วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 17:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
ก่อนอื่น ขอแสดง ประเด็น เรื่องภาษาที่ใช้กันก่อน


นั่นแหละครับ ผมถึงพยามจะนิยาม เรื่องจงใจ ไม่จงใจ กับคุณตรงประเด็นก่อน
โดยยกตัวอย่างเรื่องจับลมหายใจ

ว่าการเกิดภาวะที่ไปแทรกแทรงลมหายใจนั้น
มีทั้งส่วนที่เราบงการได้ และส่วนที่เราบงการไม่ได้

ผมถึงถามคุณตรงประเด็น แล้วคุณตรงประเด็นเอง
มองว่าภาวะนี้เป็นการจงใจ หรือไม่จงใจ

ต่อมา
คุณตรงประเด้นบอกผมว่า ถ้าตั้งความพยามที่พอดี วิริยะที่พอดี
จะไม่เกิดภาวะนั้นขึ้น

ผมก็เลยบอกคุณตรงประเด้นว่า
ที่คุณตรงประเด็นพูดนั้น มันก็ถูก แต่มันถูกในทฤษฏี
เพราะเวลาปฏิบัติจริงๆ จะมีสักกี่คน ที่สามารถจะ "รู้" ลมหายใจ โดยไม่แทรกแทรง ได้ในทันที
โดยไม่ผ่านสภาวะที่แทรกแซงลมหายใจ

เพราะการรู้ลมหายใจโดยไม่แทรกแทรง
มันเป็นสมรรถนะของปัญญา เป็นอุเบกขาญานของแต่ละคน
ถ้าไม่ฝึกมาก่อน แล้วจะเอามาจากไหน
(เราไม่พูดถึงคนที่มีของเก่ามามากนะครับ พูดถึงแค่คุณตรงประเด็น กับชาติสยามก็พอ)


ส่วนเรื่องพระอรหันต์ไม่จงใจนั้น ผมมีข้อโต็แย้งอยู่
แต่ขอเอาทีละเรื่อง

ตอนนี้เอาแค่เรื่องความจงใจ กับไม่จงใจ สภาวะมันเป้นยังไง
เอาแค่ขอบเขตนี้ก่อนนะครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 20 ก.ค. 2010, 22:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณชาติสยาม


อ้างคำพูด:
ที่คุณหมอว่ามา ว่าให้รู้อยู่เฉยๆกับลมหายใจ ไม่ต้องไปยุ่งกับมัน
ให้ "รู้" อย่างเดียว
อันนี้ผมรู้มานานแล้ว และบรรดาครุบาอาจารย์ท่านก้สอนอย่างนี้แหละ
คือให้ "รู้" อย่างเดียว

แต่เวลาปฏิบัติ การให้มัน"แค่รู้" นี่แหละครับ มันทำไม่ได้


1.คุณทำไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะ จริตนิสัย ของคุณไม่เหมาะกับ อานาปานสติ

2.ถ้าคุณทำไม่ได้... ก็ อาจจะมีผู้อื่นที่ทำได้อยู่น่ะครับ




อ้างคำพูด:
ผมขอถามด้วยความซื่อๆ ตรงๆ ถามทุกคน
มีใครที่มาทำอาณาปานสติแล้ว ไม่เคยประสบเหตุการณ์นี้บ้างหรือไม่ครับ
แบบว่า พอทำแล้วก็สามารถอุเบกขาลมหายใจได้เลย ไม่ผ่านสิ่งที่ผมพูดถึง บ้างหรือไม่ครับ

แล้วตัวคุณตรงประเด็นเอง ถ้าจะกรุณา
เวลาปฏิบัติ เป็นเมหือนผม หรือว่าพอทำปั๊บก็ได้วิริยะพอดีเลย ไม่ยุ่งกับลมหายใจเลย



1.สำหรับ ผมเอง ก็เคยตั้งใจมากไป จนเครียดเกร็ง... ฝึกไปเรื่อยๆ ก็เริ่มชิน และ หายเครียดไปเอง

2.บางคน ตรงข้ามกับคุณ คือ ถูกถีนะมิทธะครอบงำ วูบหลับไปเลย ก็มี

ซึ่ง ก็ต้องปรับจูนกันไป และ ถ้าไม่ได้ความจริงๆ ต้องเข้าหาครูบาอาจารย์ที่ท่านเขียวชาญอานาปานสติ เช่น ท่านอ.มิตซูโอะ คุณแม่ชีศันสนีย์ และ ๆลๆ




อ้างคำพูด:
อันนี้ผมถามจริงๆ ไม่ได้มาชวนทะเลาะเอาชนะอะไร
คุณตรงประเด็นว่าดูจิตไม่ถูกๆ ผมก็โลภ เลยกระจายความเสี่ยงมาทำอาณาปานสติด้วย
หวังว่าคุณตรงประเด็นจะช่วยกรุณาพูดถึงการปฏิบัติที่ถูก

คนพูดว่าดูจิตผิด มีเยอะแล้ว
แต่หาคนที่บอกด้วยว่า แล้วที่ถูกต้องทำยังไง
อันนี้ผมไม่ค่อยเจอใครช่วยผมได้


คุณชาติสยาม...ผมเสนอว่า คุณเข้าไปคุยกับ คู่กรณีของคุณโดยตรง ที่ เว็บนั้นๆ ดีกว่า...ผมไม่ใช่คู่กรณีของคุณโดยตรง...คู่ กรณีของคุณโดยตรง ที่สำคัญ ก็คือ อดีตศิษย์ร่วมอาจารย์ของคุณนั้นล่ะครับ ไม่ใช่ใครอื่นไกลเลย

และ ผมเอง ก็ไม่ใช่ว่า จะ ตั้งหน้าตั้งตา ค้านวิชาดูจิต ในทุกประเด็น....
ที่ผมค้าน หลักๆ ก็ตรง ประเด็นที่นักดูจิต มักจะตัดสินชี้ถูก(ใส่ตนเอง)-ชี้ผิด(ใส่ผู้อื่น) เช่น ชี้นำว่าการตั้งใจ/จงใจเจริญสติในขั้นฝึกฝน เป็นสภาวะผิดพลาด ดังในกระทู้นี้



ขอตัวไปพักก่อน พรุ่งนี้ คุยกันต่อ

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมขอแสดงตัวอย่างอีกสักเล็กน้อย
เพื่อที่คุณตรงประเด็นจะได้เข้าใจว่า คำว่าจงใจ กับไม่จงใจ
ในความหมายของผม คืออันไหน


1. มีคนมาพูดจาไม่ถูกใจผม ผมเกิดโมโหขึ้นมา
ถามว่า ผมจงใจโมโห หรือไม่ได้จงใจที่จะโมโห

2. ในชีวิตประจำวันของผม
มีทั้งเรื่องที่ตั้งใจคิด และไม่ตั้งใจจะคิด เกิดดับมากมายในแต่ละวัน

เรื่องตั้งใจคิด เช่น คิดงาน ต้องพยามคิด พยามตึก พยามเรียกความจำ
อันนี้ไม่มีปัญหา มันชัดว่า "จงใจจะคิด"

แต่เรื่องที่คิดไปเอง มากมาย ที่ไม่ได้ตั้งท่าจะคิด
อันนี้สำคัญ ผมถามคุณหมอว่า นี่เป้นความจงใจ หรือไม่จงใจ


3. แถวที่ผมทำงาน มีร้านอาหารมาเปิดใหม่
คนส่วนมากที่พูดถึงร้านนี้ เขามาพูดกันว่าก๋วยเตี๋ยวอร่อยมาก
แต่พอผมไปกิน ผมกลับไม่ชอบ และเห็นว่าไม่อร่อย

ผมถามว่า ที่ใจผมนี้ ผมจงใจที่จะไม่อร่อย
หรือมันไม่อร่อยของมันเอง (ใจมันไม่ชอบเอง)

ปล.
พักนี้คุณหมอดูเครียดนะ รู้สึกว่าเอาเป็นเอาตายกับเรื่องดูจิตมากเกินไป
แปลกไปจากเดิม ที่คุณหมอจะมีขันติมาก และสงบกว่านี้มาก

เอาเป้นว่าผมไม่พูดเรื่องดูจิต ใครจะสอนยังไงช่างเขา
อยากให้คุณหมอยกคำว่า "พวกคุณ" ออกไปก่อน
ผมขอพูดเรื่องของชาติสยาม ที่เอามาคุยกับคุณตรงประเด็น

ขอบเขตตัวแปร มันแค่ 2 คนเราคุยกััน
คงจะคุยกันได้ง่ายขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 23:07
โพสต์: 21

แนวปฏิบัติ: เจริญสติภาวนา
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: ขอบคุณทีทุกท่านได้ขยายความเรื่องการเจริญสติผมได้อ่านดูแล้วของทุกท่านความรู้สึกว่า
ทุกท่านเก่งๆทุกท่านเลยครับ นับถือจริงๆครับ ที่ได้มีความเพียรและได้สนใจศึกษาธรรมกันทั่วหน้าผม
ดีใจมากที่เราจะไม่ขาดชาวพุทธที่สนใจธรรมะ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันน่าสนใจมากครับ จะได้
ประสบการณ์และนำไปปฎิบัติเพื่อต่อยอดที่ยังไม่รู้ได้อีกครับ สาธุจริงๆๆครับ
ท้ายนี้ผมขอให้ทุกท่านได้มรรคได้ผลเร็วยิ่งๆขึ้นไปด้วยครับเพราะธรรมะที่ใครได้ปฎิบัติแล้ว-
ก็ได้กับคนนั้นไม่สามารถจะให้ใครต่อได้ ให้ได้ก็เพียงคำแนะนำครับ ถ้าใครไม่ปฎิบัติแล้วไซร้ก็คงจะช่วย
อะไรไม่ได้จริงๆครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 23:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 มิ.ย. 2004, 12:36
โพสต์: 86

โฮมเพจ: naiyanit.blogspot.com
แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะของหลวงพ่อปราโมทย์ ทุกเล่ม
ชื่อเล่น: นิดนึง
อายุ: 0
ที่อยู่: เมืองนนท์

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: อนุโมทนากับคำตอบของคุณตรงประเด็นนะคะ

กระทู้ก่อน เชิญคุณตรงประเด็นตอบ เห็นเงียบไป ที่แท้มาตอบที่นี่ นี่เอง :b12:

.....................................................
~รู้สภาวะตามความเป็นจริงลงปัจจุบัน ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง~
สติมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 02:18
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผมค้าน หลักๆ ก็ตรง ประเด็นที่นักดูจิต มักจะตัดสินชี้ถูก(ใส่ตนเอง)-ชี้ผิด(ใส่ผู้อื่น) เช่น ชี้นำว่าการตั้งใจ/จงใจเจริญสติในขั้นฝึกฝน เป็นสภาวะผิดพลาด ดังในกระทู้นี้

คุณหลงประเด็นก็กำลังชี้ถูก(ใส่ตนเอง)-ชี้ผิด(ใส่ผู้อื่น) อยู่ครับ

นี่คือแนวทางของนักดูจิต คุณทำได้หรือทำไม่เป็น หรือไม่เข้าใจก็เรื่องของคุณ
เค้าไม่ให้จงใจรู้เพราะอะไร การรู้ไปก่อนคืออะไร คุณเข้าใจไหม

ผมทำได้ ผมรู้ว่าเป็นยังไง
คุณทำไม่ได้ ทำไมคุณถึงว่ามันผิด
หือ?

.....................................................
ธรรมดาๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
2.ถ้าคุณทำไม่ได้... ก็ อาจจะมีผู้อื่นที่ทำได้อยู่น่ะครับ


ตรงนี้แหละครับสำคัญ
สำคัญว่าคนที่ทำได้ เขาต้องผ่านตรงนี้ไหม
หมายถึง เขาเคยเจอสภาพที่มีแรงบางอย่างมาบงการลมหายใจของเรา
ทำให้เรารู้สึกคับข้องเป้นทุกข์ขึ้นมา ทั้งๆที่หายใจทั้งวันทั้งคืนไม่เหนื่อย
แต่มากำหนดรู้อาณาปานสติเท่านั้นแหละ เหนื่อยเลย

ซึ่งคุณตรงประเด้นพูดข้ามไป เหมือนว่าไม่ต้องผ่าน
คือพูดทำนองว่า ถ้าทำถูกก็ต้องไม่เกิดเหตุการณ์นี้
ซึ่งผมก็ค้านว่า ไม่จริงมันไม่ใช่การปุบปับอะไรแบบนั้น

คนปฏิบัติทุกคน (เราไม่พูดถึงคนจำพวกพิเศษนะครับ)ย่อมต้องประสบกับสภาวะที่ว่ามา
แม้ว่าเราจะตั้งใจ ตั้งเจตนา ว่าจะไม่แทรกแทรงลมหายใจ
แต่มันก็มีแรงอะไรบางอย่าง ที่เข้าไปวุ่นวายกับลมหายใจ
ที่พ้นจากบังคับบัญชาของเรา ที่เราสั่งเอาไม่ได้

ตรงนี้แหละครับคุณตรงประเด็น สำคัญ
ฟังให้ดี

เจตนาตัวนี้แหละ ที่เป้นเจตนาที่พ้นจากบังคับบัญชาของเรา
ตัวนี้แหละครับ ที่คนพยามจะไปบังคับมัน
แล้วเขาสอนกันว่าอย่าไปบังคับ อย่าจงใจ อย่าบังคับ

เจตนาตัวนี้แหละ คือปรมัตถ์ธรรม คือตัวอัตตา คือธรรมแท้ๆตามความจริง
มันเป็นการปรุงแต่งของจิต

เหมือนกันกับการทีมีกลื่นอะไรโชยมาโดนจมูกเรา คนอื่นว่าหอม เราว่าเหม็น
คือใจเราเลือกไม่ได้ว่าเราจะหอม หรือเราจะเหม็น
เราสั่งจิตใจเราให้เลือกไม่ได้ มันเลือกของมันเอง

ที่คุณตรงพูดว่า มันมีคนทำได้ มีคนที่รู้ลมหายใจโดยไม่ยุ่งกับมันได้
คนที่ทำได้ เขาไม่ได้สั่งจิตครับ
มันไม่ใข่อันเดียวกันกับคำว่า "เจตนา" ที่คุณหมอยกมาจากพจนานุกรม
ชื่อเจตนาเหมือน แต่คนละรสกัน คนละสภาวะโดยสิ้นเชิง
มันเป็นสมรรถนะของปัญญา
ปัญญาตัวนี้คืออุเบกขา มันคือผลจากสมาธิอบรมปัญญา
ไม่ใช่ว่าไปมีเจตนาจะอุเบกขา แล้วจิตมันก็อุเบกขาขึ้นมาให้ตามสั่ง

ถ้าคุณตรงประเด้นสงสัยที่เขาสอนกันว่า "อย่าจงใจนะ"
ให้ลอง simulate ดูสิครับว่า ถ้าจงใจ จะเกิดอะไร

เช่น จงใจจะรู้ลมหายใจ มันจะเกิดอะไร
---
มันก็เสียเวลาเท่านั้นแหละครับ เพราะบังคับไปเถอะ
ถึงจุดหนึ่งก็ต้องคลาย มันไม่พ้นไตรลักษณ์
จงใจแค่ไหนก้ต้องปล่อยในที่สุด

แล้วถ้าจงใจรู้อารมณ์ จะเกิดอะไร
เช่น เรารู้ว่าในแต่ละวันทำงานนี่ มันต้องมีแน่นอน เรื่องอารมณ์โกรธ มันต้องมี
เราเลยดักรอ...รอดูอารมณ์
ผลคือมันเป้นการปรุง ซ้อนการปรุงอีกที

ลำพังความโกรธตามธรรมชาติ มันก้คือการปรุงแต่งอยู่ในตัวแล้ว
เราก็ไปตั้งท่ารออีก ว่าจะมีอารมณ์อะไรให้ดุ
สังเกตุลงไปเถอะครับ การตั้งท่านี่ มันคือความฟุ้งซ่าน มันไม่ใช่ธรรมชาติ"รู้"
พอเราตั้งท่ารู้ มันจะควาน มันจะวิจัย
ว่า"นี่ใช่ไหม นั่นใช่ไหม เอ๊ะหรือไม่ใช่ เอ๊ะน่าจะใช่ คงใช่มั๊ง ใช่ๆ อันนี้แหละ"
(ที่ยกคำอุทานมานี้ เพื่อสมมุติสภาว่าที่จิตมันตั้งท่าจะรอดูอารมณ์นะครับ)



ตรงประเด็น เขียน:
อ้างคำพูด:
ผมขอถามด้วยความซื่อๆ ตรงๆ ถามทุกคน
มีใครที่มาทำอาณาปานสติแล้ว ไม่เคยประสบเหตุการณ์นี้บ้างหรือไม่ครับ
แบบว่า พอทำแล้วก็สามารถอุเบกขาลมหายใจได้เลย ไม่ผ่านสิ่งที่ผมพูดถึง บ้างหรือไม่ครับ

แล้วตัวคุณตรงประเด็นเอง ถ้าจะกรุณา
เวลาปฏิบัติ เป็นเมหือนผม หรือว่าพอทำปั๊บก็ได้วิริยะพอดีเลย ไม่ยุ่งกับลมหายใจเลย


1.สำหรับ ผมเอง ก็เคยตั้งใจมากไป จนเครียดเกร็ง... ฝึกไปเรื่อยๆ ก็เริ่มชิน และ หายเครียดไปเอง


นี่คุณหมอก็ยอมรับเองแล้วนะ ว่าการ "ทำเป็น"
มันต้องผ่านการ "ทำไม่เป็น" มาก่อน

คุณหมอพูดถึงทฏษฏีที่ว่า ถ้าทำเป็น มันจะต้องมีวิริยะพอดี
แล้วจะไม่เกิดเหตุการณ์แทรกแทรงลมหายใจ
แต่พอปฏิบัติ คุณหมอก็ยอมรับตรงนี้ว่า "เคยทำผิด"เหมือนผม
เราผ่านเรื่องเดียวกัน สภาวะเดียวกัน คือสภาวะที่มีอะไรบางอย่างไปบงการลมหายใจ
ไม่ได้เริ่มจากการมีอุเบกขาต่อลมหายใจในฉับพลันที่ทำอาณาปานสติ ตามทฤษฏีที่คุณหมอยกมา



ตรงประเด็น เขียน:
คุณชาติสยาม...ผมเสนอว่า คุณเข้าไปคุยกับ คู่กรณีของคุณโดยตรง ที่ เว็บนั้นๆ ดีกว่า...ผมไม่ใช่คู่กรณีของคุณโดยตรง...คู่ กรณีของคุณโดยตรง ที่สำคัญ ก็คือ อดีตศิษย์ร่วมอาจารย์ของคุณนั้นล่ะครับ ไม่ใช่ใครอื่นไกลเลย



ผมคุยเรื่องจริงของชาติสยาม เรื่องส่วนตัวของชาติสยาม กับคุณหมอตรงประเด็น
ในประเด็นจงใจ กับไม่จงใจ แล้วค่อยแตกไปเรื่องอื่น
ผมไม่ได้คุยเรื่อง "เว้บโน้น" หรือ "ดูจิต"

และเว็บนี้เขาไม่ให้คุยในลักษณะทำนองโจมตีสำนักปฏิบัติ
ใครสอนถูกสอนผิด เรื่องของเขา ผมจึงไม่ให้มันไปไกลขนาดนั้น (แค่นี้ก็เส้นยาแดงผ่าแปดแล้ว)


เพียงแต่ผมเห็นคูณตรงประเด็นพูดเรื่อง จงใจ ไม่จงใจ มานานแล้ว
ผมก็อยากจะแสดงความเห็น แต่มันพูดยากเหลือเกิน


ผมมองว่า คำว่า "จงใจ" หรือ "ไม่จงใจ" ของคุณตรงประเด็น
มันเป็นนิยามระดับบัญญัติ คือไปมองว่า "ความคิด-ความตั้งใจ" คือ"ผู้จงใจ" หรือ"ไม่จงใจ"
คือคุณหมอมองว่า การจงใจ คือลักษณะที่น้อมนึกตรึกคิด คุณหมอก็มองว่ามันคือ intention

แต่ผมมองว่า คำว่า "จงใจ" หรือ"ไม่จงใจ" มันมีในระดับปรมัตถ์ด้วย
intention ที่พ้นไปจากความคิดนึกตรึกของเรา มันมีอยู่จริง
ผู้ที่จงใจหรือไม่จงใจ มันคืออัตตา มันไม่ได้มีแค่ความคิด ไม่ได้มีแค่"นายชาติสยาม"
แต่ในคำว่า นายชาติสยาม มันมีอัตตาอยู่ และมันทำงานของมันโดยที่นายชาติสยามไปสั่งไม่ได้เลย

เช่น "กลิ่นลอยมา แล้วใจมันดันชอบหรือไม่ชอบขึ้นมา"

ถ้ามองมุมบัญญัติ - แบบที่คูณหมอมอง ก็จะมองว่ามันคือความ"ไม่จงใจ"
ที่จะไปชอบหรือไม่ชอบกลิ่น มันเลือกของมันเอง เราไปจงใจไม่ได้

แต่ถ้ามองมุมปรมัตถ์ - การชอบหรือไม่ชอบกลิ่น นั่นแหละ คือความจงใจของของอัตตา
ที่มันเข้ามาทำงานของมันเอง มันก้คือ สังขารขันธ์ ที่ปรุงขึ้นเอง
โดยพ้นไปจากคำสั่งความคิดของเราไปเลย มันปรุงของมันเอง
มันเป็น intention ที่คุณหมอไม่ได้ intended to (choose)

เฉกเช่นกับการรู้ลมหายใจ แล้วอดไม่ได้ที่จะมีการบังคับ เพราะอะไร
เพราะอัตตานี่แหละครับ เป็นผู้ทำงาน โดยที่เราไม่จงใจ
สังยังไงมันก้สั่งไม่ได้ เราไม่มีทางห้ามการปรุงนี้ได้
เว้นเสียแต่เราจะมีปัญญาที่วางเฉยต่อการปรุงแต่งนี้
เมื่อนั้น มันก็จะพ้นคำว่า "จงใจ" "ไม่จงใจ" คือไม่ต้องเลือกเลย ว่าจะจงใจ ไม่จงใจ
เพราะประธานของกรรม มันพ้นไปเลย มันเหนือการเลือก
มันไม่ต้องเลือกว่าจะจงใจ หรือไม่จงใจ


ปล. ขอแถมเรื่องพระอรหันต์พ้นเจตนา ที่คุณตรงประเด็นพูดถึงนิดนึงนะครับ
การพ้นเจตนาจของพระอรหันต์แบบที่คุณตรงประเด็นว่ามานั้น
ถ้าเป็นตามนั้น พระอรหันต์ก็จะไม่ต่างอะไรกับก้อนหิน

ถ้าพ้นเจตนาแล้ว เวลาท่านจะเทศน์ท่าเอาสัญญาที่ไหนมาเทศน์
ถ้าไม่มีเจตนาจะนึกจะน้อม ท่านจะจำได้ว่าว่าจะต้องเทศน์เป็นภาษาไทย
ท่านจะนึกออกไหมว่าจะต้องเทศน์เรื่องอะไร

และเพราะท่านเทศน์ออกมาเป้นภาษาไทยนั่นแหละครับ
มันก็เป็นการฟ้องอยู่ในตัวแล้วว่า มันเป็นการปรุงแต่ง เป็นสังขาร
ถึงเป้นคำภาษาไทยออกมาได้ ถึงแสดงบัญญัติออกมาได้
นี่คือพระอรหันต์แบบที่คุณตรงประเด้นว่ามา

ผมเห็นว่ามันไม่ใช่อย่างนั้นหรอกครับ
ไม่ง่ายขนาดนั้น

พระอรหันต์ไม่ได้เป้นผู้ไร้เจตนา
แต่เป็นอิสระจากอัตตาต่างหากครับ จิตทรงอุเบกขาต่อสังขารทั้งปวงต่างหาก
เช่นตัวที่มันบงการลมหายใจเราตอนทำอาณาปานสตินั่นแหละครับ
พระอรหันต์ถึงยังงน้อมนึกได้ พูดภาษาไทยได้ เอามาเทศน์ให้คนรู้เรื่องได้ เดินเหิรได้ไม่ตกท้องร่อง
ไม่ใช่ไร้เจตนาอะไรเลยแบบบก้อนหิน ไม่ใช่ไม่นึกไม่คิดอะไรเลยแบบอากาศ


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 21 ก.ค. 2010, 00:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 00:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณไข่น้อยใจเย็นลงนิดนึงก็ดีนะครับ :b13:
ไม่งั้นกระทู้ก็อาจจะหายไปได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 03:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพระพุทธองค์ ทรงสอนอานาปานสติ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3924&Z=4181&pagebreak=0

พระองค์ทรง แสดง ออก เป็น 16 ลำดับขั้นให้ศึกษา

ทรงประทานบท บริกรรม ก่อน คือการเตรียมตัว การกระทำเบื้องต้น เพื่อความสะดวกความสบายแก่การภาวนา

อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา

นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุํ กายํ

ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา ฯ โส สโตว
อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
(เพื่อพ้นจากความคลุกคลี และเป็นที่สะดวก)

นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
(จัดแจงท่าทางให้เหมาะสม โดยการนั่งม้วนเข่าเข้าหาตนนั่งให้สบายๆ ไม่ทรมานตนเอง ปรับตามอัธยาสัยที่ตนคิดว่าอำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติธรรม กายตั้งตรงเพื่อให้หายใจสะดวก)

ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า
(ไม่จำกัดว่าจะหลับตา หรือลืมตา จะหรี่ตาทอดสายตาออกไปข้างหน้าประมาณ 2 ศอกก็ไม่เป็นไร ขอเพียงทำความรู้สึกตัวได้ อย่างนี้คือ บริกรรมอานาปานสติภาวนา)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 21 ก.ค. 2010, 03:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 03:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
มีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 03:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งหมายความว่า การเจริญอานาปานสติภาวนา ย่อมเป็นการทำนิพพานให้แจ้ง
และเป็นการเจริญสมถะวิปัสสนา
ดังนั้น การกำหนดก็ตาม การศึกษาก็ตาม ล้วนแล้วแต่ต้องเกิดขึ้นด้วยเจตนา เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง

อานาปานสติภาวนา อาศัยลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นหลัก เป็นอารมณ์ให้จิตอาศัย ให้จิตได้เรียนรู้ โดยมีสติ เหมือนเชือกผู้ใจ ไว้กับหลัก แล้วจิตก็ทำงานตามสมควรแก่การงานที่ต้องทำ คือทำนิพพานให้แจ้ง

ในการผูกจิตเข้ากับหลัก จึงถูกกำหนดขึ้น ใน ขั้นที่ 1-3 คือ
เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า(ปชานติ) หายใจออกยาว
หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น

ขณะนี้ ไม่มีการวิัปัสสนา อาศัยกาำรกำหนดอารมณ์ให้อยู่กับลมหายใจ เข้า ลมหายใจออกเท่านั้น
เพราะ บาลี ใช้คำว่า ปชานติ คือให้รู้ชัดว่า หายใจออกยาว ..ฯลฯ....หายใจเข้าสั้น การรู้ชัดที่ใช้ พยัญชนะว่า ปชานติ เป็นการสนใจใส่อารมณ์ ด้วยสัมปชัญญะ เพราะ ปชานลักขณะ ยังประกาศตัวปัญญาประกอบอยู่ภายใน ในขณะนี้ คือรู้ชัดด้วยความเข้าใจว่า ประกอบโยคะนี้ด้วยความมีประโยชน์มีจุดมุ่งหมาย

ดังนี้ เป็นการผู้จิตไว้กับหลักด้วย เชือกคือสติ
ให้รู้ชัด ซึ่งลมหายใจ

ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ
ปชานาติ ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ทีฆํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ
รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ อสฺสสามีติ ปชานาติ รสฺสํ วา
ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 21 ก.ค. 2010, 12:16, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 04:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จนกว่าจะผูกจิตเข้ากับหลักได้อย่างวางใจ จึงเริ่มทำความรู้พร้อมให้กับจิต อันอาศัยลมหายใจเข้า ลมหายใจออกเป็นบาทฐานในการเจริญปัญญา

จากนี้ไป บาลี จะใช้คำว่า สิกขติ ไม่ใช้ คำว่าปชานติ
คือทำการศึกษา สังเกตุ พิจารณา เพื่อรู้พร้อมเฉพาะ

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจเข้า
(สพฺพกายปฏิสํเวที …. สิกฺขติ 4)

(ในขณะนี้ ผู้ปฏิบัติอาจจะรู้สึกตัวโยกตัวคลอน ซาบซ่าน หรือท้องพองท้องยุบ หรือตัวคับตัวแน่น หรืออาการอื่นใดเกี่ยวกับกาย ก็ให้ทำการศึกษสังเกตุ แต่อย่าทิ้งความรู้สึกในลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ณ ตรงนี้ ย่อมอาศัยความไม่ยินดีความไม่ยินร้าย เป็นอุปการะธรรม เพื่อให้สติผูกจิตไว้กับลมหายใจเข้าลมหายใจออก จิตจะมีความรู้ในกาย และสภาพธรรมอันเกิดขึ้นเนื่องกับกายได้ดีขึ้น)

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
(ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขาร…..สิกฺขติ 5)
(ผู้ปฏิบัติเริ่มฝึกจิต ให้รู้จักระงับกายสังขาร ในที่นี้คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกให้ละเอียด อ่อน เบาควรแก่งาน)

4-5 ฝึกจิตรู้รูป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 04:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่สงบแล้วยังจำเป็นต้องเรียนรู้ สภาวะอันเกี่ยวกับจิตเอง เพื่อให้รู้พร้อมรู้ทั่ว เพื่อขจัดความหลง
พระพุทธองค์ ทรงตรัสสอนให้จิต มารู้พร้อมรู้เฉพาะ ในจิตสังขาร อันมี เวทนา สัญญา จิตตสังขาร
โดย

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
(ปีติปฏิสํเวที ……สิกฺขติ)…6----เป็นสังขาร

(ที่ให้กำหนดรู้ปิติอันเป็นสังขารก่อน เพราะว่าปิติ เป็นอารมณ์ที่ชัด และรับรู้ได้ง่าย และยังเช่นเดิมคือสติยังคอยระลึกอยู่ที่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก คอยผูกใจไว้--- ปิติใกล้กับสุขมาก เพราะปิติเป็นความอิ่มใจ เอิบอิ่มซาบซ่าน)

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
(ปฏิสํเวที ……สิกฺขติ 7 ----เป็นสุขเวทนา---และรู้สุขสัญญาด้วย... สุขสัญญา สุขเวทนาเป็นอารมณ์ที่ไม่ชัดเท่าปิติ แม้จะเกิดร่วมเกิดพร้อมกัน แต่จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อละปิติได้)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 04:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยามที่จิตมีปิติสุข กุศลวิตกมักเกิดขึ้น แต่บ่อยครั้งที่ไม่รู้สึกว่านั่นคือกุศลวิตกอันเกิดจากสุขสัญญา
พระพุทธองค์ ทรงบอกให้พิจารณาความปรุงแต่ง หรือความคิดของจิตนั้นให้ชัดเจน เพื่อขจัดความหลงอันพึงเกิดขึ้น เพราะความยินดีในกุศลวิตก

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
(จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที….สิกฺขติ 7)

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
(ปสฺสมฺภยํ…..สิกฺขติ 8)---อุเบกขา เข้ามาทำงานในลมหายใจ สติเข้ามาจับความคิดปรุงแต่ง โดยตั้งอยู่ในความไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ให้ศึกษาอย่างนี้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 64 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร