วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 11:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว



กระทู้นี้ ขอเชิญชวนทุกท่าน มาหาความจริงเรื่องพุทธทำนายกัน



ผมได้รับแจกหนังสือธรรมะแนวโลกใกล้จะแตกแล้วมากเหลือเกิน
แล้วบางส่วนก็อ้างพุทธทำนาย

อยากขอเชิญชวนท่านรักษาความบริสุทธิ์ของพุทธทำนายจริงๆ
ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ในส่วนที่ออกจากพระโอษฐ์
แยกออกจากพุทธทำนายเก๊


ตัวอย่างพุทธทำนายจริงๆ
ก้คือคราวเมื่อทรงทำนายฝันให้พระเจ้าปเสนธิโกศล 16 ข้อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก

แต่พุทธทำนายเก๊???
เช่น "พระพุทธศาสนาอายุ 5000 ปี"
ก็ไม่ทราบว่า ไปเอามาจากไหนกัน

ขอเชิญชวนทุกท่าน ที่มีข้อมุล หรือช่วยกันชี้ช่องข้อมุล
เพื่อสาธุชนจะได้ศึกษหาความจริงกัน


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 09 เม.ย. 2010, 15:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 16:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:
ก็ได้ยินมามากเรื่องพวกนี้ :b9:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องพุทธทำนายนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้อยู่หลายแห่ง และหลายเรื่อง แม้พระอรหันต์องค์อื่นก็มีกล่าวทำนายอนาคตเอาไว้เช่นเดียวกัน หลักฐานเหล่านี้ได้ปรากฏในพระไตรปิฏกก็มี ชั้นอื่นๆ เช่น อรรถกถา เป็นต้น หรือในคัมภรีอื่นๆ ก็มีเช่นเดียวกัน...

แต่ที่เราน่าจะพอเชื่อถือได้ว่าเป็นพุทธทำนายของพระพุทธเจ้าจริงๆ นั้น ความคิดเห็นส่วนตัวเห็นว่า คือ คำทำนายที่อยู่ในพระไตรปิฏก ส่วนคำทำนายในคัมภีร์อรรถกถา ที่บอกว่าเป็นคำทำนายของพระพุทธเจ้า ก็ต้องยอมรับว่ายากจะฟันธงได้ว่าใช่คำทำนายของพระพุทธเจ้าจริงหรือไม่? แต่หากเป็นคำทำนายที่แม้จะไม่ใช่คำทำนายของพระพุทธเจ้าโดยตรงก็ตาม ก็เป็นคนละเรื่องกับว่าคำทำนายจะเป็นจริงหรือไม่จริง? คำทำนายเหล่านั้นอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์...

ทีนี้มากล่าวถึงกรณีอายุของพระพุทธศาสนา ว่าพระพุทธเจ้าทรงทำนายอายุพระพุทธศาสนาเอาไว้ว่าอยู่ได้เพียง ๕๐๐๐ ปีหรือไม่? เท่าที่ค้นหาไม่ปรากฏว่ามีพระสูตรใดๆ ทรงทำนายเอาไว้เช่นนั้น เพียงแต่ทรงตรัสถึงอายุของพระพุทธศาสนาเอาไว้ในเชิงอุปมาเปรียบเทียบมากกว่า ไม่เหมือนกับเป็นการทรงทำนายอย่างเป็นจริงเป็นจัง แต่บางท่านอาจจะคิดเห็นว่าเป็นการทำนายก็ได้เหมือนกัน คือ เรื่องราวนี้ได้เกิดขึ้นตอนที่พระอานนท์ทูลขอให้มีการบวชภิกษุณีเป็นครั้งแรก ดังต่อไปนี้

พรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่นาน

[๕๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
พระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการแล้ว พระมาตุจฉา
ของพระผู้มีพระภาค อุปสมบทแล้ว

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ก็ถ้าสตรีจักไม่ได้ออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักตั้งอยู่ได้นาน
สัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ตลอดพันปี ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัท
ธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น ดูกรอานนท์ สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบ
เหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชายน้อย ตระกูลเหล่านั้นถูกพวก
โจรผู้ลักทรัพย์กำจัดได้ง่าย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนหนอนขยอกที่ลงใน
นาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน อีกประการหนึ่ง เปรียบ
เหมือนเพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน ดูกรอานนท์
บุรุษกั้น ทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลไป แม้ฉันใด เราบัญญัต
ิครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี เพื่อไม่ให้ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิต
ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

ครุธรรม ๘ ประการของภิกษุณี จบ
--------------------------------------


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

ทีนี้มีหลักฐานปรากฏเรื่องอายุพระพุทธศาสนาอยู่ได้ ๕๐๐๐ ปี เอามาจากที่ไหนเล่า? หลักฐานตรงนี้มีอยู่แห่งหนึ่งที่สำคัญ คือ ในมิลินทปัญหานั่นเอง ดังนี้

สัทธัมมอันตธานปัญหา ที่ ๗

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา โยมนี้คิดไปให้วิมัติสงสัยนักหนา ด้วยสมเด็จพระบรมนายกโลกนาถ มี
พระพุทธฎีกาตรัสไว้แก่พระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ พระสัทธรรมของตถาคต จะตั้งอยู่นาน
ประมาณกำหนดห้าพันปี
พระพุทธองค์ตรัสเป็นคำขาด ครั้นมาเมื่อจะใกล้ดับขันธ์เข้าสู่พระ
มหาปรินิพพานนั้น สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสกับสุภัททะปริพพาชกว่า ดูกร
สุภัททะ แม้ว่าอันเป็นโอรสของตถาคตนี้ มีศรัทธาปรนนิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติอยู่ได้ตราบใด
โลกจะได้สูญจากพระอรหันต์หามิได้ นี่แหละมีพระพุทธฎีกาตรัสไว้เป็นคำขาด เมื่อวันที่จะเสด็จ
เข้าสู่พระมหาปรินิพพาน ตกว่าพระพุทธฎีกาประทานไว้เป็นคำสองฉะนี้ โยมหารู้ที่จะกำหนด
คำไหนให้แน่ลงได้ไม่ ครั้นจะเชื่อเอาคำเดิมที่ตรัสว่า พระสัทธรรมของตถาคตจะตั้งอยู่กำ
หนดถ้วนห้าพันปีนั้นเล่า คำที่พระพุทธองค์เจ้าตรัสว่า ถ้าพระภิกษุความอุตสาหะปรนนิบัติ
เป็นสัมมาปฏิบัติอยู่ตราบใด โลกไม่เปล่าจากพระอรหันต์ก็จะผิด ครั้นจะเชื่อเอาคำภายหลังก็
จะผิดกันกับคำเดิมที่โปรดไว้ โยมคิดไปก็สงสัยนักหนา ปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ มาถึงแก่พระ
ผู้เป็นเจ้าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจงโปรดวิสัชนาให้โยมสิ้นสงสัยในกาลบัดนี้

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ภควา
สมเด็จบรมโลกนาถศาสดาจารย์ มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระสัทธรรมจะตั้งมั่นอยู่ห้าพันพระ
วัสสา ครั้นมาเมื่อวันจะเข้าพระมหาปรินิพพานตรัสว่า พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอุตสาหะ
ปรนนิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติอยู่ตราบใด โลกก็ไม่ขาดจาพระอรหันต์ นี่แหละพระพุทธฎีกาจะ
เป็นอรรถอันเดียวกัน มีเนื้อความเนื่องเป็นเรื่องเดียวกันหาบ่มิได้ นานาอตฺถํ มีอรรถเนื้อ
ความต่างกัน นานาพฺยญฺชนํ มีพยัญชนะต่างกัน อยํ สาสนปริจฺเฉโท ที่ว่าด้วยกำหนดพระ
ศาสนาจะตั้งมั่นไปได้ประมาณเท่านั้นก็มี อยํ ปฏิปตฺติปริทีปนา ที่ว่าด้วยสามารถปฏิบัติก็มี
พระพุทธฎีกาทั้งสองนี้เป็น ทูรวิวชฺชิตา เว้นว่างไกลกันนักหนา เปรียบปานดุจดินกับอากาศ
ดุจวิมานเมืองสวรรค์กับชั้นนรก ตกว่าไกลกว่าไกลต่อกัน ดุจสุขกับทุกข์อันต่างกัน และดุจบาป
กับบุญคุณกับโทษต่างกันนักหนา มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ซึ่งมีพระราชโองการ
ถามจะห้ามให้สูญไปก็ใช่ที่ เหตุฉะนี้อาตมาจะเปรียบเทียบให้เห็นแล้วจะแสดงให้แจ้งประจักษ์
ต่อไป ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ เมื่อทรงกำหนดความเสื่อมสิ้นแห่งพระ
สัทธรรม พระองค์ตรัสกำหนดเขตไม่มีส่วนเหลือว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์ ถ้าภิกขุนี
ไม่บวช พระสัทธรรมพึงตั้งอยู่ได้หลายพันปีนักหนา กาลนี้พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียงห้าพัน
ปีเท่านั้น พระตถาคตเจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ดังนี้ บพิตรพระราชสมภารจะเจ้าพระทัยอย่างไร
จะว่าพระผู้มีพระภาคตรัสถึงเวลาเสื่อมพระสัทธรรม หรือว่าทรงห้ามมอภิสมัยกายตรัสรู้มรรคผล

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์กษัตริย์ตรัสว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสห้ามปราม
การตรัสรู้มรรคผลหามิได้ พระองค์ทรงหมายถึงพระสัทธรรมจะเสื่อมไป

พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระ
ผู้มีพระภาคเมื่อทรงแสดงพระศาสานาส่วนที่สิ้นไปและส่วนที่ยังเหลือ เสมือนบุรุษผู้มีทรัพย์สิน
หายไป แต่ยังมีส่วนเหลืออยู่จะบอกให้รู้ จึงจับทรัพย์ทั้งหลายที่เหลืออยู่เชิดชูให้เขาดู บอก
ให้รู้ว่าหายไปเท่านั้น ยังเหลือเท่านั้น ฉันใดก็ดี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์เจ้า
นฏฺฐํ สาสนํ ปริกิตฺตยนฺโต เมื่อจะทรงแสดงพระศาสนาอันจะสิ้นไปจะเหลืออยู่ต่อไป ให้แจ้งแก่
เทพามนุษย์ทั้งหลาย จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์ พระสัทธรรม จะ
ตั้งมั่นอยู่ถ้วนห้าพันพระวัสสา แล้วมีพระพุทธฎีกาตรัสเมื่อพระองค์เจ้าจะเข้าสู่พระมหา
ปรินิพพานแก่สุภัททะปริพพาชกอีกว่า ดูกรสุภัททะ ถ้าบุคคลตั้งใจปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ คือ
อุตสาหะเจริญเมตตาภาวนาอยู่ตราบใดแล้ว พระอรหันต์ก็ไม่ขาดจากโลกตราบนั้น พระพุทธ-
ฎีกาทั้ง ๒ นี้ต่างกัน ไม่เหมือนกัน ที่พระพุทธฎีกาตรัสว่าพระสัทธรรมจะตั้งมั่นไปถ้วนห้าพัน
พระวัสสานั้น ด้วยจะกำหนดจะให้รู้ว่าพระไตรปิฎกจะตั้งมั่นไปด้วยห้าพ้นพระวัสสา เป็น
ศาสนาปริจเฉทอันหนึ่ง และพระพุทธฎีกาตรัสว่า พระโยคาวจรบุคคลทั้งปวงยังอุตาสาหะ
ปรนนิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ คือจำเริญภาวนาเป็นบุพภาคเจ้ามูลที่จะให้ได้พระนวโลกกุตรธรรม
ตราบใด พระอรหันต์ก็ไม่ขาดจากโลกตราบนั้น สมเด็จพระสัพพพัญญูเจ้าตรัสโดยปฏิบัติปริจเฉท
กำหนดใดข้างปรนนิบัติวิปัสสนาธุระ เป็นศาสนปริจเฉทอย่างหนึ่ง นี่แหละบพิตรพระราชสมภาร
เก็บเอาพระพุทธฎีกา กำหนดกฎหมายสองสถานนี้ มากระทำเคลือบคลุมให้เป็นสถานเดียวรส
อันเดียวกันฉะนี้ ผิแลว่ามีพระทัยจะถามเนื้อความให้เคลือบคลุมเป็นอันเดียวเช่นนี้ อาตมาจะชี้
ออกให้แจ้ง อวิจลมานโส บพิตรพระราชสมภาคเจ้าอย่าเบื่อหน่าย อาตมาจะวิสัชนาถวาย
โดยปริยายให้บพิตรทรงสดับต่อไปอีก มหาราช ขอถวายพระพร เปรียบปานประดุจดังสระใหญ่
อันหนึ่งลึกสุขุม ภาคพื้นราบ มีตาน้ำไหลมาได้ น้ำก็ละเอียดใสสระสะอาจ จะรู้ขาดสระนั้นหามิได้
ใช่แต่เท่านั้น มหาเมฆบันดาลปวัตนาการตกลงมา อปราปรํ หลายครั้งหลายครา
ธาราน้ำฝนก็ไม่ขาดสาย ตกว่ากระแสสินธุ์ที่สระนั้นจะแห้งหายไป สระใหญ่จะขาดจากอุทกัง
เหมือนหน้าฤดูคิมหันต์หรือประการใด

ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า สระนั้นจะได้เปล่าจากอุทกังหามิได้
เหตุว่าสายฝนบันดาลไม่ขาดธารา

พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช รานะบพิตรผู้ประเสริฐ จะเปรียบอุปมาฉันใด
สทฺธมฺมตฬากํ อันว่าสระใหญ่คือพระสัทธรรม ชินสาสนํ เป็นคำสั่งสอนของสมเด็จมุนีวร
พิชิตมาร อันบริบูรณ์ด้วยน้ำใหม่ไหลอยู่สำราญ คืออาจารวัตรปฏิบัติอันไพบูลย์ ที่มีพระพุทธ-
ฎีกาตรัสบัณฑูรทรงอนุกูลโปรดประทานไว้ มหาราช ขอถวายพระพร เมื่อพระพุทธชิโนรสใน
พระบวรพุทธศาสนาและสามเณรอุบาสกอุบาสิกา มีอุตสาหะปรนนิบัติรักษาจตุปาริสุทธิศีล
ให้บริบูรณ์ จำเริญคันถธุระวิปัสสนาธุระเนืองๆ เล่าเรียนต่อไป และบำเพ็ญทานน้อยใหญ่ ตั้ง
อยู่ในศีลห้าเป็นนิตย์ สถิตในศีลแปดเป็นอุโบสถศีลเป็นอติเรก เร่งสดับฟังพระสัทธรรมเทศนา
ไป ผูกใจที่จะรำพึงถึงพระ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ไม่ประมาทที่จะกฤษดาภินิหาร มีอุตาสาหะไปทุก
ตัวคน อุปไมยเหมือนห่าฝาห่าน้อยห่าใหญ่ ตกลงในสระอันกล่าวคือพระสัทธรรมคำสั่งสอน
ของพระชินสีห์ เหตุฉะนี้ ชินสาสนํ คำสั่งสอนพระชินสีห์ก็จะฐิติการตั้งมั่นไปช้านานเป็น
ินิรันดร ก็จะสำเร็จพระอรหันต์เนืองๆ ติดกันไป โลโก อสุญฺโญ ภเวยฺย โลกก็จะไม่เสื่อมสูญไป
เร็วพลัน อรหนฺเตหิ จากพระอรหันต์ทั้งหลาย อิมํ อตฺถํ สนฺธาย นี่แหละสมเด็จพระ
ชิเนนทรทรงพระดำริเห็นความฉะนี้ ภาสิตํ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ภิกษุพุทธ-
ชิโนรสของตถาคตนี้ แม้มีอุตสาหะปรนนิบัติเป็นสัมมาปรนนิบัติได้ วิเหรยฺยุ ํ แน่นอนอยู่ใน
ปฏิบัติตราบใด พระอรหันต์จะได้ขาดจากโลกหามิได้

อนึ่ง จะถวายอุปมา บพิตรพึงตั้งพระทัยสวนาการอีก มหาอคฺคิกฺขนฺโธ กองเพลิง
ใหญ่ ปชฺชลมาโน รุ่งเรืองไปด้วยเปลวอันมาก มิหนำซ้ำบุคคลทิ้งลงซึ่งใบไม้และโคนไม้แห้ง
หลายครั้งหลายครา มหาราช ขอถวายพระพร เพลิงใหญ่นั้นจะรุ่งโรจน์โชตนาการ หรือว่าจะ
อันตรธานไปเล่า

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า
เพลิงนั้นรุ่งเรืองกว่าเก่า ที่จะดับอับรัศมีหามิได้

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ความนี้มีอุปมาฉันใด ชินสาสนํ ศาสนาของพระพิชิต-
มารมิ่งมงกุฎโลกเลิศ วรํ อันประเสริฐโสด ชลติ จะรุ่งเรืองไพโรจน์ ปภาเสติ โชตนาการ
ไปไม่ขาด ทสสหสฺสมฺหิ โลกธาตุยา ในหมื่นโลกธาตุ ด้วยมารยาทและศีลคุณวัตรปฏิบัติ
ต่างๆ นานา มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ พุทฺธปุตฺตา อนึ่งถ้าพระ
พุทธบุตรทั้งหลายปรนนิบัติให้เลิศยิ่งมีความอุตสาหะศรัทธา ปญฺจหงฺเคหิ สมนฺานคตา
ประกอบด้วยองค์ ๕ สุทนฺตา ทรมานอินทรีย์เป็นอันดีมิได้ประมาท มีฉันทชาติเกิดรักใคร่ใน
ไตรสิกขา อุตสาหะพากเพียรพยายามเล่าเรียนไป ตั้งใจอยู่ในธรรมสุจริตอันดี ยังประเพณีและ
ศีลคุณให้บริบูรณ์ไปไม่ประมาท อิทํ สตฺถุสาสนํ อันว่าสุตถุศาสนานี้ ก็จะมีฐิติการตั้งมั่นอยู่
นานไป อสุญฺโญ โลโก โลกจะได้สูญจากพระอรหันต์หามิได้ มหาร ขอถวายพระพร
กระจกส่องอันผ่องใส บุคคลขัดสีให้ดีด้วยจุณไม้อันละเอียด ขัดสีนั้นเนืองๆ ไป จะผ่องใส่
ไพโรจน์ หรือว่าจะมีมลทินโทษเป็นประการใด นะบพิตรพระราชสมภาร

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภุมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชาญาณ แต่พื้นกระจกยังผ่องใส ซ้ำขัดสีอีกเล่าก็จะผ่องไพโรจน์หา
โทษมิได้

พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ฉันใดก็ดี ชินสาสนํ ศาสนาของพระชิสีห์สัมมาสัม
พุทธเจ้าปราศจากราคกิเลสตัณหา เหตุว่าประจักษ์ด้วยพระอริยมรรคแล้ว มิหนำซ้ำพระพุทธ-
บุตรปรนนิบัติให้รุ่งเรืองด้วยอาจารคุณและธุดงคุณและสัลเลขคุณ เร่งบอกกล่าวเล่าเรียน
พากเพียร ก็จะภิยโยภาวะยิ่งขึ้นไปได้ร้อยเท่าพันทวี เหตุฉะนี้ศาสนาของสมเด็จพระพุทธเจ้า
ก็นับแต่จะรุ่งเรืองไป อสุญฺโญ โลโก โลกจะได้สูญไปจากพระอรหันต์หามิได้เป็นอันขาด อนึ่ง
ศาสนาของสมเด็จพระบรมโลกกุตตรมาจารย์เจ้านี้ ปฏิปตฺติมูลํ มีปฏิบัติเป็นรากเหง้าเค้ามูล
ถ้าปฏิบัติบริบูรณ์ไปตราบใด ศาสนาของพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์ ก็จะฐิติการตั้งมั่นไป
ตราบนั้น ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีสุนทรพจนารถพระราชโองการถามว่า ภนฺเต
นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชาญาณ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่าพระสัทธรรมจะอันตรธานนั้น
อย่างไร

พระนาคเสนจึงแก้ไขว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ อันตรธานมี ๓ ประการ คือ
อธิคมอันตรประการ ๑ ปฏิบัติอันตรธานประการ ๑ ลิงคอันตรธานประการ ๑ เป็น ๓
ประการดังนี้ มหาราช ขอถวายพระพร อธิคมอันตรธานนั้น เมื่อพระพุทธบุตรไม่ปฏิบัติ
แล้วก็ขาดจากมรรคผลง อย่างนี้ ชื่อว่าอธิคมอันตรธาน และปฏิบัติอันตรธานนั้น เมื่อพระ
อันตรธาน และลิงคอันตรธานนั้น ได้แก่ประเพณีนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ กำหนดจนผ้ากา-
สาน้อยห้อยหูมีอยู่ยังไม่สูญจากประเพณี ต่อเมื่อไม่มีตราบใด ประเพณีก็สูญเสื่อมเมื่อนั้น
เรียกว่า ลิงคอันตรธาน จงทรงทราบพระญาณเถิด ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ทรงฟังก็มีพระทัยสิ้นวิมัติกังขา จึงมีพระราช-
โองการตรัส ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ คมฺภีโร
ลึกนักหนา อุตฺตานีกโต พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้ตื้นขึ้นได้ ตั้งแต่นี้ไปพวกเดียรถีย์จะปรับ
ปวาทสอดเข้ามาว่าให้ฟั่นเฟืองอย่างไรไม่ได้แล้ว นับแต่ว่าจะลี้ลับอัปรภาคย์ไป พระผู้เป็นเจ้านี้
ประเสริฐกว่าหมู่กว่าคณะทั้งปวง หาใครจะเลิศจะล่วงก้ำเกินกว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่มี ในกาลบัดนี้
ลัมธัมมอันตรธานปัญหา คำรบ ๗ จบเท่านี้


นอกไปจากนี้ยังมีหลักฐานเรื่องทำนายอายุพระพุทธศาสนาอยู่ในแหล่งอื่นๆ อีก เช่น คัมภีร์อรรถกถา เป็นต้น แต่ไม่ได้นำเอามาลงไว้ ผู้สนใจต้องลองศึกษาค้นคว้าดูครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



สมมุติว่า " จริง " แล้วจะเป็นยังไงหรือคะ? จะทำยังไง? จะเตรียมตัวยังไงกันดีคะ?

สมุมมติว่า " เก๊ " แล้วจะเป็นยังไงหรือคะ? จะทำยังไง? จะเตรียมตัวยังไงกันดีคะ?

อตฺตาหิ อตฺตาโน นาโถ ดีกว่ามังคะ
จะได้ไม่ต้องไปสนใจว่า จริงหรือ เก๊ :b38:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 09 เม.ย. 2010, 19:20, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 19:37
โพสต์: 13

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพ่อลี วัดอโศการาม จัดงานฉลองกึ่งพุทธกาล ปีพ.ศ. 2500 ค่ะ พ่อแม่ครูอาจารย์ไป กันเยอะมาก ได้เห็นแม้แต่หลวงตามหาบัว (ในวีซีดีจากวัดอโศ เนื่องในงานวันฉลองพระธุตังคเจดีย์) และองค์หลวงปู่บุญฤทธิ์ท่านเคยเมตตาเล่าถึงครั้งที่ท่านช่วยท่านพ่อลีจัดงานฉลองให้ฟังค่ะ ปี พศ 2500

สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2010, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มุญฺจ ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต
มชฺเฌ มุญฺจ ภวสฺส ปารคู
สพฺพตฺถ วิมุตฺตมานโส
น ปุน ชาติชรํ อุเปหิสิ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2010, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กระทู้นี้ ขอเชิญชวนทุกท่าน มาหาความจริงเรื่องพุทธทำนายกัน

ผมได้รับแจกหนังสือธรรมะแนวโลกใกล้จะแตกแล้วมากเหลือเกิน
แล้วบางส่วนก็อ้างพุทธทำนาย

อยากขอเชิญชวนท่านรักษาความบริสุทธิ์ของพุทธทำนายจริงๆ
ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก ในส่วนที่ออกจากพระโอษฐ์
แยกออกจากพุทธทำนายเก๊


ตัวอย่างพุทธทำนายจริงๆ
ก้คือคราวเมื่อทรงทำนายฝันให้พระเจ้าปเสนธิโกศล 16 ข้อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก

แต่พุทธทำนายเก๊???
เช่น "พระพุทธศาสนาอายุ 5000 ปี"
ก็ไม่ทราบว่า ไปเอามาจากไหนกัน

ขอเชิญชวนทุกท่าน ที่มีข้อมุล หรือช่วยกันชี้ช่องข้อมุล
เพื่อสาธุชนจะได้ศึกษหาความจริงกัน


Keaksim ..จะขอตอบบ้าง...ท่าน ชาติ...ส..หยาม คงจะไม่ว่าอะไร ..เพราะตอบกระทู้ของ ท่านชาติ...ส..หยาม แต่ละครั้ง มักกวน ..อารมณ์ของท่านชาติ ฯ ทุกครั้ง ....แต่จะตอบด้วยการนำพระสูตรมากล่าวอ้าง....บ้างว่าคำว่า พุทธทำนาย
ที่บอกว่าพระศาสนาของพระพุทธเจ้าสมณโคดม อยู่ได้เพียง 5,000 ปี... แต่ไม่เกี่ยวกับโลกแตก ใช่หรือไม่...

และจะขอนำพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าได้ทำนายไว้ และ ประกอบกับพระสูตรที่ควรนำมาเกี่ยวข้อง...ในการเทียบเคียง....และก็พิจารณาร่วมกับพฤติกรรมของชนชาวพุทธในปัจจุบัน เช่นภิกษุ สามเณร ชี อุบาสก อุบาสิกา นั้นมีทิศทางไปในทางเจริญหรือเสื่อม..เพราะปัจจุบัน พุทธศักราช 2553 ปีแล้ว ...จะเรียกว่า เสื่อมได้ขนาดไหน...ก็พิจารณาเอาเองเถอะท่านนักศึกษาวิชาพุทธศาสตร์ ทั้งหลาย

อ้างคำพูด:
๑๐. สุคตสูตร
ว่าด้วยแบบแผนคำสั่งสอนของพระสุคต

[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระสุคตก็ดี วินัยพระสุคตก็ดี ยัง
ประดิษฐานอยู่ในโลก อันนั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุขของ
คนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เป็นความเจริญ เป็นผลดี เป็นความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 381

ก็พระสุคตเป็นไฉน ? คือ ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ (อรห) เป็น
พระอรหันต์ (สมฺมาสมฺพุทฺโธ) เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ (วิชฺชาจรณ-
สมฺปนฺโน) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (สุคโต) เป็นผู้ไปดี
(โลกวิทู) เป็นผู้รู้แจ้งโลก (อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ) เป็นสารถีฝึก
คนไม่มีใครยิ่งกว่า (สตฺถา เทวมนุสฺสาน) เป็นผู้สอนเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย (พุทฺโธ) เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว (ภควา) เป็นผู้
จำแนกธรรม นี้คือ พระสุคต
วินัยพระสุคตเป็นไฉน ? คือพระสุคตนั้นแสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้ง
พยัญชนะ บริบูรณ์บริสุทธิ์สิ้นเชิง (ธรรมที่พระสุคตแสดง พรหมจรรย์
ที่พระสุคตประกาศ) นี้คือ วินัยพระสุคต
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระสุคตก็ดี วินัยพระสุคตก็ดี นี้ยังประดิษฐาน
อยู่ในโลก อันนั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุขของคนมาก เพื่อ
อนุเคราะห์โลก เป็นความเจริญ เป็นผลดี เป็นความสุขแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
เลอะเลือนอันตรธานไป ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิดด้วยบท
พยัญชนะที่ใช้ผิด เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ผิด ย่อมมีนัยอันผิดไปด้วย
นี้ธรรมประการที่ ๑ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมอัน
ทำความว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำสั่งสอนโดยเบื้องขวา นี้ธรรมประการที่ ๒
เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 382

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุเหล่านั้นไม่เอาใจใส่บอกสอนแก่ผู้อื่น เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นล่วงไป สูตรก็ขาดผู้เป็นมูล (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป นี้ธรรม
ประการที่ ๓ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ใหญ่ ๆ เป็นผู้สะสมบริขาร ปฏิบัติย่อหย่อน
มุ่งไปทางจะลาสิกขา ทอดธุระในปวิเวก ไม่ทำความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
ปัจฉิมชนตา (ประชุมชนผู้เกิดภายหลัง คือสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกเป็นต้น )
ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น ก็พลอยเป็นผู้สะสมบริขาร ปฏิบัติย่อหย่อน
มุ่งไปทางจะลาสิกขา ทอดธุระในปวิเวก ไม่ทำความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง
ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง
ไปตามกัน นี้ธรรมประการที่ ๔ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธาน
ไป
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลธรรม ๔ ประการ เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
เลอะเลือนอันตรธาน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
ตั้งอยู่ ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาด้วยบทพยัญชนะ
ที่ใช้ถูกต้อง เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ถูกต้องย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นกัน
นี้ธรรมประการที่ ๑ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมอัน
ทำความว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำสั่งสอนโดยเบื้องขวา นี้ธรรมประการที่ ๒
เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 383

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุเหล่านั้นเลาใจใส่บอกสอนสูตรแก่ผู้อื่น เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นล่วงไป สูตรก็ไม่ขาดมูล (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป นี้ธรรม
นี้ธรรม
ประการที่ ๓ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป
อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ใหญ่ ๆ ไม่เป็นผู้สะสมบริขาร ไม่ปฏิบัติ
ย่อหย่อน เป็นผู้ทอดธุระในการลาสิกขา มุ่งหน้าไปทางปวิเวก ทำความเพียร
เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลัง ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น
ก็พากันเป็นผู้ไม่สะสมบริขาร ไม่ปฏิบัติย่อหย่อน เป็นผู้ทอดธุระในการลาสิกขา
มุ่งหน้าไปทางปวิเวก ทำความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งไปตามกัน นี้ธรรม
ประการที่ ๔ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลธรรม ๔ ประการ เป็นเหตุให้พระสัทธรรม
ตั้งอยู่ ไม่เลอะเลือนอันตรธาน.
จบสุคตสูตรที่ ๑๐

๙. ตติยอนาคตสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ
[๗๙]

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิด
ในปัจจุบัน แต่จะบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน
คือ ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา
จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 194

ศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้น ก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้
กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรม
กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบ
ล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้าง
วินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง
พยายามเพื่อละภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่
อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล
ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถ
แนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็
จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรม
กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่า
อื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรม
ปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การ
ลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อ
ที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอ
ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม
ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 195

จิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิด
ก็จักไม่รู้สึก เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม
การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต
ข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อัน
เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม
ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม
จิต ไม่อบรมปัญญา พระสูตรต่าง ๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง
มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้น
อันบุคคลแสดงอยู่ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้
จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่าง ๆ ที่นักกวี
แต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็น
พาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จัก
ฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่า
ควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้าง
ธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยใน
อนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อ
นี้เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม-
ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต
ไม่อบรมปัญญา ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็น
หัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 196

ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง
ไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้
ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
ความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้
แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบ
ล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต
ข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อัน
เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิด
ในบัดนี้ แต่จะบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น.
จบตติยอนาคตสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 198
๑๐. จตุตถอนาคตสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ
[๘๐]

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ซึ่งยังไม่
บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้
เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม
ก็จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและ
ป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่
สมควร อันไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุจีวร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยใน
อนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้น
อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.
อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาต
ที่ดีงาม เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็น
วัตร ละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และ
ราชธานี แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหา
อันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน
กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละ
ภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะ
ดีงาม เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละ
เสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 199
และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่ง
เสนาสนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดใน
บัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว
พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วย
ภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นาง-
สิกขมานา และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ไม่ยินดี
ประพฤติพรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขา
เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่ง
ยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้
ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารา-
มิกบุรุษ และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส
พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้มี
ประการต่าง ๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียว
บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้
แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง
พยายามเพื่อละภัยนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิด
ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ
ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 446
ปัญจมปัณณาสก์
๑. กิมพิลสูตร
ว่าด้วยเหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม

.
[๒๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุ-
วันใกล้เมืองกิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมพิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้พระ
สัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงใน
ศาสดา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม เป็นผู้ไม่มีความ
เคารพไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
ในสิกขา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน ดูก่อน
กิมพิละนี้ แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อ
ตถาคตปรินิพพานแล้ว.
กิม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรม
ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.
พ. ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงใน
ศาสดา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรมเป็นผู้มีความเคารพ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 447

มาความยำเกรงในสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา
เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน ดูก่อนกิมพิละ นี้แลเป็น
เหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพาน
จบกิมพิลสูตรที่ ๑

สูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยเหตุให้พระสัทธรรมอันตรธานและดำรงอยู่


[๒๘๖] ๔๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรม
โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อ
มิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย
เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุนั้นยังจะประสบบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่า
ทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่
อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น
ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของชนมาก เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นประสบบุญเป็น
อันมาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย.
จบสูตรที่ ๑๐

สูตรที่ ๘

ว่าด้วยเหตุเป็นไปและไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก

[๒๘๔] ๓๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พวกโจรมีกำลัง
สมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัย
เช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป. เสด็จออกไป

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

หรือจะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์
และคฤหบดีก็ไม่สะดวกที่จะผ่านไป จะออกไป หรือเพื่อตรวจตราการงาน
ภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุ
เลวทรามมีกำลัง สมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุพวกที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้นิ่งเงียบ
ทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทชายแดน ข้อนี้ย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย
เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พระเจ้าแผ่นดินมีกำลัง สมัยนั้น พวกโจร
ย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดิน
ย่อมสะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือที่จะออกคำสั่งไปยัง
ชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์และคฤหบดีย่อม
สะดวกที่จะไป ออกไป หรือตรวจการงานภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก. มีกำลัง สมัยนั้น
พวกภิกษุที่เลวทราม ย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น
พวกภิกษุที่เลวทราม เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือ
ออกไปทางใดทางหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสูตรที่ ๘
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 24
พาหิรนิทานวรรณนา


[ปรารภมูลเหตุทำปฐมสังคายนา]
๑ความพิสดารว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลกทรง
บำเพ็ญพุทธกิจ ตั้งแต่ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไปเป็นต้น จนถึงโปรด
สุภัททปริพาชกแล้วเสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในเวลา
ใกล้รุ่ง ในวันวิสาขปุณณมี ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ในสาลวัน อันเป็นที่เสด็จ
ประพาสของเจ้ามัลละทั้งหลาย ใกล้กรุงกุสินารา ท่านพระมหากัสสปผู้เป็น
พระสังฆเถระแห่งภิกษุประมาณ ๗ แสนรูป ซึ่งประชุมกันในสถานที่ปรินิพพาน
แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ระลึกถึงคำที่สุภัททวุฑฒบรรพชิตกล่าว เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วได้ ๗ วันว่า อย่าเลย ผู้มีอายุทั้งหลาย !
ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกไปเลย ท่านทั้งหลายอย่าร่ำไรไปเลย พวกเราพ้น
ดีแล้วจากพระมหาสมณะพระองค์นั้น ด้วยว่าพวกเราถูกพระมหาสมณะ
พระองค์นั้น คอยรบกวนห้ามปรามว่า นี้สมควรแก่เธอทั้งหลาย นี้ไม่สมควร
แก่เธอทั้งหลาย ดังนี้ ก็บัดนี้พวกเราจักปรารถนากระทำกรรมใด ก็จักทำ
กรรมนั้น พวกเราจักไม่ปรารถนากระทำกรรมใด จักไม่ทำกรรมนั่น๒ ดังนี้
ดำริอยู่ว่า ข้อที่พวกปาปภิกษุ จะพึงเป็นผู้สำคัญเสียว่า ปาพจน์มีพระศาสดา
ล่วงไปแล้ว ดังนี้ ได้พรรคพวกแล้วพึงยังพระสัทธรรมให้อันตรธานได้ไม่นาน
เลย เรื่องนี้เป็นฐานะที่มีได้แน่. ความจริง พระวินัยยังตั้งอยู่ตราบใด
ปาพจน์ยังมีพระศาสดาไม่ล่วงไปแล้วตราบนั้น ข้อนี้สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มี-
๑. องค์การศึกษาแผนกบาลี แปลออกสอบในสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๙๐
๒. วิ. จลฺ. ๗ / ๓๘๐

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อานนท์ ! ธรรมวินัยใดอันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว
แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลายโดยกาลล่วง
ไปแห่งเรา๑ ดังนี้ อย่ากระนั้นเลย เราพึงสังคายนาพระธรรมและพระวินัย
ซึ่งจะเป็นวิธีที่พระศาสนานี้จะพึงดำรงมั่นตั้งอยู่สิ้นกาลนาน. อนึ่ง โดยเหตุที่
เราเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กัสสป ! เธอจักทรงผ้าบังสุกุลอันทำ
ด้วยป่านของเรา ซึ่งเราใช้นุ่งห่มแล้วหรือ ดังนี้ แล้วทรงอนุเคราะห์ด้วย
สาธารณบริโภคในจีวร และด้วยการทรงยกย่องไว้เทียบเทียมพระองค์ในอุตริ-
มนุสธรรม มีอนุปุพพวิหารเก้า และอภิญญาหกเป็นประเภท โดยนัยมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เราจำนงอยู่เพียงใด เราสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย
เทียว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงพร้อมซึ่งปฐมฌาน อยู่ได้เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลาย !
แม้กัสสปจำนงอยู่เพียงใด เธอสงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมเข้าถึงพร้อม
ซึ่งปฐมฌานอยู่ได้เพียงนั้นเหมือนกัน๒ ดังนี้ ความเป็นผู้ไม่มีหนี้อย่างอื่นอะไร
จักมีแก่เรานั้นได้, พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเราว่า กัสสปนี้จักเป็นผู้ดำรง
วงศ์พระสัทธรรมของเรา ดังนี้แล้ว ทรงอนุเคราะห์ด้วยอสาธารณานุเคราะห์นี้
ดุจพระราชาทรงทราบพระราชโอรสผู้จะดำรงวงศ์สกุลของพระองค์แล้ว ทรง
อนุเคราะห์ด้วยการทรงมอบเกราะของพระองค์และพระอิสริยยศฉะนั้น มิใช่หรือ
ดังนี้ จึงยังความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย๓
เหมือนอย่างที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ครั้นนั้นแล ท่านพระมหา -
กัสสป ได้เตือนภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย! สมัยหนึ่งเราพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวา มาสู่
เมืองกุสินารา๔ ดังนี้เป็นต้น. สุภัททกัณฑ์ทั้งปวง ผู้ศึกษาพึงทราบโดยพิสดาร.
๑. ที. มหา. ๑๐ / ๑๗๘. ๒. นิทาน. ๑๖ / ๒๐๖ ๓. วิ. จุลฺ. ๗/๓๘๐.
๒. วิ. จุลฺ. ๗ /๓๗๙

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

[พระมหากัสสปชักชวนทำสังคายนา]

เบื้องหน้าแต่นั้น ท่านพระมหากัสสปได้กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย !
เอาเถิด เราทั้งหลายจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัยกัน เพราะว่า ในกาล
เบื้องหน้า อธรรมจะรุ่งเรือง ธรรมจะถูกขัดขวาง อวินัยจะรุ่งเรือง วินัยจะ
ถูกขัดขวาง ในกาลภายหน้า พวกอธรรมวาทีจะมีกำลัง พวกธรรมวาทีจะ
หย่อนกำลัง พวกอวินัยวาทีจะมีกำลัง พวกวินัยวาทีจะหย่อนกำลัง๑ ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายได้เรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ถ้าอย่างนั้น ขอพระเถระ
โปรดคัดเลือกภิกษุทั้งหลายเถิด.๒
[พระมหากัสสปคัดเลือกภิกษุ ๔๙๙ รูป]

พระเถระเว้นภิกษุผู้เป็นปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ-
อนาคามี และพระขีณาสพสุกขวิปัสสก ผู้ทรงพระปริยัติ คือนวังคสัตถุศาสน์
ทั้งสิ้นเสียจำนวนหลายร้อยและหลายพัน เลือกเอาเฉพาะพระภิกษุขีณาสพ
เท่านั้น มีจำนวน ๔๙๙ รูป ผู้ทรงไว้ซึ่งประเภทแห่งสรรพปริยัติ คือ
พระไตรปิฎก ได้บรรลุปฏิสัมภิทามีอานุภาพมาก แตกฉานในไตรวิชชาเป็นต้น
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นสู่เอตทัคคะโดยมาก ผู้ซึ่งพระธรรมสังคาห-
กาจารย์หมายถึงจึงกล่าวคำนี้ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปได้คัดเลือก
พระอรหันต์ ๔๙๙ รูป๓ ดังนี้เป็นต้น.
[ทำสังคายนาจะเว้นพระอานนท์ไม่ได้]

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

เรื่องมหาปเทศ ๔ อย่าง


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จ
ถึงโภคนครแล้ว. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ อานนทเจดีย์ใน
โภคนครนั้น. ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงตั้งใจ
ฟังให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.
[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้
ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา
พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่
คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว สอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลง
ในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า
นี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุนี้จำมาผิดแล้ว
แน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย. ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้. พึงถึง
ความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และ
ภิกษุนี้จำมาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศ
ข้อที่หนึ่งนี้ไว้.
[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้สดับมา
ได้รับมาเฉพาะหน้าของสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอน
ของพระศาสดาดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุ
นั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี
สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้.
พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น และภิกษุสงฆ์จำมาผิดแล้วแน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย.
ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้น สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน
พระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้เป็น
คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุสงฆ์นั้นจำมาถูกต้องแล้ว
แน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สองนี้ไว้.
[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ภิกษุเป็นพระเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว
เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาได้รับมาเฉพาะหน้า
พระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา
ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม. . .เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความ
ตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้ไม่ใช่คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

พระเถระเหล่านั้นจำมาผิดแล้วแน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย.
ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้นสอบสวนในพระสูตร. . . เทียบเคียงในพระวินัยได้.
พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
และพระเถระเหล่านั้น จำมาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึง
ทรงจำมหาประเทศข้อที่สามนี้ไว้.
[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า
นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ พวกเธอ
ไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้าน
แล้ว เรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
ในพระวินัย. ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้นสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงใน
พระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจ
ในข้อนี้ว่า. . . นี้คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และพระเถระ
นั้นจำมาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศ
ข้อที่สี่นี้ไว้. พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศ ๔ เหล่านั้นไว้ ด้วยประการฉะนี้.


จะศึกษาพระศาสนานี้ต้องอ่าน ฟัง ให้มาก ๆ ...แล้วการปฏิบัติ จะได้คล่องตัวโดยไม่ต้องคอยถามครูบาฯอาจารย์ ให้ท่านครูบาฯอาจารย์ ทำนาย หรือพยากรณ์อะไรให้ผิด ๆ ถูก ๆ และก็มาถุ่มเถียงกัน เพราะคำสอนของครูบาฯอาจารย์ไม่เหมือนกัน..

คงต้องอ่านกันพระไตรปิฎก กันเยอะ ๆ จึงจะไม่สงสัย...หรือหวั่นไหว ต่อคำพูดของใคร...ๆ


แก้ไขล่าสุดโดย keaksim เมื่อ 10 เม.ย. 2010, 13:31, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2010, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 22:30
โพสต์: 222

ที่อยู่: เวียนว่ายในวัฏสงสาร (-_-!)

 ข้อมูลส่วนตัว


^
^
^
^
^
กระทู้ตอบด้านบนยาวได้อีก ขอรับยาวได้อีก :b32: :b32:

.....................................................
ขอประสบความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2010, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 16:28
โพสต์: 43

แนวปฏิบัติ: พุทโธ
งานอดิเรก: ผลิตสื่อธรรมและปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: K
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำปัจจุบันให้ดีที่สุดครับ ง่ายสุดแล้วล่ะ
อนาคตนั้นมันอีกยาวนานครับ อายุเราก็เพียงเท่านี้
จะไปยึดติดกับอนาคตที่มาไม่ถึงทำไม
ไม่ใช่ว่าไม่เชื่อในพุทธทำนายครับ
แต่ประโยชน์สูงสุดนั้น ก็คือเราได้ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
นี่ก็คือแนวทางที่เราควรจะกระทำครับผม :b45:

.....................................................
ลิ้งค์โหลด/ไฟล์เสีย ช่วยแจ้งมาที่
kyoung_k@hotmail.co.th


โหลดสารคดีตามรอยพระพุทธเจ้า (เวอร์ชั่นดาวน์โหลด)
ตามรอยพระพุทธเจ้าเวอร์ชั่นDVD(ไฟล์อิมเมจ) : https://www.mediafire.com/folder/e6acs42oa2yxr
ตามรอยพระพุทธเจ้าเวอร์ชั่นVCD : No Up

***รายการอัฟโหลดอื่น ๆ จะทยอยอัฟเดตให้นะครับ***

แก้ไข วันที่ 18 มี.ค.64

ติดตามธรรมะอื่นๆ
https://www.mediafire.com/folder/28awhvp8ddhgl


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2010, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2010, 11:19
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องใดเข้ากันได้กับความคิดความเห็นของตนและพวกก็ว่าจริงไว้ก่อน
เรื่องใดผิดไปจากความเห็นของตนและพวก ก็สงสัยไว้ก่อนว่าไม่จริง

พวกพ้องเป็นใหญ่...อย่าเป็นอย่างนี้เลย :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 135 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron