วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 22:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 20:37
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิกับปัญญามีความต่างกันอย่างไรคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมว่ามันคนละเรื่องกันเลยนะ

ทิฐิ นี่มันเป็นการผสมกันของหลายๆอย่าง อาทิ
ข้อมุลที่เคยมี ความเชื่อ ค่านิยม จริตนิสัย สันดาน โอ๊ยหลายอย่าง

พอคนคนนี้ไปเจอเรื่องอะไรสักเรื่องหนึ่ง เขาก้จะปรุงแต่งสิ่งเหล่านั้น
แล้วสรุปออกมาเป็นคิดความเเชื่อขึ้นมาอันหนึ่ง แล้วเขายึดถือ

อย่างฝรั่งกับไทย เดินมาด้วยกันสองคน มาเจอพระขอบิณฑบาตรอยู่

คนไทยเห้นพระก็โอ๊ มีความสุข รู้สึกเป้นมงคล สบายใจ อะไรทำนองนั้น

แต่ฝรั่งอาจจะไม่รู้สึกแบบคนไทย
พวกฝรั่งอาจจะเกิดความรังเกียจขึ้นมา ไม่ชอบ เป้นความรู้สึกด้านลบขึ้นมา
ที่เขาสรุปความคิดความรู้สึกของเขาอย่างนี้ ก็เพราะข้อมูลในระบบความจำของเขา ค่านิยมของเขา ประสบการณ์ ปุมหลัง พื้นเพ อะไรต่อมิอะไรที่ประกอบกันขึ้นเป็นเขาในเวลานั้น

ส่วนปัญญา
ถ้าหมายถึงภาวนามัยปัญญา มันก็คือความฉลาดทางอารมณ์
ที่รู้ว่าอารมณ์อย่างไร ควรจัดการอย่างไรให้มีความสุข
เป็นสมรรถนะความเชี่ยวชาญในเรื่องของจิตใจ และกิจกรรมของจิตใจ

เหมือนขับรถ เวลาเราขับรถ เราไม่ได้คิดนะ ว่าจะเหยีบคันเร่งกี่มิล เลี้ยวกี่องศา
เราไม่ได้คิดเลยนะ เราแค่ทำไปตามความรู้สึกเคยชิน

ภาวนามัยปัญญาก้ทำนองเดียวกัน
มันเป็นความเคยชินในการขับเคลื่อนจิตใจของตนเอง
โดยไม่ต้องพึ่งความคิดอะไร
มันเป้นอัตโนมัติในทีไปเลยว่าเวลาเจอสถานการณ์นี้ปั๊บ
เราตอบสนองอย่างไร ถึงจะไม่ให้กิจกรรมของจิตใจเหล่านั้นทำให้เราทุกข์ร้อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2010, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




84 KB.jpg
84 KB.jpg [ 84.29 KiB | เปิดดู 4514 ครั้ง ]
tongue คุณ mauy3512
ทิฏฐิกับปัญญามีความต่างกันอย่างไรคะ

ตอบ

ทิฐิ = ความเห็น แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ สัมมาทิฐิ = เห็นหรือรู้ถูกต้อง มิจฉาทิฐิ = เห็นผิด รู้ผิด

ปัญญา = ความรู้ รู้สภาวะครั้งแรก เป็นปัญญา รู้สภาวะอย่างเดิมนั้นครั้งที่สอง จะเป็น สัญญา


พบคนถูกต้อง (กัลยาณมิตร) ก็จะได้รู้สิ่งที่ถูกต้อง (สุตต + จินตมยปัญญา)

รู้ถูกต้องก็จะทำให้ เห็นถูกต้อง (สัมมาทิฐิ โดยบัญญัติ+สัมมาสติ)

เห็นถูกต้อง จะทำให้เกิด คิดถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ กุศลมโนกรรม)

คิดถูกต้อง ก็จะทำให้ ทำถูกต้อง (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีว สัมมาวายามะ)

ทำถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ ได้สิ่งที่ถูกต้อง (มรรค ผล นิพพาน)

ได้สิ่งที่ถูกต้อง ย่อมจะเป็นเหตุให้ เป็นคนถูกต้อง (กัลยาณชน อริยชน)

เป็นคนถูกต้อง ก็ย่อมจะ พูดถูกต้อง ถ่ายทอดแต่สิ่งที่ถูกต้อง ดังนี้

smiley
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิ ความเห็น เกิดจาก ความเชื่อ สิ่งที่ถูกปลูกฝั่งมาตั้งแต่อดีต
ปัญญา ความรอบรู้ รู้แจ้ง

ปัญญาเกิดครั้งเดียวในแต่ละเรื่อง ในแต่ละมรรค ไม่เกิดซ้ำหลายครั้ง

:b11:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อรู้แจ้งตามเป็นจริงนั้นหมายถึงเกิดปัญญา
และการได้รู้จริง การได้ทรงความรู้ที่แท้จริงไว้ในตัวก็เรียกว่ามีปัญญา
การเป็นผู้ฉลาดเท่าทันเพราะได้รู้จริง ก็เรียกภาวะแห่งจิตที่ฉลาดว่ามีปัญญา

และเมื่อรู้แจ้งแล้ว ความรู้ที่ตนรู้นั้นก็จะกลายมาเป็นความเห็น
ที่มั่นคงเด่นชัดในภายใน เป็นควมเห็นที่ผสมความเชื่อลงไปว่าเป็นอย่างนั้นๆ
เรียกความเห็นชนิดนี้ว่า ทิฏฐิ

:b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 22:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จางบางลางเลือน เขียน:
เมื่อรู้แจ้งตามเป็นจริงนั้นหมายถึงเกิดปัญญา
และการได้รู้จริง การได้ทรงความรู้ที่แท้จริงไว้ในตัวก็เรียกว่ามีปัญญา
การเป็นผู้ฉลาดเท่าทันเพราะได้รู้จริง ก็เรียกภาวะแห่งจิตที่ฉลาดว่ามีปัญญา

และเมื่อรู้แจ้งแล้ว ความรู้ที่ตนรู้นั้นก็จะกลายมาเป็นความเห็น
ที่มั่นคงเด่นชัดในภายใน เป็นควมเห็นที่ผสมความเชื่อลงไปว่าเป็นอย่างนั้นๆ
เรียกความเห็นชนิดนี้ว่า ทิฏฐิ

:b41: :b41: :b41:


อืมม.... :b1:

ใช้ภาษาที่ง่าย ๆ แต่ชัดเจน...

:b1:

:b8:

พอดี.. มีคำถามแว๊บขึ้นมา...อิ อิ งั๊นขอถามท่านละกัน...

ท่านคิดว่า... ปกติคนเรากระทำทุกสิ่งทุกอย่างลงไปภายใต้...อะไร
คือ เหตุและผล หรือ เพราะความรู้สึกในจิตใจ... :b16:

:b41: :b45: :b41: :b45:

:b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 08 ต.ค. 2010, 22:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำทุกสิ่งทุกอย่าง ภายใต้อำนาจแห่งตัณหา และอวิชชา

ต่อมาก็ทำทุกอย่าง ตามอำนาจของตัณหา อวิชชาอีกนั่นแหละ

ต่อมา เมื่อสิ้นอวิชชา สิ้นตัณหา จึงไม่ได้ทำ เพราะมีแต่กิริยา



:b41: :b41: :b41:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 150 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร