วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 20:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 15:13
โพสต์: 33

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
สติ ที่ถึงแม้นจะเป็นอนัตตา ก็ฝึก หรือ ทำให้เจริญขึ้นได้.... การ ฝึก หรือ ทำให้เจริญขึ้นนี้ ไม่ใช่เป็นการบังคับให้สติที่เป็นอนัตตาบังเกิดขึ้นหรอกครับ

สติอัตโนมัติ
ตรงประเด็น เขียน:
เมื่อสตินทรีย์มีพลังแก่กล้าขึ้น จะกลายเป็น สติวินโย คือมีสติเป็นผู้นำ กระชับแน่นอยู่ที่ดวงจิตของผู้ปฏิบัติไม่พรากจากกันตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หลับ และตื่น สายสัมพันธ์แห่งสติสัมปชัญญะตัวนี้จะต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย


ขอสงสัยหน่อยนะขอรับ สติเป็นอนัตตาจริงหรือ? เป็นอนัตตาตอนไหนครับ ท่านว่าไว้ที่ไหนบ้าง?
แล้วทำไม ประโยคข้างบนนั้นไม่สนับสนุนกัน ขัดแย้งกันเอง

:b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉัตรพงษ์ เขียน:
ขอสงสัยหน่อยนะขอรับ สติเป็นอนัตตาจริงหรือ? เป็นอนัตตาตอนไหนครับ ท่านว่าไว้ที่ไหนบ้าง?
แล้วทำไม ประโยคข้างบนนั้นไม่สนับสนุนกัน ขัดแย้งกันเอง

:b10:


เอาพระพุทธพจน์เลยก็ได้ครับ

สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ
ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา


ถ้าสติเป็น"ธรรม" ชนิดหนึ่ง (เข้าใจว่าคือเจตสิกธรรม)
ย่อมต้องไม่พ้นพุทธวจนะนี้ไปได้


พระพุทธเจ้านั้น ทรงเปี่ยมด้วยปัญญาหยั่งรู้แจ้งแทงตลอดทั้งอดีตอนาคต ทั้งสามโลก
เมื่อทรงตรัสว่า "ทั้งปวง-สัพเพ" ย่อมไม่มีข้อยกเว้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 15:13
โพสต์: 33

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตา ของไม่มีสาระ ไม่ใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ ไม่ควรไปยึดเอาถือเอา

ผมอ่านเจอในพระไตรปิฏก ท่านเปรียบ ธรรมเป็นแพ

คนอาศัยแพเพื่อข้ามฝั่ง เมื่อถึงฝั่ง(พระนิพพาน)
ก็ไม่ต้องแบกแพไปด้วย จึงว่า ธัมมา อนัตตาติ

ธรรมนั้น หมายถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่ให้ไว้แทนพระองค์เมื่อพระองค์ล่วงไปแล้ว

หากรวมเอาทุกอย่าง เป็นต้นว่า จิต สติ ปัญญา ฯลฯ เหล่านี้ว่าล้วนเป็นธรรม แล้วนำมาวินิจฉัยว่า เป็นอนัตตา น่าจะไม่ถูก ถ้าบอกว่าสติเป็นธรรมเป็นอนัตตา จิตและปัญญาก็ต้องเป็นอนัตตาด้วย ตามที่ว่า เพราะเป็นธรรมเหมือนกัน จะมาเลือกเอาเฉพาะตัวใดตัวหนึ่งไม่ได้

ถามว่า พระที่ท่านบรรลุอรหันต์ เป็นคนไม่มีสติไม่มีปัญญา หรือสติปัญญาท่านไม่สมบูรณ์ สติปัญญาเลอะเลือน อย่างนั้นหรือ ไม่น่าใช่ ถ้าท่านไม่มีสติไม่มีปัญญาแล้วท่านเอาอะไรมาสอนเรา

ในชาดกพระสารีบุตรถูกโจทย์ พระองค์ตรัสว่า เธอเป็น สติวินัย แล้วไม่มีอะไรจะกล่าวถึงอีก หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่า เป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ ผู้มีสติติดแนบจิตตลอด เป็นผู้มีมีสติเฝ้าคอยระวังตลอดเวลา

หลวงตาฯ วัดบ้านตาด ท่านเรียกว่า มหาสติมหาปัญญา
หรือสติอัตโนมัติ ที่หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านกล่าวไว้
ตามที่ท่านตรงประเด็นยกมาแสดง


จึงถามว่า ที่ท่านตรงประเด็นแสดง ทำไมขัดกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอสงสัยหน่อย สติเป็นอัตตาหรือเปล่า?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติครับ

ที่ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ความว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันมีที่ตั้งอยู่ รู้สึกได้ทางอายตนะ ย่อมมีความเปลี่ยนแปลงไปธรรมดา
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ล้วนมีเหตุปัจจัย เป็นความเกิด ไม่มียกไว้ ทั้งอวิชชา และสัมมาทิฏฐิ

เมื่อศีลพร้อม ปัญญาพร้อม สติพร้อม มรรคผลเต็มบริบูรณ์แล้ว
เขาจึงเป็นผู้หยุดการแสวงหา ทางแห่งความเกิดทั้งหลาย ที่เขาได้ผ่านมาแล้วด้วยความรู้ชัดแล้ว
จึงเป็นผู้หยุดความหมุนรอบ จึงพ้นความเกิด ทางทั้งหลายทั้งปวงจึงเป็นโมฆะ


ขอบคุณครับ

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


นิรินธน์ เขียน:
ขอสงสัยหน่อย สติเป็นอัตตาหรือเปล่า?


สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การที่จิตไปรู้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ่น(แล้วรู้)แสดงว่าเรากำลังเจริญสติใช้หรือเปล่าครับ


การที่จิตไปรู้อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อราคะเกิดขึ้นแล้วรู้, เมื่อโทสะเกิดขึ้นแล้วรู้ เป็นต้น ระหว่างนั้นมีสติ แต่ใช่ว่าจะเป็นการเจริญสติเสมอไปครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นิรินธน์ เขียน:
ขอสงสัยหน่อย สติเป็นอัตตาหรือเปล่า?


ถ้ากล่าวโดยบัญญัติ สติก็เป็นอัตตา
แต่ถ้ากล่าวโดยปรมัตถ์ สติย่อมเป็นอนัตตา


เช่น เราเจริญสติ เราก็เห็นๆกันอยู่ว่าสติมีจริง แต่มีเป็นขณะ
จะไปพูดว่าสติเป้นอนัตตา ไม่มีตัวตน มันก็ไม่ใช่ เพราะมันมีอยู่จริงๆ
แต่มันจริงโดยบัญญัติ

แต่หาสติอันใดอันหนึ่งเป็นตัวเป็นตนถาวรได้หรือไม่
อันนี้ก็คาตาเหมือนกันว่าไม่ได้ ไม่มีสติอันใดอันหนึ่งเป็นสิ่งถาวร

หรืออักตัวอย่าง ชัดๆเลย
สมมุติว่าคุณนิรินธน์ ชื่อจริงๆว่านิรินธน์
บ้านอยู่ตรงนั้นตรงนี้ อาชีพการงานอย่างนั้นอย่างนี้
ถามว่านี่ เป็นอัตตาหรือเปล่า ... มันก้ต้องเป็นใช่ไหมครับ
นี่แหละอัตตาที่ว่าเป็นเรา เห็นเราว่าเป็นคน ชื่อนี้ บ้านอยู่นี้ อาชีพอย่างนี้

ถามว่า แล้วอัตตาที่ว่านี้ มันเป้นอนัตตาหรือเปล่า
มันก็ต้องเป้นอนัตตา เพราะอะไร เพราะหาตัวตนจริงๆไม่ได้
เอานายนิรินธน์มาชำแหละออกก็หาไม่เจอว่าตรงไหนเป้นนายนิรินธน์

การมีอยู่ของนายนิรินธน์ ก็เป็นแค่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ไม่เกินร้อยปี
ถามว่านายนิรินธน์มีอยู่จริงไหม ก้ต้องตอบว่า มีจริงๆ
แต่นายนิรินธน์ไม่ใช่"ของจริง" เพราะนายนิรินธน์ต้องตายในที่สุด
อัตตภาพความเป็นนายนิรินธน์ต้องดับสลายในวันหนึ่ง

เมื่อความมีอยู่ของนายนิรินธน์มันเกิดๆดับๆตราบเท่าที่มีหตุปัจจัย
มันจึงเป็นสภาพอนัตตา คือไม่มีอะไรจริงแท้เลย

ถ้ากล่าวโดยบัญญัติ สติก็เป็นอัตตา
แต่ถ้ากล่าวโดยปรมัตถ์ สติย่อมเป็นอนัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2010, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
อ้างคำพูด:
การที่จิตไปรู้อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ่น(แล้วรู้)แสดงว่าเรากำลังเจริญสติใช้หรือเปล่าครับ


การที่จิตไปรู้อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อราคะเกิดขึ้นแล้วรู้, เมื่อโทสะเกิดขึ้นแล้วรู้ เป็นต้น ระหว่างนั้นมีสติ แต่ใช่ว่าจะเป็นการเจริญสติเสมอไปครับ



ขอคุณศิรัสพล ช่วยอธิบายด้วยว่า แล้วต้องทำอย่างไร หรือต้องมีเหตุปัจจัยอย่างไร
การที่จิตไปรู้อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น เมื่อราคะเกิดขึ้นแล้วรู้,
เมื่อโทสะเกิดขึ้นแล้วรู้ จึงจะเป็นการเจริญสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสัมมาสติในองค์มรรค(ทางปฏิบัติ คือ การเจริญสติปัฏฐาน) ให้ได้ผล... น่าจะอยู่ที่เหตุใกล้แห่งสัมมาสติ คือ ความเพียรชอบ(สัมมาวายามะ)

กล่าวคือ เพียรให้พอดี...ไม่ ตั้งใจเพียรมากเกินไป จน กัดฟันแน่น เครียดเกร็ง ไม่เป็นธรรมชาติ.... และ ไม่ตั้งใจเพียรน้อยเกินไป จนขาดสติ

ถ้า เพียรให้พอดี แล้ว.... สัมมาสติในองค์มรรคย่อมพอดี
(จาก มหาจัตตารีสกสูตร; เพราะ มีสัมมาวายามะ สัมมาสาติจึงพอเหมาะ).




อย่างไรก็ตาม เราท่าน ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญา ก็ต้องอาศัยความเพียรอยู่ดี...จะให้ไม่ต้องเพียรเลย แล้วตรัสรู้ฉับพลันแบบผู้ที่เป็นขิปปาภิญญา ก็ คงเป็นไปไม่ได้.

ดัง พระพุทธพจน์ที่ว่า "บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ ด้วยความเพียร" (ต่างกับ แนวคิด ความพยายามอยู่ที่ไหน ความล้มเหลวอยู่ที่นั่น ในปัจจุบัน)

ปล... จาก พจนานุกรม

http://guru.sanook.com/dictionary/%E0%B ... %E0%B8%81/

อ้างคำพูด:
วิริยะ
ความหมาย
น. ความเพียร, ความบากบั่น, มักใช้เข้าคู่กับคำ อุตสาหะ เป็นวิริยอุตสาหะ; ความกล้า; วิริยภาพ ก็ใช้. (ป.; ส. วีรฺย).

พยายาม
ความหมาย
[พะยา] ก. ทําโดยมานะบากบั่น. (ส. วฺยายาม; ป. วายาม).

เพียร
ความหมาย
น. ความบากบั่น, ความกล้าแข็ง. ก. พยายามจนกว่าจะสําเร็จ, บากบั่น. (ส. วีรฺย; ป. วิริย).









ส่วน ประเด็น การที่จิตคุ้นเคย จดจำสภาวะต่างๆได้ในการเจริญสติปัฎฐาน (มีผู้กล่าวว่า ตรงกับ คำว่า ถิระสัญญา ในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล) ก็ เป็นผลสืบเนื่องไปจาก ความเพียรชอบ...

คำสอนเรื่อง ถิระสัญญา ที่ว่า ไม่ให้ จงใจ/ตั้งใจเจริญสติ เพราะ มีความอยากพ้นทุกข์ที่ระบุว่าคือ ตัณหา (เปรียบเทียบ ความปราถนาที่จะพ้นทุกข์ ที่ พระสัทธธรรมดั้งเดิม เรียกว่า ฉันทะในอิทธิบาท) แต่ ให้เจริญเหตุใกล้แห่งสติ คือ ถิระสัญญา แทน ....สำหรับผม จึงไม่ใช่คำสอนที่สำคัญอะไรมากนัก

เพราะ นอกเหนือจากว่า ถิระสัญญา จะเป็นผลสืบเนื่องไปจาก ความเพียรชอบ เองแล้ว.... พระพุทธองค์ก็ไม่ได้สอนเน้นเรื่อง ถิระสัญญาเอาไว้(ไม่พบคำๆนี้ในระดับพระสูตรเสียด้วยซ้ำ)

ซึ่ง ถ้าคำสอนเรื่อง ถิระสัญญา เป็นสิ่งที่จำเป็นขนาดนั้นจริง มีหรือ ที่จะไม่ปรากฏในระดับพระสูตร




ประเด็น ในจุดที่ถือว่า ไม่ให้ จงใจ/ตั้งใจเจริญสติ(ถือว่า เป็น สภาวะผิดพลาด)... มันจึงอยู่ที่

การไปตีความว่า ความปราถนาจะพ้นทุกข์ ซึ่งก็คือ ฉันทะในอิทธิบาท ...ไปเป็น ตัณหาที่นำไปสู่ทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉัตรพงษ์ เขียน:
ถามว่า พระที่ท่านบรรลุอรหันต์ เป็นคนไม่มีสติไม่มีปัญญา หรือสติปัญญาท่านไม่สมบูรณ์ สติปัญญาเลอะเลือน อย่างนั้นหรือ ไม่น่าใช่ ถ้าท่านไม่มีสติไม่มีปัญญาแล้วท่านเอาอะไรมาสอนเรา

ในชาดกพระสารีบุตรถูกโจทย์ พระองค์ตรัสว่า เธอเป็น สติวินัย แล้วไม่มีอะไรจะกล่าวถึงอีก หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่า เป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ ผู้มีสติติดแนบจิตตลอด เป็นผู้มีมีสติเฝ้าคอยระวังตลอดเวลา

สาธุเจ้าข้า :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย จันทร์เจ้าขา เมื่อ 20 ก.ค. 2010, 10:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตสงสัย
สติเป็นอัตตาก็ใช่ เป็นอนัตตาก็ใช่
เราก็ยังควรเจริญสติให้ยิ่งๆ ขึ้นใช่ไหม??

หรือเราควรหาข้อยุติให้ได้ก่อนว่า
เป็นอัตตาเวลาใด
เป็นอนัตตาเวลาใด
แล้วจึงค่อยเจริญสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็น ของปัญหา

น่าจะอยู่ที่ เข้าใจคำว่า อนัตตา คือ บังคับบัญชาไม่ได้ ....



และ เมื่อ บังคับบัญชาไม่ได้ แล้ว การจะไปพยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญ(กระทำให้งอกงาม)สติซึ่งก็เป็นอนัตตา ให้บังเกิดขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ผิดพลาด...เพราะ ไปบังคับ(ใช้คำว่า บังคับ แทนคำว่า เจริญ; ข้อสังเกตุ )สิ่งที่บังคับไม่ได้ ให้เกิดขึ้น....

ทางที่ถูกที่ควร คือ เจริญเหตุแห่งสติ แทน ! ซึ่งก็คือ เจริญถิระสัญญา นั่นเอง.

ดังนั้น เมื่อเจริญถิระสัญญาเสียแล้ว ก็ ไม่เป็นการพยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญ สติ.




แต่ อาจจะลืมไปว่า มันก็เป็นการไป พยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญถิระสัญญา แทน อีกเช่นกัน!.


ปัญหาที่อยากเสนอคือ ....

แล้ว ถิระสัญญา ไม่เป็นอนัตตาหรอกหรือ?

การไป พยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญ ถิระสัญญา แทนการพยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญสติ จะไม่ถือว่าผิดพลาด อีก หรอกหรือ?... ก็ ถิระสัญญา ก็เป็นอนัตตาด้วยน่ะ

เช่นนั้น คงไม่ต้องไปเจริญ เหตุแห่งถิระสัญญา แทนอีก...



แต่ เหตุแห่งถิระสัญญาก็เป็นอนัตตาอีก ก็ คงไม่สามารถ พยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เหตุแห่งถิระสัญญา ได้ ...เพราะ จะผิดอีก....

ก็คงต้องไปเจริญ เหตุแห่งเหตุแห่งถิระสัญญา อีก

และ ๆลๆ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ???




.....................


ดังนั้น เราท่าน น่าจะมาทบทวนกันดีกว่า ว่า

ถ้า ไม่ใช่ขิปปาภิญญาที่สามารถตรัสรู้อย่างฉับพลันแล้ว การ พยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญสติ ถือว่าเป็น สภาวะผิดพลาด จริงไหม???


ถ้าไม่ถือว่า การ พยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญสติ สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญา เป็น สภาวะผิดพลาด .... แล้วไซร้

ก็ น่าจะเลิกกล่าวชี้นำในลักษณะที่ว่า การ จงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติ เป็นสภาวะผิดพลาดได้แล้ว


และ หันมายอมรับให้ตรงกันเสียที ว่า

ถ้า ไม่ใช่ขิปปาภิญญาที่สามารถตรัสรู้อย่างฉับพลันแล้ว การ พยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญสติ ถือว่า เป็นพื้นฐานที่จำเป็น....

ไม่ใช่ เป็นการไปบังคับให้อนัตตาบังเกิดขึ้น แต่อย่างใด




........................

(ปล..

ส่วนที่ อาจจะเคยได้ยิน ชาวพุทธรุ่นใหม่บางท่าน กล่าวในทำนองที่ว่า
ตนเอง ไม่ได้ พยายาม/จงใจ/ตั้งใจ อะไรเลย ในการเจริญสติ ....แต่ สามารถรู้ขึ้นมาเองโดยปราศจากความจงใจ/ตั้งใจอย่างสิ้นเชิง ตั้งแต่ต้นเลย นั้น...

ก็ เป็นลักษณะ ขิปปาภิญญาโมเดล ...ผม ขอฟังหูไว้หู แล้วกัน.)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


นิรินธน์ เขียน:
ขออนุญาตสงสัย
สติเป็นอัตตาก็ใช่ เป็นอนัตตาก็ใช่
เราก็ยังควรเจริญสติให้ยิ่งๆ ขึ้นใช่ไหม??

หรือเราควรหาข้อยุติให้ได้ก่อนว่า
เป็นอัตตาเวลาใด
เป็นอนัตตาเวลาใด
แล้วจึงค่อยเจริญสติ




คห.ส่วนตัว น่ะครับ



เพราะ มีพระพุทธพจน์แสดงว่า อริยมรรค(ทั้งหมด)เป็นสังขตะธรรม... สัมมาสติ เป็นหนึ่งในอริยมรรค ก็ย่อมเป็นสังขตะธรรม ด้วย....

และ สังขตะธรรม(สังขารทั้งหลาย) ย่อมเป็นอนัตตา

ดังนั้น สัมมาสติ ก็ น่าที่จะเป็นอนัตตาด้วย

................


ทีนี้ จุดของปัญหา มันน่าจะอยู่ที่

บางท่าน เข้าใจว่า ถ้าสติเป็นอนัตตาเสียแล้ว ...
การไป พยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญสติ เป็นการไปบังคับให้สติที่เป็นอนัตตาเกิดขึ้น.... และ ถือว่า ผิด

เพราะ ไปพ่วงเอาความหมายของอนัตตา ที่ว่า "บังคับบัญชาไม่ได้"มา วางคู่กับ หลักธรรมเรื่องสติ เข้า





สติ ซึ่งเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเอาไว้ในหมวดอริยมรรค ในบริบทของความหมายแห่งอริยมรรค ที่ว่า พึงเจริญ...

อนัตตา ซึ่งเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเอาไว้ในหมวดไตรลักษณ์ ในบริบทที่ว่า บังคับบัญชาไม่ได้



พอไป นำ หลักธรรมเรื่องสติ มาวางคู่ เขย่า ผสม MIXEDเข้ากัน กับ หลักธรรมเรื่องอนัตตา ... แบบ หัวมังกุดท้ายมังกร

มันเลยออกมาในลักษณะ สติ บังคับบัญชาไม่ได้...การไป พยายาม/จงใจ/ตั้งใจ เจริญสติ จึงเป็นสภาวะผิดพลาด



และ นำมาซึ่งความโกลาหล ในวงการพระพุทธศาสนา!!!


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 20 ก.ค. 2010, 15:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 02:18
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบคุณหลงประเด็น

>>> สติเจตสิก (องค์ธรรมสำคัญสำคัญของสติปัฏฐานทั้ง 4)

สติเจตสิก คือความระลึกรู้อารมณ์และยับยั้งมิให้จิตตกไปในอกุสล ความระลึกอารมณ์ที่เป็นกุสล ความระลึกได้ที่รู้ทันอารมณ์
สติ เป็นธรรมที่มีอุปการะมากต้องใช้สติต่อเนื่องกันตลอดเวลา ในทางเจริญวิปัสสนาหรือเจริญสมาธิ มุ่งทางปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายเดียวที่จะหลุดพ้นจากกิเลสไปได้ โดยเจริญสติปัฏฐานทาง กาย เวทนา จิต ธรรม มีสติระลึกรู้อยู่เนื่อง ๆ ว่า กายมีปฏิกูล ฯลฯ สติมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อปิลาปน ลกฺขณา มีความระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆคือมีความไม่ประมาท เป็นลักษณะ
อสมฺโมหรสา มีการไม่หลงลืม เป็นกิจ
อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา มีการรักษาอารมณ์ เป็นผล
ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา มีการจำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้

[...]

เหตุให้เกิดสติ โดยปกติมี ๑๗ ประการ คือ

(๑) ความรู้ยิ่ง เช่น สติของบุคคลที่ระลึกชาติได้พระพุทธองค์ระลึกชาติได้ไม่จำกัดชาติจะระลึกได้ ทุกชาติที่พระองค์ปรารถนา สติของพระอานนท์จำพระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัสไว้ได้หมด
(๒) ทรัพย์ เป็นเหตุให้เจ้าของทรัพย์มีสติ คือเมื่อมีทรัพย์มักจะเก็บรักษาไว้อย่างดี และจะระมัดระวังจด จำไว้ว่าตนเก็บทรัพย์ไว้ที่ใด
(๓) สติเกิดขึ้นเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เช่น พระโสดาบันจะจำได้โดยแม่นยำถึงเหตุการณ์ ที่ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน หรือบุคคลที่ได้รับยศยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต
(๔) สติเกิดขึ้น โดยระลึกถึงเหตุการณ์ที่ตนได้รับความสุขที่ประทับใจ เมื่อนึกถึงก็จะจำเรื่องต่าง ๆ ได้
(๕) สติเกิดขึ้น เนื่องจากความทุกข์ที่ได้รับเมื่อระลึกถึงก็จะจดจำได้
(๖) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ
(๗) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับที่เคยประสบ
(๘) สติเกิดขึ้น เพราะคำพูดของคนอื่น เช่น มีคนเตือนให้เก็บทรัพย์ที่ลืมไว้
(๙) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเครื่องหมายที่ตนทำไว้ เช่น เห็นหนังสือที่เขียนชื่อไว้ถูกลืมไว้
(๑๐) สติเกิดขึ้น เพราะเห็นเรื่องราวต่าง ๆ หรือผลงาน เช่น เห็นพุทธประวัติก็ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นต้น
(๑๑) สติเกิดขึ้น เพราะความจำได้ เช่น มีการนัดหมายไว้ เมื่อมองไปที่กระดานก็จำได้ว่าต้องไปตามที่ได้นัดไว้
(๑๒) สติเกิดขึ้น เพราะการนับ เช่น การเจริญสติระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็ใช้นับลูกประคำ เพื่อมิให้ลืม
(๑๓) สติเกิดขึ้น เพราะการทรงจำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ศึกษาค้นคว้า แล้วจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้
(๑๔) สติเกิดขึ้นเพราะการระลึกชาติได้ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง (บุคคลที่มิใช่พระพุทธเจ้า)
(๑๕) สติเกิดขึ้น เพราะการบันทึกไว้ เมื่อดูบันทึกก็จำได้
(๑๖) สติเกิดขึ้น เพราะทรัพย์ที่เก็บได้เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้นได้ว่าได้เก็บทรัพย์ไว้
(๑๗) สติเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่เคยพบเคยเห็นมาแล้ว เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึกได้

ที่มา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหวิภาค หน้า 29-30


เก่งมากก็บังคับให้ตัวเองมีสติตลอดเวลาซีครับ
จะได้เป็นอรหันต์ เหอะๆ เอวัง

.....................................................
ธรรมดาๆ


แก้ไขล่าสุดโดย ไข่น้อย เมื่อ 20 ก.ค. 2010, 17:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 205 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร