วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 04:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2010, 09:32
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือว่า...ตัวฉันเองเปงเด็กตจว.คนหนึ่งที่เข้ามาทำงานในกทม. ตั้งแต่เรียนจบ ตอนแรกได้ทำงานที่บริษัท AAA พี่ๆ ที่ทำงานที่นั้นต่างก้อดูถูกว่าฉันเปงเด็กบ้านนอก ดูถูกสารพัด พร้อมทั้งอวดร่ำอวดรวยใส่ฉัน ฉันทนไม่ได้จึงลาออกไปทำงานที่ BBB และ CCC ในที่สุดฉันก้อได้เงินเดือนค่อนข่างสูง ฉันกลับมีอารมณ์อยากจะดูถูกคนอื่นเหมือนกับที่คนอื่นดูถูกฉันบ้าง
ฉันได้แต่พยายามระงับไม่ให้แสดงกริยาแบบนั้นออกมา เพราะฉันรู้ดีว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่...พอจะมีวิธีใดบ้างที่ฉันจะไม่มีอารมณ์อยากเอาคืนนี้บ้างค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้มีหน้าที่ช่วยย้ายกระทู้นี้ไปห้องสนทนาทั่วไปด้วยครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

คลิ่นโคลนสาบควาย- :b31:

http://radio.sanook.com/music/player/%E ... %A2/41660/

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 16:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังพูดถึงเรื่องกรรมที่

viewtopic.php?f=1&t=31988&st=0&sk=t&sd=a&start=15

พอดี

อาจเข้าใจเรื่องกรรมและวิบากง่ายขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 27 พ.ค. 2010, 17:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เจตน์จำนง คือ เจตนา หรือ กรรมนั้น แม้เล็กน้อย ก็มิได้ไร้ผล

อาจอ้างพุทธศาสนสุภาษิตว่า

“กรรมดีหรือชั่วทุกอย่างที่คนสั่งสมไว้ ย่อมมีผล ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะนิดหน่อย ที่จะว่างเปล่าไปเลย

ย่อมไม่มี”

ขุ.ชา. 27/2054/413 (แต่ไม่พึงสับสนกับเรื่องกรรมที่ไม่ให้ผลในระดับวิถีชีวิตภายนอก)

และว่า

“กรรมไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมไม่สูญเปล่าเลย”

(ขุ.ชา. 28/864/306)

อย่างไรก็ตาม ผลทางด้านกรรมนิยามในระดับจิตใจนี้ คนจำนวนมากคอยจะมองข้าม ไม่เห็นความสำคัญ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดากรรม 3 อย่าง คือ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

มโนกรรมสำคัญที่สุด และมีผลกว้างขวางรุนแรงที่สุด ดังบาลีว่า

“ดูกรตปัสสี บรรดากรรม 3 อย่างเหล่านี้ ที่เราจำแนกไว้แล้วอย่างนี้ แสดงความแตกต่างกันแล้วอยางนี้

เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในความเป็นไปแห่งบาปกรรม หาบัญญัติกายกรรม

อย่างนั้นไม่ หาบัญญัติวจีกรรม อย่างนั้นไม่”


เหตุที่มโนกรรมสำคัญที่สุด ก็เพราะเป็นจุดเริ่มต้น คนคิดก่อนแล้วจึงพูดจึงกระทำคือแสดงออกทางกาย

และวาจา ดังนั้น กายกรรม วจีกรรม จึงขยายออกมาจากมโนกรรมนั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การให้ผล (วิบาก) ของกรรม แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ


1. ระดับภายในจิตใจ ว่ากรรมทำให้เกิดผลภายในจิตใจ มีการสั่งสมคุณสมบัติ คือ กุศลธรรม

และอกุศลธรรม คุณภาพและสมรรถภาพของจิต มีอิทธิพลปรุงแต่งความรู้สึกนึกคิด ความโน้มเอียง

ความนิยมชมชอบ และความสุขความทุกข์ เป็นต้น อย่างไรบ้าง

2. ระดับบุคลิกภาพ ว่ากรรมให้ผลในด้านการสร้างเสริมนิสัยปรุงแต่งลักษณะความประพฤติ

การแสดงออก ท่าทีการวางตนปรับตัว อาการตอบสนอง ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่นๆ และต่อสถานการณ์

หรือสภาพแวดล้อมทั่วๆไปอย่างไรบ้าง


การให้ผลระดับนี้ ต่อเนื่องออกมาจากระดับที่ 1 นั่นเอง และมีขอบเขตคาบเกี่ยวกัน แต่แยกพิจารณาเพื่อให้

มองเห็นแง่มุมของการให้ผลชัดเจนยิ่งขึ้น


3. ระดับวิถีชีวิตของบุคคล ว่ากรรมชักนำความเป็นไปในชีวิตของบุคคล ทำให้เขาได้

รับประสบการณ์ ที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนา ประสบผลตอบสนองจากภายนอก พบความเสื่อมความเจริญ

ความล้มเหลว ความสำเร็จ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ และความ สูญเสียต่างๆที่ตรงข้าม ซึ่งรวมเรียกว่า โลกธรรม

ทั้งหลาย อย่างไรบ้าง

ผลระดับนี้อาจแยกมองได้สองด้าน คือ

-ผลสนองจากปัจจัยด้านอื่นๆ ของสภาพแวดล้อมที่นอกจากคน

-ผลสนองจากปัจจัยด้านบุคคลอื่นและสังคม


4. ระดับสังคม ว่ากรรมที่บุคคลและคนทั้งหลายกระทำ มีผลต่อความเป็นไป ของสังคมอย่างไรบ้าง

เช่น ทำให้เกิดความเสื่อมความเจริญ ความร่มเย็นเป็นสุข ความทุกข์ยากเดือดร้อนร่วมกันของมนุษย์ทั้งหลาย

รวมทั้งผลจากการที่มนุษย์กระทำต่อสภาพแวดล้อมอื่นๆ แล้วย้อนกลับมาหาตัวมนุษย์เอง



จะเห็นได้ชัดว่า ผลในระดับที่ 1 และที่ 2 คือ ผลภายในจิตใจและบุคลิกภาพ เป็นขอบเขตที่กรรมนิยาม

เป็นใหญ่


ระดับที่ 3 เป็นขอบเขตที่กรรมนิยาม กับ สังคมนิยมน์เข้ามาสัมพันธ์กัน และเป็นจุดที่มักเกิดความสับสน

ก่อให้เกิดปัญหา

ส่วนระดับที่ 4 แม้จะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็อยู่นอกขอบเขตของการพิจารณา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนทั่วไป เมื่อมองดูผลของกรรมที่เกิดแก่ตน หรือ เพ่งจ้องติดตามดูผู้อื่นว่าใครทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

จริงหรือไม่อย่างไร มักมองดูแต่ผลในระดับที่ 3 คือ ความเป็นไปในชีวิตส่วนที่ได้รับผลตอบสนอง

จากภายนอกเท่านั้น

ทำให้มองข้ามผลในระดับที่ 1 และ 2 ไปเสีย ทั้งที่ผลสองระดับต้นนั้นแหละ มีความสำคัญอย่างยิ่ง

สำคัญทั้งในแง่เฉพาะของมันเอง เช่น สุขทุกข์ในใจ ความเข้มแข็งอ่อนแอภายใน ความพร้อมความแก่

หรืออ่อนแห่งอินทรีย์ เป็นต้น และสำคัญทั้งในแง่เป็นที่มาแหล่งใหญ่ของผลในระดับที่ 3 ด้วย

กล่าวคือ ผลในระดับที่สามนั้น ส่วนที่เป็นขอบเขตของกรรมนิยามก็ต่อเนื่องมาจากผลในระดับ ที่ 1 และ 2

นั่นเอง เช่น ด้วยผลในระดับที่ 1 จิตใจของบุคคลผู้นั้นเอง คือ ความสนใจ ความนิยมชมชอบ ความโน้มเอียง

การแสวงสุขหรือระบายทุกข์ภายในของบุคคลนั้นเอง ชักนำให้เขามองสิ่งนั้น เรื่องนั้นในแง่นั้นๆนำเขาเข้าไป

หาสถานการณ์นั้นๆ

ทำการตอบสนองอย่างนั้นๆ จะทำหรือไม่ทำสิ่งนั้นๆ ทำให้เขาดำเนินตามวิถีชีวิตอย่างนั้นๆ ให้ได้พบ

ประสบการณ์ หรือประสบผลอย่างนั้นๆ และให้มีความรู้สึกหรือท่าทีต่อสิ่งที่ประสบอย่างนั้นๆ
เป็นต้น


เฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้เกิดผลในระดับที่สอง ซึ่งก็ช่วยเสริมผลในระดับที่ 1 ในการก่อผลระดับที่ 3 อย่างที่กล่าว

มาแล้วนั่นเอง

รวมทั้งการที่ว่า เมื่อเขาจะทำการใดๆ เขาจะทำสิ่งนั้นๆ ตามแนวไหน ลักษณะใด ด้วยอาการใด จะทำไปตลอด

ไหม พบข้อขัดข้องอย่างไหน จะยอมอย่างไหน จะย่ำต่อไป จะทำสำเร็จหรือไม่ จะหยาบประณีต ยิ่งหรือหย่อน

อย่างไร ตลอดถึงว่า ตัวเขาจะปรากฏเป็นภาพในความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นอย่างไร

อันจะเป็นผลย้อนกลับมาหาตัวเขาเองอีก ในรูปของความช่วยเหลือ ร่วมมือ หรือขัดแย้งปฏิเสธ เป็นต้น

อันเป็นส่วนหนึ่ง ที่บุคลิกภาพของเขาชักนำคนอื่นให้ช่วยพาตัวเขาไปสู่ผลสนองที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตกรรมและผลของกรรมที่เกิดสะสมภายในจิตใจทีละน้อยๆ

การได้รับผลตามกรรมนิยาม ย่อมเริ่มดำเนินในทันที เริ่มแต่ตั้งเจตนา

เช่น คนที่จะเสพสิ่งเสพติดมึนเมา พอจะเสพเจตนาก็ประกอบด้วยความกระหยิ่มอย่างมัวซัว

เมื่อเสพเป็นนิตย์ ก็สั่งสมสภาพจิตอย่างนั้นเป็นนิสัย

คนที่เคร่งเครียดแข่งหาแข่งเอา จะทำงานแต่ละครั้ง เจตนาก็ประกอบด้วยความเครียดเร่งร้อน

และสั่งสมสภาพจิตเช่นนั้นไว้

คนที่ตั้งหน้า ฆ่าผู้อื่น แม้จะได้รับความยกย่องและรางวัลในสังคมของพวกตน แต่ในการกระทำ คือ การฆ่าแต่

ละครั้งก็ตั้งเจตนาที่ประกอบด้วยความขึ้งเครียดเ หี้ ยมเกรียม หรือ กระเ หี้ ยนกระหือรือ

หากปล่อยใจไปเรื่อยๆ ก็จะมีการสั่งสมสภาพจิตเช่นนั้นจนอาจกลายเป็นบุคลิกภาพทั้งหมดของเขา

คุณภาพของจิตจะเป็นไปในทางที่หยาบมากขึ้น แต่เสื่อมเสียความประณีต ความนุ่มนวลละมุนละไม

และความละเอียดลึกซึ้งเป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 13:59
โพสต์: 50

อายุ: 0
ที่อยู่: ท่องไปดุจ..นอแรด

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
"..หลักของพระพุทธศาสนานั้น ไม่ใช่การพูดกันเฉย ๆ
หรือด้วยการเดา..หรือการคิดเอาเอง
หลักของพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคือ
การรู้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงนั่นเอง
ถ้ารู้เท่าทันตามความเป็นจริงนี้แล้ว
การสอนก็ไม่จำเป็น..แต่ถ้าไม่รู้ถึงความเป็นจริงอันนี้
แม้จะฟังคำสอนเท่าใด ก็เหมือนกับไม่ได้ฟัง!!!"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


tissue :

อ้างคำพูด:
คือว่า...ตัวฉันเองเปงเด็กตจว.คนหนึ่งที่เข้ามาทำงานในกทม. ตั้งแต่เรียนจบ ตอนแรกได้ทำงานที่บริษัท AAA พี่ๆ ที่ทำงานที่นั้นต่างก้อดูถูกว่าฉันเปงเด็กบ้านนอก ดูถูกสารพัด พร้อมทั้งอวดร่ำอวดรวยใส่ฉัน ฉันทนไม่ได้จึงลาออกไปทำงานที่ BBB และ CCC ในที่สุดฉันก้อได้เงินเดือนค่อนข่างสูง ฉันกลับมีอารมณ์อยากจะดูถูกคนอื่นเหมือนกับที่คนอื่นดูถูกฉันบ้าง
ฉันได้ แต่พยายามระงับไม่ให้แสดงกริยาแบบนั้นออกมา เพราะฉันรู้ดีว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่...พอจะมีวิธีใดบ้างที่ฉันจะไม่มี อารมณ์อยากเอาคืนนี้บ้างค่ะ
..

ความที่ยังมีปมด้อย(อันที่จริงปมด้อยก็ไม่ใช่อะไรอื่น มันก็คือปมเขื่องที่ลดลงนั่นเอง )จากคราวก่อนที่ถูกทับถมมาเป็นปัจจัยให้รู้สึกอย่างเด่นบ้าง วิธีเด่นได้ง่ายๆและหยาบที่สุดคือการคุยเขื่องและดูถูกคนอื่น...นี้คือการทำงานของกิเลสที่ละได้ยากที่สุดคือมานะ ..คนที่จะเด่นด้วยวิธีนี้ก็ย่อมมี"ของดีที่จะเด่นได้" เหนือกว่าเขา.. อาศัย"ของดี"ที่ตนมีอยู่นี้แหละ มานะจึงเกิดได้..

เพราะตนเอง เคยดูถูกชาวบ้านเขามาในกาลก่อนแล้ว จึงในช่วงหนึ่งผลกรรมได้ปัจจัยมาส่งให้เสวย ต้องถูกเขาดูถูกทับถมเอาจนทุกข์ร้อนมากมาย มาบัดนี้ ควรหรือที่จะทำเหตุเสียอย่างเก่าเพื่อไปรับทุกข์เหมือนเดิมในอีกหลายอัตภาพหน้า ใยไม่เอาข้อผิดพลาดนี้มาเตือนตน มิให้พลั้งพลาดไปอีก...

เราไม่ชอบให้ใครมาดูถูกเรา แต่กลับชอบดูถูกคนอื่น เราชอบให้ใครๆสรรเสริญเรา เเต่กลับชอบว่าคนอื่น.....มีหลายอย่างมากที่เราชอบให้คนอื่นทำแก่เรา แต่เรากลับทำตรงข้ามแก่คนอื่น..จึงได้เกิดความทุกข์ร้อนไม่หยุดหย่อนเช่นนี้..

คนที่มีมานะจัด กระด้าง มองไม่เห็นใครดีกว่าตนหรือเสมอตน ย่อมจะมีความประพฤติที่ตรงกันข้ามกับคนอ่อนน้อมถ่อมตน จึงไม่มีการฝึกตน

การฝึกตนนั้นเป็นสิ่งที่ดี พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้ว่า ในหมู่มนุษย์ ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว ประเสริฐที่สุด (พระพุทธภาษิต: ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์ด้วยกัน ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว ประเสริฐที่สุด) แต่น้อยคนนักที่จะฝึกตนได้ คนส่วนมากไม่ได้ฝึกตน ในสังคมมนุษย์จึงเกลื่อนกล่นไปด้วยคนไม่มีคุณภาพ

ในการฝึกนั้น เราจะต้องฝึกตัวเอง คนอื่นทำให้หรือทำได้ก็แต่เพียงบอกทางฝึกให้เท่านั้น

พึงเร่งระมัดระวังความคิด วาจาและอาการของตนเองมิให้ออกไปเขื่องข้างนอก เพราะผลที่ได้มันไม่คุ้มกันดังที่ท่านเองได้พบมาด้วยตนเองแล้ว มิใช่หรือ..?..

วิธีหนึ่งที่จะละมานะได้ดีก็คือความถ่อมตน นี่เป็นหลักทั่วไป เพราะว่าความถ่อมตนเป็น สิ่งที่ตรงกันข้ามกับการมีมานะว่าเก่งกว่าเขา ดีกว่าเขา ยกตัวให้เลิศลอยกว่าผู้อื่น ผู้ใดก็ตามถ้าเผื่อยกตนข่มผู้อื่น และอวดว่าวิเศษกว่าผู้อื่น ก็จะประสบความเสียหาย พ่ายแพ้...

ความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยสติปัญญา ควบคุมให้ผู้นั้นอ่อนน้อมถ่อมตัวได้ และจะทำให้เป็นคนมีความดี มีบุญวาสนาขึ้นมา จากการที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตัว โดยมีสติปัญญาควบคุม

นี่เป็นสิ่งที่ต้องมองเห็นประโยชน์ ถ้าเรามองไม่เห็นประโยชน์ แล้วก็ทนไปเป็นวัวเป็นควาย อย่างนั้นมันก็ใช้ไม่ได้

ทำให้ทำสิ่งที่ทำได้ยาก ทำให้สละสิ่งที่สละได้ยาก สิ่งที่จะตามมาก็คือจะได้สิ่งที่ได้โดยยาก ก็คือได้คุณธรรม ได้ความดี ความถ่อมตนเป็นรากแก้วอย่างหนึ่งของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เป็นคนเจริญรุ่งเรืองขึ้นได้ โดยที่ไม่มีใครขัดขวาง ไม่มีอุปสรรค ไม่มีปัญหา หรือมีปัญหาน้อยที่สุด เพราะความอ่อนน้อมถ่อมตน

ขอให้ จขกท. เลิกนิสัยดูถูก ได้โดยเด็ดขาดครับ..

:b46: :b47: :b48: :b49: :b50:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


แก้ไขล่าสุดโดย -dd- เมื่อ 27 พ.ค. 2010, 18:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ท่านอุปมาเปรียบเทียบให้เห็นง่าย ดังนี้)



เปรียบเหมือน ฝุ่นละอองที่ปลิวเข้ามาในห้องทีละเล็กละน้อยอย่างที่มิได้สังเกตเลย ย่อมไม่มีส่วนใด

ที่ไร้ผลเสียเลย

แต่ผลนั้นจะสำคัญแค่ไหน นอกจากเป็นไปตามความแรงและปริมาณของสิ่งที่สั่งสมแล้ว ยังสัมพันธ์กับคุณภาพ

และการใช้งานของจิตในระดับต่างๆอีกด้วย

ฝุ่นละอองปลิวลงจับท้องถนน กว่าจะทำให้รู้สึกสกปรก ก็ต้องมีปริมาณมากมาย

ฝุ่นละอองปลิวลงบนพื้นเรือน แม้น้อยกว่านั้น ก็รู้สึกสกปรก

ฝุ่นละอองน้อยกว่านั้น ลงจับโต๊ะเขียนหนังสือ ก็สกปรก และรบกวนงาน

น้อยกว่านั้นอีก ลงจับกระจกเงาส่องหน้า ก็รู้สึกเปื้อนและกระทบการใช้งาน

ธุลีละอองนิดเดียวลงจับแว่นตา ก็รู้สึกได้และทำให้การเห็นพร่ามัวได้


รวมความ คือ เจตน์จำนง คือ เจตนา หรือ กรรมนั้น แม้เล็กน้อย ก็มิได้ไร้ผล

อาจอ้างพุทธศาสนสภาษิตว่า

“กรรมดีหรือชั่วทุกอย่างที่คนสั่งสมไว้ ย่อมมีผล ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะนิดหน่อย ที่จะว่างเปล่าไปเลย

ย่อมไม่มี”

และว่า

“กรรมไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมไม่สูญเปล่าเลย”

อย่างไรก็ตาม ผลทางด้านกรรมนิยามในระดับจิตใจนี้ คนจำนวนมากคอยจะมองข้าม ไม่เห็นความสำคัญ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 พ.ค. 2010, 09:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



กรรมและวิบาก ตามนัยพุทธศาสนานั้นละเอียดมากๆ เพราะก่อตัวจากภายในจิต ซึ่งมองเห็นยากที่สุด

ยากกว่ารูปธรรมหลายเท่า ดูซ้ำอีกครั้งพร้อมด้วยอุปมาอุปมัยเปรียบเทียบ



เจตน์จำนง คือ เจตนา หรือ กรรม นั้นแม้เล็กน้อย ก็มิได้ไร้ผล ดังพุทธศาสนสุภาษิตว่า

“กรรมดี หรือ ชั่วทุกอย่างที่คนสั่งสมไว้ ย่อมมีผล ขึ้นชื่อว่ากรรม แม้จะนิดหน่อย ที่จะว่างเปล่าไปเลย

ย่อมไม่มี” และว่า “กรรมไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมไม่สูญเปล่าเลย”


อย่างไรก็ตาม ผลทางด้านกรรมนิยามในระดับจิตใจนี้ คนจำนวนมากคอยจะมองข้าม ไม่เห็นความสำคัญ

จึงขอเพิ่มการเปรียบเทียบ ด้วยข้ออุปมาเกี่ยวกับน้ำอีกสัก ๒ อย่าง


-น้ำสะอาดและน้ำสกปรก มีหลายระดับ เช่น น้ำครำในท่อระบายโสโครก น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำประปา

และน้ำกลั่นสำหรับผสมยาฉีด เป็นต้น

น้ำครำพอใช้เป็นที่อาศัยของสัตว์หลายอย่างได้ แต่ไม่เหมาะแก่การใช้อาบ ไม่อาจใช้กินหรือทำกิจที่

ประณีตอื่นๆ

น้ำในแม่น้ำลำคลอง ใช้อาบน้ำซักผ้าได้ แต่ก็ยังไม่เหมาะที่จะใช้ดื่ม

น้ำประปาใช้ดื่มกินได้ แต่จะใช้ผสมยาฉีดยังไม่ได้

เมื่อมีแต่น้ำประปาและกิจที่ใช้ไม่มีส่วนพิเศษออกไป น้ำประปานั้นก็พอแก่ความประสงค์

แต่ถ้ามีกรณีพิเศษเช่นจะผสมยาฉีด ก็เป็นอันติดขัด

เปรียบได้กับจิตที่มีคุณภาพต่างๆกัน โดยความหยาบประณีตขุ่นมัวและสะอาดผ่องใสกว่ากันเนื่องมาจากกรรม

ที่ได้ประกอบสั่งสมไว้

ถ้ายังใช้งานในสภาพชีวิตอย่างนั้นๆ ก็อาจยังไม่รู้สึกปัญหา

แต่เมื่อล่วงผ่านกาลเวลาและวัยแห่งชีวิตไป อาจถึงโอกาสที่ต้องใช้จิตที่ประณีตยิ่งขึ้นซึ่งกรรมปางหลัง

จะก่อปัญหาให้ อาจติดขัดใช้ไม่ได้ หรือ ถึงกับเน่าเสียไปทีเดียว



-น้ำกระเพื่อมและสงบเรียบมีหลายระดับ ตั้งแต่น้ำในทะเลมีคลื่นโตๆ น้ำในแม่น้ำที่มีคลื่นจากเรือยนต์

น้ำในลำธารที่ไหลริน น้ำในสระที่ลมสงบ จนถึงน้ำในภาชนะนิ่งปิดสนิท

บางกรณีจะใช้น้ำมีคลื่นกระเพื่อมกระฉอกบ้างก็ได้

แต่บางกรณีอาจต้องใช้น้ำสงบนิ่ง อย่างที่แม้แต่วางเข็มเย็บผ้าลงไปก็ลอยนิ่งอยู่ได้นาน

คุณภาพของจิตที่หยาบและประณีต ซึ่งสัมพันธ์กับการใช้งาน และ การเข้าถึงคุณวิเศษต่างๆที่ชีวิตจะเข้า

ถึงได้
ก็พึงเข้าใจโดยทำนองนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 พ.ค. 2010, 12:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้เรียงบทความคร่าวๆ เพื่อให้ จขกท. แลเห็นที่มาแห่งผลของมโนกรรม (กฏแห่งกรรม) ที่เกิด ณ ภายใน

จิตใจแล้ว

ที่นี้ก็ถึงคำถามที่ "วิธีแก้นิสัยดูถูกคน" แก้ได้ เพราะจขกท. มิได้มีนิสัยอย่างนั้นมาแต่เดิมเพิ่งสะสม

ความรู้สึกนึกคิดประมาณนั้นทีละน้อย ๆ จากสภาพแวดที่ปรุงปั้นปั้นแต่งให้

บัดนี้ตนเองก็แลเห็นแล้วว่า การคิดอย่างนั้นไม่ดีเลย และมีกุศลเจตนาจะแก้ไขพฤติกรรมเช่นนั้นให้หมดไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 11:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายกรรมนิยาม


กรรมนิยาม กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการก่อการกระทำ และการให้ผลของ

การกระทำ หรือ พูดให้จำเพาะลงไปอีกว่า กระบวนการแห่งเจตน์จำนง หรือความคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์ต่างๆ

พร้อมทั้งผลที่สืบเนื่องออกไปอันสอดคล้องสมกัน เช่น ทำกรรมดีมีผลดี ทำกรรมชั่วมีผลชั่ว เป็นต้น



ศึกษา เรื่องกรรมหรือกฏแห่งกรรมทั้งหมดที่ เป็นต้นไป

viewtopic.php?f=4&t=19058&p=86360#p86360

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร