ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

อุปาทาน
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=31583
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 11 พ.ค. 2010, 09:02 ]
หัวข้อกระทู้:  อุปาทาน

:b8: :b8: :b8:

อุปาทาน
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาททาน สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน“
อนึ่ง อุปาทาน หมายถึง การยึดถือ หรือภาวะซึ่งเกาะอยู่ไม่ยอมปล่อย

กามุตาทาน คือ ความยึดถืออยู่กับการบริโภคกาม
ทิฏฐุปาทาน คือ ความยึดถืออยู่กับความคิดเห็น
สีลพัตตุปาทาน คือ ความยึดถืออยู่กับสีลพรต
อัตตวาทุปทาน คือ ความยึดถืออยู่กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นตน
ดังนี้

ตัณหา
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหา ”
อนึ่ง ตัณหา หมายถึง การแล่นไปด้วยความอยาก
รูปตัณหา คือ การแล่นไปด้วยความอยากในรูป
สัททตัณหา คือ การแล่นไปด้วยความอยากในเสียง
คันธตัณหา คือ การแล่นไปด้วยความอยากในกลิ่น
รสตัณหา คือ การแล่นไปด้วยความอยากในรส
โผฏฐัพพตัณหา คือ การแล่นไปด้วยความอยากในผัสสะทางกายสัมผัส
ธัมมตัณหา คือ การแล่นไปด้วยความอยากเสพอารมณ์
อนึ่ง อาการของความอยากนั้น มีได้ ๓ อาการคือ
กามตัณหา ๑ หมายถึง ความอยากเข้าไปเสพ
ภวตัณหา ๑ หมายถึง ความอยากเข้าไปเป็น
วิภวตัณหา ๑ หมายถึง ความอยากที่จะไม่เป็น ดังนี้

เวทนา

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า เวทนา ”

อนึ่ง เวทนา คือ ความรู้สึก
จักขุสัมผัสสชาเวทนา คือ ความรู้สึกเมื่อตาสัมผัสภาพ ( แสงสะท้อนจากภาพ )
โสตสัมผัสสชาเวทนา คือ ความรู้สึกเมื่อหูสัมผัสเสียง
ฆานสัมผัสสชาเวทนา คือ ความรู้สึกเมื่อจมูกสัมผัสกลิ่น
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา คือ ความรู้สึกเมื่อลิ้นสัมผัสรส
กายสัมผัสสชาเวทนา คือ ความรู้สึกเมื่อกายสัมผัสสิ่งต่าง ๆ
มโนสัมผัสสชาเวทนา คือ ความรู้สึกเมื่อใจสัมผัสอารมณ์

อนึ่ง อาการของความรู้สึกมีได้ ๓ อาการ คือ
สุขเวทนา ๑ หมายถึง รู้สึกสบาย
ทุกขเวทนา ๑ หมายถึง รู้สึกบีบเค้น
อทุกขมเวทนา ๑ หมายถึง รู้สึกเฉย ๆ ไม่ทุกข์ ไม่สุข

ผัสสะ

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักสุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะ ”

อนึ่ง ผัสสะ คือ การกระทบพร้อมแล้ว
จักขุสัมผัส คือ การที่แสงมากระทบตาและวิญญาณรับรู้แล้ว
โสตสัมผัส คือ การที่เสียงมากระทบหูและวิญญาณรับรู้แล้ว
ฆานสัมผัส คือ การที่กลิ่นมากระทบจมูกและวิญญาณรับรู้แล้ว
ชิวหาสัมผัส คือ การที่รสมากระทบลิ้นและวิญญาณมารับรู้แล้ว
กายสัมผัส คือ การที่กาย ( วัตถุ ) มากระทบร่างกายและวิญญาณรับรู้แล้ว
มโนสัมผัส คือ การที่อารมณ์เกิดขึ้นที่ใจและวิญญาณรับรู้แล้ว

สฬายตนะ

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า สฬายตนะ ”

อนึ่ง สฬายตนะ คือ จุดต่อให้เกิดการกระทบ ๖ ตำแหน่ง
อายตนะ คือ ตา หมายถึง ตัวเชื่อม คือ ประสาทตา
อายตนะ คือ หู หมายถึง ตัวเชื่อม คือ ประสาทหู
อายตนะ คือ จมูก หมายถึง ตัวเชื่อม คือ ประสาทจมูก
อายตนะ คือ ลิ้น หมายถึง ตัวเชื่อม คือ ประสาทลิ้น
อายตนะ คือ กาย หมายถึงตัวเชื่อม คือ ประสาทกาย
อายตนะ คือ ใจ หมายถึง ตัวเชื่อม คือ มโนธาตุที่หทัยวัตถุ ( Node )
อนึ่ง ประสาททั้ง ๕ ส่วน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายนั้น ควบคุมโดยสมอง แล้วสมองทำงานภายใต้อำนาจใจอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

นามรูป

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ความรู้สึก ความทรงจำ ความตั้งใจ ผัสสะ การทำใจ นี้เรียกว่า นาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังพรรณนามานี้ เรียกว่า นามรูป ”



อนึ่ง มหาภูตรูป ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ เช่น ชีวิตินทรีย์ หทัยวัตถุ ระบบประสาท เพศ เป็นต้นดังนี้

วิญญาณ

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ ”

อนึ่ง วิญญาณ คือ ความรับรู้
จักขุวิญญาณ คือ ความรับรู้ภาพที่ประสาทตา
โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้เสียงที่ประสาทหู
ฆานวิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ประสาทจมูก
ชิวหาวิญญาณ คือ ความรับรู้รสที่ประสาทลิ้น
กายวิญญาณ คือ ความรับรู้สัมผัสที่ประสาทกาย
มโนวิญญาณ คือ ความรับรู้อารมณ์ที่มโนธาตุ หรือใจ ดังนี้

สังขาร

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน สังขารสามเหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร นี้เรียกว่า สังขาร ”

อนึ่ง สังขาร คือ การประกอบกันขึ้น
กายสังขาร คือ การประกอบกันขึ้นเป็นกาย
วจีสังขาร คือ การประกอบกันขึ้นเป็นวาจา
จิตตสังขาร คือ การประกอบกันขึ้นเป็นจิต

อวิชชา

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อวิชชาเป็นไฉน ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า อวิชชา ”

อนึ่ง อวิชชา คือ ความไม่รู้ หรือ ความรู้ไม่จริง
ทุกข์ คือ ภาวะบีบเค้น สิ่งที่ถูกบีบเค้นทั้งหลาย คือ สิ่งที่มิใช่ตัวมันเองต้องอาศัยปัจจัยประกอบกันเกิดขึ้น จึงถูกบีบเค้นอยู่ด้วยปัจจัยนั้นๆ เช่น ร่างกายอาศัยดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันขึ้น จึงถูกบีบเค้นอยู่ด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ หากธาตุใดธาตุหนึ่งแปรปรวนไปเกินดุลยภาพ ก็จะมีอาการป่วยไข้ขึ้น แม้ในความรู้สึก ถ้าความรู้สึกใดเกิดเพราะการประกอบกันขึ้น ความรู้สึกนั้นก็มีสภาพทุกข์ เช่น ความยินดีที่ได้พบคนรักความรู้สึกยินดีขณะพบคนรักนั้นเป็นทุกข์ เพราะประกอบด้วยปัจจัยคือการพบกับคนรัก หากการพบกับคนรักไม่เกิดขึ้น หรือ เกิดแล้วแปรปรวนหายไป ความรู้สึกยินนั้นก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้ ความยินดีที่มีปัยจัยปรุงแต่งนั้น จึงเป็นอีกอารมณ์หนี่งของความทุกข์ ความไม่ยินดีก็คือ ทุกข์ ดังนี้

ความดับทุกข์ คือ สภาพที่ปราศจากทุกข์ ดังนี้

สรุปความ

เพราะความไม่รู้ความจริงนั้นเทียว จึงทำให้ธาตุประกอบกันขึ้นเป็นกายสังขาร ประกอบกันขึ้นเป็นวจีสังขาร ประกอบกันขึ้นเป็นจิตสังขาร

จิตสังขาร คือ ความนึกคิดปรุงแต่ง ก็เหตุที่คิดกันอยู่เพราะยังไม่รู้ เมื่อไม่รู้จึงต้องคิด หากรู้แล้วก็ไม่มีอะไรต้องคิด ที่คิดอยู่จึงเป็นเพราะไม่รู้ หรือ ยังรู้ไม่จริง ( จึงเกิดความสงสัยให้ต้องคิดอีก )

วจีสังขาร คือ การปรุงแต่งเป็นวาจา ก็เหตุที่ใช้วาจาก็เพื่อสื่อภาษากัน ที่ต้องสื่อภาษาก็เพื่อความเข้าใจกัน เหตุที่ต้องทำให้เข้าใจกันเพราะยังไม่เข้าใจกัน จึงต้องพูดเพื่อให้รู้กัน การพูดทั้งหลายจึงเกิดเพราะความไม่รู้ ดังนี้

กายสังขาร คือ ปรุงแต่งลักษณะจำเพราะ เหตุที่ต้องปรุงแต่งลักษณะจำเพราะก็เพื่อให้มีความจำเพราะตน เหตุที่ต้องมีความจำเพราะตนก็เพื่อให้รู้ว่านี้คือกลุมก้อนธาตุนี้ ที่จะกระทำอย่างนี้ๆ ด้วยเจตนานี้ๆ ดังนั้น การปรุงแต่งกายจึงอยู่บนราหฐานของความไม่รู้ และดินรนทำให้รู้ดังนี้

ดังนั้น ด้วยความไม่รู้จึงมีการปรุงแต่ง หรือด้วยอวิชชาจึงมีสังขารดังนี้

เมื่อปรุงแต่งเพื่อจะให้รู้ ถ้ารู้คือวิญญาณอันไม่มีขอบเขตจำกัด จึงมารับรู้การปรุงแต่งนั้นๆ เกิดวิญญาณเกาะรู้ ณ สิ่งที่ปรุงแต่งนั้น

เมื่อนามกับรูปอยู่ด้วยกันได้ปรุงแต่งจุดเชื่อมต่อขึ้น ๖ ตำแหน่ง ทางกาย ๕ ตำแหน่ง ทางใจ ๑ ตำแหน่ง
ทางกาย ได้แก่ ประสาทตา ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย
ทางใจ ได้แก่ มโนธาตุ
ทั้งหกจุดรับรู้ นี้เรียกว่า สัฬยตนะ ซึ่ง แปลว่า จุดเชื่อมต่อ ๖ จุด

เมื่อมีอายตนะจึงมีการรับแสงแล้ววิญญาณรู้ มีการรับเสียงแล้ววิญญาณรุ้ มีการรับกลิ่นแล้ววิญญาณรู้ มีการรับรสแล้ววิญญาณรู้ มีการรับสัมผัสทางกายแล้ววิญญาณรู้ มีอารมณ์เกิดขึ้นที่ใจ แล้ววิญญาณรู้ นี้แลเรียกว่า ผัสสะ

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  student [ 12 พ.ค. 2010, 02:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อุปาทาน

ก็เลยเกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ตามกันมา

ตัณหา กับ อุปาทานนี้เป็นตัวกิเลส
เป็นเหตุปัจจุบันที่ทำให้ทุกข์ต่อไป

อวิชชา กับ สังขาร เป็นเหตุอดีตที่ทำให้เราเกิดมาในปัจจุบัน

ผลของอุปาทานคือ ภพ คือ กรรมภพ และ อุปัตติภพ
กรรมภพ หมายถึงกรรมต่างต่างที่ทำลงไปในชาติปัจจุบัน
อุปัตติภพ หมายถึง ชาติที่เริ่มโผล่ขึ้นมา เช่น จาวมะพร้าวในมะพร้าวเรียกเป็นภพ
แต่พอแตกใบออกมาเรียกเป็นชาติ
จาวมะพร้าวเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? ก็เพราะมีเชื้อคือ กรรม อยู่ข้างใน
ชาติ มีความหมายถึง ความเกิด
ชาติเป็นเหตุให้มีชรา
ชราคือความแก่
ความแก่เป็นเหตุให้มีมรณะ คือ ความตาย
ความตายเป็นเหตุให้เกิด โสกะ ความหมายคือ เศร้าโศก แห้งใจ ไม่แช่มชื้น
โสกะเป็นเหตุให้เกิดปริเทวะ ความหมายคือ คร่ำครวญ เช่น ไม่น่าคบเป็นแฟนกับคนนี้เลย เราโดนทิ้งแล้ว เราไม่เหลืออะไรแล้ว หรือแม่ไม่น่ารีบจากเราไปเลย ยังไม่ได้ทดแทนบุญคุณของแม่
ปริเทวะเป็นเหตุ ของ ทุกขะ คือ ทุกข์กาย โทมนัส คือ ทุกข์ใจ อุปายาส คือ ความคับแค้น อัดอั้นตันใจ

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/