วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องทุกข์

และ ทางดับทุกข์

อะไรคือทุกข์

การปัจจัยแห่งการเกิดหรือชาติคือทุกข์

เพราะเมือเกิดแล้ว ชีวิตจะต้องประสพกับ โศกะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาส อย่างแน่นอน

อะไรทำให้เกิด

สิ่งที่ทำให้เกิดชาติคือตัญหา

ในทางปฏิบัติการตัดทุกข์คือการตัดตัญหา

การตัดตัญหาหมายความถึงการตัดตอนตัญหาคือการรู้แจ้งในตัญหา

รู้ถึงต้ตตอของความอยาก

หมายถึงตามดูรู้ทันในเวทนาเมื่อได้รับการตอบสนองจากความทยานอยากนั้นแล้ว

โดยใช้สติปัฏฐาน4 และท้ายสุดคือปัญญา

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้นั้นก็ยากมากแล้วที่จะสามารถใช้ปัญญาทำให้รู้แจ้ง

สหายธรรมท่านเห็นด้วยอย่างที่ผมเห็นอย่างนี้ไหมครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ ทรงสอน เรื่องทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และการทำความดับทุกข์

อุปาทานขันธ์ คือทุกข์
ความเกิด คือทุกข์
ความตาย คือทุกข์
โสกะปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส คือทุกข์

เหตุให้เกิดทุกข์ คือตัณหา
ความยินดี อาลัยอาวรณ์ เพ่งเล็งอยากได้ คือตัณหา
ความไม่ยินดี ความขจัด ความยินร้าย คือตัณหา
ความหลงเข้าไปยินดี หลงเข้าไปยินร้ายนั้นแล คือตัณหา

ในทางปฏิบัติ คือ ละสละวาง ตัณหา
ด้วย มรรคปฏิปทา หรืออริยะมรรค ซึ่งประกอบไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา

ความดับทุกข์ จึงจะดับได้ ความดับแห่งกรรม จึงจะสิ้นสุดได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำความเข้าใจ "กรรม" ให้ตรงกันก่อนก็ดีจะได้บทสรุปง่ายขึ้น

ตั้งกระทู้สนทนาเรื่องนี้ต่างหากสักกระทู้สิครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกรัชกาย

ผมใช้ภาษาที่นักตัดกรรมทั้งหลายชอบพูดชอบใช้ครับ

กรรมในที่นี้ = วิบาก

ขออภัยในการใช้คำโดยไม่ชี้แจงให้ละเอียดครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องเหตุก็ลี้ลับนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครับ :b1:

เรื่องนี้พูดถึงกันบ่อย แต่เรายังเห็นคำว่า กรรม ไม่ลงตัวว่าไงแน่

ภาษาที่ท่านใช้เป็นชุด คือ กิเลส กรรม วิบาก

วิบาก แปลว่า ผล

ท่านอธิบายยังงี้ครับ กิเลส เป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรม ก็เกิดวิบาก (ผลของกรรม)

เมื่อได้รับผลแล้ว ก็เกิดกิเลสอีก กิเลสเป็นเหตให้ทำกรรม เมื่อทำกรรม ก็เกิดผล (วิบาก)อีก

หมุนวนไปอย่างนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตนำมะพร้าวห้าวมาขายสวนครับ

อ้างคำพูด:
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
[แก้] นิยาม
นิยาม หรือนิยามะ (บาลี)กำหนดอันแน่นอน, ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ, กฎธรรมชาติ นิยาม 5 ประการนี้ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างในโลกและในอนันตจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปตามกฎทั้ง 5 ประการนี้ทั้งสิ้น

ธรรมนิยาม (General Laws) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลาย เป็นกฎสากลที่ครอบคลุมความเป็นไปทั้งฝ่ายจิตและฝ่ายวัตถุ กฎข้อนี้มีขอบเขตครอบคลุมกว้างขวางที่สุด กฎทั้งปวงอยู่ภายใต้กฎข้อนี้ อันได้แก่กฎไตรลักษณ์ทั้ง3 คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (ดูที่ ธรรมนิยามสุตตัง)เช่นธาตุทั้งปวงเป็นมีสถานะเป็นกระแส สั่นสะเทือน(คลื่น) ผันผวน ไม่แน่นอน
อุตุนิยาม(Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของปรากฏการณ์ ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิตทุกชนิด หลักของอุตุนิยาม ตามแนวพระพุทธศาสนามุ่งให้ผู้ที่เข้าใจเกี่ยวกับกฎธรรมชาติที่ว่าด้วยวัตถุ ซึ่งก็คือเมื่อมีเหตุปัจจัยเพียงพอก็จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมัน ไม่มีใครเป็นผู้กำหนดหรือห้ามได้ เช่น การที่จะเกิดฝนตก ก็มีเหตุปัจจัยเพียงพอให้เกิดฝนตก เช่น การระเหยของน้ำบนดิน การรวมตัวของก้อนเมฆ การเกิดลมพัด การกระทบกับความเย็น ก่อให้เกิดฝนตก เป็นต้น หากเราเข้าใจธรรมชาติเช่นนี้ ก็จะทำให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีความสุข อุตุนิยาม คือลักษณะสภาวะต่างๆของธาตุทั้ง5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ
พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ โดยเฉพาะสิ่งที่เรียกว่ากฎธรรมชาตินี้ทำให้เมื่อเรานำเมล็ดข้าวเปลือกไปเพาะ ต้นที่งอกออกมาจะต้องเป็นต้นข้าวเสมอ หรือช้างเมื่อออกลูกมาแล้วย่อมเป็นลูกช้างเสมอ ความเป็นระเบียบนี้พระพุทธศาสนาค้นพบว่าเป็นผล มาจากการควบคุมของธัมมตาทั้ง3 คือ สมตา(การปรับสมดุล) วัฏฏะ(การหมุนวนเวียน) และ ชีวิต(การมีหน้าที่ต่อกัน)นั่นเอง
จิตนิยาม (Psychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต พระพุทธศาสนา ค้นพบว่า คนเราประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ ร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นผลมาจากจิตนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต กระบวนการของความคิด พระพุทธศาสนาเชื่อว่าคนเรา (รวมทั่งสิ่งมีชีวิตอื่น) ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของชีวิต คือ จิต จิตในทัศนะของพุทธศาสนาเป็นสิ่งต่างหากจากกาย ในฐานะที่เป็นสิ่งหนึ่งต่างหากจากกาย จิตก็มีกฎเกณฑ์ในการทำงาน เปลี่ยนแปลงและแสดงพฤติกรรม เป็นแบบฉบับเฉพาะตัว จิตนิยาม ได้แก่ นามธาตุ คือ จิตและเจตสิกที่เป็นธรรมธาตุ
กรรมนิยาม (Karmic Laws) คือกฎแห่งเหตุผล กฎอิทัปปัจจยตา กฎปฏิจจสมุปบาท กฎปัจจยาการ กฎมหาปัฏฐาน กฎแห่งกรรม กฎแห่งการให้ผลของการกระทำ กฎอันเป็นเหตุเป็นผลของธรรมชาติแบ่งออกเป็น 2 อย่าง ทางนามธรรมและทางรูปธรรม ทางนามธรรม นี่คือ กฎแห่งกรรม คือการกระทำของจิต ทางรูปธรรม คือกฎแห่งกิริยา คือการกระทำของสิ่งไม่มีชีวิต โดยเฉพาะกฎแห่งกรรมที่เกิดจากจิตนิยาม คือมีเจตนา นั้นในทางพุทธศาสนานั้นทำให้เกิดอจินไตยทั้ง 4 (สิ่งที่ไม่อาจรู้ได้ด้วยการอาศัยตรรกะหรือความคิด)ที่ไม่อาจใช้เครื่องมือใดๆพิสูจให้เห็นประจักษ์โดยทั่วกันได้ นอกจากจะบรรลุธรรมด้วยตนเอง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งเรื่องทั้งปวง แสดงว่าทรงค้นพบนิยามหรือกฎธรรมชาติทั้ง 5 เหล่านี้ พระองค์ทรงสอนกรรมนิยาม เน้นในส่วนนามธาตุที่เกี่ยวกับจิตนิยามและธรรมนิยาม พระองค์ทรงสอนเรื่อง อุตุนิยามและพีชนิยามเพียงเล็กน้อย ในทางกลับกัน นักวิทยาศาสตร์ศึกษากรรมนิยามเน้นในส่วนเหตุผลทางรูปธาตุที่ เกี่ยวกับอุตุนิยามและพีชนิยาม ไม่สนใจกรรมนิยามในส่วนเหตุผลของนามธาตุและสนใจในธรรมนิยามและจิตนิยามเล็กน้อย นี่คือจุดเน้นที่ต่างกัน ระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนามองภาพรวมของโลกและชีวิตได้กว้างขวางมากกว่า

ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมนิยามเป็นกฎธรรมชาติสากลที่ครอบคลุม 4 กฎย่อยดังที่ กล่าวมาแล้ว แม้พระพุทธศาสนาจะศึกษาเน้นเรื่องธรรมนิยามและจิตนิยามก็จริง ถึงกระนั้น พระพุทธศาสนา ก็ไม่ปฏิเสธเรื่องอุตุนิยามและพีชนิยามที่เป็นจุดเน้นของวิทยาศาสตร์ เพราะเหตุนี้เอง พระพุทธศาสนาจึง ไม่ขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์

จากการค้นพบธรรมะดังกล่าวนี้ ทำให้เราทราบว่า ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่ง ของธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบเท่านั้น ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่พระองค์ทรงค้นพบ แล้วมิได้นำมาตรัสให้ฟัง และเรื่องที่นำมาตรัสเล่านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ฟังได้ข้อคิดแนวทางในการ ปฏิบัติธรรมอันนำไปสู่ความพ้นทุกข์ซึ่งเป็นเรื่องหลักในชีวิต








ขอยกคัมภีร์วิสุทธมรรคมาเสริม(จากพุทธธรรมหน้า70/26)

"ว่าโดยความจริงแท้(สัจจะ) ในโลกนี้มีแต่นามและรูป(นามธรรมและรูปธรรม)ก็แล ในนามและรูปนั้น สัตว์และคนก็หามีไม่ นามและรูปนี้ว่างเปล่า ถูก(ปัจจัย)ปรุ่งแต่งขึ้น เหมือนดังเครืองยนต์ เป็นกองแห่งทุกข์(สิ่งไม่คงตัว) เช่นกับหญ้าและฟืน"

"ทุกข์นั่นแหละมีอยู่ แต่ผู้ทุกข์หามีไม่, การกระทำมีอยู่ แต่ผู้กระทำไม่มี, นิพพานมีอยู่ แตผู้นิพพานไม่มี, ทางมีอยู่แต่ผู้เดินทางไม่มี"

ผู้ทำกรรมก็ไม่มี ผู้เสวยผลก็ไม่มี มีแต่ธรรมทั้งหลายล้วนๆเป็นไป(กระบวนธรรม), อย่างนี้นี่เป็นความเห็นที่ถูกต้อง เมื่อกรรมและวิบาก(ผลของกรรม) พร้อมทั้งเหตุ เป็นไปอยู่อย่างนี้ ต้น ปลาย ก็ไม่เป็นที่รู้ได้ เหมือนดังก่อนหลังเมล็ดพืชกับต้นไม้เป็นต้น แม้ในอนาคต เมื่องสังสาระยังมีอยู่ก็ยังมองไม่เห็นการที่จะไม่เป็นไป(ของกรรมและวิบาก)

"พวกเดียรถีย์ไม่รู้ความข้อนี้ จึงไม่เป็นอิสระ(อสยํวสี=ไม่มีอำนาจในตน หรือไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องขึ้นต่อผู้อื่นด้วยการยึดถือผิด) ยึดเอาสัตตสัญญา(ความสำคัญหมายว่าเป็นสัตว์บุคคล)แล้ว มีความเห็นไปว่า เที่ยงแท้ยั่งยืน(เป็นสัสสตะ) บ้าง ว่าขาดสูญ(เป็นอุจเฉทะ)บ้าง พากันถือทิฐิ62อย่างขาดแย้งกันและกัน, พวกเขาถูกมัดด้วยพันธนาการคือทิฐิ ถูกกระแสตัญหาพัดพาไป, เมื่อล่องลอยไปตามกระแสตัญหา ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้ ส่วนภิกษุพุทธสาวก รู้กระจ่างความที่ว่ามาอย่างนี้ ย่อมเข้าใจปรุโปร่ง(แทงตลอด)ถึงปัจจัยที่ลึกซึ้งละเอียดและว่าง"

"กรรมไม่มีในวิบาก วิบากก็ไม่มีในกรรม ทั้งสองอย่างว่างจากกันและกัน, แต่ปราศจากกรรม ผลก็ไมมี เหมือนดังว่า ไฟไม่ใช่อยู่ในแสงแดด ไม่ใช่อยู่ในแว่นแก้ว (อย่างเลนส์นูน)มิใช่อยู่ในมูลโคแห้ง
(ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง) แต่ก็ไม่ใช่อยู่ภายนอกวัตถุทั้ง3นั้น หากเกิดจากการประกอบพร้อมเข้าด้วยกัน ฉันใด, วิบากก็หาไม่ได้ที่ภายในกรรม แต่ภายนอกกรรมก็หาไม่ได้ ส่วนกรรมเล่าก็ไม่มีในวิบากนั้น กรรมว่างจากผล ผลก็ไม่มีในกรรม แต่ผลก็อาศัยกรรมนั่นแหละเกิดขึ้นจากกรรมนั้น ฉันนั้น แท้จริง ในกระบวนแห่งสังสาระนี้ เทพก็ตาม พรหมก็ตาม ผู้สร้างสังสาระ หามีไม่ มีแต่ธรรมทั้งหลายล้วนๆเป็นไป ด้วยอาศัยการประชุมพร้อมแห่งเหตุเป็นปัจจัย"

"อาศัยธรรมชาตินี้ มีเหตุ เกิดขึ้นพรั่งพร้อมแล้วอย่างนี้ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง คลอนแคลน เป็นของชั่วคราวไม่ยั่งยืน, ธรรมทั้งหลายก็เกิดจากธรรมทั้งหลาย โดยเป็นเหตุกัน, ในกระบวนความเป็นไปนี้ จึงไม่มีทั้งตัวตน(อัตตา) ไม่มีทั้งตัวอื่น"

"ธรรมทั้งหลายยังธรรมทั้งหลายให้เกิดขึ้น โดยความประกอบพร้อมแห่งปัจจัย, พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อความดับแห่งเหตุทั้งหลาย, เมื่อเหตุทั้งหลายระงับไป วงจร(วัฏฏะ)ขาด ก็ไม่หมุนต่อไป, ชีวิตประเสริฐ(พรหมจรรย์)ย่อมมีเพื่อกระทำความจบสิ้นทุกข์อย่างนี้. เมื่อหาตัวสัตว์ไม่ได้ จึงไม่มีทั้งขาดสูญ ไม่มีทั้งเที่ยงแท้ยั่งยืน"

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1_display.jpg
1_display.jpg [ 102.37 KiB | เปิดดู 3900 ครั้ง ]
ชาวพุทธบางคน เมื่อได้อ่านได้ฟังคำสอนในทางพระพุทธศาสนาบางอย่าง เช่น บางแห่งว่า ไม่ควรคบ

คนพาล ควรคบบัณฑิต คนพาลมีลักษณะอย่างนี้ๆ บัณฑิตมีลักษณะอย่างนี้ๆ ควรยินดีแต่ของของตน

ไม่ควรอยากได้ของของผู้อื่น ตนเป็นที่พึงแห่งตน คนควรช่วยเหลือกัน ดังนี้เป็นต้น

แต่บางแห่งว่า พึงพิจารณาตามความเป็นจริงว่า กายก็แค่กาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

พึงรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่าไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา ดังนี้เป็นต้น

แล้วมองไปว่า คำสอนในทางพระพุทธศาสนาขัดแย้งกันเอง หรือไม่ก็งงแล้วไม่เข้าใจ หรือบางคนเข้าใจ

บ้างแต่ไม่ชัดเจนพอ ทำให้การปฏิบัติธรรมสับสนผิดพลาด ดำเนินชีวิตไม่สอดคล้องกับสภาพความ

เป็นจริง ในเวลาที่ควรพูดควรปฏิบัติตามความรู้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน กลับพูดหรือปฏิบัติด้วยความ

ยึดถือในความรู้ตามสภาวะ เป็นต้น ทำให้เกิดความวุ่นวายและเสียหาย ทั้งแก่ตนละผู้อื่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=29189&p...%20-

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=29182&p...%20-
:b42: :b42: :b42:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 22 พ.ค. 2010, 17:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


[quote+"กรัชกาย"]ชาวพุทธบางคน เมื่อได้อ่านได้ฟังคำสอนในทางพระพุทธศาสนาบางอย่าง เช่น บางแห่งว่า ไม่ควรคบ

คนพาล ควรคบบัณฑิต คนพาลมีลักษณะอย่างนี้ๆ บัณฑิตมีลักษณะอย่างนี้ๆ ควรยินดีแต่ของของตน

ไม่ควรอยากได้ของของผู้อื่น ตนเป็นที่พึงแห่งตน คนควรช่วยเหลือกัน ดังนี้เป็นต้น

แต่บางแห่งว่า พึงพิจารณาตามความเป็นจริงว่า กายก็แค่กาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา

พึงรู้เท่าทันตามเป็นจริงว่าไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา ดังนี้เป็นต้น

แล้วมองไปว่า คำสอนในทางพระพุทธศาสนาขัดแย้งกันเอง หรือไม่ก็งงแล้วไม่เข้าใจ หรือบางคนเข้าใจ

บ้างแต่ไม่ชัดเจนพอ ทำให้การปฏิบัติธรรมสับสนผิดพลาด ดำเนินชีวิตไม่สอดคล้องกับสภาพความ

เป็นจริง ในเวลาที่ควรพูดควรปฏิบัติตามความรู้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน กลับพูดหรือปฏิบัติด้วยความ

ยึดถือในความรู้ตามสภาวะ เป็นต้น ทำให้เกิดความวุ่นวายและเสียหาย ทั้งแก่ตนละผู้อื่น
[/quote]


คุณกรัชกายอาจไม่ได้หมายถึงผม แต่ผมรู้ลึกว่าตัวเองเป็นดังทีคุณกรัชกายกล่าวมา

ขอน้อมรับด้วยความเคารพครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 18:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแก้ตัวครับ


ที่เราอุปาทานว่าคือผลของกรรมหรือวิบาก

แท้จริงคือเวทนา

ที่เราเรียกว่าวิบากกรรม

รับวิบากกรรม คือการเสวยเวทนานั่นเองครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ภาษาที่ท่านใช้เป็นชุด คือ กิเลส กรรม วิบาก

วิบาก แปลว่า ผล
ท่านอธิบายยังงี้ครับ กิเลส เป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรม ก็เกิดวิบาก (ผลของกรรม)
เมื่อได้รับผลแล้ว ก็เกิดกิเลสอีก กิเลสเป็นเหตให้ทำกรรม เมื่อทำกรรม ก็เกิดผล (วิบาก)อีก
หมุนวนไปอย่างนี้


กิเลส กรรม วิบาก

เมื่อจิตน้อมไป ยึดถือไป นำไป ด้วยอำนาจกิเลส คือตัณหา เป็นเหตุให้ทำกรรม ย่อมเสวยผลกรรมนั้น(วิบาก)

วิบาก ไม่ได้เป็นเหตุให้เกิดกิเลส ในขณะต่อไป

จิตที่ยังน้อมไป ยึดถือไป ด้วยอำนาจกิเลส คือตัณหา ในขณะอื่นๆ ย่อมเป็นเหตุให้ทำกรรมใหม่

กิเลส กรรม วิบาก จึงไม่มีอาการหมุนวน ว่า วิบากเป็นเหตุให้เกิด กิเลส

จิตเหตุ... จิตผล(วิบากจิต)

กิเลส---กรรม---วิบาก--->วิบากๆๆๆๆๆๆๆๆ
จิตเหตุ--กิเลสl
l
l
V
กิเลส --- กรรม---วิบากๆ
l
l
V
วิบากๆๆๆๆๆวิบากๆๆๆ
จิตเหตุ--->

เป็นต้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
คุณกรัชกายอาจไม่ได้หมายถึงผม แต่ผมรู้ลึกว่าตัวเองเป็นดังทีคุณกรัชกายกล่าวมา

ขอน้อมรับด้วยความเคารพครับ


น่าจะเป็นข้อคิดต่อผู้ที่ยก คำว่า อัตตา ขึ้นถกเถียงกันบ่อยๆ กลับมาดูข้อคิดนั้นแล้ว อาจจะถึงนึกได้ว่า กำลัง

คิดกันถึงระดับไหน จะได้หยิบขึ้นถกเถียงกันในระดับเดียวกัน

แม้คำอื่นๆก็เช่นกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 14:54
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมที่เราสะสมมาแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่จะมีการสะสมนั้นเป็นสิ่งที่ตัวของเราเป็นผู้ที่ทำให้เกิดขึ้นไม่มีใครที่จะทำให้เราได้ ไม่ต้องดูอะไรมาก แค่ ศีล ๕ ไม่ต้องศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ข้อหลอกนะ แค่ละเมิดข้อใดข้อหนึ่ง ก็เป็นที่กำเหนิดแห่กรรม ลองพิจารณาตัวของเราว่าเรารักษาศีล ๕ บริบูรณ์หรือยัง ทั้งทางกาย วาจา ใจ (กรรมบท ๑๐) ถ้าบริบูรณ์ดีแล้ว ปิดประตูความทุกข์ไปได้เลย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร