ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

พระพุทธภูมิ
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=33745
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  MAHIR [ 10 ส.ค. 2010, 03:37 ]
หัวข้อกระทู้:  พระพุทธภูมิ

อยากทราบว่าคนที่ตายไปพระพุทธภูมิ กับคนที่ตายไปพระนิพานต่างกันอย่างไร

เจ้าของ:  บัวไฉน [ 12 ส.ค. 2010, 22:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระพุทธภูมิ

MAHIR เขียน:
อยากทราบว่าคนที่ตายไปพระพุทธภูมิ กับคนที่ตายไปพระนิพานต่างกันอย่างไร
:b4:

เป็นคำถามที่ดีมาก คุณ MAHIR ต้องวานท่านผู้รอบรู้เข้ามาตอบแล้วล่ะ
อีกเดี๋ยวท่านก็มากันแล้ว
:b16: รอฟังด้วยคนนะจ๊ะ
เจริญในธรรม

เจ้าของ:  นายฏีกาน้อย [ 12 ส.ค. 2010, 23:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระพุทธภูมิ

ตายตัวเหม็น เป็นศพ ตายต่ำต่ำ
ตายด้วยธรรม เหนียบย่ำ อกุศล
ตายสนิท ดับพ้น ปุถุชน
ตายเหนือคน เป็นตาย ที่ไม่ตาย


:b41: :b39:

ตายเบื้องต้น กอดตาย กอดห่วงหวง
ตายติดบ่วง เกิดตาย ไม่ห่างหาย
ตายยังเกิด กิเลส ไม่เสื่อมคลาย
ตายเบื่อหน่าย ไม่หลุด พ้นวนเวียน


:b41: :b43:

ตายกลางทาง ตายอย่าง โพธิสัตว์
ตายขจัด สลัด อกุศล
ตายจากชั่ว เกิดดี เต็มตัวตน
ตายช่วยคน พ้นทุกข์ ตายกลางทาง

:b41: :b45:

ตายจุดหมาย ยอดสุด ตายหลุดพ้น
ตายจากมนต์ ตัณหา ที่ขัดขวาง
ตายสลัด ขจัด บุญบาปวาง
ตายสะสาง ล้างตัวตน นิพพาน


:b41: :b46:

ตายเบื้องต้น อย่างกลาง ตายอย่างสูง
ตายผดุง ตามคติ สังสาร
ตายหมดจด ตายหมดชั่ว ภัยพาล
ตายนิพพาน ตายสิ้น กิเลสกรรม


:b50: :b48: :b47: :b45: :b47: :b48: :b50:


ไฟล์แนป:
Dhamma.png
Dhamma.png [ 434.05 KiB | เปิดดู 4576 ครั้ง ]

เจ้าของ:  บัวสีม่วง [ 12 ส.ค. 2010, 23:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระพุทธภูมิ

สาธุค่ะตุ๊โย :b8: :b16:

เจ้าของ:  retsuya [ 13 ส.ค. 2010, 01:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระพุทธภูมิ

สาธุครับท่านพุทธฎีกา
:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 13 ส.ค. 2010, 02:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระพุทธภูมิ

ปารถนาพุทธภูมิ หมายความว่า มีความปารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต
อรหันตภุมิ หมายความว่า ปารถนาจะเป็นพระอรหันต์

ผู้ปารถนาพุทธภูมิ จะยังไม่บรรลุนิพพาน (ไม่บรรลุอรหันต์)
จะเวียนว่ายตายเกิดสั่งสมบารมีไปเรื่อยๆ จนบารมีนั่นเต็ม
เช่นพระพุทธเจ้าของเรา ก็บำเพ็ญมาไม่รู้กี่ชาติ
ท่านเล่าให้ฟังเพียง 500 ชาติ แล้วก็เล่าให้ฟังว่าชาตินั้นชาตินี้ ท่านบำเพ็ญบารมีอย่างไร
อย่างพระชาติสุดท้ายก่อนชาตินี้ พระองค์ก็เป้นพระเวสสันดรที่บำเพ็ญเอกเรื่องทานบารมี

ในพระชาติสุดท้ายที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ บารมีท่านเต็มภูมิแล้ว
เหตุแห่งความจะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นพร้อมแล้ว บริบูรณ์แล้ว
ท่านถึงสามารถบรรลุอรหันตภูมิ ซึ่งก็หมายถึงการแจ้งในพระนิพพานแล้ว

นอกจากนั้น ท่านยังสำเร็จปัญญา 10 อย่าง ที่มีในเฉพาะพระพุทธเจ้า
คือ ตถาคตญาน (ทศพลญาน) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการประกาศพุทธธรรม

ที่ถามว่าตายไปพระพุทธภูมิ ต่างจากตายอรหัตภูมิ เหมือนกันไหม
ต้องบอกว่าต่างกัน เพราะอรหัตภูมินั้น ตายแล้วไม่เกิด
แต่พุทธภูมินั้น ตายแล้วเกิดอีกต่อไป จนกว่าจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า (ซึ่งต้องบรรลุอรหันต์ด้วย)

แม้พระพุทธเจ้าของเรานั้น ท่านก็เพิ่งบรรลุอรหันต์ในพระชาติเจ้าชายสิทธัตถะนี้เอง
คือในพระไตรปิฏกมีอธิบายไว้ละเอียด โดยลำดับเลยว่า ทรงบรรลุอะไรก่อนหลังอย่างไร
กล่าวคือ ในในปัจฉิมยามก็ทรงบรรลุอรหันต์ (บรรลุอาสวขยาน) ก่อน ตอนนี้ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีก
จากนั้นทรงบรรลุตถาคตญาน มีวิชชา 3 อภิญญา 6 สำเร็จเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 13 ส.ค. 2010, 14:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระพุทธภูมิ

MAHIR เขียน:
อยากทราบว่าคนที่ตายไปพระพุทธภูมิ กับคนที่ตายไปพระนิพานต่างกันอย่างไร


คำว่า "ภูมิ" อย่าทำความเข้าใจว่าเป็นความหมายเดียวกับคำว่า "ภพ"
ภพ มี 3 ภพ คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ
ภูมิ มี 4 ภูมิ คือกามวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ โลกุตตรภูมิ

ภูมิ คือ คุณสมบัติของจิต ความหยาบความประณีตของจิต

การนำพยัญชนะ มาปะปนกัน ย่อมทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติและ การพิจารณา

ผู้ปราถนาพุทธภูมิ คือผู้ปราถนาที่จะให้จิตมีความประณีตในการที่จะละกิเลสอาสวะ และมีพระสัพพัญุตญาณ ดังเช่นสุเมธดาบส

ผู้ปราถนานิพพาน คือผู้ปราถนาที่จะให้จิตหลุดพ้นโดยละกิเลสอาสวะให้สิ้นให้หมดไปเท่านั้น โดยไม่ปราถนาพระสัพพัญญุตาญาณเป็นพระพุทธเจ้า

เจ้าของ:  นายฏีกาน้อย [ 13 ส.ค. 2010, 18:04 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: พระพุทธภูมิ

ได้ญาณ ๓

[๕๐๖] อาตมภาพนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ.
อาตมภาพนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ
อาตมภาพนั้น ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย
ประการฉะนี้. ดูกรราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่หนึ่งที่อาตมภาพได้บรรลุแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี
อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่
อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.



[๕๐๗] อาตมภาพนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุบัติของสัตว์
ทั้งหลาย
อาตมภาพนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี
มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. ดูกรราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สองที่อาตมภาพ
ได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่.



[๕๐๘] อาตมภาพนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ.
ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่ออาตมภาพนั้น
รู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สาม
ที่อาตมภาพได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืด
ถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไป
แล้วอยู่.

-------------------------------------------------------------------------
http://84000.org/tipitaka/read/?13/505-510/457



[274] อภิญญา 6 (ความรู้ยิ่งยวด — superknowledge; ultra-conscious insight)
1. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ — magical powers)
2. ทิพพโสต (ญาณที่ทำให้มีหูทิพย์ — divine ear)
3. เจโตปริยญาณ (ญาณที่ให้กำหนดใจคนอื่นได้ — penetration of the minds of others; telepathy)
4. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ญาณที่ทำให้ระลึกถึงชาติได้ — remembrance of former existences; retrocognition)
5. ทิพพจักขุ (ญาณที่ทำให้มีตาทิพย์ — divine eye)
6. อาสวักขยญาณ (ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป — knowledge of the exhaustion of all mental intoxicants)




[297] วิชชา 8 (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ — supernormal knowledge)
1. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน — insight-knowledge)
2. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ — mind-made magical power)
3. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ — supernormal powers)
4. ทิพพโสต (หูทิพย์ — divine ear)
5. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ — penetration of the minds of others)
6. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้ — remembrance of former existences)
7. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์ — divine eye)
8. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)

ข้อที่ 2 โดยมากจัดเข้าในข้อที่ 3 ด้วย ข้อที่ 3 ถึง 8 (6 ข้อท้าย) ตรงกับอภิญญา 6. ดู [106] วิชชา 3; [274] อภิญญา 6; [311] วิปัสสนาญาณ 9.




[106] วิชชา 3 (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ — the Threefold Knowledge)
1. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ญาณเป็นเหตุระลึกขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนได้, ระลึกชาติได้ — reminiscence of past lives)
2. จุตูปปาตญาณ (ญาณกำหนดรู้จุติและอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม, เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างว่า ทิพพจักขุญาณ — knowledge of the decease and rebirth of beings; clairvoyance)
3. อาสวักขยญาณ (ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย, ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ, ความตรัสรู้ — knowledge of the destruction of mental intoxication)

วิชชา 3 นี้ เรียกสั้นๆ ว่า ญาณ 3; ดู [297] วิชชา 8 ด้วย.



---------------------------------------------------------------------
274, 297, 106 พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/