วันเวลาปัจจุบัน 23 เม.ย. 2024, 20:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 19:15
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากตั้งหัวข้อธรรมขึ้นมา "หัวข้อ" หนึ่ง แล้วสอนตามที่ตนเองนึกคิดว่าถูกต้อง เมื่อเกิดปัญหาก็นำเอาคำสอนครูบาอาจารย์ หลวงปู่ฯหลวงตาฯ ทั้งหลาย ที่มี "หัวข้อ" ตามที่ตนเองตั้งไว้มาอ้างมาสนับสนุนคำสอนของตน จะเป็นการตั้งตนเป็นเจ้าลัทธิคำสอน "หัวข้อ" นั้นหรือไม่? จะกลายเป็นการกวาดต้อนเอาหลวงปู่ฯหลวงตาฯครูบาอาจารย์ทั้งหลายเข้ามาในอยู่สังกัด เอามาเป็นลูกศิษย์ตน ให้เห็นว่าตนพูดถูกสอนถูก หรือเปล่า?

ทำไม? ครูบาอาจารย์หลวงปู่หลวงตาฯ ท่านพูดท่านสอนไม่เป็นปัญหา
ทำไม? หลวงพ่อท่านหนึ่งนำมาพูดมาสอนกลายเป็นปัญหาได้

อยากได้คำตอบ แต่ไม่อยากเห็นความขัดแย้งคร้าบบ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์เหตุที่เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนานพระองค์ตรัสว่า

เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน
จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน



นอกนั้นคือเหตุที่พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่ไม่ศึกษาไม่รักษา สัทธรรม ๓ ได้แก่ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เพราะเหตุว่า หากติดยึดถือในตัวบุคคล ก็จะต้องต่างโคตร ต่างชาติ นับถือกันบ้างไม่นับถือกันบ้าง เพราะไม่เคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ (คือหมู่แห่งสงฆ์เคารพบูชาแต่ไม่ติดครูบาอาจารย์ จนเกิดอคติ ๔ ---พุทธฏีกา) เหตุก็เพื่อไม่มีอคติกำจัดอคติ ไม่เกิดการโต้แย้งและทะเลาะวิวาท เนื่องจาก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑(ศีล สมาธิ ปัญญา สิกขา ๓ และปริยัติสัทธรรมเพื่อเข้าใจในการปฏิบัติ การบำรุงดูแลต่อสมุมติสงฆ์ที่ใช่เนื้อนาบุญและไม่ใช่เนื้อนาบุญ ---พุทธฏีกา) ในสมาธิ ๑(อบรมภาวนาเพื่อสุขในปัจุบันและละความเห็นผิดเห็นแจ้งสัจธรรมโดยอบรม สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน----พุทธฏีกา)


สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบท
มีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้
สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ



[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรม-
*ชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ



[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะ
อัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ



[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อม
เพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕
ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อ
ความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ



[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อ
ความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็น
ไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ
๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน
ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ



---------------------------------------------------------------
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค สัทธรรมปฏิรูปกสูตร ๑๖/๕๓๑-๕๓๕




สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี,
ธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม ๓ อย่าง คือ
๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ไตรสิกขา
๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน;

สัทธรรม ๗ คือ
๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา


---------------------------------------------------------------
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


แก้ไขล่าสุดโดย นายฏีกาน้อย เมื่อ 25 ก.ย. 2010, 11:36, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อัสสัทธมูลกสูตรที่ ๑


[๓๗๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน
ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว
คือสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อม
สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน
ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อม
คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะ
น้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวก
ที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน
สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มี
สติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม
แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคตกาล ... แม้ใน
ปัจจุบันกาล
สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันโดยธาตุเทียว คือสัตว์
จำพวกที่ไม่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีศรัทธา
สัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ไม่มีหิริ
สัตว์จำพวกที่ไม่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่
ไม่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
สัตว์จำพวกที่มีสุตะน้อย สัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคม
กัน กับสัตว์จำพวกที่เกียจคร้าน สัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม ย่อมคบค้ากัน ย่อม
สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสติหลงลืม สัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ย่อมคบค้า
กัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญาทราม ฯ


[๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมคบค้ากัน ย่อม
สมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อม
สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัธทา สัตว์จำพวกที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อม
สมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน
ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อม
คบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก สัตว์จำพวกที่ปรารภความ
เพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร สัตว์
จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวก
ที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
สัตว์จำพวกที่มีปัญญา แม้ในอดีตกาล ... แม้ในอนาคตกาล ... แม้ในปัจจุบันกาล
สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือสัตว์จำพวกที่มี
ศรัทธา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีศรัทธา สัตว์จำพวก
ที่มีหิริ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีหิริ สัตว์จำพวกที่มี
โอตตัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีโอตตัปปะ สัตว์
จำพวกที่มีสุตะมาก ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวกที่มีสุตะมาก
สัตว์จำพวกที่ปรารภความเพียร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับสัตว์จำพวก
ที่ปรารภความเพียร สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน กับ
สัตว์จำพวกที่มีสติมั่นคง สัตว์จำพวกที่มีปัญญา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
กับสัตว์จำพวกที่มีปัญญา ฯ



-------------------------------------------------------------------
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อัสสัทธมูลกสูตร ๑๖/๓๗๓-๓๗๔

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


แก้ไขล่าสุดโดย นายฏีกาน้อย เมื่อ 25 ก.ย. 2010, 11:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ท่านพุทธฏีกา เข้าใจล้อเล่น อายุ 84 ยังแก่กว่าพ่อผมอีก

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


รักสงบ เขียน:
หากตั้งหัวข้อธรรมขึ้นมา "หัวข้อ" หนึ่ง แล้วสอนตามที่ตนเองนึกคิดว่าถูกต้อง


มีใครคิดว่าตัวเองผิดบ้างเล่า

ถ้าต่อให้มีคนที่คิดว่าตัวเองผิด
ก็แล้วเขาจะเอาความหลงผิดมาบอกเล่าทำไม
ใครๆเขาก้คิดว่าถูก เขาถึงเอามาพูด

ส่วนคนฟัง ถ้าคนที่คิดว่ามันถูกเหมือนกัน เขาก็ไม่มีปัญหา

แต่คนที่คิดว่ามันผิด เขาไม่ยอม
เมื่อไม่ยอมก้ทุ่มเถียงกัน

ต่างคนต่างอัตตาก็ทะเลาะเบาะแว้งกัน เป็นธรรมดา

ปล. ผมแสดงความเห็นตามที่ตนเชื่อถือ
แต่ทำไมชอบหาว่าผม "สอน"
ผมไปบังคับกำกับสั่งความให้ใครเชื่อถือหรือปฏิบัติตามหรือเปล่า..ก็เปล่า
ผมแค่ปกป้องทิฐิอัตตาของตนเท่านั้น ซึ่งไม่แตกต่างอะไรจากผู้ที่คิดเห็นตรงกันข้าม
เขาก็ปกป้องทิฐิอัตตาของคนเหมือนกัน

ถ้าหาว่าผมสอน ผมก็ต้องพูดได้ว่า
พวกที่มาต่อต้านผม ก็ถือว่าพยามมาสอนเหมือนกัน
แม้กระทั่งเจ้าของกระทู้ที่จงใจว่าผมนี้ ก็เข้าบ่ายมาสอนผมว่ามันไม่ดี
ที่กวาดเอาเอาครูบาอาจารยืมาอ้างอิง


รักสงบ เขียน:
เมื่อเกิดปัญหาก็นำเอาคำสอนครูบาอาจารย์ หลวงปู่ฯหลวงตาฯ ทั้งหลาย ที่มี "หัวข้อ" ตามที่ตนเองตั้งไว้มาอ้างมาสนับสนุนคำสอนของตน จะเป็นการตั้งตนเป็นเจ้าลัทธิคำสอน "หัวข้อ" นั้นหรือไม่? จะกลายเป็นการกวาดต้อนเอาหลวงปู่ฯหลวงตาฯครูบาอาจารย์ทั้งหลายเข้ามาในอยู่สังกัด เอามาเป็นลูกศิษย์ตน ให้เห็นว่าตนพูดถูกสอนถูก หรือเปล่า?

ทำไม? ครูบาอาจารย์หลวงปู่หลวงตาฯ ท่านพูดท่านสอนไม่เป็นปัญหา
ทำไม? หลวงพ่อท่านหนึ่งนำมาพูดมาสอนกลายเป็นปัญหาได้

อยากได้คำตอบ แต่ไม่อยากเห็นความขัดแย้งคร้าบบ :b16:


ถ้าจะพูดให้มันตรงคนไปเลยจะดีกว่า
เพราะผมก็เป็นคนเดียวที่พูดเรื่องดุจิตอยู่ในเวลานี้
แล้วก็มีพฤติการณ์แบบที่คุณตั้งคำถามขึ้นมา

ความจริงคำถามที่คูณตั้ง น่าสนใจอยู่
ว่าผมจะตั้งตนเป็นเจ้าพ่อกระทู้ดูจิต แล้วก็ไปเอาหลวงปู่หลวงตามารับรองคำพูดตน

เรื่องนี้มีสองประเด็น

1. ก็แล้วทำไม "ผมถึงไม่มีสิทธิ์พูดเรื่องดูจิต"
แล้วผมไปเอาหลวงปู่หลวงพ่อมาให้ดู ถ้ามันผิด ก็ว่ามันผิด ตรงไหนก็ว่าไป
แต่เพราะคุณค้านไม่ได้ คุณเลยไปเล่นแง่ตรงที่ว่า ทำไมถึงไปกวาดต้อนครุอาจารยืมารับรองตน

ผมเปรียบเทียบง่ายๆ
เหมือนเรามีคดีกันสองคน มีเรื่องฟ้องกัน คุณรู้ทั้งรู้ว่าแพ้ผมแน่นอน เถียงไม่ขึ้น
คุณเลยต้องไปเล่นตรงที่ว่า มีช่องไหนไหมที่ทำให้นำคดีขึ้นสู่ศาลไม่ได้
เช่น อายุความหมดหรือยัง เพื่อที่จะให้ไม่สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลได้
เมื่อขึ้นศาลไม่ได้ คุณก็ไม่ต้องแพ้คดี

กรณีนี้ก็เหมือนกัน คุณค้านหลวงปู่หลวงพ่อครุบาอาจารย์ไม่ได้
ก็ก็เล่นแง่ว่า การนำ content ของครุบาอาจารย์มาเสนอ เป็นเรื่องไม่สมควร



2. ถ้าคุณคิดว่าการเอาคำสั่งสอนหลวงครูบาอาจารย์มารับรองคำพูดของผมเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ราวกับเทครัวเทกระจาดกวาดครูบาอาจารยืมาเป็นพวกของตน

ถ้าคุุณมีตรรกะแบบนี้ ผมก็เทียบให้ฟังว่า

เวลาครุบาอาจารย์ท่านเทศนนาอะไร ท่านก้ยกพระบาลีบ้าง ยกพระไตรปิฏกบ้าง
มาสนับสนันโวหารของตน เมื่อเอาตรรกแนวคิดแบบที่คูณใช้มาวิเคราะห์
ก็คงพูดได้เลยว่า ครุบาอาจารย์เหล่านี้อ้างพระพุทธเจ้ามาสนับสนุนคำสอนของตน จะเป็นการตั้งตนเป็นเจ้าลัทธิคำสอน "หัวข้อ" นั้นหรือไม่? จะกลายเป็นการกวาดต้อนเอาพระพุทธเจ้าเข้ามาในอยู่สังกัด เอามาเป็นลูกศิษย์ตน ให้เห็นว่าตนพูดถูกสอนถูก หรือเปล่า?



ผมรู้แต่แรกแล้วว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่ผม reference ครุบาอาจารย์มา
มันจะมีคนประเภทที่แบบคุณนี่แหละครับ มาพูดทำนองนี้ไม่ผิด
ที่จริงผมคาดการณ์ไว้ตั้งแต่แรกแล้ว ผมเรียกพวกนี้ว่าพวก "ต่อมศีลธรรมทำงานเกินปกติ"

มีอย่างที่ไหน "กวาดครุบาอาจารย์" มันเป็นไปได้เหรอ
คุณก็ปรุงแต่งคำพูดให้ัผมดูชั่วร้ายเลวทราม ทั้งๆที่การ "กวาดต้อนครุบาอาจารย์" มันไม่มีอยู่จริง
เห็นต่อมความดีที่มันทำงานมากผิดปกติหรือยัง
ผมทำเลวอะไร ผมรู้อยู่แก่ใจ แค่ห้ามใจไม่ได้
แต่คุณทำเลวโดยไม่รู้ตัว แถมคิดว่าเป็นความดีที่ออกมาทำทีปกป้องครุบาอาจารยืไม่ให้ถูกกวาดต้อน

นี่คือความแตกต่าง
ผมแค่มีโรคต่อมความชั่วทำงานมากผิดปกติ
แต่คุณมันพวกต่อมความดีทำงานผิดปกติและมากเกินปกติ
ผลิตความชั่ว แต่เข้าใจว่าตัวเองผลิตความดี


การที่ผมเอายกธรรมเทศนาครูบาอาจารย์มาแสดง
ก็ไม่ได้แตกต่างจากผู้โจมตีตรงไหน ที่ไปยกครุบาอาจารย์มาสนับสนุนตนว่าการดูจิตเป็นสิ่งผิด
ว่ากันไปตรงๆเลย คือไปเอาหลวงพ่อสงบกับหลวงพ่อมนตรีมาสนับสนุนทิฐิของตน

ผมกํ็ย้อนรอยเดียวกัน ด้วยการรวบรวมคำสอนครูบาอาจารย์มาอ้างอิง

แล้วผมก็ไม่ได้อ้างอิงแบบมุบมิบ นี่ผมเล่นยก VDO ที่ออกจากปากท่าน
หนังสงหนังสือคำเทศน์ยกมาจากไหน ผมอ้างอิงไว้หมด

เรียกว่า เอาครูอาจารย์ที่ profile สูงกว่าฝ่ายต่อต้าน เอามากางให้พิจารณากันเอา
อย่างมากที่สุดผมก็แค่จับประเด้นให้สังเกตุเท่านั้น ว่าที่ยกมา ให้ดูอะไร

ควรจะขอบใจผมด้วยซ้ำไปนะ ว่าผมไปเอาข้อมูลความจริงอีกด้านมาแก้ไข
แล้วเรื่องที่แก้ก็เป้นเรื่องตัวธรรมะ ควรจะขอบใจ
ไม่ใช่มาตั้งแง่ว่าการยกมามันไม่ดี


ประเด็นหลักของกรณีการขัดแย้งเรื่องดุจิต ไม่ซับซ้อนอะไร
ฟากหลวงพ่อสงบกับหลวงพ่อมนตรี ประสบการณืตรงของท่าน ท่านว่า ต้องทำเอกัตคตาจิตให้ปรากฏเด่นดวงชัดเจนเสียก่อน เรียกว่า ทำฌานก่อน ถึงจะดูจิตได้
หรือทีพูดกันว่า "สมาธินำปัญญา" คือต้องอบรมสมาธิให้มีคุณภาพเสียก่อน
แล้วสมาธินั้น ก็จะเป็นเครื่องมือในการรู้เห็นตามเป็นจริง เกิดกระบวนการวิปัสสนา
ทำให้เกิดกระบวนการอบรมปัญญาให้มีขึ้น

แต่อีกฝ่ายหนึ่ง เขาบอกว่า มันไม่จำเป็น
ปัญญานำสมาธิได้ เช่นหลวงพ่อทูล ท่านบอกว่าตัวท่านเอง ใช้ปัญญานำสมาธิก่อน
ท่านใช้ปัญญาอบรมสมาธิ
ฟังเอา ตั้งแต่นาที่ที่ 2.30


หลวงพ่อทั้งหมด ครูบาอาจารย์ทั้งหมดที่เกียวข้องกับเรื่องนี้
ท่านไม่มีใครพูดผิดทั้งนั้น เพราะท่านพูดจากประสบการณ์ตรงของท่าน
เพียงแต่พวกลูกศิษย์นี่ ปัญหาหนัก เป้นพวกทิฐิสุดโต่ง โลกมีแค่สองมิติ
มีแต่ถูกกับผิด ขาวกับดำ ซ้ายกับขวา
มีทิฐิว่า "ถ้าไม่เหมือนฉัน...ผิด" มันสำคัญตรงนี้
ปัญหาทั้งหมดก็มีแค่นี้ คือ.... "ถ้าไม่เหมือนฉัน...ผิด"

นิสัยวาสนาของบุคคลไม่เท่ากัน
การปฏิบัตินั้น หลักการเหมือนกันหมด แต่ pratical แล้วไม่เหมือนกัน
เพราะแต่ละคนมีทุนเก่าไม่เท่ากัน
ใครทำได้ไม่เหมือนตน ก็จะหาว่าเขาทำผิดไม่ได้

ถ้าผู้ที่จะบรรลุถึงอริยสัจทุกคน ต้องทำเหมือนหมดทุกคน
ต้องทำเอกัตคตาจิตให้ปรากฏก่อน จึงจะสามารถทำอะไรต่อมิอะไรได้
ถ้างั้นต้องไปอธิบายประวัติพระสาวก อุบาสกอุบาสิกาในพระไตรปิฏกให้ได้
ว่าทำไมหลายคนไม่เคยทำสมาธิ ถึงบรรลุโสดาบัน

ถ้าอธิบายลบล้างตรงนั้นได้ แล้วค่อยมาบอกว่าทุกคนต้องทำเหมือนกัน

ถ้าจะค้าน ให้ค้านที่ตัวธรรมที่ผมยกมา
ค้านไม่ได้ก้อย่าไปเอาประเด็นที่เล็กกว่ามาค้านเลย มันไม่มีประโยชน์

ผมอาจจะขี้โมโหไปหน่อย
แต่ข้อดีคือไม่ต้องเดาว่าผมกำลังดีหรือชั่ว มันดูกันออกง่ายๆ
มาดีก็รู้ว่ามาดี มาชั่วก้รู้ว่ามาชั่ว

แต่คนที่ปากพูดดีๆ แต่กำลังคิดทำเรื่องชั่วนี่ แย่กว่ามาก

พวกที่แย่ที่สุด คือพวกที่คิดว่าตัวเองทำความดี
แต่ไม่รู้ตัวว่ามันคือการทำความชั่ว


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 25 ก.ย. 2010, 13:59, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


govit2552 เขียน:
ท่านพุทธฏีกา เข้าใจล้อเล่น อายุ 84 ยังแก่กว่าพ่อผมอีก

เจริญพรครับคุณโยม govit2552 ลานธรรมใช้ได้แล้วนะครับแต่พุทธฏีกาก็ยังเข้าไม่ค่อยได้เป็นที่เนตหรือที่อะไรก็ไม่รู้ เรื่องอายุ จริง ๆ อยากใส่ ศูนย์อีก ๓ ตัว :b32:


เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน


[๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิด
ขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของ
พระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ดังนี้ ครั้นเวลาสายัณห์ท่านออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
*ภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าไปใน
ที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ณ ตำบลนี้ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน.


พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรสารีบุตร พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี
พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ของพระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระ
นามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะดำรงอยู่นาน.


ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี
พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า?



ภ. ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู
ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะเวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามพระองค์นั้นมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า
เหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึง
ยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน



ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ยังไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ลมย่อมกระจาย ขจัด กำจัด ซึ่งดอกไม้เหล่านั้นได้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเขาไม่ได้ร้อยด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกันต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงกำหนดจิตของสาวกด้วยพระหฤทัย แล้วทรงสั่งสอนสาวก.


ดูกรสารีบุตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามเวสสภู ทรงกำหนดจิตภิกษุสงฆ์ด้วยพระหฤทัยแล้วทรงสั่งสอน พร่ำสอน ภิกษุสงฆ์ประมาณพันรูป ในไพรสนฑ์อันน่าพึงกลัวแห่งหนึ่งว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนั้น จง
ทำในใจอย่างนี้ อย่าได้ทำในใจอย่างนั้น จงละส่วนนี้ จงเข้าถึงส่วนนี้อยู่เถิด ดังนี้ ลำดับนั้นแล
จิตของภิกษุประมาณพันรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามเวสสภูทรง
สั่งสอนอยู่อย่างนั้น ทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนั้น ได้หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น
ในเพราะความที่ไพรสณฑ์อันน่าพึงกลัวนั้นซิ เป็นถิ่นที่น่าสยดสยอง จึงมีคำนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่ง
ยังไม่ปราศจากราคะเข้าไปสู่ไพรสณฑ์นั้น โดยมากโลมชาติย่อมชูชัน.



ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค
พระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภูไม่ดำรงอยู่นาน.

ส. อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ
พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า?

ภ. ดูกรสารีบุตร พระผู้มีพระภาคพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะเคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละของพระผู้มีพระภาคทั้งสามพระองค์นั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน


ดูกรสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บน
พื้นกระดาน ร้อยดีแล้วด้วยด้าย ลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้เหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้าย ฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาค
พุทธเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่
ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้
ตลอดระยะกาลยืนนาน ฉันนั้น เหมือนกัน.

ดูกรสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาค
พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน.

--------------------------------------------------------
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ๑/๗/๑๒




[302] นวังคสัตถุสาสน์ (คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 — the Teacher’s nine-factored dispensation the Master’s ninefold teaching)
1. สุตฺตํ (สูตร ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่นๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ หรือ สุตตันตะ กล่าวง่ายคือ วินัยปิฎก คัมภีร์นิทเทสทั้งสอง และพระสูตรทั้งหลาย — threads; discourses)
2. เคยฺยํ (เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน หมายเอาพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรคในสังยุตตนิกาย — discourses mixed with verses; songs)
3. เวยฺยากรณํ (ไวยากรณ์ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นใดที่ไม่จัดเข้าในองค์ 8 ข้อที่เหลือ — prose-expositions)
4. คาถา (คาถา ได้แก่ ความร้อยกรองล้วน หมายเอา ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร — verses)
5. อุทานํ (อุทาน ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ พร้อมทั้งข้อความอันประกอบอยู่ด้วย รวมเป็นพระสูตร 82 สูตร — exclamations; psalms; verses of uplift)
6. อิติวุตตกํ (อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร 110 สูตร ที่ตรัสโดยนัยว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา — thus-said discourses)
7. ชาตกํ (ชาดก ได้แก่ ชาดก 550 เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น — birth-stories)
8. อพฺภูตธมฺมํ (อัพภูตธรรม หรือเรื่องอัศจรรย์ ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยข้ออัศจรรย์ ไม่เคยมี ทุกสูตร เช่น ที่ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี 4 อย่างนี้ หาได้ในอานนท์” ดังนี้เป็นต้น — marvelous ideas)
9. เวทลฺลํ (เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถามตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจ ถามต่อๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และมหาปุณณมสูตร เป็นต้น — question and-answer; catechetical suttas)

คำว่า นวังคสัตถุสาสน์ นี้ เป็นคำรุ่นคัมภีร์อปทาน พุทธวงส์ และอรรถกถาทั้งหลาย บางทีเรียกว่า ชินสาสน์ บ้าง พุทธวจนะ บ้าง ส่วนในบาลีที่มาทั้งหลายเรียกว่า ธรรม บ้าง สุตะ บ้าง

---------------------------------------------------------------------------------------------
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 19:15
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกท่านคร้าบบบ :b4: :b4: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 16:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมมะแท้ พูดที่ไหนก็เป็นธรรมแท้ๆที่ออกจากจิตจากใจ

ธรรมปฏิรูป พูดที่ไหนก็เป็นธรรมมะปลอม ปฏิรูปเอาเองเข้าใจเอาเอง จนมันถึงที่สุดแห่งกฏปฏิจจสมุปบาท ความจริงก็แสดงออกมาให้เป็นในตัวของธรรมอันนั้นเอง

เท่านี้แหละธรรมแท้กับธรรมปฏิรูป :b18:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


จตุตถปัณณาสก์ อินทรียวรรค

[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสุคตหรือวินัยของพระสุคตยังดำรง
อยู่ในโลก พึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่ชนเป็น
อันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พระสุคตเป็นไฉน
ตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือพระสุคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็วินัยของพระสุคตเป็นไฉน พระสุคตนั้นย่อมทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือวินัยของพระสุคต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสุคตหรือวินัยของพระสุคตยังดำรงอยู่ในโลก พึงเป็นไป
เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอันเรียนกันมาผิดลำดับ ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด
แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ผิด ย่อมมีนัยผิดไปด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน
เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระ
สัทธรรม ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมอันทำให้
เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน ไม่รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อมสูญแห่งพระ
สัทธรรม ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุนั้นไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นมรณภาพลง พระสูตรย่อมมีรากขาดสูญ ไม่มีที่พึ่งอาศัย
ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเสื่อม
สูญแห่งพระสัทธรรม ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ เป็นผู้มักมาก มีความ
ประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวลง ทอดธุระในวิเวก ไม่ปรารภความ
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น แม้ชน
ผู้เกิดมาภายหลังนั้น ก็เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน
การก้าวลง ทอดธุระในวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความ
เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น
เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ๔ ประการ
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรอัน
เรียนกันมาดี ด้วยบทและพยัญชนะอันตั้งไว้ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะ
ที่ตั้งไว้ดี ย่อมมีนัยดีไปด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็น
ไป เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่ง
พระสัทธรรม ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมอันทำให้เป็น
ผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น
ธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความ
ไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม
ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุเหล่านั้นบอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นมรณภาพลง พระสูตรย่อมไม่ขาดมูลเดิม ยังมีที่พึ่งอาศัย ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ เป็นผู้ไม่มักมาก
ไม่ประพฤติย่อหย่อน ทอดธุระในการก้าวลง เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความ
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังย่อมดำเนินตามอย่างภิกษุเหล่านั้น
แม้หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลังเหล่านั้น ก็เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อมหย่อน
ทอดธุระในการก้าวลง เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม
ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความ
ไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน
เพื่อความไม่เสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม ฯ


----------------------------------------------------------------
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อินทรียวรรค ๒๑/๑๖๐/๑๙๗

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 04:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเราวางตัวเป็นอุเบกขา เหมือนกับ หลักคำสอนของพุทธศาสนา ความสบายใจก็ปรากฎกับเราเอง

ใครจะยกย่องพระองค์ไหนมากกว่าองค์ไหน เราก็ไม่กระตือรือร้น

ใครจะติเตียนพระรูปใดว่าเสนอรูปแบบธรรมะไม่ดีไม่แจ่มชัดเราก็ไม่กระตือรือร้น

เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ของทุกอย่างเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 13:40
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กูรูบนโลกITนั้นมีมากมาย รู้เพราะชอบอ่าน รู้เพราะคิดไปเอง รู้เพราะฟังเขามา รู้เพราะประสพมาได้ปฏิบัตรมามีประสพการณ์ ทุกรู้ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ผู้ที่อยากรู้ต้องพบประสพเองจึงจะรู้แท้จริง เป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับตนเองที่จะยึดถือแนวทางนั้นต่อไป การตั้งหัวข้อธรรมบนเวปคงไม่มีใครหลงเชื่อคำสอนของใคร แม้จะอมพระเกจิหลายองค์มาพูด เพราะผู้ที่เข้าเวปนี้ก็ล้วนแต่เข้ามาเพื่อหาปัญญา เข้ามาปุจฉา วิปัสนา ผิดบ้างถูกบ้างก็ธรรมดา ยังมีคอมพิวเตอร์ แปลว่ายังไม่บรรลุขั้นใดๆ ยังยึดคีย์ถือเม้าส์เป็นสาระณะเพื่อโพสต์ข้อความ เพราะงั้นอย่าวิตกกังวลไปเลย ทุกสิ่งล้วนเป็นภาพลวงตาเป็นอนัตตาขอรับ.


แก้ไขล่าสุดโดย poorboy เมื่อ 26 ก.ย. 2010, 17:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1855

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
:b8: กราบนมัสการท่านพุทธฏีกา
โชคดีที่เข้ามากระทู้นี้ เลยได้ทราบ เพราะเคยสงสัยเหมือนกัน

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 61 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร