วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 03:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 08:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


พหูสูตรมีรายละเอียดมากมาย

คำว่าพหูสูตรนั้นมีความหมายว่าอย่างไร

และเกี่ยวข้องกับโยนิโสนมสิการอย่างไร

เชิญอ่านได้ครับ



พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 40

๖. วิมุตติสูตร

ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น

เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น

ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ

ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม

ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่

เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์

แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้

เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ

ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป

หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม-

จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม

แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ

ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ

ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม

ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม-

จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง-

ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า

ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร

เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม

เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม

ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม-

จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม

เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้

ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า

ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ

เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ

ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ

ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม-

จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม

เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้

สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้

ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า

สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้

ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน

ธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ

ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ

เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ

เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ

ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น

อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก

โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้

จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น

ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ

ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

จบวิมุตติสูตรที่ ๖




พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต เล่ม ๕ หน้าที่ 40

๗. ปฐมนาถสูตร

ว่าด้วยธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการ



[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ที่พึ่งอยู่เถิด อย่า

เป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะ) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่ง ย่อมอยู่เป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการ

เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล

สำรวมในปาฎิโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็น

ภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ใน

สิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็น

ผู้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ

ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ

พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วย

ทิฏฐิ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้

เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ ประกอบด้วยธรรม

เครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดยเคารพ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย คือ เป็นผู้ประกอบด้วย

ธรรมเครื่องกระทำความเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับอนุสาสนีโดย

เคารพ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจที่ควร

ทำอย่างไร ทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ประกอบด้วย

ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา อันเป็นอุบายในกิจนั้น อาจทำ อาจจัด

ได้ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกิจ

ที่ควรทำอย่างไรทั้งสูงทั้งต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ฯลฯ อาจ

ทำอาจจัดได้นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟังและแสดง

ธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอัน

ยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เป็นผู้ฟัง

และแสดงธรรมอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง

ในวินัยอันยิ่ง นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละ

อกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็น

ผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศล

ธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มี

กำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้

เป็นธรรมการทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะและเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมีตามได้ ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนา-

สนะและเภสัชบริขารอันเป็นปัจจัยของคนไข้ ตามมีตามได้ นี้เป็นธรรม

กระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเป็น

เครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ทำคำที่พูด

แล้วแม้นานได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ

ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ซึ่ง

สิ่งที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา

อันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น

ทุกข์โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ

ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส

ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมกระทำที่พึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีที่พึ่งอยู่เถิด

อย่าเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งอยู่เลย (เพราะว่า) บุคคลผู้ไม่มีที่พึ่งย่อมอยู่เป็น

ทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมกระทำที่พึ่ง ๑๐ ประการนี้แล.



จบปฐมนาถสูตรที่ ๗




--------------------------------------------------------------------------------





อรรถกถาปฐมนาถสูตรที่ ๗



ปฐมนาถสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สนาถา ความว่า มีญาติ คือ มีญาติพวกพ้องมาก

อยู่. ชนเหล่าใดทำที่พึ่ง เหตุนั้นชนเหล่านั้น ชื่อว่าผู้ทำที่พึ่ง อธิบาย

ว่า กระทำให้มีที่พึ่ง ที่พำนักแก่ตน. ในบทว่า กลฺยาณมิตฺโต เป็นต้น

ชื่อว่า มีกัลยาณมิตร ก็เพราะมีมิตรดี ที่สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น ชื่อว่า

มีกัลยาณสหาย ก็เพราะชนเหล่านั้นเป็นสหายของเขา เพราะไปร่วม

กันในอิริยาบถมียืน นั่งเป็นต้น. ชื่อว่ากัลยาณสัมปวังกะ ก็เพราะเออ

อวยโอนอ่อนในพวกกัลยาณมิตร ด้วยกายและใจ.

บทว่า สุวโจ โหติ ความว่า ย่อมเป็นผู้ที่เขาพึงว่ากล่าว

โดยง่าย ที่เขาพึงสั่งสอนได้ง่าย. บทว่า ขโม ได้แก่ แม้ถูกว่ากล่าว

ด้วยคำหยาบคาย กักขฬะ ก็ทนได้ ไม่โกรธ. บทว่า ปทกฺขิณคฺคาหี

อนุสาสนึ ความว่า ไม่การทำเหมือนบางคน ที่เมื่อถูกท่านโอวาทก็

รับเอาข้างซ้าย [ไม่เคารพ] ตอบโต้หรือไม่ฟังเดินไปเสีย รับเอาเบื้อง

ขวา [คือโดยเคารพ] ด้วยกล่าวว่า โอวาทพร่ำสอนเถิดท่าน เมื่อท่าน

ไม่โอวาท คนอื่นใครเล่าจักโอวาท ดังนี้.

บทว่า อุจฺจาวจานิ แปลว่า สูงต่ำ. บทว่า กึกรณียานิ

ได้แก่กิจกรรมที่ถามอย่างนี้ว่า ผมจะทำอะไร แล้วกระทำ. บรรดา

กิจกรรมสูงต่ำ ชื่อว่า กิจกรรมสูง ได้แก่ กิจกรรม เช่นว่า ทำจีวร

ย้อมจีวร โบกปูนพระเจดีย์ กิจกรรมที่จะพึงทำในโรงอุโบสถ เรือนพระ

เจดีย์ และเรือนโพธิ์ อย่างนี้เป็นต้น . ชื่อว่ากิจกรรมต่ำ ได้แก่กิจกรรม

เล็กน้อย เช่น ล้างบาตร ทาน้ำมันเป็นต้น . บทว่า ตตฺรุปายาย ได้แก่

อัน ดำเนินไปในกิจกรรมนั้น. บทว่า อลํ กาตุํ แปลว่า เป็นผู้สามารถ

ทำได้เอง. บทว่า อลํ สํวิธาตุํ แปลว่า ผู้สามารถจัดการได้.

ภิกษุ ชื่อว่า ธรรมกามะ เพราะมีความรักใคร่ธรรม อธิบาย

ว่าย่อมรักพระไตรปิฎกพุทธวจนะ. บทว่า ปิยสมุทาหาโร ความว่า

เมื่อผู้อื่นกล่าวอยู่ ก็ฟังโดยเคารพ ทั้งตัวเองก็ใคร่จะแสดงแก่ผู้อื่น.

ในคำว่า อภิธมฺเม อภิวินเย นี้ พึงทราบ ๔ หมวด คือ ธรรม

อภิธรรมวินัย อภิวินัย. ใน ๔ หมวดนั้น ชื่อว่า ธรรม ได้แก่พระ

สุตตันตปิฎก ชื่อว่า อภิธรรม ได้แก่ ปกรณ์ทั้ง ๗. ชื่อว่า วินัย ได้แก่

วิภังค์ทั้งสอง [ภิกขุวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์] ชื่อว่า อภิวินัย ได้แก่ขันธกะ

และบริวาร. อีกนัยหนึ่ง ทั้งสุตตันตปิฎก ทั้งอภิธัมมปิฎก ชื่อว่าธรรม

ทั้งนั้น. มรรคผล ชื่อว่า อุภิธรรม วินัยปิฎกทั้งสิ้น ชื่อว่า วินัย การทำ

การระงับกิเลส ชื่อว่า อภิวินัย อธิบายว่า เป็นผู้มีความปราโมทย์อย่าง

โอฬารในธรรม อภิธรรม วินัย และอภิวินัยนั้นทั้งหมด ด้วยประการ

ฉะนี้. บทว่า กุสเลสุ ธมฺเมสุ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถตติยา

วิภัตติ. อธิบายว่า เป็นผู้ไม่ทอดธุระ เพื่อต้องการบรรลุธรรมเหล่านั้น

เพราะเหตุแห่งกุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔.



จบอรรถกถาปฐมนาถสูตรที่ ๗




พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 298

๒. ปัญญาสูตร

[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ประการนี้ ย่อมเป็นไป

เพื่อได้ปัญญา อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์

เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้วแล้ว ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ใน

ฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพ

ไว้อย่างแรงกล้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไป

เพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาได้แล้ว.



เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็น

ที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้น

แล้ว เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิต

นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยัง

ไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง และบรรเทาความสงสัยในธรรมอัน

เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็น

ปัจจัยข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่

ได้แล้ว.



เธอฟังธรรมนี้แล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความสงบกาย และความสงบ

จิต ให้ถึงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.



เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติ

เห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา.. ฯลฯ เพื่อ

ความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.



เธอเป็นพหูสูต ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ทรงจำไว้ คล่อง

ปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งาม

ในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.



เธอย่อมปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม

เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๖ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา... ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์

แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.



อนึ่ง เธอเข้าประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์ ย่อม

แสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระ-

อริยเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อได้

ปัญญา... ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.



อนึ่ง เมื่อเธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า

รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดัง

นี้... สัญญาเป็นดังนี้...สังขารทั้งหลายเป็นดังนี้... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิด

ขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้

เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๘ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์

ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

ฯลฯ




พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

๕. ทุติยสาริปุตตสูตร

ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา

[๑๔๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร

ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ* ๆ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน.

[๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ

ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑

ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.

[๑๔๒๙] พ. ถูกละ ๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ

๑ สัทธรรมสวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑. ฯลฯ

อรรถกถาทุติยสาริปุตตสูตร

พึงทราบอธิบายในทุติยสาริปุตตสูตรที่ ๕.

บทว่า โสตาปตฺติยงฺคํ ความว่า องค์คุณที่ได้เฉพาะส่วนเบื้องต้น

แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา. ก็คุณที่ได้เฉพาะ มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว

ในพระพุทธเจ้า ชื่อว่า องค์แห่งโสดาบัน ก็องค์แม้เหล่านั้นมาแล้วว่า องค์

แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา. ในองค์เหล่านั้น องค์แม้ทั้งสองก็มีอธิบาย

คำนี้ ว่า บุคคล เสพสัตบุรุษ คบ นั่งใกล้ ฟังธรรม ใส่ใจโดยแยบคาย

ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นส่วนเบื้องต้น อันเป็นธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมได้

เฉพาะธรรมเครื่องบรรลุโสดา.

ธรรมมีการคบสัตบุรุษเป็นต้น ชื่อว่า องค์แห่งธรรมเครื่องบรรลุ

โสดา เพราะอรรถว่า เป็นองค์เพื่อประโยชน์แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา.

ธรรมนอกนี้ ชื่อว่า โสตาปัตติยังคะ (องค์แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา) เพราะ

อรรถว่า เป็นองค์แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา กล่าวคือปฐมมรรค. โสดา

ปัตติมรรค เป็นองค์แห่งโสดาปัตติมรรคที่แทงตลอดแล้ว เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า องค์แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา.

จบอรรถกถาทุติยสาริปุตตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ ๑๑๕ - ๑๒๑

๖. ปฐมเสขสูตร

ว่าด้วยโยนิโสมนสิการได้บรรลุผลสูงสุด

[๑๙๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล

ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุอันหนึ่ง

อย่างอื่น กระทำเหตุที่มี ณ ภายในว่ามีอุปการะมาก เหมือนโยนิโสมนสิการนี้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมนสิการโดยแยบคาย ย่อมละอกุศลเสียได้

ย่อมเจริญกุศลให้เกิดมี.


พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

คาถาประพันธ์ดังนี้ว่า ธรรมอย่างอื่นอันมีอุปการะมาก เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุด

แห่งภิกษุผู้เป็นพระเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ไม่มีเลย ภิกษุเริ่มตั้งไว้ซึ่งมนสิการ

โดยแยบคาย พึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งทุกข์ได้.


เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบปฐมเสขสูตรที่ ๖




อรรถกถาปฐมเสขสูตร

ในปฐมเสขสูตรพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำว่า เสกฺโข ในบทว่า เสกฺขสฺส นี้ มีความว่าอย่างไร.

ชื่อว่า เสกขะเพราะได้เสกขธรรม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุ

เพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นเสกขะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยทิฏฐิอันเป็นเสกขะ

ฯลฯ ประกอบด้วยสมาธิอันเป็นเสกขะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นเสกขะ

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสกขะ เพราะยังต้องศึกษา.

แม้ข้อนี้ก็ตรัสไว้ว่า สิกฺขตีติ โข ภิกฺขเว ตสิมาเสกฺโขติ วุจฺจจิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุยังต้องศึกษา ฉะนั้นจึงเรียกว่าเสกขะ.

ถามว่า ศึกษาอะไร. ตอบว่า ศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง

เพราะยังต้องศึกษา ดังนี้แล ฉะนั้นจึงเรียกว่าเสกขะ. แม้ผู้ที่เป็นกัลยาณปุถุชน

กระทำให้บริบูรณ์ด้วยอนุโลมปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรโดยไม่เห็นแก่นอนมากนัก

ประกอบความเพียรด้วยการเจริญโพธิปักขิยธรรมตลอดราตรีต้น ราตรีปลาย

ด้วยหวังว่า เราจักบรรลุ สามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวันนี้หรือในวันพรุ่งนี้

ท่านก็เรียกว่า เสกขะ เพราะยังต้องศึกษา ในข้อนี้ท่านประโยคสงค์เอาพระเสขะ

ผู้ยังไม่แทงตลอด ที่แท้ก็เป็นกัลยาณปุถุชน.

ชื่อว่า อปฺปตฺตมานโส เพราะอรรถว่า ยังไม่บรรลุอรหัตผล

ท่านกล่าวราคะว่าเป็นมานสะ ในบทนี้ว่า บทว่า มานสํ ได้แก่ราคะเที่ยวไป

ดุจตาข่ายลอยอยู่บนอากาศ. ได้แก่จิตในบทนี้ว่า จิต มนะ ชื่อว่า มานสะ.

ได้แก่ พระอรหัตในบทนี้ว่า พระเสกขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัต พึงทำกาละ

ในหมู่ชน. ในสูตรนี้ท่านประสงค์เอาพระอรหัตอย่างเดียว. ด้วยเหตุนั้นจึงเป็น

อันกล่าวได้ว่า อปฺปตฺตารหตฺตสฺส แปลว่า ยังไม่บรรลุพระอรหัต. บทว่า

อนุตฺตรํ คือ ประเสริฐที่สุด อธิบายว่า ไม่มีเหมือน.

ชื่อว่า โยคกฺเขมํ ทีเดียว.

บทว่า ปฏฺฐยมานสฺส ได้แก่ ความปรารถนาสองอย่าง คือ

ตณฺหาปฏฺฐนา (ความปรารถนาด้วยตัณหา) ๑

ฉนฺทปฏฺฐนา (ความปรารถนาด้วยความพอใจ) ๑.

ตณฺหาปฏฺฐนา ได้ในบทนี้ว่า ปรารถนา กระซิบกระซาบถึงตัณหา หรือ บ่นถึงแต่ในการ

ประดับตกแต่ง.

กตฺตุกมฺยตากุสลจฺฉนฺทปฏฺฐนา ปรารถนาความพอใจในกุศล ใคร่จะทำได้

ในบทนี้ว่า กระแสตัณหาของคนลามก ถูกตัดแล้ว ถูกกำจัดแล้ว ถูกทำให้หมดมานะ

แล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากไปด้วยความปราโมทย์เถิด

จงปรารถนาความเกษมเถิด.

ในที่นี้ท่านประสงค์เอา ฉันทปัฏฐนานี้แล. ด้วยเหตุนั้น บทว่า

ปตฺถยมานสฺส จึงมีอธิบายว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความเกษมจากโยคะนั้น

คือ น้อม โน้ม โอน ไปสู่ความเกษมนั้น.

บทว่า วิหรโต ได้แก่ตัดขาดทุกข์ในอิริยาบถหนึ่ง ด้วยอิริยาบถหนึ่ง

แล้วนำอัตภาพอันยังไม่ตกไป. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในบทนี้โดยนิเทศนัย

(ชี้แจ้ง) มีอาทิว่า ภิกษุน้อมไปอยู่ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงย่อมอยู่

ด้วยศรัทธา.

บทว่า อชฺฌตฺติกํ ได้แก่ มีอยู่ในภายใน คือ ภายในตน ชื่อว่า

อัชฌัตติกะ. บทว่า องฺคํ ได้แก่เหตุ. บทว่า อิติ กริตฺวา คือ ทำอย่างนี้.

ความย่อในบทนี้ว่า น อญฺญํ เอกงฺคมฺปิ สมนุปสฺสามิ นี้มีดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุหนึ่งอย่างอื่น กระทำเหตุอันมี

ในภายใน คือ เหตุที่ตั้งอยู่ในสันดานของตนอย่างนี้. บทว่า เอวํ พหุปการํ

ยถยิทํ โยนิโสมนสิกาโร ได้แก่มนสิการโดยอุบาย มนสิการโดยคลองธรรม

มนสิการโดยนัยในอนิจจลักษณะเป็นต้นว่า เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือการ

พิจารณา การตามพิจารณา การรำพึง การใคร่ครวญ การใส่ใจ อนุโลมใน

ของไม่เที่ยงนี้ ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงอานุภาพแห่งโยนิโสมนสิการ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมนสิการอยู่โดยแยบคาย ย่อมละอกุศล

ย่อมเจริญกุศล ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โยนิโส มนสิกโรนฺโต ความว่า ยังโยนิโส-

มนสิการให้เป็นไปในอริยสัจ ๔ ว่า นี้ ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้.

ต่อไปนี้เป็นความอธิบายอย่างแจ่มแจ้งในอริยสัจ ๔ นั้น. พระสูตรนี้

หมายเอาเสกขบุคคลโดยไม่แปลกกันโดยแท้. แต่เราจักกล่าวกรรมฐานด้วยสามารถ

มรรค ๔ ผล ๔ โดยทั่วไป โดยสังเขป. พระโยคาวจรใดผู้บำเพ็ญกรรมฐาน

คือ อริยสัจ ๔ เป็นผู้บำเพ็ญกรรมฐาน คือ อริยสัจ ๔ ในสำนักอาจารย์มาก่อน

อย่างนี้ว่า ขันธ์ทั้งหลายอันเป็นไปในภูมิ ๓ มีตัณหา เป็นโทษ เป็นทุกข์

ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความไม่เป็นไปของทั้งสองนั้นเป็นความดับทุกข์

การให้ถึงความดับทุกข์ เป็นมรรค ดังนี้ สมัยต่อมา พระโยคาวจรนั้นขึ้นสู่

วิปัสสนามรรค ย่อมพิจารณาขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยแยบคายว่า นี้ทุกข์

คือ พิจารณาและเห็นแจ้งโดยอุบาย คือ โดยคลองธรรม. ความจริง ในสูตรนี้

ท่านกล่าวถึงวิปัสสนาด้วยหัวข้อมนสิการ. พระโยคาวจรย่อมมนสิการโดย

แยบคายว่า ตัณหา มีในภพก่อนอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้น ชื่อว่า ทุกข-

สมุทัย. ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ก็เพราะนี้ทุกข์ นี้สมุทัย ทุกข์ทั้งหลายถึง

ฐานะนี้แล้ว ย่อมดับ ย่อมไม่เป็นไป ฉะนั้นจึงถือว่า นิพพานนี้คือ ทุกขนิโรธ.

พระโยคาวจร ย่อมมนสิการโดยแยบคาย ย่อมพิจารณาและย่อมเห็นแจ้งมรรค

มีองค์ ๘ อันทำให้ถึงความดับทุกข์โดยอุบายโดยคลองว่า นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา.

ในข้อนั้น ชื่อว่ายึดมั่นโดยอุบายนี้ย่อมมีในขันธ์ ๕ ไม่มีในนิพพาน.

เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายดังต่อไปนี้. พระโยคาวจร ยึด มหาภูตรูป ๔ โดยนัย

มีอาทิว่า ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ มีอยู่ในกายนี้ และ อุปาทารูป โดยทำนอง

เดียวกับมหาภูตรูป ๔ นั้น แล้วกำหนดว่า นี้รูปขันธ์ ดังนี้. เมื่อให้กำหนด

ดังนั้น จึงกำหนดถึงธรรม คือ จิตและเจตสิก อันมีรูปขันธ์นั้นเป็นอารมณ์ว่า

ธรรมเหล่านี้คือ อรูปขันธ์ ๔. จากนั้นย่อมกำหนดว่า ขันธ์ ๕ เหล่านี้เป็นทุกข์.

ก็ขันธ์ เหล่านั้นโดยย่อมีสองส่วน คือ นามและรูป. พระโยคาวจรย่อมกำหนด

เหตุและปัจจัยว่า ก็นามรูปนี้ มีเหตุ มีปัจจัย จึงเกิดขึ้น อวิชชา ภพตัณหาเป็นต้น

นี้ เป็นเหตุของนามรูปนั้น อาหารเป็นต้นเป็นปัจจัยของนามรูปนั้น. พระโยคา-

วจรนั้น กำหนดลักษณะพร้อมด้วยกิจรสของปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น และธรรม

ที่เกิดโดยปัจจัย ตามความเป็นจริงแล้ว ยกขึ้นสู่อนิจจลักษณะว่า ธรรมทั้งหลาย

เหล่านี้ไม่มีแล้ว ครั้นมีแล้วย่อมดับไป เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายจึงไม่เที่ยง.

ย่อมยกขึ้นสู่ทุกขลักษณะว่า ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะถูกความเกิด

ความเสื่อม เบียดเบียน. ย่อมยกขึ้นสู่อนัตตลักษณะว่า ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า

เป็นอนันตตา เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. พระโยคาวจรครั้นยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์

อย่างนี้แล้ว เห็นแจ้งอยู่กำหนดทางและมิใช่ทางว่า เมื่อวิปัสสนูปกิเลสมีแสงสว่าง

เป็นต้นเกิดขึ้นในขณะอุทยัพพยญาณเกิด นี้ไม่ใช่ทาง อุทยัพพยญาณเท่านั้นเป็น

อุบาย คือ เป็นทางอันเป็นส่วนเบื้องต้นของอริยมรรคแล้ว ยังอุทยัพพยญาณ

และภังคญาณเป็นต้นให้เกิดขึ้นตามลำดับ ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.

ในขณะนั้นพระโยคาวจรย่อมแทงตลอดอริยสัจ ๔ โดยการแทงตลอดครั้ง

เดียวเท่านั้น ย่อมตรัสรู้ด้วยการตรัสรู้ครั้งเดียว. ในอริยสัจนั้นพระโยคาวจร

ย่อมแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดด้วยกำหนดรู้ ย่อมตรัสรู้ด้วยการตรัสรู้

ครั้งเดียว. ในอริยสัจนั้น พระโยคาวจร แทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดด้วย

กำหนดรู้ แทงตลอดสมุทัยโดยแยบคายด้วยการแทงตลอดด้วยการละ ย่อมละ

อกุศลทั้งปวงได้. พระโยคาวจรแทงตลอดนิโรธโดยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง

แทงตลอดมรรคโดยการตรัสรู้ด้วยภาวนา ย่อมเจริญกุศลทั้งปวง. จริงอยู่ อริย-

มรรคชื่อว่ากุศล เพราะอรรถว่ากำจัดสิ่งที่น่าเกลียดโดยตรง ก็เมื่อเจริญอริย-

มรรคแล้ว โพธิปักขิยธรรมอันหาโทษมิได้ เป็นกุศลแม้ทั้งหมดก็ย่อมถึงความ

บริบูรณ์ด้วยภาวนา เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรเมื่อมนสิการโดยแยบคายอย่างนี้

ย่อมละอกุศลเสียได้ ย่อมเจริญธรรมที่เป็นกุศล. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเป็นอาทิว่า พระโยคาวจรย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย

ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแม้ข้ออื่นอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

ภิกษุถึงพร้อมแล้วด้วยโยนิโสมนสิการ ภิกษุจักเจริญมรรคองค์ ๘ อันเป็น

อริยะที่จะพึงหวังได้ จักทำให้มากซึ่งมรรคมีองค์ ๘ อัน เป็นอริยะ ดังนี้.


ต่อไปนี้เป็นความย่อแห่งคาถาว่า โยนิโส มนสิกาโร. ชื่อว่า เสกขะ

เพราะยังต้องศึกษาสิกขาบททั้งหลาย หรือเพราะยังมีการศึกษาอยู่เป็นปกติ.

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเห็นภัยในสงสาร. ธรรมไร ๆ อื่นที่มีอุปการะมาก

เหมือนอย่างโยนิโสมนสิการ เพื่อให้ภิกษุผู้ยังเป็นเสกขะนั้นบรรลุพระอรหัต

อัน มีประโยชน์อย่างสูงสุด ย่อมไม่มี. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ

พระโยคาวจรมุ่งมนสิการ โดยอุบายอันแยบคาย แล้วเริ่มตั้งความเพียรด้วย

สัมมัปปธาน ๔ อย่าง พึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ คือ พึงถึง พึงบรรลุพระนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นสุดวัฏทุกข์อันเศร้าหมองสิ้นเชิง ฉะนั้น โยนิโสมนสิการจึงเป็น

ธรรมมีอุปการะมาก ดังนี้.

จบอรรถกถาปฐมเสกขสูตรที่ ๖





เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน
อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ฟังธรรมศึกษาธรรม
ศึกษาการรักษาโรค

ได้รักษาอาการป่วยของแม่มาโดยตลอด

ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ซื้อดอกไม้มาจัดที่หน้าพระประธาน

และได้ช่วยชีวิตสัตว์ให้รอดพ้นจากอันตราย

และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐิน

โทร.085-198-2911

ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 195 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร