ลานธรรมจักร http://dhammajak.net/forums/ |
|
ถามเรื่อง ปัญญา http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=32171 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | แก้วกัลยา [ 29 พ.ค. 2010, 06:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | ถามเรื่อง ปัญญา |
ลักษณะ การเกิดดับของปัญญา เป็นอย่างไร สาธุคะ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ศรีสมบัติ [ 29 พ.ค. 2010, 12:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
แก้วกัลยา เขียน: ลักษณะ การเกิดดับของปัญญา เป็นอย่างไร สาธุคะ ![]() ![]() เป็นคำถามที่ สูง ลึก กว้าง ไกล มาก(จะตอบตามภูมิกำลังปัญญาความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ตอบแล้วกัน) ปัญญาเกิดขึ้น..ปัญญาตั้งอยู่...ปัญญาดับไป.... ปัญญาเกิดเมื่อไม่มีอวิชชา...ปัญญาดับเมื่อมีอวิชชาเกิด ลักษนะ...ปัญญาเกิด...สามารถควบคุมความรู้สึกต่างๆ ไว้ด้วยสติสัมปชัญญะ ให้ธาตุเป็นสักว่าธาตุ,ให้ธรรมชาติเป็นสักว่าธรรมชาติ,ให้การปรุงแต่งของธาตุตามธรรมชาติเป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ,ให้ปฏิกิริยาของการปรุงแต่งตามธรรมชาติ เป็นสักว่าเป็นกิริยาตามธรรมชาติ ไม่เผลอให้เป็นนั่นเป็นนี่..ที่มีความหมายตามความต้องการของกิเลสตัณหา..ตัวตนหรือบุคคลไม่ก่อรูปขึ้นมาได้..ไม่มีตัณหา อุปาทาน คงมีแต่ธาตุล้วนๆ ว่างจากสิ่งจับยึด เผาผลาญทั้งปวง ส่วน..ต่างจากนี้แล้วปัญญาจะดับหรือไม่สุดแล้วแต่ เหตุปัจจัย ของรูปธาตุ-นามธาตุ เวทนาความเอร็ดอร่อย..ตัณหา ความอยากแสนอยาก..อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น รวบรัดไว้โดยความเป็นตัวตนของตน...นามธาตุเหล่านี้ปรุงตัวเองขึ้นมาโดยอาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งตามลำดับๆ มันมีอำนาจมากจนสามารถครอบงำความรู้สึกที่ถูกต้องเสียจนหมดสิ้นคำถามสั้นนิดเดียวแต่ตอบซะยาว..แต่ก็ยังตอบไม่ครอบคลุม ไม่หมดเอาแค่นี้ก่อน ![]() ![]() ขอเจริญในธรรม ![]() |
เจ้าของ: | หลับอยุ่ [ 29 พ.ค. 2010, 12:21 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t...st...%20- ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ตรงประเด็น [ 29 พ.ค. 2010, 14:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
ในสมัยพุทธกาล เวลาที่กล่าวถึง ปัญญา บริบทนั้นๆมักจะกล่าวในฐานะของ หนึ่งในสามแห่งไตรสิกขา หรือ อริยมรรค ที่ว่า "พึงเจริญ ให้ยิ่งๆขึ้นไป" แต่ เวลาที่กล่าวถึง สัญญา บริบทนั้นๆมักจะกล่าวในฐานะของ กองแห่งขันธ์หนึ่งในฝ่ายนามธรรม ที่ว่า "มี เกิด-ดับ ไม่มีสาระแก่นสารที่แท้จริง ไม่พึงยึดมั่นถือมั่น" ทีนี้ ถ้าจะถามว่า แล้ว ปัญญา นั้น ยังคงมีเกิด-ดับ อยู่ไหม??? ตรงนี้ผมเสนอว่า ไม่ว่า ปัญญานั้น จะเป็นระดับ สุตะ จินตะ หรือ ภาวนามัยยะ ก็ตาม ต่างก็ล้วนเป็นสังขตธรรม คือ มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง(มีพระสูตรแสดงว่า ยอดแห่งสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือ อริยมรรคที่มีองค์แปด) ดังนั้น ปัญญา จึงมีเกิด-ดับ อยู่ดี.... เพราะ เว้นจากพระนิพพานแล้ว ทุกอย่างล้วนมีเกิด-ดับ ทั้งหมด. ปัญญาอยู่ในอริยมรรค และ อริยผล ....ยังไม่จัดว่าเป็นพระนิพพาน จึง มีเกิด-ดับ อยู่ดี. ผมเสนอว่า แทนที่ เรา-ท่าน จะสนใจ การเกิด-ดับ ของปัญญา...น่าจะมาสนใจการเกิด-ดับของสัญญา มากกว่า. ส่วน ปัญญานั้น ควรจะสนใจว่า ทำเช่นใดจึงเจริญยิ่งๆขึ้นไป มากกว่า ครับ. |
เจ้าของ: | ตรงประเด็น [ 29 พ.ค. 2010, 14:51 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
ไม่แน่ใจว่า ท่าน จขกท. กำลังconcernประเด็น ถิรสัญญา ที่ชาวพุทธรุ่นใหม่นิยม อยู่หรือไม่? คือ ถิรสัญญา นี้ ฟังเผินๆ จะคล้าย กับ ภาวนามัยยะปัญญา มีความจริงเกี่ยวกับ ถิรสัญญา ที่อยากเสนอ คือ 1.ถิรสัญญา ไม่มีการสอนในสมัยพุทธกาล.คำว่า ถิรสัญญา มีปรากฏในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล. และ ปัจจุบันจะได้รับความนิยมในบางสายสำนัก ที่เชื่อกันว่า ...การจงใจ(หรือตั้งใจ)เจริญสติ เป็นสิ่งที่ผิด เพราะ มีตัณหาอยู่เบื้องหลังการจงใจ(หรือตั้งใจ) นั้นๆ.... จึง ไม่ให้ จงใจ(หรือตั้งใจ)เจริญสติ แต่ ให้มาเพียรเจริญถิรสัญญาแทน. 2.ในสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ ทรงสรรเสริญ และ สั่งสอนให้สาวกเจริญให้มากซึ่ง สัญญาเจ็ดประการ นี้ เพราะจะยังให้"หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด" http://84000.org/tip...220&pagebreak=0 [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ๆลๆ ลองพิจารณาเปรียบเทียบ สัญญาที่พึงเจริญในสมัยพุทธกาล กับ สัญญาที่พึงเจริญในสมัยปัจจุบัน ดูน่ะครับ |
เจ้าของ: | แก้วกัลยา [ 29 พ.ค. 2010, 15:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
ตรงประเด็น เขียน: ไม่แน่ใจว่า ท่าน จขกท. กำลังconcernประเด็น ถิรสัญญา ที่ชาวพุทธรุ่นใหม่นิยม อยู่หรือไม่? ไม่ได้หมายถึงสัญญานะค่ะ หมายถึงตัวปัญญาจริง ๆ คะ สาธุ ![]() |
เจ้าของ: | ต้อยตีวิด [ 29 พ.ค. 2010, 17:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
ปัญญา คือ ความรู้ ปัญญาเกิด เมื่อกิเลสเกิด ปัญญาดับ เมื่อกิเลสดับ อิอิ เดานะค่ะ ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 29 พ.ค. 2010, 17:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
แก้วกัลยา เขียน: ลักษณะ การเกิดดับของปัญญา เป็นอย่างไร สาธุคะ ![]() ปัญญาเป็นนามธรรม เกิดเกิดดับดับ ฯลฯ เหมือนนามธรรมทั้งหลายอื่น นามธรรมทั้งหลายมองด้วยตาเนื้อ ไม่เห็น...มีคำพูดที่ได้ยินบ่อยๆว่า รู้หน้าไม่รู้ใจ แปลว่า แลเห็นตัว มองเห็นกาย เห็นรูปร่าง แต่มองไม่เห็นใจ ไม่เห็นความคิด ซึ่งทำงานเกิดดับๆๆอยู่ภายใน ปัญญา เป็นต้น ดับเกิดดับอย่างไร นึกไม่ออก พอยกตัวอย่างเป็นรูปธรรมให้พอเห็นภาพ ก็คล้ายๆการกระพริบตาถี่ๆ เกิดดับเกิดดับ ทำหน้าที่ของมันประมาณนั้น เกิดทำหน้าที่แล้วก็ดับลงๆๆๆๆๆ ดูหน้าที่ของปัญญาที่ viewtopic.php?f=7&t=31610 |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 29 พ.ค. 2010, 17:40 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา | ||
ปัญญามีหลายระดับ ทั้งปัญญาทางโลกปัญญาทางทางธรรม ปัญญาทางโลกที่แสดงออกโดยผ่านทางวัตถุ ก็ทำงานผ่าน (วัตถุ)ภาพนั้น เป็นต้น เราก็เรียกบุคคลนั้นว่ามีปัญญา มีความคิดละเอียดประณีต ส่วนปัญญาทางธรรม ผู้เช่นนั้น ก็รู้จักโลกและรู้จักชีวิต เข้าใจชีวิตเข้าใจโลก อยู่ในโลกแต่ไม่ติดโลก เหมือน บัวอยู่ในน้ำแต่น้ำไม่กำซาบฉะนั้น
|
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 29 พ.ค. 2010, 17:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
![]() ภาพนี้ก็ออกมาจากนามธรรมหลายๆ ตัว เช่น ปัญญา เจตนา มนสิการ สัญญา ขันติ วิริยะ ฉันทะ จิตตะ เป็นต้น ซึ่งในขณะนั้นก็เกิดเกิดดับดับติดต่อกันอยู่ |
เจ้าของ: | เช่นนั้น [ 29 พ.ค. 2010, 17:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
แก้วกัลยา เขียน: ลักษณะ การเกิดดับของปัญญา เป็นอย่างไร สาธุคะ ![]() ![]() เหตุปัจจัย เพื่อให้เกิดปัญญา 8 ประการ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการนี้ ย่อม เป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว... http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=3111&Z=3197&pagebreak=0 ความดับแห่งปัญญา เพราะความเกิดแห่งนิวรณ์ นิวรณ์เป็นเครื่องกั้นปัญญา |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 29 พ.ค. 2010, 18:29 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
พึงเข้าใจอีกว่า องค์ธรรมทำงานร่วมกัน (สัมปยุตธรรม) มิใช่ทำงานตัวเดียวโดดๆ ดูอีกมุมหนึ่ง ระหว่างปัญญา กับ วิญญาณ พระสารีบุตร เคยตอบคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิญญาณกับปัญญาว่า คนมีปัญญา รู้ (= รู้ชัด, เข้าใจ) ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ ส่วนวิญญาณ รู้ (= รู้แยกต่าง) ว่าเป็นสุข รู้ว่าเป็นทุกข์ รู้ว่าไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ แต่ทั้งปัญญาและ วิญญาณนั้นก็เป็นองค์ธรรมที่ปนเคล้าหรือระคนกันอยู่ ไม่อาจแยกออกบัญญัติข้อแตกต่างกันได้ กระนั้น ก็ตาม ความแตกต่างก็มีอยู่ในแง่ที่ว่า ปัญญาเป็นภาเวตัพพธรรม คือเป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรมทำให้ เจริญขึ้น ให้เพิ่มพูนแก่กล้าขึ้น ส่วนวิญญาณเป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้หรือทำความรู้จักให้เข้าใจ รู้เท่าทันสภาวะและ ลักษณะของมันตามความเป็นจริง (ม.มู.12/494/536) |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 29 พ.ค. 2010, 18:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
ดูตัวอย่างพื้นๆ แบบชาวบ้าน บ้าง เมื่อชาลีและกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วยเข้าใจว่าผู้ตามหาเห็นรอยเท่าแล้วจะเข้าใจว่า เธอทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา ต่อมาเมื่อพระเวสสันดารทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสองและทราบทันทีว่าบุตรและธิดาเดินถอยหลัง ลงไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดลงหนักทาง ส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ก็เรียกว่าปัญญา ในสองกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าปัญญามีความรอบคอบและลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์ จากสัญญาด้วย การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคำนึ่งเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้อง ประสบทั่วสากล และเข้าพระทัยถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้วปรวนแปรและ สิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุเช่นนั้นเสีย ความเข้าใจนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา เมื่อพระพุทธเจ้าจะทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้เสด็จไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่งเป็นที่ เคารพนับถือของชาวมคธ ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน พระปรีชาอันให้ดำริที่จะทรงกระทำ เช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 29 พ.ค. 2010, 18:56 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา | ||
อ้างคำพูด: ในสองกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าปัญญามีความรอบคอบและลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญา ใช้ประโยชน์จากสัญญาด้วย ดังกล่าวแล้วว่า นามธรรม เกี่ยวเนื่องกันสัมพันธ์กันทำงานร่วมกัน อย่างที่เรียกว่าสัมปยุตธรรม แม้กรณีนี้ สัญญา ก็มีบทบาทสำคัญต่อปัญญา ฯลฯ
|
เจ้าของ: | แก้วกัลยา [ 30 พ.ค. 2010, 08:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ถามเรื่อง ปัญญา |
ขอบพระคุณทุกท่านนะค่ะ โมทนาคะ ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |