วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 06:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดต่อไปนี้ เป็นหมวดเพื่อละคลาย นิจจลักษณะของจิต

เมื่อผู้ปฏิบัติ อบรมจิตจนไม่ยินดี ไม่ยินร้าย วางเฉยต่อการปรุงแต่งของจิตได้
สภาวะของจิตจึงละเอียดอ่อนมากจนแทบจะเรียกได้ว่าสุขมาก และอาจจะมีความเห็นว่าจิตนี้เองรวมเป็นสภาวะหนึ่งเดียว ท่องเที่ยวไป

ดังนั้น จึงต้องอบรมจิตต่อไปอีกว่า

สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
(จิตฺตปฏิสํเวที ….สิกฺขติ) 9 ทำความศึกษาว่าเราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะจิต ไม่สนใจสิ่งใดปล่อยทุกสิ่ง เหมือนไม่มีอะไร แล้วต้องกลับมารู้ทีจิตว่าเกิดสภาวะใดแน่แท้

แต่ละขั้นแต่ละตอน ยิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสภาวะนั้นจะละเอียดขึ้นๆ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 21 ก.ค. 2010, 04:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเพียรเพ่ง ใช้ปัญญา เฝ้าพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ย่อมเกิดความเหน็ดเหนื่อยแก่จิตบ้าง
เกิดความล้าบ้างก็มี

จึงจำเป็นต้องฝึกจิตให้เกิดความปราโมทย์ ความชื่นมื่น เพื่อให้จิตกระฉับกระเฉง

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า (อภิปฺปโมทยํ จิตฺต…..สิกฺขติ) 10

จิตที่มัวแต่สงบเสพสุขเวทนา ย่อมเซื่องซึม จิตที่พิจารณาแต่ภายนอก ย่อมฟุ้งง่าย
ไม่ยังจิตให้เข้าไปในภายใน ไม่แส่ออกไปภายนอก ย่อมทำจิตให้ร่าเริงได้ ไม่ซึมไม่ฟุ้ง พอดีๆ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตอบรมบ่มได้ที่ ก็บังคับบัญชาให้ได้เป็นอิสระ
จิตจึงบอกจิตไ้ด้ ตามความปราถนา

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า(สมาทหํ จิตฺต…..สิกฺขติ) 11

จักรู้พร้อมอย่างนี้ บอกจิตอย่างนี้ บอกให้จิตสงบตั้งมั่น อะไรจะแทรกเข้ามาก็บอกให้ออกไป บอกใจให้ตั้งมั่น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 05:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วยังบอกจิตต่อไปอีกว่า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า(วิโมจยํ จิตฺต…..สิกฺขติ)12


บอกให้จิตปล่อยทุกอารมณ์ทึ่เข้ามาติดค้างอยู่ เหมือนใบบัวใบบอนปล่อยหยดน้ำบนใบบัวใบบอนนั้น

จิตมีราคะติดค้างอยู่ก็ปล่อย จิตมีโทสะติดค้างอยู่ก็ปล่อย ......

เห็นไม๊ จิตฉลาดและแข็งแรงขึ้นมากแระ จิตนี้ก็คงรู้ว่าไม่ใช่มีจิตเดิมที่อ่อนแอ คุณภาพของจิตที่เปลี่ยนแปลงไป ตามการอบรม ย่อมละนิจจะลักษณะของจิตว่า ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นจิตดวงเดิมที่ท่องเที่ยวไปมา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในลำดับที่ 13-16 เป็นอนุปัสสนา คือใช้จิตให้ตามพิจารณา ตามสังเกตุ เพื่อหยั่งลงสู่โลกุตรภูมิ
ตรงนี้ ไม่ขออธิบาย เพราะยังทำไม่ได้ .....

ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 21 ก.ค. 2010, 05:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
คุณไข่น้อยใจเย็นลงนิดนึงก็ดีนะครับ :b13:
ไม่งั้นกระทู้ก็อาจจะหายไปได้


คุณชาติสยามครับ

ผมเสนอว่า .... ถ้า คห.ไหน เป็นการใช้อารมณ์ หรือ ข้อมูลผิดพลาด ก็น่าจะ ลบเฉพาะ คห.นั้นๆน่ะครับ. น่าจะเหมาะสมกว่า :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


satima เขียน:
:b8: อนุโมทนากับคำตอบของคุณตรงประเด็นนะคะ

กระทู้ก่อน เชิญคุณตรงประเด็นตอบ เห็นเงียบไป ที่แท้มาตอบที่นี่ นี่เอง :b12:




ขออภัยด้วยครับ ผมนึกไม่ออกว่าเป็นกระทู้ไหนครับ ผมอาจจะไม่ได้กลับไปอ่านกระทู้เก่าที่ผ่านมา ทุกกระทู้ที่เคยตอบ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ ชาติสยาม ครับ


อ้างคำพูด:
แล้วเขาสอนกันว่าอย่าไปบังคับ อย่าจงใจ อย่าบังคับ



ขออนุญาต แยก คำว่า บังคับ กับ จงใจ ออกจากกันก่อน

เพราะ คำสองคำนี้ อาจจะไม่ตรงกันเสียทีเดียว...

ลองดูใน พจนานุกรมสิครับ คำว่า จงใจ จะตรงกับคำว่า ตั้งใจ เจตนา .ประเด็น คำว่า จงใจ ขอให้ย้อนกลับไปอ่านข้างต้นครับ ขออนุญาตไม่กล่าวซ้ำ

............................


ส่วนคำว่า บังคับ ไปในอีกความหมายหนึ่งเลย

อ้างคำพูด:
บังคับ
ความหมาย

น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ในฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.



เรื่อง การบังคับ ในลักษณะกดข่มจิตจนเกินไป หรือ ตั้งหน้าตั้งตากดข่มจิตทุกๆสถานการณ์เลย ตรงนี้มันไม่ถูก มันทำไห้เครียดเสียด้วยซ้ำ ผมเห็นด้วย...

แต่ จิตคนเรา ในบางกรณี ก็จำเป็นต้องข่มมันลงเหมือนกัน
ดังเช่น พระพุทธพจน์ใน สีติสูตร ที่ทรงแสดงไว้ว่า
ข่มจิต ในสมัยที่ควรข่ม...

ถ้าไปตั้งเงื่อนไขเอาไว้ว่า

ให้ตามรู้ลักษณะของจิตอย่างเดียวเท่านั้นน่ะ
ห้ามไม่ให้ปฏิบัติต่อจิตในลักษณะต่างๆเลยน่ะ
ถ้าปฏิบัติเข้าจะเป็นการแทรกแซงจิต ปิดกั้นปัญญา!!!


เช่น ห้ามไม่ให้ข่มจิตข่ม แม้นในสมัยที่ควรข่มจิต.... มันก็ไม่ถูกน่ะครับ
ขัดแย้งพระพุทธพจน์เสียด้วยซ้ำ



ทีนี้ คำว่า บังคับ ที่คุณใช้อยู่ มันมีความหมายในทิศทางเดียว คือ ด้านลบ ....

แต่ การบังคับ นั้น ความจริง มันมีความหมายในทั้งสองด้าน คือ มี ด้านบวก อยู่ด้วย ที่อาจจะจำเป็นต้องใช้ ในบางกรณี (ไม่ใช่ ให้บังคับจิตในทุกกรณี หรือ ห้ามไม่ให้บังคับจิตในทุกกรณี... น่าจะตรงกับคำว่า ในสมัยที่ควร จากสีติสูตร)

เกี่ยวกับเรื่องที่ ชาวพุทธรุ่นใหม่ ฝังใจว่า ห้ามบังคับจิตในทุกๆกรณีเลย ไม่ว่ากรณีใดๆ นี้ ก็สร้างปัญหา เวลาที่ชาวพุทธรุ่นใหม่มีโอกาสเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็น กับ แนวทางของครูบาอาจารย์ ที่ ท่านยังคงสอนให้บังคับจิตในบางสถานการณ์ เข้า


จะเห็น นัยยะ จากบทเทศน์ ของครูบาอาจารย์บางองค์ เช่น

พระอาจารย์ตั๋น วัดป่าบุญญาวาส จังหวัดชลบุรี

เทศน์เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เรื่องปฏิปทาที่เหมาะสม


"....ตามหลัก ผู้ที่จิตไม่สงบในเบื้องต้น ในเวลาเดินจงกรมให้ทำสติอยู่ที่กรรมฐานที่ภาวนาเท่านั้น ถ้าเผลอสติออกไปก็ตั้งสติใหม่ขึ้นมา เผลอสติก็ตั้งสติขึ้นมาอยู่กับกรรมฐานเรา ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องคิดเรื่องอดีตเรื่องอนาคต อย่าไปหลงกลกิเลส ปรุงแต่งส่งเสริมไป.... จะว่าบังคับ จะว่าควบคุม ก็ช่างเถอะ เราจะทำสติสมาธิก่อน ..."

ๆลๆ

"....ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ หรือนั่งสมาธิก็ตาม กำหนดระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั่่งคู้บัลลังก์ขัดสมาธิ กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานที่เราภาวนา จะกำหนดอาปานสติ หรือ พุทธานุสติ หรือ กรรมฐานบทใดบทหนึ่งก็แล้วแต่ ให้ทำจิตให้ว่างจากอารมณ์ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องอดีต เรื่องอนาคต เรื่ิองปัจจุบัน ให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน ถ้าเรานั่งอยู่กับหมู่ ให้เราทำใจให้เหมือนนั่งอยู่บนท้องฟ้าคนเดียว กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานของเราเท่านั้นแหละ ถ้าคิดเรื่องอดีต ก็ตั้งสติขึ้นมาใหม่ คิดถึงเรื่องอนาคตก็ตั้งสติขึ้นมาใหม่อยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับคำบริกรรมภาวนา ทำอย่างนี้ไปก่อน .....สำหรับผู้ที่ไม่มีความสงบ ทำอย่างนี้ไปก่อน ใครจะว่าบังคับก็ตาม ควบคุมก็ตาม ไม่สนใจ.... เราจะควบคุมจิตใจเราให้ได้หนิ ปล่อยจิตใจมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติแล้ว เค้ายังฝึกช้างให้เชื่องได้ ฝึกม้าให้หายพยศ ฝึกหมาให้เชื่องได้ ทำไมใจตัวเราฝึกให้ดีไม่ได้ จะฝึกให้มันนิ่ง นิ่งไม่ได้เหรอ กำหนดอยู่ตรงนั้นแหละ...."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 07:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:

1.การพ้นเจตนาจของพระอรหันต์แบบที่คุณตรงประเด็นว่ามานั้น
ถ้าเป็นตามนั้น พระอรหันต์ก็จะไม่ต่างอะไรกับก้อนหิน

2.ถ้าพ้นเจตนาแล้ว เวลาท่านจะเทศน์ท่าเอาสัญญาที่ไหนมาเทศน์
ถ้าไม่มีเจตนาจะนึกจะน้อม ท่านจะจำได้ว่าว่าจะต้องเทศน์เป็นภาษาไทย
ท่านจะนึกออกไหมว่าจะต้องเทศน์เรื่องอะไร




1.พระอรหันต์กับก้อนหินต่างกัน ตรงที่ พระอรหันต์ที่ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ท่านยังคงมีจิตอยู่ ที่เรียกว่า สุวิมุตติจิตโต(คำนี้ มีในพระไตรปิฎก)... แต่ ก้อนหิน ไม่มีจิต

2.พระอรหันต์ ท่านพ้นเจตนาแล้ว ท่านไม่ทำกรรมใหม่แล้ว ...
แต่ ท่านสามารถเทศน์โปรดผู้อื่น ด้วยสัญญาที่ปราศจากอวิชาเจือปนแล้ว...
ท่าน เทศน์ด้วยเมตตาล้วนๆ .
สิ่งที่ดับสนิทของพระอรหันต์ คือ กิเลส ...พระอรหันต์ไม่ใช่อัลไซเมอร์ หรือ สมองเสื่อมน่ะครับ ท่านยังคงสามารถจดจำสิ่งต่างๆได้อยู่ และ จำแม่นมากๆ อย่างน่าเหลือเชื่อด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 16:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 02:18
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
2.พระอรหันต์ ท่านพ้นเจตนาแล้ว ท่านไม่ทำกรรมใหม่แล้ว ...
แต่ ท่านสามารถเทศน์โปรดผู้อื่น ด้วยสัญญาที่ปราศจากอวิชาเจือปนแล้ว...
ท่าน เทศน์ด้วยเมตตาล้วนๆ .
สิ่งที่ดับสนิทของพระอรหันต์ คือ กิเลส ...พระอรหันต์ไม่ใช่อัลไซเมอร์ หรือ สมองเสื่อมน่ะครับ ท่านยังคงสามารถจดจำสิ่งต่างๆได้อยู่ และ จำแม่นมากๆ อย่างน่าเหลือเชื่อด้วย


มีหลักฐานไหมครับ

.....................................................
ธรรมดาๆ


แก้ไขล่าสุดโดย ไข่น้อย เมื่อ 21 ก.ค. 2010, 16:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


เรายกประเด็นนี้ไปที่ พันทิป กันดีไหมหนอ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ไข่น้อย เขียน:
ตรงประเด็น เขียน:
2.พระอรหันต์ ท่านพ้นเจตนาแล้ว ท่านไม่ทำกรรมใหม่แล้ว ...
แต่ ท่านสามารถเทศน์โปรดผู้อื่น ด้วยสัญญาที่ปราศจากอวิชาเจือปนแล้ว...
ท่าน เทศน์ด้วยเมตตาล้วนๆ .
สิ่งที่ดับสนิทของพระอรหันต์ คือ กิเลส ...พระอรหันต์ไม่ใช่อัลไซเมอร์ หรือ สมองเสื่อมน่ะครับ ท่านยังคงสามารถจดจำสิ่งต่างๆได้อยู่ และ จำแม่นมากๆ อย่างน่าเหลือเชื่อด้วย


มีหลักฐานไหมครับ




คุณไข่น้อย



สัญญาขันธ์ เป็น 1ใน5 ของกองขันธ์

ขันธ์๕ ที่ปราศจากอวิชาเจือปน ตรงกับคำว่า วิสุทธิขันธ์



หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี



คำปรารภ

มนุษยชาติทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ ซึ่งมีขันธ์ ๕ เป็นเครื่องอยู่อาศัย จะเว้นเสียซึ่งภัยธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ไม่ได้เลยเด็ดขาด คือ ความแก่ ความเจ็บ และความตาย แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเราทั้งหลาย พระองค์เป็นวิสุทธิขันธ์ ละบาปละบุญแล้วก็ตาม ก็ยังถึงซึ่งปรินิพพานธาตุเป็นไปตามสังขารธรรม เช่น พวกเราท่านทั้งหลาย ตัวของข้าพเจ้าเองก็มีสภาพเป็นไปเช่นนั้นเหมือนกัน กล่าวคือเมื่อต้นพรรษานี้ พ.ศ. ๒๕๑๔ ข้าพเจ้าได้ล้มป่วยลง ด้วยโรคน้ำท่วมปอด ( ตามแพทย์ตรวจ ) แทบจะเอาชีวิตไม่รอด แต่ด้วยความเอื้อเฟื้อของญาติโยมและแพทย์ทั้งหลายจึงรอดชีวิตมาได้ แต่จนบัดนี้(๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕)อาการก็ยังไม่เป็นปกติเลย

แท้จริงการเจ็บป่วยนับว่าเป็นอันตรายแก่ชีวิตอันใครๆ ไม่พึงปรารถนาก็ตาม แต่มันก็เป็นพยาธิธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมและมุ่งในธรรมเพื่อรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมทั้งหลาย จะเว้นธรรม ๔ ประการนี้เสียมิได้เลย คือ ชาติธรรม ชราธรรม พยาธิธรรม มรณธรรมหากไม่มีธรรม ๔ ประการนี้เป็นเครื่องดำเนินเสียแล้ว คนเราก็จะพากันประมาทเสียโดยมากอนึ่ง เป็นที่น่าเสียดายที่นักปฏิบัติธรรมบางท่าน เมื่อธรรมเหล่านั้นมาปรากฏให้รู้ให้เห็นแล้ว แทนที่จะพอใจยอมหยิบยกเอาธรรมเหล่านั้นขึ้นมาพิจารณาอ่านพระคัมภีร์ทรวงที่ตนปรารถนามานานแล้ว แต่กลับแสดงความรังเกียจไม่พอใจปล่อยพระธรรมอันจะนำสุขมาให้ ให้ผ่านพ้นไปอย่างน่าเสียดาย แล้วยังคงเหลือแต่กากที่เป็นอกุศลธรรม นำทุกข์ตรอมใจมาให้ถ่ายเดียว และบางท่านได้อุบายความรู้ความฉลาดอันเกิดจากการปรารภอาพาธนั้นด้วยความไม่ประมาทแล้วก็ตามหลังจากหายอาพาธนั้นแล้ว เกิดความประมาทเสีย ด้วยคิดว่าเราได้รู้เห็นธรรมและเอาชนะกับเวทนาอย่างกล้ามาแล้ว แล้วก็ไม่ยักจะยกเอาเรื่องนั้นขึ้นมาปรารภอีก หรือจะยกขึ้นมาปรารภอีกก็ด้วยความประมาท ถือว่าตนเคยรู้เคยกำหนดพิจารณาได้ความชัดมาแล้ว ดังนั้น ความประมาทอันนี้แหละทำให้นักปฎิบัติ ธรรมกรรมฐานเสื่อมจากข้อวัตรปฏิบัติและศีลธรรมไปทีละน้อยๆ จนในที่สุดไม่มีอะไรเหลือไว้ในใจของตนเลย จะมีอยู่บ้างก็แต่ฟองน้ำลายในปากที่เล่าความฝันต่างๆ ในที่นั้นๆ ผู้ปฏิบัติทั้งหลายยากนักที่จะก้าวขึ้นมาถึงขั้นนี้ได้ เมื่อก้าวขึ้นมาได้แล้วเกิดความประมาทเสีย จึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

ข้าพเจ้าผู้ได้เคยประสบเหตุการณ์และเหตุแห่งความประมาทของผู้ปฎิบัติทำให้เสื่อมเสียจากธรรมมามากแล้วจึงใคร่เขียนหนังสือเล่มที่ท่านถืออยู่ในมือนี้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนสตินักปฏิบัติด้วยกัน ด้วยเจตนาอันหวังดีของข้าพเจ้าจริงๆ หากในหนังสือเล่มนี้จะมีการบกพร่อง หรือเป็นการกระทบกระเทือนน้ำใจของท่านผู้อ่านทั้งหลายอยู่บ้าง ข้าพเจ้าขออภัยด้วย ขอได้โปรดเลือกรับประทานแต่เนื้อแท้หวานฉ่ำหอมมันของทุเรียนเถิด เปลือกของมันได้กรุณาทิ้งมาให้ข้าพเจ้าคนเดียวก็แล้วกัน


เทสรังสี
วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๕




แต่... ถ้าคุณไข่น้อย เห็นว่า คำอธิบายของ หลวงปู่ เทสก์ ยังไม่เคลียร์

ก็ ลองอ่าน พระคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลที่เป็นเสาหลักของทางแนวทางคุณไข่น้อย แสดง วิสุทธิขันธ์ เอาไว้ดังนี้


http://www.buddhism-online.org/pdf/section8.4.pdf

อ้างคำพูด:
พระพุทธองค์ทรงแสดงขันธ์ ๕ แล้วยังทรงแสดงอุปาทานขันธ์ซ้าอีก ทั้งๆ ที่มีจานวนขันธ์ ๕ ประการเท่ากัน แต่เพื่อแสดงความแตกต่างกัน คือ ที่กล่าวในแง่ของขันธ์ ๕ กล่าวโดยความเป็นวิสุทธิขันธ์ คือ เป็นขันธ์ ๕ ล้วนๆ ไม่ปะปนกันกับอาสวะ คือกิเลส และ ก็ไม่เป็นอารมณ์แก่อุปาทาน ซึ่งได้แก่ ขันธ์ ๕ ของพระอรหันต์ทั้งหลายที่เป็นไปตามสภาพของขันธ์ ๕ แท้ๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


นิรินธน์ เขียน:
เรายกประเด็นนี้ไปที่ พันทิป กันดีไหมหนอ?



อนุโมทนา ครับ


บังเอิญ ผมไม่ได้เป็นสมาชิกของพันทิป ...คงต้องฝากคุณนิรินธน์ โพสข้อความแทนด้วยน่ะครับ

บทความทั้งหมด ไม่มีลิขสิทธิ์ ถวายแด่พระศาสดาทั้งสิ้นครับ




ปล... ผมเองเพิ่งลาออก จาก ลานธรรมเสวนามา ครับ.

สืบเนื่อง จากกระทู้

http://larndham.org/index.php?/topic/39 ... _p__725288

http://larndham.org/index.php?/topic/39 ... _p__725462

คงไม่มีโอกาส กลับไปแสดง คห. ใดๆ อีกแล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
1.พระอรหันต์กับก้อนหินต่างกัน ตรงที่ พระอรหันต์ที่ยังไม่ดับขันธปรินิพพาน ท่านยังคงมีจิตอยู่ ที่เรียกว่า สุวิมุตติจิตโต(คำนี้ มีในพระไตรปิฎก)... แต่ ก้อนหิน ไม่มีจิต


คุณหมอไม่เข้าใจอรรถของผม ไปเข้าใจแต่พยัญชนะ
ถ้าผมจะเปรียบจิตกับก้อนหินว่าเหมือนกัน ผมคงบ้าไปแล้ว


ตรงประเด็น เขียน:
2.พระอรหันต์ ท่านพ้นเจตนาแล้ว ท่านไม่ทำกรรมใหม่แล้ว ...
แต่ ท่านสามารถเทศน์โปรดผู้อื่น ด้วยสัญญาที่ปราศจากอวิชาเจือปนแล้ว...
ท่าน เทศน์ด้วยเมตตาล้วนๆ .
สิ่งที่ดับสนิทของพระอรหันต์ คือ กิเลส ...พระอรหันต์ไม่ใช่อัลไซเมอร์ หรือ สมองเสื่อมน่ะครับ ท่านยังคงสามารถจดจำสิ่งต่างๆได้อยู่ และ จำแม่นมากๆ อย่างน่าเหลือเชื่อด้วย



ผมคิดว่า การตีความของคำว่า "เจตนา" ของคุณตรงประเด็นนี่แหละครับ มันคือปัญหา

กรณีนี้คุณตรงประเด็นบอกว่าพระอรหันต์"พ้นเจตนา"

แล้วพระอรหันต์ท่านจะเอาอะไรนึกครับ
เอาอะไรมารู้ว่าจะต้องตื่นกี่โมง เอาอะไรมาตรึกว่าต้องสวดมนต์บทไหน มีคำว่าอะไรบ้าง

พระอรหันต์ต้องมีเจตนาสิครับ ถึงจะกิน เดิน ยืน นอนได้

อย่างท่านจะเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ท่านก้ต้องมีเจตนาก่อน
ว่าจะลุกจากนี่ ไปอยู่ตรงนั้น
เล็งเห็นทั้งเหตุ ทั้งผล ว่าลูกจากนี้แล้วทำอย่างนี้จะไปถึงจุดนั้น

การที่พระอรหันต์จะเดินจากที่หนึ่ง ไปอีกที่หนึ่ง ล้วนแล้วแต่ต้องมีความตั้งใจว่าจะทำการนั้น
ซึ่งคุณตรงประเด็นมองว่าสิ่งนี้ไม่ใช่เจตนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2010, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ตรัสว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 76 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 155 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร