วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 05:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าผมจำไม่ผิดน่าจะเป็นคำกล่าวของคุณตรงประเด็น

ผิด ก็ขออภัยครับ

ท่านกล่าวว่าที่ไปเกิดนั้นคือกรรมไม่ใช่จิต

กรรมที่ท่านกล่าวถึงคงหมายถึงวิบากครับ

กรรม = การกระทำ , วิบาก = ผลของการกระทำ

ถึงอาจจะเป็นเรื่องอาจิณไตรย์แต่ก็น่าคิดค้นหาเพราะเป็นเรื่องติดตัวอย่าน้อยก็อยากรู้กันทุกคนว่าเรากำลังจะไปไหน

แล้วกรรม(วิบาก)เป็นตัวไปเกิดใหม่จริงหรือ

ในปฏิจจสมุปบาทมีแต่อวิชชา ตัญหา เป็นตัวก่อให้เกิดภพ เกิดชาติ

ถ้าเช่นนั้นเราจะเรียกปฏิจจสมุปบาทว่ากรรม(วิบาก)ได้ไหม

พระอรหันต์หลุดพ้นจากการเกิดแล้วกรรม(วิบาก)ของท่านเป็นอโหสิกรรม อย่างนั้นก็หมายความว่าอโหสิกรรมคือวิชชา ใช่ไหมครับ

เพราะว่าการรับกรรม(วิบาก)คือการรับเวทนา เมื่อเกิดวิชชา เวทนาก็ดับ จึงเป็นอโหสิกรรม ได้ไหมครับ


กระทู้นี้ผมต้องการนำบัญญัติมาสู่สภาวะครับ


ท่านใดมีความคิดเห็นกว้างขวางมากกว่านี้นำออกมาแบ่งปันกันบ้างครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


^ ^ รออ่าน smiley smiley

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 18:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมคิดว่า มันเป้นลักษณะที่ว่า ไข่ กับ ไก่ กระมังครับ

คือทั้งไก่ ทั้งไข่ ต่างก็เป็นผลและเหตุในตัว

ถ้าจะมองมุมเหตุ
ไข่เป็นเหตุของไก่
ไก่ก็เป็นเหตุของไข่


ถ้าจะมองมุมผล
ไข่ ก็เป็นผลของไก่
ไก่ ก็เป็นผลของไข่


สิ่งเดียวที่ไม่เป็นเหตุ หรือผล คือธรรมที่เป็นอสังขตธรรม
หรือก็คือนิพพาน

นอกเหนือจากนั้นแล้ว ก็เป็นสังขตธรรม
หมายความว่าไม่พ้นเรื่องปัจยาการ ไม่พ้นเรื่องเหตุและผล

คคห นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



เกิดเพราะเหตุ ดับเพราะหมดเหตุ

เมื่อมีเหตุ ( อดีต ) ย่อมมีผล ( ปัจจุบัน )
ในอดีตเคยกระทำอะไรไว้ ย่อมส่งเป็นผลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

เมื่อมีเหตุ ( ปัจจุบัน ) ผลย่อมมี ( อนาคต )
เมื่อมีการตอบโต้หรือคิดแก้ไข ไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ตาม เพราะถูกหรือผิดล้วนเป็นเพียงความคิด
แต่ไม่ใช่ถูกหรือผิดตามความเป็นจริง นี่คือเหตุใหม่ที่เกิดขึ้น ย่อมมีผลเกิดขึ้นในอนาคต

เมื่อไม่มีผล ( ปัจจุบัน ) เหตุใหม่ย่อมไม่มี ( อนาคต )
แต่เมื่อมีผลของในอดีตมาเกิดเป็นเหตุในปัจจุบัน เมื่อได้รู้ถึงเหตุนั้นๆ
ไม่คิดตอบโต้ ไม่คิดแก้ไข ผลย่อมไม่มีเกิดขึ้นอนาคต เหตุย่อมหมดลงไปเรื่อยๆ

ไม่ว่าจะเหตุหรือผล ล้วนเป็นเรื่องของ จิต
ส่วนการเกิด เกิดเพราะยังไม่หมดเหตุ เพียงแค่เปลี่ยนเปลือกที่ห่อหุ้ม
หรือเปลี่ยนร่างใหม่ ที่เกิดจากเหตุที่ทำเอาไว้

ส่วนจิตคือ จิตดวงเดิม เพียงแต่อาจจะมีกิเลสมากขึ้น น้อยลง ก็ตามที่เหตุกระทำไว้
และที่กำลังกระทำให้เกิดขึ้นใหม่อีก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นแว๊ปปๆๆๆ คุณตรงประเด็น กะลังชง เรื่องอยู่ป่าว :b31: :b31:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วกรรม(วิบาก)เป็นตัวไปเกิดใหม่จริงหรือ

ในปฏิจจสมุปบาทมีแต่อวิชชา ตัญหา เป็นตัวก่อให้เกิดภพ เกิดชาติ

ถ้าเช่นนั้นเราจะเรียกปฏิจจสมุปบาทว่ากรรม(วิบาก)ได้ไหม


ไบกอนคิดว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นเหมือนรูปแบบของสิ่งที่อ้างอิงถึง
เป็นการที่จะทำให้ผู้สังเกตได้เข้าใจถึงสิ่งที่อ้างอิงถึง
ซึ่งไม่เป็นสิ่งเดียวกันกับสิ่งที่อ้างอิงถึง ...


พระอรหันต์หลุดพ้นจากการเกิดแล้วกรรม(วิบาก)ของท่านเป็นอโหสิกรรม อย่างนั้นก็หมายความว่าอโหสิกรรมคือวิชชา ใช่ไหมครับ

ไบกอนคิดว่า การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจสี่ คือวิชชา

เพราะว่าการรับกรรม(วิบาก)คือการรับเวทนา เมื่อเกิดวิชชา เวทนาก็ดับ จึงเป็นอโหสิกรรม ได้ไหมครับ

ไบกอนคิดว่า ตราบใดที่ยังมีชีวิต ขันธ์ยังคงทำงานตามปกติ แต่วิชาในที่นี้
จะไปมีผลต่อจิต(วิญญาณ) เมื่อเข้าไปรับรู้เวทนา


กระทู้นี้ผมต้องการนำบัญญัติมาสู่สภาวะครับ
ท่านใดมีความคิดเห็นกว้างขวางมากกว่านี้นำออกมาแบ่งปันกันบ้างครับ


ไบกอนเข้าใจว่า การรู้แจ้งแทงตลอดในอริยสัจสี่
ทำให้ทัศนะในการเห็นธรรมตามความเป็นจริงนั้นมีความสมบูรณ์
ซึ่งการเห็นธรรมตามความเป็นจริงนั้น จะทำให้เกิดทัศนะที่เห็นสภาวะทุกอย่างเป็นตถตา
คือ มันจะพลิกมุมมองไปในทัศนะใหม่ อันว่าด้วย สุญญตา

ซึ่ง มันเป็นสภาวะที่จะทำให้เกิดทัศนะ เพิกถอนธรรมทั้งมวล

ซึ่งการเพิกถอนจะเป็นเช่นไรนั้น คือ องค์ธรรมทั้งหมดทั้งมวลมันจะมารวมกัน
และเกิดการโคจรองค์ธรรมทั้งหมดอย่างพร้อมเพรียงกัน ซึ่งนัยยะนี้ถูกแทนด้วยภาพ ธรรมจักร ...

อิ อิ ไบกอน เดา หง่ะ.... หงุ หงุ ไม่ได้รู้อะไรหรอก แบบว่า มั่ว :b15:

ก็เห็นเป็นท่าน mes นะ :b16: จึงกล้าแสดงความมั่ว ... :b9:

เพราะรู้ว่าท่าน mes ไม่ถือสา คนปัญญาไม่สมประกอบอย่าง ไบกอน



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2010, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับท่านmes :b8:
ขอร่วมแสดงความเห็นสักเล็กน้อยนะครับ
mes เขียน:
พระอรหันต์หลุดพ้นจาก การเกิดแล้วกรรม(วิบาก)ของท่านเป็นอโหสิกรรม อย่างนั้นก็หมายความว่าอโหสิกรรมคือวิชชา ใช่ไหมครับ

กระผมพิจารณาได้ว่าเป็น กิริยา ครับ ไม่ใช่กรรม อโหสิกรรมก็ยังคงเป็นกรรมครับ มีวิบากเหมือนกัน แต่เป็นไปในทางกุศล

อ้างคำพูด:
เพราะว่าการรับกรรม(วิบาก)คือการรับเวทนา เมื่อเกิดวิชชา เวทนาก็ดับ จึงเป็นอโหสิกรรม ได้ไหมครับ

เวทนาดับต่อเมื่อดับขันธ์แล้ว หากยังดำรงค์ขันธ์อยู่ ก็ยังต้องเสวยเวทนาอยู่
:b6: :b6: :b6:
ระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งฉันอาหารจากบ้านนายจุนทะ พระองค์ยังต้องเสวยทุกข์เวทนาอย่างหนัก ทั้งที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2010, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เห็นแว๊ปปๆๆๆ คุณตรงประเด็น กะลังชง เรื่องอยู่ป่าว :b31: :b31:



ป่าว :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
สวัสดีครับท่านmes
ขอร่วมแสดงความเห็นสักเล็กน้อยนะครับ

mes เขียน:
พระอรหันต์หลุดพ้นจาก การเกิดแล้วกรรม(วิบาก)ของท่านเป็นอโหสิกรรม อย่างนั้นก็หมายความว่าอโหสิกรรมคือวิชชา ใช่ไหมครับ

กระผมพิจารณาได้ว่าเป็น กิริยา ครับ ไม่ใช่กรรม อโหสิกรรมก็ยังคงเป็นกรรมครับ มีวิบากเหมือนกัน แต่เป็นไปในทางกุศล



ยินดีที่ได้สนทนากับท่านnatdanaiอีกครับ ใจจริงแล้วคิดถึงท่านอยู่

ผมหาคำศัพท์2คำคืออโหสิกรรม กับ กิริยาครับ


Quote Tipitaka:
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)





อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เลิกให้ผล เหมือนพืชที่หมดยาง เพาะปลูกไม่ขึ้นอีก
(ข้อ ๔ ในกรรม ๑๒)


Quote Tipitaka:
กิริยา การกระทำ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 11:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กิริยาของท่านnatdanaiหมายถึงการกระทำของพระอรหันต์จะไม่เกิดวิบากเพราะผู้รับสิ้นอาสวะนิสรณะจึงไม่มีสรณะให้วิบากเกิดครับ

ผมขอนำเรื่องวิบากกรรมมาแสดงครับ

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑



เผา (ดัก) ไว้ทั่วหนทาง ด้วยวิบากกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัต
จึงชักชวนนายขมังธนู ผู้ฆ่าคนตายมาก เพื่อให้ฆ่าเรา ในกาลก่อน เรา
เป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างให้จับมัดพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้อุดมมุนีแม้
กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยวิบากกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีอันดุร้าย วิ่ง
แล่นเข้าไปในคอก (ท้อง) เขา (วงกต) เบื้องหน้าผู้ประเสริฐ ใน
กาลก่อน เราเป็นนายทหารราบ (เป็นแม่ทัพ) ฆ่าบุรุษเป็นอันมากด้วย
หอก ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อย่างเผ็ดร้อนอยู่ในนรก
ด้วยผลอันเหลือแห่งกรรมนั้น บัดนี้ ไฟนั้นยังมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของ
เราทั้งสิ้น (อีก) เพราะว่ากรรมยังไม่พินาศไป ในกาลก่อนเราเป็นเด็ก
(ลูก) ของชาวประมงอยู่ในบ้านเกวัฏฏคาม เห็นคนทั้งหลายฆ่าปลาแล้ว
เกิดความโสมนัส ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะ (ปวดศีรษะ)
ได้มีแล้วแก่เราในเมื่อเจ้าศากยะทั้งหลายถูกเบียดเบียน พระเจ้าวิฏฏุภะ
ฆ่าแล้ว เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระพุทธเจ้า
พระนามว่าผุสสะ ว่าท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่ข้าวแดง แต่อย่ากิน
ข้าวสาลีเลย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว อยู่
ในเมืองเวรัญชา บริโภคข้าวแดงตลอด ๓ เดือน ในกาลนั้น เมื่อนักมวย
กำลังชกกัน เราได้ห้ามบุตรนักมวยปล้ำ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความ
ทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง) ได้มีแล้วแก่เรา เมื่อก่อนเราเป็นหมอรักษาโรค
ได้ถ่ายยาให้เศรษฐีบุตร (ตาย) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น โรคปักขันทิกา-
พาธจึงมีแก่เรา เราชื่อว่าโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่า
กัสสปะ ในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหน โพธิญาณท่านได้ยาก
อย่างยิ่ง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราได้ประพฤติกรรมที่ทำได้ยากมาก
(ทุกกรกิริยา) ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้น จึงได้บรรลุ
โพธิญาณ แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ เราอัน
บุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด (บัดนี้)
เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวง ไม่มีความเศร้า-
โศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน พระชินเจ้าทรงบรรลุ
กำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว ทรงพยากรณ์โดยทรงหวังประโยชน์แก่ภิกษุ
สงฆ์ ที่สระใหญ่อโนดาต ด้วยประการฉะนี้แล.
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธาปทานชื่อ ปุพพกรรมปิโลติ
อันเป็นบุพจารีตของพระองค์ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโล

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การเกิดที่แสดงในปฏิจจสมุปบาท


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

[๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ๑- เกิด ๒- เกิด
จำเพาะ ๓- ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ
เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
[๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
นี้เรียกว่าภพ ฯ
[๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน
สีลพัตตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ
[๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา ฯ
[๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชา-
*เวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่าเวทนา ฯ
[๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส
โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ
[๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
นี้เรียกว่าสฬายตนะ ฯ
@๑. คือเป็นชลาพุชะหรืออัณฑชปฏิสนธิ ๒. คือเป็นสังเสทชปฏิสนธิ ๓. คือเป็น
@อุปปาติกปฏิสนธิ ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 11:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาทกับการดับ


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

[๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความ
ปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอไม่มี ชราและมรณะจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ชรา
และมรณะจึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะ
กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติไม่มี ชราและมรณะ
จึงไม่มี เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ชาติจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ ชาติจึงดับ เมื่อภพไม่มี ชาติจึงไม่มี เพราะภพดับ ชาติจึงดับ ...
เมื่ออะไรหนอไม่มี ภพจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ภพจึงดับ เมื่ออุปาทานไม่มี
ภพจึงไม่มี เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ... เมื่อไรหนอไม่มี อุปาทานจึงไม่มี
เพราะอะไรดับ อุปาทานจึงดับ ... เมื่อตัณหาไม่มี อุปาทานจึงไม่มี เพราะตัณหา
ดับ อุปาทานจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ ตัณหา
จึงดับ ... เมื่อเวทนาไม่มี ตัณหาจึงไม่มี เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เมื่อ
อะไรหนอไม่มี เวทนาจึงไม่มี เพราะอะไรดับ เวทนาจึงดับ ... เมื่อผัสสะไม่มี
เวทนาจึงไม่มี เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี ผัสสะจึง
ไม่มี เพราะอะไรดับ ผัสสะจึงดับ ... เมื่อสฬายตนะไม่มี ผัสสะจึงไม่มี เพราะ
สฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะ
อะไรดับ สฬายตนะจึงดับ ... เมื่อนามรูปไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี เพราะนามรูป
ดับ สฬายตนะจึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะอะไรดับ
นามรูปจึงดับ ... เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูป
จึงดับ ... เมื่ออะไรหนอไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะอะไรดับ วิญญาณจึงดับ
เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีโพธิสัตว์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เมื่ออะไรหนอ
ไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอะไรดับ สังขารจึงดับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
พระวิปัสสีโพธิสัตว์ เพราะกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย จึงได้รู้ด้วยปัญญาว่า
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะอวิชชาดับ
สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความดับ
แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ
ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ ในธรรมที่ไม่
เคยได้ฟังมาก่อนว่า ฝ่ายข้างดับ ฝ่ายข้างดับ ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๔

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 14 ก.ค. 2010, 11:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 11:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 23:10
โพสต์: 194

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมไปเกิดใหม่ดังอุปมาของพระนาคเสนที่ว่า เหมือนผลมะม่วงที่ลงมือปลูกผลที่ได้จากมะม่วงผลนั้นเป็นคนละผลกันแต่ก็เกี่ยวเนื่องกันดังคนเราก่อกรรมในชาตินี้ไว้ตายไปเกิดใหม่เป็นคนละคนแต่กรรมทั้งดีและร้ายที่ก่อก็เป็นผลตามมาดังนั้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค


[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ชราและมรณะเป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ชาติ ... ภพ ... อุปาทาน ...
ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ ... สังขาร ...
อวิชชา เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยประชุมแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า
ธรรมอาศัยกันเกิดขึ้น ฯ[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่งปฏิจจสมุป-
*บาทนี้ และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องต้นว่า ในอดีตกาลเราได้เป็นหรือหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาล
เราได้เป็นอะไร แล้วได้มาเป็นอะไรหนอ หรือว่าจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่า
ในอนาคตกาลเราจักเป็นหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคต
กาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไร
หนอ หรือว่าจักยังมีความสงสัยในปัจจุบันกาลเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า เราเป็น
อยู่หรือหนอ หรือไม่เป็นอยู่หนอ เราเป็นอะไรอยู่หนอ เราเป็นอย่างไรอยู่หนอ
สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ เขาจักไปในที่ไหน ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะ
เหตุไร เพราะว่าอริยสาวกเห็นด้วยดีแล้วซึ่งปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัย
กันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ฯ

[๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล อริยสาวกเห็นด้วยดีซึ่งปฏิจจสมุป-
*บาทนี้ และธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว
เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องต้นว่า ในอดีตกาลเราได้เป็นหรือหนอ
ในอดีตกาลเราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลเราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาล
เราได้เป็นอะไร แล้วได้มาเป็นอะไรหนอ หรือว่าจักแล่นเข้าถึงที่สุดเบื้องปลายว่า
ในอนาคตกาลเราจักเป็นหรือหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคต
กาลเราจักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลเราจักเป็นอะไร แล้วจึงจักเป็นอะไร
หนอ หรือว่าจักยังมีความสงสัยในปัจจุบันกาลเป็นภายใน ณ บัดนี้ว่า เราเป็น
อยู่หรือหนอ หรือไม่เป็นอยู่หนอ เราเป็นอะไรอยู่หนอ เราเป็นอย่างไรอยู่หนอ
สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ เขาจักไปในที่ไหน ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะ
เหตุไร เพราะว่าอริยสาวกเห็นด้วยดีแล้วซึ่งปฏิจจสมุปบาท และธรรมที่อาศัย
กันเกิดขึ้นเหล่านี้ ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 14 ก.ค. 2010, 11:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 11:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค


ได้ ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ซึ่ง
เป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่าตนทำเอง ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่
พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ผู้อื่นทำให้ ก็ย่อมเกิดเพราะ
ผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณพราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ตนทำเอง
ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย ก็ย่อมเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย แม้ทุกข์ที่พวกสมณ-
*พราหมณ์ผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า เกิดเอง เพราะอาศัยการที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่
ผู้อื่นกระทำให้ ก็ย่อมเกิด เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ดูกรอานนท์ ในวาทะทั้ง ๔ นั้น
พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง เว้นผัสสะเสีย
เขาย่อมเสวยทุกข์ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าว
กรรมบัญญัติว่า ทุกข์ผู้อื่นทำให้ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่
ฐานะที่จะมีได้ แม้พวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์ตนทำเอง
ด้วย ผู้อื่นทำให้ด้วย เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้ ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้
ถึงพวกสมณพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้กล่าวกรรมบัญญัติว่า ทุกข์เกิดเอง เพราะอาศัยการ
ที่มิใช่ตนเองกระทำ มิใช่ผู้อื่นกระทำ เว้นผัสสะเสีย เขาย่อมเสวยทุกข์ดังนี้
ก็มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 14 ก.ค. 2010, 11:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 182 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron