วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 16:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2010, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


surasak limcharoen เขียน:
แต่มีข้อสงสัยอีกแล้วครับดังนี้ครับ
1.เวลาภาวนาในชีวิตประจำวันเวลาตอนที่จิตหนีไปคิดจะรู้ไม่ค่อยทัน ส่วนใหญ่จะรู้เรื่องที่จิตคิดไปเรียบร้อยแล้ว


คุณ surask limcharoen ครับ
ท่านยังไม่ได้ เจริญภาวนาอะไรเลยครับ เป็นเพียงอาการ ของ ความฟุ้งซ่าน ที่ท่านคิดเอาเองครับ
ฟุ้งไปตามสัญญา ที่เกิดขึ้นครับ
อาการอย่างนี้ หากคิดไปเรื่อยๆ ก็คือ การเจริญนิวรณ์ ประการหนึ่งครับ เป็นมิจฉาสติ ครับ

เพราะเหตุไร จึงด่วนสรุปอย่างนี้
เพราะ ท่านยังไม่ได้อบรมจิต เพียงแต่ได้ยินได้ฟังมาบ้างนิดหน่อยครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 14 มิ.ย. 2010, 22:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 00:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เวลาภาวนาในชีวิตประจำวันเวลาตอนที่จิตหนีไปคิดจะรู้ไม่ค่อยทัน


ตอนฝึกแรกๆจะเผลอนานค่ะ
ต่อไปจะเผลอบ่อย (คือเผลอสั้นลง)
การที่จะรู้ให้เร็วๆว่าจิตหนีไปคิด ก็ต้องฝึกให้จิตคุ้นเคยกับการรู้สึกตัวบ่อยๆค่ะ

อ้างคำพูด:
ส่วนใหญ่จะรู้เรื่องที่จิตคิดไปเรียบร้อยแล้ว

จริงๆถ้ารู้ว่าเมื่อกี้จิตรู้ว่ารู้เรื่องที่จิตคิดก็ดีแล้วนะคะ

ที่สำคัญคือต้องแบ่งเวลาทำสมถะด้วยนะคะ
ส่วนตัวช่วงไหนถ้าไม่ทำจิตจะไม่ค่อยมีกำลัง
ไม่ค่อยตั้งมั่นที่จะตามรู้ตามดูสภาวะในชีวิตประจำวันด้วยความเป็นกลางได้
ยิ่งไปข้างนอกไปเจอคน เจออารมณ์สารพัด จะดูไม่ค่อยทันค่ะ

การทำสมถะเป็นการฝึกซ้อมการตามดูจิตใจในระหว่างวันค่ะ
เลือกเอาตามที่ถูกกับจริต ทำแล้วสบาย
จะเดินจงกรม ดูลมหายใจ ดูท้องพองยุบ หรือสวดมนต์สั้นๆก็ได้ค่ะ
เดิน/ดูลม/ดูท้อง/สวดมนต์ แล้วจิตไหลไปแนบแน่นอยู่กับเท้า/ลม/ท้อง/บทสวด ก็รู้
เดิน/ดูลม/ดูท้อง/สวดมนต์ แล้วจิตไหลไปที่อารมณ์ก็รู้ จิตไหลไปคิดก็รู้
หัดดูสภาวะไป จะทำให้จิตจำสภาวะได้แม่นแล้วสติจะเกิดเร็ว

สำคัญอีกข้อคือความต่อเนื่องค่ะ
สะสมเหตุ ปล่อยวางผล
ไม่เร่งทำด้วยความอยาก แต่ก็ไม่พักนะคะ^^

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 01:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จันทร์เจ้าขา นอนดึกแฮะ... :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


surasak limcharoen เขียน:
1.เวลาภาวนาในชีวิตประจำวันเวลาตอนที่จิตหนีไปคิดจะรู้ไม่ค่อยทัน ส่วนใหญ่จะรู้เรื่องที่จิตคิดไปเรียบร้อยแล้ว

ร้อยทั้งร้อยที่ฝึกๆ กัน ก็คือการ ตามดู นั่นแหล่ะ จริงๆ มันคือการ เจริญสติ (ฝึกสติ) นะ ไม่ใช่ภาวนา คือรู้ให้ทันว่า ตอนนี้เรากำลังฟุ้งซ่าน หรือกำลังมีอารมณ์แบบใด
วิธีนี้ดีไหม ก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่เคยทำ...

การเห็นการก่อตัวของความคิด เป็นญาณระดับสูง จัดเป็นหนึ่งในอภิญญา ซึ่งในระดับนั้น เขาพ้นการฝึกสติแล้วล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ครูบาอาจารย์ท่านสอนว่า
เวลาใจไม่มีแรง ใจมันไหลไปเกาะอารมณ์ ให้เรารู้เฉยๆ ไม่ต้องพยายามไปดึงใจคืนมา
ถ้าเรารู้แล้วพยายามแก้ไข จะอึดอัด
แต่ถ้าใจเรายอมรับสภาพ มันไม่มีแรงแล้วมันไหลไป รู้อยู่อย่างนี้ รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง
ใจเรายอมรับ ไม่ต้องดิ้นออกมา ตรงที่ยอมรับมัน ใจจะเป็นกลาง จะดีดผางขึ้นมา มีพลังขึ้นมา
รู้โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ใจมันจะเป็นกลางของมันเอง

เราไม่ได้ฝึกเอารู้อย่างเดียว ไม่ได้ฝึกเพื่อไม่ให้หลงเลย
แต่เราจะเรียนจนเห็นเลยว่าจิตจะเผลอไปก็ห้ามไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวก็สั่งไม่ได้
รู้สึกตัวแล้วก็รักษาไว้ตลอดไปไม่ได้
เมื่อปัญญาเกิดเห็นว่าความหลงก็ไม่เที่ยง ความรู้สึกตัวก็ไม่เที่ยง ใจจะวาง

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2010, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 02:18
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำตามสะดวกครับ
ชอบทำและว่าง ก็ทำเยอะหน่อย
ไม่ชอบทำและว่าง ก็ทำเยอะหน่อย เหมือนกัน อิอิ

สมาธิทำได้ทุกอริยาบทครับ ถ้าเข้าใจวิธีการ
และถ้าทำจนเป็นนิสัย บางครั้งเดินอยู่ จิตก็จะเข้าสมาธิได้เอง
และผลของสมาธิจะติดอยู่กับจิตหลังจากออกสมาธิแล้ว
อาจเป็นชั่วโมง หรือเป็นวันแล้วแต่คนครับ

คือพยายามทำไว้ ไม่เสียหาย และได้ประโยชน์ (แต่ต้องมีสตินะ)

.....................................................
ธรรมดาๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 23:07
โพสต์: 21

แนวปฏิบัติ: เจริญสติภาวนา
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


murano เขียน:
surasak limcharoen เขียน:
1.เวลาภาวนาในชีวิตประจำวันเวลาตอนที่จิตหนีไปคิดจะรู้ไม่ค่อยทัน ส่วนใหญ่จะรู้เรื่องที่จิตคิดไปเรียบร้อยแล้ว

ร้อยทั้งร้อยที่ฝึกๆ กัน ก็คือการ ตามดู นั่นแหล่ะ จริงๆ มันคือการ เจริญสติ (ฝึกสติ) นะ ไม่ใช่ภาวนา คือรู้ให้ทันว่า ตอนนี้เรากำลังฟุ้งซ่าน หรือกำลังมีอารมณ์แบบใด
วิธีนี้ดีไหม ก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่เคยทำ...

การเห็นการก่อตัวของความคิด เป็นญาณระดับสูง จัดเป็นหนึ่งในอภิญญา ซึ่งในระดับนั้น เขาพ้นการฝึกสติแล้วล่ะ

อยากทราบว่าที่เรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ครับ ช่วยอธิบายด้วยครับ ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2010, 06:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 14:54
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่เท่าที่ทราบอริยบุคคลที่ฝึกแบบสุขวิปัสสโก ไม่ต้องมีสมาธิเท่าที่ควร ท่านใดมีความรู้เรื่องนี้ช่วยแนะนำเขาหน่อยครับ :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2010, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล สมาธิ ปัญญา

จำเป็นครับ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส

นั่งด้วยการพิจารณาพระไตรลักษณ์เป็นหนทางที่ถูกที่สุด

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2010, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรมไม่จำเป็นต้องไปยึดมั่นถือมั่นอยู่กับรูปแบบสมดังบทธรรมที่ท่านกล่าวไว้ว่าสะวากขาโตภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก การปฏิบัติธรรมจึงไม่เลือกการเวลาสถานที่และอิริยาบท พระนิพพานอยู่ที่ใจ การปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะให้มีความรู้ชัดเจนแจ่มแจ้งในพระนิพพานนั้น ไม่ใช่เรื่องอยากเย็นแสนเข็นแต่ประการใดธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงไว้ล้วนเป็นนิยานิกะธรรมพร้อมที่จะนำพาจิตใจของสัตว์โลกทั้งหลาย ที่หลงจมอยู่ในวังวนของวัฏฏะจักรให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอันไม่มีที่สิ้นสุด เพราะฉะนั้น ธรรมะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้จึงมีมากมายเพื่อให้เหมาะสมกับจริตนิสัยของสัตว์โลกทั้งหลาย และที่สำคัญการปฏิบัติธรรมก็เพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงนับตั้งแต่ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความประสพสิ่งที่ไม่น่ารักไม่น่าชอบใจเป็นทุกข์ ความเศร้าโสกเสียใจพิไรรำพัน ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ในสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์๕เป็นทุกข์ การปฏิบัติธรรมนั้นก็เพื่ออบรมจิตใจให้ได้รู้เห็นตามความเป็นจริงของรูปนามกายใจ ว่าสิ่งใดเป็นเราเป็นของๆเรากันแน่ สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือรูปร่างกายของเราท่านทั้งหลายที่พากันยึดมั่นถือมั่นมาไม่รู้ว่ากี่กัปป์กี่กัลป์เป็นอเนกชาติเรียกว่านับภพนับชาติไม่ได้ ให้ใช้สติปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริงของรูปกายว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตนให้รู้เห็นด้วยใจของตนเอง ขณะที่จิตมีสติก็มีสมาธิอยู่แล้วในตัวในมหาสติปัฏฐานสูตรที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า เอกายะโน อะยัง มัคโค ทางสายเอกเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน คือการมีสติพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม การที่มีสติพิจารณากายก็เพื่อให้จิตใจได้รู้เห็นตามความเป็นจริงของกายว่ากายก็สักแต่ว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา กายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ขันธ์๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อายะตะนะ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้สักอย่างเดียวสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลางและแตกสลายในที่สุดนี้ ได้เป็นมาแล้วจนนับประมาณไม่ได้และก็จะเป็นอย่างนี้ต่อไปจนนับประมาณไม่ได้อีกเหมือนกัน เพราะจิตใจที่มืดมนไปด้วยอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน จึงเป็นเหตุนำพาให้สัตว์โลกทั้งหลายหลงเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดยุติลงได้ เพราะฉะนั้นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเปรียบเหมือนแสงสว่างที่จะส่องเข้ามาให้เห็นสัจจะธรรมความเป็นจริงของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่ารูปร่างกายที่จิตใจเราอาศัยอยู่นี้ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่ใช่ตัวตน ร่างกายนี้จะต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายในที่สุดเพื่อให้จิตใจยอมรับความจริงของธรรม เมื่อจิตใจรู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรมที่สติปัญญาอบรมอยู่เสมอดังที่ได้กล่าวไว้ในสติปัฏฐาน๔ มีสติพิจารณากายในกายมีความเพียรทำให้มากเจริญมากเพื่อทำลายความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นภายในจิตใจเสียให้พินาศพูดง่ายๆก็คือการถอดถอนอุปปาทานความยึดมั่นที่มันฝังจมอยู่ภายในจิตใจนั่นเอง พยายามเจริญสติรู้ให้ได้ทุกอิริยาบถไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย เหลียวซ้าย แลขวา เหยียดแขน คู้แขน ทำ พูด คิด จะทำกิจการงานใดๆก็แล้วแต่พยายามเจริญสติรู้อยู่เสมอจึงเรียกว่าเป็นผู้มีความเพียรชอบจากสติธรรมดาที่เราระลึกรู้อยู่บ่อยๆจากนั้นสติจะกลายมาเป็นสัมปะชัญญะคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมคือรู้ที่จิตที่ใจนั่นเองเพราะสติที่ระลึกรู้การเคลื่อนไหวของกาย ก็คืออาการของจิตนั่นเองหรือเรียกให้ตรงตัวจริงๆก็คือจิตนั่นเองจิตจะรู้และเข้าใจตามความเป็นจริงว่ากายก็สักแต่ว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาจิตจะรู้เห็นตามความเป็นจริงและจะคลายความยึดมั่นถือมั่นอุปปาทานในกายว่าเป็นเราเป็นของๆเราจิตเริ่มละเอียดไปเรื่อยๆเมื่อจิตปล่อยวางกายได้แล้วให้ใช้สติปัญญามาพิจารณานามขันธ์ คือ เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญาณ, ล้วนแต่เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด ในเมื่อจิตรู้เห็นตามความเป็นจริงของเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ, สักแต่ว่าเกิดในเบื้องต้นเปลี่ยนแปลงในท่ามกลางและแตกสลายในที่สุดไม่มีอะไรเป็นเราสักอย่างจิตย่อมคลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,ว่าเป็นเราเป็นของๆเรา เราเป็นสุขเราเป็นทุกข์เราจำได้เราจำไม่ได้ จิตก็จะรู้เป็นปรกติ ไม่เข้าไปสำคัณมั่นหมายในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงว่าเป็นเราเป็นของๆเราเมื่อจิตรู้ชัดเจนในเวทนาขันธ์นามขันธ์อื่นเช่นสัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอันว่าเข้าใจไปในตัว ในเมื่อจิตใจได้รู้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะธรรม เรื่องปล่อยวางไม่ต้องบอกจิตจะปล่อยเองวางเองคือปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง จิตขั้นนี้จะมีความละเอียดมากมีความสว่างไสวผ่องใสว่างเปล่าไปหมดตามความละเอียดของจิต การพิจารรูปนามจิตเข้าใจชัดเจนแล้วว่าอะไรคือรูป และรูปร่างกายนั้นประกอบขึ้นด้วยธาตุ๔ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ส่วนนามธรรมคือเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,จิตก็เข้าใจรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา เกิดขึ้นในเบื้องต้นเปลี่ยนแปลงในท่านกลางและแตกสลายในที่สุด หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้สักอย่างเดียวหลังจากเจริญสติปัญญาพิจารณากาย เวทนาจนเข้าใจชัดเจนแล้ว จิตจะมีความระเอียดมากจนจิตอาจจะเข้าใจเอาเองว่าหมดงานแล้วหรือเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ความจริงยังไม่หมดงานต่อไปคือ ใช้สติปัญญาที่ละเอียดพิจารณาตัวจิตนั่นเองว่าทำไมจิตขั้นนี้ยังมีภาระให้ต้องดูแลรักษาอยู่อีกการระวังรักษาจิตมันก็เป็นภาระนั่นเอง สติปัญญาขั้นนี้ในทางปริยัติท่านเรียกว่า มหาสติ มหาปัญญา มาพิจารณาตัวจิตก็คือจิตดวงรู้ๆนั้นเองว่า นั่นจิตเป็นเราจริงไม๊ ? ทำไมถึงแสดงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ให้เห็นอยู่อีกถึงแม้ว่าจิตจะมีความละเอียดมาก แต่ก็ไม่พ้นวิสัยของสติปัญญาขั้นนี้เพราะสติปัญญาที่ไม่เคยไว้วางใจกับกิเลสทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกิเลสขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียดสุด เมื่อใช้สติปัญญามาพิจารณาว่าทำไมจิตขั้นนี้ยังมีความเศร้าหมองผ่องใสให้รู้อยู่อีกและจิตขั้นนี้ยังเป็นภาระให้ต้องดูแลรักษาอยู่อีก รูปขันธ์,นามขันธ์ จิตปล่อยวางได้หมด ยังเหลือแต่ตัวจิตเองยังไม่ปล่อยตัวเองยังมีอุปปาทานยึดมั่นถือมั่นว่าจิตเรา จิตของเราอยู่อีก ต้องใช้สติปัญญามาพิจารณาว่าถ้าจะทิ้งจิตก็ยังคงเหลือสติปัญญาให้ต้องดูแลรักษา ถ้าจะทิ้งสติปัญญาก็ยังคงเหลือจิตให้ต้องดูแลรักษา เลยตัดสิ้นใจทิ้งทั้งจิตและสติปัญญาพร้อมกันทีเดียว คือการที่ไม่เข้าไปสำคัญมั่นหมายว่าจิตเป็นเราเป็นของๆเรา จิต,สติ,ปัญญาไม่ทำหน้าที่ใดๆ รู้เป็นปรกติที่เป็นกลาง คือไม่ไปใส่ใจในจิตและสติปัญญาเป็นการปล่อยวางทั้งจิต,ปล่อยวางทั้งสติปัญญาพร้อมกันทีเดียวโดยไม่มีอะไรเหลือไว้ให้ยึดมั่นถือมั่นเลย การตัดสินใจครั้งนี้เหมือนกระโดดลงไปสู่หุบเหวแห่งความว่างเปล่า โดยไม่มีอะไรให้เกาะให้ยึดมั่นถือมั่นเลยปรากฏว่าธรรมชาติแท้คือ รู้ ที่บริสุทธิ์ล้วนๆ เป็นอิสระอย่างเต็มที่ปรากฏขึ้นที่ใจอย่างไม่เคยมีมาก่อนเป็นความรู้ที่ไม่ต้องดูแลรักษา พุทธะแท้ ธรรมะแท้ สังฆะแท้ รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ใจที่บริสุทธิ์พุทโธนี้นี่เองสมดังพุทธภาษิตที่ว่าโยธัมมังปัสสะติ โสมังปัสสะติ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต พุทธะแท้ก็คือจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเอง พระนิพพานก็คือธรรมชาติที่ดับเพลิงกิเลสและกองทุกข์ออกไปจากจิตใจนั่นเองคำว่าขีณา ชาติ ความเกิดได้สิ้นสุดลงแล้วในปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมนี้นี่เอง วุสิตังพฺรัหมะจะริยังพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กะตังกะระณียัง กิจในการที่จะชำระสะสางกิเลสประเภทต่างๆได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยไม่มีอุปปาทานหลงเหลืออยู่ภายในจิตใจที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั้นแม้แต่ธุลีเดียว ที่เรียกว่านิพพานเที่ยงนั้นก็เพราะพ้นจากกฎ อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา หมดความกังวนในอดีตและอนาคตได้โดยประการทั้งปวง คำว่า นัตถิทุกขัง อะชาตัสสะ ทุกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด เพราะกิเลสที่จะนำพาจิตใจให้ไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่อันได้แก่ กามภพ,รูปภพ,อรูปภพ,ได้สูญสลายพังทลายออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีหลงเหลือแม้แต่ธุลีเดียว ปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมก็เป็นอิสระตลอดกาลไม่มีกาลเวลาใดๆในสมมุติมาเปลี่ยนแปลงได้ตลอดอนันตกาล ได้ความว่าพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งสุขเพราะพ้นจากกฎ อะนิจจัง, ทุกขัง, อะนัตตา, ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถปฏิบัติรู้ได้เห็นได้ด้วยกันทุกคนไม่เลือกชาติชั้นวรรณะใดไม่ว่าจะเป็นนักบวชหรือฆราวาสปฏิบัติกันได้ทุกคน เพราะกิเลสตัวที่สร้างความทุกข์ให้กับสัตว์โลกทั้งหลายมีด้วยกันทุกคน และกิเลสก็สร้างความทุกข์ให้กับสัตว์โลกทั้งหลายได้ทุกกาลทุกเวลาทุกสถานที่ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติกันได้ทุกกาลทุกเวลาทุกสถานที่เหมือนกัน กิเลสอยู่ที่ใจสร้างความทุกข์ให้กับสัตว์โลกทั้งหลายที่จิตที่ใจ การปฏิบัติธรรมจึงปฏิบัติกันลงที่จิตที่ใจ สติปัญญาก็อยู่ที่จิตที่ใจ การปฏิบัติธรรมก็คือการอบรมจิตใจด้วยจิตตะภาวนา ธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้ พุทธบริษัทได้ประพฤติปฏิบัติตามท่านกล่าวไว้ในโพธิปักขิยะธรรม๓๗ ประการ อันได้แก่ สติปัฏฐาน๔ สัมมัปประทาน๔ อิทธิบาท๔ อินทรีย์๕ พละ๕ โพชฌงค์๗ อริยะมรรคมีองค์๘ ตามแต่จริตนิสัยของผู้ที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติจะเลือกนำมาประพฤติปฏิบัติเอาเอง ข้อสำคัญให้มีความตั้งใจจริง มีความเพียรจริง มีสติปัญญาหมั่นใคร่ครวญเอาจริงเอาจังกับการปฎิบัติและมีเหตุมีผล จะพบพระนิพพานจริงๆอยู่ที่จิตที่ใจของนักปฎิบัติธรรมด้วยกันทุกคน เพราะพระนิพพานมีอยู่แล้วภายในจิตในใจของคนทุกคน เพียงแต่ถูกกิเลสมีอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน,ปกคุ้มหุ้มห่อเอาไว้เท่านั้นเองไม่ให้เราทราบไม่ให้เรารู้ได้เห็นได้ เมื่อเปิดสิ่งที่ปกคุ้มหุ้มห่อออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นแล้วเราจะไปถามหาพระนิพพานที่ไหนอีก? เมื่อเพลิงกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลาย มีอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทา,ได้ดับลงไปจากจิตจากใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือมีแต่ความรู้ล้วนๆหรือจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆ หมดความหิวความกระหายหมดความดิ้นรนกระวนกระวายทางจิตใจโดยสิ้นเชิง คำว่าดับไม่มีเชื้อเหลือนั้นหมายถึงอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน,ต่างหากที่ดับไปจากจิตใจไม่ใช่จิตดับหรือความรู้ดับไปด้วยตามที่นักปฏิบัติธรรมบางพวกพากันเข้าใจผิดว่าดับจิตอวิชชา คือจิตต้องดับไปด้วยแม้แต่ความรู้ก็ดับไปด้วยเพราะการปฏิบัติธรรมแบบไม่มีปัญญารู้เห็นจิตของตนเองจึงพากันเข้าใจผิดอยู่กับการสุ่มเดาไปเรื่อย ปฏิบัติธรรมแบบสุ่มเดาก็เลยบรรลุธรรมแบบสุ่มเดาและก็สอนธรรมกันแบบสุ่มเดา นิพพานก็เลยกลายเป็นนิพพานแบบสุ่มเดาหรือนิพพานของหมูที่ขึ้นเขียงดีๆนี่เองและไม่ยอมลงจากเขียงง่ายๆเพราะเสียดายกิเลสมากกว่าธรรม เป็นหมูขึ้นเขียงสบายดี ถ้าจิตดับแล้วเอาอะไรมาบริสุทธิ์เอาอะไรมาหลุดพ้น จิตที่หลุดพ้นแล้วจากสมมุติโดยประการทั้งปวงคือจิตที่บริสุทธิ์หรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเอง สิ่งที่เกิด-ดับ คือสมมุติทั้งมวลสิ่งที่พ้นจากการเกิดและดับคือจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนิพพานคือรู้ล้วนๆหรือจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเอง อันนี้ต่างหากที่ไม่เกิดไม่ดับอีกต่อไปตลอดอนันตกาล อันนี้ต่างหากที่เรียกว่าดับไม่มีเชื้อเหลือ เพราะเชื้อที่จะนำพาจิตใจให้ไปเกิดในภพน้อยภพใหญ่ได้ดับลงไปจากจิตใจโดยเด็ดขาดพ้นจากสมมุติโดยประการทั้งปวง สิ่งที่เป็นสมมุติทั้งหลายไม่อาจแตะต้องจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั้นได้แม้แต่ธุลีเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรคทั้งแปดข้อ ครบบริบูรณ์ทั้งสติ และสมาธิ

สมาธิที่ถูกต้อง ที่เป็นสัมมาสมาธินั้น เป็นอย่างไร
ก็ควรกลับไปดูที่มรรคมีองค์แปดตามที่พระพุทธเจ้าทรงอธิบายเอาไว้
ก็จะไม่หลงทิศ ไม่หลงทาง ไม่หลงพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ไม่หลงสติไม่หลงสมาธิ.

สัมมาสมาธิถูกต้องตัวเดียว ก็จะพามรรคที่เหลืออีกเจ็ดถูกต้องไปด้วย
สัมมาสติถูกต้องตัวเดียว ก็จะพามรรคที่เหลืออีกเจ็ดถูกต้องไปด้วย
สัมมาวายามะถูกต้องตัวเดียว ก็จะพามรรคที่เหลืออีกเจ็ดถูกต้องไปด้วย
สัมมาอาชีวะถูกต้องตัวเดียว ก็จะพามรรคที่เหลืออีกเจ็ดถูกต้องไปด้วย
สัมมากัมมันตะถูกต้องตัวเดียว ก็จะพามรรคที่เหลืออีกเจ็ดถูกต้องไปด้วย
สัมมาวาจาถูกต้องตัวเดียว ก็จะพามรรคที่เหลืออีกเจ็ดถูกต้องไปด้วย
สัมมาสังกัปปะถูกต้องตัวเดียว ก็จะพามรรคที่เหลืออีกเจ็ดถูกต้องไปด้วย
สัมมาทิฏฐิถูกต้องตัวเดียว ก็จะพามรรคที่เหลืออีกเจ็ดถูกต้องไปด้วย.


สมาธิที่ถูกต้อง ท่านทรงอธิบายไว้ชัด
และไล่ไต่ระดับจากความอ่อนเบา ไปสู่ความเข้มข้นแน่นหนัก.

และสมาธิที่ถูกต้อง จะช่วยผสมผสานเข้ากันไดดีกับสติที่ถูกต้อง
สมาธิไม่อาจขาดสติ สติก็ไม่อาจขาดสมาธิ ได้

สติหากขาดสมาธิ ก็ดูไม่สุขุม ดูไม่นุ่มนวล ดูกระโดกกระเดก ดูหวือหวา
สมาธิหากขาดสติ ก็จะดูเย็นชาจืดชืด ดูไม่คล่องแคล่วว่องไว ดูไม่กระฉับกระเฉง.

พ่อแม่ครูบาอาจารย์ ที่มีสติกับสมาธิสมดุลย์กัน
จะมีทั้งความอ่อนโยน มีทั้งความเข้มแข็ง อยู่รวมกัน.

ไดนาโม ที่ดูนิ่งสงบเห็นอยู่ภายนอก
แต่แท้ที่จริงแล้ว ภายในกลับหมุนอย่างเร็วจี๋.

อย่ามองแค่แต่ภายนอก หรือมองแต่ภายใน เพียงอย่างเดียว
สมควรที่จะมองดูทั้งภายนอกและภายใน ควบคู่กันไป
ประโยชน์มันถึงจะได้ครบถ้วนบริบูรณ์

เรามิได้ต้องการตัวไดนาโม
แต่เราต้องการพลังงานจากตัวไดนาโมต่างหาก.

หากไดนาโมไม่หมุน พลังงานจะมาจากไหน
หากไดนาโมไม่หมุนอยู่กับที่ ไดนาโมจะให้พลังงานออกมาได้อย่างไร.


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 12 ก.ย. 2010, 09:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญหาของมนุษย์ ล้วนมีรากมาจากกิเลส ซึ่ง กิเลส แบ่งออกเป็น 3ระดับ
คือ อย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด ที่เราปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้
ก็เพื่อล้างกิเลส ทั้ง 3ระดับให้ออกไปจากจิตใจ หากกิเลสหมด
ก็หมดภพหมดชาติ หมดทุกข์แม้เศษเสี้ยวธุลี
กิเลสอย่างหยาบ คือ กิเลสที่แสดงออกมาทางกายวาจา
เช่น การฆ่าสัตว์ การผิดลูกเมียผู้อื่น การส่อเสียดนินทา
ซึ่งแก้ด้วยการรักษาศีล แต่แม้ว่าเราจะมีศีลก็ใช่ว่าเราจะมีความสุข
เพราะยังมีกิเลสระดับกลางที่แสดงออกภายในจิตใจ ซึงได้แก่
นิวรณ์ทั้งห้า เช่น กามกำเริบ พยาบาท ความหดหู่ซึมเซา ความฟุ้งซ่าน
ซึ่งแก้ด้วย การเจริญสมาธิ ตามหลักพระพุทธศาสนา

ฆราวาสซึ่ง ต้องเผชิญกับโลกภายนอก ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งกระทบ
ทำให้จิตเศร้าหมองในชีวิตจิตใจ
หากปรารถนาความสุข ก็ไม่ควรละเลย เรื่องการเจริญสมาธิ
เพื่อความสงบสุขทางจิตใจ สมาธิมีประโยชน์มากมาย
เช่น ทำให้ความจำดีขึ้น เป็นภูมิป้องกันโรคทางจิต
หากทำได้ถึงขั้นฌาณ แล้วตายขณะที่ฌานยังไม่เสื่อม
ก็จะได้ เข้าร่วมหมู กับเหล่าพรหม ตามระดับของฌาณที่ทำได้
แม้ปฏิบัติ ไม่ได้ถึงขั้นฌาณ ได้เพียงอุปจารสมาธิ ก็เป็นเหตุให้ได้เกิด ในกามวจรสวรรค์ 6

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรม จำเป็นต้องอาศัย สมาธิ เป็นเครื่องมือ ซึ่งตามธรรมชาติของมนุษย์ ล้วนย่อมมีสมาธิอยู่แล้ว
การปฏิบัติธรรม หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตามข้อธรรมะ รวมถึงข้อศีลทั้งหลายด้วย
สมาธิ จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ ตัวเรารู้จักควบคุม ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก รู้จักควบคุมสติสัมปชัญญะ เมื่อได้รับการสัมผัสทางอายตนะทั้งหลาย
สมาธิ ที่ในทางพุทธศาสนา (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะทางพุทธศาสนา)มีสอนไว้นั้น จำเป็นต้องฝึกฝน เพื่อการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด สติสัมปชัญญะ แต่ในทางพุทธศาสนาสอนไว้ ก็คือ ฌาน (ผลที่เกิดจากการปฏิบัติสมาธิ)
ถ้าคุณประพฤติปฏิบัติธรรม โดยเอาใจจดจ่ออยู่ในธรรมที่ปฏิบัติ สมาธิก็เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ คุณไม่ต้องทำสมาธิ คุณก็มีสมาธิ เพราะคุณคิดถึงแต่ตัวธรรมะหรือศึลที่คุณกำลังปฏิบัติอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2010, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


surasak limcharoen เขียน:
murano เขียน:
surasak limcharoen เขียน:
1.เวลาภาวนาในชีวิตประจำวันเวลาตอนที่จิตหนีไปคิดจะรู้ไม่ค่อยทัน ส่วนใหญ่จะรู้เรื่องที่จิตคิดไปเรียบร้อยแล้ว

ร้อยทั้งร้อยที่ฝึกๆ กัน ก็คือการ ตามดู นั่นแหล่ะ จริงๆ มันคือการ เจริญสติ (ฝึกสติ) นะ ไม่ใช่ภาวนา คือรู้ให้ทันว่า ตอนนี้เรากำลังฟุ้งซ่าน หรือกำลังมีอารมณ์แบบใด
วิธีนี้ดีไหม ก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่เคยทำ...

การเห็นการก่อตัวของความคิด เป็นญาณระดับสูง จัดเป็นหนึ่งในอภิญญา ซึ่งในระดับนั้น เขาพ้นการฝึกสติแล้วล่ะ

อยากทราบว่าที่เรียกว่าการภาวนาที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ครับ ช่วยอธิบายด้วยครับ ขอบคุณครับ



ความคิด...ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ห้ามไม่ให้เกิด ไปเสียทุกความคิด
ท่านเพียงแต่ให้ละความคิดที่เป็นอกุศล
แต่หากความคิดใดที่เป็นกุศล ท่านให้หมั่นเจริญยิ่งๆขึ้นไป(สัมมาวายาโม)

การภาวนา...ไม่ใช่เพียงเพื่อต้องการหยุดความคิด หรือไม่ให้ความคิดใดๆเกิดขึ้นเลย
หัวใจของการภาวนานั้น...คือการรู้ว่าความคิดทั้งหลาย ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แค่นี้เอง

ความคิด มันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่อาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้นมีขึ้น ในการดับไปหายไป
เป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างนั้นเอง

เพราะสิ่งนี้มี ความคิดอย่างนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้ไม่มี ความคิดอย่างนี้จึงไม่มี
มันเป็นกฏตามธรรมชาติเช่นนั้นเอง

ความเข้าไปจับถือ ยึดมั่น ถือมั่น ในความคิด คือตัวสาเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา

ตัวความคิด มันเป็นทุกข์อยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว
คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้(อนิจจัง) มีความแปรปรวนอย่างนั้น เป็นลูกศรดอกแรก
และเมื่อเข้าไปยึดมั่นจับถือความคิดนั้น ก็เลยทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาเป็นทุกข์ดอกที่สอง

วิญญาณหรือใจหรือจิต เป็นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดปรากฏ
หากไม่มีเหตุปัจจัย วิญญาณหรือจิตหรือใจ ย่อมไม่อาจปรากฏขึ้นมาได้

เพราะมีธรรมมารมณ์ มีใจ จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด มโนวิญญาณ
มโนวิญญาณเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีอารมณ์ไม่มีใจ

ธรรมมารมณ์ ก็เป็นเพียงธรรมชาติอย่างหนึ่ง
ใจก็เป็นเพียงธรรมชาติอย่างหนึ่ง
มโนวิญญาณก็เป็นเพียงธรรมชาติอย่างหนึ่ง
ทั้งสามสิ่งนี้ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่อย่างใดทั้งสิ้น
ทั้งสามสิ่งนี้ เป็นทุกข์อยู่แล้วในตัว คือความไม่เที่ยง
ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ มีความแปรปรวนเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา

อุปาทาน คือความเข้าไปจับเกาะยึดถือ ในธรรมมารมณ์ ในใจ ในมโนวิญญาณ ว่าเป็นเรา
ว่าของเรา ว่าเป็นตัวตนของเรา คือสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ขึ้นมาอีก


การภาวนาไม่ว่าจะมีรูปแบบ แผนการอย่างใดก็ตาม
ในที่สุดแล้ว ก็ต้องจบลงตรงนี้ ตรงที่ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในธรรมใดๆ ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ใดๆทั้งสิ้น
จะปฏิบัติตามคำสอนของสาวก
หรือจะปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดา
ที่สุดแล้ว ต้องปล่อยวาง สละทิ้ง สลัดคืน ซึ่งธรรมทั้งหลายทั้งปวง
ทั้งอุเบกขาธรรม ทั้งนิพพาน ก็ต้องปล่อยวาง
ทิฏฐิความเห็น ความเชื่อใดๆ ทั้งหลายทั้งปวง ต้องไม่เกิดความกำหนัดยินดีใดๆทั้งสิ้น

ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ทั้งปวง คือคำตอบที่จะช่วยบอกให้รู้ว่า
การภาวนาอย่างใด คือการภาวนาที่ถูกต้อง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 52 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร