ได้จริงๆ ปัญญาในทิฏฐิวิสุทธินี้เป็นปัญญาขั้นภาวนา ไม่ใช่ปัญญาขั้นการศึกษา แต่ต้องปฏิบัติพิจารณารูปนามจนทาลายความเข้าใจผิดความสาคัญผิดว่าเป็นเราออกไปจากจิตใจให้ได้ ๕. อะไรเป็นเครื่องปิดบังความเป็นจริงของรูปนาม? เครื่องปิดกั้นความจริงของนามรูป มีหลายประการดังนี้ ๕.๑ ฆนสัญญา หมายถึง ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนของรูปนามนั้นปิดบังอนัตตา ทาให้เราเห็นว่ารูปนามนั้นเป็นก้อนเป็นแท่ง เช่นเห็นว่ารูปก็มีรูปเดียว นามก็มีนามเดียว ทั้งรูปทั้งนามก็คือตัวตนของเรานี้เอง เมื่อถูกความเป็นกลุ่มก้อนปิดบังไว้เช่นนี้ ความรู้สึกว่าไม่ใช่เราก็ไม่เกิดขึ้น

๕.๒ สันตติ หมายถึง ความสืบต่อ จึงทาให้เห็นติดกัน ทาให้ปิดบังอนิจจัง คือความไม่เที่ยงไว้ ทาให้เห็นเป็นของเที่ยงเพราะความสืบต่อที่รวดเร็วจนไม่เห็นความขาดช่วงขาดตอนของรูป ของนาม ๕.๓ อิริยาบถปิดบังทุกข์ เพราะเหตุที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถ จึงไม่เห็นว่ารูปนามนั้นเป็นทุกข์ เพราะอิริยาบถที่เปลี่ยนไปเช่น จากอิริยาบถเดิน เปลี่ยนเป็นนั่ง ในขณะที่นั่งใหม่ๆ ก็จะรู้สึกสุขสบาย แต่พอนั่งไปนานๆ ก็ทุกข์อีกต้องเปลี่ยนอิริยาบถอีก อันที่จริงในขณะที่นั่งใหม่ๆ ตอนนั้นก็ทุกข์เหมือนกันแต่ทุกข์เกิดน้อยเพราะเพิ่งเปลี่ยนอิริยาบถใหม่ๆ แต่พออยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ ทุกข์ก็มากขึ้นๆ จะเห็นได้ว่าอิริยาบถนั้นปิดบังทุกข์ไว้ ทาให้เห็นว่าเป็นสุข แท้ที่จริงแล้วตอนที่สุขนั้นนั่นก็เป็นทุกข์เหมือนกันเพราะสภาพเช่นนี้ก็จะไม่คงอยู่ต้องมีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไป ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงนี้เองคือสภาพของทุกข์จริงๆ คือ มีสภาพที่ทนอยู่ในไม่ได้ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ที่จะเห็นอนัตตา ว่ารูปนามนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน จะต้องเข้าใจในอุบายที่จะทาลายฆนสัญญาให้กระจายออกมาเสียก่อนจึงจะเห็นอนัตตาได้ ๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ คือ ญาณ(ปัญญา)ที่ข้ามพ้นจากความสงสัย เช่น สงสัยใน ชาตินี้ ชาติหน้า สงสัยว่าตายแล้วจะเกิดหรือไม่เกิด ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณานามรูป ทาให้เข้าใจได้ถูกต้องว่า นามรูปนี้มีอยู่จริง แต่สัตว์บุคคลนั้นไม่มีในโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก มีแต่รูปกับนามเท่านั้น แล้วรูปนามนี้มาจากไหน ใครเป็นคนสร้างรูปนามนี้ คาตอบในเรื่องนี้ก็ต้องเจริญปัญญาให้ถึงขั้นกังขาวิตรณวิสุทธิ จึงจะหมดความสงสัยได้

การปฏิบัติ คือ การกาหนดรูปนามต่อมาจากทิฏฐิวิสุทธิ กาหนดต่อไปอยู่เนืองๆ ก็จะทราบว่า รูปนามนี้เกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร รูปใดเกิดขึ้นก็จะรู้ว่าเกิดขึ้นด้วยเหตุอะไร นามใดเกิดขึ้นก็จะรู้ได้ว่า นามนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุอะไร ปัญญาความรู้ในขั้นกังขาวิตรณวิสุทธินี้จะรู้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความแตกฉานในปริยัติ ก็สามารถรู้ปัจจัยได้มาก เช่นรู้โดยวัฏฏะว่า รูปนามขันธ์ ๕ มาจากกรรม กิเลส วิบาก หรือรู้ไปตามนัยของปฏิจจสมุปบาท คือปัจจัยให้เกิดรูปนามในปฏิสนธิ ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ผู้ปฏิบัติในขั้นกังขาวิตรณวิสุทธิแล้วจะรู้เหตุปัจจัยของธรรมว่า ธรรมนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ จิตแต่ละดวงเกิดขึ้น เช่น โทสะจิตเกิดขึ้นเพราะอะไร เกิดขึ้นเพราะเห็นรูปแล้วปรุงแต่งว่ารูปที่เห็นนั้นไม่ชอบใจโทสะก็เกิดขึ้น โทสะที่เกิดขึ้นแล้วนั้นก็ดับไปสิ้นไปเมื่อสิ้นเหตุสิ้นปัจจัย แล้วโทสะดวงใหม่ก็สามารถเกิดขึ้นอีกเมื่อมีเหตุปัจจัย เมื่อเหตุดับธรรมนั้นๆ ก็ดับ ๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือความรู้ในหนทางทั้งทางถูกและทางผิด เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งสังขาร และมีอุปกิเลส ๑๐ อย่างๆ ใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ปัญญาที่กาหนดวินิจฉัยลักษณะว่า วิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้ไม่ใช่มรรค เพราะเป็นเหตุเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ โดยแท้ แต่วิปัสสนาญาณที่ดาเนินไปตามวิถีซึ่งพ้นจากวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ แล้ว เป็นปัญญาที่รู้หนทางที่ถูกต้อง การเห็นตามความเป็นจริงทั้ง ๒ นี้ เป็นมรรค ชื่อว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เพราะรู้เห็นทางพ้นทุกข์และมิใช่ทางพ้นทุกข์ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นปัญญาที่เกิดต่อมาจากกังขาวิตรณวิสุทธิ ถ้าวิสุทธิที่ ๔ ไม่มีแล้ว วิสุทธิที่ ๕ คือ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิก็มีไม่ได้ ที่ผ่านมาในกังขาวิตรณวิสุทธินั้นเพียงรู้ถึงเหตุปัจจัยที่ทาให้รูปนามเกิด แต่ยังไม่เห็นความดับของรูปนามที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันนั้นได้ เพราะว่าปัญญาในขั้นนี้ยังอ่อนอยู่
วิธีการปฏิบัติ คือ ต้องกาหนดรูป-นาม ต่อไปอีกเนืองๆ จนกระทั่งเห็นความดับของรูปนาม แต่ความดับของรูปนามที่ตนเห็นในตอนนี้ยัง

ไม่ได้เห็นความดับของรูปนามจริงๆ เพียงแต่เห็นการเกิดใหม่ของรูปนามอยู่เนื่องๆ เห็นฝุายเกิดอยู่เนืองๆ จึงทาให้ทราบถึงความดับไปของรูปนามเก่าก่อนที่รูปนามใหม่จะเกิดขึ้น ปัญญาในขั้นนี้ยังมีกิเลสเกิดได้คือเป็นอารมณ์ของวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ที่เกิดจากกาลังของสมาธิ กิเลสที่จะเกิดขึ้นได้ในขณะนั้นเป็นกิเลสที่ละเอียดมากและกาลังปัญญายังอ่อนอยู่ จึงรู้ไม่เท่าทัน ปัญญาจึงไม่สามารถจะปรับอินทรีย์ให้เสมอกันได้ เพราะขณะนั้นกาลังสมาธิแรงกว่าปัญญา ทาให้เกิดมีแสงสว่าง มีความสุข มีความสงบเยือกเย็น เป็นต้น เกิดขึ้นได้ เหล่านี้เป็นสิ่งขัดขวางความก้าวหน้าของปัญญา ทาให้หลงติดอยู่ในทางที่ไม่ใช่หนทางแห่งมรรค (เรื่องวิปัสสนูปกิเลสมีอธิบายในหน้า ๕๒) ๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความรู้ในข้อปฏิบัติที่ถูกในการเห็นแจ้ง อันเป็นเครื่องดาเนินไป สู่มัคคปฏิปทาโดยส่วนเดียว เป็นหนทางที่จะเดินไปในธรรมที่บริสุทธิ์คือพระนิพพาน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ซึ่งเป็นวิสุทธิที่ ๕ นั้น เป็นปัญญาที่ชาระวิปัสสนูปกิเลสได้หมดสิ้น จะเห็นได้ว่าในวิสุทธิที่ ๕ นั้น ยังมีอุปกิเลสเข้าไปอาศัยเกิดในอารมณ์ของวิปัสสนาได้ ผู้ปฏิบัติจึงต้อง ทาความเข้าใจอารมณ์ที่ถูกและอารมณ์ที่ไม่ถูก จึงจะชาระกิเลสที่เรียกว่าวิปัสสนูปกิเลสได้ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนเกิดปัญญาเข้าใจในข้อปฏิบัตินั้นว่าถูกต้องดี และปราศจากความเข้าใจผิดโดยประการทั้งปวงแล้ว จึงจะดาเนินเข้าสู่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิได้ ๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ คือความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค มรรคญาณทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรคญาณเป็นต้น ชื่อว่าญาณทัสสนวิสุทธิ เพราะชาระใจให้พ้นจากมลทิน คือ ตัวโมหะ ความหลง ญาณทัสสนวิสุทธินี้เป็นปัญญาที่เกิดต่อมาจากปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิที่เดินถูกทางแล้ว เรื่อยมาจนบรรลุพระนิพพาน

เมื่อรู้จักหนทางแห่งปัญญาคือวิสุทธิ ๗ แล้ว ผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติต้องดาเนินตามทางแห่งปัญญาในวิสุทธินั้นๆ ให้ได้ตามลาดับ เมื่อทราบถึงหนทางแห่งปัญญา ทราบการเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ก็ต้องปฏิบัติอยู่เสมอๆ เนืองๆ และในระหว่างการปฏิบัตินั้นก็ต้องสังเกตจิตใจ สังเกตอารมณ์ที่กาลังเจริญ ซึ่งผลของการปฏิบัติจะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องนั้นก็มีสิ่งที่สังเกตได้ ได้แก่ ลักษณะ ๓ อนุปัสสนา ๓

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับคุณแม่
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
ฟังธรรมศึกษาธรรมทั้งวัน สวดมนต์ทุกวัน
เจริญอนุสติ 8 อย่าง วันนี้วันพระ
มีการสวดมนต์ร่วมกันที่วัดหลายคน
ถวายสังฆทาน ประมาณ 20 ชุด
เมื่อวานนี้ได้มีงานไถ่ชีวิตโคกระบือ
ถวายเงินให้แก่โรงพยาบาลสงฆ์
ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายเสื้อผ้าแก้เด็กยาดจน
และวันนี้ได้รักษาอาการป่วยของแม่ด้วย
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย





ขอเชิญร่วมถวายน้ำปานะ พระภิกษุและสามเณร ณ วัดวรจรรยาวาส กรุงเทพฯ โทร.02-289-0415

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 49 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร