วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 17:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 02:18
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมีการผัสสะกันเกิด ขึ้น อันคือการประจวบกระทบกันทั้ง ๓ ของ อายตนะภายใน, ภายนอก และวิญญาณ ย่อมบังเกิด "เวทนา" คือการเสวยอารมณ์ (อารมณ์-ในทางพุทธศาสนาหมายถึง สิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวหรือสัมผัสในขณะนั้นๆ อันหมายถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส(โผฏฐัพพะ) และธรรมารมณ์(เช่น ความคิด ความนึก, สิ่งต่างๆที่รับรู้ได้ด้วยใจ)ที่มากระทบ จึงมีความหมายต่างกับความหมายทางโลกๆ เช่น อารมณ์ดี อารมณ์เสีย) เป็นไปดังพุทธพจน์ที่ได้ตรัสไว้เกี่ยวกับการเกิดของเวทนา เป็นดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(อายตนะภายใน) และรูป(อายตนะภายนอก) เกิดจักษุวิญญาณ(วิญญาณ ๖) ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา) เป็นสุขบ้าง(สุขเวทนา) เป็นทุกข์บ้าง(ทุกขเวทนา) มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง(อทุกขมสุขเวทนา)

(ข้อความเดียวกันใน เสียง-หู, กลิ่น-จมูก, รส-ลิ้น, สัมผัส-กาย, ธรรมารมณ์(คิดนึก)-ใจ อันต้องเป็นไปเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาตามสภาวธรรม)

(ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)

เวทนา จึงหมายถึง การเสวยอารมณ์ หรือเสพรับรู้ในรสชาดของทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ อันล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยดังข้างต้นที่มากระทบผัสสะกันนั่นเอง

ซึ่งมีความหมายต่างไปจากภาษาสมมุติทางโลกในภาษาไทย ที่มีความหมายแสดงถึง ความรู้สึกเศร้าใจ น่าสงสาร น่าเห็นใจ หรืออารมณ์เสีย

โยนิโสมนสิการ พิจารณาดูว่าเวทนาในความหมายใดถูกจริตแห่งท่าน อันก่อให้เกิดความเข้าใจในสภาวธรรมของเวทนาได้อย่างถูกต้อง เช่น

เวทนา คือ การเสพรสชาดในอารมณ์ (อารมณ์ ที่หมายถึง รูป เสียง กลิ่น ฯ.) เช่น เสพรสชาดของรูปที่เห็นหรือผัสสะ, เสพรสในรสชาดของอาหารที่ผัสสะ

เวทนา คือ ความรู้สึก, หรือความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่ย่อมเกิดขึ้นมารับรู้ จากการที่สิ่งต่างๆมากระทบสัมผัสอายตนะต่างๆ อันเกิดขึ้นได้ทั้งต่อกายหรือใจ หรือก็คือ ความรู้สึกอันเนื่องมาจากการผัสสะกับอารมณ์นั้นๆ อันคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ โดยมีความจํา(สัญญา)มาจําแนกร่วมกับการรับรู้นั้น เป็นชนิด ชอบใจ สบายใจ ถูกใจ ๑, ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจ ไม่ถูกใจ ๑, และไม่สุขไม่ทุกข์หรือเฉยๆ ๑, อันท่านจัดเป็นเวทนาชนิด สุขเวทนา, ทุกขเวทนา, อทุกขมสุขหรือไม่ทุกข์ไม่สุข ตามมาเป็นธรรมชาติเป็นธรรมดาของผู้มีชีวิต

เวทนา คือ ความรู้สึกรับรู้ ที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ) พร้อมความจําได้และเข้าใจในสิ่งที่กระทบสัมผัสนั้น

หรือ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส อันพร้อมถึงด้วยความจำได้หรือมีประสบการณ์ในสิ่งที่ผัสสะนั้นๆ

ขอให้สังเกตุหรือโยนิโสมนสิการโดยละเอียดและแยบคายด้วยว่า เวทนาเป็นสภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติแท้ๆ ที่ต้องเกิด ต้องมีเป็นธรรมดา มันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ที่มันเป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดาหรือตถตาใช่ไหม?

หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ที่มากระทบผัสสะนั้น พร้อมความจำได้ (ตามปกติ "รู้แจ้งในอารมณ์" หมายถึง วิญญาณ ที่หมายถึง เกิดแค่ความรู้ ในสิ่งที่ผัสสะนั้น)

ที่มนุษย์หรือสัตว์เรารู้สึก

สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ

กันอยู่ ก็คือ เวทนา หรือความรู้สึกในการรับรู้ในอารมณ์ต่างๆนั่นเอง

กล่าวคือ สิ่งต่างๆ แม้กระทั่งความคิดของตน(ธรรมมารมณ์)ที่มา ผัสสะ เหล่านี้นี่เอง!

แต่ ถึงอย่างไรก็ตาม เวทนาเหล่านี้ยังไม่ใช่สิ่งที่พระองค์ท่านกล่าวว่าเป็น ความทุกข์ อย่างแท้จริง

แต่เมื่อเวทนาเหล่าใดเหล่านี้ ประกอบด้วยอุปาทานเมื่อใด เวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน ที่เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์

จึงเป็นความทุกข์ที่แท้จริง ที่เร่าร้อนเผาลน ที่พระองค์ท่านทรงสอนให้ดับสนิทไม่เหลือ


โยนิโสมนสิการ โดยละเอียดจริงๆว่า กระบวนธรรมชาติของการเกิดเวทนานี้ จําเป็นต้องมีสัญญา(ความจําได้ในอารมณ์ เช่น จำได้ในรูป,เสียง,กลิ่น,รส ฯ.)ต้องเกิดร่วมด้วย คือ นอกจากรับรู้ในรสชาดของอารมณ์ที่มากระทบแล้ว ยังมีความจําได้(สัญญา)ในสิ่งที่มากระทบหรือสัมผัส(ผัสสะ)นั้นอีกด้วย จึงจะทําให้สามารถจําแนกแตกเวทนาได้เป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุข, เพียงแต่ท่านได้ ละ ไว้ ไม่แสดงในปฏิจจสมุปบาท เพราะหมายถึงอาสวะกิเลสอันก็เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา-ความคิดความจํานั่นเอง และ ณ ที่นี้เป็นการกล่าวถึงกระบวนธรรมของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ อาสวะกิเลสนี้ จึงเป็นสัญญาจําชนิดที่แฝงกิเลสล้วนสิ้น ที่จักทําให้จิตหมองขุ่นมัวอันก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนจิต ดังนั้นเวทนาต่างๆที่เกิดขึ้นในปฏิจจสมุปบาท จึงล้วนเป็นเวทนามีอามิส อันเป็นเวทนาชนิดที่มีสัญญาจำอันแฝงด้วยกิเลสอยู่แล้วนั่นเอง จึงพอเขียนเป็นกระบวนธรรมของจิต(ขันธ์ ๕)ได้ดังนี้

คิด +ใจ >> วิญญาณ >> ผัสสะ >> สัญญาจํา(จากอาสวะกิเลส) >> เวทนา ชนิดต่างๆ (ลองพิจารณาไล่ลําดับจิตดู)

รูป + ตา >> วิญญาณ >> ผัสสะ >> สัญญาจํา(จากอาสวะกิเลส) >> เวทนา ชนิดต่างๆ

เราจึงควรใส่ใจ มีความเข้าใจด้วยว่ามีสัญญา(จํา)ในอารมณ์ - รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมมารมณ์(ความคิด) หรือสัญญาจําของอาสวะกิเลสมาเกี่ยวเนื่องด้วย เพราะจักไปช่วยให้เข้าใจในกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ตลอดจนปฏิจจสมุปบาท อันเป็นสิ่งที่จําเป็นยิ่งในการเข้าใจสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อย่างแจ่มแจ้งในภาย หน้า

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สําคัญ เพราะเป็นขั้นตอนเกิดเวทนาซึ่งเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆ เกิดอย่างไร เป็นอย่างนั้น และปุถุชนมักจะติดบ่วงของเวทนานี้ ซึ่งเมื่อเข้าใจอย่างถูกต้องจักช่วยให้เข้าใจธรรมหรือสภาวธรรมต่างๆอย่างถูก ต้อง อันนําไปใช้ในการระงับหรือดับความทุกข์ที่จักเกิดขึ้นทั้งจากเวทนาทางกายและ ทางใจเพราะความเข้าใจในธรรม(สภาวธรรมหรือธรรมชาติ)นั้นอย่างถ่องแท้ จนจิตน้อมยอมรับอย่างศิโรราบในภายหน้า เพราะการรับรู้แจ้งในอารมณ์หรือการเสพเสวยอารมณ์ในสิ่งที่กระทบสัมผัสในขั้น แรก เกิดขึ้น ณ ที่นี้ ไม่ว่าจักเพราะสังขารที่สั่งสมไว้(สังขารในปฏิจจสมุปบาท), หรือเป็นเพราะสฬายตนะที่จรไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ต่างๆจากภายนอก(กาย) แม้แต่ธรรมารมณ์อันเกิดมาจากเหตุปัจจัยแวดล้อมภายนอก, ล้วนแล้วแต่ต้องเกิดเวทนาเช่นนี้ขึ้นทั้งสิ้นเป็นธรรมดา และโดยธรรมชาติของสรรพสัตว์และมวลมนุษย์ทั้งปวงนั้น เมื่อรับรู้ความรู้สึกของสิ่งที่มากระทบสัมผัสแล้วอันคือเวทนา ถ้าความรู้สึกนั้นชอบใจ, ถูกใจ หรือสบายใจ ก็จะไปอยาก(ตัณหา) หรือติดเพลิน(นันทิ) หรือพยายามยึดไว้ ให้คงอยู่ คงเป็น (ตัณหา) แต่ถ้ารู้สึกไม่ชอบ ไม่ถูกใจ ไม่สบายใจ ก็จะพยายามผลักไส ครํ่าครวญ พิรี้พิไร หรือไม่อยาก(วิภวตัณหา)ในความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ)นั้น จนสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ประพฤติปฏิบัติจนติดแน่นอยู่ในกมลสันดานหรือเป็น สังขารที่ได้สั่งสมไว้ในรูปอาสวะกิเลสนั่นเองโดยไม่รู้ตัวและเนื่องด้วย อวิชชา จึงต้องใช้ทั้งปัญญาและสติรู้เท่าทันเวทนา(จึงครอบคลุมทั้งเข้าใจและรู้เท่า ทัน) มีความเข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของเวทนาที่เกิดอย่างไรเป็นอย่างนั้น (จึงไม่ใช่ต้องรู้สึกเฉยๆหรืออทุกขมสุขเวทนาในสิ่งต่างๆที่มากระทบ ดังที่นักปฏิบัติพยายามปฏิบัติกันผิดๆเป็นจำนวนมากโดยไม่รู้ตัว) จึงจักไม่เป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา หรือทําให้ตัณหาเกิดน้อยลง อันเป็นปัจจัยให้อุปาทานอันก่อเป็นทุกข์อุปาทานดับลงหรือน้อยลงไปด้วย (อ่านเวทนา และ การแยกแยะเวทนาช่วยในการเข้าใจเวทนาให้ถูกต้อง) เพราะเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น เป็นกระบวนธรรมหรือสภาวธรรมอันยิ่งใหญ่ที่เป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดา บังเกิดขึ้นเป็น สุขเวทนบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง หรืออทุกขมสุขเวทนาบ้าง แม้แต่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ผู้ตรัสรู้ชอบ ดับทุกข์ได้ด้วยพระองค์เอง ตลอดจนพระอริยเจ้าทุกองค์, เราจึงต้องเข้าใจ(ปัญญา)เวทนาให้ถูกต้องตามความเป็นจริง จิตจักได้เลิกดิ้นรนการกําจัดเวทนาอย่างโง่งมและไร้เหตุผล เช่น มีอะไรมากระทบตา หู ใจ ฯ. จักให้ไม่รู้สึกรู้สาใดๆเลย จึงกลับเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานทุกข์อันแสนเร่าร้อนเผาลนขึ้นจริงๆจาก เวทนาเหล่านั้น, หรือวนเวียนปฏิบัติเพราะการพยายามดับเวทนานี้โดยตรงตามความเข้าใจผิดด้วย อวิชชา ไปดับตามความหมายทางโลกคือให้ดับสูญ อันมีผู้นิยมปฏิบัติกันมากเพราะความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรมหรือสภาว ธรรม(ธรรมชาติ)ว่าแท้จริงแล้ว เป็นการกด การข่มชั่วขณะเท่านั้น ไม่มีผู้ใดดับได้อย่างถาวรแท้จริงนอกจากความตาย เพราะอยู่ในสภาพเกิดๆดับๆอยู่เยี่ยงนี้นั่นเองตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ กล่าวคือ เมื่อเหตุปัจจัยครบองค์ คือมีการผัสสะเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วตั้งอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็ต้องดับไปเป็นธรรมดาด้วยอำนาจพระไตรลักษณ์

เมื่อมีความเข้าใจว่าเวทนาย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว, สิ่งหรือกิจอันพึงกระทําต่อเวทนา จึงมีดังนี้ ดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุ(ตา) และรูป เกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ และเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์(เวทนา) เป็นสุขบ้าง(สุขเวทนา) เป็นทุกข์บ้าง(ทุกขเวทนา) มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง(อทุกขมสุขเวทนา) (อันต้องเป็นไปเช่นนั้นเองเป็นธรรมดาตามสภาวธรรม)

เขา(บุคคล)อันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ (นิสัยอันนอนเนื่องหรือแอบแฝงด้วยความโลภ,ความอยาก)

อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่(รำพันว่า)ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลง(โมหะเพราะไม่รู้ตามความเป็นจริง)พร้อม จึงไม่มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ (นิสัยอันนอนเนื่องด้วยความขุ่นเคือง,ขัดข้อง,คับแค้นใจ)

อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น(เกิดขึ้น) ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ (นิสัยอันนอนเนื่องด้วยความไม่รู้)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละราคานุสัยเพราะสุขเวทนาบรรเทา, ละปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนาบรรเทา, ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา, (และ)ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นเป็นฐานะที่มีได้ ฯ

ข้อ ความเดียวกันใน เสียง-หู, กลิ่น-จมูก, รส-ลิ้น, สัมผัส-กาย, ธรรมารมณ์(คิดนึก)-ใจ

(ม.อุ.๑๔/๘๒๓/๔๙๓)


ข้อที่น่าโยนิโสมนสิการคือ เวทนาทั้งหลายล้วน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปทั้งสิ้น แม้สุขเวทนานั้นจะจัดว่าเป็นสุขชนิดหนึ่ง แต่เป็นสุขที่ยังไม่พ้นจากทางโลกๆกล่าวคือ เหตุเพราะความไม่เที่ยงต้องดับไป และแม้จะเป็นสุขยิ่งแต่ก็ก่อให้เกิดเป็นสัญญาจําชนิดหนึ่งคืออาสวะกิเลส อันย่อมพาให้เกิดทุกข์ในภายหลังเพราะสัญญาที่จําได้นั้นเองจึงก่อให้เกิด ปริเทวะหนึ่งในอาสวะกิเลส คือ การโหยไห้ อาลัยหา ถวิลถึง จึงเกิดการขวยขวายที่จะทําให้เกิด ให้มี ให้เป็น เช่นอดีตโดยไม่รู้ตัว วนเวียนอยู่เช่นนี้เอง, ท่านจึงสอนว่าไม่ให้ติดเพลิน,เพลิดเพลินชนิดลืมตัว

ควรแยกแยะเวทนาให้กระจ่าง สว่าง ที่สุด เพราะที่เวทนานี้ เป็นองค์ธรรมที่เป็นจุดสําคัญที่จะแยกหรือตัดทําลายวงจรปฏิจจสมุปบาท ให้ดําเนินไปตามกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ในการดํารงชีวิตอย่างเป็นปกติสุขตามสภาวธรรมชาติของผู้มีชีวิต หรือจักไหลเลื่อนต่อเนื่องเข้าไปในวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์(ปฏิจจสมุ ปบาท)อันเป็นปกติธรรมดาของปุถุชน (ดูภาพประกอบ พิจารณาที่องค์ธรรมเวทนา)

คำว่าตัดทำลายวงจรปฏิจจสมุปบาทนี้ มีความหมายถึง เมื่อมีสติรู้เท่าทันเวทนา(เวทนานุปัสสนา) แล้วอุเบกขา โดยการไม่เอนเอียงเข้าไปปรุงแต่ง, หรือโดยการพิจารณาในเวทนาอย่างแจ่มแจ้งจนเกิดนิพพิทาญาณเกิดความหน่ายใน เวทนาจากการไปรู้ความจริงยิ่งทั้งมวลเกี่ยวกับเวทนา เช่นว่า สักแต่เวทนาเป็นทุกข์ธรรมชาติ, ล้วนเป็นสังขารจึงไม่เที่ยง ทุกขัง อนัตตา ฯ. เพราะเมื่อเกิดความหน่ายย่อมคลายกำหนัดหรือคลายตัณหา จึงเท่ากับเป็นการตัดทำลายวงจรที่จะดำเนินเกิดองค์ธรรมต่อไปคือตัณหาโดยตรง นั่นเอง



(แสดงสติและสัมปชัญญะในเวทนาโดย พระสูตร เคลัญญสูตร)

จบหมอมาซะด้วยนิ คงอ่านแล้ววิเคราะห์เป็นนะครับ เหอะๆ

.....................................................
ธรรมดาๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 02:18
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธ์ทั้ง ๕ (แสดงความเป็นเหตุปัจจัยกัน)

ปริญเญยยสูตร


ว่า ด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้


[๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้

ความกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน?

คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.(ขันธ์ทั้ง ๕)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.

[๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนดรู้เป็นไฉน?

(ความกำหนดรู้เพื่อ)ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความกำหนดรู้. (จึงควรกำหนดรู้ยิ่งในขันธ์ทั้ง ๕ ก็เพื่อความสิ้นไปดังกล่าว)

[๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้กำหนดรู้แล้วเป็นไฉน?

บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว ควรจะกล่าวว่าพระอรหันต์ กล่าวคือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว.

(พระไตรปิฎก เล่มที่๑๗/๒๘๙)

ดังพุทธพจน์ที่ตรัสแสดงข้างต้นนี้ ขันธ์ ๕ จึงเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ด้วยความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเป็นอย่างยิ่ง ดังจักแสดงขันธ์ ๕ ตลอดทั้งกระบวนธรรมคือความเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕ โดยละเอียดเป็นลำดับขั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในความเนื่องสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลกัน หรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕ อย่างแจ่มแจ้ง ก็เพื่อยังประโยชน์ในการเจริญวิปัสสนาโดยการโยนิโสมนสิการในขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทธรรม พระไตรลักษณ์ ฯลฯ.

อนึ่งการโยนิโสมนสิการในขันธ์ ๕ นี้ ไม่ใช่เป็นไปในลักษณะการท่องจำหรือไล่เรียงในขันธ์ทั้ง ๕ ได้คล่องแคล่วแม่นยำแต่ประการใด แต่ต้องการให้เกิดความเข้าใจไล่เรียงความเป็นเหตุเป็นผล หรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันจึงเกิดขึ้นของขันธ์ทั้ง ๕ อย่างมีเหตุ มีผล อันจะทำให้เข้าใจในสภาวธรรมของชีวิตหรือธรรมหรือธรรมชาติบางประการได้แจ่ม แจ้งขึ้น จึงยังประโยชน์ถึงขั้นธรรมสามัคคี เกิดปัญญาถึงขั้นหูตาสว่างได้เป็นอัศจรรย์ ถ้าประกอบด้วยความเพียรในการพิจารณาโดยแยบคายอยู่เนืองๆเป็นอเนก ไม่ย่อหย่อน, มีคำกล่าวของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เกี่ยวกับขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทไว้น่าพิจารณา ดังนี้

" เออ ก็ดีแล้วที่ได้ผล(ท่านกล่าวถึงเรื่องการปฏิบัติสมาธิ) พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็ได้แค่นั้นแหละยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทาน ให้ละสุขนั้นเสียก่อน แล้วพิจารณาขันธ์ ๕ ให้แจ่มแจ้งต่อไป " (จาก "อตุโล ไม่มีใดเทียม" หน้า ๔๙๕)

ขันธ์ ๕

ขันธ์ ๕ หรือเบญจขันธ์ องค์ประกอบสำคัญทั้ง ๕ ที่ทางพุทธศาสน์ถือว่า เป็นเหตุคือสิ่งทั้ง ๕ ที่มาเป็นปัจจัยปรุงแต่งเป็น ชีวิต ขึ้น, เป็นเหตุปัจจัยที่เมื่อประชุมปรุงแต่งกันขึ้นจนเป็นสังขารคือสิ่งปรุงแต่ง ที่เรียกกันโดยสมมติว่า ชีวิต, อันประกอบด้วยขันธ์ที่หมายถึงฝ่ายหรือกองต่างๆ ดังนี้ รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์ และมักเรียกกันทั่วไปสั้นๆว่า รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ

กล่าวโดยย่อ ชีวิตเกิดขึ้นแต่เหตุคือขันธ์ทั้ง ๕ มาเป็นปัจจัยกันนั่นเอง

ควรรู้เข้าใจอีกด้วยว่า ขันธ์ ๕ หรือชีวิตนี้ เมื่อเป็นเหตุปัจจัยประชุมปรุงแต่งกันขึ้นแล้วนั้น ยังต้องมีการประสานทำงานที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน หรือการเป็นปัจจัยแก่กันและกันระหว่างขันธ์หรือระหว่างกองทั้ง ๕ อยู่ตลอดเวลา ตราบเท่าที่ยังดำรงขันธ์คือชีวิตอยู่ ซึ่งพระองค์ท่านแบ่งขันธ์หรือชีวิตออกเป็นส่วนหรือเป็นกองทั้ง ๕ ที่มาประกอบกันเป็นเหตุปัจจัยกันจนเป็นชีวิตหรือสังขารตัวตนที่ประกอบด้วย จิตวิญญาณ ก็ล้วนเพื่อยังประโยชน์ในการวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญาจากการไปรู้เห็นตาม ความเป็นจริงที่เป็นไปของชีวิต เพื่อให้เกิดนิพพิทาญาณอันเป็นไปเพื่อคลายความกำหนัด(ตัณหา) จึงคลายความยึดมั่น(อุปาทาน) เพื่อความปล่อยวาง อันเป็นสุข สะอาด สงบ บริสุทธิ์ยิ่ง

๑. รูปขันธ์ หรือรูป หมายถึง กองหรือส่วนของรูปร่างหน้าตา หรือร่างกาย หรือฝ่ายตัวตน รูปขันธ์ ถ้ายังไม่กระจ่างว่าเป็นอย่างไรกันแน่ ก็ให้นึกภาพของคนที่เพิ่งตายใหม่ๆที่มีร่างกายสมบูรณ์อยู่ยังไม่แตกสลาย นั่นแหละส่วนหรือกองของรูปหรือรูปขันธ์แท้ๆล้วนๆ ที่เมื่อยังไม่อิงหรือไม่เป็นเหตุปัจจัยประชุมร่วมกับขันธ์อื่นๆทั้ง ๔ ขันธ์ก็จะมีสภาพเป็นเพียงกลุ่มก้อนมายาของเหตุปัจจัยของธาตุทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเพียง"สรีระยนต์" ที่นอนเป็นท่อนเป็นก้อนเฉยอยู่นั่นเอง, อายตนะภายในทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือทวาร ๖ อันคือประตูหรือช่องทางที่ใช้ติดต่อกับโลกภายนอกทั้ง ๖ ต่างก็ล้วนต้องแฝงอาศัยอยู่หรือเป็นส่วนหนึ่งของกองรูปขันธ์นี้นี่เอง (สมองก็เป็นส่วนหนึ่งของรูปขันธ์นั้น แต่ก็เป็นหทัยวัตถุ คือเป็นส่วนหนึ่งของใจหรือจิต คือเป็นวัตถุหรือเหตุปัจจัยอันหนึ่งของจิต แต่ก็ยังไม่ใช่จิต เพราะยังต้องประกอบด้วยเหตุอื่นๆ มาเป็นปัจจัยกันอีกด้วยนั่นเอง)

พึงระวังสับสน ที่ในภายหน้าบางครั้ง เมื่อกล่าวถึงการทำงานประสานกันของขันธ์หรือก็คือกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ แล้ว มีคำว่า รูป ที่อาจหมายถึง สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จิตใช้เป็นอารมณ์คือเป็นที่กำหนดในขณะนั้น จึงอาจหมายถึงใน รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้ง ๖ ใดๆก็ได้(คือสิ่งที่ถูกรู้หรือสัมผัสได้โดยอายตนะภายใน) จึงครอบคลุมได้ถึง รูปหรือภาพที่เห็นด้วยจักษุ หรืออาจหมายถึงเสียงที่ได้ยินนั้น หรือกลิ่นที่ได้ดมนั้น หรือรสที่ได้ลิ้มสัมผัสนั้นๆ ฯ. ได้เช่นกัน

๒. เวทนาขันธ์ การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้ในรสของอารมณ์(Feeling) คือความรู้สึกรับรู้ที่ย่อมเกิดขึ้นจากสิ่งที่จิตกำหนดหมาย หรือยึด หรือกระทบนั้นๆ จึงหมายถึง กองหรือหมวดหมู่ของชีวิตที่ทำหน้าที่ เสพเสวยในรสชาดของสิ่งต่างๆที่เป็นอารมณ์ กล่าวคือ ความรู้สึกที่ย่อมต้องเกิดขึ้น จากการเสพเสวยหรือรับรู้ในสิ่ง(อารมณ์)ต่างๆที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ) พระองค์ท่านแบ่งความรู้สึก(Feeling)ของเวทนา ออกเป็น ๓ อันมี

สุขเวทนา ความรู้สึก สุขสบาย ถูกใจ สบายใจ ชอบใจ จึงครอบคลุมทั้งฝ่ายกายและจิต หรือที่เรียกความรู้สึกชนิดนี้กันโดยทั่วไปว่า สุข นั่นเอง

ทุกขเวทนา ความรู้สึก ลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย ไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ อันครอบคลุมทั้งกายและจิตเช่นกัน หรือที่เรียกความรู้สึกชนิดนี้กันโดยทั่วไปว่า ทุกข์ นั่นเอง

อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึก ไม่สุขไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา

พระไตรปิฏกในภายหลัง พระอรรถกถาจารย์ได้จำแนกแตกธรรมออกเป็น ๕ ก็มี เพื่อแยกแยะให้เห็นเวทนา เป็นฝ่ายกายและฝ่ายจิตให้ชัดเจนขึ้น จึงได้จำแนกเพิ่มเติมเป็น สุข-สบายกาย๑ ทุกข์-ไม่สบายกาย๑ โสมนัส-สบายใจ๑ โทมนัส-ไม่สบายใจ๑ และอุเบกขา-เฉยๆ๑

เวทนาในภาษาธรรม จึงไม่ใช่ความหมายในภาษาไทยหรือในทางโลก(โลกิยะ)ที่หมายถึง ความสงสาร, ความเจ็บปวด

๓. สัญญาขันธ์ หมายถึง ส่วนหรือกองของชีวิตที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ ความจำได้ ความทรงจำ ตลอดจนครอบคลุมถึงการหมายรู้ การกำหนดหมาย ปัญญา การประเมินข้อมูล ฯ. จึงย่อมเกิดจากการสั่งสม จดจำประมวลผลตั้งแต่อดีตหรือแต่อ้อนแต่ออกจวบจนปัจจุบัน อันย่อมใช้สมองส่วนหนึ่งในการบันทึกเก็บจำ ซึ่งย่อมมีข้อมูลอย่างมากมายมหาศาล จนเกินกว่าที่จำได้ทั้งปวงในขณะจิตหนึ่งๆ สัญญาหรือฝ่ายความจำได้,หมายรู้จึงต้องทำงานหรือเกิดขึ้นในลักษณะเกิด ดับ..เกิดดับๆ...ดังนี้อยู่เสมอๆ กล่าวคือ เกิดคือจำขึ้นมาได้ แล้วก็ดับคือลืมลงไปนั่นเอง เป็นไปดังนี้เสมอๆ ดังเช่นผู้เขียนเอ่ยคำว่าแม่ ท่านก็เกิดสัญญาจำได้ในแม่ขึ้นมาทันที ตั้งอยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็ดับไป จึงเกิดแล้วดับ เกิดดับๆๆ..ในลักษณาการนี้อยู่เสมอๆ, ดังนั้นสมองอันเป็นส่วนหนึ่งหรืออาศัยอยู่ในรูปขันธ์ จึงถูกจัดเป็นหทัยวัตถุอันเป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งของจิต แต่ก็อย่าเข้าใจผิดไปว่าจิตคือสมอง เพราะจิตก็ไม่ได้เกิดแต่เหตุคือสมองแต่อย่างเดียว เพราะจิตก็ยังเกิดแต่มีเหตุอื่นๆมาเป็นปัจจัยปรุงแต่งอีกเช่นกัน

น่าสังเกตุว่าการเกิดคือชาติของสัญญาขันธ์หรือสัญญานั้น เป็นไปได้หลายลักษณะ ดังเช่น เจตนาด้วยตนเองขึ้นมาบ้าง๑ เกิดขึ้นเมื่อมีการผัสสะคือกระทบกับสิ่งนั้นๆคือสิ่งเร้าบ้าง๑ หรือแม้แต่ผุดลอยขึ้นมาเองบ้าง๑ ทั้ง ๓ ต่างล้วนเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิต และจำเป็นยิ่งในการดำเนินชีวิตหรือดำรงขันธ์อีกด้วย ไม่มีเสียก็อยู่ไม่ได้ตามปกติเสียอีกด้วย

๔. สังขารขันธ์ หมายถึง กองหรือส่วนของผล ที่เกิดขึ้นจากขันธ์ต่างๆมาเป็นเหตุปัจจัยกัน กล่าวคือเกิดผลเป็นการกระทำต่างๆขึ้น กล่าวคือ เป็นสิ่งปรุงแต่งทางใจให้เกิดการกระทำ(กรรม)ทางกาย, วาจา, ใจ กล่าวคือ เกิดเจตนาที่จะกระทำหรือกรรมทางกาย วาจา ใจต่างๆขึ้นมา เช่นการกระทำทางกายทุกๆอย่าง เช่นเดิน นอน กิน นั่ง อุจจาระ ปัสสาวะ ฯ. ทางวาจาหรือวจีสังขาร เช่นการพูด การคุย การอุทานต่างๆ การด่าทอต่อว่า ฯ. หรือทางใจที่เรียกกันว่ามโนสังขารบ้าง จิตสังขารบ้าง เช่น ความคิด ความนึกต่างๆนาๆขึ้น อันล้วนย่อมป็น ผล ที่เกิดขึ้นจากการเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันร่วมกับขันธ์อื่นๆ หรือจากการผัสสะต่างๆขึ้นนั่นเอง, อนึ่งพึงระวังความสับสนจากความเคยชินในภาษาไทย ที่มักใช้คำว่า สังขารในความหมายว่าสังขารกายหรือร่างกายด้วย

๕. วิญญาณขันธ์ ความรู้แจ้งในอารมณ์ พอที่จะกล่าวแสดงในแบบทางโลกให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นได้ว่า หมายถึงกองหรือหมวดหมู่ของระบบประสาททั้งปวงนั่นเอง กล่าวคือ วิญญาณมีหน้าที่ ในการรับรู้ คือรู้แจ้งในอารมณ์คืออายตนะภายนอกทั้งหลายที่จรหรือเกิดการกระทบนั้น ก็คือเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ดั่งระบบประสาทในการสื่อสารต่อเหล่าอายตนะภายนอก ทั้งหลายที่จรมากระทบ และแม้แต่ถ่ายทอดข้อมูลต่างๆของชีวิตคือระหว่างขันธ์ต่างๆทั้ง ๕ ด้วยกัน กล่าวคือ ขันธ์ต่างๆล้วนมีการเชื่อมสื่อสารประสานสัมพันธ์หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างขันธ์ด้วยกัน และทั้งต่อเหล่าอายตนะภายนอกทั้งหลายที่จรมากระทบด้วย ก็ล้วนต้องอาศัยวิญญาณนี้นี่เอง

การรู้แจ้งในอารมณ์ ของวิญญาณนั้น ต้องทำความเข้าใจกันเล็กน้อย การรู้แจ้งนี้ มิได้หมายถึงความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งทางด้านปัญญาแต่ประการใด เป็นเพียงแค่การรับรู้ ในภาพ ในเสียง ในกลิ่น ในรส ฯ.(อายตนะภายนอก)ที่มากระทบต่างๆเท่านั้น ยังไม่ประกอบไปด้วยความรู้,ความเข้าใจต่างๆใดๆที่หมายถึงปัญญาในสิ่งที่ไป กระทบนั้นๆ, และวิญญาณมักถูกเข้าใจแบบโลกิยะคือแบบโลกๆแต่ฝ่ายเดียว จึงมักถูกเข้าใจผิดด้วยมายาของจิตมาตั้งแต่เริ่มรู้ความ และด้วยตำนานเล่าขานที่ถ่ายทอดสืบต่อกันอย่างแรงกล้ามาอย่างช้านาน จนเป็นทิฏฐุปาทานและสีลัพพตุปาทานของปุถุชนกล่าวคือ เมื่อกล่าวถึงวิญญาณ มักจะเข้าใจในวิญญาณโดยนัยไปว่า เป็นดังเจตภูต หรือปฏิสนธิวิญญาณ ที่หมายถึงวิญญาณที่ลอยละล่องท่องเที่ยวหาที่เกิด หรือหมายถึง วิญญาณที่ท่องเที่ยวไปในภพน้อยใหญ่และปรภพในลักษณะสัมภเวสี หรือโอปปาติกะ หรือกายทิพย์ หรือเทวดา ฯ.

วิญญาณในขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นวิญญาณที่ต้องกล่าวกันอย่างโลกุตระหรือภาษาธรรม มิฉนั้นจะไม่สามารถเข้าใจในธรรมอย่างปรมัตถ์หรือโลกุตระได้เลย กล่าวคือเมื่อพิจารณาธรรมในลักษณะธัมมวิจยะอันจัดเป็นสัมมาทิฏฐิของอริยะอัน ควรปฏิบัติยิ่ง, วิญญาณนั้นหมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารเชื่อมสัมพันธ์กันภายในขันธ์ทั้ง ๕ หรือระบบประสาทดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นจึงเรียกชื่อของวิญญาณเฉพาะเจาะจงแตกต่างกันไปตามอายตนะภายในอันที่ เป็นที่เกิดหรือแดนเกิด กล่าวคือในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ วิญญาณย่อมเกิดขึ้นทุกครั้งเมื่อมีการกระทบกันของอายตนะภายนอกกับอายตนะภาย ใน เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิตหรือชีวิตตินทรีย์ที่เป็นปรกติ ที่ย่อมต้องเป็นไปเช่นนี้เองเป็นธรรมดา เป็นอสังขตธรรมอันเที่ยงแท้และทนต่อกาล อยู่อย่างนี้เอง จึงนำมาเขียนเป็นกระบวนธรรม เพื่อให้พิจารณาได้ง่าย ได้ดังนี้ว่า

อายตนะ ภายนอก + อายตนะภายใน >> วิญญาณ

จึงมีวิญญาณทั้งสิ้น ๖ แบบ ตามอายตนะภายในทั้ง ๖ ที่เป็นแดนเกิดนั่นเอง จึงเรียกรวมกันว่า วิญญาณ ๖ , การเรียกชื่ออย่างเฉพาะเจาะจงลงไปโดยสมมตินั้น เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังพระดำรัสที่ตรัสแสดงไว้ในฉฉักกสูตร หรือในมหาตัณหาสังขยสูตร ความดังนี้ว่า

[๔๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย

วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

วิญญาณ อาศัยจักษุและรูปทั้งหลาย เกิดขึ้น(ชาติ) ก็ถึงความนับว่าจักษุวิญญาณ (ได้เกิดขึ้น กล่าวคือเกิดการรู้แจ้งในอารมณ์อันคือรูป หรือรับรู้ในรูป)

วิญญาณ อาศัยโสตและเสียงทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าโสตวิญญาณ (เกิดการรู้แจ้งในอารมณ์อันคือเสียง หรือรับรู้ในเสียง)

วิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่นทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าฆานวิญญาณ (เกิดการรู้แจ้งในกลิ่น หรือรับรู้ในกลิ่น)

วิญญาณ อาศัยชิวหาและรสทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่าชิวหาวิญญาณ (เกิดการรู้แจ้งในลิ้น หรือรับรู้ในลิ้น)

วิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ากายวิญญาณ (เกิดการรู้แจ้งในกาย หรือรับรู้ในกาย)

วิญญาณ อาศัยมนะและธรรมารมณ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ก็ถึงความนับว่ามโนวิญญาณ (เกิดการรู้แจ้งในธรรมารมณ์ หรือรับรู้ในธรรมารมณ์)

เปรียบเหมือนไฟ อาศัยเชื้อใดๆ ติดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยเชื้อนั้นๆ

ไฟอาศัยไม้ ติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟไม้

ไฟอาศัยป่าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟป่า

ไฟอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหญ้า

ไฟอาศัย โคมัยติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟโคมัย

ไฟอาศัยแกลบติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟแกลบ

ไฟอาศัยหยากเยื่อติดขึ้น ก็ถึงความนับว่า ไฟหยากเยื่อ ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล วิญญาณอาศัยปัจจัยใดๆ เกิดขึ้น ก็ถึงความนับด้วยปัจจัยนั้นๆ

(มหา ตัณหาสังขยสูตร)

ดังนั้นการโยนิโสมนสิการในขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทธรรม หรือในธรรมใดอย่างปรมัตถ์หรือโลกุตระแล้ว วิญญาณย่อมต้องหมายถึงความเป็นวิญญาณ ๖ ดังพระสูตรข้างต้น อย่าได้ไปตีความไปในลักษณะของเจตภูต หรือปฏิสนธิวิญญาณที่ลอยละล่องแสวงหาที่เกิด หรือภูตผีปีศาจ หรือสัมภเวสี หรือโอปปาติกะ ดังความเข้าใจโดยทั่วๆไปอย่างโลกิยะ อันย่อมจะไม่สามารถโยนิโสมนสิการจนเกิดธรรมสามัคคคีให้แจ่มแจ้งในธรรมนั้นๆ ได้เลย กล่าวคือ ในผู้ที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ วิญญาณนั้นๆเกิด(ชาติ)ขึ้นจากเหตุปัจจัยของ อายตนะภายนอก กระทบกับ อายตนะภายใน ใดๆ ก็ย่อมเกิดวิญญาณของอายตนะภายในนั้นๆขึ้นเป็นธรรมดาหรือตถตา กล่าวคือย่อมเกิดวิญญาณตามอายตนะภายในนั้นๆคือ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ หรือกล่าวได้ว่า จิตหนึ่งย่อมมีการเกิด(ชาติ)ขึ้นเป็นธรรมดา ในกิจนั้นๆ

เมื่อพิจารณาโดยแยบคาย ก็จะพบความจริงยิ่งไปอีกว่า วิญญาณจึงมีสภาวะผลัดกันเกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลา เป็นอนัตตาไม่มีตัวตนแท้จริง เหมือนดั่งเงา กล่าวคือเมื่อมีเหตุปัจจัยครบ ก็เกิดขึ้น จึงเกิด(ชาติ)วิญญาณขึ้นเมื่อมีการกระทบกันของอายตนะภายนอกและภายใน และเป็นวิญญาณที่เกิดขึ้นเฉพาะกิจนั้นๆ แล้วก็ดับไป จริงหรือไม่จริง? (บางทีก็จำแนกแตกธรรมว่า จิต คือวิญญาณขันธ์ นี้นี่เอง)

ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ ทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น กล่าวคือขันธ์ต่างๆอันเป็นคนละกอง คนละส่วนกันนั้น เมื่อจะสื่อสารติดต่อสัมพันธ์กันได้ แม้แต่การสื่อกับเหล่าอายตนะภายนอกคือ รูป รส กลิ่น ฯ. ก็ด้วยต้องอาศัยสื่อหรือตัวกลางเป็นสำคัญ ในขันธ์ ๕ หรือชีวิต สื่อหรือตัวกลางนั้นก็คือกอง วิญญาณ นี้นี่เอง เป็นสภาวธรรมของชีวิต กล่าวง่ายๆก็คือ มีชีวิตหรือขันธ์อยู่ได้ ก็เพราะกระบวนการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ นี้นี่เอง ที่ทำงานกันอย่างเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรม ซึ่งเมื่อขันธ์ใดแม้ขันธ์หนึ่งไม่ทำงานประสานสัมพันธ์เป็นเหตุปัจจัยกัน เมื่อใด ก็เป็นเวลาของการอาพาธเจ็บป่วย แม้จนถึงกาละหรือความตายได้นั่นเอง อันอุปมาได้ดั่งรถ ที่ย่อมประกอบด้วยขันธ์ที่แปลว่ากองหรือส่วนต่างๆ ดังเช่น ส่วนตัวถัง ส่วนเครื่องยนต์ ส่วนระบบขับเคลื่อน ส่วนระบบล้อ ส่วนระบบเบรค ส่วนระบบไฟฟ้า ฯ. ที่เมื่อยังไม่เป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งหรือประกอบกันขึ้น ก็ยังไม่เรียกว่ารถ แต่เมื่อนำมาประกอบกัน กล่าวคือ เมื่อเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นแล้วจึง เกิดหรือชาติ สิ่งที่เรียกกันโดยสมมติทางโลกว่า รถ แต่ถ้าสิ่งที่ปรุงแต่งกันเหล่านั้นไม่ทำงานประสานสอดคล้องเนื่องสัมพันธ์กัน อย่างดีงามเสียแล้ว รถ นั้นก็ย่อมไม่สามารถทำงาน คือย่อมแล่นไม่ได้ ที่เรียกกันโดยสมมติว่า รถเสีย รถดับ หรือรถตาย, ขันธ์ ๕ ก็เป็นไปเฉกเช่นนั้นเอง ถ้าขันธ์ทั้ง ๕ ไม่ทำงานประสานเนื่องสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องดีงามก็ย่อมเป็นเวลาของการ อาพาธเจ็บป่วย หรือตายนั่นเอง

ด้วยความสำคัญยิ่งดังนี้ของขันธ์ทั้ง ๕ ดังกล่าว พระองค์ท่านจึงตรัสไว้ว่าขันธ์ ๕ เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ตลอดจนเกี่ยวข้องพัวพันกับความรู้สึกสุขทุกข์โดยตรงอีกด้วย จึงแสดงกระบวนธรรมหรือกระบวนการทำงานของขันธ์ทั้ง ๕ โดยทั่วๆไปเป็นพื้นฐาน แสดงในลักษณะรูปแบบของกระบวนการเนื่องสัมพันธ์กันดังปฎิจจสมุปบาทธรรม หรือดังทางวิชาเคมีที่เล่าเรียนกันในทางโลก แล้วขอเรียกว่ากระบวนธรรม เหตุเพราะทำให้ง่ายต่อการพิจารณาไล่เรียงให้เห็นความจริงของขันธ์ทั้ง ๕ อย่างปรมัตถ์ เพื่อจักได้เกิดความแจ่มแจ้งในธรรมต่างๆในภายหน้า เพื่อใช้ไปในการวิปัสสนาเพื่อการดับทุกข์อย่างถูกต้อง (ชี้ที่เครื่องหมาย มีคำอธิบายประกอบปรากฏขึ้น)

อายตนะภายนอก + อายตนะภายใน >> วิญญาณ๖ >> ผัสสะ >> สัญญา >> เวทนา >> สัญญา สังขารขันธ์ เกิดเจตนากระทำทางกายสังขาร(ทางกาย),วจีสังขาร(ทางวาจา),มโนสังขาร(ทางใจ)

นี้ เป็นกระบวนธรรมของการทำงานประสานเนื่องสัมพันธ์กัน หรือเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันของขันธ์ทั้ง ๕ โดยทั่วไป จนเกิดสังขารขันธ์หรือการกระทำต่างๆขึ้นของชีวิต โดยสมมติแบบย่นย่อดังข้างต้น

ครานี้จะโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย โดยยกตัวอย่างการทำงานแบบเฉพาะเจาะจงของอายตนะหนึ่งๆลงไป ดังเช่น ตา(จักษุ,จักขุ) อันเป็นอายตนะภายในและย่อมเป็นส่วนหนึ่งของรูปขันธ์หรือกาย ที่จะไปทำหน้าที่ในการรับรู้ใน รูป ที่หมายถึงอายตนะภายนอก อย่างเป็นไปโดยลำดับขั้น พึงพิจารณาโดยแยบคายตามความเป็นเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นไปด้วย เพราะยังประโยชน์ยิ่งในภายหน้าทั้งต่อขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทธรรม แม้แต่สังขารทั้งปวงในพระไตรลักษณ์ ฯ.

อนึ่งพึงพิจารณาประกอบตามไปด้วยว่า โดยหลักใหญ่ใจความแล้วกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ ดังที่จะกล่าวต่อไปนั้น เป็นไปในลักษณะธรรมชาติของชีวิตแท้ๆ ที่หมายถึงเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิต จึงเที่ยงแท้และทนต่อทุกกาล เพราะความที่เป็นอสังขตธรรมนั่นเอง จึงหมายถึง การเกิดความเป็นเหตุปัจจัยกันโดยพื้นฐานดังนี้กับทุกๆคนหรือก็คือทุกๆขันธ์ หรือชีวิตนั่นเอง จึงเกิดขึ้นและเป็นไปกับทุกคนบุคคลเขาเราเป็นธรรมดาหรือตถตา จริงหรือไม่? ดังเช่นเมื่อ

ตา(อายตนะภายใน) เมื่อกระทบกับ รูป(อายตนะภายนอก) ย่อมต้องเกิดการรู้ใน รูป นั้นหรือเรียกกันว่า การรู้แจ้งในรูปนั้น หรือวิญญาณ เมื่อเป็นวิญญาณที่เกิดจากจักษุหรือตาเป็นปัจจัย จึงมีชื่อเรียกเฉพาะโดยสมมติตามที่ตกลงกันแล้วว่า จักษุวิญญาณ พิจารณาในอาการที่เกิดขึ้นนี้ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในผู้มีชีวิตอยู่ จะไม่ให้เกิด ไม่ให้เห็น ย่อมไม่ได้ จึงเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิตดังที่กล่าวข้างต้น กล่าวคือถ้าขันธ์หรือชีวิตยังดำรงอยู่ ย่อมต้องเกิดการเห็นในรูปนั้น อันเนื่องจากจักษุวิญญาณเป็นธรรมดา การไม่เห็นจะเกิดขึ้นได้เมื่อปิดตา(เช่นการสำรวม) ตาบอดหรืออายตนะนั้นๆไม่สมบูรณ์ หรือถึงกาละ(ตาย)แล้วเท่านั้นเอง ไม่เป็นอื่นไปได้ ที่เป็นดั่งนี้ได้ก็เพราะเนื่องมาจากเหตุปัจจัยไม่ครบองค์นั่นเอง

เมื่อนำมาเขียนแสดงสภาวธรรมหรือกระบวนธรรมที่เกิดขึ้นดังกล่าว ในแบบปฏิจจสมุปบันธรรมที่แสดงความเป็นเหตุปัจจัยที่เนื่องสัมพันธ์กันให้ เกิดสิ่งอื่นขึ้น แต่เนื่องจากแสดงการเกิดดับๆๆ..ของขันธ์ ๕ ธรรมดา จึงย่อมไม่เป็นวงจรเหมือนดังวงจรปฏิจจสมุปบาทที่พาให้วนเวียนหรือเวียนว่าย ตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏหรือกองทุกข์, ดังนั้นจึงแสดงในลักษณาการของสมการของกระบวนธรรม ก็ด้วยจุดประสงค์อย่างยิ่งเพื่อให้เห็นการดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างเป็น ระบบเหมือนดังที่แสดงเป็นวงจรในปฏิจจสมุปบาทธรรมนั่นเอง ที่แสดงถึงมีเหตุจึงเนื่องหรือเป็นปัจจัยให้เกิดผลขึ้น เพื่อความสะดวกในการพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงในสภาวธรรมของชีวิตหรือ ขันธ์ ๕ ขั้นพื้นฐานอย่างปรมัตถ์เป็นที่สุด

ดังนั้นจึงแสดงกระบวน ธรรมหรือสภาวธรรมที่เกิดขึ้นของ ตา กระทบกับ รูป ที่กล่าวข้างต้น มาแสดงเป็นลำดับตั้งแต่เบื้องต้น ดังนี้

ตา + รูป >> จักษุวิญญาณ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาของชีวิต

แล้วการประจวบกัน ครบของเหตุปัจจัยทั้ง ๓ อันมี อายตนะภายใน + อายตนะภายนอก >> วิญญาณ ข้างต้น พระองค์ท่านเรียกในภาษาธรรมว่าผัสสะ กล่าวคือ อาการที่เหตุทั้ง ๓ ข้างต้นมาเป็นปัจจัยกันนั่นเอง ดังนั้น

ตา + รูป >> จักษุวิญญาณ จึงเรียกว่าเกิดการผัสสะ หรือกล่าวได้ว่า เกิดการกระทบสัมผัสที่ครบองค์ให้กระบวนธรรมของชีวิตดำเนินต่อไป

จึง นำมาแสดงเขียนเป็นกระบวนธรรม ย่อลงไปอีกหน่อย ได้ดังต่อไปนี้

ตา + รูป >> จักษุวิญญาณ >>ผัสสะ >>

ส่วนในอายตนะอื่นๆ อีก ๕ ก็เป็นไปในลักษณะอาการเดียวกันทั้งสิ้น ดังนี้

หู + เสียง >>โสตวิญญาณ >>ผัสสะ >>

จมูก + กลิ่น >> ฆานวิญญาณ >>ผัสสะ >>

ลิ้น + รส >> ชิวหาวิญญาณ >> ผัสสะ >>

กาย + โผฏฐัพพะ >> กายวิญญาณ >> ผัสสะ >>

มโน(ใจ) + ธรรมารมณ์ >>มโนวิญญาณ >> ผัสสะ >>

กล่าวคือ เกิดกระบวนธรรมของการกระทบกัน(ผัสสะ)เยี่ยงนี้อยู่เกือบตลอดเวลาที่ดำรง ขันธ์หรือชีวิตอยู่ แล้วกระบวนธรรมหรือสภาวธรรมอันเป็นไปตามธรรมชาติ ก็ย่อมต้องดำเนินต่อเนื่องไปจนกว่าจะจบสิ้นกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ อุปมาดั่งลูกศร ที่ยิงออกจากแหล่งแล้ว จะไปค้างเติ่งอยู่กลางอากาศได้อย่างไร ย่อมต้องบรรลุถึงเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งจึงหยุดหรือจบสิ้นกระบวนความหนึ่งๆ ไปได้ กระบวนธรรมของจิตก็เป็นเฉกเช่นนั้นเอง จึงเกิดการดำเนินไปตามธรรมหรือธรรมชาติสืบเนื่องต่อไป กล่าวคือย่อมเกิดสัญญาหรือความจำได้ในรูปนั้นๆขึ้นมาเป็นธรรมดาของชีวิตอีก เช่นกัน ไม่ให้เกิดสัญญาการจำขึ้นมาในลักษณะควบคุมบังคับไม่ให้จำย่อมเป็นไปไม่ได้ กล่าวคือจึงจดจำได้ในรูปที่เห็นนั้นว่าเป็นอะไร! อย่างไร! เป็นอาทิ ดังเช่น ตา ไปกระทบกับ อาหาร (อาหารที่เห็นจัดเป็นอารมณ์ ณ ขณะนั้นของจิต จึงทำหน้าที่เป็นรูปในกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕) จึงย่อมรู้ว่าเป็นอาหารอะไร อร่อยหรือไม่อร่อย เป็นไปตามสัญญาตนที่สั่งสมไว้นั่นเอง

ตา + รูป(อาหาร) >> จักษุวิญญาณ >> ผัสสะ >> สัญญา(ย่อมจำได้ในอาหารนั้นว่าเป็นอาหาร พร้อมทั้งจำอะไรๆในอาหารนั้นได้ อร่อย ไม่อร่อย หวาน ขม อมเปรี้ยว ฯ.)

เมื่อมีความจำได้ในอาหารนั้น จึงย่อมเกิดเวทนาหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการไปรับรู้ในอารมณ์หรือรูป ที่เห็นนั้น เกิดขึ้นเป็นธรรมดา และก็เนื่องจากสัญญาความจำได้ในอาหารนั้น ที่เกิดขึ้นนี้นี่เอง จึงก่อให้เกิดความรู้สึกรับรู้หรือเสวยอารมณ์นั้นๆ(เวทนา)เป็นสุขเวทนา อันถูกใจ สบายใจ ด้วยจำได้ จึงเป็นสุขในอาหารที่ผัสสะนั้น หรืออาจเกิดทุกขเวทนาในอาหารที่เห็นนั้น เนื่องจากไม่ชอบ ไม่สบายใจ ด้วยจำได้ จึงเป็นทุกข์กับการผัสสะในอาหารนั้น หรืออาจเกิดอทุกขมสุขกับอาหารที่เห็นนั้น กล่าวคือเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์กับอาหารที่เห็นนั้น แต่จะไม่ให้เกิดไม่ให้มี ย่อมไม่ได้ เนื่องด้วยเป็นสภาวธรรมของชีวิตหรือธรรมชาติของชีวิตในการรับรู้สัมผัสต่อ สิ่งต่างๆ จึงเป็นอสังขตธรรมจึงยิ่งใหญ่และต้องเป็นไปเช่นนี้เอง

บางท่านอาจพิจารณาแล้วเข้าใจว่า บางครั้งเมื่อเกิดการผัสสะแล้ว อาจไม่เกิดเวทนาขึ้นก็ได้ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ตามความจริงอย่างปรมัตถ์แล้ว นั่นก็คืออทุกขมสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนานั่นเอง แต่เพราะแผ่วเบา จึงคิดไปด้วยอวิชชาว่าไม่มีหรือไม่เกิดเวทนาขึ้น, ดังนั้นทุกครั้งที่มีการกระทบผัสสะ ล้วนต้องเกิดเวทนาขึ้นทุกครั้งทุกทีไป กล่าวคือ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง หรือเฉยๆบ้าง อันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยอันสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือสัญญา, จึงนำมาเขียนเป็นกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ สืบต่อไปดังนี้ (ต้องการทราบรายละเอียดในเวทนา อันเป็นบาทฐานของเวทนานุปัสสนาเพิ่มเติม อ่านบท เวทนาในภายหลัง)

ตา + รูป(อาหาร) >> จักขุวิญญาณ >> ผัสสะ >> สัญญา(จำได้) >>เวทนา ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

ส่วนการผัสสะในอายตนะอื่นๆ ก็เป็นไปในลักษณะเฉกเช่นเดียวกันทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้เองในพระไตรปิฎกจึงมักกล่าวถึงอายตนะทั้ง ๖ พร้อมกัน, ทั้งกล่าวเหมือนๆกัน, อยู่เนืองๆ, เป็นอเนก ก็เพราะเน้นแสดงการเกิดกระบวนธรรมที่เกิดขึ้นและเป็นไปในลักษณะอาการเดียว กันของ"อายตนะทั้ง ๖" นั่นเอง จึงเป็นไปดังนี้

หู + เสียง โสตวิญญาณ>> ผัสสะ >>สัญญา(จำได้) เวทนา จึงย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเหมือนกัน

จมูก + กลิ่น >> ฆานวิญญาณ >>ผัสสะ >>สัญญา(จำได้) >>เวทนา จึงย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเหมือนกัน

ลิ้น + รส >>ชิวหาวิญญาณ >>ผัสสะ >>สัญญา(จำได้) >> เวทนา จึงย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเหมือนกัน

กาย + โผฏฐัพพะ >>กายวิญญาณ >>ผัสสะ >>สัญญา(จำได้) เวทนา จึงย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเหมือนกัน

พึงพิจารณาในกระบวนธรรมที่ อาศัยอายตนะทั้ง ๕ โดยแยบคาย(โยนิโสมนสิการ) ให้จนเห็นความจริงยิ่งว่า เป็นไปดังนั้นจริงๆหรือไม่? เป็นอื่นไปได้ไหม?

การพิจารณามาถึงตรง นี้แล้ว ขอให้พิจารณาโดยละเอียดและแยบคายหรือนำไปพิจารณาในขณะเจริญวิปัสสนาโดยการ โยนิโสมนสิการ จนมั่นคงด้วยว่า กระบวนธรรมดังกล่าวข้างต้นนั้น ล้วนต้องเกิดขึ้นเช่นนี้เป็นธรรมดา จริงหรือไม่? กับทุกชีวิตหรือไม่? กล่าวคือ ถ้าเมื่อใดที่มีเหตุปัจจัยครบดังนี้ หมายถึง เมื่อเหตุปัจจัยยังไม่ครบก็ยังไม่เกิดการปรุงแต่งจนเป็นสังขารอันไม่เที่ยง ขึ้นแต่อย่างใด แต่เมื่อใดก็ตามที่ปรุงแต่งกันแล้วคือมีเหตุเป็นปัจจัยกันครบบริบูรณ์ดังนี้ แล้ว ย่อมต้องเกิดปรากฏการณ์ขึ้นดังข้างต้น มีความเที่ยงเป็นอย่างนี้เป็นธรรมดา คงทนต่อทุกกาล(อกาลิโก)ใช่ไหม เพราะเป็นอสังขตธรรม กล่าวคือเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติ หรือความเป็นธรรมชาติของชีวิตอย่างหนึ่งนั่นเอง? จึงย่อมต้องเป็นเช่นนี้เองเป็นธรรมดาหรือตถตา

โดยอาจลองเริ่มพิจารณา จากกายก็ได้ เช่น กาย + โผฏฐัพพะ กล่าวคือ ลองตีแขนแรงๆ จะเกิดทุกขเวทนาทุกครั้งทุกทีไป (ถ้าตีเบา ก็อาจเป็นอทุกขมสุขเวทนา) เป็นเช่นนี้จริงหรือเท็จประการใด? จะห้ามไม่ให้เกิดธรรมชาติของการเกิดความรู้สึก ที่ย่อมเกิดขึ้นจากการรับรู้หรือก็คือเวทนาไปตลอดกาลนานได้หรือไม่เมื่อเกิด การผัสสะกันขึ้นดังกล่าว? พิจารณาโดยแยบคายย่อมเห็นความจริง ยอมรับความจริง แล้วนำไปประกอบการพิจารณาในอายตนะอื่นๆ แล้วจะทราบความจริงบางประการอื่นๆแจ่มแจ้งขึ้นเป็นลำดับ

(สภาวะที่ กล่าวเรื่อง อสังขตธรรม ท่านอ่านแล้วอาจสับสนบ้างเป็นธรรมดา เพราะเป็นธรรมอันลึกซึ้งที่เกี่ยวข้องกับพระอนัตตา สามารถศึกษาโดยละเอียดได้ในบทพระไตรลักษณ์ และอนัตตา)

แล้วพึงนำความ รู้ความเข้าใจที่ควรพึงบังเกิดขึ้นนั้น มาพิจารณาในอายตนะที่ ๖ คือ ใจ เมื่อกระทบกับ ธรรมารมณ์ เช่นความนึกคิด

มโน(ใจ) + ธรรมารมณ์ >>มโนวิญญาณ>> ผัสสะ >>สัญญา(จำได้) >>เวทนา

ดัง นั้น เมื่อมีความคิดนึกหรือธรรมมารมณ์ขึ้น ย่อมต้องกระทบกับใจ จึงย่อมต้องเกิดเวทนาต่างๆขึ้นเป็นธรรมดาและย่อมเป็นไปตามธรรมคือสัญญา คือเกิดสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง หรืออทุกขมสุขเวทนาบ้าง ตามสัญญาตน ดังนั้นจะไม่ให้เกิดทุกขเวทนาดังกล่าว เป็นไปได้ไหมหนอ?

ดังนั้นถ้ามัวเมาคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านอยู่ ย่อมเกิดการผัสสะทุกครั้งที่คิดปรุง

จึงยังให้เกิดทุกขเวทนาหลาก หลายขึ้น เป็นธรรมดา

และเมื่อเวทนาต่างๆเหล่าใดเหล่านั้นที่เกิดจาก การมัวเมาปรุงแต่งอันใดอันหนึ่ง เป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ตัณหา อุปาทาน

ทุกขเวทนา ธรรมดา อันเป็นธรรม หรือธรรมชาติของชีวิตหรือของโลก

จึงย่อมกลับกลาย เป็นเวทนูปาทานขันธ์ คือเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน อันแสนเร่าร้อนเผาลนวนเวียนยาวนานแท้จริง

ควรพิจารณาดังนี้อยู่เสมอๆ ด้วยความเพียร โดยอเนก โดยแยบคาย จนกระทั่งบังเกิดความรู้ความเข้าใจคือเกิดธรรมสามัคคีใดๆขึ้นอย่างแจ่มแจ้ง อันท่านจักพึงรู้ได้ด้วยตนเอง ดังเช่นว่า อ๋อ..มันเป็นเช่นนี้เอง อันทำให้ทั้งปัญญาหูตาสว่างไสวอันเป็นปัจจัตตัง

เวทนานี้นี่เอง ที่เกิดขึ้นแล้วทำให้รู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆที่เกิดขึ้น กล่าวคือ ที่ว่ากันว่า มีความสุขเสียเหลือเกิน ก็คือ สุขเวทนานี้นี่เองที่ประกอบด้วยอุปาทาน ที่ว่ามีทุกข์แสนสาหัสก็คือ ทุกขเวทนานี้นี่เองที่ประกอบด้วยอุปาทาน และที่ว่าเฉยๆก็หมายถึง อทุกขมสุขเวทนานี่เอง

เมื่อเกิดเวทนาหรือความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นจากการผัสสะ เช่น ตาไปกระทบอารมณ์หรือก็คือรูปนั้นแล้ว ย่อมเกิดกระบวนธรรมหรือธรรมชาติที่ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องดำเนินต่อไป กล่าวคือ ย่อมเกิดสัญญาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง สัญญาในครั้งนี้ที่เกิดขึ้น เป็นไปในลักษณาการของการหมายรู้ หมายเข้าใจ หรือการกำหนดหมายใดๆในรูปนั้นขึ้นเป็นธรรมดา

ตา + รูป(อาหาร) >> จักขุวิญญาณ >>ผัสสะ >>สัญญา(จำได้) >> เวทนา >> สัญญา(หมายรู้หมายเข้าใจ หรือกำหนดหมาย เช่น หมายสรุปว่า รสชาดน่าอร่อย น่ารับประทาน)

เมื่อเกิดการกำหนดหมายขึ้นแล้ว กระบวนธรรมย่อมดำเนินต่อไป กล่าวคือ จนเกิดผลอันคือสังขารขันธ์ขึ้น เป็นการกระทำทางกาย วาจา หรือใจ

ตา + รูป(อาหาร) >>จักขุวิญญาณ >>ผัสสะ >>สัญญา(จำได้) >> เวทนา >> สัญญา(หมายรู้) สังขารขันธ์ ทางกายเรียกว่ากายสังขาร ทางวาจาเรียกว่าวจีสังขาร ทางใจเรียกว่ามโนสังขาร(จิตสังขาร,จิตตสังขาร)

ดัง ตัวอย่างนี้ จึงเกิดจิตสังขารหรือมโนสังขารด้วยการงึมงัมอยู่ในใจขึ้นว่า น่าอร่อยจัง...น่ากินจัง..ฯลฯ. หรืออาจร่วมด้วยวจีสังขารอีกด้วยก็ยังได้ แสดงโดยการเปล่งวาจาออกมาว่า "น่ากินจังนะ ขอกินเลยนะ" พร้อมๆกันนั้นก็อาจลงมือทานอาหารนั้นๆ(กายสังขาร) กล่าวคือ จึงเกิดสังขารขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแม้ทั้ง ๓ ขึ้น

สังขาร ขันธ์หรือสิ่งปรุงแต่งทางใจให้เกิดการกระทำต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ จึงเป็นผลหรือผลลัพธ์ของกระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นเหตุปัจจัยกัน และในฝ่ายสังขารขันธ์ ที่แยกออกเป็น ๓ คือ ทางกาย วาจา ใจ นั้นเป็นไปตามสัญเจตนาหรือเจตนาอันเป็นความคิดอ่านที่จะกระทำนั่นเอง กล่าวคือ ถ้าแรงเข้มเด่นชัดก็อาจแสดงออกมาทางกายหรือวาจา หรืออาจเกิดเพียงความคิด อันเนื่องสัมพันธ์กับสัญญาหมายรู้,หมายกำหนดที่เกิดขึ้น ตลอดจนเจตนานั่นเอง จึงแสดงเป็นกระบวนธรรมของสังขารขันธ์เองได้ดังนี้

กายสังขาร = กายสัญเจตนา >> กายทวาร >> กายกรรม

สภาพปรุงแต่งการกระทําทางกาย = ความคิดอ่านที่จงใจแสดงออกทางกาย >> ทางกาย >> การกระทําทางกาย




วจีสังขาร = วจีสัญเจตนา >> วจีทวาร >> วจีกรรม

สภาพปรุงแต่งการกระทําทางวาจา = ความคิดอ่านที่จงใจแสดงออกทางวาจา >> ทางวาจา >> การกระทําทางวาจา




มโนสังขาร,จิตสังขาร = มโนสัญเจตนา >> มโนทวาร >> มโนกรรม

สภาพปรุงแต่งการกระทําทางใจ = ความคิดอ่านที่จงใจแสดงออกทางใจ(คิด) >> ทางใจ >> การกระทําทางใจ


กล่าวคือ เกิดสัญเจตนาหรือเจตนาที่แต่งการกระทำ(กรรม)ขึ้น (ในการจำแนกแตกธรรม บางครั้งผู้เขียนใช้คำว่า มโนสังขารหรือจิตแทนคำว่าสัญเจตนาเลยก็มี) เพราะเจตนาหรือสัญเจตนาก็เป็นส่วนหนึ่งของสังขารขันธ์ เป็นความคิดอ่านของจิตที่เจตนาจะกระทำในทางกาย วาจา ใจ

ตา + รูป(อาหาร) >> จักขุวิญญาณ >>ผัสสะ >>สัญญา(จำได้) >>เวทนา >>สัญญา(หมายรู้) >>สัญเจตนา >>การกระทำทางกาย วาจา ใจ

แต่บางครั้งต้องการแสดงเน้นให้เห็น มโน หรือใจที่เป็นตัวกลางหรือจิตกลางให้เกิดการกระทำต่างๆขึ้น จึงเขียนแสดงดังต่อไปนี้ก็มี

ตา + รูป(อาหาร) >>จักขุวิญญาณ >>ผัสสะ >>สัญญา(จำได้) >>เวทนา >>สัญญา(หมายรู้) >>มโนสังขาร(สั่งการ) >>สังขารขันธ์ทางกาย วาจา ใจ

แต่โดยทั่วไปผู้เขียน เขียนกระบวนธรรมของขันธ์ ๕ โดยย่อ เป็นดังนี้

ตา + รูป(อาหาร) >>จักขุวิญญาณ >>ผัสสะ >>สัญญา(จำ) >>เวทนา >>สัญญา(หมายรู้) >>สังขารขันธ์ [สัญเจตนา --> กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม]

บางครั้งก็แสดงสัญญาเพียงครั้งเดียว โดยผู้อ่านต้องหมายรู้อยู่ในทีว่า ย่อมมีสัญญา(จำ) ดังข้างต้นแฝงอยู่โดยธรรม ก็เพื่อย่อย่นแสดงเพียง ๕ ขันธ์ล้วนๆถ้วนๆได้ดังนี้

ตา + รูป(อาหาร) >> จักขุวิญญาณ >>ผัสสะ >>เวทนา >>สัญญา >> สังขารขันธ์

จึง พึงเข้าใจว่า ล้วนมาจากกระบวนธรรมตามรายละเอียดข้างต้นทั้งสิ้น ที่แตกต่างกันบ้าง เกิดจากต้องการจำแนกแตกธรรมให้เห็นรายละเอียดในเรื่องหรือธรรมที่กล่าวเฉพาะ นั้นๆให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้นเอง มิได้มีความผิดพลาดในการสื่อแต่อย่างใด

นอก จาก ตา ที่กระทบ รูป แล้ว ในอายตนะอื่นๆที่เหลือ ล้วนเกิดขึ้นและเป็นไปในลักษณาการเดียวกัน แม้แต่ใจ กระบวนธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นไปเหมือนกันดังนี้

หู + เสียง >> โสตวิญญาณ >>ผัสสะ >>เวทนา >>สัญญา >> สังขารขันธ์ [คือ สัญเจตนา กรรม]

จมูก + กลิ่น >> ฆานะวิญญาณ >>ผัสสะ >>เวทนา >>สัญญา >>สังขารขันธ์

ลิ้น + รส >> ชิวหาวิญญาณ >>ผัสสะ >>เวทนา >> สัญญา >>สังขารขันธ์

กาย + โผฏฐัพพะ >> กายวิญญาณ >>ผัสสะ >>เวทนา >> สัญญา >> สังขารขันธ์

ใจ + ธรรมารมณ์ >> มโนวิญญาณ >>ผัสสะ >>เวทนา >> สัญญา >> สังขารขันธ์

หรืออาจแสดงโดยละเอียดขึ้นอีกได้ดังนี้ กล่าวคือแสดงรายละเอียดของเวทนาที่เกิดได้ทั้งต่อกายและใจ, และสังขารขันธ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งทางกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม


ใจ + ธรรมารมณ์ >> มโนวิญญาณ >>ผัสสะ >>สัญญาจํา >> เวทนาทางกาย/ทางใจ >> สัญญาหมายรู้ >> สัญเจตนา >> กรรม ทางกาย/วาจา/ใจ


และถ้าโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย ย่อมเห็นได้ว่า อายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ต่างล้วนดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปในลักษณาการเดียวกัน จึงเป็นไปโดยสรุปได้ดังนี้

อายตนะภายนอก + อายตนะภายใน >> วิญญาณ๖ >>ผัสสะ >>เวทนาต่อกายและใจ >>สัญญา >> สังขารขันธ์ กายสังขาร,วจีสังขาร,มโนสังขาร

ในการปฏิบัติจึงต้องมีศีลคือข้อประพฤติปฏิบัติ เพื่อการสำรวม สังวร ในอายตนะภายในหรือทวารทั้ง ๖ เพราะต่างล้วนยังให้เกิดทั้งเวทนา และสัญเจตนาหรือเจตนาปรุงแต่งทางใจ ที่ยังให้เกิดการกระทำต่างๆขึ้น เช่น จิตสังขารประเภทคิดปรุงแต่ง จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการปรุงแต่งจนเป็นอุปาทานทุกข์ขึ้นในที่สุด อันเป็นไปตามสภาวธรรมตามวงจรปฏิจจสมุปบาท

เมื่อพิจารณาโดยแยบคายจะเห็นได้ว่า ตลอดเวลาที่ดำรงขันธ์ ๕ หรือชีวิตอยู่นั้น ขันธ์ทั้ง ๕ ต่างต้องทำงานเป็นเหตุปัจจัยเนื่องสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลา เป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตยิ่ง ขาดขันธ์ใดขันธ์หนึ่งไปก็เหมือนดั่งท่อนไม้หรือตายไป นอกจากนั้นแล้วความสุขความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น ก็ล้วนเกี่ยวข้องพัวพันกับขันธ์ ๕ นี้อยู่ตลอดเวลา กล่าวคือถ้ามีกิเลสตัณหามาพัวพันในขันธ์ทั้ง๕ แล้ว ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นอีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่ทุกขเวทนาธรรมดาที่แค่เป็น ทุกข์ตามธรรมชาติอีกต่อไป แต่เป็นทุกขเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนกว่าทุกขเวทนาตาม ธรรมชาติ ที่เรียกความทุกข์ชนิดนี้ว่า ทุกข์อุปาทาน หรือเป็นการดำเนินไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม คือการเกิดขึ้นแห่งทุกข์นั่นเอง

เมื่อเข้าใจในขันธ์ ๕ แจ่มแจ้ง เข้าใจความเป็นเหตุปัจจัย ตลอดจนความเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติที่ตถตา อันย่อมเป็นเช่นนั้นเอง ย่อมยังประโยชน์ยิ่งในการโยนิโสมนสิการในปฏิจจสมุปบาทธรรม เพราะความจริงแล้วปฏิจจสมุปบาทก็คือกระบวนธรรมโดยละเอียดของขันธ์ ๕ ที่แสดงการดำเนินเกิดขึ้นของทุกข์เป็นลำดับพร้อมทั้งแสดงการเวียนว่ายตาย เกิดในสังสารวัฏ ในลักษณะความเป็นเหตุปัจจัยกันดังขันธ์ ๕ ที่แสดงนี้ เพียงแต่ว่า การลำดับองค์ธรรมอาจมีสลับที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ก็เพียงเพราะความเหมาะสมในการขยายความหรือจำแนกแตกธรรมนั้นๆ นั่นเอง แต่กฏของธรรมหรือสภาวธรรมชาติแล้วก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน จึงเหมือนกันทุกประการ ดังเช่นในขันธ์ ๕ นี้มีกล่าวไว้ถึงสภาวธรรมที่ว่า การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ อันมี อายตนะภายนอก อายตนะภายใน วิญญาณ จึงเกิดการผัสสะ ในปฏิจจสมุปบาทธรรมก็เป็นเช่นเดียวกัน ยังดำรงกฏของธรรมชาติดังเดิมเพราะย่อมจริงแท้อยู่อย่างนั้น กล่าวคือ เมื่อมีเหตุครบคือ องค์ธรรมสังขาร(ทำหน้าที่เป็นอายตนะภายนอกนั่นเอง) กับสฬายตนะ(ก็คืออายตนะภายใน) และวิญญาณที่ย่อมเกิดขึ้นเมื่อองค์ธรรมสังขารเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเหมือนดังใน กรณีขันธ์ ๕ ดังนั้นก็ย่อมครบองค์ของการเป็นเหตุปัจจัยของการผัสสะเช่นกัน เพียงแต่การเรียงลำดับจัดแสดงย่อมแตกต่างกันไปตามความสลับซับซ้อนของธรรม หรือเพราะการจำแนกแตกธรรมบ้างเท่านั้นเอง แต่เมื่อพิจารณาโดยแยบคายด้วยความเพียรแล้วก็จะทำความเข้าใจได้เป็นที่สุด ว่าเป็นด้วยเหตุปัจจัยหรือเหตุผลเดียวกันจริงๆนั่นเอง, ส่วนสัญญาในขันธ์ ๕ นั้น เมื่อไปอยู่ในปฏิจจสมุปบาทก็อยู่ในรูปของอาสวะกิเลส อันคือสัญญาอย่างหนึ่งเพียงแต่นอนเนื่องเกลือกกลั้วด้วยกิเลสนั่นเอง, ดังนั้นเมื่อทำความเข้าใจในขันธ์ ๕ แจ่มแจ้งดีแล้ว จึงยังประโยชน์ยิ่งในการเจริญวิปัสสนา ในการโยนิโสมนสิการปฏิจจสมุปบาทธรรม หรือแม้แต่พระไตรลักษณ์เพราะการเห็นความเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันเกิดขึ้นได้ ชัดแจ้ง ตลอดจนสักกายทิฏฐิ ฯลฯ.

ขันธ์ ๕ ตามที่กล่าวมานี้ จึงเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิต หมายความว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของชีวิตโดยธรรมชาติ จึงย่อมเกิดขึ้นและเป็นไปกับผู้มีขันธ์ ๕ ทุกผู้คน ทั้งในปุถุชนและในพระอริยเจ้า เป็นขันธ์ที่ใช้ในการดำรงคงอยู่และดำเนินไปในชีวิต แต่ความแตกต่างกันระหว่างปุถุชนและพระอริยะก็คือ ขันธ์ ๕ ในปุถุชนดังที่กล่าวมานี้มักถูกครอบงำด้วยอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นด้วย กิเลสให้เป็นไปตามความพึงพอใจของตัวตน จึงยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ หรือขันธ์ทั้ง ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน จึงหมายถึง ขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดขึ้นและดำเนินเป็นไปดังข้างต้นแต่ล้วนแอบแฝงด้วยกิเลสที่ต้องการให้ เป็นไปตามความพึงพอใจของตัวตนเป็นสำคัญ เมื่อไม่สมหวังก็ยังให้เกิดความทุกข์ที่เรียกว่า ทุกข์อุปาทาน ที่แสนเร่าร้อนเผาลน อันเป็นการดำเนินไปตามวงจรของปฏิจจสมุปบาทธรรม กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เมื่อสมหวังก็เป็นสุขแต่ย่อมเก็บจำเป็นอาสวะกิเลสโดยธรรมหรือธรรมชาติจึง ย่อมก่อทุกข์อุปาทานในภายหน้าโดยอาการโหยหาอยากอีก จึงหนีไม่พ้นในที่สุด, ส่วนในพระอริยะนั้น ท่านเพียงดำรงอยู่ในขันธ์ ๕ ตามธรรมหรือธรรมชาติ มีก็เพียงแต่สุขเวทนาหรือทุกขเวทนาอันเป็นไปตามธรรมชาติเท่านั้น ที่แม้เป็นทุกขเวทนาหรือเป็นทุกข์แต่ก็ไม่ประกอบด้วยความเร่าร้อนเผาลน ส่วนสุขนั้นก็ไม่ติดเพลิน สุขทุกข์ที่ยังพึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดาตามธรรมหรือธรรมชาติเท่านั้น ดังกระบวนธรรมขันธ์ ๕ ที่ได้กล่าวแสดงไปแล้วเป็นอเนกนั้น แต่ไม่ประกอบด้วยตัณหาแลอุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนเลยดังที่ดำเนินไปในปฏิ จจสมุปบาทธรรมฝ่ายสมุทยวารหรือฝ่ายเกิดทุกข์เลย

.....................................................
ธรรมดาๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ไข่น้อย เขียน:
ตอบคุณหลงประเด็น

ๆลๆ

เก่งมากก็บังคับให้ตัวเองมีสติตลอดเวลาซีครับ
จะได้เป็นอรหันต์ เหอะๆ เอวัง




การเพียร(พยายาม)เจริญสติ นั้น ระดับ เราท่าน ก็เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ที่จะมีสติ(ระลึกได้)บ้าง ขาดสติ(หลงลืมไป)บ้าง

การ พยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญสติ นั้น....เป้าหมาย นั้น ถ้าจะสมบูรณ์จริงๆ ก็คือ พระอรหันต์ คือ สติสัมปันโน ...นั้นล่ะ อัตโนมัติแบบแท้จริง



อนึ่ง ถ้าตนเองไม่ใช่ ผู้ที่บารมียิ่ง สามารถตรัสรู้อย่างฉับพลัน แล้ว.... แต่ ไม่รู้จักประมาณตนเอง หลงเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นประเภทขิปปาภิญญา กลับมุ่งจะเอาสติอัตโนมัติแบบฉับพลัน โดยไปตั้งเป้าเอาไว้ว่า อย่าจงใจน่ะ อย่าตั้งใจน่ะ อย่าพยายามน่ะ ที่ผมใช้คำว่า ตั้งหน้าตั้งตา ที่จะไม่ตั้งใจ.... ให้เป็นสติอัตโนมัติเองเลยตั้งแต่ขั้นต้น

อาจจะเข้าลักษณะ ชิงสุกก่อนห่าม เสียด้วยซ้ำ....



ตนเอง ชิงสุกก่อนห่าม แต่ผู้เดียว ยังไม่พอ...ยัง เอาความเข้าใจผิดของตนเองไปตั้งเกณฑ์ตัดสิน ผู้ที่เขา ยังคงต้องอาศัย การพยายาม/จงใจ/ตั้งใจเจริญสติอยู่ ว่า ผิด!!!



ลองถ้าใคร มีความเชื่อตามทิฏฐิที่ว่า การพยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญสติ เป็นสภาวะผิดพลาด เข้าแล้ว.... คือ มีเกณฑ์ตัดสินที่ปักแน่นอยู่ในใจของตนเองแล้ว.... เวลา ไปเสวนากับผู้อื่น หรือ ไปยังสำนักของครูบาอาจารย์ ท่านอื่นๆ ที่เขาไม่เห็นว่า การพยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญสติ เป็นสภาวะผิดพลาด(แต่ เห็นว่าเป็นพื้นฐานสำคัญที่จำเป็น)

ก็ มักจะปรากฏให้เห็นว่า ท่านที่สมาทานขิปปาภิญญาโมเดล เหล่านั้น มักจะชี้นำ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ว่า วิธีการที่ยังคงต้องอาศัยการพยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เหล่านั้น ผิด!!!

เป็น ลักษณะ หลงสำคัญตนว่า รู้รอบ รู้มาก กว่าท่านอื่นๆ...



และ นี่คือ ปัญหาหลัก ปัญหาหนึ่ง ที่พบเห็นได้ บ่อยๆ ในยุคปัจจุบัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โหย นับถือ นับถือ ท่านไข่น้อย

คุณชายละเอียด :b17: :b17:

ตั้งแต่เกิดมาก็มีท่านนี่ล่ะ ที่กระแทกการเจริญสติได้โดนนนนนน หนอนน้อยในขม๋อง

ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ จริง ๆ

เอกอนขอพิมพ์ออกไปทบทวนว่า ตนเองนั้นยังหละหลวม ไม่เท่าทันในวงรอบใด....

smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนคุณตรงประเด็น

ผมมีตัวอย่างให้ชวนคิดนิดนึงครับ

เวลารู้ลมหายใจ เช่นทำอาณาปานสติ
ปรากฏว่าเราอดไม่ได้ ที่จะไปบงการลมหายใจนั้น
ทำให้มันหนัก มันแข็ง และไม่เป้นธรรมชาติ

เราหายใจมาทั้งวัน เราไม่เคยเหนื่อยเลย
แต่พอทำอาณาปานสติเท่านั้นแหละ รู้สึกได้เลยว่าการหายใจมันเหนื่อย

คำถาม
คือ การที่ "เรา" อดไม่ได้ที่ไปบงการลมหายใจ
เป็นสภาพที่คุณตรงประเด็นจะเรียกว่า "จงใจ" หรือ "ไม่จงใจ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 19:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 02:18
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบคุณหมอหลงประเด็น

ทำเหตุครับ ไม่ใช่ทำผล

ไปศึกษาปฏิจจสมุปบาทครับ

แล้วไปดูว่าเหตุใดเจริญได้ เหตุใดเจริญไม่ได้

เรียนหมอก็น่าจะรู้นะครับ ว่าอ่านหนังสือยังไงให้จำได้ เหอะๆ

บังคับให้จำหรือไม่จำได้หรือปล่าวครับ เอวัง

.....................................................
ธรรมดาๆ


แก้ไขล่าสุดโดย ไข่น้อย เมื่อ 20 ก.ค. 2010, 19:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 02:18
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้อ ลืมไป

คุณเข้าใจความหมายคำว่าสติแบบรู้เฉยๆกับสติแบบจงใจรู้ว่ายังไง

นิยามมา จะได้คุยกันรู้เรื่อง

หือ?

.....................................................
ธรรมดาๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 02:18
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านเยอะๆ ได้หลายมุมมอง
อย่าเพิ่งเล่นคำ จับผิด เหอะๆ
.......................................

ความหมายของ สติปัฏฐาน
บทนำ
ท่านอาจารย์อู บัณฑิตา มักจะกล่าวถึงความหมายของสติปัฏฐานอยู่เสมอ โดยอาศัยหลักนิรุกติศาสตร์ (การศึกษาว่าด้วยกำเนิดและความหมายของคำ) ในการอธิบายวิธีที่ถูกต้องในการกำหนด และเฝ้าดูอารมณ์ทางกายและทางจิตที่เกิดขึ้นในระหว่าง การเจริญกรรมฐาน
การขยายความของคำว่า สติปัฏฐาน โดย ละเอียด พิสดาร และสามารถนำมาปฏิบัติได้จริงนี้ นับเป็นคุณูปการของท่านอาจารย์อย่างแท้ จริง เป็นสูตรสำเร็จสำหรับการปฏิบัติธรรมให้ได้ผล และหากนำมาปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดแล้ว ก็จะมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมอย่างรวดเร็ว
ประโยชน์ ๗ ประการของการเจริญสติ
การเจริญสติปัฏฐานเป็นการ ปฏิบัติ เพื่อความบริสุทธิ์ หมดจดของจิต เพื่อระงับความเศร้าโศก พิไรรำพัน เพื่อดับทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจลงอย่างสิ้นเชิง เพื่อดำเนินเข้าสู่อริยมรรค และเพื่อรู้แจ้งพระนิพพาน
ความหมายของคำว่า สติปัฏฐาน
สติปัฏฐาน เป็นคำภาษาบาลีที่มัก จะแปลกันโดยทั่วไปว่าฐาน (ที่ตั้ง) ของสติทั้ง ๔ ฐาน อย่างไรก็ตามเราอาจทำความเข้าใจความหมายที่สมบูรณ์ของคำว่า สติปัฏฐาน ได้ โดยการแยกคำสมาสนี้ออกเป็นส่วน ๆ แล้วพิจารณาองค์ประกอบของคำสมาสนี้ทีละคำ และพิจารณาความหมายโดยรวมอีกครั้ง

สติ + ปฏฺฐาน

หรือ

สติ + ป + (ฏ) ฐาน
คำว่า สติ มีรากศัพท์มาจากคำว่า สํสรติ ซึ่งแปลว่า การจำ แต่เมื่อกล่าวโดยนัยของสติเจตสติ สติ จะหมายถึงการระลึกได้ในอารมณ์ การจดจ่ออยู่กับปัจจุบันขณะ การระลึกรู้ความตื่นตัวทั่วพร้อม และความใส่ใจไม่ประมาท มากกว่า การจดจำเรื่องในอดีต
ปฏฺฐาน หมายถึง การสร้างขึ้น การนำมาใช้ การทำให้ปรากฏขึ้นและตั้งอยู่อย่างแนบแน่นและมั่นคง
เมื่อนำคำทั้งสองมารวมเข้าด้วยกัน คำว่า สติปัฏฐาน จึงหมายถึง “ การ ทำให้สติเกิดขึ้นและดำรงอยู่อย่างแน่นแฟ้น มั่นคง และแนบสนิทกับอารมณ์ที่กำลังกำหนดรู้อยู่ ” การ ระลึกรู้เช่นนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุปฺปติฏฺฐิต สติ หรือ สติ ที่ตั้งมั่นด้วยดี
ฐานทั้งสี่ของสติ
การดำรงสติไว้ที่ฐานทั้งสี่มีสาระสำคัญ เหมือนกันเพียงประการเดียวก็คือ การน้อมจิตมาระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างมีสติ ฐานทั้งสี่นี้จำแนกออกตามอารมณ์หรือสิ่งที่จิตไปกำหนดรู้ ๔ อย่าง คือ ๑. ร่างกาย (กาย) ๒. ความรู้สึก (เวทนา) ๓. สภาวะการระลึกรู้ของจิต (จิต) และ ๔. อารมณ์ที่จิตเข้าไประลึกรู้ (ธรรม) ประการหลังนี้หมายรวมถึงสภาพธรรมต่าง ๆ เช่น นิวรณ์ทั้งห้า ขันธ์ห้า อายตนะภายในทั้งหก อายตนะภายนอกทั้งหก โพชฌงค์เจ็ด และอริยสัจสี่ด้วย
สติ
คำว่า “mindfulness” (ความรู้ตัวทั่วพร้อม) ได้กลายมาเป็นคำแปลภาษาอังกฤษของ “ สติ ” ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป อย่างไรก็ตามคำแปลนี้ยังไม่สมบูรณ์ทีเดียว ความจริง “ พลังในการเฝ้าสังเกต ” (observing power) น่าจะเป็นคำแปลที่เพียงพอและเหมาะสมกว่า ความ หมายที่ครบถ้วนสมบูรณ์ของคำๆ นี้อาจอธิบายได้ด้วยการพิจารณาลักษณาการต่าง ๆ ของสติ เช่น ลักษณะ หน้าที่ ผล เหตุใกล้ และคุณสมบัติที่สำคัญอื่น ๆ ของสติ

ความไม่ผิวเผินฉาบฉวย
ลักษณะของสติ คือ ความไม่ซัด ส่ายไปมา หรือการระลึกได้ในอารมณ์อยู่เนือง ๆ กล่าวคือ ไม่ ล่องลอยไปจากอารมณ์กรรมฐาน (อปิลาปนลกฺขณา) พระอรรถกถา จารย์ได้กล่าวเปรียบเทียบว่าเหมือนกับลูกฟักทองที่คว้านเอาไส้ในออกจนกลวง ตากแห้งแล้วโยนลงไปในน้ำ ลูกฟักทองแห้งย่อมลอยขึ้นลงอยู่บนผิวน้ำนั้น ในทำนองเดียวกัน จิตที่เฝ้าสังเกตและกำหนดรู้อารมณ์ก็ไม่ควรที่ จะรับรู้อารมณ์อย่างผ่านเลย ฉาบฉวย ตรงกันข้าม จิตควรที่จะดิ่งหรือจมลึกลงไปในอารมณ์ที่กำหนดรู้ นั้น เช่นเดียวกับการขว้างก้อนหินลงไปในน้ำ ก้อนหินนั้นก็จะจมหรือดิ่งลงไปสู่ก้นบึ้งของท้องน้ำ
สมมติว่าผู้ปฏิบัติกำลังเฝ้าดูท้อง (พอง ยุบ) เป็นอารมณ์ในการเจริญสติปัฏฐานอยู่ ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามรวมพลังในการระลึกรู้ให้จรดอยู่ที่อารมณ์หลักนี้ อย่างมั่นคงแนบแน่น เพื่อไม่ให้จิตซัดส่ายออกไป จิตจะดิ่งลึกลงไปแนบแน่นอยู่กับกระบวนการพองยุบ และเมื่อจิตเข้าไปประจักษ์แจ้งธรรมชาติ ของกระบวนการนี้แล้ว ผู้ปฏิบัติก็ สามารถ เข้าใจถึงลักษณะที่แท้จริง ของกระบวนการดังกล่าว ทั้งความเคร่งตึง ความกดดัน ความเคลื่อนไหว ฯลฯ

ไม่พลาดจากการระลึกรู้อารมณ์
หน้าที่หรือกิจของสติก็คือการ ทำ ให้ปราศจากความสับสน หรือหลงลืม (อสมฺโม สรสา) กล่าวคือการกำหนดรู้ของจิตนี้จะต้องมีความต่อเนื่องอย่างยิ่ง ไม่เคลื่อนคลาดหลงลืมหรือปล่อยให้อารมณ์กรรมฐานหายไปจากการระลึกรู้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หน้าที่ของสติคือการประคับประคองให้ อารมณ์กรรมฐานปรากฏชัดอยู่ในความระลึกรู้ของผู้ปฏิบัติตลอดเวลา เช่น เดียวกับนักฟุตบอลที่ไม่เคยปล่อยให้ลูกบอลหลุดรอดไปจากสายตา หรือนักกีฬาแบดมินตันกับลูกขนไก่ หรือนักมวยกับความเคลื่อนไหวของคู่ต่อสู้ เช่นเดียวกันผู้ปฏิบัติจะไม่ปล่อยอารมณ์กรรมฐานให้คลาดไปจากการกำหนดรู้ได้ เลย

การเผชิญหน้าหรือจดจ่อต่ออารมณ์ และการคุ้มครองป้องกันจิต
สติก่อให้เกิดผล ๒ อย่าง คือ การจดจ่อต่ออารมณ์กรรมฐาน และการอารักขาป้องกันจิต
• การจดจ่อต่ออารมณ์
ผลของการมีสติจะเห็นได้ชัดจากสภาพการ เผชิญหน้าหรือจดจ่อต่ออารมณ์ กล่าวคือ สติทำให้จิตเข้าไปเผชิญ หรือประจันหน้ากับอารมณ์ตรง ๆ (วิสยาภิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา) โดยสติจะปรากฏเป็นสภาวะของจิต (ภาวะ) ที่กำลังเผชิญหน้าโดยตรง (อภิมุข) หรือจดจ่ออยู่กับอารมณ์ที่กำหนดรู้อยู่ (วิสย)
กล่าวกันว่าใบหน้านั้นเป็นเครื่องบ่งชี้ ถึงลักษณะนิสัย ดังนั้นหากเราประสงค์จะรู้ลักษณะและนิสัยใจคอของใครสักคนหนึ่ง เราก็ต้องเผชิญหน้ากับคนผู้นั้นโดยตรง แล้วตรวจสอบดูหน้าตาของเขาอย่างถี่ถ้วน ด้วยวิธีนี้การตัดสินใจของเราจึงจะมีความถูกต้อง แต่หากเรายืนอยู่ในมุมเฉียง อยู่ข้างหลัง หรืออยู่ห่างจากตัวบุคคลนั้น เราก็คงไม่สามารถแยกแยะลักษณะที่โดดเด่นในใบหน้าของบุคคลผู้นั้นได้
ในทำนองเดียวกัน ในขณะที่ผู้ปฏิบัติกำลังเฝ้าดูอาการพองของท้องอยู่นั้น หากจิตของผู้ปฏิบัติเข้าไปเผชิญหน้าหรือจดจ่ออยู่กับอาการพองโดยตรงแล้ว ผู้ปฏิบัติก็จะ สังเกตเห็นความรู้สึกหลายอย่างที่แตกต่างกันใน อาการพองนั้น เช่น ความเคร่งตึง ความกดดัน ความร้อน ความเย็น หรืออาการเคลื่อนไหว

• ความคุ้มครองรักษาจิต
หากจิตที่ตามระลึกรู้อารมณ์อยู่นั้น สามารถประคับประคองความจดจ่อต่ออารมณ์ได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ผู้ปฏิบัติก็จะพบว่าจิตมีความบริสุทธิ์อย่างยิ่งซึ่งเป็นผลของการที่จิต ปราศจากกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ความบริสุทธิ์นี้เป็นผลประการ ที่สองของสติ กล่าวคือการปกป้องคุ้มครองจิตจากการจู่โจมของกิเลส (อา รกฺขปจฺจุปฏฺฐานา) ตราบที่มีสติคุ้มครองอยู่ กิเลสจะไม่มีโอกาสล่วงล้ำเข้าสู่กระแสการรับรู้อารมณ์ได้เลย

สติอาจเปรียบได้กับยามเฝ้า ประตูที่ทำหน้าที่ดูแลอายตนะทั้งหก ยามเฝ้าประตูจะไม่ยอมให้คน ร้ายหรือผู้ที่ไม่ปรารถนาดีผ่านประตูเข้ามาได้ แต่จะยอมให้คนที่ดีมีประโยชน์ผ่านเข้ามาเท่านั้น สติก็เช่นกันจะไม่ยอมให้อกุศลเข้ามาทางอายตนะทั้งหลาย แต่ยินยอมให้กุศลผ่านเข้ามาได้เท่านั้น โดยการกีดกันอกุศลไม่ให้กล้ำกรายเข้ามา จิตจึงได้รับการอารักขาคุ้มครอง

เหตุใกล้ของสติ
ปัจจัยอันเป็นเหตุใกล้ที่ช่วยให้สติ เจริญขึ้น ก็คือการกำหนดหมายหรือจำได้หมายรู้อย่างมั่นคง (ถิรสญฺญา ปทฏฺฐานา) และสติปัฏฐาน ๔ (กายาทิสติปฏฺฐาน ปทฏฺฐานา)

• ความจำได้หมายรู้ที่มั่นคง
เพื่อให้สติระลึกรู้อยู่กับอารมณ์ ความ จำได้หมายรู้ที่หนักแน่น และมั่นคง (ถิร) เป็นสิ่งสำคัญ ยิ่ง การกำหนดหมายหรือจำได้หมายรู้ (สัญญา) มีความหนักแน่นมั่นคงและแน่วแน่มากเท่าใด สติก็จะยิ่งมีความหนักแน่นมั่นคง และแน่วแน่มากขึ้นเท่านั้น
ความจำได้หมายรู้นั้นมี หน้าที่อยู่สองประการคือ การบันทึก และการระลึกรู้สภาพธรรมที่มีการปรุงแต่งขึ้นทั้งหลาย (สังขาร) โดย ไม่จำกัดว่าสิ่งนั้นจะเป็นกุศลหรืออกุศล สัญญา อาจเปรียบได้ กับการอัดเทปคำพูดลงในเทปวิทยุหรือเทปวีดีโอ การบันทึกเทปนั้นเกิดขึ้น โดยไม่คำนึงถึงเนื้อหา หรือคุณภาพของเสียงพูดนั้น แต่การบันทึกที่มีความชัดเจน คุณภาพสูง เช่นการอัดเสียงคอนเสิร์ตเพลงคลาสสิค หรือโอเปร่าลงบนแผ่นซีดีด้วยระบบดิจิตอลรุ่นใหม่ล่าสุด ย่อมทำให้เสียงที่ออกมาภายหลัง (เปรียบได้กับสติ) มีความแจ่มชัด หนักแน่น ไพเราะน่าประทับใจ ยามที่นำแผ่นซีดีนั้นกลับมาเปิดใหม่
ในทำนองเดียวกัน ความจำได้หมายรู้อารมณ์กรรมฐานอย่างมั่นคง แจ่มชัด (โดยการกำหนดรู้ธรรมดา หรือการกำหนดรู้โดยใช้คำพูดในใจประกอบ) จะเป็นปัจจัยสนับสนุนอย่างดียิ่งให้เกิดสติที่เข้มแข็ง แจ่มชัด และแนบแน่น

• สติปัฏฐานสี่
เหตุใกล้อีกประการหนึ่งของสติได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ (กายาทิสติปฏฺฐานปทฏฺฐานา) กล่าวคือ สตินั่น เองเป็นสาเหตุให้สติเจริญยิ่งขึ้น ความจริงสติที่เจริญขึ้นก็ เป็นผลจากการสั่งสมพลังสติแต่ละขณะอย่างต่อเนื่อง สติในขณะจิตหนึ่งก่อให้เกิดสติในขณะจิตต่อ ๆ ไป
กระบวนการนี้เทียบได้กับกระบวนการสั่งสม ความรู้ (การศึกษา) หากว่านักเรียนเป็นคนที่ตั้งอกตั้งใจ และทำการบ้านด้วยความเคารพและใส่ใจ แล้ว ความรู้ที่เขาได้รับจากบทเรียนเบื้องต้น ก็จะทำให้เขาเข้าใจบทเรียนในขั้นสูง ๆ ขึ้นไปได้ การศึกษาชั้น ประถมก็เป็นเหตุให้สามารถศึกษาในระดับมัธยมได้ และความรู้ในชั้นมัธยมก็เป็นพื้นฐานสำหรับระดับวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่อไป
โดยสรุปก็คือ สตินั่นเองเป็นสาเหตุให้สติเจริญและมั่นคงยิ่ง ๆ ขึ้น

เท่าทันปัจจุบัน
การระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันอารมณ์เป็น สิ่งที่สำคัญมาก ไม่ควรมีอะไรมาแบ่งกั้นระหว่างอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและการกำหนดรู้ของจิต อารมณ์ที่เกิดขึ้นและจิตที่กำหนด ไม่ควรเกิดขึ้นโดยมีระหว่างคั่น การ กำหนดรู้อารมณ์ที่ปรากฏขึ้น ควรเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันทีไม่มีความล่าช้าแม้แต่น้อย ทันที ที่อารมณ์เกิดขึ้นผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้และเฝ้าสังเกตทันที
หากการกำหนดรู้ของผู้ปฏิบัติเคลื่อนคลาด ออกไป การปรากฏของสภาพธรรมก็จะผ่านพ้นไปก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะน้อมจิตไประลึกรู้ อารมณ์นั้น ผู้ปฏิบัติย่อมไม่สามารถรับรู้อารมณ์ที่เป็นอดีต หรืออนาคตได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง และหากผู้ปฏิบัติไม่ได้ใส่ใจจดจ่ออยู่กับปัจจุบันอารมณ์ทั้งหลายอย่างต่อ เนื่องแล้ว ก็เรียกได้ว่าผู้ปฏิบัติมิได้เจริญวิปัสสนาและมิได้อยู่กับความเป็นจริงอีก ต่อไป
การเกิดขึ้นพร้อมกัน
การเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง กันของการกำหนดรู้ และอารมณ์กรรมฐานนั้นเป็นลักษณะที่สำคัญของสติ ยก ตัวอย่างเช่น เมื่ออารมณ์เกิดขึ้น จิตก็จะน้อมระลึกรู้อารมณ์นั้น ๆ พร้อม ๆ กับที่อารมณ์ปรากฏขึ้นอย่างประสานสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

สติที่พิเศษเหนือธรรมดา
พยางค์ ปะ ในคำว่า สติ - ป - (ฏ) ฐาน บ่งชี้ว่าสตินั้นจะต้องพิเศษหรือธรรมดา หรือมีความโดดเด่น (วิ สิฏฺฐ) มากล้น เข้มข้น จดจ่อ และต่อเนื่อง (ภุสตฺถ) ยิ่งกว่าสติ โดยทั่วไป การมีสติตามปรกติธรรมนั้น ไม่เพียงพอ เลย ในการเจริญสติปัฏฐานภาวนาอย่างจริงจังเข้มข้น จากนี้เราจะศึกษาลักษณะข้างต้น ตลอดจนความหมายของพยางค์ “ ปะ ” ในเชิงการปฏิบัติภาวนาต่อไป

การแล่นออกไปโดยเร็ว (ปกฺขนฺทิ ตฺวา ปวตฺตติ)
พยางค์ ปะ ในคำว่า สติ - ป - (ฏ) ฐาน อาจตีความได้ว่ามาจากคำว่า ปกฺขนฺทน กล่าวคือ ความเร่งรีบ กระโจนหรือพุ่งเข้าไป ทันทีที่สภาพธรรมซึ่งเป็นอารมณ์กรรมฐานเกิดขึ้น จิตจะต้องพุ่งทะยานออกไปและจมลึกลงไปในอารมณ์กรรมฐานนั้นอย่างมีพลังแรงกล้า และกล้าหาญ จิตจะถาโถมเข้าใส่อารมณ์นั้นอย่าง ไม่ลังเล ไม่ยั้งคิด ใคร่ครวญ วิเคราะห์ จิตนาการ สงสัย ไตร่ตรอง คาดเดา หรือเพ้อฝันใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นอาการ “ แล่นออกไปอย่างรวดเร็ว ” นี้จึงประกอบด้วย ลักษณะหลาย ๆ อย่างด้วยกันคือ• การเคลื่อนไหวที่ รวดเร็ว ฉับไวทันทีทันใด พร้อม ด้วยความรุนแรง หรือด้วยพละกำลังความเข้มแข็ง และความกระฉับกระเฉงอย่างยิ่งยวด
อุปมา : เหมือนการเร่งรีบส่งผู้ป่วยในโรงพยาบาล
• การจู่โจมเข้ายึด ตะครุบ หรือจับกุม อย่าง เฉียบพลัน การโจมตีอย่างฉับไว การประจัญบาน
อุปมา : เหมือนกองทหารเข้ายึดและพิฆาตกองกำลังของศัตรู ด้วยการโจมตีที่รุนแรง แบบเบ็ดเสร็จรวดเดียว
• อาการที่ฝูงชนแห่กันไปยังสถานที่แห่ง หนึ่งแห่งใดพร้อม ๆ กัน
อุปมา : เหมือนฝูงคนเบียดเสียดกันเข้าประตูสนามแข่งขันฟุตบอลก่อนที่การแข่งขันจะ เริ่มขึ้น
• การทำอะไรด้วยความเร่งด่วน รวดเร็วและเร่งรีบเกินธรรมดา
อุปมา : เหมือนคนที่กำลังยุ่งอยู่กับงานที่อาจกล่าวว่า “ ผมกำลังรีบสุดขีดเลย ” หรือ เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ จงตีเหล็กเมื่อยังร้อน ” ผู้ปฏิบัติก็เช่นกันต้องกำหนดรู้และสังเกตดูอารมณ์ทันทีเมื่ออารมณ์นั้น เพิ่งเกิดขึ้น “ สด ๆ ร้อน ๆ ”
ผู้ปฏิบัติไม่ควรกำหนดรู้แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ การระลึกรู้จะต้องไม่หย่อนยาน อืดอาด ไม่ใส่ใจ และไม่ล่าช้าหรือจับจ้องเกินไปจนไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ จิตที่กำหนดรู้จะต้องไม่ฟุ้งซ่าน เลื่อนลอย ไม่มีเวลาสำหรับความนึกคิดใด ๆ ผู้ปฏิบัติไม่ควรตามระลึกรู้อารมณ์แบบสบาย ๆ เกินไปหรือละล้าละลัง แต่ต้อง ถาโถม เข้าใส่ปัจจุบันอารมณ์อย่างถูกตรง สม่ำเสมอ

การเข้าไปรับรู้อารมณ์อย่างแนบ แน่นมั่นคง
(อุปคฺคณฺหิตฺวา ปวตฺตติ)
ในขณะที่ชาวนาเกี่ยวข้าว มือข้างหนึ่งของเขาจะต้องจับรวงข้าวอย่างมั่นคง เขาจึงจะใช้เคียวเกี่ยวข้าวได้สำเร็จ ในทำนองเดียวกัน ผู้ปฏิบัติจะ ต้องจับ (กำหนดรู้) อารมณ์กรรมฐานได้อย่างแนบแน่นมั่นคง เพื่อมิให้จิตเลื่อนไหลหลุดลอยไปหรือเคลื่อนคลาดไปจากการระลึกรู้ปัจจุบัน อารมณ์
เมื่อสติมีความมั่นคงมากขึ้น ผู้ปฏิบัติก็จะสามารถจับหรือเข้าไประลึกรู้อารมณ์หยาบ ๆ ได้อย่างแนบแน่นมากขึ้น และเมื่อฝึกปฏิบัติต่อไป จิตก็สามารถกำหนดรู้ และตั้งอยู่กับอารมณ์ที่ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้น และในที่สุดแม้แต่อารมณ์ที่สุขุมลุ่มลึกมาก ๆ ก็สามารถกำหนดรู้ได้อย่างมั่นคง ดังนั้นผู้ปฏิบัติจึงควร พยายาม เข้าไปรับรู้อารมณ์ทางกายให้ได้ชัดเจนก่อนที่จะพยายามกำหนดอารมณ์ทางจิตที่ สุขุมลุ่มลึกมากขึ้น เช่นเจตนาความคิดต่าง ๆ ฯลฯ

กำหนดรู้อารมณ์อย่างถ้วนทั่ว ( ปตฺถริ ตฺวา ปวตฺตติ )
การกำหนดรู้ของจิตนั้นต้องครอบคลุม อารมณ์นั้น ๆ โดยถ้วนทั่ว แผ่ออกไป โอบล้อมห่อหุ้มอารมณ์นั้น ทั้งหมด มิใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง และกำหนดรู้ตั้งแต่ต้นตลอด ท่ามกลาง และสิ้นสุด

ความต่อเนื่องไม่ขาดสาย ( ปวตฺต ติ )
ในทางปฏิบัติการกำหนดรู้อารมณ์ในลักษณะ นี้ หมายความว่า จิตที่กำหนดรู้ และสังเกตดูอารมณ์ต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้นจะต้องมีความต่อเนื่อง กล่าวคือ การ เจริญสติขณะหนึ่งจะต้องเชื่อมต่อกับการเจริญสติในอีกขณะหนึ่ง ทุก ๆ ขณะ ต่อ เนื่องกันไป สติที่เกิดขึ้นในขณะแรกจะต้องต่อเนื่องกับสติในขณะถัดไปโดยไม่มีช่องว่าง กล่าวโดยย่อก็คือผู้ปฏิบัติควรจะประคองสติให้ดำรงอยู่เสมอ

อุปมา :
• หากมีช่องว่างระหว่างแผ่นกระดานปู พื้นสองแผ่น ฝุ่นและทรายก็อาจแทรกเข้าไปได้ หากสติไม่มี ความต่อเนื่องและมีช่องว่างอยู่ กิเลสก็อาจแทรกซึมเข้ามาได้
• ในสมัยก่อนคนจุดไฟด้วยการนำท่อนไม้ สองท่อนมาถูกัน หากผู้จุดไฟไม่ขัดสีไม้อย่างต่อเนื่อง แต่ทำไปหยุดไปแล้ว ไฟก็ไม่อาจติดขึ้นได้เลย ในทำนองเดียวกัน หากสติไม่มีความต่อเนื่อง ผู้ปฏิบัติย่อมไม่อาจจุดประกายไฟแห่งปัญญาขึ้นได้เลย
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในการกำหนดรู้หรือการเจริญสติอยู่กับอารมณ์ใด ๆ ผู้ปฏิบัติไม่ ควรปล่อยให้มีช่องว่าง แต่ต้องรักษาความต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่ควรเป็นไปในลักษณะทำ ๆ หยุด ๆ ผู้ที่ปฏิบัติแบบทำไปหยุดไปเพื่อพักผ่อนเป็นช่วง ๆ และเริ่มใหม่ มีสติประเดี๋ยวประด๋าว และหยุดเพื่อฟุ้งฝันเป็นช่วง ๆ นั้น ได้ชื่อว่า “ โยคีกิ้งก่า ” (คือ ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่เอาจริงเอาจัง - ผู้แปล)

ไม่บังคับกะเกณฑ์
กระบวนการกำหนดรู้และสังเกตดูอารมณ์ที่ ปรากฏทางกายและทางใจนี้ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของสามัญลักษณะ แห่งความไม่มีตัวตนที่จะบังคับบัญชาได้ (อนัตตา) กล่าวคือ
ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความระมัด ระวังอย่างใหญ่หลวงในการเฝ้าดูอารมณ์ต่าง ๆ โดยไม่เข้าไปบังคับกะเกณฑ์ ควบคุมหรือบงการใด ๆ ผู้ปฏิบัติควรจะเพียงแต่ดูว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นจริง ๆ มิใช่มองหาสิ่งที่คาดหวัง หรือปรารถนาให้เกิดขึ้น

สรุป
มาถึงตรงนี้ เราจะกล่าวว่า สติปัฏฐานคืออะไรกันเล่า สติปัฏฐานก็คือ การดำรงสติอยู่กับอารมณ์ใด ๆ โดยแล่นเข้าไประลึกรู้อารมณ์อย่างรวดเร็ว ถูกตรง ลุ่มลึก และครอบคลุม โดยถ้วนทั่ว เพื่อให้สติตั้งอยู่กับอารมณ์อย่างแนบแน่นมั่นคง เมื่อกำหนดว่า “ พองหนอ ” จิตก็จะเข้าไปรับรู้อารมณ์ที่กำหนดรู้อยู่ กล่าวคือ อาการพองของท้อง ความระลึกรู้ของจิตจะแล่นเข้าใส่อารมณ์อย่างรวดเร็วแล้วแผ่ขยายออกครอบคลุม อารมณ์นั้น จนจิตแนบแน่นอยู่กับอารมณ์ หรือสภาพธรรมดังกล่าว กระบวนการเช่นนี้จะดำเนินต่อไป ขณะที่กำหนดรู้อาการยุบ รวมตลอดถึงอารมณ์อื่น ๆ ที่ปรากฏขึ้นทางกายและทางจิต
ดังนั้นโดยสรุป สติต้องมีพลังรอบด้าน เข้าประชิดจดจ่อกับอารมณ์ตรง ๆ สติจะต้องถาโถมเข้าใส่อารมณ์ ห่อคลุมอารมณ์โดยถ้วนทั่วบริบูรณ์ ทะลุทะลวงเข้าไปในอารมณ์ และไม่พลาดแม้เศษเสี้ยวของอารมณ์ที่กำหนดรู้อยู่เลย
หากสติของผู้ปฏิบัติมีคุณสมบัติเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว และเมื่อการปฏิบัติมีความสมบูรณ์เต็มรอบแล้ว ย่อมเข้าถึงพระนิพพานได้อย่างแน่นอน

สติปัฏฐาน โดยย่อ
• ดำรงสติอย่างแนบแน่นมั่นคง
• ไม่ผิวเผินฉาบฉวย
• ไม่พลาดจากการระลึกรู้อารมณ์
• จดจ่อต่ออารมณ์
• ปกป้องจิตจากการจู่โจมของกิเลส
• การจำได้หมายรู้ที่ชัดเจนมีพลัง
• สติเหนี่ยวนำให้สติเจริญขึ้น
• เร่งรีบและดิ่งลึกลงไป
• จับอารมณ์ให้มั่น
• ครอบคลุมอารมณ์โดยถ้วนทั่ว
• ทันทีทันใด
• ต่อเนื่องไม่ขาดสาย
• เท่าทันปัจจุบัน
• ไม่บังคับกะเกณฑ์

.....................................................
ธรรมดาๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: :b20: :b20:

:b20: :b20: :b20:

อิ อิ เจริญสติ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:

เวลารู้ลมหายใจ เช่นทำอาณาปานสติ
ปรากฏว่าเราอดไม่ได้ ที่จะไปบงการลมหายใจนั้น
ทำให้มันหนัก มันแข็ง และไม่เป้นธรรมชาติ

เราหายใจมาทั้งวัน เราไม่เคยเหนื่อยเลย
แต่พอทำอาณาปานสติเท่านั้นแหละ รู้สึกได้เลยว่าการหายใจมันเหนื่อย

คำถาม
คือ การที่ "เรา" อดไม่ได้ที่ไปบงการลมหายใจ
เป็นสภาพที่คุณตรงประเด็นจะเรียกว่า "จงใจ" หรือ "ไม่จงใจ"




ถ้า ทำเป็น.... จะไม่เป็นช่นนั้น ครับ



การเจริญอานาปานสติ ต้องมี วิริยะ ที่พอเหมาะ... วิริยะ ที่พอเหมาะนี้ ครอบคลุมถึง ความตั้งใจที่พอเหมาะ

ถ้า ตั้งใจมากเกินไป ....จะรู้สึก เกร็ง ไม่เป็นธรรมชาติ หรือ บางท่านอาจรู้สึกแน่นอก ปวดหัว ท่านเรียกว่า อุทธัจจะ เข้าครอบงำ

ถ้า ตั้งใจน้อยเกินไป .... ก็จะ เบลอร์ มึน หรือ ซึม หรือ หลับ ท่านเรียกว่า ถีนะมิทธะ เข้าครอบงำ

การตั้งใจที่พอดี อยู่ตรงกลาง ระหว่าง "การตั้งใจที่น้อยเกินไป" กับ "การตั้งใจที่มากเกินไป"..นี่ คือ วิริยะที่พอดี อินทรีย์ที่พอเหมาะ

ตรงจุดนี้ แต่ละคน ต้องหา จุดที่พอดี ของตนเอง

สำหรับ ที่ครูบาอาจารย์ ท่านสอนผมมา เกี่ยวกับ ความตั้งใจ จึงมี

1.ตั้งใจมากเกินไป
2.ตั้งใจพอดี
3.ตั้งใจน้อยเกินไป

ที่ถูกที่ควร คือ ข้อ2 ตั้งใจพอดี




แต่ สำหรับ แนวทางธรรมใหม่ เกี่ยวกับความตั้งใจ/จงใจ จะมี

1.การตั้งใจ/จงใจ ซึ่งได้รับการวินิจฉัยแบบรวมๆเลย ว่า.... ผิด
2.ปราศจากการตั้งใจ/จงใจ ซึ่งได้รับการวินิจฉัย ว่า...ถูก

ลำพัง การวินิจฉัยแบบนี้ ถ้าจะใช้เพียงในสำนักของตนเอง โดยไม่ไปเที่ยว ชี้ถูก(ใส่ตน)-ชี้ผิด(ใส่ผู้อื่น) ก็ คงจะไม่มีใครเขาอยากไปวุ่นวายด้วย...

แต่ ถ้าเที่ยวไป ชี้ถูก(ใส่ตน)-ชี้ผิด(ใส่ผู้อื่น) แบบที่ปรากฏให้เห็นกันบ่อยๆ ในปัจจุบัน ก็ คงเป็นปัญหาที่วุ่นวาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องทำเป็นกับทำไม่เป็น อันนั้นมันเป็นความจริงในระดับบุคคล
ขอแยกไปก่อนนะครับ


ประเด็นคือ คุณตรงประเด็นมองว่า นี่คือความจงใจ หรือไม่ได้จงใจล่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ไข่น้อย เขียน:
ตอบคุณหมอหลงประเด็น

ทำเหตุครับ ไม่ใช่ทำผล




คุณ ไข่น้อย

ครูบาอาจารย์พระป่าของแท้.... ท่านก็ สอนให้ทำเหตุ เช่นกันครับ...ส่วนผลนั้น ท่านปล่อยให้มันเป็นเอง.
ลองไปหา อ่าน บทธรรม กุญแจภาวนา ของ หลวงปู่ ชา สุภัทโท ดู...น่ะครับ


ดูเหมือนคุณไข่น้อยจะ ไปตีความ การที่ผู้ไม่ใช่ขิปปาภิญญายังคงจำเป็นต้อง อาศัย ความพยายาม/จงใจ/ตั้งใจเจริญสติอยู่ ว่า เป็นการทำผล ไม่ใช่ เป็นการประกอบเหตุ???

คุณครับ....การที่ ผู้ไม่ใช่ขิปปาภิญญาจำเป็นต้อง อาศัย ความพยายาม/จงใจ/ตั้งใจเจริญสติ นั้น ไม่ใช่เป็นการทำผล หรอกครับ... เขา ก็ทำเหตุกัน...

เพียงแต่ มีใครก็ไม่รู้ เที่ยวไป สรุปมั่วๆ ว่า การกระทำเช่นนั้น เป็นการเจริญสติที่ผิดพลาด เพราะ ยังคงมีความพยายาม/จงใจ/ตั้งใจเจริญสติ อยู่....
ถ้า จะไม่ผิดในมุมมองของเขาผู้นั้น ก็ ต้อง ไม่ตั้งใจ/จงใจเจริญสติ ตั้งแต่ไก่โห่ เลย.... เขาถึงจะถือว่า ถูก ไงครับ.



ปล...ผมกลับเห็นว่า

การที่ ไม่ให้ ตั้งใจ/จงใจเจริญสติแม้นในขั้นการฝึกเจริญสติ ทั้งๆที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญา ต่างหากล่ะครับ... ที่ เป็นการมุ่งทำผล!!!

เพราะ แทนที่จะเพียรประกอบเหตุตามลำดับอันสมควร คือ พยายาม/ตั้งใจ/จงใจที่พอดี กลับไม่ทำ... แต่ มุ่งจะเอา สติอัตโนมัติ เลย ในลักษณะ ตั้งหน้าตั้งตาที่จะไม่ตั้งใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 02:18
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะ-->สัญญา-->สติ--> สมาธิ-->ปัญญา

จงใจที่ตรงไหน

........

(๑๓) มรดกธรรมพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
ครั้งที่ ๑๒๑
บรรยายวันจันทร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๐๖

เรื่อง
มหาสติปัฏฐาน (ข้อว่า สติมา)

วันนี้ จะได้บรรยาย เรื่อง มหาสติปัฏฐาน ข้อว่า "สติมา" สืบต่อไป

ถ. คำว่า "สติมา" แปลและหมายความว่าอย่างไร?
ต. แปลว่า มีสติ หมายความว่า ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานต้องมีสติเป็นสำคัญ คือมีสติเป็นใหญ่ มีสติเป็นประธาน สติแปลว่า ความระลึกได้ ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด

ถ. สติเป็นจิต หรือเจตสิก โดยองค์ธรรมได้แก่อะไร?
ต. สติเป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต แต่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รับอารมณ์เดียวกันกับจิต โดยองค์ธรรมได้แก่สติเจตสิก

ถ. สติ มีลักษณะ กิจ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน เป็นอย่างไร?
ต. สติมีลักษณะ เป็นอย่างนี้ คือ

๑. อภิลาปนลกฺขณา สติมีความระลึกได้เนืองๆ ในอารมณ์เป็นลักษณะอารมณ์นั้น มี ๓ อย่าง คือ

ก. อารมณ์ปกติธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน ในโลก เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นตัวอย่าง

ข. อารมณ์ของนักปฏิบัติธรรมขั้นสมถะ เช่นอารมณ์พระกรรมฐาน ๔๐ มีกสิน ๑๐ อนุสสติ ๑๐ เป็นต้น

ค. อารมณ์ของนักปฏิบัติธรรมขึ้นวิปัสสนา ได้แก่ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจฺจสมุปบาท ๑๒

การ ระลึกเนืองๆ ในอารมณ์ทั้ง ๓ ขั้นนี้ จัดเป็นลักษณะ คือเครื่องหมายของสติ

๒. อสมฺโมหรส สตินั้นมีความไม่หลงลืม เป็นหน้าที่ หมายความว่า คนที่ลืมของบ่อยๆ เพราะขาดสติ เช่น ลืมกุญแจบ้าน ลืมกระเป๋า ลืมปากกา ลืมเวลาที่นัดหมายกับใครๆ ไว้ ลืมปิดประตูบ้าน เป็นต้น เป็นเพราะขาดสติ เรียกกันว่าเผลอ แม้ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าขาดสติแล้วอารมณ์ของกรรมฐานจะไม่ปรากฎเลย ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อสมาธิไม่เกิด ปัญญาก็ไม่เกิดเช่นเดียวกัน เพราะปัญญาจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยสมาธิเป็นบาทใกล้ชิด ถ้ามีสติแล้วจะได้ผลตรงกันข้ามกับที่กล่าวมานี้ เพราะฉะนั้น สติจึงมีหน้าที่สำคัญที่สุด คือทำให้ไม่หลงลืม

๓.อารกฺขปจฺจฏฺฐานา สตินนั้นมีการรักษาอารมณ์เป็นผลปรากฏ

วิ สยาภิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา และมีความมุ่งหน้าเฉพาะต่ออารมณ์เป็นผลปรากฎ หมายความว่าเมื่อมีสติแล้ว อารมณ์ขั้นต่ำๆ ของชาวโลกก็ยังปรากฎได้ดี เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เป็นตัวอย่าง จะสังเกตได้โดยง่ายๆ ในเวลาดูหนังสือ ขณะใดสติไม่มี ขณะนั้นใจก็ลอยออกไปคิดอย่างอื่นเสีย จะดูสัก ๒-๓ เที่ยวก็จำไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพราะใจไม่มีสติรักษาไว้ ถ้าขณะใดมีสติ ขณะนั้น ดูหนังสือเพียงเที่ยวก็จำได้ดี

อารมณ์ขั้น กลาง คืออารมณ์ของสมถะก็ดี อารมณ์ขั้นสูง คืออารมณ์ของวิปัสสนาก็ดี ถ้ามีสติแล้วสามารถจะควบคุมอารมณ์ รักษาอารมณ์ได้ดีมาก และได้ผลดีโดยรวดเร็ว ดังนั้น สติจึงมีผลปรากฎเป็น ๒ ประการ คือ รักษาอารมณ์ไว้อย่างหนึ่ง มุ่งหน้าเฉพาะต่ออารมณ์อย่างหนึ่ง

๔. ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา สตินั้นมีความจำได้มั่นคง จำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้ชิดที่จะให้สติเกิดขึ้น เช่นจำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำโผฏฐัพพะ ได้แม่ยำเป็นตัวอย่าง แต่เมื่อจะว่าโดยส่วนภาคปฏิบัติแล้ว เหตุใกล้ชิดที่จะให้สติเกิดขึ้นนั้น ได้แก่สติปัฏฐานทั้ง ๔ คือกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา

ถ. สตินั้นท่านอุปมาเปรียบเทียบไว้เหมือนอะไร เพราะเหตุไร อธิบาย?
ต. เหมือนนายประตู เพราะรักษาทวาร ๖ อธิบายว่า สถานที่ทำงานต่างๆ ก็ดี หรือบ้านเจ้านายผู้ใหญ่ก็ดี ห้างร้านต่างๆ ก็ดี โดยมากมีนายประตูเฝ้า นิยมเรียกว่า แขกยาม หรือ นายยาม ใครจะเข้าจะออก นายยามนี้ต้องรู้ดีกว่าคนอื่น เพราะเป็นคนเฝ้า เป็นคนดุแลประจำโดยตรง ฉันใด สติก็ฉันนั้น คือสติมีหน้าที่รักษาทวารทั้ง ๖ ทวารแปลว่าประตู ประตูทั้ง ๖ นั้น ได้แก่ ประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้น ประตูกาย ประตูใจ สติมีหน้าที่รักษาประตูทั้ง ๖ นี้ เหมือนกันกับแขกยามหรือนายยาม ฉะนั้น

ถ. สติมา แปลว่า มีสติ ในมหาสติปัฏฐานนี้ หมายความแค่ไหน?
ต. หมายความว่า มีสติอยู่กับสติปัฏฐานทั้ง ๔ คือ

๑. กายานุปัสสนา มีสติกำหนดรู้กายอยู่เนืองๆ
๒. เวทนานุปัสสนา มีสติกำหนดรู้เวทนาอยู่เนืองๆ
๓. จิตตานุปัสสนา มีสติกำหนดรู้จิตอยู่เนืองๆ
๔. ธัมมานุปัสสนา มีสติกำหนดรู้ธรรมอยู่เนืองๆ

ถ. ขอให้ยกตัวอย่างมาสักข้อพอประกอบอธิบาย?
ต. ตัวอย่างนั้นมีมากอยู่ เช่น ในขณะที่นักปฏิบัติธรรมใช้สติกำหนดอยู่ที่ท้องในเวลาพองขึ้น ก้บในเวลาท้องยุบลงไป โดยภาวนาว่า "พองหนอง ยุบหนอ" อยู่นั้นสติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็รวมอยู่ในที่แห่งเดียวกันหมดแล้ว โปรดพิจารณาดูตามนี้ คือ

๑. ท้องพอง ท้องยุบ เป็นรูป รูปนี้เป็นกาย สติที่กำหนดรู้หาย เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๒. ขณะที่กำหนดท้องพอง ท้ิองยุบ อยู่นั้น เวทนา คือความรู้สึกสบายไม่สบาย หรือเฉยๆ ก็มีอยู่ ไม่ขาดเลย ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง แม้ทุกๆ คนที่กำลังนั่งอยู่ นอนอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ เดี๊ยวนี้ ก็มีความสบาย ไม่สบายเฉยๆ นั่นแหละเป็นเวทนาสติกำหนดท้องพอง ท้องยุบนั้น ก็ถูกเวทนาด้วยจัดเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๓. ในขณะที่กำหนดท้องพอง ท้องยุบอยู่นั้น จิตคือความรู้สึกว่า ท้องพอง ท้องยุบก็มีอยู่ สติที่กำหนดท้องพอง ท้องยุบ จึงถูกจิตด้วย จัดเป็นจิตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๔. ในขณะที่กำหนดท้องพอง ท้องยุบอยู่นั้น ธรรม คือขันธ์ ๕ ก็มีอยู่พร้อมแล้ว อายตนะก็มี อริยสัจก็มี โพชฌงค์ก็มี เช่น ท้องพอง ท้องยุบ เป็นรูปขันธ์ ความสบาย ไม่สบาย เฉยๆ เป็นเวทนาขันธ์ จำได้ว่า พองสั้นพองยาว พองมาก พองน้อย เป็นสัญญาขันธ์ ที่ปรุงแต่งให้เห็นว่า สุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นสังขารขันธ์ ความรู้เป็นวิญญาณขันธ์ ขันธ์ทั้ง ๕ นี่แหละเป็นธรรม สติที่กำหนดท้องพอง ท้องยุบจึงถูกธรรมด้วย จัดเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ถ. เป็นอันได้ความอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อนักปฏิบัติธรรมใช้สติกำหนดลงไปที่ท้องโดยพิจารณาอาการพอง อาการยุบอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างครบบริบูรณ์ ถูกต้องแล้วใช่หรือไม่?
ต. ใช่แล้ว

ถ. เมื่อเป็นเช่นนั้น สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พล ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ ก็คงมีอยู่ด้วยกันใช่ไหม เพราะเหตุไร?
ต. ใช่ เพราะว่าโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น จะต้องบำเพ็ญไปพร้อมๆ กัน อย่างนี้ ต่างแต่ว่าในขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้นเป็นเพียงบุพพภาคมรรค จึงยังไม่มีธรรมสมังคี ต่อเมื่อถึงสัจจานุโลมิกญาณ ถึงอริยมรรค จึงจะเป็นธรรมสมังคีแท้ โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการ จึงจะเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างบริบูรณ์

ถ. เมื่อจะกล่าวตามแนวปฏิบัตินั้น สติมีเท่าไร อะไรบ้าง?
ต. สตินั้นเมื่อจะกล่าวตามแนวปฏิบัติมีอยู่ ๓ ประการ คือ

ประการที่ ๑ สติขั้นต่ำ ได้แก่สติของบุคคลธรรมดาสามัญ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทุกๆ คน เช่น จะขับรถก็ต้องมีสติ จะเขียนหนังสือก็ต้องมีสติ จะอ่านหนังสือ จะลุก จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะดื่ม จะพูด ก็ต้องมีสติด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันแต่ว่าใครจะมีมาก มีน้อยกว่ากันเท่านั้น ถ้าใครขาดสติก็ทำอะไรผิดๆ พลาดๆ ลืมโน่นลืมนี่บ่อยๆ

ประการที่ ๒ สติขั้นกลาง ได้แก่สติของผู้บำเพ็ญมหากุศล เช่น ทำทาน รักษาศีล เรียนธรรม ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม คือเจริญสมถกรรมฐาน เป็นต้น

ประการที่ ๓ สติขั้นสูง ได้แก่ สติของนักปฏิบัติธรรม ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามแนวแห่งมหาสติปัฏฐาน ที่พระบรมศาสดาจารย์ได้ทรงแสดงไว้

ถ. สติมีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
ต. มีประโยชน์มาก เช่น

๑. สติ โลกสฺมิ ชาคโร สติปลุกคนให้ตื่นอยู่ในโลก ไม่ให้คนหลับ ไม่ให้คนประมาท

๒. สติมโต สทา ภทฺทํ คนมีสติมีความเจริญทุกเมื่อ หมายความว่า ถ้ามีสติแล้วจะทำอะไรๆ ก้ไม่พลาด เช่น จะดูหนังสือ เรียนหนังสือ ก็จำได้ง่าย จะทำงานรักษาศีล ฟังธรรม เจริญกรรมฐานก็ได้ผลดีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ขาดตกบกพร่อง

๓. สติมา สุขเมธติ คนมีสติย่อมได้รับความสุข หมายความว่า ความสุขต่างๆ ของโลก เช่น สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ สุขเกิดแต่จ่ายทรัพย์บริโภค สุขเกิดแต่ความไม่มีหนี้ สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ก็ต้องอาศัยสติเป็นสำคัญ แม้สุขในทางธรรม เช่น ญานสุข วิปัสสนาสุข มัคคสุข ผลสุข นิพพานสุข ก็เกิดขึ้นเพราะอาศัยสติทั้งนั้น ถ้าปราศจากสติแล้ว สุขต่างๆ เหล่านี้ จะไม่เกิดขึ้นได้เลย

๔. สติมโต สุเว เสยฺโย คนมีสติเป็นผู้ประเสริฐทุกวัน หมายความว่าชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลต้องได้สติเป็นประจำทุกวัน การงานนั้นๆ จึงจะดำเนินไปได้โดยเรียบร้อยและผลิตผลสมความตั้งใจไว้

๕. รกฺขมาโน สโต รักฺเข ผู้รักษาต้องมีสติรักษา หมายความว่า ผู้จะรักษาทรัพย์สมบัติภายนอกทั้งที่มีวิญญาณครอบ และไม่มีวิญญาณครอง เช่น เสื้อ ผ้า เงินทอง บ้านช่อง เรือนชาน เรือกสวน ไร่ นา ช้าง ม้า วัว ควาย หมู หมา เป็ด ไก่ เป็นต้น ก็ต้องมีสติทั้งนั้น ถ้าปราศจากสติ ต้องได้รับความเดือดร้อนนานาประการ เช่นไฟไหม้ ของหาย ถูกขโมยลัก ไปก่อความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นต้น แม้สมบัติภายในคือพระธรรม นับตั้งแต่ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้นไป ก็ต้องอาศัยสติทั้งนั้น จึงจะสามารถรักษาได้ดี บำเพ็ญได้ดี

๖. อุฏฺฐานวโต สติมโต แม้ผู้ต้องการยศทั้ง ๖ คือ

๑. โภคยศ ยศ คือโภคสมบัติ
๒. อิสสริยยศ ยศคือความเป็นใหญ่
๓. กิตติยศ ยศคือเกียรติ
๔. สัมมนยศ ยศคือความนับถือ
๕. วรรณยศ ยศคือการยกย่องสรรเสริญ
๖. ปริวารยศ ยศคือความเป็นผู้มีบริวารมาก และซื่อสัตย์ จงรักภักดี กตัญญูกตเวที ก็ต้องอาศัยคุณธรรม ๗ ประการ ในคุณธรรม ๗ ประการนั้น ก็มีสติอยู่ด้วยคือ

๑. อุฏฐานะ มีความขยันต่อกิจการงานทุกๆ อย่าง

๒. สติ มีสติรอบคอบ

๓. สุจิกัมมะ มีการงานสะอาดเรียบร้อย

๔. นิสัมมการี ใคร่ครวญให้ดีเสียก่อนจึงทำลงไป

๕. สัญญตะ มีความสำรวมระมัดระวังให้มากและให้ดีที่สุด

๖. อัปปมัตตะ ไม่ประมาท

๗. ธัมมชีวี เป็นอยู่โดยอาศัยหลักธรรมเป็นเรือนใจ คือจะประกอบอาชีพอะไรๆ ก็ตาม ไม่ยอมให้ผิดศีลธรรม ไม่ยอมให้ผิดกฎหมายของบ้านเมือง ไม่ยอม ทำลายประเทศ ชาติ ศาสนา เป็นอันขาด

๘. สติเป็นธรรม มีอุปการะมาก ทั้งคติโลก คติธรรม

๙. สติเป็นกำลังอัันสำคัญยิ่งในการปฏิบัติธรรมทั้งขั้นต่ำ ขั้นกลาง ชั้นสูง

๑๐. สติเป็นทางสายกลาง สามารถนำผู้ปฏิบัติให้รีบรัดเข้าสู่ มรรค ผล นิพพาน

ถ. เมื่อกล่าวตามแนวปฏิบัติขั้นสูงแล้ว จะทำอย่างไรสติจึงจะแก่กล้า สามารถอำนวยประโยชน์ดังกล่าวมานี้ได้
ต. ต้องปฏิบัติดังนี้ คือ

๑. เจริญสติปัฏฐาน ๔
๒. มีโยนิโสมนสิการ ใส่ใจโดยอุบายอันแยบคาย
๓. พหุลีกาโร พยายามฝึกฝนอบรมบ่อยๆ คือทำให้มากๆ ขยันทำที่สุด
๔. ให้ดำเนินตามอสัมโมหาสัมปชัญญะ ๒๒ อย่าง คือ มีสติในการก้าวไป ถอยกลับ เหลียวซ้าย แลขวา คู้ เหยียด พาดสังฆาฏิ อุ้มบาตร ห่มจีวร บริโภค ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรส ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นิ่ง

ถ. ตามที่กล่าวมานี้ มากมายเหลือเกิน จะมีวิธีใดบ้างซึ่งจะรวบรัดย่อๆ กว่านี้ คือปฏิบัติเพียงนิดเดียว แต่ถูกหมดทุกอย่างเลย?
ต. มีอยู่วิธีหนึีง คือ ไม่ประมาท ได้แก่ เจริญวิปัสสนา ภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" เท่านั้น ก็ได้ชื่อว่า ทำถูกไปพร้อมๆ กัน ทั้งพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม โดยแท้แล

วันนี้ได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน เฉพาะข้อที่ว่า "สติมา" แปลว่า มีสติก็นับว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติไว้เพียงเท่านี้.

.....................................................
ธรรมดาๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ ว่าด้วยเรื่อง ทำเป็น กับทำไม่เป็น

ตรงประเด็น เขียน:

ถ้า ทำเป็น.... จะไม่เป็นช่นนั้น ครับ



การเจริญอานาปานสติ ต้องมี วิริยะ ที่พอเหมาะ... วิริยะ ที่พอเหมาะนี้ ครอบคลุมถึง ความตั้งใจที่พอเหมาะ

ถ้า ตั้งใจมากเกินไป ....จะรู้สึก เกร็ง ไม่เป็นธรรมชาติ หรือ บางท่านอาจรู้สึกแน่นอก ปวดหัว ท่านเรียกว่า อุทธัจจะ เข้าครอบงำ

ถ้า ตั้งใจน้อยเกินไป .... ก็จะ เบลอร์ มึน หรือ ซึม หรือ หลับ ท่านเรียกว่า ถีนะมิทธะ เข้าครอบงำ

การตั้งใจที่พอดี อยู่ตรงกลาง ระหว่าง "การตั้งใจที่น้อยเกินไป" กับ "การตั้งใจที่มากเกินไป"..นี่ คือ วิริยะที่พอดี อินทรีย์ที่พอเหมาะ

ตรงจุดนี้ แต่ละคน ต้องหา จุดที่พอดี ของตนเอง

สำหรับ ที่ครูบาอาจารย์ ท่านสอนผมมา เกี่ยวกับ ความตั้งใจ จึงมี

1.ตั้งใจมากเกินไป
2.ตั้งใจพอดี
3.ตั้งใจน้อยเกินไป

ที่ถูกที่ควร คือ ข้อ2 ตั้งใจพอดี




แต่ สำหรับ แนวทางธรรมใหม่ เกี่ยวกับความตั้งใจ/จงใจ จะมี

1.การตั้งใจ/จงใจ ซึ่งได้รับการวินิจฉัยแบบรวมๆเลย ว่า.... ผิด
2.ปราศจากการตั้งใจ/จงใจ ซึ่งได้รับการวินิจฉัย ว่า...ถูก

ลำพัง การวินิจฉัยแบบนี้ ถ้าจะใช้เพียงในสำนักของตนเอง โดยไม่ไปเที่ยว ชี้ถูก(ใส่ตน)-ชี้ผิด(ใส่ผู้อื่น) ก็ คงจะไม่มีใครเขาอยากไปวุ่นวายด้วย...

แต่ ถ้าเที่ยวไป ชี้ถูก(ใส่ตน)-ชี้ผิด(ใส่ผู้อื่น) แบบที่ปรากฏให้เห็นกันบ่อยๆ ในปัจจุบัน ก็ คงเป็นปัญหาที่วุ่นวาย


ผมไม่รู้ว่าผมทำเป็นหรือไม่เป็น

แต่ทุกครั้งที่ผมทำความรู้สึกตัว รู้ลมหายใจ ไม่ประกอบกิจอื่น
ปัญหาคือแม้ว่าเราจะพยามไม่ยุ่งกับลมหายใจปานใด
แม้ว่าผมเจตนาจะตั้งใจไม่ยุ่งกับลมหายใจปานใดก็ตาม
แต่แปลกนะคุณหมอ มันมีอะไรบางอย่างที่เราบงการไม่ได้ มันทำงานอยู่
มันเข้าไปยุ่ง เข้าไปกำกับ ที่ลมหายใจของผม

ที่คุณหมอว่ามา ว่าให้รู้อยู่เฉยๆกับลมหายใจ ไม่ต้องไปยุ่งกับมัน
ให้ "รู้" อย่างเดียว
อันนี้ผมรู้มานานแล้ว และบรรดาครุบาอาจารย์ท่านก้สอนอย่างนี้แหละ
คือให้ "รู้" อย่างเดียว

แต่เวลาปฏิบัติ การให้มัน"แค่รู้" นี่แหละครับ มันทำไม่ได้

คุณตรงประเด็นพูดเหมือนว่า มันทำได้ง่ายๆ
และถ้าทำไม่ไ่ด้อย่างที่คุณตรงประเด็นว่า ถือว่าผิด ถือว่าทำไม่เป็น

ผมขอถามด้วยความซื่อๆ ตรงๆ ถามทุกคน
มีใครที่มาทำอาณาปานสติแล้ว ไม่เคยประสบเหตุการณ์นี้บ้างหรือไม่ครับ
แบบว่า พอทำแล้วก็สามารถอุเบกขาลมหายใจได้เลย ไม่ผ่านสิ่งที่ผมพูดถึง บ้างหรือไม่ครับ

แล้วตัวคุณตรงประเด็นเอง ถ้าจะกรุณา
เวลาปฏิบัติ เป็นเมหือนผม หรือว่าพอทำปั๊บก็ได้วิริยะพอดีเลย ไม่ยุ่งกับลมหายใจเลย

อันนี้ผมถามจริงๆ ไม่ได้มาชวนทะเลาะเอาชนะอะไร
คุณตรงประเด็นว่าดูจิตไม่ถูกๆ ผมก็โลภ เลยกระจายความเสี่ยงมาทำอาณาปานสติด้วย
หวังว่าคุณตรงประเด็นจะช่วยกรุณาพูดถึงการปฏิบัติที่ถูก

คนพูดว่าดูจิตผิด มีเยอะแล้ว
แต่หาคนที่บอกด้วยว่า แล้วที่ถูกต้องทำยังไง
อันนี้ผมไม่ค่อยเจอใครช่วยผมได้


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 20 ก.ค. 2010, 21:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
เรื่องทำเป็นกับทำไม่เป็น อันนั้นมันเป็นความจริงในระดับบุคคล
ขอแยกไปก่อนนะครับ


ประเด็นคือ คุณตรงประเด็นมองว่า นี่คือความจงใจ หรือไม่ได้จงใจล่ะครับ




คุณชาติสยาม


ก่อนอื่น ขอแสดง ประเด็น เรื่องภาษาที่ใช้กันก่อน

คำว่า "จงใจ" ที่ พวกคุณมักจะกล่าวเสมอๆ ว่า เป็น สภาวะผิดพลาด ถ้าไปจงใจเจริญสติเข้า


จาก พจนานุกรม ราชบัณฑิต

อ้างคำพูด:
จงใจ

ความหมาย
ก. ตั้งใจ, หมายใจ, เจตนา.




คุณรู้ไหม....ผู้ที่ หมดความจงใจ หมดความตั้งใจ หมดเจตนา อย่างแท้จริง คือใคร?



คำตอบ คือ พระอรหันต์เท่านั้น ที่จะ หมดความจงใจ หมดความตั้งใจ หมดเจตนา อย่างแท้จริง....สิ่ง ที่พระอรหันต์ท่านประพฤติแสดง ให้โลกเห็น จึงเป็นเพียงกิริยา ไม่เป็นการกระทำกรรม อีกแล้ว.

นอกนั้นแล้ว ไม่เว้น แม้นแต่พระอนาคามี ก็ยังคงมีเจตนาอยู่ คือ ยังคงมีการกระทำกรรมใหม่อยู่ ท่านจึงยังคงต้องเกิดใหม่อีก.





คุณครับ... การปราศจากความจงใจอย่างสิ้นเชิง(อรหัตตผล) เป็นผล ที่บังเกิดจากการเจริญอริยมรรค....

และ ถ้าไม่ใช่ผู้ที่สามารถตรัสรู้อย่างฉับพลันแล้ว ในการเจริญอริยมรรค ก็จำเป็นที่จะต้องมีความตั้งใจ/จงใจในเบื้องต้น

ทีนี้ ถ้าพวกคุณ เล่นไปวินิจฉัยเอาว่า ไม่ให้ตั้งใจ/จงใจ ในขั้นฝึกเจริญสติเลย แม้นแต่ ในผู้ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญา...
ซึ่ง สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญาแล้ว นี่ก็คือ การไม่ประกอบเหตุอันควร สำหรับเขา....แล้ว ผลอันควรคือ การหมดความจงใจอย่างสิ้นเชิง(อรหัตตผล)จะปรากฏแก่เขา ได้อย่างไร???



ลองพิจารณาดูครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 65 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร