วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 11:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2010, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจยปริคคหญาณ
การค้นหาเหตุของรูปนาม ได้ชื่อว่าปัจจยปริคคหญาณ คือ ปัญญาที่กาหนดรู้เหตุปัจจัยของรูปนามตามความเป็นจริง เป็นญาณที่ข้ามพ้นความสงสัยในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ด้วยการกาหนดรู้รูปนาม ได้ชื่อว่ากังขาวิตรณวิสุทธิ คือความบริสุทธิ์ด้วยการข้ามพ้นความสงสัย อีกด้วย (ดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องวิสุทธิ ๗) ผู้ปรารถนาบรรลุในญาณปัญญาขั้น

สูงขึ้นไป ต้องค้นหาเหตุปัจจัยของรูปนาม อุปมาเหมือนนายแพทย์ที่ชาญฉลาดเมื่อพบโรคแล้วก็ค้นหาสมุฏฐานของโรคนั้นต่อไป เมื่อจะค้นหาเหตุของรูปนาม ก็ควรพิจารณาเหตุของรูปกายก่อนว่ากายนี้ไม่ได้เกิดในดอกบัวชนิดต่างๆ มิได้เกิดในสิ่งใดๆ แต่เกิดขึ้นระหว่างกระเพาะอาหารใหม่และเก่า ด้านหลังเป็นพื้นท้อง ของมารดา หันหน้าเข้าหากระดูกสันหลังของมารดา ล้อมรอบด้วยไส้ใหญ่และไส้น้อย เต็มไปด้วยของปฏิกูล มีกลิ่นเหม็น ดุจตัวหนอนเกิดในของบูดเน่า น้าครา หลุมโสโครก รูปธรรมนี้มีเหตุมีปัจจัยให้เกิดขึ้น ๕ อย่าง ได้แก่ อวิชชา คือความไม่รู้ ตัณหา คือ ความยินดีพอใจในภพชาติ อุปาทาน คือ ความยึดมั่น กรรม คือ เจตนาที่เกิดขึ้นในการทากุศลและอกุศล อาหาร คือ โอชาหรือสารอาหารที่หล่อเลี้ยงร่างกาย เฉพาะธรรม ๔ อย่าง คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม จัดเป็นเหตุ เพราะเป็นตัวทาให้เกิด ส่วนอาหาร จัดเป็นปัจจัย เพราะเป็นตัวอุปถัมภ์ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นที่อาศัยของรูป เปรียบเหมือนมารดาเป็นที่อาศัยของทารก กรรม เป็นผู้ให้เกิด เปรียบเหมือนบิดาเป็นผู้ทาให้บุตรเกิด อาหาร เป็นผู้ค้าจุนให้รูปกายนี้ดารงอยู่เปรียบเหมือนพี่เลี้ยงคอยอุ้มชูทารก เมื่อกาหนดเหตุปัจจัยของรูปได้แล้ว จึงกาหนดเหตุปัจจัยของนามต่อไปว่า จักขุวิญญาณอาศัยจักขุปสาทเกิดขึ้น เมื่อมีรูปารมณ์ มีจักขุปสาทดี มีแสงสว่าง และมีความใส่ใจในการเห็น การเห็น รูปารมณ์ก็เกิดขึ้นได้ เมื่อพิจารณาเหตุปัจจัยของรูปนามตามความเป็นจริงเนืองๆ เสมอๆ ว่ารูปนามในปัจจุบันก็มีเหตุปัจจัยเช่นนี้ แม้ในอดีตที่ผ่านมาแล้วและอนาคตที่ยังมาไม่ถึงก็จักมีเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน เมื่อทราบอย่างนี้ก็สามารถละความสงสัยได้ เหตุปัจจัยของรูปนามตามนัยอภิธรรม แสดงไว้ว่า กรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นเหตุปัจจัยของรูป โดยแยกออกได้ดังนี้
- กรรม ที่เป็นอดีตเท่านั้นที่เป็นเหตุของรูปที่เกิดจากกรรม ได้แก่ จักขุปสาท เป็นต้น

- จิต เป็นเหตุปัจจัยของรูป ได้แก่ จิตตชรูป คือรูปที่เกิดจากจิต ได้แก่ อิริยาบถ ยืน
เดิน นั่ง นอน คู้ เหยียด เคลื่อนไหว เป็นต้น
- อุตุ เป็นเหตุปัจจัยของอุตุชรูป ได้แก่ ความเย็นความร้อนภายในร่างกาย
- อาหาร เป็นเหตุปัจจัยของอาหารชรูป ได้แก่ สารอาหาร วิตามินต่างๆ ที่หล่อเลี้ยงร่างกาย
เมื่อพิจารณาถึงเหตุปัจจัยของรูปนามอยู่ดังนี้เรื่อยๆ จะทาให้ทราบว่ารูปนามในอดีตหรือ อนาคตก็จะเป็นไปเช่นนี้ เมื่อเข้าใจถูกต้องเช่นนี้ ก็จะทาให้ละความสงสัยในการเกิดของสัตว์โลกทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วในอดีตเพราะมีกรรมเป็นปัจจัยก็ดับไปแล้วในอดีต ส่วนขันธ์ที่เกิดใหม่ในภพนี้ก็เป็นอีกพวกหนึ่ง มิได้เป็นขันธ์ที่มาจากอดีตภพ ส่วนขันธ์ที่จักเกิดในภพหน้าก็เป็นอีกพวกหนึ่งมิได้เป็นขันธ์ที่ไปจากปัจจุบันภพนี้ มีอุปมาเปรียบได้ดังนี้ อุปมาระหว่างเหตุกับผล เปลวประทีปอันหนึ่งกับเปลวประทีปอีกอันหนึ่งมิใช่ไส้เดียวกัน แต่เปลวประทีปอีกอันหนึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยเปลวประทีปก่อนๆ ที่เกิดแล้วหรือเชื้อไฟอันอื่นเป็นเหตุเป็นปัจจัย ธรรมทั้งหลายจากอดีตภพมิได้ติดตามไปในปัจจุบันภพหรืออนาคตภพแต่อย่างใดเลย แต่ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันภพนี้ต้องอาศัย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ในอดีตภพเป็นปัจจัย และขันธ์ อายตนะ ธาตุ ที่จักเกิดขึ้นในอนาคตนั้นก็ต้องอาศัย ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ในปัจจุบันภพเป็นปัจจัย บุคคลผู้พิจารณาตามความเป็นจริงในเหตุปัจจัยของนามรูปอยู่เช่นนี้เนืองๆ ความเป็นจริงย่อมปรากฏ เมื่อนั้นปัญญาที่ชื่อว่าปัจจยปริคคหญาณก็เกิดขึ้น จบปัจจยปริคคหญาณ

๓. สัมมสนญาณ ปัญญาในการย่อธรรมทั้งหลายทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันแล้วกาหนดว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะว่าเสื่อมไปสิ้นไป เป็นทุกข์ เพราะว่าน่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะหาแก่นสารมิได้ เป็นปัญญาที่เห็นรูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์ เรียกว่า สัมมสนญาณ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต สัมมสนญาณ เป็นปัญญาสิกขา เพราะมีปัญญาประกอบการพิจารณา และเป็นตีรณปริญญา เพราะมีการกาหนดรู้ด้วยการไตร่ตรอง และเทียบได้กับมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ผู้ปฏิบัติเมื่อเจริญวิปัสสนาจนนามรูปปริจเฉทญาณและปัจจยปริคคหญาณเกิดขึ้นนั้น เพียงแต่มีรูปนามเป็นอารมณ์เท่านั้น เมื่อเข้าสู่ขั้นสัมมสนญาณ ผู้ปฏิบัติต้องพิจารณารูปนามนั้นโดยพระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาในสัมมสนญาณ ปรารถนาจะบรรลุญาณขั้นสูงต่อไป คือบรรลุมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ในเบื้องต้นต้องทาความเพียรเกี่ยวกับการพิจารณาสภาพธรรมที่เป็นหมวดเป็น กอง(กลาปสัมมสนะ)ก่อน เมื่อวิปัสสนูปกิเลส เช่น โอภาสแสงสว่างเกิดขึ้น ก็แสดงว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ได้บังเกิดขึ้นแล้ว และกลาปสัมมสนญาณจึงเป็นญาณเริ่มต้นของวิปัสสนาญาณก็กาลังจะเป็นไป มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินี้เกิดขึ้นและเป็นไปในตีรณปริญญา ตีรณปริญญาจะบังเกิดขึ้นต่อ จากญาตปริญญา เพราะฉะนั้นผู้ปรารถนาจะบรรลุมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ จะต้องทาความเพียรเกี่ยวกับการกาหนดพิจารณาสภาพธรรมที่เป็นหมวดเป็นกองเสียก่อน ด้วยปัญญา ๓ อย่าง คือ ๑. ปัญญาที่กาหนดลักษณะเฉพาะของธรรมทั้งหลาย เช่น ปถวีธาตุ มีลักษณะแข็ง อ่อน ซึ่งเป็นรูป เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ ซึ่งเป็นนาม ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณารูปและนามตามลักษณะเฉพาะเช่นนี้ เรียกว่า ญาตปริญญา
๒. ปัญญาที่มีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ คือ การยกเอาธรรมทั้งหลายขึ้นสู่สามัญญ-ลักษณะ เช่น รูป มีสามัญญลักษณะ

คือ มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เวทนา ก็มีสามัญญลักษณะ เช่นเดียวกัน คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณารูปและนามตามลักษณะไตรลักษณ์เช่นนี้ เรียกว่า ตีรณปริญญา ๓. ปัญญาที่มีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ และเป็นไปพร้อมกับการละวิปัลลาสธรรม ได้แก่ นิจจสัญญา ความสาคัญว่าเที่ยง เป็นสุข ว่าเป็นตัวตน เป็นต้น ปัญญาเช่นนี้ เรียกว่า ปหานปริญญา เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาบรรลุญาตปริญญาเพราะได้ทานามรูปปริจเฉทญาณและปัจจยปริคคหญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ปริญญาอีก ๒ อย่างก็ควรบรรลุด้วย เมื่อตีรณปริญญากาลังเป็นไปอยู่นั้น มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิก็จะบังเกิดขึ้น และตีรณปริญญาก็จะบังเกิดต่อจากญาตปริญญา ฉะนั้นผู้ปรารถนาบรรลุมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิจะต้องทาความเพียรอย่างมากในการกาหนดรู้สภาพธรรมโดยเป็นหมวดเป็นกองให้ได้เสียก่อน ญาณต่างๆ จึงจะเกิดตามมา ถ้าไม่สามารถทาให้นามรูปปริจเฉทญาณเกิดขึ้นแล้ว ญาณขั้นสูงอื่นๆ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย วิธีเจริญวิปัสสนาญาณให้สูงขึ้น เมื่อผู้ปฏิบัติต้องการให้วิปัสสนาญาณสูงขึ้น ต้องทาอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาให้แก่กล้ายิ่งขึ้น ด้วยวิธีการทั้ง ๙ ดังนี้
๑. พยายามกาหนดให้รู้ชัดถึงความดับไปของสังขาร(รูปและนาม) ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
๒. ในขณะที่เห็นความดับไปของสังขารทั้งหลายนั้นควรพยายามให้ถึงพร้อมด้วยการมีสติ
๓. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ เกิดต่อเนื่องกันไป
๔. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ ดาเนินไปด้วยความสะดวกสบาย
๕. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ กาหนดนิมิตของสมาธิ
๖. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้นๆ ดาเนินไปโดยความเหมาะสมของโพชฌงค์ ๗
๗. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต
๘. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตด้วยวิธีข่มไว้ (ข่มทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น)
๙. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตด้วยการไม่ละเลิกหรือหยุดพักเสียในระหว่างกลางคัน และหลีกเลี่ยง อสัปปายะ คือ สิ่งที่ไม่เป็นที่สบาย ๗ แล้วเสพสัปปายะ คือสิ่งที่เป็นที่สบาย ๗ (สัปปายะ มีแสดงไว้แล้วในบทเรียนชุดที่ ๙)
วิธีกาหนดรู้รูปนามในสัมสนญาณ ผู้ปฏิบัติควรดูการเกิดขึ้นของรูปตามธรรมดา รูปเกิดขึ้นมาเพราะเหตุ ๔ อย่าง คือ เกิดจาก กรรม จิต อุตุ อาหาร ใน ๔ อย่างนั้นรูปของสัตว์ทั้งหลายต้องเกิดมาจากกรรมก่อนเป็นครั้งแรก กรรม เป็นเครื่องจาแนกสัตว์ให้เลวและประณีตต่างกันไป จิตและรูปเกิดขึ้นพร้อมกันในขณะปฏิสนธิ ฉะนั้นจิตมีอยู่ตราบใดรูปก็คงเป็นไปอยู่ตราบนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติกาหนดรู้รูปก็สามารถเห็นความเกิดของ รูปได้ด้วย เช่นเดียวกับเมื่อกาหนดรู้นามก็สามารถเห็นความเกิดของนามได้ด้วย วิธีการเห็นความเกิดของนามมีวิธีการกาหนดพอสรุปได้ดังนี้
๑. พิจารณาความยึดถือและปล่อยวาง คาว่า การยึดถือ หมายถึง ปฏิสนธิ(เกิด) ปล่อยวาง หมายถึง จุติ(ตาย) การกาหนดสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นตอนหนึ่ง การกาหนดการหมดไปขาดไปสิ้นไปเป็นตอนหนึ่ง แล้วพิจารณาในสังขารทั้งหลายว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เพราะมีความเกิดขึ้นและเสื่อมไป มีความแปรปรวน มีความเป็นไปเพียงชั่วขณะ มีความขัดแย้งกับความเที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เพราะถูกเบียดเบียนอยู่เนืองๆ เป็นทุกข์ ทนได้ยาก เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ขัดกับความสุข ไม่อยู่ในอานาจแห่งการบังคับบัญชาใดๆ ได้ สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา เพราะเป็นของว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของ ไม่เป็นไปในอานาจ และปฏิเสธอัตตา

๒. พิจารณาความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย คือรูปในวัยเด็กก็ไม่ตั้งอยู่ถึงวัย กลางคน รูปในวัยกลางคนก็ไม่ไปถึงวัยชรา รูปในวัยชราก็ไม่ตั้งอยู่ได้ภายหลังการตาย ในวันหนึ่งๆ รูปที่เป็นไปในตอนเช้ายังไม่ทันถึงตอนกลางวันก็ดับเสียแล้วในตอนเช้านั่นเอง รูปที่เป็นไปในเวลากลางคืนยังไม่ทันถึงตอนเช้าวันรุ่งขึ้นก็ดับเสียแล้วในกลางคืนนั่นเอง หรือแม้ในขณะเดินไปข้างหน้า ยังไม่ทันถอยกลับรูปก็ดับไปในการเดินไปข้างหน้านั่นเอง รูปที่เป็นไปในการคู้ไม่ทันถึงการเหยียดออกก็ดับไปในการคู้นั่นเอง เพราะฉะนั้น รูปนั้น จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อธิบายเพิ่มเติม การกาหนดรู้ว่านี้รูป นี้นาม ที่ผ่านมาแล้วในขั้นของนามรูปปริจเฉทญาณ และรู้เหตุปัจจัยของนามรูปในปัจจยปริคคหญาณนั้น เป็นการปฏิบัติเพียงแค่รู้จักความจริงของรูปนามเท่านั้น แต่ยังไม่เพิกถอนตัณหา มานะ ทิฏฐิ ต่อเมื่อได้พิจารณาในสัมมสนญาณว่ารูปนามนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จึงจะเพิกถอนตัณหา มานะ และทิฏฐิได้ เมื่อเพิกถอนได้แล้ว ความจาได้หมายรู้ว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาตัวตนก็ถูกเพิกถอนออกไปได้ จบสัมมสนญาณ ๔. อุทยัพพยญาณ อุทยัพพยญาณ คือ ปัญญาเห็นความเกิดขึ้นและการปรวนแปรไปของปัจจุบันธรรมทั้งหลาย ได้แก่ เห็นรูปเกิด เห็นลักษณะแห่งความเกิดของรูปนั้น เห็นลักษณะที่รูปนั้นแปรผันไป การพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของรูปขันธ์ พิจารณาเห็นลักษณะดังนี้
๑. พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นของรูปขันธ์ โดยเหตุปัจจัยว่า เพราะอวิชชาเกิดรูปจึงเกิด เพราะตัณหาเกิดรูปจึงเกิด เพราะกรรมเกิดรูปจึงเกิด เพราะอาหารเกิดรูปจึงเกิด เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะของความเกิด ผู้ปฏิบัติย่อมเห็นความเกิดขึ้นของรูปขันธ์ได้ (การพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นไปในทานองเดียวกัน ยังต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า รูปขันธ์เกิดเพราะอาหารเกิดเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เกิดเพราะผัสสะเกิด วิญญาณขันธ์เกิดเพราะนามรูปเกิด)

๒. พิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ โดยเหตุปัจจัยว่า เพราะอวิชชาดับรูปจึงดับ เพราะตัณหาดับรูปจึงดับ เพราะกรรมดับรูปจึงดับ เพราะอาหารดับรูปจึงดับ เมื่อพิจารณาถึงความเสื่อมความแปรปรวนไปของรูป ผู้ปฏิบัติย่อมเห็นความเสื่อมไปของรูปขันธ์ได้ (การพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นไปในทานองเดียวกัน)
ปัญญาขั้น อุทยัพพยญาณ มี ๒ คือ ๔.๑ ตรุณอุทยัพพยญาณ ๔.๒ พลวอุทยัพพยญาณ ๔.๑ ตรุณอุทยัพพยญาณ ผู้ปฏิบัติเมื่อพิจารณาปัจจุบันธรรมเหล่านั้นโดยไตรลักษณ์เข้าใจการเกิดการเสื่อมไปสิ้นไปของรูปนามอย่างชัดแจ้งแล้วตรุณอุทยัพพยญาณ หมายถึง อุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ที่ยังมีวิปัสสนูปกิเลสเกิดปะปนอยู่ย่อมเกิดขึ้น คือ ยังอยู่ในระหว่างการวินิจฉัยว่าใช่ทางหรือไม่ใช่ทาง วิปัสสนูปกิเลส มี ๑๐ คือ ๔.๑.๑ โอภาส คือ แสงสว่าง หมายถึงแสงสว่างในวิปัสสนา สาหรับผู้ปฏิบัติแต่ละท่านจะมีกาลังของแสงสว่างไม่เท่ากัน บางท่านส่องสว่างเพียงที่นั่ง ส่องสว่างตลอดภายในห้อง ส่องสว่างภายนอกห้องด้วย ส่องสว่างไปทั่ววิหารทั้งหมด เป็นต้น ส่องสว่างไปไกลเป็นโยชน์ๆ (แต่ของพระพุทธเจ้าส่องสว่างไปตลอด ๑๐,๐๐๐ โลกธาตุ) เมื่อเกิดขึ้นอย่างนี้ผู้ปฏิบัติก็คิดว่า “แสงสว่างเช่นนี้ไม่เคยปรากฏแก่ตัวเราเลยเราคงบรรลุมรรคผลแน่แล้ว” เมื่อเข้าใจผิดเช่นนี้ก็ยึดถือเอาแสงสว่างนั้นเองว่าเป็นมรรคผล จึงเป็นเหตุให้วิปัสสนาญาณออกไปนอกทาง เพราะผู้ปฏิบัติจะละทิ้งอารมณ์วิปัสสนาเดิม แล้วกลับไปนั่งชื่นชมแสงสว่างนั้นอยู่ด้วยอานาจของตัณหา มานะ และทิฏฐิ

โดยส่วนมากวิปัสสนูปกิเลสนี้มักเกิดแก่ผู้ที่เจริญวิปัสสนาภาวนา แบบสมถวิปัสสนา คือ เจริญสมถะมาก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาภายหลัง เมื่อเกิดโอภาสแสงสว่าง และกิเลสทั้งหลายก็ไม่เกิดขึ้นกับเราเลย เพราะว่ากิเลสที่ถูกข่มไว้ด้วยอานาจของสมาธิไม่สามารถกาเริบได้ จึงทาให้ผู้ที่ได้สมถวิปัสสนานั้นเกิดความคิดว่า “ได้เป็นพระอรหันต์” ๔.๑.๒ ญาณ หมายถึง วิปัสสนาญาณ ในขณะที่ผู้ปฏิบัติกาลังเทียบเคียงไตร่ตรองรูป และนามทั้งหลายอยู่นั้น ญาณซึ่งมีกระแสอันปราดเปรียวแหลมคม แก่กล้าชัดแจ้งก็บังเกิดขึ้น ประดุจดังวชิระของพระอินทร์ที่ทรงซัดออกไป ก็ทาให้ผู้ปฏิบัติหลงติดอยู่ในปัญญานั้นและทาให้เข้าใจผิดได้ว่าเราบรรลุแล้วหนอ เพราะปัญญาอันแก่กล้าเช่นนี้ที่ไม่เคยเกิดได้เกิดขึ้นแก่เรา ทาให้ละทิ้งอารมณ์กรรมฐานที่ควรเจริญไปเสีย ๔.๑.๓ ปีติ หมายถึง ความเอิบอิ่มที่ประกอบด้วยวิปัสสนา ปีติที่เกิดขึ้นในระยะนี้มี ๕ อย่าง คือ ๑. ขุททกาปีติ ความเอิบอิ่มเล็กน้อย ๒. ขณิกาปีติ ความเอิบอิ่มที่เกิดขึ้นชั่วขณะ ๓. โอกกันติกาปีติ ความเอิบอิ่มที่เกิดเป็นระลอกๆ ๔. อุพเพงคาปีติ ความเอิบอิ่มโลดแล่น ๕. ผรณาปีติ ความเอิบอิ่มซาบซ่านแผ่ไปทั่วกาย
๔.๑.๔ ปัสสัทธิ หมายถึง ความสงบในวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนากาลังนั่งอยู่ในที่พักกลางคืนหรือกลางวันก็ตาม ในขณะนั้นทั้งกายและใจของผู้ปฏิบัติจะปราศจากสิ่งรบกวนทั้งหลาย เช่น ความ

กระวนกระวาย ความหนัก ความแข็งกระด้าง ความไม่ควรแก่การงาน ความเจ็บไข้ แต่กายและใจของผู้ปฏิบัติจะประกอบไปด้วย ความสงบ ความเบา ความอ่อน ความควรแก่การงาน ความผ่องใส ความเที่ยงตรง บุคคลที่ประกอบไปด้วยปัสสัทธิเช่นนี้แล้วก็จะมีความเพลิดเพลินยินดีอยู่อย่างนั้น ทาให้ ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน ไม่สามารถทาให้ญาณปัญญาในขั้นสูงเกิดขึ้นเพราะติดอยู่ในปัสสัทธิ ๔.๑.๕ สุข หมายถึง ความสุขที่ประกอบด้วยวิปัสสนา คือในขณะที่ผู้ปฏิบัติบาเพ็ญวิปัสสนาอยู่นั้น ความสุขอันประณีตยิ่งก็จะเกิดขึ้นมาก ชนิดท่วมท้นไปทั่วสรีระ เป็นสุขชนิดที่ท่วมท้นหัวใจ ไม่สามารถที่จะบรรยายได้ เพราะเป็นสุขที่มีรสอันล้าลึก เป็นสุขที่ประเสริฐกว่าความสุขธรรมดาที่มนุษย์พบเห็น สรุปว่า บรรดาความสุขทั้งหลาย อะไรจะมาสุขเท่าสุขในวิปัสสนาไม่มี ฉะนั้นถ้าพิจารณาในสุขอย่างนี้ไม่รอบคอบจะทาให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจผิดยึดว่าสุขนี้เป็นมรรค เป็นผล ๑.๑.๖ อธิโมกข์ หมายถึง ความเชื่อ หรือ ศรัทธาที่ประกอบด้วยวิปัสสนา อธิโมกข์ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสนี้ จะมีลักษณะความผ่องใสอย่างยิ่งของจิตและเจตสิกเป็นศรัทธาที่มีกาลังมาก เพราะจิตและเจตสิกผ่องใสเป็นอย่างยิ่ง ด้วยอานาจศรัทธากล้า พาให้นึกคิดไปใหญ่โต เช่นคิดถึงคนทั้งหลายอยากให้เขาได้เข้ากรรมฐานอย่างตนบ้าง นึกถึงบุญคุณของพระพุทธศาสนา บุญคุณของอาจารย์ผู้สอน เป็นต้น เมื่อคิดเพลิดเพลินไปด้วยศรัทธาอันแรงกล้าทาให้ผู้ปฏิบัติลืมอารมณ์กรรมฐาน ละเลยอารมณ์กรรมฐาน ทาให้เสียเวลาในการปฏิบัติวิปัสสนา ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะมีตัณหา มานะ ทิฏฐิ เข้ามาผสมกับศรัทธานี้ก็ยิ่งทาให้การบาเพ็ญไม่มั่นคง ไม่ก้าวหน้า

๑.๑.๗ ปัคคาหะ หมายถึง ความเพียรที่ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งเป็นความเพียรที่ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป ประคับประคองไว้เป็นอย่างดี พยายามในการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ก่อนแม้อาจารย์จะคอยเตือนให้พยายามทาความเพียรก็รู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย หมดความเพียร แต่บัดนี้ความคิดเช่นนั้นหายไปสิ้น เกิดความขยันขึ้นเป็นพิเศษจนทาให้ตนเองแปลกใจว่า เหตุใดตนจึงมีวิริยะมากไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในการปฏิบัติเช่นนี้ และเมื่อพิจารณาไม่ดี ใส่ใจไม่ถูกก็จะเข้าใจผิดไปว่าได้มรรคผลแล้ว
๑.๘ อุปัฏฐานะ หมายถึง สติที่ประกอบด้วยวิปัสสนา ซึ่งเป็นสติที่เข้าไปตั้งอยู่อย่างดีมั่นคงฝังลึกไม่หวั่นไหวประดุจภูเขาหลวง สติที่เป็นชนิดอุปัฏฐานะนี้ เมื่อเกิดแก่ผู้ปฏิบัติแล้ว ถ้าราพึงหรือนึกถึงอารมณ์ใด อารมณ์นั้นก็ปรากฏชัดเจนมากที่สุด ชนิดว่าไม่เคยเกิดกับตนเช่นนี้มาก่อน ทาให้ผู้ปฏิบัติหลงเข้าใจผิดว่าตนนั้นเป็นผู้วิเศษแล้ว แต่ที่จริงแล้วยังถูกครอบงาด้วย ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ๑.๙ อุเบกขา หมายถึง วิปัสสนูเปกขา และ อาวัชชนูเปกขา วิปัสสนูเปกขา ได้แก่ ความเป็นกลางในสังขารทั้งปวง ส่วนอาวัชชนูเปกขา ได้แก่ ความเป็นกลางที่เกิดขึ้นในมโนทวารนั่นเอง อุเบกขาทั้งสองนี้เกิดขึ้นแก่โยคีบุคคลผู้ซึ่งเริ่มต้นบาเพ็ญวิปัสสนา เมื่ออุเบกขากาลังดาเนินไปอย่างนี้ ผู้ปฏิบัติราพึงถึงอารมณ์ใด อุเบกขานั้นก็จะดาเนินไปอย่างแก่กล้าแหลมคม ไม่ยินดียินร้ายต่อทุกสิ่งเหมือนคนไม่มีกิเลสวางเฉยได้ทุกประการ จนตนเองก็แปลกใจในภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้เป็นยิ่งนัก ถ้าเข้าใจผิดก็จะคิดไปว่าตนเป็นพระอรหันต์แล้วเพราะวางเฉยได้เป็นอย่างดีแล้ว
๔.๑.๑๐ นิกันติ หมายถึง ความยินดีพอใจในวิปัสสนา นิกันตินี้เป็นสภาพที่มีอาการสุขุม และเมื่อเกิดแก่ผู้ปฏิบัติ

แล้ว ย่อมทาความติดใจหรืออาลัยต่อวิปัสสนูป- กิเลส ได้แก่โอภาสเป็นต้น นิกันติในวิปัสสนานี้เป็นความยินดีพอใจที่ใครๆ ไม่สามารถกาหนดรู้ได้ว่าเป็นกิเลส เพราะเป็นสภาพของกิเลสที่ละเอียดมาก การที่ธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้จัดเป็นกิเลสของวิปัสสนาก็เพราะว่า เมื่อธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นจะทาให้ติดอยู่ในอารมณ์นั้นแล้วจะทาให้รู้สึกว่าเป็นสุข เป็นเหตุให้เกิดความพอใจ เมื่อความพอใจเกิดขึ้น การพิจารณารูปนามว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น จิตจะละเลยการปฏิบัติทาให้ไม่สามารถพิจารณาธรรมให้เห็นถึงไตรลักษณ์ จึงเป็นเหตุให้ไม่บรรลุมรรคผลได้เลย วิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติทุกคนที่เป็นปุถุชน เมื่อบรรลุถึง อุทยัพพยญาณอย่างอ่อน ฉะนั้นเมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นก็ให้พิจารณาให้ดีและให้มีสติ อย่าหลงอยู่ในวิปัสสนูปกิเลสเหล่านี้เป็นอันขาด เพราะจะทาให้การปฏิบัติหยุดชะงักไม่ก้าวหน้าถึงญาณเบื้องสูง วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดกับบุคคล ๔ พวก คือ
๑. พระอริยสาวกผู้บรรลุปฏิเวธแล้ว
๒. ผู้ปฏิบัติผิดเริ่มตั้งแต่ศีลวิบัติ เครื่องมือวัดว่าปฏิบัติถูกทางหรือไม่ ก็คือวิปัสสนูปกิเลสนี้เอง
๓. ผู้ละทิ้งกรรมฐาน
๔. ไม่มีแก่ผู้เกียจคร้าน แม้จะปฏิบัติถูกต้องมาตั้งแต่เริ่มต้น เมื่อวิริยะความเพียรน้อยก็ทาให้มีกาลังสมาธิอ่อน เพราะว่าอารมณ์ในวิปัสสนูปกิเลสนั้นเกิดขึ้นจากกาลังสมาธิ
ผู้ปฏิบัติเมื่อประสบกับวิปัสสนูปกิเลสแล้วควรทาอย่างไร เมื่อผู้ปฏิบัติเป็นผู้มีสติอย่างดีเฉียบแหลม ผู้นั้นก็จะผ่านกับดักคือวิปัสสนูปกิเลสไปได้โดยการใคร่ครวญด้วยสติปัญญา ดังนี้

๑. โอภาสนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว แต่สภาวะของโอภาสนั้นไม่เที่ยง มีปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา ๒. ถ้าโอภาสนี้เป็นอัตตาแล้ว การยึดถือโอภาสว่าเป็นอัตตาก็สมควร แต่โอภาสนี้มิใช่อัตตา แต่เป็นอนัตตา เพราะว่าไม่เป็นไปในอานาจ เป็นอนิจจัง เพราะว่ามีแล้วก็ไม่มี เป็นทุกขัง เพราะว่ามีการเบียดเบียน เมื่อผู้ปฏิบัติที่ชาญฉลาดใคร่ครวญดังนี้แล้วก็จะเห็นเนืองๆ ในโอภาสว่า “โอภาสนี้มิใช่ของเรา เรามิใช่โอภาส โอภาสนี้มิใช่อัตตาของเรา” (การพิจารณา ญาณ ปีติ เป็นต้นก็เป็นไปทานองเดียวกัน) เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาเห็นอย่างนี้อยู่เสมอเนืองๆ ก็จะสามารถผ่านพ้นวิปัสสนูปกิเลสทั้งหลายได้

๔.๒. พลวอุทยัพพยญาณ พลวอุทยัพพยญาณ หมายถึง อุทยัพพยญาณอย่างแก่ อุทยัพพยญาณอย่างอ่อนในเบื้องต้นนั้นไม่สามารถกาหนดรู้พระไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงได้เพราะถูกอุปกิเลส ๑๐ ครอบงาอยู่ ผู้ปฏิบัติจึงต้องทาความเพียรพยายามต่อไปอีกจนสามารถพ้นจากอุปกิเลส ๑๐ แล้วอุทยัพพยญาณอย่างแก่ที่ชื่อว่าพลวอุทยัพพยญาณก็จะเกิดขึ้น จึงสามารถกาหนดรู้พระไตรลักษณ์ได้อย่างชัดเจน เหตุใดพระไตรลักษณ์จึงไม่ปรากฏ
๑. การที่อนิจจลักษณะไม่ปรากฏ เพราะสันตติปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการ(พิจารณา)ความเกิดและความดับ
๒. การที่ทุกขลักษณะไม่ปรากฏ เพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและความดับไป

๓. การที่อนัตตลักษณะไม่ปรากฏ เพราะว่าฆนสัญญาคือความเป็นก้อนเป็นแท่ง หรือกลุ่มก้อนปิดบังไว้ และเพราะไม่มนสิการถึงความสลายตัวของธาตุต่างๆ
การพิจารณาเพื่อทาให้พระไตรลักษณ์ปรากฏ ๑. เมื่อกาหนดรู้ความเกิดและดับ แล้วเพิกถอนสันตติออกไปได้ อนิจจลักษณะ ก็ปรากฏตามสภาวะของตนตามความเป็นจริง ๒. เมื่อมนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าอยู่เนืองๆ แล้วเพิกถอนอิริยาบถออกไปได้ ทุกขลักษณะ ก็ปรากฏตามสภาวะของตนตามความเป็นจริง ๓. เมื่อกระจายธาตุต่างๆ ออกไป และพร้อมกับการกระจายฆนะความเป็นแท่ง หรือกลุ่มก้อนออกไปเสียได้ อนัตตลักษณะก็ปรากฏตามสภาวะของตนตามความเป็นจริง ๔. เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญวิปัสสนาจนบรรลุถึงอุทยัพพยญาณอย่างแก่แล้ว ก็ย่อมจะพิจารณากาหนดรู้ในพระไตรลักษณ์ไปตามความเป็นจริงเช่นนี้ได้ อุทยัพพยญาณ คือปัญญาที่เห็นเนืองๆ ในความปรวนแปรของปัจจุบันธรรมทั้งหลาย คือปัญญาเห็นรูปที่เกิดแล้วซึ่งเป็นปัจจุบัน และเห็นความปรวนแปรของรูปนั้น เช่น กาลังดับ เป็นต้น หรือปัญญาที่เห็นอยู่เนืองๆ ในลักษณะแห่งการเกิดหรืออาการใหม่ของรูปนามว่าเป็นความเกิดขึ้นและเห็นอยู่เนืองๆ ในลักษณะแห่งความปรวนแปรความสิ้นไปความแตกดับไปว่าเป็นความดับไป ก่อนที่รูปนามจะเกิดขึ้นก็ไม่ได้มีอยู่ที่ใด เมื่อรูปนามเกิดขึ้นแล้วก็ไม่ได้เกิดมาจากที่ใด เมื่อรูปนามกาลังดับก็หาไปสู่สถานที่ใด เมื่อรูปนามดับแล้วก็ไม่ได้ไปตั้งอยู่ในสถานที่แห่งใดเลย เปรียบเหมือนกับการบรรเลงพิณ คือ ก่อนที่เสียงจะเกิดขึ้น เสียงก็ไม่ได้เก็บไว้ในพิณ เมื่อเสียงกาลังเกิดขึ้นก็ไม่ได้มาจากตัวพิณ เมื่อเสียงกาลังดับก็ไม่ได้ไปอยู่ที่ใด เมื่อเสียงดับไปแล้วก็ไม่ได้ไปเก็บอยู่ที่ใด เสียงพิณนั้นไม่ได้มีอยู่ก่อน แต่เพราะอาศัยพิณและการบรรเลง เสียงพิณจึงปรากฏได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ธรรมทั้งหลายที่เป็นรูปและนาม ก็ไม่ได้มีมาก่อน แต่เมื่อมีเหตุปัจจัยประกอบพร้อมรูปนามก็มีขึ้น เมื่อหมดเหตุปัจจัยก็ดับไป

รูปนามจะปรากฏชัดแก่ผู้พิจารณา โดยลักษณะ ๓ อย่าง ดังนี้
๑. อนิจจลักษณะ คือการเห็นความเกิดขึ้นและดับไปโดยขณะ และรู้ถึงความมีแล้วไม่มี รู้ความว่างเปล่าในเบื้องต้นและที่สุด
๒. ทุกขลักษณะ คือการรู้ถึงความเบียดเบียนเฉพาะหน้าด้วยความเกิดขึ้นและดับไป แม้สภาวลักษณะก็ปรากฏชัดด้วย เพราะมุ่งไปที่รูปนามที่เกิดขึ้นและดับไป สภาวลักษณะ ก็ปรากฏชัด เพราะรู้ว่าไม่มีความดับไปในขณะที่กาลังเกิดขึ้น และรู้ว่าไม่มีความเกิดขึ้นในขณะที่กาลังดับไป
๓. อนัตตลักษณะ คือการเห็นความเกิดขึ้นโดยปัจจัย และรู้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นไปต่อเนื่องด้วยปัจจัยปราศจากผู้กระทา
จบ อุทยัพพยญาณ

๕.ภังคญาณ ภังคญาณ หมายความว่า ปัญญาในการกาหนดรู้อารมณ์แล้วเห็นเนืองๆ ซึ่งความดับไป เมื่อผู้ปฏิบัติกาหนดใคร่ครวญพิจารณาในรูปนามทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่เสมอๆ วิปัสสนาญาณก็มีกาลังแก่กล้าขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ปรากฏรวดเร็วมาก ทาให้วิปัสสนาญาณกาหนด ไม่ทันความเกิดขึ้นความตั้งอยู่ความดับไป หรือนิมิตของสังขารทั้งหลาย สติและวิปัสสนาญาณ คงกาหนดตั้งมั่นอยู่เฉพาะความสิ้นไปความเสื่อมไปได้เพียงอย่างเดียว การกาหนดเห็นเนืองๆ ในอารมณ์โดยความดับไปความสิ้นไปความเสื่อมไป คาว่าเห็นเนืองๆ หมายความว่า เห็นเนืองๆ ในอารมณ์นั้นโดยความไม่เที่ยง มิใช่เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นของเที่ยง เห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ มิใช่เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นสุข เห็นเนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา มิใช่เห็นเนือง ๆ โดยความเป็นอัตตา ทาให้เกิดความเบื่อหน่าย มิใช่เกิดความเพลิดเพลินยินดี

ทาให้เกิดความปราศจากกาหนัด มิใช่เกิดความกาหนัด ทาให้เกิดความดับไป มิใช่เกิดขึ้น ทาให้เกิดการสลัดทิ้งไป มิใช่เกิดการยึดถือไว้ เมื่อผู้ปฏิบัติกาหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทาให้เกิดการเบื่อหน่ายไม่เพลิดเพลินยินดี ปราศจากความกาหนัด การละความกาหนัด(ราคะ)ในขั้นนี้เป็นไปด้วยอานาจแห่งวิปัสสนาญาณขั้นโลกียะเท่านั้น เมื่อผู้ปฏิบัติกาหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งหลายโดยความดับไป และเป็นผู้ปราศจากความกาหนัดแล้วก็จะสามารถกาหนดเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงที่ไม่เคยเห็นโดยความดับไปได้ ด้วย อานาจแห่งวิปัสสนาญาณโดยลาดับ และการมนสิการในสังขารเหล่านี้ก็เห็นแต่ความดับเพียงอย่าง เดียว เมื่อปฏิบัติมาถึงอย่างนี้แล้ว ก็ชื่อว่าสลัดสังขารทั้งหลายทิ้งไปไม่ยึดถือไว้ เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นเนืองๆ ในสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ซึ่งทาให้เกิดการสละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธ์ทั้งหลาย การสลัดทิ้งไปด้วยการสละหรือทาให้เกิดการมุ่งหน้า เข้าไปสู่พระนิพพานอันเป็นสภาวะตรงข้ามกับสังขตธรรม หรือน้อมไปสู่พระนิพพานนั้นด้วยการเห็นโทษของสังขตธรรม เป็นการสลัดทิ้งไปด้วยการมุ่งหน้าเข้าไปสู่พระนิพพาน ผู้ปฏิบัติกาหนดรู้จิตที่มีรูปเป็นอารมณ์ โดยความดับไปนั้น มีลักษณะ ๒ ประการ คือ
๑. กาหนดรู้ความสิ้นไปเสื่อมไปของรูป (หมายถึงรูปที่มาเป็นอารมณ์ของจิต)
๒. กาหนดรู้ความสิ้นไปเสื่อมไปของจิต (หมายถึงจิตที่มีรูปเป็นอารมณ์)ด้วยจิตอีกดวงหนึ่ง
การพิจารณารูปนามอยู่เนืองๆ ว่าดับไปสิ้นไป มีลักษณะ ๓ ประการ คือ

๑. การย้ายไปสู่อารมณ์ หมายความว่า เมื่อเห็นความดับของรูปด้วยจิตดวงใดแล้ว ก็พึงเห็นความดับของจิตได้ด้วยจิตดวงอื่นต่อไปอีก
๒. คงที่อยู่ในอารมณ์ หมายความว่า ในขณะที่กาหนดรู้อยู่เนืองๆ นั้น ก็พิจารณาแน่วแน่แต่ในความดับไปของสังขารเท่านั้น ไม่พึงพิจารณาถึงความเกิดขึ้น
๓. มีกาลังเข้มแข็งในการนึกคิด หมายความว่า มีความสามารถในความนึกคิดติดต่อกันไปไม่มีหยุดคั่นเลย คือ เมื่อเห็นความดับของรูปแล้ว ก็เห็นความดับไปของจิตต่อไปอีก
อานิสงส์ของภังคญาณ ๑. ละภวทิฏฐิ ๒. สละความรักใคร่ในชีวิต ๓. มีความเพียรมั่งคงในการปฏิบัติ ๔. มีอาชีพอันบริสุทธิ์ ๕. ละความทะเยอทะยาน ๖. ปราศจากความกลัว ๗. ประกอบด้วยขันติและโสรัจจะ ๘. อดกลั้นต่อความไม่พอใจ และในความกาหนัดยินดี
จบภังคญาณ

๖. ภยญาณ ภยญาณ หมายความว่า เป็นญาณที่กาหนดรูปนาม โดยความเป็นของน่ากลัว เป็นญาณที่เป็นไปด้วยอานาจพิจารณาถึงสังขตธรรมทั้งหลายโดยความเป็นของน่ากลัว

เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญภังคญาณให้แก่กล้ามากขึ้น ด้วยการกาหนดรู้ความสิ้นไปเสื่อมไปหรือความแตกดับของสังขารทั้งปวงเป็นอารมณ์อยู่ สังขารทั้งหลายซึ่งมีความแตกดับอยู่ในภพ ๓ กาเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐีติ ๗ สัตตาวาส ๙ ก็จะปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัวมาก เช่นเดียวกับ พยัคฆะ เสือเหลือง หมี เสือดาว ยักษ์ รากษส โคดุ สุนัขดุ ช้างดุตกมัน อสรพิษร้าย ปุาช้า หรือหลุมถ่านเพลิงที่ลุกโชติช่วง เป็นต้น ซึ่งปรากฏเป็นที่น่ากลัวมากแก่บุรุษขี้ขลาดที่ปรารถนาจะมีชีวิตอย่างสุขสบาย เมื่อผู้ปฏิบัติกาหนดรู้ชัดว่าสังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว ที่เป็นปัจจุบันก็กาลังดับ แม้จะเกิดในอนาคตก็จักดับไปเช่นนี้ ภยญาณ หรือเรียกได้อีกอย่างว่าภยตุปัฏฐานญาณ ก็บังเกิดขึ้นแล้ว ความกลัวโดยทั่วไปกับภยญาณต่างกันอย่างไร ภยตูปัฏฐานญาณไม่ใช่เป็นญาณที่ประกอบด้วยความกลัว แต่ภยตูปัฏฐานญาณเป็นญาณที่ไตร่ตรองว่า “สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีตก็ดับไปแล้ว ที่เป็นปัจจุบันก็กาลังดับ ที่เป็นอนาคตก็จักดับ” ฉะนั้น เปรียบเหมือนกับบุคคลที่เห็นหลุมถ่านเพลิง ๓ หลุมที่ใกล้ประตูเมือง ตัวเขาเองไม่รู้สึกกลัว เพียงแต่เกิดความคิดไตร่ตรองว่าถ้ามีคนตกลงไปในหลุมทั้ง ๓ นี้ คงได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแน่นอน ไตรลักษณ์กับความกลัวเป็นอย่างไร เมื่อผู้ปฏิบัติมนสิการสังขารทั้งปวงโดยความไม่เที่ยง นิมิตคือความดับไปของสังขารทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ก็จะปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัวแก่ผู้ปฏิบัติ เมื่อผู้ปฏิบัติมนสิการสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์ ความเป็นไปของสังขารคือความบีบคั้นเฉพาะหน้าเข้าใจกันว่าเป็นสุข ทั้งที่เป็นไปในรูปภพและอรูปภพเห็นว่าเป็นสุขนั้น จริงๆ ก็ไม่พ้นไปจากสภาพอย่างเป็นจริงอย่างนี้ไปได้ คือ มีแต่ความเป็นทุกข์ ก็จะปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัว
เมื่อผู้ปฏิบัติมนสิการสังขารทั้งปวงโดยความเป็นอนัตตา นิมิตและความเป็นไปของสังขารก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่าเป็นของสูญไม่มีผู้นา

เป็นประดุจบ้านร้าง พยับแดด และวิมานในอากาศ ด้วยเหตุนี้นิมิตและความเป็นไปของสังขารจึงปรากฏเป็นสภาพที่น่ากลัวแก่ผู้ปฏิบัติ จบภยญาณ ๗. อาทีนวญาณ อาทีนวญาณ หมายความว่า เป็นญาณที่เห็นสังขารรูปนามเป็นโทษ เป็นญาณที่เป็นไปด้วยอานาจการเพ่งถึงสังขารเป็นของน่ากลัวซึ่งตนได้เห็นแล้วนั้นโดยความเป็นโทษ เมื่อผู้ปฏิบัติทาภยตุปัฏ-ฐานญาณให้เจริญมากยิ่งขึ้นแล้ว ไม่ยึดเหนี่ยวในสังขารทั้งหลายที่เป็นไปในภพ ๓ กาเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐีติ ๗ สัตตาวาส ๙ เพราะว่าภพภูมิทั่วทุกหนแห่งเหล่านั้นไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลบลี้ ไม่ว่าจะอยู่ในภพใดก็หลีกหนีจากความทุกข์ทั้งปวงไปไม่พ้น อาทีนวญาณ คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นทุกข์โทษของรูปนาม การปฏิบัติคือในขณะที่เห็นว่ารูปนามไม่ดีน่าเกลียดน่าเบื่อ เป็นของปฏิกูลทั้งนั้น เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว โลภะ โทสะ โมหะ ก็เบาบางลงไปมาก แต่ยังไม่เด็ดขาด ยังจัดเป็นสมุทเฉทปหานไม่ได้ จะได้ก็ต่อเมื่อถึงมรรคญาณแล้วเท่านั้น จบอาทีนวญาณ ๘. นิพพิทาญาณ
นิพพิทาญาณ หมายความว่า ญาณที่พิจารณาเห็นรูปนามโดยอาการเบื่อหน่าย เพราะเมื่อพิจารณาเห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของน่ากลัว เต็มไปด้วยทุกข์โทษนานาประการ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม ไม่ต้องการเกิดอีก ต้องการเข้าถึงพระนิพพาน โดยเร็ว ปัญญาในที่นี้มุ่งหมายเฉพาะภาวนามยปัญญา คือ

ปัญญาที่เกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถึงญาณนี้เท่านั้น ไม่หมายรวมถึงสุตมยปัญญา และจินตามยปัญญาเลย ความเบื่อหน่าย มิได้หมายถึงความเบื่อหน่ายต่อชีวิต คิดฆ่าตัวตาย เบื่อหน่ายการงาน ขาดความอดทน มีความย่อท้อต่อการงานก็หาไม่ แต่หมายถึงความเบื่อหน่ายในสังขารธรรม คือ รูปนาม มีอุปมาไว้เช่น นกที่จับมาขังไว้ในกรงเงินกรงทองกรงแก้วมณีเพชรนิลจินดา ล้วนมีค่ามาก แต่นกนั้น ก็ไม่มีความพอใจปรารถนาจะอยู่ในกรงนั้นเลย มุ่งหน้าแต่จะพยายามหาหนทางออก เพื่อจะบินหนี ไปให้พ้นจากกรงขังอันแสนจะน่าเบื่อหน่ายนั้น อย่างนี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อถึงนิพพิทาญาณก็ ฉันนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในรูปนาม เบื่อหน่ายในภพ เบื่อหน่ายในกาเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐีติ ๗ สัตตาวาส ๙ เหมือนกัน เมื่อผู้ปฏิบัติได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน มีวิปัสสนาญาณผ่านขึ้นมาโดยลาดับ นับแต่นามรูปปริจเฉทญาณ จนกระทั่งถึงญาณนี้ ถ้าขณะใดพิจารณาเห็นรูปนามปรากฏเป็นภัย คือ เป็นของน่ากลัว ขณะนั้นก็จัดเป็นภยญาณ ถ้าขณะใดพิจารณาเห็นรูปนามปรากฏเป็นโทษ ขณะนั้นก็จัดเป็น อาทีนวญาณ ถ้าขณะใดพิจารณาเห็นรูปนามปรากฏเป็นของน่าเบื่อหน่าย และเมื่อเบื่อหน่ายในรูปนามแล้วใจก็น้อมไปในความสงบ ขณะนั้นก็จัดเป็นนิพพิทาญาณ จบนิพพิทาญาณ ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ หมายความว่า ญาณที่มีความปรารถนาใคร่จะพ้นจากรูปนาม โดยที่พิจารณาเห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว มีทุกข์ มีโทษ เป็นเหยื่อลวงให้หลงติดอยู่ในวัฏฏสงสาร เป็นสังขารผู้ปรุงแต่งให้ได้รับความเดือดร้อนและมีความแปรปรวนอยู่เป็นนิตย์ จิตก็เกิดความเบื่อหน่าย อยากออกอยากหนี อยากหลุด อยากพ้นจากสังขตธรรม อยากพ้นจากสังสารวัฏ ใจก็น้อมไปสู่พระนิพพาน

จิตของผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อดาเนินมาถึงมุญจิตุกัมยตาญาณแล้ว ก็อยากจะหลุดอยากจะพ้น จากสังสารวัฏฏ์ เพราะพิจารณาเห็นแน่ชัดแล้วว่าความเกิดในภพนี้ความเป็นไปของขันธ์ที่เกิดแล้ว ความไม่เที่ยงของรูปนาม การสั่งสมกรรมที่จะให้เกิดอีกการเกิดมาอีกทาให้คติต่างๆ ที่จะไปเกิด เช่นทุคติ สุคติ ความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลายความเป็นไปแห่งผลกรรม ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาส เป็นภัยเป็นทุกข์เป็นโทษ เป็นเหยื่อล่อให้หลงติดอยู่ในภพ เป็นสังขาร ปรุงแต่งให้ได้รับความเดือดร้อนทั้งนั้น จึงเกิดความเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ไม่ชอบ ไม่ติด จิตอยากออกอยากหนี อยากหลุด อยากพ้น เพราะเห็นประจักษ์ชัดแล้วว่า ถ้าไม่มีรูปนามเสียได้ จะเกษมปลอดภัย เป็นสุข ไม่มีเหยื่อล่อให้ลุ่มหลง เป็นนิพพาน จิตมีกาลังกล้ามุ่งหน้าแต่จะออกจะหนี จะหลุด จะพ้นไปจากสังขารธรรมและสังสารวัฏฏ์ ผู้ปฏิบัติจะมีจิตใจอุปมาได้ ๘ อย่าง คือ
๑. ปลาติดข่าย ติดแห ติดอวน ย่อมดิ้นรนกระวนกระวายอยากหลุดออกไปจากข่าย จากแห จากอวนฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๒. กบถูกงูคาบไว้กาลังอยู่ในปากงู อยากออกอยากกระโดดหนี ทั้งดิ้น ทั้งร้อง จนสุดความสามารถฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๓. ไก่ปุาเป็นสัตว์อยู่ปุาเป็นประจา เมื่อคนดักบ่วงจับได้นามาขังไว้ในกรง ย่อมดิ้น กระวนกระวายไม่มีความสุข มีแต่ทุกข์ทรมาน อยากออก อยากบินหนีไปอยู่ปุาอันแสนกว้างแสนสบายตามที่ตนเคยอยู่อย่างอิสระฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๔. เนื้อที่ติดบ่วงอยู่ ย่อมพยายามดิ้นจนสุดความสามารถเพราะอยากออก อยากหลุด อยากพ้นไปจากบ่วงฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๕. งูอยู่ในมือของหมองู ย่อมอยากออกไปให้พ้นมือ อยากจะแล่นหนีไปอยู่ในปุาดงพงทึบ ตามความพอใจของตนฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๖. ช้างติดหล่มลึก อยากจะถอนตนให้ขึ้นจากหล่ม พยายามทุกวิถีทางที่จะช่วยตัวเองให้พ้น จากหล่มฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
๗. พญานาคอยู่ในปากครุฑ ย่อมอยากออก อยากหลุดหนีไปให้พ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น

๘. ผู้ที่ถูกข้าศึกล้อม อยากจะออกหนีไปให้พ้นต้องพยายามหาหนทางที่จะออก ที่จะหนีให้พ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น
ผู้ปฏิบัติเมื่อเป็นดังเช่นข้ออุปมา ๘ ข้อข้างต้นแล้ว ย่อมไม่ชอบ ไม่ติดอยู่ในรูปนาม ซึ่งมีแต่ความแตกสลาย มีแต่ความสิ้นความเสื่อมอยู่เป็นนิตย์ บรรดาผู้ที่อยู่ในภพ ๓ กาเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐีติ ๗ สัตตาวาส ๙ จิตของผู้ปฏิบัติมีแต่อยากจะออก อยากหนี อยากหลุด อยากพ้นจากสังขารทั้งปวง ปราศจากความอาลัยในสังขารทุกอย่าง สังขารทั้งหลายจะปรากฏว่ามีแต่ภัย มีแต่โทษมากมายเป็นที่น่าเบื่อหน่าย จึงอยากจะหนีอยากจะพ้นไปเสียโดยเร็ว แล้วก็พยายามปฏิบัติต่อไป ไม่ท้อถอย ลักษณะของญาณนี้ตามที่ปรากฏในปฏิสัมภิทามรรค ผู้ปฏิบัติได้ดาเนินมาถึงญาณนี้แล้ว ย่อมมีสภาวะดังนี้ คือ
๑. มีจิตอยากหลุดพ้นจากความเกิด เพราะเห็นความเกิดเป็นทุกข์ ความเกิดเป็นภัย ความเกิดเป็นอามิสให้ติดอยู่ ความเกิด เป็นผู้ปรุงแต่ง
๒. จิตอยากหลุดพ้นจากความเป็นไปของรูปนาม เพราะเห็นความเป็นไปไม่ขาดสายของรูปนาม เป็นทุกข์เป็นของน่ากลัวเป็นอามิสให้หลงติดอยู่ เป็นผู้ปรุงแต่ง
๓. จิตอยากหลุดพ้นจากสังขารนิมิต คือ เครื่องหมายของรูปนามเป็นของไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นต้น เพราะเห็นว่าสังขารนิมิตเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัวเป็นอามิสให้หลงติด อยู่ เป็นผู้ปรุงแต่ง
๔. จิตอยากหลุดพ้นจากการสั่งสมกรรม เพื่อให้เกิดในภพใหม่อีก เพราะเห็นว่าการสั่งสมกรรมเป็นทุกข์เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่ เป็นผู้ปรุงแต่ง
๕. จิตอยากหลุดพ้นจากการปฏิสนธิอีกเพราะเห็นว่า การถือปฏิสนธิอีกเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่ เป็นผู้ปรุงแต่ง
๖. จิตอยากหลุดพ้นจากคติเพราะเห็นว่า คติต่างๆ เช่น สุคติ ทุคติ เป็นทุกข์เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่ เป็นผู้ปรุงแต่ง

๗. จิตอยากหลุดพ้นจากความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลายเพราะเห็นว่าความบังเกิดขึ้นของขันธ์ทั้งหลาย เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่ เป็นผู้ปรุงแต่ง
๘. จิตอยากหลุดพ้นจากความเป็นไปของผลกรรมเพราะเห็นว่าผลกรรมต่างๆ เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๙. จิตอยากหลุดพ้นจากความเกิด เพราะเห็นว่าชาติเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่ เป็นผู้ปรุงแต่ง
๑๐. จิตอยากหลุดพ้นจากความแก่ เพราะเห็นว่าความแก่เป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิส ให้หลงติดอยู่
๑๑. จิตอยากหลุดพ้นจากพยาธิ เพราะเห็นว่าเป็นพยาธิเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิส ให้หลงติดอยู่
๑๒. จิตอยากหลุดพ้นจากมรณะ เพราะเห็นว่ามรณะเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้ หลงติดอยู่
๑๓. จิตอยากหลุดพ้นจากความเศร้าโศก เสื่อมญาติ เสื่อมโภคะ เสื่อมเพราะโรคเบียดเบียน เพราะเห็นว่า ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
๑๔. จิตอยากหลุดพ้นจากความคับแค้นใจ เพราะถูกความเสื่อมต่างๆ ครอบงา เพราะเห็น ว่าความคับแค้นใจเป็นทุกข์ เป็นของน่ากลัว เป็นอามิสให้หลงติดอยู่
จบมุญจิตุกัมยตาญาณ ๑๐. ปฏิสังขาญาณ ปฏิสังขาญาณ หมายความว่า ญาณพิจารณาเห็นรูปนามโดยขะมักเขม้นต่อจากมุญจิตุกัมยตา-ญาณ เป็นความรอบรู้ในกองสังขารตามความเป็นจริง ปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญาย้อนกลับไปพิจารณาสังขารแล้วยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์
ปฏิสังขาญาณ คือ ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามเป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นของน่ากลัว เป็นเหยื่อ ของมาร เกิดความเบื่อหน่าย อยากออก อยาก

หนี อยากหลุดพ้น จึงตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้ได้บรรลุซึ่งมรรค ผล นิพพาน โดยหาอุบายในการหลุดพ้น ๑๕ อย่าง คือ
๑. พิจารณาการเกิดขึ้นและการดับไปของรูปนาม แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๒. พิจารณาความเป็นไปของรูปนามที่เกิดขึ้นแล้วกาลังเป็นไปไม่ขาดสาย แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๓. พิจารณาสังขารนิมิต คือลักษณะของสังขารรูปนามว่าเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๔. พิจารณาเห็นรูปนามกาลังสั่งสมกรรม อันกรรมนั้นจะนาให้เกิดอีก จึงเบื่อหน่าย เพื่อหลุดพ้น แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๕. พิจารณาเห็นรูปนาม ที่กาลังเกิดขึ้นมาใหม่ว่า เป็นทุกข์น่ากลัว เพื่อหลุดพ้น แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๖. พิจารณารูปนามที่กาลังตกอยู่ในคติต่างๆ มีทุคติ สุคติ ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๗. พิจารณารูปนามที่กาลังเกิดเป็นขันธ์ ๕ อยู่ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๘. พิจารณารูปนามที่กาลังเป็นไปตามวิบาก คือกรรมของตนๆ ที่ทามาตั้งแต่ภพก่อน และในภพนี้ชาตินี้ว่าล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึง พระนิพพาน
๙. พิจารณาเห็นรูปนามที่กาลังเกิดขึ้นมาเป็น รูปชาติ นามชาติ รูปโลก นามโลก ว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์ไม่มีแก่นสาร แล้วเบื่อหน่ายอยากพ้น ตั้งใจปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๐. พิจารณารูปนามที่กาลังเสื่อมไป สิ้นไป แก่ไป คร่าคร่าไป ว่าเป็นทุกข์เป็นโทษ น่ากลัวน่าเบื่อ แล้วเบื่อหน่ายอยากหลุดพ้น แล้วปฏิบัติเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๑. พิจารณารูปนามที่กาลังถูกพยาธิเบียดเบียน ครอบงาว่าเป็นทุกข์ เป็นภัย เป็นโทษ ไม่มีสารประโยชน์ไม่มีสุข จึงเกิดความเบื่อหน่าย อยากหนียากพ้น แล้วหาทางพ้น โดยปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน

๑๒. พิจารณารูปนามที่กาลังแตกดับ คือตายอยู่ทุกขณะ ว่าเป็นทุกข์ น่ากลัว น่าเบื่อหน่ายเกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุด อยากพ้น จึงตั้งใจปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๓. พิจารณารูปนามที่กาลังเศร้าโศก เพราะถูกความเสื่อมครอบงา แล้วเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น จึงตั้งใจปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ได้ถึงพระนิพพาน
๑๔. พิจารณารูปนามที่กาลังร้องไห้อยู่ เพราะถูกความเสื่อม ๕ ประการ (เป็นความเสื่อที่เกิดจากเหตุ ๕ อย่าง คือ เสื่อมญาติ มีโรคภัยเบียดเบียน เสื่อมทรัพย์ เสื่อมจากศีล เสื่อมจากสัมมาทิฏฐิ) ครอบงาว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์ เป็นโทษ น่าเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น แสวงหาทางพ้นโดยตั้งใจปฏิบัติต่อไปเพื่อให้ถึงพระนิพพาน
๑๕. พิจารณารูปนามที่กาลังมีความคับแค้นใจ เพราะความเสื่อม ๕ ประการครอบงา เห็นว่าเป็นของน่ากลัว เป็นทุกข์โทษ น่าเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้น ตั้งใจปฏิบัติเพื่อ ให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน
เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาเห็นรูปนามโดยแจ้งชัดอย่างนี้แล้ว ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวิปัสสนาญาณอันเจริญขึ้นแล้ว เพราะกาหนดสังขารพิจารณาได้ดี เพื่อจะยังอุบายแห่งการหลุดพ้น ให้เกิดขึ้น ความอยากหนีอยากพ้น ก็มีอุปมาดังนี้ เปรียบเหมือนกับชายคนหนึ่งต้องการจะจับปลา เมื่อเอาสุ่มๆ ลงไปในน้าแล้วเอามือล้วงลงไปในสุ่มเพื่อจับปลา แต่เขาจับได้งูเห่าที่อยู่ในสุ่มนั้น ขณะที่มือยังไม่พ้นจากน้าเขาเข้าใจว่าเป็นปลาตัวใหญ่ เขาดีใจมาก แต่เมื่อยกมือขึ้นพ้นน้าก็เห็นว่าเป็นงูไม่ใช่ปลาอย่างที่คิดก็หวาดกลัวว่างูนั้นจะกัดทาร้ายตนแต่จะทาอย่างไรดีเมื่องูอยู่ในมือตน จึงคิดวางแผนที่จะปล่อยงูให้พ้นไปโดยเร็ว โดยการจับงูชูขึ้นเหนือศีรษะแล้วเหวี่ยงไปรอบๆ ทาให้งูอิดโรยและอ่อนกาลังลงแล้วจึงเหวี่ยงทิ้งไปอย่างแรง อุปมานี้เปรียบเหมือนบุคคลย่อมยินดีพอใจเมื่อได้เกิดมา เพลิดเพลินสนุกสนาน เปรียบเหมือนชายคนนั้นจับงูได้นึกว่าเป็นปลาใหญ่แล้วดีใจมาก ฉะนั้น บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติย่อมไม่รู้จักความจริง เมื่อไม่รู้จักความจริงจึงหลงติดอยู่ เพลิดเพลินยินดีอยู่กับโลก

เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นรูปนามโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏเป็นของน่ากลัว จัดเป็นญาณตั้งแต่ต้นจนถึงภยญาณ เปรียบเหมือนบุรุษดึงงูออกจากสุ่มเมื่อเห็นว่าเป็นงูแล้วกลัว เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณาเห็นรูปนามว่า เป็นทุกข์ เป็นโทษ เป็นภัย แล้วเกิดความเบื่อหน่าย เป็นนิพพิทาญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษพิจารณาเห็นทุกข์ เห็นโทษ เห็นภัย อันจะเกิดขึ้นแก่ตนอย่างใหญ่หลวง เพราะการจับคองูนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อยากหลุดพ้นจากรูปนาม อยากหลุดพ้นจากสังสารวัฏนี้เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณ เปรียบเหมือนกับบุรุษที่จับคองูนั้นอยากจะเหวี่ยงงูให้พ้นไปจากตัว เมื่อผู้ปฏิบัติยกรูปนามขึ้นสู่พระไตรลักษณ์นี้เป็น มุญจิตุกัมยตาญาณอย่างแก่ และเข้าเขตปฏิสังขาญาณอย่างอ่อน เปรียบเหมือนกับบุรุษแสวงหาวิธีจะเหวี่ยงงู แล้วทาการเหวี่ยงงูไปให้พ้น เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาพิจารณารูปนามยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์บ่อยๆ วนไปเวียนมาอยู่กับพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทาให้กิเลสหมดกาลังลงจนไม่สามารถจะเห็นว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของสวยงาม เป็นตัวตน เรา เขา จะเห็นตรงกันข้ามคือเห็นว่าเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เป็นอสุภะ อย่างนี้เป็น ปฏิสังขาญาณ เปรียบเหมือนบุรุษจับงูแกว่งอย่างแรงเพื่อทาให้หมดกาลังจนงูไม่สามารถจะมากัดเขาได้ แล้วเหวี่ยงไปไกลๆ ให้พ้นตัว ฉะนั้น จบปฏิสังขาญาณ


เดี๋ยวคราวหน้าเอาลำดับญาณต่อไปมาให้อ่านนะครับ


เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล และตั้งใจว่าจะเจริญอาโปกสิน เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
เวลานาน ได้เจริญอนุสติ 8 อย่าง ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน ฟังธรรมศึกษาธรรมทั้งวัน รักษาอาการป่วยของแม่ทุกวัน
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญสร้างสิงห์ถวายวัด
โทร.089-9555-870

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 188 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร