วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 03:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ย. 2010, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ก.ค. 2010, 18:09
โพสต์: 10

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากทราบว่าการนั่งสมาธิระดับลึกๆนั้นเกิดจากการทำสมาธิตั้งมั่นเป็นระยะเวลานาน
หรือว่าเกิดจากการอบรมจิตใจให้ตรงต่อการปฏิบัติสมาธิ อบรมใจให้ไม่สนใจในสิ่งใดๆ
เว้นเสียแต่การทำสมาธิเพื่อปัญญา แล้วจึงเกิดการรวมลงของจิตได้ครับ

หรือว่าเกิดจากทั้ง 2 ข้อรวมกันครับ
หรือว่าเกิดจากกรณีอื่นร่วมด้วย ช่วยชี้แนะด้วยครับ เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 12:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานนท์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่,
ความรู้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม)เป็นทางแห่งความสำเร็จ,
ปวิเวก (ความอยู่สงัดจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ ดังนี้,
ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย
ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในกามทั้งหลาย
เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก
และทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากาม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย;
จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า
ถ้ากระไร เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก
ได้รับอานิสงส์ในการหลีกออกจากกามแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้,
ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป
พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.



อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป
จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.
อานนท์ !เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑
อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.


อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือฌานที่ ๑ นี้ การทำในใจตามอำนาจ
แห่งสัญญาที่เป็นไปในทางกามก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ
(ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะ
อาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธ
ข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ พึงบรรลุฌานที่ ๒
เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำ ให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว
ไม่มีวิตกวิจารมีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้
ไม่หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นจัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิตกธรรม เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น
ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอวิตกธรรม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย
ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิตก
แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้ว
พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้,
ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้
หลุดออกไป ในอวิตกธรรม โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.



อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้
หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.
อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุฌานที่๒
เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว
ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่.


อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ ฌานที่ ๒ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไป
ในวิตกก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา,
เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย
ถ้ากระไรเรา เพราะความจางไปแห่งปีติ พึงอยู่อุเบกขา มีสติแล
สัมปชัญญะ และพึงเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่
พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.
อานนท์ !แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน(คือฌานที่ ๓)นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.


อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในปีติเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น
ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งนิปปีตกฌาน
เรายังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย;
จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.
อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติ
แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้ว
พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ
จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป
ในนิปปีติกฌาน โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.



อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.
อานนท์ !เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงเกิดอุเบกขา มีสติแล
สัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่
พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๓ การทำในใจตามอำนาจแห่ง
สัญญา ที่เป็นไปในปีติก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต)
แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้น
เสีย ถ้ากระไรเรา เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไป
แห่งโสมนัสแลโทมนัสในกาลก่อน พึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข
มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.
อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่หลุดพ้น
ออกไป ในอทุกขมสุข (คือญาณที่ ๔ ) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดแก่เราว่า เพราะว่าโทษในอุเบกขาสุข เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น
ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และอานิสงส์แห่งอทุกขมสุข เรายังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคย
รู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอุเปกขาสุข
แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุขแล้ว
พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้,
ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้
หลุดออกไป ในอทุกขมสุขโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.



อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้
หลุดออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.
อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะละสุขและทุกข์เสียได้
เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์
ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.


อานนท์ !แม้เมื่อ เราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๔ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา
ที่เป็นไปในอุเบกขา ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ
(ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้น
เสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นรูปสัญญา (ความกำหนดหมายในรูป)
โดยประการทั้งปวงได้, เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา (ความ
กำหนดหมายอารมณ์ที่กระทบใจ), เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งความกำหนดหมาย
ในภาวะต่าง ๆ (นานัตตสัญญา) พึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการ
ทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.

อานนท์ !แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป
ในอากาสานัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในรูปทั้งหลาย
เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก
และทั้งอานิสงส์แห่งอากาสนัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย
ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลาย
แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากาสนัญจายตนะแล้ว
พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป
พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.


อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเรา
จึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสนัญจายตนะนั้น
โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.
อานนท์ !เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเสียได้
เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา
เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง บรรลุอากาสานัญจายตนะ
อันมีการทำในใจว่า “อากาศไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่.



อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออากาสานัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา
ที่เป็นไปในรูปทั้งหลายก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ
(ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง
เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย
ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด”
แล้วแลอยู่เถิดดังนี้.
อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไป ในวัญญาณัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอากาสานัญจายตนะ
เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก
และทั้งอานิสงส์แห่งวิญญาณัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย;
จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า
ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก
ได้รับอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนะแล้ว
พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิต
ของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะ
โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.


อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้ว
อย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ใน
วิญญาณัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.
อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ
อันมีการทำในใจว่า” “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่.


อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือวิญญาณัญจายตนะนี้
การทำในใจตามอำนาจ แห่งสัญญาที่เป็นไปในอากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่.
ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ(ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะ
อาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อ
นั้นเสีย ถ้ากระไร เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
เสียแล้ว พึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี”
แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.
อานนท์ ! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า
อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
เพราะว่าโทษในวิญญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมา
ทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากิญจัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย
ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า
ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิญญาณัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึก
ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้น
อย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป
พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.


อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป
จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ.
อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
จึง บรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า “อะไร ๆ ไม่มี" แล้วแลอยู่.

อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมอากิญจัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจ
แห่งสัญญาที่เป็นไปในวิญญาณัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็น
การอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง
เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้น
เสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ๒ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.
อานนท์ !แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป
ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
เพราะว่าโทษในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมา
ทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งเนวสัญญานสัญญายตนะ เราก็ยัง
ไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ !ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากิญจัญญายตนะ
แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ
แล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะ
ที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ใน
เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.


อานนท์ !โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้
หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.
อานนท์ !เราแล ผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่.


อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหาร-ธรรมคือเนวสัญานาสัญญายตนะนี้
การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปใน
อากิญจัญญายตนะก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต)
แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อ
นั้นเสีย ถ้ากระไรเรา ผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
เสียแล้ว พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้.
อานนท์ !แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป
ในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ
เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น.
อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า
เพราะว่าโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำ
มาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ เราก็ยังไม่เคย
ได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ
แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว
พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิต
ของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในสัญญาเวทยิตนิโรธ
โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.


อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้ว
อย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปใน
สัญญาเวทยิตนิโรธนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ.
อานนท์ เราแล ผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุสัญญาเวท-
ยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไร ๆ อีกต่อไป). อนึ่ง อาสวะทั้งหลาย
ได้ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะเราเห็น (อริยสัจจ์สี่) ได้ด้วยปัญญา.



---------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑. บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๕๗/๒๔๕. ตรัสแก่พระอานนท์ ที่อุรุเวลกัสสปนิคม ของชาวมัลละ
ในมัลลกรัฐ. เนื่องจาก ตปุสสคหบดี ได้เข้าเผ้าและกราบทูลถึงข้อที่พวกฆราวาสย่อมมัวเมาติดในกาม
อยู่เป็นปรกติ, เนกขัมมะคือการหลีกออกมาเสียจากกามนั้น ปรากฏแก่พวกเขาดุจถ้ำหรือเหวลึก
ที่มืดยิ่ง เป็นที่น่าหวาดกลัวยิ่ง.
๒. เนวสัญญานาสัญญายตนะ คืออรูปฌานขั้นที่สงบ ถึงขนาดที่เรียกว่า มีความรู้สึก ก็ไม่ใช่ไม่มีความ
รู้สึก ก็ไม่ใช่ เป็นความสงบในขั้นที่ยากที่คนธรรมดาจะเข้าใจได้ขึ้นไปแล้ว.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ระดับสมาธิ ในทางพุทธศาสนา มีอยู่๙ระดับ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
และทรงอธิบายขั้นตอนของการที่เข้าถึงระดับสมาธิตามขั้นต่างๆนั้น
จะต้องปฏิบัติอย่างไรเอาไว้อย่างละเอียดแล้ว สมบูรณ์ บริบูรณ์แล้ว

โยคีท่านใด สนใจสมาธิตามแบบฉบับของพระพุทธเจ้า
ก็พึงน้อมนำพิจารณา พากันเจริญ พากันทดลองปฏิบัติตามดูเถิดครับ
คงไม่ผิดทาง คงไม่หลงทางแต่ประการใด
เพราะเส้นทางนี้ พระพุทธเจ้าท่านทรงดำเนินผ่านไปแล้วด้วยดี.

สมาธิตามคำสอนของสาวก อาจจะมีผิดแผกแตกต่างไปบ้าง
นั้นเป็นเรื่องของสาวก ไม่เกี่ยวกับสมาธิตามแบบที่พระพุทธเจ้าทรงอธิบาย
พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้บอกทาง การเดินผิด การเดินหลงทางเป็นเรื่องของผู้ที่เดินทางเอง

ถ้าใช่ ผล นิพพาน ย่อมไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
แต่ถ้าไม่ใช่ ผล นิพพาน ก็ยากต่อการบรรลุถึง.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 13:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: กำลังฝึกและปฏิบัติตาม(คำสอน)อยู่
ทุกอย่างอยู่ที่ความขยันหมั่นเพียร ความอดทน อดกลั้น
:b32: ใหม่ๆ เหมือนจับปูใส่กาละมัง :b9:
ขอให้หมั่นฝึกฝน อย่าท้อ เป็นกำลังใจให้จ้า

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


Natural-Dhamma เขียน:
อยากทราบว่าการนั่งสมาธิระดับลึกๆนั้นเกิดจากการทำสมาธิตั้งมั่นเป็นระยะเวลานาน
หรือว่าเกิดจากการอบรมจิตใจให้ตรงต่อการปฏิบัติสมาธิ อบรมใจให้ไม่สนใจในสิ่งใดๆ
เว้นเสียแต่การทำสมาธิเพื่อปัญญา แล้วจึงเกิดการรวมลงของจิตได้ครับ

หรือว่าเกิดจากทั้ง 2 ข้อรวมกันครับ
หรือว่าเกิดจากกรณีอื่นร่วมด้วย ช่วยชี้แนะด้วยครับ เจริญในธรรมครับ

จิตเป็นสภาพธรรม ที่รับรู้อารมณ์ทางทวาร(ตาหู)ต่าง ๆ เสวยรับพิจารณาอารมณ์ที่มากระทบสัมผัส ตามการสะสมของกิเลสตัณหา ถ้าเป็นอารมณ์ที่ชอบใจพอใจเป็นความสุขจะเรียกว่าได้รับวิบากกระทบสัมผัสเป็นกุศลก็ได้ เมื่อเกิดความสุขแล้วก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ เหมือนเด็กติดเกมส์ได้เล่นเกมส์ ก็มีสมาธิจดจ่ออยู่กับเกมส์ได้เป็นระยะเวลายาวนาน

หากถูกขัดจังหวะกระทบผัสสะอารมณ์ที่ไม่ชอบใจไม่พอใจ เสียอารมณ์ขัดเคืองใจขึ้นมา ดังนั้นการอบรมจิตใจให้ไม่สนใจในสิ่งใดๆ ก็ไม่แน่ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง โดยเฉพาะหากเปรียบเทียบกับการเล่นเกมส์ ผลเสียที่ขอยกตัวอย่างเด็กที่มีสมาธิกับการเล่นเกมส์สูง ๆ แต่กับกิจกรรมอื่นๆ กลายเป็นคนก้าวร้าว ขาดความอดทน เพราะไม่มีความเอาใจใส่จดจ่อได้ดีพอเ่ท่าๆ ขณะที่ตนเองชอบตนเองพอใจ อย่างนี้ก็ไม่ใช่การมีสมาธิที่เป็นประโยชน์และประกอบด้วยปัญญา

ก่อนจะเป็นสัมมาสมาธิที่ถูกต้อง ก็ต้องมาจาก ปัจจัยที่สำคัญนั่นคือกัลยาณมิตร สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ และโยนิโสมนสิการ การรู้ในอริยสัจว่า สิ่งใดคือทุกข์ สิ่งใดคือเหตุแห่งทุกข์ สิ่งใดคือความดับทุกข์ และสิ่งใดคือวิธีการดับทุกข์ มีการใส่ใจแยบคายในอารมณ์ที่กระทบสัมผัส สองข้อนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้เกิด สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดจาชอบ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ สัมมาสติ การระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ความตั่งมั่นชอบ เพราะหากขาดสัมมาทิฏฐิ ขาดโยนิโสมนสิการ ขาดกัลยาณมิตรเสียแล้ว

สัมมาสมาธิอาจไม่ใช่สัมมาสมาธิ เช่นกรณีตัวอย่าง ที่จดจ่อตั้งมั่นไม่สนใจในสิ่งใดๆ เป็นต้น เพราะสัมมาสมาธิ จะประกอบไปด้วย องค์ธรรมคือ สงัดจากกาม(พอใจอยากทำอำนาจความชอบใจพอใจในสิ่งที่เห็นได้ยิน) สงบจากพยาบาท(ไม่พอใจที่ถูกขัดเคืองใจ) สงบจากความหดหู่ซึมเศร้า จากความฟุ้งซ่าน จากความลังเลสังสัย เรียกว่านิวรณ์กิเลสนั่นเอง

ดังนั้นผู้อบรมภาวนา ต้องหมั่นตรวจสอบ สภาพธรรมที่เป็นกุสล คือวิตก ละอกุศลคือ ถีนมิทธ ความหดหู่ซึมเศร้า กุศลคือวิจารละ อกุศลความลังเลใจ ปิติละความพยาบาท สุขละความฟุ้งซ่าน เอกัคคตา(ความตั่งมั่น) ละกามฉันทะนิวรณ์ แล้วละองค์ธรรม วิตก วิจาร ปิติ สุขลงไปตามลำดับ เหลือแต่เอกัคคตาพร้อมอุเบกขา ก็นับได้ว่าเป็นผู้เข้าถึงสัมมาสมาธิ เข้าถึงฌานจิต สำเร็จรูปฌานได้โดยชอบ

ทิ้งบัญญัติในอารมณ์กรรมฐาน พิจารณาอรูปฌานต่อไป หรืออาศัยเพียงปฐมฌานเบื้องต้น คือมีวิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ระลึกเป็นสภาพนามธรรมที่อาศัยรูปธรรมเป็นเหตุและปัจจัย พิจาณาสภาพความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาไตรลักษณ์ต่อไปเพื่ออบรมปัญญาเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 17:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากสังเกตุคำอธิบาย สมาธิทั้ง๙ระดับ ตามแบบฉบับของพระพุทธเจ้านั้น
ก็จะเห็นว่า ทุกระดับขั้นของสมาธินั้น
ล้วนอาศัย สติ สมาธิ ปัญญา ทั้งสิ้น :b45:

ความคิดนึก ยังคงมีอยู่ทุกระดับขั้น
มีการพิจารณาถึงโทษ พิจารณาถึงอานิสงค์ ของสมาธิในแต่ละขั้น
เพื่อการแล่นไป เพื่อการหลุดออกไป เพื่อความตั้งมั่น จากสมาธิในแต่ละขั้น :b41:
จนถึงสมาธิในขั้นสุดท้าย(สัญญเวทยิตนิโรธ) :b45:

สิ่งที่น่าสังเกตุต่อไปคือ
ตัวความคิดนึก ความคิดนึกให้มาก ถึงโทษ ถึงอานิสงค์ฯ ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงในทุกระดับชั้นของสมาธินั้น
บรรดาเหล่าโยคียุคปัจจุบันนี้จะเข้าใจ ตีความกันว่าอย่างไร
จะเป็นจิตที่ส่งออกหรือไม่? จะเป็นจิตที่ไม่ตั้งมั่นหรือไม่?

ดังนั้น คำว่าสมาธิระดับลึก ที่กล่าวถึง
หากหมายถึงสมาธิตามแบบที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงนั้น
คงต้องอาศัยตัวสติและตัวปัญญาเข้ามาเป็นมูลเหตุปัจจัย ในการก้าวถึงครับ

และต้องไม่ลืมด้วยว่า ทั้งตัวสติและปัญญา ก็มีการเกิด-ดับ เหมือนกัน
นามรูปดับลงที่ไหน ตัวสติและปัญญาก้ดับลงที่ตรงนั้นด้วย
เพราะการดับแห่งวิญญาณ จึงมีการดับแห่งนามรูป :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ก.ค. 2010, 18:09
โพสต์: 10

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากครับ สำหรับคำตอบที่เป็นประโยชน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 14:47
โพสต์: 31

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: 7 เดือนบรรลุธรรม
อายุ: 0
ที่อยู่: หุบเขาไร้รัก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: ขออนุโมทนากับทุกๆ ท่านด้วยค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ :b48:

.....................................................
เพียงพบพาน เพื่อผ่านภพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลวงพ่อ
ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนานานนับเป็นหลายๆ ชั่วโมง
บางคนคิดว่ายิ่งนั่งภาวนานานเท่าใดก็จะยิ่ง เกิดปัญญามากเท่านั้น ผมเคยเห็นไก่กกอยู่ในรังของมันทั้งวันนับเป็นวันๆ
ปัญญาที่แท้เกิดจากการที่เรา มีสติในทุกๆ อิริยาบถ การฝึกปฏิบัติของท่านต้องเริ่มขึ้นทันทีที่ท่านตื่นนอนตอนเช้า
และต้องปฏิบัติ ให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งนอนหลับไป
อย่าไปห่วงว่า ท่านต้องนั่งภาวนาให้นานๆ
สิ่งสำคัญก็คือท่าน เพียงแต่เฝ้าดู
ไม่ว่าท่านจะเดินอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือกำลังเข้าห้องน้ำอยู่
:b44:

เมื่อเกิดรู้สึกอะไรขึ้นมาภาย ในจิตก็ตาม จงเฝ้าดูมัน และปล่อยวาง อย่าแม้แต่หวังที่จะไม่ให้มีความนึกคิดเกิดขึ้นเลย
แล้วจิตก็จะเข้า สภาวะปกติตามธรรมชาติของมัน
ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างความดีและความชั่ว ร้อนและหนาว
เร็วหรือช้า ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีตัวตนเลย
อะไรๆ ก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น

:b40:
จงพยายามมีสติและปล่อยทุกสิ่งให้เป็นไปตามปกติของมัน
แล้วจิตของท่านก็จะสงบมากขึ้นๆ ในสิ่งแวดล้อมทั้งปวง

มันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำใสในป่า ที่ซึ่งบรรดาสัตว์ป่าที่สวยงาม และหายากจะมาดื่มน้ำในสระนั้น
ท่านจะเข้าใจถึงสภาวะธรรมของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) ในโลกอย่างแจ่มชัด ท่านจะได้เห็นความอัศจรรย์และแปลกประหาดทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไป แต่ท่านก็จะยังคงสงบอยู่เช่นเดิม
ปัญหาทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นแต่ท่านจะรู้ทันมันได้ทันที :b40:

ปุจฉา:
เจริญสมาธิภาวนาจนจิตสงบลึก ควรทำอย่างไรต่อไป


วิสัชชนา: :b41:
นี่ก็ดีแล้ว ทำจิตให้สงบและเป็นสมาธิ
และใช้สมาธินี้พิจารณาจิตและกาย
ถ้าจิตเกิดไม่สงบก็จงเฝ้าดูด้วย
แล้วท่านจะรู้ถึงความสงบที่แท้จริง เพราะอะไร
เพราะท่านจะได้เห็นความไม่เที่ยง
แม้ความ สงบเองก็ดูให้เห็นไม่เที่ยง
ถ้าท่านยึดติดอยู่กับภาวะจิตที่สงบ แล้วท่านจะเป็นทุกข์เมื่อจิตไม่สงบ
ฉะนั้น จงปล่อยวางหมดทุกสิ่ง แม้แต่ความสงบ


ผมว่าจากกท.ข้างต้นควรทำอะไรก้แล้วแต่ให้เอาสตินำ เมื่อทำไรด้วยจิตที่มีพี่เลี้ยงคือสติคอยดูแล
จะทำให้ตั้งมั่นเปนสมาธิได้ง่าย เมื่อจิตตั้งมั่นหลายๆครั้งเข้า ครั้งที่1 ครั้งที่2 ตอนนั้นจิตจะเป็นอิสระ
เหนืออารมณ์และความคิดทั้งหลาย เมื่อเอาจิตที่สงบพิจารณาอะไรก้แล้วด้วยความสงบจะเห้นอะไร
ได้แจ่มแจ้งและมองด้วยความเป็นจริงตามธรรมชาติของจิตที่ควรจะเป็นและเหนความไม่เที่ยงและความ
ไม่จริงในสิ่งที่เหนหรือที่พิจารณาซึ่งเปนประโยชน์ในการพัฒนาคุนภาพและบริหารเวลาของจิตให้เกิด
ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังฝีก ขอท่านผู้รู้มาช่วยตอบอีกจะได้อ่านธรรมมะดีๆ
ได้ความรู้เพิ่มเติมอีกครับ

:b18:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 16:40
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสนาภาวนา
วิปัสนากรรมฐาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร