วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 12:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสมถ-ภาวนา และ การเจริญวิปัสสนา-ภาวนา

ต่างกันที่ "อารมณ์" และ "ระดับขั้นของปัญญา"


"สมถ-ภาวนา"

มี "อารมณ์"-ที่ มหากุศล-ญาณ-สัมปยุตตจิต พิจารณาแล้ว....

..............สงบ-จนตั้งมั่น-แน่วแน่-ที่ "อารมณ์นั้น-อารมณ์เดียว"


"วิปัสสนา-ภาวนา"

มี "ปรมัตถ-อารมณ์" เป็นอารมณ์-ที่ มหากุศล-ญาณ-สัมปยุตตจิต......

.........เริ่มพิจารณา-บ่อย ๆ เนือง ๆ จนรู้ (ตามความเป็นจริง)

ว่า สภาพธรรม (ที่กำลังปรากฏ) แต่ละอย่าง ๆ......"ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน"

(ปรมัตถ-อารมณ์ คือ นามธรรม และ รูปธรรม...ที่เกิดขึ้น...ปรากฏ...แล้วดับไป)


.


"ผล" ของ "สมถ-ภาวนา" (สูงสุด)

ทำให้เกิดเป็นพรหมบุคคล ใน พรหมภูมิ.


.


"ผล" ของ "วิปัสสนา-ภาวนา"

ทำให้ ปัญญา (เจตสิก) รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริง (อริยสัจจธรรม)

และ (เป็นปัจจัยทำให้) ดับกิเลส (แต่ละระดับ) เป็นสมุจเฉท

ตาม (ลำดับ) ขั้นของ "โลกุตตร-มัคคจิต"

ซึ่ง (โลกุตตร-มัคคจิต-แต่ละขั้น) มี "นิพพาน" เป็นอารมณ์.................

......จนถึง "อรหัตต-มัคคจิต" ซึ่ง (ทำกิจ) ดับกิเลสหมดไม่เหลือเลย

(การดับกิเสหมดไม่เหลือเลย คือ "ผล" ของ วิปัสสนา-ภาวนา ขั้นสูงสุด)

(ซึ่ง) เป็นการ "ดับสังสารวัฏฏ์"......(คือ) ไม่ (ต้อง) เกิด อีกเลย.


.
ผู้อบรมเจริญวิปัสสนา-ภาวนา ต้องเป็น "ผู้ตรง"

(ผู้ตรง คือ ตรงต่อสภาพธรรมตามความเป็นจริง)

คือ รู้ว่า "ยังมีกิเลสครบทุกอย่าง"

และ "ยังไม่ต้องการดับโลภะ" ให้หมดก่อน.....

เนื่องจาก ผู้ที่เป็น "ปุถุชน"

จะข้ามไปสู่ "ความเป็นพระอรหันต์" ทันที ไม่ได้.!


เพราะต้องดับ "โลภะ-ที่เกิดร่วมกับ-สักกายทิฏฐิ***" ที่ยึดถือสภาพธรรม-

ที่เกิดร่วมกัน ว่า เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล ให้หมดสิ้น-เป็นสมุจเฉทก่อน

"กิเลสอื่น ๆ" (ที่เหลือ) จึงจะดับหมดสิ้นเป็นสมุทเฉทได้ต่อไป...ตามลำดับ.


***สักกายทิฏฐิ

คือ ความเห็น-ที่ยึดถือสภาพธรรม-ที่เกิดร่วมกัน ว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล.


.


สภาพธรรมแต่ละอย่าง

เกิดขึ้นแล้วก็ดับหมดสิ้นไป "อย่างรวดเร็ว" อยู่ตลอดเวลา.


พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง "หนทางปฏิบัติ" ที่จะอบรมเจริญปัญญา

เพื่อให้รู้แจ้ง "อริยสัจจธรรม" เหล่านั้น ตามความเป็นจริง

ว่า "มีหนทางเดียว" คือ การเจริญอริยมัคค์มีองค์ ๘
"สภาพธรรมที่ปรากฏ".....ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

จำแนกเป็น...."สติปัฏฐาน ๔"

คือ

"กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน"

ขณะใด ที่สติเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของ "รูปธรรม" ที่กาย (ที่กำลังปรากฏ)

ขณะนั้น เป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.


"เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน"

ขณะใด ที่สติเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของ "ความรู้สึก" ที่กำลังปรากฏ

ขณะนั้น เป็น เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน.


"จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน"

ขณะใด ที่สติเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของ "จิตประเภทต่าง ๆ" (ที่กำลังปรากฏ)

ขณะนั้น เป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.


"ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน"

ขณะใด ที่สติเกิดขึ้น ระลึก รู้ ลักษณะของ "รูปธรรมหรือนามธรรมอื่น ๆ"

ขณะนั้น เป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน.


.


คำ ว่า "สติปัฏฐาน" มี ๓ ความหมาย

คือ

๑. สติปัฏฐาน เป็น "สติเจตสิก" ที่เกิดกับ "ญาณ-สัมปยุตต-จิต"

(ขณะที่กำลังเกิดขึ้น) ระลึก รู้ อารมณ์ที่เป็น "สติ-ปัฏฐาน"


๒. สติปัฏฐาน เป็น "ปรมัตถ-อารมณ์"

ซึ่งหมายถึง "นามธรรม และ รูปธรรม-ที่สติระลึก-รู้" (สติปัฏฐาน ๔)


๓. สติปัฏฐาน

หมายถึง ความที่พระศาสดาประพฤติล่วง "ความยินดียินร้าย"

ในหมู่สาวกผู้ปฏิบัติ ๓ อย่าง.

(คือ ปฏิบัติตาม ไม่ปฏิบัติตาม และ ปฏิบัติตามบ้าง-ไม่ปฏิบัติตามบ้าง

อริยมัคค์มีองค์ ๘ คือ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ๔

(หมายถึง) การะลึก-รู้-ลักษณะของสภาพธรรม แต่ละอย่าง-ที่เกิดขึ้น-ปรากฏ

ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.

(ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวัน)


ในวันหนึ่ง ๆ นั้น (สติปัฏฐาน) ย่อมเกิดยาก และ ไม่บ่อย

ตาม "เหตุ" คือ อวิชชา โลภะ และ อกุศลธรรมทั้งหลาย

ที่สะสม-พอกพูนมา-เนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์.


และ แม้ในชาตินี้....ตั้งแต่เกิดมา....แต่ละวัน

ผู้ที่เข้าใจ "เหตุและผล" ของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง

จึงเป็น"ผู้อดทนอย่างยิ่ง"

ในการฟังพระธรรม.....ศึกษาพระธรรม......พิจารณาพระธรรม

เพื่อเข้าใจเรื่องของสภาพธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

จนกว่าจะเป็น "สังขารขันธ์" ปรุงแต่งให้สติปัฏฐานเกิดขึ้น

ระลึก-รู้-ลักษณะของสภาพธรรม-ที่กำลังปรากฏ ได้ถูกต้อง

ตามที่ได้ฟัง และ ได้เข้าใจแล้ว.


ธรรมทั้งหลาย

แม้สติปัฏฐาน และ อริยมัคค์มีองค์ ๘....ก็เป็น "อนัตตา"

ย่อมเกิดขึ้นได้...เมื่อมี "เหตุปัจจัย"

คือ..............

เมื่อ มหากุศล-ญาณสัมปยุตตจิต...สะสมมา(พอ)สมควรแล้ว

ทำให้ไม่หันเหไปประพฤติปฏิบัติ หนทางที่ไม่ใช่การระลึก-รู้

สังเกต พิจารณา สภาพของนามธรรม และ รูปธรรม

"ที่กำลังปรากฏ"......ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.

ผู้อบรมปัญญา...."เป็นผู้ตรง" (ตรงต่อสภาพธรรม)

เมื่อ "สติปัฏฐานเกิด" ก็ รู้ ว่า ต่างกับขณะที่ "หลงลืมสติ"


เมื่อ สติปัฏฐาน (เริ่ม) เกิดในตอนต้น ๆ นั้น............

"ยังไม่รู้ชัด" ในลักษณะของ นามธรรม และ รูปธรรม

(เพราะฉะนั้น) "ความเพียร" ที่เกิดพร้อมสติปัฏฐาน-ที่ระลึกรู้ สังเกต-

-พิจารณา-ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม-ที่กำลังปรากฏ

จึงเป็น "สัมมัปปธาน ๔"


"สัมมัปปธาน ๔"

คือ

สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑

ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑


"สังวรปธาน"

คือ เพียร-เพื่อไม่ให้อกุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิดไม่เกิด) เกิดขึ้น.


"ปหานปธาน"

คือ เพียร-เพื่อ-ละ-อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.


"ภาวนาปธาน"

คือ เพียร-เพื่อให้-กุศลธรรม (ที่ยังไม่เกิดขึ้น) เกิดขึ้น.


"อนุรักขนาปธาน"

คือ เพียร-เพื่อความเจริญ มั่นคง บริบูรณ์-ของกุศลธรรม-ที่เกิดขึ้นแล้ว.


"ความเพียร" ซึ่งเป็น "สัมมัปปธาน ๔" นั้น

ย่อมเป็น "บาท-ให้สำเร็จ-ผล" ร่วมกับ "สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย"

ที่เกิดร่วมกับสภาพธรรม-ที่เป็น "อิทธิบาท ๔"


"อิทธิบาท ๔"

คือ

๑. "ฉันทิทธิบาท" ได้แก่ "ฉันทเจตสิก"

"ความพอใจ"

ที่จะสังเกต พิจารณา รู้-ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม

ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง.

*......การยังผลสำเร็จให้เกิดขึ้น โดยอาศัยความพอใจนั้น

พึงเห็น เช่น บุตรอำมาตย์

"ผู้ไม่ประมาทในการบำรุงพระราชา"

จึงได้ฐานันดร โดยอาศัยการบำรุงนั้น.


๒. "วิริยิทธิบาท" ได้แก่ "วิริยเจตสิก"

"ความเพียร"

ที่จะสังเกต พิจารณา รู้-ลักษณะของนามธรรม และ รูปธรรม

ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง.

*.......การยังผลสำเร็จให้เกิดขึ้น โดยอาศัยความเพียรนั้น

พึงเห็น เช่นกับ บุตรอำมาตย์ ผู้ยังพระราชาให้พอพระทัย

โดย "ความเป็นผู้กล้าหาญในการงาน"

แล้วได้ฐานันดร.


๓. "จิตติทธิบาท" ได้แก่ "จิต"

*....การยังผลสำเร็จให้เกิดขึ้น โดยอาศัยจิต นั้น

พึงเห็น เช่นกับ บุตรอำมาตย์ ผู้ได้ฐานันดร

เพราะ "ความถึงด้วยดีแห่งชาติ"


๔. "วิมังสิทธิบาท" ได้แก่ "ปัญญาเจตสิก"

"ปัญญา"

ที่ไตร่ตรอง สังเกต พิจารณา-ลักษณะของสภาพธรรม.

*.....การยังผลสำเร็จให้เกิดขึ้น โดยอาศัย "ปัญญา" นั้น

พึงเห็น เช่นกับ บุตรอำมาตย์ ผู้ได้ฐานันดร

โดย "กำลังแห่งภาวะ-อันเป็นที่อาศัย"

(โดยความสามารถ) ของตน ๆ


(*...จาก สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาวิภังคปกรณ์ อิทธิปาทวิภังคนิทเทส)

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

[๖๗๒] วิจิกิจฉา เป็นไฉน ?

ปุถุชนเคลือบแคลงสงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์

ในสิกขา ในส่วนอดีต ในส่วนอนาคต ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต ใน

ปฏิจจสมุปปาทธรรมที่ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น การเคลือบ

แคลง กิริยาที่เคลือบแคลง ความเคลือบแคลง ความคิดเห็นไปต่าง ๆ นานา

ความตัดสินอารมณ์ไม่ได้ ความเห็นเป็นสองแง่ ความเห็นเหมือนทางสองแพร่ง

ความสงสัย ความไม่สามารถจะถือเอาโดยส่วนเดียวได้ ความคิดส่ายไป ความ

คิดพร่าไป ความไม่สามารถจะหยั่งลงถือเอาเป็นยุติได้ ความกระด้างแห่งจิต

ความลังเลใจ อันใด นี้เรียกว่า วิจิกิจฉา.
ตามหลักพระธรรมคำสอนแสดงว่า กรรม คือการกระทำ ความจงใจ สภาพธรรมได้แก่

เจตนาเจตสิก เจตนาเป็นนามธรรม เมื่อเกิดขึ้นย่อมมีชีวิตินทีรย์เจตสิกเกิดร่วมด้วย

และเกิดร่วมกับจิตทุกประเภท กรรมหรือเจตนาจะเกิดกับสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ไม่เกิดที่

ก้อนหินก้อนดินภูเขาที่ชาวโลกเรียกว่าธรรมชาติครับ แต่จะเกิดกับสัตว์มีจิตเท่านั้น



เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานกับคุณแม่และหลาน
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล และตั้งใจว่าจะเจริญอาโปกสิน เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
เวลานาน ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
ฟังธรรมศึกษาธรรมทั้งวัน
สวดมนต์ทุกวัน เจริญอนุสติตั้งแต่พุทธานุสสติ ถึงมรณานุสติ
วันนี้มีการถวายเลี้ยงพระทั้งวัด ถวายสังฆทาน ประมาณ 50 ชุด
อีกวัดหนึ่งมีงานบวชมีคนเยอะมาก รวมงานบุญ 2 วัด
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญหล่อพระแก้วคริสตัลตัน ๆ 9 นิ้วเพื่อถวายวัด
โทร 086-1050222

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร