วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 10:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


รูป ๗ รูปที่ว่า คือ ๑. รูป วรรณะหรือสี ๒. สัทท เสียง ๓. คันธ กลิ่น

๔.รส ๕.ปฐวี อ่อนหรือแข็ง ๖.เตโช เย็นหรือร้อน ๗. วาโย ตึงหรือไหว

รูปทั้ง ๗ รูป มีปรากฏกระทบในทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นประจำ

แต่อวิชชาปกปิดทำให้ไม่รู้ตามเป็นจริงว่าเป็นเพียงรูป ทิฏฐิยึดถือรูปเหล่านั้น

ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา...
ขอเรียนว่าในพระไตรปิฎกและอรรถกถามีคำสอนเรื่องกรรมหลายนัยยะ

คือมีการแสดงจำแนกกรรมตั้งแต่ กรรม ๒ ประเภทบ้าง ๓ ประเภทบ้าง

ตลอดจนถึง กรรม ๑๐ กรรม ๑๑ กรรม ๑๒ กรรม ๑๖ บ้าง ตามราย

ละเอียดโดยนัยที่ต่างกัน มีโดยนัยแห่งทวาร และการให้ผลเป็นต้น

กรรม

กะรัง ธาตุ ( ในการกระทำ ) + รัมมะ ปัจจัย = กัมมัง

การกระทำ หมายถึง เจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตทุกดวง กรรม คือ เจตนานี้

จำแนกได้ ๒ ประเภท ได้แก่


๑. สหชาตกรรม คือ เจตนาเจตสิกที่ทำกิจตั้งใจ จงใจ หรือจัดแจงให้สัมปยุต-

ตธรรมทำกิจของตนๆ เช่น จัดแจงให้ผัสสะกระทบอารมณ์ ให้เวทนาเสวยอารมณ์

ให้สัญญาจำอารมณ์ให้จิตรู้แจ้งอารมณ์ เป็นต้น สหชาตกรรมเกิดกับจิตทั้ง ๔ ชาติ

(ทุกดวง)

๒. นานักขณิกกรรม คือเจตนาเจตสิกที่ทำกิจจัดแจง หรือประมวลมาซึ่งผล คือวิบาก

เจตสิกและกัมมชรูป นานักขณิกกรรมเกิดกับกุศลจิตและกุศลจิตเท่านั้น (เจตนา

เจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตและอกุศลจิตซึ่งไม่ให้ผล ไม่เป็นนานักขณิกกรรม เป็นเพียง

สหชาตกรรมเท่านั้น)
พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 80



[๑๔] กัมมปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการโดยความปรุงแต่งเพื่อให้กิจ

ต่าง ๆ สำเร็จลง กล่าวคือ

๑. กุศลธรรมและอกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย

และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

๒. สภาวธรรม คือเจตนาทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย

ที่ประกอบกับเจตนา และแก่รูปทั้งหลายที่มีเจตนา และธรรมทั้งหลาย

ที่ประกอบกับเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยใน กัมมปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า กมฺมํ ได้แก่ เจตนาธรรม. สองบทว่า กฏตฺตา จ รูปานํ

แปลว่า รูปที่เกิดขึ้นเพราะถูกกรรมทำ (กรรมสร้าง). บทว่า กมฺมปจฺจเยน

ความว่า ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย ที่สามารถให้ผลของตน

เกิดขึ้นได้ในที่สุดแห่งโกฏิกัป มิใช่น้อย.

จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมไม่ให้ผลในขณะที่ตน

เป็นไป ถ้าจะพึงให้ผล (ในขณะนั้น) ไซร้ คนทำกุศลกรรมที่เป็น

เหตุให้เข้าถึงเทวโลกอันใดไว้ ก็จะพึงกลายเป็นเทวดาในขณะนั้นทีเดียว

ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้น.

ก็กรรมนั้นที่บุคคลทำไว้ในขณะใด แม้จะไม่มีอยู่ในขณะอื่น

จากนั้น ย่อมยังผลให้เกิดขึ้นในกาลที่บุคคลพึงเข้าถึงปัจจุบัน หรือต่อ

จากนั้น ในเมื่อมีการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือ เพราะเป็น

สภาพที่กรรมทำไว้เสร็จแล้ว เปรียบเหมือนการหัดทำศิลปะครั้งแรก

แม้จะสิ้นสุดไปแล้ว ก็ให้เกิดการทำศิลปะครั้งหลัง ๆ ในกาลอื่นได้ เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า นานากขณิกกัมมปัจจัย.

สองบทว่า เจตนาสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ความว่า เจตนาอย่างใด

อย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน. ด้วยบทว่า ตํ สมุฏฺ€า-

นานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอากัมมชรูปในปฏิสนธิขณะด้วย.

คำว่า กมฺมปจฺจเยน นี้ ตรัสหมายถึงเจตนาที่เกิดพร้อมกัน. จริงอยู่

บรรดาธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้น เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งช่วยอุปการะ

แก่ธรรมที่เหลือโดยความเป็นกิริยา กล่าวคือความพยายามแห่งจิต เพราะ-

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า สหชาตกัมมปัจจัย. พรรณนา

บาลีในกัมมปัจจัยนี้เท่านี้ก่อน.

ก็กัมมปัจจัยนี้ โดยอรรถได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ เจตนานั้น

ว่าโดยประเภทแห่งชาติ จำแนกออกเป็น ๔ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก

และกิริยา. ใน ๔ ชาตินั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจกามาวจร-

ภูมิเป็นต้น. อกุศลมี ๑ ภูมิเท่านั้น วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ.

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในกัมมปัจจัย

ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ใน กัมมปัจจัย มีจำแนกได้ดังกล่าวมาแล้ว กามาวจรกุศลเจตนา

ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็น

สมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต

กับตนอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

ส่วนเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ของตน

และกัมมชรูปโดยนานากขณิกกัมมปัจจัย. ก็แลเจตนานั้นเป็นปัจจัยเฉพาะ

ในปัญจโวการภพเท่านั้น หาเป็นในภพอื่นไม่
รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน

และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของ สหชาตกัมมปัจจัย

โดยส่วนเดียว. แต่ รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัย

แก่วิบากของตนและกัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย.

อรูปาวจรกุศลเจตนา และ โลกุตตรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน

เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจ-

โวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนอย่างเดียว

ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

และเจตนาทั้งสองนั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์

ของตน ๆ ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย. อกุศลเจตนาที่เกิด

พร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปขันธ์เท่านั้น

ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

อกุศลเจตนานั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และ

กัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย.

วิบากเจตนาฝ่ายกามาวจรและรูปาวจร เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมป-

ยุตกับตน และเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล แก่กัมมชรูปในปฏิสนธิ-

กาล ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

อรูปาวจรวิบากเจตนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตนอย่าง

เดียว ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. โลกุตตรวิบากเจตนา เป็นปัจจัย

แก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ,

ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาต-

กัมมปัจจัย.

กิริยาเจตนา ที่เกิดในภูมิทั้งสาม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

และจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

ก็กิริยาเจตนาที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วย

อำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่

เป็นปัจจยุบบันในกัมมปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วแล.


วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย จบ
จิตจำแนกออกโดยชาติ มี ๔ ชาติ คือ อกุศลจิต กุศลจิต วิบากจิต

กิริยาจิต ไม่ว่าจะกล่าวถึงจิตอะไร จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าจิตนั้น ๆ เป็นชาติอะไร

คือ เป็นอกุศล หรือกุศล หรือวิบาก หรือกิริยา

สำหรับวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกรรมนั้น เมื่อกรรมมี ๒ ประเภท คือ

กุศลกรรม ๑ อกุศลกรรม ๑ วิบากจิตจึงมี ๒ ประเภท คือ กุศลวิบาก

จิต ๑ และอกุศลวิบากจิต ๑
กรรมวรรคที่ ๔

๑. สังขิตตสูตร ว่าด้วยกรรม ๔ ประเภท

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประเภทนี้ เราทำให้แจ้งด้วย

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประเภทเป็นไฉน

คือ กรรมดำ มีวิบากดำก็มี กรรมขาว มีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำ

กรรมดำ มีวิบากดำก็มี กรรมขาว มีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำ

ทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำ

ไม่ขาว เป็นไปเพื่อสิ้นกรรมก็มี นี้แล กรรม ๔ ประเภท เราทำให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้ทราบ.

จบสังขิตตสูตรที่ ๑

อรรถกถาสังขิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังขิตตสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ตั้งต่อไปนี้ :-

บทว่า กณฺหํ ได้แก่ กรรมดำ คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า

กณฺหวิปากํ ได้แก่ มีวิบากดำ เพราะให้เกิดในอบาย. บทว่า สุกฺกํ ได้แก่

กรรมขาว คือ กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า สุกฺกวิปากํ ได้แก่ มีวิบากขาว

เพราะให้เกิดในสวรรค์. บทว่า กณฺหํ สุกฺกํ ได้แก่ กรรมคละกัน. บทว่า

กณฺหสุกฺกวิปากํ ได้แก่ มีวิบากทั้งสุขและทุกข์. จริงอยู่ บุคคลทำกรรม

คละกันแล้ว เกิดในกำเนิดเดียรัจฉานด้วยอกุศลในฐานะเป็นมงคลหัตถีเป็นต้น

เสวยสุขในปัจจุบันด้วยกุศล. บุคคลเกิดแม้ในราชตระกูลด้วยกุศล ย่อมเสวย-

ทุกข์ในปัจจุบันด้วยอกุศล. บทว่า อกณฺหํ อสุกฺกํ ท่านประสงค์เอามรรค-

ญาณ ๔ อันทำกรรมให้สิ้นไป. จริงอยู่ กรรมนั้นผิว่าเป็นกรรมดำ ก็พึงให้

วิบากดำ ผิว่าเป็นกรรมขาว พึงให้วิบากขาว แต่ที่ไม่ดำ ไม่ขาว เพราะไม่ให้

วิบากทั้งสอง ดังกล่าวมานี้เป็นใจความในข้อนี้.

จบอรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

มหาวรรค กรรมกถา

ว่าด้วยเรื่องของกรรม

[๕๒๓] กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมได้มีแล้ว กรรมได้มีแล้ว

วิบากแห่งกรรมไม่ได้มีแล้ว กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมมีอยู่ กรรมได้มี

แล้ว วิบากแห่งกรรมไม่มีอยู่ กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมจักมี กรรม

ได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมจักไม่มี กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมมีอยู่ กรรมมีอยู่

วิบากแห่งกรรมไม่มี กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมจักมี กรรมมีอยู่ วิบากแห่ง

กรรมจักไม่มี กรรมจักมี วิบากแห่งกรรมจักมี กรรมจักมี วิบากแห่งกรรม

จักไม่มี กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมได้มีแล้ว กุศลกรรมได้มีแล้ว

วิบากแห่งกุศลกรรมไม่ได้มีแล้ว กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมมีอยู่

กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมไม่มี กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่ง

กุศลกรรมจักมี กุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกุศลกรรมจักไม่มี กุศลกรรม

มีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมมีอยู่ กุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมจักไม่มี

ุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งกุศลกรรมจักมี กุศลกรรมจักมี วิบากแห่งกุศลกรรม

จักไม่มี อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่ได้มีแล้ว อกุศลกรรม

ได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมมีอยู่ อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศล-

กรรมไม่มี อกุศลกรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมจักมี อกุศลกรรมได้

มีแล้ว วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี อกุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งอกุศลกรรม

มีอยู่ อกุศลกรรมมีอยู่ วิบากแห่งอกุศลกรรมไม่มี อกุศลกรรมมีอยู่ วิบาก

แห่งอกุศลกรรมจักมี อกุศลกรรมจักมี วิบากแห่งอกุศลกรรมจักมี อกุศลกรรม

จักมี วิบากแห่งอกุศลกรรมจักไม่มี. ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

อรรถกถากรรมกถา

บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังมิได้พรรณนาไว้ แห่งกรรมกถา

อันพระสารีบุตรเถระแสดงถึงกรรมอันเป็นปัจจัย แห่งเหตุสัมบัตินั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในกรรมกถานั้น ดังต่อไปนี้. ในบทมีอาทิว่า อโหสิ

กมฺมํ อโหสิ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมได้มีแล้ว ท่าน

ถือเอาวิบากอันให้ผลในภพอดีต แห่งกรรมที่ทำแล้วในภพอดีตนั่นเอง แล้ว

จึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺมํ อโหสิ กมฺมวิปาโก.

ท่านถือเอาวิบากอันไม่ให้ผลในภพอดีต ด้วยความบกพร่องปัจจัยแห่ง

กรรมอดีต อันเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพนี้) และเป็น

อุปปัชชเวทนียกรรม (กรรมให้ผลต่อเมื่อเกิดแล้วในภพหน้า) และวิบากอัน

ยังไม่ให้ผลแห่งกรรมอันดับรอบแล้วในอดีตนั่นเอง และอันเป็นทิฏฐธรรม-

เวทนียกรรม อุปปัชชเวทนียกรรม และอปราปริยเวทนียกรรม (กรรมให้ผล

ในภพสืบ ๆ ไป) จึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺมํ นาโหสิ กมฺมวิปาโก กรรม

ได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมไม่ได้มีแล้ว.

ท่านถือเอาวิบากอันให้ผลแห่งกรรมอดีต ด้วยความถึงพร้อมแห่งปัจจัย

ในภพปัจจุบัน แห่งวิบากอันยังไม่ให้ผล แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺมํ อตฺถิ

กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมมีอยู่.

ท่านถือเอาวิบากอันยังไม่ให้ผลแห่งกรรมอดีต อันล่วงเลยกาลแห่ง

วิบากแล้ว เเละของผู้ปรินิพพานในภพปัจจุบันนั่นเอง แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ

กมฺมํ นตฺถิ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมไม่มีอยู่.

ท่านถือเอาวิบากอันควรให้ผล ด้วยความถึงพร้อมแห่งปัจจัยในภพ

อนาคต แห่งกรรมอดีตอันควรแก่วิบาก อันเป็นวิบากยังไม่ให้ผล แล้วจึงกล่าว

ว่า อโหสิ กมฺมํ ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากกรรมจักมี.

ท่านถือเอาวิบากอันไม่ควรให้ผล แห่งกรรมอดีตอันล่วงกาลแห่งวิบาก

แล้ว และดับรอบในภพอนาคตนั่นเอง แล้วจึงกล่าวว่า อโหสิ กมฺมํ น

ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมได้มีแล้ว วิบากแห่งกรรมจักไม่มี.

ท่านแสดงกรรมอดีตอย่างนี้ไว้ ๖ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งวิบาก และ

มิใช่วิบาก ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต.

ท่านถือเอาวิบากอันให้ผลในปัจจุบันนี้ แห่งกรรมอันเป็นทิฏฐธรรม-

เวทนียกรรมที่ทำแล้วในภพนี้ แล้วจึงกล่าวว่า อตฺถิ กมฺมํ อตฺถิ กมฺมวิปาโก

กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมมีอยู่.

ท่านถือเอาวิบากอันไม่ให้ผลในภพนี้ ด้วยความบกพร่องแห่งปัจจัย

ของกรรมปัจจุบันนั้น และยังไม่ให้ผลในภพนี้ ของผู้ปรินิพพานในปัจจุบัน

แล้วจึงกล่าวว่า อตฺถิ กมฺมํ นตฺถิ กมฺมวิปาโก กรรมมีอยู่ วิบากของ

กรรมไม่มีอยู่.

ท่านถือเอาวิบากอันควรให้ผลในภพอนาคตของกรรมปัจจุบัน อันเป็น

อุปปัชชเวทนียกรรม และอปราปริยเวทนียกรรม แล้วจึงกล่าวว่า อตฺถิ

กมฺมํ ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมมีอยู่ วิบากกรรมจักมี.

ท่านถือเอาวิบากอันไม่ควรให้ผลในภพอนาคต ด้วยความบกพร่อง

ปัจจัย แห่งกรรมปัจจุบันอันเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม และไม่ควรให้ผลแก่ผู้

ควรปรินิพพานในภพอนาคต อันเป็นอปราปริยเวทนียกรรม แล้วจึงกล่าวว่า

อตฺถิ กมฺมํ น ภวิสฺสติ กมฺมวิปาโก กรรมมีอยู่ วิบากแห่งกรรมจักไม่มี.

ฯลฯ

ในมโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ติกนิบาตนิทานสูตร จำแนก

กรรมไว้หลายอย่าง ได้แก่ กรรม ๑๑ อย่างตามสุตตันติกปริยาย กรรม ๑๖

อย่างตามแนวอภิธรรม กรรม ๑๒ อย่างตามแนวแห่งปฏิสัมภิทามรรค ซึ่ง

หากกล่าวโดยย่อจะเหลือกรรม ๓ ประเภท ดังนี้

๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาตินี้

๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า

๓. อปรปริยายเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติต่อๆ ไป

อนึ่ง กรรม ๑๖ อย่าง ตามแนวอภิธรรมนั้นเป็นอกุศลกรรม ๘ และกุศล

กรรม ๘ คือ อกุศลกรรมและกุศลกรรมที่ให้ผลได้นั้นขึ้นอยู่กับสมบัติและวิบัติ

ของคติ (การเกิดในสถานที่) อุปธิ (รูปร่างกาย) กาล (ยุคสมัย) ปโยค(ความ

สามารถในการประกอบการงาน) กล่าวคือ

คติสมบัติ ได้แก่ การได้เกิดในภพภูมิที่ดี เช่น ได้เกิดบนสวรรค์ เป็น

เหตุให้ได้รับแต่อารมณ์ที่ดี ที่น่าพอใจ ตลอดเวลาที่อยู่บนสวรรค์ เพราะ

สวรรค์เป็นภูมิ (สถานที่) สำหรับรับผลของกุศลกรรมเท่านั้น กรรมชั่วที่ได้

กระทำไว้ยังไม่สามารถให้ผลได้ ต่อเมื่อผลของกุศลที่ทำให้ได้เกิดบนสวรรค์

หมดลง และเป็นโอกาสที่อกุศลกรรมให้ผล ผู้นั้นก็จะต้องไปเกิดในอบายภูมิ

ทันที เพื่อรับผลของอกุศลกรรมที่ได้กระทำไว้แล้ว

คติวิบัติ ได้แก่ การเกิดในนรก เมื่อเกิดในนรกก็ต้องได้รับผลของกรรม

ชั่วที่ได้ทำไว้แล้ว ตลอดเวลาที่อยู่ในนรก กรรมดีที่ได้ทำไว้แม้จะมากมาย

สักเท่าใดก็ไม่สามารถให้ผลได้ ต้องรอจนพ้นจากนรกเสียก่อนกรรมดีจึงจะมี

โอกาสให้ผล นี่คือผลของคติวิบัติ (นอกจากนรกภูมิแล้ว ยังมีภูมิของเปรต

อสุรกาย และเดรัจฉาน)

อุปธิสมบัติ ได้แก่ ผู้ที่เกิดมามีร่างกายที่สวยงาม ย่อมมีโอกาสได้รับ

ผลของกุศลกรรมมากกว่าผู้ที่เกิดมารูปร่างพิการ

อุปธิวิบัติ ได้แก่ ผู้ที่เกิดมามีร่างกายที่พิการ ย่อมมีโอกาสได้รับผล

ของอกุลกรรมมากกว่าผลของกุศลกรรม

กาลสมบัติ คือ การได้เกิดในยุคสมัยที่บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข เป็น

โอกาสได้รับผลของกุศลกรรมมากกว่าผลของอกุศลกรรม

กาลวิบัติ คือ การได้เกิดในยุคสมัยบ้านเมืองประสบภัยพิบัติข้าวยาก

หมากแพง โอกาสจะได้รับผลของกุศลกรรมย่อมมีน้อย

ปโยคสมบัติ คือ การเป็นผู้มีความสามารถประกอบหน้าที่ การงาน

ย่อมมีโอกาสได้รับผลของกุศลกรรม มากกว่าผู้ที่ไม่มีความสามารถในการ

ประกอบอาชีพ

ปโยควิบัติ คือ เป็นผู้ไม่มีศิลปะในการประกอบอาชีพ ไม่มีความ

ชำนาญในอาชีพ ย่อมมีโอกาสรับผลของกุศลกรรมน้อย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 137

กรรม ๑๒ อย่าง ตามแนวแห่งปฏิสัมภิทามรรค

โดยปริยายแห่งปฏิสัมภิทามรรค ท่านจำแนกกรรม ๑๒ อย่างไว้ อีกอย่างหนึ่ง คือ

กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ได้มีมาแล้ว ๑

กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ไม่ได้มีมาแล้ว ๑

กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ยังมีอยู่ ๑

กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ไม่มีอยู่ ๑

กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม จักมีมา ๑

กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม จักไม่มีมา ๑

กรรมมีอยู่ กรรมวิบากมีอยู่ ๑

กรรมมีอยู่ แต่กรรมวิบากไม่มี ๑

กรรมมีอยู่ กรรมวิบากจักมีมา ๑

กรรมมีอยู่ แต่กรรมวิบากจักไม่มีมา ๑

กรรมก็จักมี กรรมวิบากก็จักมี ๑

กรรมจักมีมา แต่วิบากกรรมจักไม่มี ๑
เมื่ออกุศลจิตขณะใดมีกำลังแรงกล้า ก็จะเป็นเหตุให้เจตนากระทำ

อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ

กายกรรม ๓ ได้แก่ ปาณาติปาต (ฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต) ๑ อทินนาทาน

(ถือทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน) ๑ กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดใน

กาม) ๑

วจีกรรม ๔ ได้แก่ มุสาวาท (พูดเท็จ)๑ ผรุสวาท (พูดคำหยาบ)๑

ปิสุณวาจา (พูดคำส่อเสียด) ๑ สัมผัปปลาปวาจา (พูดเพ้อเจ้อ) ๑

มโนกรรม ๓ ได้แก่ อภิชฌา (คิดเพ่งเล็งเอาของของผู้อื่นมาเป็น

ของตน ) ๑ พยาปาท (คิดเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น) ๑ มิจฉาทิฏฐิ (คิดเห็นผิด

ว่าผลของกรรมไม่มี เป็นนัตถิกทิฏฐิ คือ เห็นว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจาก

กรรม ๑ เห็นผิดว่ากรรมไม่มีผล เป็นอเหตุกทิฏฐิ คือ เห็นว่ากรรมไม่เป็นเหตุให้

เกิดผล ๑ เห็นผิดว่ากรรมเป็นเพียงกิริยาอาการของกายเท่านั้น เป็นอกิริยา

ทิฏฐิ ๑) ๑

เมื่ออกุศลจิตที่เป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรมบถดับไปแล้ว เจตนา

เจตสิกที่เกิดกับอกุศลจิตที่ดับไปนั้น ก็เป็นกัมมปัจจัยให้อกุศลวิบากจิต ๗ ดวง

เกิดขึ้นเป็นผลของกรรมนั้นๆ เมื่อถึงกาลอันสมควร

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

[๓๕๙] อกุศลกรรมบถ ๑๐

๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน

๓. กาเมสุมิจฉาจาร ๔. มุสาวาท

๕. ปิสุณาวาจา ๖. ผรุสาวาจา

๗. สัมผัปปลาปะ ๘. อภิชฌา

๙. พยาบาท ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ.


[๓๖๐] กุศลกรรมบถ ๑๐

๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป

๒. อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้

๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการประพฤติผิดในกาม

๔. มุสาวาท เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ

๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด

๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ

๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ

๘. อนภิชฌา ความไม่โลภอยากได้ของเขา

๙. อัพยาบาท ความไม่ปองร้ายเขา

๑๐. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓- หน้าที่ 134

อธิบายกรรม ๑๖ อย่างตามแนวพระอภิธรรม

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปกานิ แปลว่า ลามก. บทว่า

กมฺมสมาทานานิ ได้แก่ การยึดถือกรรม. คำว่า กมฺมสมาทานานิ นี้

เป็นชื่อของกรรมทั้งหลาย ที่บุคคลสมาทานถือเอาแล้ว. พึงทราบวินิจฉัย

ในบทว่า คติสมฺปตฺตึ ปฏิพาฬฺหานิ น วิปจฺจนฺติ เป็นต้น ดังต่อไปนี้

เมื่อกรรมที่มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นกิจ ยังมีอยู่นั่นแหละ กรรมนั้น

ของสัตว์ผู้เกิดในสุคติภพ ชื่อว่าห้ามคติสมบัติไว้ ยังไม่ให้ผล. อธิบายว่า

เป็นกรรมถูกคติสมบัติห้ามไว้ ยิ่งไม่ให้ผล.

ก็ผู้ใด เกิดในท้องของหญิงทาสี หรือหญิงกรรมกร เพราะบาปกรรม

(แต่) เป็นผู้มีอุปธิสมบัติ ตั้งอยู่ในความสำเร็จ คือความงดงามแห่งอัตภาพ.

ครั้นนายของเขาเห็นรูปสมบัติของเขาแล้ว เกิดความคิดว่า ผู้นี้ไม่สมควร

ทำงานที่ต่ำต้อย แต่งตั้งเขาไว้ในตำแหน่งภัณฑาคาริกเป็นต้น มอบสมบัติให้

แล้วเลี้ยงดูอย่างลูกของตน. กรรมของคนเห็นปานนี้ ชื่อว่าห้ามอุปธิสมบัติ

ให้ผลก็หามิได้.

ส่วนผู้ใด เกิดในเวลาที่มีโภชนาหารหาได้ง่ายและมีรสอร่อยเช่นกับ

กาลของคนในปฐมกัป บาปกรรมของเขาถึงมีอยู่ จะชื่อว่า ห้ามกาลสมบัติ

ให้ผลก็หามิได้.

ส่วนผู้ใดอาศัยการประกอบโดยชอบ เลี้ยงชีพอยู่ แต่เข้าหาใน

เวลาที่ควรจะต้องเข้าหา ถอยกลับในเวลาที่ควรจะต้องถอยกลับ หนีในเวลา

ที่ควรจะต้องหนี ให้สินบนในเวลาที่ควรให้สินบน ทำโจรกรรมในเวลาที่ควร

ทำโจรกรรม บาปกรรมของคนเช่นนี้ ชื่อว่า ห้ามปโยคสมบัติ ให้ผลก็หา

มิได้. ส่วนบาปกรรมของบุคคลผู้เกิดในทุคติภพ ชื่อว่า อาศัยคติวิบัติให้

ผลอยู่.

ส่วนผู้ใดเกิดในท้องของหญิงทาสี หรือหญิงกรรมกร มีผิวพรรณ

ไม่งดงาม รูปร่างไม่สวย ชวนให้เกิดสงสัยว่า เป็นยักษ์หรือเป็นมนุษย์ ถ้า

เขาเป็นชาย คนทั้งหลายจะคิดว่า คนผู้นี้ไม่สมควรแก่งานอย่างอื่น แล้วจะ

ให้เขาเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค หรือให้หาหญ้าหาฟืน ให้เทกระโถน

ถ้าเป็นหญิง คนทั้งหลายจะใช้ให้ต้มข้าวต้มถั่ว๑ ให้ช้างให้ม้าเป็นต้น ให้เท

หยากเยื่อ หรือใช้ให้ทำงานที่น่ารังเกียจอย่างอื่น. บาปกรรมของผู้เห็นปานนี้

ชื่อว่า อาศัยอุปธิวิบัติให้ผล.

ส่วนผู้ใดเกิดในเวลาข้าวยากหมากแพง ในเวลาตระกูลเสื่อมสิ้นสมบัติ

หรือในอันตรกัป บาปกรรมของผู้นั้น ชื่อว่าอาศัยกาลวิบัติให้ผล.

ส่วนผู้ใดไม่รู้จักประกอบความเพียร ไม่รู้เพื่อจะเข้าไปหาในเวลา

ที่ควรเข้าไปหา ฯลฯ ไม่รู้เพื่อจะทำโจรกรรม ในเวลาที่ควรทำโจรกรรม

บาปกรรมของผู้นั้น ชื่อว่า อาศัยปโยควิบัติให้ผล.

ส่วนผู้ใด เมื่อกรรมที่สมควรแก่การเสวยอิฏฐารมณ์เป็นกิจ ยังมีอยู่

นั่นแลไปเกิดในทุคติภพ กรรมของเขานั้น ชื่อว่า ห้ามคติวิบัติ ให้ผลก็หามิได้.

ส่วนผู้ใดเกิดในพระราชวัง หรือในเรือนของราชมหาอำมาตย์เป็นต้น

ด้วยอานุภาพแห่งบุญกรรมเป็นคนบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือว่า

เป็นคนเปลี้ย คนทั้งหลายไม่ยอมให้ตำแหน่งแก่เขา เพราะเห็นว่า เขาไม่

เหมาะสมแก่ตำแหน่งอุปราชเสนาบดี และขุนคลังเป็นต้น บุญของเขาตามที่

กล่าวมานี้ ชื่อว่า ห้ามอุปธิวิบัติ ให้ผลก็หามิได้.

๑. ปาฐะว่า ภตฺตมสาทีนิ ฉบับพม่าเป็น ภตฺตมาสาทีนิ แปลตามฉบับพม่า.

ส่วนผู้ใดเกิดในหมู่มนุษย์ ในเวลาข้าวยากหมากแพง ในเวลาที่

(ตระกูล) เสื่อมสิ้นสมบัติแล้ว หรือในอันตรกัป กรรมดีของเขานั้น ชื่อว่า

ห้ามกาลวิบัติ ให้ผลก็หามิได้.

ส่วนผู้ใด ไม่รู้เพื่อจะยังความเพียรให้เกิดขึ้น ตามนัยที่ได้กล่าวแล้ว

ในหนหลังนั่นแหละ กรรมดีของเขานั้นชื่อว่า ห้ามปโยควิบัติ ให้ผลก็หามิได้.

แต่กรรมของผู้เกิดในสุคติภพ ด้วยกัลยาณกรรมนั้น ชื่อว่า อาศัย

คติสมบัติให้ผล. คนทั้งหลายเห็นอัตภาพของผู้ที่เกิดในราชตระกูล หรือ

ตระกูลของราชมหาอำมาตย์เป็นต้น ถึงอุปธิสมบัติ คือดำรงอยู่ในความ

เพรียบพรอ้มแห่งอัตภาพ เช่นเดียวกับ รัตนโดรณ (เสาระเนียดแก้ว) ที่

เขาตั้งไว้ที่เทพนคร เห็นว่า คนผู้นี้เหมาะสมกับตำแหน่งอุปราช เสนาบดี

หรือตำแหน่งขุนคลังเป็นต้น ถึงเขาจะยังหนุ่ม ก็ยอมให้ตำแหน่งเหล่านั้น.

กัลยาณธรรมของคนเห็นปานนี้ ชื่อว่า อาศัยอุปธิสมบัติให้ผล.

ผู้ใดเกิดในปฐมกัปก็ดี ในเวลาที่ข้าวน้ำหาได้ง่ายก็ดี กัลยาณกรรม

ของเขา ชื่อว่า อาศัยกาลสมบัติให้ผล.

ผู้ใดไม่รู้ เพื่อการประกอบความเพียร โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นและ

กรรมของผู้นั้นชื่อว่า อาศัยปโยคสมบัติให้ผล.

ท่านจำแนกกรรม ๑๖ อย่าง ตามปริยายแห่งพระอภิธรรม ด้วย

ประการดังพรรณนามาฉะนี้.

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน กับคุณแม่
ได้อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง กรวดน้ำอุทิศบุญ
เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน
รักษาศีล อาราธนาศีล เจริญวิปัสสนา ได้ปฏิบัติธรรม
ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป สักการะพระธาตุ
ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ทุกวัน
และเจริญอาโปกสิน
ฟังธรรมศึกษาธรรม
ศึกษาการรักษาโรค
ที่ผ่านมาได้ให้อาหารแก่สัตว์เป็นทานทุกวัน
เมื่อคืนนี้ได้สวดมนต์ และเดินจงกรม นั่งสมาธิ กับคุณแม่
และเมื่อเช้าได้เดินจงกรม สวดมนต์
และสร้างบารมีครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


ขอเชิญร่วมเดินทางทำบุญกับวัดป่ากรรมฐาน 11 วัด
วันที่ 27-30 พ.ค. โทร.0867767999



ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 เม.ย. 2010, 14:01
โพสต์: 10

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: อนุโมทนาบุญด้วยครับ :b42:
ข้อความของคุณมีค่าควรแก่การศึกษาและน้อมนำสู่การภาวนา
มีเวลาว่างผมแวะเข้ามาอ่านประจำครับ smiley


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 133 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร