ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
เหตุ http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=31043 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | รสมน [ 23 เม.ย. 2010, 10:19 ] |
หัวข้อกระทู้: | เหตุ |
เรื่องการใช้ภาษาหรืออักษรจะเหมือนหรือต่างกัน คงไม่สำคัญเท่ากับ ความเข้าใจ เพราะถ้าไม่ได้ศึกษาอย่างถูกต้อง หรือไม่เข้าใจความจริง จะใช้คำ อย่างไร การกระทำนั้นก็จะถูกต้องไม่ได้ ผลคือการรู้ตามความเป็นจริง หรือการ ดับกิเลสก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ครับ ดังนั้นควรศึกษาพระธรรมโดยละเอียดและศึกษา โดยรอบคอบเสียก่อนจึงจะถูกต้องครับ การจะฝึกจิต(ไม่มีตัวตนที่ฝึก) จากที่เป็นอกุศล ตกไปในฝักฝ่ายของอกุศล บ่อย ๆ เนือง ๆ ให้ลดน้อยลง เริ่มเป็นกุศลที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน ได้นั้น สิ่งสำคัญที่สุด ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญา ความเข้าใจถูก เห็นถูกไป ตามลำดับ เพราะเหตุว่าเมื่อปัญญาเจริญขึ้นไป ย่อมจะช่วยบรรเทาอกุศลจิตให้ ลดน้อยลงได้ และที่สำคัญ ปัญญานี้เองจะสามารถดับกิเลสได้ตามลำดับมรรค สูงสุด คือ ปัญญาขั้นอรหัตตมรรค ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดไม่เกิดอีกเลย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ หน้าที่ ๔๐๓ พระศาสดา ตรัสว่า "เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดาจิตนี้บุคคล รักษาได้ยาก, เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์อะไร ๆ อย่างอื่น, ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก" ดังนี้แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า "การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมดาเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุข มาให้" แก้อรรถ บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในพระคาถานั้น (ดังต่อไปนี้).- ธรรมดาจิตนี้ อันบุคคล ย่อมข่มได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทุนฺนิคฺคหํ. จิตนี้ย่อมเกิดและดับเร็ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ลหุ, ซึ่งจิตอันข่มได้ยาก อันเกิดและดับเร็วนั้น. บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาติโน ความว่า มักตกไปในอารมณ์ใด อารมณ์ หนึ่งนั่นแล. จริงอยู่ จิตนี้ ย่อมไม่รู้จักฐานะอันตนควรได้ หรือฐานะอันไม่ควรได้, ฐานะอันสมควรหรือฐานะอันไม่สมควร ย่อมไม่พิจารณาดูชาติ ไม่พิจารณาดูโคตร ไม่ พิจารณาดูวัย; ย่อมตกไปในอารมณ์ที่ตนปรารถนาอย่างเดียว. เพราะเหตุนั้น พระผู้ มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่" การฝึกจิตเห็นปานนี้นั้น เป็นการดี คือ ความที่จิตอันบุคคลฝึกฝนด้วยอริยมรรค ๔ ได้แก่ ความที่จิตอันบุคคลทำแล้วโดยประการที่จิตสิ้นพยศได้ เป็นการดี. ถามว่า " เพราะเหตุไร ? " แก้ว่า " เพราะว่า จิตนี้อันบุคคลฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้ คือว่า จิตที่ บุคคลฝึกแล้ว ได้แก่ทำให้สิ้นพยศ ย่อมนำมาซึ่งความสุขอันเกิดแต่มรรคผล และ สุขคือพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์." ขอเรียนว่าทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ใช่ว่าเราจะห้ามจิต หรือจะดูจิต โดยไม่มี ปัญญา จริงๆแล้วเป็นเรื่องของการค่อยๆสะสมอบรมทีละเล็กทีละน้อย โดยเริ่มตั้งแต่ การค่อยๆฟังให้เข้าใจเสียก่อนว่า คืออะไร เกิดเพราะเหตุใดจะดับได้อย่างไร มีข้อ ปฏิบัติอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มีการศึกษาและมี การอบรมตามลำดับ จะข้ามขั้นไม่ได้ ครับ เพราะฉะนั้นการฟังการศึกษา(ปริยัติ) จึงเป็นลำดับที่หนึ่ง เพื่อถึงการรู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ (ปฏิบัติ) จากนั้นจึงจะ ถึงการบรรลุมรรคผลคือ ปฏิเวธได้... การกระทำสิ่งที่ไม่สมควรด้วยความไม่รู้ว่าเป็นโทษ นี้ก็เป็นโทษของวัฏฏะอย่างหนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น สัตว์ทั้หลายจึงกระทำกุศลกรรมบ้าง กระทำอกุศลกรรม บ้าง บัณฑิตผู้มีปัญญา จึงเห็นโทษของกิเลสอันเป็นเหตุของการกระทำกรรมต่างๆนั้น อกุศลกรรมในอดีตที่กระทำไปแล้วก็เป็นอันกระทำไปแล้ว จะให้กลับมาแก้ไขใหม่ย่อม ไม่ได้ อนาคตก็ยังไม่มาถึง ปัจจุบันขณะนี้สำคัญที่สุด ควรเป็นผู้สำรวมระวังในกาย วาจา และใจ ควรเป็นผู้สะสมบุญ ควรเป็นผู้สะสมอบรมเจริญปัญญา ด้วยการศึกษา พระธรรมคำสอนของท่านผู้ตรัสรู้เพราะคำสอนของท่านนำออกจากความไม่รู้ นำออก จากกิเลส นำออกจากวัฏฏทุกข์ทั้งปวงครับ เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน กับคุณแม่และหลาน ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน และเจริญอาโปกสิน ฟังธรรมศึกษาธรรม รักษาอาการป่วยของแม่ ศึกษาการรักษาโรค เมื่อวานนี้ได้มีงานถวายที่ดินให้ทางวัด และซื้อรถให้แก่ทางวัด 2 คัน รวมแล้วประมาณ 1000000 บาท และมีงานถวายสังฆทาน 10 ชุด สร้างพระนอน สร้างพระเนตรของพระพุทธรูป ทำบุญเลี้ยงพระ 100 รูป และอีกวัดหนึ่งมีการทำบุญเลี้ยงพระทั้ง วัดซึ่งมีผู้มาร่วมงานเยอะมาก และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย ขอชิญโครงการพัฒนาวัดสันป่าสัก (วัดร้าง) พระมหาคุณาสาฬห์ สุคุณโสภี โทร.086-914-6548 ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |