วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 12:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 14:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พูดถึงความสงบ(สมถ) พอมันสงบแล้วก็มีส่วนที่มันไม่สงบมาปะปนเข้า เช่นว่า เราเพิ่งมาฝึกจิตของเราเดือนหนึ่ง 10 วัน 5 วัน โดยมากมันก็ยังไม่สงบ

ถ้ามันไม่สงบนั้น ไม่ต้องน้อยใจ มันเป็นเรื่องธรรมดาของมัน
เรื่องจิตอันนี้มันจะอยู่นิ่งๆ ในที่ของมันไม่ได้หรอก
บางทีมันมีอาการคิดอย่างโน้นคิดอย่างนี้

ในขณะอยู่ในที่สงบอันนั้นแหละบางคนก็จิตไม่สงบ
จิตฟุ้งซ่าน ใจก็ไม่สบาย ใจเขาก็ไม่ดี เพราะว่าจิตไม่สงบ
อันนี้เราต้องพิจารณาด้วยปัญญาของเรา

เรื่องไม่สงบอันนั้นเพราะเราไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันเท่านั้นเอง

ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว
อันนั้นสักแต่ว่าอาการของจิต จริงๆแล้วจิตมันไม่ฟุ้งไปอย่างนั้น
เช่นว่า เรารู้ความคิดแล้วว่า บัดนี้เราคิดอิจฉาคน นี้เป็นอาการของจิต จริงๆ แล้วจิตมันไม่ฟุ้งไปอย่างนั้น

เช่นว่า เรารู้ความคิดแล้วว่า บัดนี้เราคิดอิจฉาคน
นี้เป็นอาการของจิตแต่เป็นของไม่จริง มันไม่เป็นความจริง
เรียกว่าอาการของจิตมันมีตลอดเวลา


ถ้าหากคนไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว
ก็น้อยใจว่าจิตเราไม่อยู่นิ่ง จิตเราไม่สงบ

อันนี้เราต้องใช้การพิจารณาอีกทีหนึ่งให้มันเข้าใจ เรื่องของจิตนั้นนะ มันเป็นเรื่องของอาการของมัน แต่ที่สำคัญคือ มันรู้ รู้ดีมันก็รู้ รู้ชั่วมันก็รู้ รู้สงบมันก็รู้ รู้ไม่สงบมันก็รู้ อันนี้คือตัวรู้พระพุทธเจ้าของเราท่านให้ตามรู้ ตามดูจิตของเรา


จิตนั้นคืออะไร จิตนั้นอยูที่ไหน
ทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่เราก็คงรู้ตัวของเรา
ความรู้ที่มันรู้นี่มันรู้อยู่ที่ไหน จิตก็เหมือนกัน

จิตนี้คืออะไร มันเป็นธรรมชาติ หรือเป็นสัญชาตญาณอันหนึ่งที่มันมีอยู่
อย่างที่เราได้ยินอยู่เดี๋ยวนี้แหละ มันมีความรู้อยู่ ความรู้นี้มันอยู่ที่ไหน ในจิตนั้นมันเป็นอย่างไร ทั้งความรู้ก็ดี ทั้งจิตก็ดี เป็นแต่ความรู้สึก ผู้ที่รู้สึกดีชั่ว เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก รู้สึกดีหรือชั่ว หรือรู้สึกผิดหรือถูก คนที่รู้สึกนั้นแหละเป็นคนรู้สึกตัว รู้สึกตัวมันคืออะไร มันก็ไม่คืออะไร ถ้าพูดตามส่วนแล้วมันเป็นอยู่อย่างนี้ ถ้ารู้สึกผิดไปก็ไปทำผิดมัน รู้สึกถูกก็ไปทำถูก

ฉะนั้นท่านจึงให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาเรื่องจิตของเรานั้นมันเป็นอาการของจิต เรื่องมันคิดมันคิดไปทั่ว แต่ผู้รู้คือปัญญาของเราตามรู้ ตามรู้อันนั้นตามเป็นจริง


ถ้าเราเห็นอารณ์ตามเป็นจริงของเราแล้ว มันก็เปลี่ยนไปอีกประเภทหนึ่ง
เช่นว่า เราได้ยินว่ารถทับคนตายเป็นต้น เราก็เฉยๆ ความรู้ชนิดนี้มันก็มี แต่มันรู้ไม่เห็น รู้ไม่จริง รู้ด้วยสัญญา (ความจำ) ขนาดนี้มันรู้อย่างนี้

ทีนี้ถ้าหากว่าเดินไปดูซิรถมันทับคนตายที่ไหนไปเห็นร่างกายคนนั้นมันเละหมดแล้ว อันความรู้ครั้งที่สองนี้มันดีขึ้นเพราะมันไปเห็น เห็นอวัยวะที่ถูกรถทับ มันเกิดสลดเกิดสังเวช ความรู้ที่เห็นด้วยตามันมีราคายิ่งกว่าเขาว่า เมื่อเราไปเห็นทุกสิ่งอันนี้ มันเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา ไม่แน่ไม่นอน ในร่างกายนี้ไม่เป็นแก่นเป็นสาร ไม่สดไม่สวย ความรู้สึกนึกคิดมันค้นในเวลานั้นมันก็เกิดปัญญา (วิปัสสนา) เป็นเหตุให้ถอนอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ออกได้ เรียกว่าความรู้สึกอันนี้มันสูงขึ้น สูงขึ้น ๆต้องพิจารณา เช่นนี้

การทำกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จักแล้วก็จะลำบาก
บางคนก็ไม่เคยทำ เมื่อมาทำวันสองวันสามวัน มันก็ไม่สงบ มันก็เลยนึกว่า เราทำไม่ได้
เราต้องคิดว่า เมื่อเราเกิดมาเคยถูกสอนหรือยัง เราเคยทำความสงบหรือเปล่า
เราปล่อยมานานแล้ว ไม่เคยฝึกเคยหัดมัน มาฝึกมันชั่วระยะหนึ่งอยากให้มันสงบอย่างนั้นเหตุมันไม่พอ ผลมันก็ไม่มี เป็นเรื่องของธรรมดา เป็นเรื่องอันตัวเราท่านทั้งหลายจะหลุดพ้น ต้องอดทน

การอดทนเป็นแม่บทของการประพฤติปฏิบัติ ให้เห็นกาย ให้เห็นใจ เมื่อรู้จักธรรมตามความเป็นจริงแล้วนั่น ความที่เรายึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) แต่ก่อนๆ มันจึงจะผ่อนออก เห็นตามความเป็นจริงของมันอุปาทานมั่นหมายในความดี ความชั่วทั้งหลายมันจะคลายออก คลายออก เห็นว่ามันเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เป็นของไม่แน่ไม่นอน ที่มันเกิดมีในจิตของเรานี้นั้น


ชาติสยาม - ตรงนี้สำคัญ ที่หลวงปู่กำลังจะสอนต่อไปนี้ ก็คือการดูจิต โดยท่านไม่ได้ระบุว่า จะต้องนั่งสมาธิก่อน เข้าฌานก่อน แต่ท่านให้ดูอารมณ์ไปเลย แล้วให้ใช้อุบายสังเหตุว่า สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นดับไป ไม่เที่ยง อันเป้นการพิจารณาลงไตรลักษณ์ไปด้วยในตัว

หากมีความเชื่อกันว่า ดูอารมณ์ของจิตแล้ว ไม่ถึงมรรค
ก็โปรดดูหลวงพ่อชาสอนดังนี้
อ้างคำพูด:
...ลองดูซิ ความรักมันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ ความเกลียดมันแน่ไหม ความสุขมันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ ความทุกข์มันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ อันไม่แน่นั้นเรียกว่าของไม่จริง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่ออันนี้มันไม่จริง ของจริงมันอยู่ที่ไหน ของจริงอยู่ที่มันเป็นอยู่อย่างนั้น มันไม่เที่ยงอยู่อย่างนั้น เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น มันจริงแต่สักว่า มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้คือความจริง ความจริงอยู่ตรงที่มันไม่จริง อันความเที่ยงอยู่ตรงที่มันไม่เที่ยง เหมือนกันกับของสกปรกมันเกิดมีขึ้นความสะอาดอยู่ตรงไหน มันอยู่ตรงที่สกปรกนั่นแหละ เอาสกปรกออกก็เห็นความสะอาดฉันใด จิตใจของเรานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 22 ก.ย. 2010, 15:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 07:51
โพสต์: 132

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มันต้องแทรกการพิจารณาความไม่จริงไม่เที่ยงเข้าไปด้วย ไม่ใช่สักแต่ว่าดู


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่อ่าน ในกระทู้นี้ หลวงปู่ชา ไม่ได้สอนให้ดูเงาของจิตเลย

ท่านสอนให้เราทำจิตให้สงบ และท่านสอนว่า จิตไม่สงบนั้นเพราะไปหลงอาการของจิต

จึงให้พิจารณา ฝึกใช้ปัญญาให้จิตสงบเท่านั้นเอง ลองสังเกตดูมีคำว่าพิจารณาอยู่เป็นระยะ :b41:

อ้างคำพูด:
การทำกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จักแล้วก็จะลำบาก
บางคนก็ไม่เคยทำ เมื่อมาทำวันสองวันสามวัน มันก็ไม่สงบ มันก็เลยนึกว่า เราทำไม่ได้
เราต้องคิดว่า เมื่อเราเกิดมาเคยถูกสอนหรือยัง เราเคยทำความสงบหรือเปล่า
เราปล่อยมานานแล้ว ไม่เคยฝึกเคยหัดมัน มาฝึกมันชั่วระยะหนึ่งอยากให้มันสงบอย่างนั้นเหตุมันไม่พอ ผลมันก็ไม่มี เป็นเรื่องของธรรมดา เป็นเรื่องอันตัวเราท่านทั้งหลายจะหลุดพ้น ต้องอดทน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณศรีสมร เคยบอกว่าไม่เข้าใจเรื่องดูจิตไม่ใช่หรือครับ
ยังมาโพสต์ถามอยู่เมื่อเร็วๆนี้

หลวงพ่อปราโมทย์สอนดูจิต
ท่านบอกว่าจิตมีปกติคิดนึกปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ที่เรียกว่าเผลอ
การดุจิตที่ท่านสอน ท่านก้บอกว่า"ให้รู้ตามความเป็นจริงของจิต"
จิตจะคิด จะนึก จะฟุ้งซ่าน ก็ให้รู้ไปตามนั้น

แล้วมาดุสิครับ ว่าเหมือนหลวงพ่อชาสอนไหม

หลวงพ่อชา เขียน:
ถ้ามันไม่สงบนั้น ไม่ต้องน้อยใจ มันเป็นเรื่องธรรมดาของมัน
เรื่องจิตอันนี้มันจะอยู่นิ่งๆ ในที่ของมันไม่ได้หรอก
บางทีมันมีอาการคิดอย่างโน้นคิดอย่างนี้

ในขณะอยู่ในที่สงบอันนั้นแหละบางคนก็จิตไม่สงบ
จิตฟุ้งซ่าน ใจก็ไม่สบาย ใจเขาก็ไม่ดี เพราะว่าจิตไม่สงบ
อันนี้เราต้องพิจารณาด้วยปัญญาของเรา

เรื่องไม่สงบอันนั้นเพราะเราไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันเท่านั้นเอง

ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว
อันนั้นสักแต่ว่าอาการของจิต จริงๆแล้วจิตมันไม่ฟุ้งไปอย่างนั้น
[color=#BF0000] เช่นว่า เรารู้ความคิดแล้วว่า บัดนี้เราคิดอิจฉาคน นี้เป็นอาการของจิต
จริงๆ แล้วจิตมันไม่ฟุ้งไปอย่างนั้น

เช่นว่า เรารู้ความคิดแล้วว่า บัดนี้เราคิดอิจฉาคน
นี้เป็นอาการของจิตแต่เป็นของไม่จริง มันไม่เป็นความจริง
เรียกว่าอาการของจิตมันมีตลอดเวลา




สังเกตุสิครับ
หลวงพ่อชาสอนว่า ถ้าจิตไม่สงบ ก็ให้ "เรารู้ความคิด"
เช่นเวลาอิจฉา ก็ให้รู้ไปว่าบัดนี้เราคิด บัดนี้เราอิจฉา
ก็ความคิด ความอิจฉา นั่นแหละ เงาของจิต

เพียงแต่ที่ผมยกมา ท่านสอนดุจิตในระหว่างทำสมาธิ เพื่อเป็นอุบายให้จิตสงบ

บอกตามตรงว่าผมคุยกับคุณศรีสมรหลายทีแล้ว
มันคุยกันไม่ได้หรอก ธาตุมันต่างกันมาก
ผมไม่อยากให้มายุ่งกับผมเวลาผมพูดเรื่องดูจิต
ถ้าคุณศรีสมรอยากค้านกับผมเรื่องดุจิต คุณศรีสมรต้องเข้าใจการดุจิตเสียก่อน

ไม่งั้นก้จะต้องมานั่งอธิบายกันอย่างนี้


ถ้าไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง อยากเข้าใจ ผมก็ยินดีช่วยเหลือ
แต่ถ้าไม่สนใจแต่แรก ไม่ศัทธาศึกษาเลย ไม่มีข้อมุลอะไรเลย
เวลามาคุยกับผม ผมก็ต้องมาคอยอธิบายในสิ่งที่ไม่ควรจะต้องอธิบาย
เปรียบเหมือนคนเรียนหนังสือสองคน
คนหนึ่งทำการบ้านมา ศึกษามาดี แล้วมีข้อสงสัย อย่างนี้ครูก็คงชอบตอบ
เพราะนักเรียนคนนี้ได้ช่วยเหลือตัวเอง มีความตั้งใจศึกษาเอาจริงเอาจัง

แต่กับอีกคน เช่นคุณศรีสมร ไม่รู้เรื่องเลย ศึกษาก็ไม่ศึกษา
เรียกว่าไม่มพื้นฐานอะไรเลย มาถึงถ็มีแต่ถามๆๆ
ผมคนตอบผมอดโมโหไม่ได้ ที่ต้องมาคอยตอบคำถามแบบนี้

การที่จะเห้นว่าของสองอย่าง มันเหมือนกันหรือไม่เหมือน
คุณต้องรู้ทั้งสองอย่างอย่างชัดเจน
จึงจะจับสังเหตุได้ว่าเหมือนหรือต่าง

คนที่จะเข้าใจสิ่งที่ผมโพสต์ คุณต้องรู้เรื่องดูจิตก่อน
และต้องเข้าใจธรรมะที่ผมยกมาเทียบ
จึงจะสามารถแยกได้ว่าเหมือนจริงไหม ต่างจริงไหม


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 25 ก.ย. 2010, 14:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติครับ

คำว่าดูเงาของจิต ดูอาการของจิต ไม่อยากให้เพื่อนๆนักปฏิบัติ
ไปเพ่งเล็งเอาว่า ถูกหรือผิด อย่าใดกับความว่านี้ อย่างเดียว

แต่การดูเงา หรือดูอาการของจิต ต้องถามว่าดูอย่างไร จึงจะก้าวหน้า
ไปสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา น่าจะดีกว่า การถกเถียงว่า การดูเงาจิต นี้
ผิดหรือถูก ให้เป็นข้อถกเถียง กันยืดยาวเสียเปล่าครับ

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2010, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว




.gif
.gif [ 40.13 KiB | เปิดดู 3153 ครั้ง ]
อ่านแล้วจับมา 2 ประเด็น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตนเองดังนี้.-
จิตนี้คืออะไร มันเป็นธรรมชาติ หรือเป็นสัญชาตญาณอันหนึ่งที่มันมีอยู่
อย่างที่เราได้ยินอยู่เดี๋ยวนี้แหละ มันมีความรู้อยู่ ความรู้นี้มันอยู่ที่ไหน ในจิตนั้นมันเป็นอย่างไร ทั้งความรู้ก็ดี ทั้งจิตก็ดี เป็นแต่ความรู้สึก ผู้ที่รู้สึกดีชั่ว เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก รู้สึกดีหรือชั่ว หรือรู้สึกผิดหรือถูก คนที่รู้สึกนั้นแหละเป็นคนรู้สึกตัว รู้สึกตัวมันคืออะไร มันก็ไม่คืออะไร ถ้าพูดตามส่วนแล้วมันเป็นอยู่อย่างนี้ ถ้ารู้สึกผิดไปก็ไปทำผิดมัน รู้สึกถูกก็ไปทำถูก


การทำกรรมฐาน
ถ้าไม่รู้จักแล้วก็จะลำบาก บางคนก็ไม่เคยทำ เมื่อมาทำวันสองวันสามวัน มันก็ไม่สงบ
มันก็เลยนึกว่าเราทำไม่ได้ เราต้องคิดว่า เมื่อเราเกิดมาเคยถูกสอนหรือยัง
เราเคยทำความสงบหรือเปล่า เราปล่อยมานานแล้ว ไม่เคยฝึกเคยหัดมัน
มาฝึกมันชั่วระยะหนึ่งอยากให้มันสงบอย่างนั้นเหตุมันไม่พอ ผลมันก็ไม่มี
เป็นเรื่องของธรรมดา เป็นเรื่องอันตัวเราท่านทั้งหลายจะหลุดพ้น ต้องอดทน

การอดทนเป็นแม่บทของการประพฤติปฏิบัติ ให้เห็นกาย ให้เห็นใจ
เมื่อรู้จักธรรมตามความเป็นจริงแล้วนั่น ความที่เรายึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน)
แต่ก่อนๆ มันจึงจะผ่อนออก เห็นตามความเป็นจริงของมัน
อุปาทานมั่นหมายในความดี ความชั่วทั้งหลายมันจะคลายออก คลายออก
เห็นว่ามันเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เป็นของไม่แน่ไม่นอน ที่มันเกิดมีในจิตของเรานี้นั้น

ขอบคุณ และอนุโมทนากับ ท่านอาชาติสยาม ด้วยนะจ๊ะ

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 25 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร