วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 06:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2010, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธบาท โอกาสแห่งการชำระกรรมด้วยแสงธรรมไร้ประมาณ
หลักการฝึกจิตที่ง่ายและพิสดารล้ำลึกที่คุณไม่อาจค้นหาได้จากที่ใดในโลก และในหนังสือเล่มใด เพราะผู้เขียนเป็นบุคคลลึกลับและไม่พิมพ์เผยแพร่ทางสื่ออื่นใด
Permalink : http://www.oknation.net/blog/buddhabath วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน 2553
รวมบทความอภิธรรม ชุด อาสวักขยญาณไม่ใช่ญาณทำกิเลสให้สิ้น
Posted by physigmund_foid , ผู้อ่าน : 88 , 09:24:54 น.
หมวด : ส่งการบ้านครู
พิมพ์หน้านี้ โหวต 0 คน

อภิธรรม เรื่อง อาสวักขยญาณไม่ใช่ญาณทำกิเลสให้สิ้น





มีการแปลความหมายของคำว่า “อาสวักขยญาณ” ว่า “ญาณหยั่งรู้ในการทำกิเลสให้สิ้นไป” ซึ่งแปลผิด ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติธรรมไปเพียรจมอยู่กับการทำกิเลสให้สิ้นอยู่นั่น ทั้งที่แท้แล้ว กิเลสก็อนิจจัง เหมือนสรรพสิ่ง กิเลสไม่ใช่นิพพาน ไม่จีรัง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเองได้ จึงไม่ต้องไปทำกิเลสให้มันสิ้น ยิ่งไปทำ ยิ่งก่อกรรม เป็นมโนกรรมใหม่ๆ ทำให้เกิดกุศลจิต ทำมากเข้ามีบุญไปเกิดยังพรหมโลกได้ ด้วยผลแห่งการเจริญพรหมจรรย์นั้น






อาสวักขยญาณควรแปลว่า ญาณทำพรหมจรรย์ให้สิ้นเพราะหยั่งรู้ทันว่ากิเลสสิ้นแล้ว กิจจบแล้ว พรหมจรรย์สิ้นแล้ว ไม่ต้องเจริญอีก ไม่ต้องทำอีก ไม่ต้องฝึกอีกแต่สติและสมาธิก็มีเองได้ เกิดเองได้, ดับเองได้ ซึ่งก็คือ เมื่อกิเลสสิ้นนั้นไป อนิจจังดับเอง ก็มีสติระลึกรู้เท่าทันได้ว่ากิเลสได้ดับไปเองแล้วแต่สติและสมาธิยังมีได้เอง เช่นเมื่อพระพุทธเจ้าถูกพญามารทดสอบกิเลสต่างๆ ท่านไม่รู้สึกมีกิเลสอีก ก็มีสติระลึกรู้ได้ว่า “กิเลสหมดแล้ว ไม่มีอีก” นี่คือ “สัมมาสติ” พอรู้ได้อีกว่าพรหมจรรย์สิ้นแล้ว กิจจบแล้ว สมาธิมีได้เอง ก็เกิด “อาสวักขยญาณ” คือ ญาณหยั่งรู้ได้ว่ากิเลสสิ้นไปแล้ว สัมมาสมาธิเกิดขึ้นได้เอง พรหมจรรย์สิ้นแล้วไม่ต้องเจริญอีก หรือที่ พระมหากัสสปะ ได้เห็นพระพุทธเจ้าทรงยกดอกบัวบานขึ้นแล้วไม่สอนอะไร เกิดสงสัยว่าทำไมไม่สอนอะไร แล้วทำไมดอกบัวบานแล้ว “อ้อ ไม่ต้องสอนอะไรแล้ว จิตบริสุทธิ์แล้ว” นี่ก็คือ “เซน” หรือ วิถีแห่งการไม่ต้องปฏิบัติ ไม่ต้องฝึกจิต ไม่ต้องฝึกสมาธิ อาศัยสัมมาสติ ที่รู้เท่าทันอาการดับไปของกิเลส เกิดญาณหยั่งรู้ได้ว่ากิเลสสิ้นไปแล้ว คือ อาสวักขยญาณตามมา ก็ทำนิพพานให้แจ้งได้ทันที พระมหากัสสปะจึงนับเป็นพระสาวกองค์แรกที่บรรลุธรรมแบบวิถีเซน ตามมาด้วยพระสาวกอีกหลายรูป อีกทั้งพระอานนท์ที่บรรลุธรรมเองขณะกำลังเอนตัวลงนอน






อนึ่ง การบรรลุธรรมนั้นมีหลายวิธี พระสาวกบางรูปบรรลุได้ด้วยกสิณหรือรูปฌานก็มี เช่น พระอนุรุธ ผู้เป็นเลิศทางตาทิพย์ ท่านชำนาญในรูปฌานอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าก็ไม่ขัดในวิถีธรรมชาตินั้น ท่านก็ตรัสว่าก็รูปฌานนั้นแหละ เธอทำให้ถึงที่สุด (คือ ดับไป) เถิด นี่คือ การบรรลุแบบพระพุทธเจ้า คือ เข้ารูปฌาน ได้นิมิตเป็นเทวดาดีดพิณ ก็เกิดปัญญาได้ว่าไม่ควรเพียรจม ไม่ควรบำเพ็ญทุกขกริยา ควรเดินทางสายกลางนี่คือ “สัมมาวายามะ” ทำให้บรรลุธรรมขั้น “สกิทาคามี” จากนั้น ก็ทำสมาธิต่อไป โดยเกิดนิมิตเห็นพญามารอีกใน ขณะใกล้จะบรรลุธรรม ได้ถูกพญามารทดสอบยั่วยุด้วยกิเลสต่างๆ ท่านก็เกิดญาณหยั่งรู้ได้ว่ากิเลสไม่มีแล้ว กิเลสสิ้นไปแล้ว สติที่ระลึกรู้เท่าทันความดับสิ้นไปของกิเลสนี้ก็คือ “สัมมาสติ” เป็นผลจากการบรรลุธรรมขั้น “อนาคามี” และได้วิชชาสามบ้าง อภิญญาหยั่งรู้อดีตชาติได้มากมายบ้าง โดยไม่ต้องกำหนดสมาธิเลยนี่คือ “อาสวักขยญาณ” คือญาณหยั่งรู้ได้ว่ากิเลสสิ้นไปแล้ว กิจจบแล้ว พรหมจรรย์ที่เจริญอยู่ก็สิ้นลง ไม่ต้องเจริญ ปล่อยไปเลยตามธรรมชาติ “สัมมาสมาธิ” ก็เกิดขึ้นได้เองจึงตรัสรู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบรรลุแล้ว ทรงพิจารณามวลสัตว์ที่พระองค์ต้องโปรดในยุคสมัยของพระองค์ทรงเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายในยุคนั้นเหมือนบัวสี่เหล่า และสอนได้เพียงสองเหล่าที่พ้นน้ำเท่านั้น






สรุป


๑) พระพุทธเจ้าบรรลุโสดาบัน ครั้งยอมละสักกายทิฐิถามนายฉันนะถึงเทวทูตทั้งสี่


๒) พระพุทธเจ้าบรรลุสกิทาคามี ครั้งที่ได้นิมิตเทวดาดีดพิณ จึงเดินทางสายกลาง


๓) พระพุทธเจ้าบรรลุอนาคามี ครั้งที่พญามารทดสอบแล้วมีสติเท่าทันกิเลสที่ดับไป


๔) พระพุทธเจ้าบรรลุอรหันต์ ครั้งสมาธิเกิดเองโดยไม่กำหนดหลังสัมมาสติเกิดแล้ว


๕) พระพุทธเจ้าบรรลุด้วยรูปฌาน ไม่ใช่วิถีเซน ไม่ใช่ธรรมจักร แต่พิจารณาจากนิมิต


๖) ผู้บรรลุธรรมคนแรกไม่ได้บรรลุเซน คือ ท่านอัญญาโกญทัญญะ ได้ด้วยธรรมจักร


๗) ผู้บรรลุเซนคนแรกคือพระมหากัสสปะ โดยการยกดอกบัวบานขึ้นโดยต้องไม่สอน


๘) ผู้บรรลุธรรมคนอื่นไม่จำเป็นต้องเป็นเซน เช่น พระอนุรุธเจริญรูปฌานจนบรรลุได้


๙) อาสวักขยญาณ คือ ญาณทำพรหมจรรย์ให้สิ้น ไม่ใช่ญาณทำกิเลสให้สิ้น -จบ-


อภิธรรม เรื่อง การบรรลุธรรมใช้เพียงขณิกสมาธิก็ได้






การบรรลุธรรมของคนทั่วๆ ไป ใช้เพียงขณิกสมาธิก็ได้ แต่สำหรับคนที่มีวิบากกรรมมาก มีความปรารถนามากอาจไม่จบแค่ “ขณิกสมาธิ” เพราะอาจปรารถนาญาณหยั่งรู้ที่สูงกว่าจึงฝึกจิต ฝึกสมาธิที่เน้นญาณสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น อัปปนาสมาธิ ซึ่งก็ใช้เป็นบาทฐานในการบรรลุธรรมได้เช่นกัน ถ้าเข้าใจว่าจุดใดที่เหมาะสมแก่การทำนิพพานให้แจ้ง คือ ระหว่างองค์ฌาน ซึ่งฌานหนึ่งดับไปสู่อีกฌานหนึ่ง เมื่อออกจากองค์ฌานแล้วพิจารณาความดับไป ว่าเป็นอนิจจังได้ฉับพลันก็บรรลุธรรมได้ ไม่ต่างกันกับการใช้ขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในการเจริญวิปัสสนา เพราะจุดสำคัญของการบรรลุธรรมนั้น ไม่ใช่ความลึกหรือแน่นของสมาธิ แต่เป็น “ตรงจุด” หรือไม่ จุดไหน ก็คือ จุดดับสนิท จุดที่สภาวธรรมที่พิจารณาอยู่ ดับสนิทลงนั่นแหละตรงนิพพาน นิพพานแปลว่าดับสนิทหรือดับสูญ เมื่อเกิดภาวะดับสูญหรือดับสนิท ก็เพ่งพิจารณาธรรมในทันที จึงสามารถทำนิพพานให้แจ้งได้ เพราะตรงต่อนิพพานนั่นเอง จุดอื่นที่ไม่ใช่ความดับสนิท (สุญตา) นั้นไม่ตรงนิพพาน ต่อให้ใช้ฌานลึกแค่ไหนก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้ อนึ่ง ผู้ที่เข้าฌานลึกแล้วออกจากองค์ฌานนั้นเหมือนออกจากหลุมลึกแล้วพิจารณาธรรมฉับพลัน ย่อมถอนรากถอนโคนกิเลส คือ อวิชชาให้สิ้นได้ง่าย แต่คนที่ใช้เพียงขณิกสมาธิอาจตัดสังโยชน์ได้น้อยกว่า แต่ก็บรรลุเป็นอริยบุคคลได้เหมือนกัน คนที่บรรลุแบบฌานลึกหรือแบบเจโตวิมุติ จึงมักบรรลุถึงอรหันตผล แต่คนที่บรรลุด้วยขณิกสมาธิ อาศัยปัญญาเป็นสำคัญหรือปัญญาวิมุติ จึงมักมีประวัติว่าบรรลุธรรมขั้นต่ำมาก่อนก็มี ก่อนที่จะบรรลุอรหันต์แบบปัญญาวิมุติในท้ายที่สุด ดังจะอธิบายต่อไป






น้ำมันมากไปจุดไฟก็ไม่ติด


น้ำมันที่อาบกิ่งไม้มากไปอาจจุดไฟไม่ติด ฉันใดก็ฉันนั้น ฌานที่ลึกเกินไปก็ไม่ทำให้เกิดปัญญาเพราะแช่หรือดองอยู่ในความสุขสงบนั้น จึงไม่เกิดการพิจารณาทำปัญญาให้เกิดได้ การจะบรรลุธรรมได้หรือเกิดวิปัสสนาญาณได้ ต้องออกจากองค์ฌานลึกก่อน หรือให้องค์ฌานลึกดับไปแล้วพิจารณาความดับไปนั้นเป็นอนิจจัง จึงไม่ติดดองในฌานนั้น การติดดองในฌานลึกก็คือการติดภาวะความสุขสงบ อันเป็นภาวะของพรหม หรือภพพรหมนั่นเอง เคยรู้สึกไหมเวลาเข้าฌานลึกแล้วนึกอะไรไม่ออก ปัญญาไม่เกิด นั่นแหละ ไปลึกเกินแต่พอไม่เข้าฌานลึกออกจากฌานแล้วเดินเล่น ความคิดและปัญญาโลดแล่นเลยก็มี






ตรงสู่จุดดับ (สุญตา) คือสิ่งสำคัญ


สิ่งสำคัญที่สุดของการบรรลุธรรมคือ “ตรงต่อนิพพาน” แล้วตรงไหนกันละของการเจริญจิตภาวนาที่เรียกว่าตรงต่อนิพพาน ก็นิพพานแปลว่าดับสนิท, ดับสูญอยู่แล้ว ดังนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาอะไรอยู่ สภาวธรรมใดปรากฏอยู่ ถ้ารวมจิตดีได้แล้วเห็นอาการดับไป ก็ให้ยกจิตขึ้นวิปัสสนาได้เลย นั่นแหละตรงนิพพานแล้ว จุดนี้เอง ทางมหายานเรียกว่า “สุญตา”






ไม่ต้องดูจิต ไม่ต้องสนใจจิต ให้สนใจอนิจจัง


การไปสนใจดูจิต ว่าจิตมีโลภ, โกรธ, หลง, ฟุ้งซ่าน, หม่นหมอง ดูเฉยๆ ให้รู้ สักแต่ว่ารู้เท่านั้นก็ไม่ทำให้บรรลุธรรม ได้แต่เจริญสติให้แก่กล้าขึ้นเป็นบาทฐานของการบรรลุธรรมเท่านั้น ถ้าจะฝึกก็ไม่ผิด ไม่เลวร้ายอะไร แต่ถ้าติดอยู่กับการฝึกว่าการฝึกนี้เป็นของดีแล้วไม่ก้าวหน้าต่อไปได้ อันนี้ คงไม่ดี ควรออกจากการติดดองแช่อยู่นั้น แล้วลัดตรงนิพพาน



ไม่ต้องเข้าสมาธิลึก ไม่ต้องแช่จม ให้ยกจิตขึ้นพิจารณา


ถ้าเข้าสมาธิลึกอยู่, จมอยู่, มีความเพียรจมอยู่ในองค์ฌานก็ดี ให้ยกจิตขึ้น หรือออกจากองค์ฌานที่ลึกนั้น แล้วพิจารณาความดับไปขององค์ฌานก่อนหน้าเป็นอนิจจัง ก็จะหลุดจากการยึดติดองค์ฌานหรือฌานนั้น เรียกว่า “ยกจิตขึ้นวิปัสสนาญาณ” คือ เข้าสมาธิลึก หรือเดิมแช่อยู่ในองค์ฌาน แล้วออกจากองค์ฌานที่ลึก มาอยู่ที่ตื้นขึ้น เพื่อจะพิจารณาธรรม เพราะลึกเกินไปมันไม่รู้ มันเชื่อม, เชื่องซึม, สุขสงบแน่นิ่งแต่ไม่เกิดปัญญา คำว่า ยกจิตขึ้นวิปัสสนาจึงใช้ในกรณีเข้าฌานแบบจมลง ลึกลงไปเรื่อยๆ ด้วยประการฉะนี้-จบ-


อภิธรรม เรื่อง จิตหนึ่งและจิตสังขาร






“จิตหนึ่ง” เป็นคำที่ท่านฮวงโปใช้ หมายถึง จิตเดิมแท้ ที่มีอยู่เพียงหนึ่งเดียว ไม่มีอื่น ไม่มีมากไปกว่านี้ ส่วนจิตที่มีมากถึง ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น ไม่ใช่จิตหนึ่ง ไม่ใช่จิตเดิมแท้ ไม่ใช่จิตประภัสสร แต่เป็นผลการเกิดขึ้นของจิตสังขาร ที่อุปทานยึดเอาอารมณ์ต่างๆ เป็นตัวกูของกู จนก่อชาติเกิดภพ กลายเป็นจิตเกิด และจิตดับ เกิดดับสลับกันไปมาจากดวงหนึ่งไปสู่ดวงหนึ่ง เรื่อยๆ เรียกว่า “จิตสังขาร” ซึ่งเกิดและดับต่อเนื่องกันไปเป็นวิถีที่เรียกว่า “วิถีจิต” อนึ่ง การทำนิพพานให้แจ้ง ไม่ต้องสนใจเรื่อง “จิตสังขาร” ก็ได้ เพราะเป็นผลจากจิตได้อุปทานยึดมั่นถือมั่นอารมณ์ไปแล้ว เกิดแล้ว แล้วก็ดับไปเอง เอากิเลสเข้าไปแล้ว ไม่ใช่จิตเดิมแท้ ที่ประภัสสรดังเดิม ดังนี้ จึงไม่พ้นจากกิเลส การจะหลุดพ้นได้ จะต้องเข้าใจ “จิตประภัสสร” หรือ “จิตหนึ่งเดียวเดิมแท้” นั้นเอง ไม่ใช่ไปสนใจจิตสังขารที่เกิดดับมากมายนั้น อีกทั้งจิตสังขารทั้ง ๘๙ ดวงหรือ ๑๒๑ ดวงนั้น ก็ไม่ใช่ธรรมที่ช่วยให้เกิดการบรรลุเลย เรียกว่าไม่อยู่ในโพธิปักขิยธรรม หรือธรรมที่ช่วยในการตรัสรู้แต่อย่างใด การเข้าใจเรื่องจิตอย่างแท้จริงจึงควรเข้าใจเรื่องจิตประภัสสรไม่ใช่จิตสังขาร






จิตหนึ่งหรือจิตประภัสสร


หมายถึง จิตเดิมแท้ก่อนที่จะอุปทานยึดมั่นถือมั่นเอาอารมณ์ที่ไปรับรู้นั้นมาเป็นตัวกูของกู จนก่อเกิดชาติภพ กลายเป็นผลคือ “จิตสังขาร” อันเกิดจากการปรุงแต่งธรรมขึ้นมาในภายหลังตามหลักวงจรปฏิจจสมุปบาทเมื่อใช้ “สมุทเฉทปหาน” คือการตัดกิเลสฉับพลัน ก็จะหยุดวงจรการก่อเกิดของจิตสังขารนี้ได้ จิตก็จะมีแต่สภาวะ “รู้เฉยๆ” จะไม่มีคำว่าจิตโลภ, จิตโกรธหรือจิตหลงใดๆ มีแต่จิตที่บริสุทธิ์ไม่ถูกปรุงแต่งใดๆ “ดังคำกล่าวว่า เพราะมีอวิชชาจึงมีสังขาร” คือ จิตหลงไปยึดเอาว่าอารมณ์นั้นเป็นตัวกูของกูจึงก่อให้เกิด “จิตสังขาร” หรือ “สังขาร” ขึ้น และจากคำกล่าวที่ว่า “เพราะมีสังขารจึงมีวิญญาณ” ก็คือ จิตสังขารเกิดแล้วก็ปรุงแต่งร่วมกับวิญญาณอีกที ทำให้ต้องมาฝึกดับขันธ์ห้ากัน และเพราะมีวิญญาณจึงมีนามรูป ดังนี้ จึงมีการแยกรูปแยกนามพิจารณากัน (ท่านพุทธทาสให้ตัดวงจรที่ผัสสะ เพื่อไม่ให้ก่อเป็นเวทนา แต่ผู้เขียนมองว่าต้องตัดที่อวิชชาให้สิ้นไปเลย)






จิตสังขารในความหมายของผู้เขียนบทความ


หากท่านได้อ่านบทความ ผู้เขียนได้ใช้คำว่า “จิตสังขาร” ในสองความหมาย ดังต่อไปนี้






๑) จิตสังขารหรือจิตหลักในกายสังขาร


ในความหมายนี้ ผู้เขียนใช้เฉพาะ เป็นศัพท์เฉพาะในบทความนี้เท่านั้น ไม่ใช่ศัพท์สากล ใช้อ้างอิงที่อื่นไม่ได้ เป็นการย่อย่นคำว่า “จิตหลักในกายสังขาร” ไว้สั้นๆ เพียงคำว่าจิตสังขารเท่านั้น ซึ่งก็คือ จิตดวงแรกที่จุติเข้ามาปฏิสนธิในเซลปฏิสนธินั้น แล้วจึงพัฒนามาพร้อมกับสังขารมนุษย์ เป็นจิตหลัก ดวงในสุด ทำหน้าที่ประจำสังขาร ไม่จุติออกไปไหนจนกว่าจะหมดอายุขัย จึงจะจรจุติออกไป ถ้าจรจุติออกไป ก็นับว่าหมดอายุขัยของจิต






๒) จิตสังขารหรือจิตที่เกิดจากการอุปทาน


ในความหมายนี้ ผู้เขียนใช้เป็นสากล คือ ที่อื่นๆ จะเข้าใจในความหมายนี้ว่า “จิตสังขาร” หมายถึงจิตที่เกิดจากการอุปทานเอาอารมณ์ต่างๆ เป็นตัวกูของกู แล้วก่อให้เกิดชาติและภพขึ้นมา จิตจึงมีการเกิดดับด้วยการอุปทานนี้ ถ้าจิตไม่อุปทาน จิตก็ไม่เกิดไม่ดับซึ่งเป็นภาวะของ “จิตเดิมแท้” หรือ “จิตประภัสสร” ที่ไม่เกิด ไม่ดับ มีแต่ภาวะ “ดำรงอยู่” ในรูปของธาตุรู้เท่านั้น เมื่อสิ้นสภาพแห่งความเป็นธาตุรู้แล้ว ไม่ใช่ทั้งรู้และไม่รู้ รู้หรือไม่รู้ก็ไม่ต่างกันแล้ว จิตก็หมดกิจ คือ พร้อมนิพพาน เมื่อจิตวิญญาณบางดวงในกายสังขาร กำลังนิพพานก่อนที่กายสังขารจะตายลงนั้น มีได้เกิดได้เหมือนกันถ้ากายสังขารนั้นมีจิตหลายดวง จิตวิญญาณบางดวงสามารถนิพพานไปก่อนได้ เมื่อจิตดวงนั้นเข้าถึงนิพพาน บรรลุธรรมแล้ว ทำกิจรู้จนหมดหน้าที่แม้แต่หน้าที่ที่จะรู้แล้ว คือ รู้ก็ได้ไม่รู้ก็ได้ ไม่ต่างกัน ก็จะเข้านิพพานได้ จิตที่ยึดอาการรู้ ยึดภาวะรู้อยู่ ยังไม่อาจเข้านิพพานได้ เพราะติดรู้ -จบ-


อภิธรรม เรื่อง จิตประภัสสรและจิตสังขาร






จิตเดิมแท้มีสภาพบริสุทธิ์ เรียกว่า “จิตประภัสสร” แต่เมื่อจิตไปรับรู้อารมณ์แล้วเสพเอาอารมณ์นั้นเป็นตัวกูของกู ด้วยอำนาจแห่งอุปทานนั้นเอง จึงเกิดชาติและภพ จึงสมมุติเรียกกันว่า “จิตสังขาร” หรือจิตที่ถูกนักดูจิตสมมุติเรียกกันขึ้นเพราะสังขารธรรมปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ยังมีสภาวะเกิด และดับอยู่ เรียกว่า “จิตสังขาร” ทั้งนี้ ผู้เขียนได้ใช้คำว่า “จิตสังขาร” ในสองนัยยะ ๑) คือผลจากจิตปรุงแต่ง ๒) จิตดวงแรกที่จุติมาประจำสังขาร






จิตประภัสสรมีสภาวะไม่เกิดไม่ดับ ที่เกิดและดับเป็นวิญญาณขันธ์ที่ปรุงแต่ง


จิตประสานกับวิญญาณเรียกว่า “จิตวิญญาณ” อยู่ร่วมกัน เมื่อจิตวิญญาณดับสลายลงนั้น จิตไม่ได้เปลี่ยนสภาพเลยแม้แต่น้อย สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปนั้นคือ “วิญญาณขันธ์” เท่านั้นที่ดับลงแล้วประสานกันเกิดใหม่ เช่น จากเดิมเป็นเทพ วิญญาณขันธ์คือเทพ พอสลายแล้ว เกิดใหม่เป็นกุมาร สิ่งที่เปลี่ยนไปไม่ใช่จิตแต่เป็นวิญญาณที่ห่อหุ้มเท่านั้น แท้แล้วจิตนั้นไม่ได้เป็นอะไร ใดๆ แต่วิญญาณขันธ์นั้นมาห่อหุ้มปรุงแต่งให้เป็นนั่นนี่ ตัวตนของตน เช่น เป็นเทพ, เป็นมาร เป็นต้น อนึ่ง จิตหรือมโนธาตุนี้แม้ไม่เกิดไม่ดับ ทว่าก็สามารถประสานเข้ากับธรรมอย่างอื่นได้เช่น วิญญาณขันธ์ แล้วกลายเป็น “จิตวิญญาณ” ก็ได้ หรือเข้ากับธาตุอื่นๆ เช่น ธาตุทั้งสี่แล้วประสานเป็นกายสังขารขึ้นมาชั่วคราวด้วยอำนาจแห่งจิตนั้นก็ได้ ซึ่งถ้าจิตหรือมโนธาตุประสานกับธาตุสี่ โดยไม่มีวิญญาณ หรือปราณมาช่วยประสานแล้ว ก็จะทำหน้าที่ได้ลำบาก เหมือนพระพุทธรูปที่แข็งทื่อมีจิตเข้ามาสิงสู่เท่านั้น ถ้าจิตมีฤทธิ์มากก็สามารถขับเคลื่อนธาตุสี่นั้นได้ แต่ไม่ดีเท่าวิญญาณขันธ์หรือปราณมาประสานด้วย อนึ่ง แม้จิตไม่เกิดไม่ดับ แต่ยังไม่นิพพาน เพราะยังดำรงอยู่ในฐานะจิตอยู่ ถ้าเทียบกับกระบวนการเกิด คือ เกิดขึ้น, ตั้งอยู่ และดับไปแล้ว จิตไม่ได้อยู่ในฐานะเกิดขึ้น หรือดับไป แต่อยู่ในฐานะดำรงอยู่ในฐานะจิตหรือมโนธาตุนั้นเอง เมื่อหมดสิ้นการทรงสภาพหรือทำกิจหมดแล้ว จิตก็จะดับไปเอง ซึ่งการดับจิตในขั้นนี้ทำให้ถึงนิพพานได้ในที่สุด






การสลายขันธ์ห้าเหลือแต่จิต ก็ไม่ทำให้ได้นิพพาน


พระอานนท์เคยใช้กสิณไฟสลายขันธ์ห้าเพื่อเข้านิพพาน แต่ท้ายแล้วท่านยังเหลือจิตอยู่ ธาตุที่เหลือนี้ยังทรงกิจอยู่ได้ จึงยังไม่นิพพาน เมื่อหมดกิจแล้ว ก็จบสิ้น นิพพานได้ ก็จะหมดสภาพที่เรียกว่าจิตหรือมโนธาตุใดๆ อีก รู้หรือไม่รู้ไม่ต่างกัน และจิตกับนิพพานก็ไม่ต่างกัน อนึ่ง เมื่อจิตยังทรงกิจอยู่ ย่อมก่อเกิดภาวะ “รู้และไม่รู้” เกิดดับสลับกัน ทำให้ยังไม่นิพพานอย่างแท้จริง เพราะยังมีการเกิดดับในภาวะของการรู้หรือไม่รู้อยู่ ดังนี้ แม้จิตเป็นธาตุรู้และมีปัญญาหยั่งรู้ได้มากเท่าใด แต่ถ้าเราไปติดอาการรู้ของจิต จิตก็จะยังไม่นิพพาน ถ้าสลายขันธ์ห้าแล้ว ก็ไม่ต้องเกิดมามีกายสังขาร ไม่ใช่ทั้งคนและเทวดา แต่ก็ยังไม่นิพพาน ภาวะนี้อาจเรียกว่า “พระเจ้า” ก็ได้ แต่เมื่อพระเจ้านิพพานแล้ว ก็นับว่าไม่ต่างจากพระพุทธเจ้าทั้งปวง หรือจิตที่ไม่อาจเกิดได้อีก ที่เรียกว่า “พระจิต” หรือ “พระบิดา” ผู้เกิดไม่ได้อีก เพราะมีความบริสุทธิ์มากนี้ ที่เราเรียกอีกนามว่า “พระเจ้า” นั่นเอง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าจิตนั้นมีสภาพของการดำรงอยู่ ยังไม่เกิด ไม่ดับ แต่ก็ยังไม่นิพพานเพราะยังดำรงอยู่ในสภาพของจิต เมื่อจิตคลายสภาพของการเป็นธาตุรู้แล้ว ก็จะหมดไปจากสภาวะที่ดำรงความเป็นจิตรู้อยู่นั้น ก็จะดับสลายแบบดับสนิทไม่เกิดอีกก็คือ นิพพาน





มนุษย์ทุกคนมีพระจิตหรือพระเจ้าในกายสังขารทั้งสิ้น


ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว มนุษย์ทุกคนมีจิตที่ไม่เกิด ไม่ดับ มีสภาวะดำรงอยู่อย่างนั้นเป็นธาตุรู้ เรียกว่า “จิต” นั้นเอง ดังนั้น มนุษย์ทุกคนจึงมีพระเจ้าอยู่ในตัวเองแล้ว หรือมีพระจิตอยู่ในตัวเองแล้ว พระเจ้าหรือพระจิตนี้เป็นสภาพดั้งเดิมก่อนสภาวธรรมตัวอื่นๆ อาจเรียกได้ว่า “ไกวัลยธรรม” ตามแบบที่ท่านพุทธทาสกล่าวก็ได้ แต่ไกวัลยธรรมนี้ไม่ใช่นิพพาน ยังไม่นิพพาน เพราะมีสภาวะ “ดำรงอยู่ คล้ายๆ จะนิรันดร” แต่เมื่อถึงวาระหมดกิจแล้ว ก็จะดับสลายลง ไม่นิรันดร ไม่จีรัง ไม่ยั่งยืน พ้นสภาพเดิม คือ ดับสนิทไม่เกิดอีก ไม่ทรงกิจ ไม่ทรงสภาวะ ไม่ทรงอาการรู้ ไม่เป็นธาตุรู้หรือไม่รู้อีก นิพพานอย่างเดียว ไม่มีอื่น -จบ-


อภิธรรม เรื่อง จิตประภัสสรและเจตสิกห้าสิบสอง






ท่านฮวงโปได้กล่าวถึงจิตว่าจิตไม่เป็นอื่น มีแต่ “จิตหนึ่ง” เท่านั้นซึ่งก็คือ “จิตประภัสสร” ตรงกับคำกล่าวของท่านเว่ยหลางที่ว่า “กระจกใสแล้ว ไม่ต้องเช็ด” คือจิตมีความบริสุทธิ์อยู่แล้ว ไม่มีสภาพที่ไม่บริสุทธิ์แต่อย่างใด ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้กล่าวถึงจิตว่ามีถึง ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงแต่ที่นับได้มากขนาดนี้ ไม่ใช่ “จิตหนึ่ง” นี้ เพราะอาศัยการนับเอาจากการรู้ของจิตนั้น ไม่ใช่หมายถึงตัวจิตโดยตรง หมายความว่าตัวจิตมีหนึ่งเดียวคือจิตประภัสสร แต่ผลจากจิตรู้มีได้ ๘๙ หรือ ๑๒๑ แบบ แต่นับว่าเป็น “ดวง”ๆ ไป อันนี้ต้องเข้าใจให้ชัด ดังจะนำข้อความอ้างอิงมาให้ท่านพิจารณาจากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑ ซึ่งพระอนุรุทธาจารย์ ได้รจนาไว้ และให้ชื่อว่า จิตตสังคหวิภาค ดังข้อความส่วนหนึ่งดังนี้










เมื่อกล่าวตาม สภาพ คือกล่าวตามลักษณะของจิตแล้ว จิตนี้มีเพียง ๑ เพราะจิตมีสภาวะ มีสภาพ มีลักษณะ รับรู้อารมณ์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง แต่เมื่อกล่าวตามอารมณ์ที่รู้ ตามประเภทที่รู้ กล่าวคือ รู้ในเรื่องกามที่เป็นบุญเป็นบาปรู้เรื่องรูปฌาณ รู้ในเรื่องอรูปฌาน รู้ในเรื่องนิพพานเหล่านี้แล้ว จิตก็มีจำนวนนับอย่างพิศดารได้ถึง ๑๒๑ ดวง หรือ ๑๒๑ อย่าง ๑๒๑ ชนิด










ถ้ากล่าวในนัยยะของ “นามรูป” คือ นามอันหมายถึงฝ่ายผู้รู้ และรูปหมายถึงฝ่ายผู้ถูกรู้แล้ว จะแยกนามออกเป็นสองส่วน คือ จิตผู้รู้ ซึ่งบริสุทธิ์เรียกว่าจิตประภัสสร เพียง ๑ เดียวไม่มีอย่างอื่น แต่เมื่อจิตรู้อารมณ์แล้วเอามาอุปทานจนก่อให้เกิด “ผลจากจิตรู้” ได้ อีก ๘๙ หรือ ๑๒๑ แบบหรือดวง จึงนับว่าจิตมี ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง อันเป็น “ผลจากการรู้อารมณ์” แต่ไม่ใช่ “ตัวจิตเองโดยตรง” อันนี้ ต้องเข้าใจก่อนเป็นเบื้องต้น ก่อนที่จะดูจิต หรือฝึกจิต ไม่เช่นนั้นแทนที่จะฝึกจิต, ดูจิต, ใช้จิตกลายเป็นใช้ “ผลของจิตรู้” ที่เกิดจากการอุปทานเอารูปมาเป็นอารมณ์แล้วจึงก่อเกิดเป็นจิตโลภ, จิตโกรธ, จิตหลงดังกล่าว






นอกจากนี้ ยังต้องเข้าใจเรื่องเจตสิก ซึ่งอยู่ในปรมัตถธรรม ๔ ได้แก่ จิต, เจตสิก, รูปและนิพพาน สี่อย่างนี้เป็นธรรมต่างกันต้องแยกแยะให้เข้าใจก่อนฝึกจิต ดังในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ ซึ่งพระอนุรุทธาจารย์ ได้รจนาไว้ ชื่อว่า เจตสิกปรมัตถ ความว่า










เจตสิกคือธรรมชาติสิ่งหนึ่ง ซึ่งประกอบกับจิต และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปตามนั้น อาการที่ประกอบกับจิตนั้นเรียกว่าเจโตยุตฺตลกฺขณํคือมีสภาพที่ประกอบกับจิต บริบูรณ์ด้วยลักษณะ ๔ ประการคือ เอกุปฺปาท เกิดพร้อมกับจิต เอกนิโรธ ดับพร้อมกับจิต เอกาลมฺพณ มีอารมณ์เดียวกับจิต เอกวตฺถุก อาศัยวัตถุเดียวกับจิต นั้นเรียกว่า เจตสิก







กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ จิตเดิมแท้ประภัสสร เป็นจิตหนึ่งเดียว ทำหน้าที่รู้คือพุทธะ แต่เมื่อไปรับรู้อารมณ์เกิดผลออกมาเรียกว่า “จิต ๘๙ ดวง” และจิต ๘๙ ดวงนี้เอง ที่นำมาแยกออกได้เป็นเจตสิกหรือสิ่งที่ปรุงประกอบเกิดพร้อมกับจิตนั้น ได้ทั้งสิ้น ๕๒ ดวงด้วยกัน






สรุปก็คือ จิตเดิมแท้บริสุทธิ์อยู่แล้ว แต่เมื่อพิจารณาผลจากจิตไปรับรู้อารมณ์ ก็จะจำแนกได้ ๘๙ ดวงหรือ ๑๒๑ ดวง ดังกล่าว แล้วนำจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น มาพิเคราะห์ได้เป็น เจตสิก ๕๒ ดวงอีกทีหนึ่ง ซึ่งจิต ๘๙ ดวงก็ดี เจตสิก ๕๒ ดวงก็ดี ไม่สำคัญในการบรรลุธรรมเลย เพราะเป็น “ผลจากจิตไปรับรู้อารมณ์” ทั้งสิ้น การหลงวนอยู่กับสิ่งเหล่านี้ ไม่ทำให้จิตตรงนิพพาน ไม่อาจทำนิพพานให้แจ้งได้ ไม่ใช่โพธิปักขิยธรรม หรือธรรมอันนำไปสู่การตรัสรู้ ไม่ทำให้บรรลุธรรม เป็นเพียงธรรมะปลีกย่อยเพิ่มเติมเท่านั้นเอง -จบ-


อภิธรรม เรื่อง จิตประภัสสรและขันธ์ห้า






จิตประภัสสรและขันธ์ห้าทำงานร่วมกัน จิตประภัสสรทำหน้าที่เป็นผู้รู้ที่ใสซื่อบริสุทธิ์ แต่ถูกขันธ์ทั้งห้าปรุงประกอบแต่งเติมให้บิดเบือนไป จิตไม่ใช่ขันธ์ ขันธ์ไม่ใช่จิต ถ้าจิตเป็นขันธ์ จิตก็เป็นแค่เครื่องปรุงแต่ง เช่นนี้แล้วอะไรละที่จัดเรียกได้ว่า “ธาตุรู้” ในเมื่อคิดว่าจิตเป็นขันธ์ (ขันธ์ก็คือ เครื่องปรุงแต่ง ถ้าจิตเป็นขันธ์ จิตก็เป็นเครื่องปรุงแต่งด้วยนะสิ) จิตทำงานร่วมกับขันธ์ทั้งห้า ทำให้เกิดการรู้ที่ชัดขึ้นแต่ความบริสุทธิ์ลดลง ยกตัวอย่าง คุณมองเห็นน้ำที่ใสมากหรือไม่ แน่นอน มันใสมาก มองแทบไม่เห็นเลย ทีนี้ ลองเอาไฟไปส่อง ก็จะเห็นสะท้อนแสงไฟ, เอาผงสีไปใส่ ก็จะเห็นน้ำมีสี ฯลฯ นี่เหมือนกัน จิตก็เป็นดั่งน้ำใส มีภาวะธรรมชาติอยู่ รู้อยู่ แต่ดูยาก เมื่อปรุงแต่งแล้วก็เห็นง่ายขึ้น จิตกับขันธ์ก็ต้องทำงานร่วมกันด้วยเหตุนี้ ดังจะจำแนกให้เห็นอย่างชัดเจนที่ละคู่อย่างง่าย ดังนี้






๑) จิตกับรูปขันธ์


จะเห็นการทำงานชัดเมื่อทำสมาธิแบบเพ่งรูป เช่น เพ่งกสิณ เมื่อสมาธิแน่วแน่แต่รูปนั้น ก็จะมีภาวะรู้สองอย่างผสมกัน ขันธ์อื่นมีผลน้อย รูปขันธ์ย่อมมีผลมากอยู่ และส่งผลให้เกิดการหลงนิมิต ติดนิมิตได้ เมื่อเราเข้าใจว่าอะไรคือรูปขันธ์ อะไรคือ รูปที่ปรุงแต่ง ก็จะเข้าใจได้ว่าสิ่งที่เห็นแท้จริงแล้ว คือ “สภาวธรรม” อะไร อย่างแท้จริง เช่น เห็นรูปหัวช้าง ตอนแรกอาจยึดว่าเป็นหัวช้าง ต่อมา ก็เข้าใจว่าคือจิตญาณได้หยั่งรู้ถึงโพธิสัตว์ เป็นต้น


๒) จิตกับเวทนาขันธ์


จะเห็นการทำงานชัดเมื่อทำสมาธิที่เวทนา เช่น เจริญเวทนานุสติปัฏฐาน เมื่อสมาธิแน่วแน่แต่เวทนา ก็จะมีภาวะรู้สองอย่างผสมกัน ขันธ์อื่นมีผลน้อย เวทนาขันธ์ย่อมมีผลมากอยู่ และส่งผลให้เกิดการซัดส่ายไปทางบวกและลบต่อเวทนานั้นได้ เช่น ทุกขเวทนาที่เกิดจากการปวดเมื่อย, สุขเวทนาที่เกิดจากฌาน ฯลฯ เมื่อเข้าใจว่าอะไรคือเวทนาขันธ์ อะไรคือ เวทนาที่ปรุงแต่ง ก็จะเข้าใจได้ว่าสิ่งที่เห็นแท้จริงแล้ว คือ “สภาวธรรม” อะไร อย่างแท้จริง เช่น เอาความรู้สึกตอนนั่งสมาธิเป็นที่เจริญสติ ก็เกิดความรู้สึกปวด ก็ปล่อยไป จนความปวดดับหาย เห็นเป็นความไม่เที่ยง ตอนแรกอาจยึดว่าปวดจังทนไม่ไหวแล้ว ต่อมา ก็เข้าใจว่าคือจิตญาณได้หยั่งรู้อนิจจังของทุกข์จากความปวดว่าไม่เที่ยง เป็นต้น


๓) จิตกับสัญญาขันธ์


จะเห็นการทำงานชัดเมื่อทำสมาธิอยู่กับสัญญา เช่น การอ่านหนังสือที่ต้องใช้ความจำในคำศัพท์ธรรมมาก เมื่อสมาธิแน่วแน่แต่สัญญาเดิมนั้นก็จะมีภาวะรู้สองอย่างผสมกัน ขันธ์อื่นมีผลน้อย สัญญาขันธ์ย่อมมีผลมากอยู่ และส่งผลให้เกิดการหลงติดสมมุติบัญญัติได้ เมื่อเราเข้าใจว่าอะไรคือสัญญาขันธ์ อะไรคือ คำศัพท์จากความจำที่ปรุงแต่ง ก็จะเข้าใจได้ว่าสิ่งที่เห็นแท้จริงแล้ว คือ “สภาวธรรม” อะไร อย่างแท้จริง เช่น จำคำว่าสติมาว่าคืออะไร ต่อมา พอถูกคนจี้ปล้น ก็ตกใจตื่นตัวแต่ตั้งสติได้ ก็เข้าใจสติที่แท้จริงได้ เป็นต้น


๔) จิตกับสังขารขันธ์


จะเห็นการทำงานชัดเมื่อทำสมาธิแบบมีอวิชชาปน เช่น สมาธิที่หลงในฌาน เมื่อสมาธิแน่วแน่จนเกิดฌานนั้น ก็จะมีภาวะรู้สองอย่างผสมกัน ขันธ์อื่นมีผลน้อย สังขารขันธ์ย่อมมีผลมากอยู่ และส่งผลให้เกิดการติดฌานได้ เมื่อเราเข้าใจว่าอะไรคือสังขารขันธ์ อะไรคือ สังขารที่ปรุงแต่ง ก็จะเข้าใจได้ว่าสิ่งที่เห็นแท้จริงแล้ว คือ “สภาวธรรม” อะไร อย่างแท้จริงเช่น พอได้ฌานตอนแรกอาจยึดว่าเป็นของดี ของได้ยาก มีน้อย ต่อมาถูกทำลายจนฌานเสื่อมหมด สิ่งที่ฝึกมาสิ้นสูญหมด ก็เข้าใจว่าฌานก็ไม่เที่ยง จึงเลิกหลง เป็นต้น


๕) จิตกับวิญญาณขันธ์


จะเห็นการทำงานชัดเมื่อทำสมาธิแบบสื่อวิญญาณ เช่น การครอบขันธ์, เข้าทรง, สื่อกับวิญญาณ ฯลฯ เมื่อสมาธิแน่วแน่แต่การบอกของวิญญาณนั้น ก็จะมีภาวะรู้สองอย่างผสมกัน ขันธ์อื่นมีผลน้อย วิญญาณขันธ์ย่อมมีผลมากอยู่ และส่งผลให้เกิดการหลงการรู้แบบวิญญาณขันธ์ได้ เมื่อเราเข้าใจว่าอะไรคือวิญญาณขันธ์ อะไรคือ วิญญาณที่ปรุงแต่ง ก็จะเข้าใจได้ว่าสิ่งที่เห็นแท้จริงแล้ว คือ “สภาวธรรม” อะไร อย่างแท้จริง เช่น เข้าทรงมีผีมาบอกบ่อยๆ แล้วตรงก็เชื่อ ต่อมาถูกผีหลอกให้ทำสิ่งผิดจนทุกข์ก็ปลงตกได้ เป็นต้น -จบ-


อภิธรรม เรื่อง มโนวิญญาณธาตุ, มโนธาตุและวิญญาณธาตุ






ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าจิตประภัสสรและขันธ์ห้าทำงานร่วมกันอยู่ ปกติ จะร่วมกันทั้งขันธ์ห้า ไม่ใช่จิตหนึ่งกับขันธ์ตัวใดตัวหนึ่ง แต่ที่บทความก่อนเล่าเพียงทีละหนึ่งเพราะง่ายต่อการปฏิบัติเพื่อแยกแยะขันธ์ทั้งห้าให้จิตรู้ร่วมกับขันธ์ทีละตัวก่อน การละหรือให้ขันธ์ทั้งห้าดับเลยพร้อมกันเป็นไปไม่ได้ ต้องทำสมาธิจดจ่อในขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง รวมจิตรู้เข้าไปในขันธ์นั้นขันธ์เดียวก่อน รอจนขันธ์นั้นดับ จึงจะเหลือแต่สภาวะจิตรู้ ซึ่งก็จะเห็นอนิจจังได้ทันที ทว่า ในความเป็นจริง เราไม่ได้มีสมาธิจิตรวมจดจ่อในขันธ์เดียวเช่นนั้นอยู่ตลอดเวลา ก็หาไม่ ปกติขันธ์ทั้งห้าจะปรุงประกอบกันเยอะมากทำให้การรู้ของจิตถูกปรุงแต่ง บิดเบือนมากมาย ในที่สุด เมื่อสิ่งที่เรารู้ถูกบิดเบือนมากเข้า ทำให้เราถูกหลอกและหลงทาง เมื่อถูกการรู้ของตัวเองหลอกเข้า ก็ไม่เชื่อใจตัวเอง จึงขาดความมั่นใจในตนเอง และหาที่ยึดเกาะ หาที่พึ่งต้องหาหมอดู, คนทรงเจ้า, คนทำนายดวง ฯลฯ เรื่อยไป วัฏจักรของการไม่อาจพึ่งตัวเองได้ จึงเกิดขึ้น “อัตตาหิ อัตโนนาโถ” ย่อมไม่มี ยิ่ง “ปัจจัตตัง” หรือการรู้ได้เฉพาะตนยิ่งไม่ต้องพูดถึง ไม่อาจใช้ได้เลยในตอนนี้ นี่คือ หลงออกมาเตลิดเปิดเปิงแล้ว ดังนั้น การทำสมาธิจดจ่อในขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง แล้วรอจนขันธ์เดียวนั้นดับ ก็เพื่อเข้าสู่ “จิตเดิมแท้” คือ “จิตรู้อันเป็นประภัสสร” นั่นเอง ส่วนต่อไปจะกล่าวถึงจิตและวิญญาณดังนี้






มโนธาตุ


คือ “ธาตุรู้” มีสภาวะรู้เฉยๆ ไม่มีการปรุงแต่ง มีความเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์อย่างนั้น ไม่ ใช่เครื่องปรุงแต่งใดๆ เพราะมโนธาตุ ไม่ใช่ขันธ์ห้าตัวไหนเลย มโนธาตุก็คือ จิตนั่นเอง






วิญญาณธาตุ


คือ “เครื่องปรุงแต่ง” จิต ให้จิตมีสภาพเป็นไปต่างๆ เช่น รู้ชัดขึ้นแต่บริสุทธิ์น้อยลง, หรือเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารได้ ในปฏิจจสมุปบาท ก็ได้บอกไว้ถึงการเกิดของสังขาร ย่อมนำมาซึ่งการเกิดของวิญญาณและนามรูปตามลำดับวิญญาณธาตุจึงทำหน้าที่ทั้งการ ปรุงแต่งการรู้ของจิต ทำให้จิตนี้ เวียนว่ายตายเกิดตามวงจรปฏิจสมุปบาท อนึ่ง วิญญาณนั้นมองได้สองมุมอย่างนี้เมื่อมองมุมปรุงแต่งการรู้ของจิตเรียกว่า “วิญญาณขันธ์” แต่เมื่อ มองในมุมการเวียนว่ายตายเกิดร่วมกับจิตเรียกว่า “วิญญาณธาตุ” ซึ่งก็คือสิ่งเดียวกันเมื่อ เพ่งด้วยตาทิพย์แล้ว “วิญญาณ” จะเห็นรูปรูปร่างที่เรียกว่ากายทิพย์หรือกายในนั่นเอง






มโนวิญญาณธาตุ


คือ “ธาตุผสมของจิตและวิญญาณ” ทั้งสองดังกล่าวข้างต้น ถ้าทำหน้าที่ปรุงแต่งการรู้จะทราบได้จากการพิจารณา ณ จุดผัสสะ แต่ถ้าทำหน้าที่ในการเวียนว่ายตายเกิด จะสังเกตได้เมื่อมีการ “จุติของจิต” ในช่วงนั้น อาจจะมีการ “วิญญาณดับสลาย” ก่อนแล้วจิตจึงจะจุติออกมาจากสังขารได้ เหมือนถุงน้ำรั่ว (ถุงน้ำเหมือนสังขาร) น้ำย่อมไหลออก (เหมือนวิญญาณรั่วสลาย) ปลาที่เดิมถูกขังในถุงน้ำในนั้นย่อมออกมาได้ (ปลาอุปมาเป็นจิต) แต่ในนักปฏิบัติจะดูจากการจุติของจิตได้ยากเพราะเกิดขึ้นเสี้ยววินาที เพ่งก็ไม่ทันเห็น ท่านจึงให้จับอาการที่เกิด ณ จุด “ผัสสะ” แทน เช่น เวลามีของเย็น ของร้อนกระทบกาย ทำให้นักปฏิบัติที่ยึดมั่นใจแคบ, มองโลกแคบ, เชื่อแต่สิ่งที่ตนปฏิบัติคิดเอาว่ามโนวิญญาณธาตุจะมีแต่ในสิ่งที่ตนเข้าใจเท่านั้น สิ่งที่ผู้อื่นกล่าวถึงนั้นไม่มี เพราะปฏิบัติไม่ถึง เป็นต้น






อนึ่ง เมื่อบุคคลจะดับสังขารแล้วนิพพานนั้น เขาจะกระทำการ “ดับขันธปรินิพพาน” ก่อน จากนั้น ถ้ายึดจิตรู้, ยึดติดสภาวะรู้, มีความปรารถนาไม่สิ้น, จิตยังดำรงกิจรู้อยู่ จิตก็จะไม่ดับ จิตยังไม่นิพพาน ในบางท่าน ไปฝึกดับจิต ทำให้จิตสิ้นภาวะรู้ไปชั่วคราว จนหมดซึ่งอำนาจนั้นก็กลับมาเกิดใหม่ นี่ไม่ได้นิพพาน จิตนั้นไม่ต้องไปดับเขาแต่ทำกิจจนหมด จนไม่มีอะไรเหลือค้างในจิต รู้จนไม่มีอะไรอยากจะรู้ อยากจะยึดรู้อีกจิตก็หมดสิ้นสภาวะเป็นตัวรู้ จิตก็สิ้นสภาวะจิตและสิ้นสภาวะรู้ก็คือ “จิตนิพพาน” หรือ “มโนธาตุนิพพาน” นั่นเอง เท่านี้ จึงนิพพานแท้ไม่เหลือเศษเลย ไม่ใช่ดับขันธปรินิพพาน นิพพานแต่ขันธ์ห้า -จบ-


อภิธรรม เรื่อง จิต, ใจ และวิญญาณขันธ์ต่างกันไฉน






ขออ้างอิงเนื้อหาธรรมะส่วนหนึ่ง จาก “จิตปรมัตถ พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑” ซึ่งพระอนุรุทธาจารย์ ได้รจนาไว้ และให้ชื่อว่า จิตตสังคหวิภาค อันมีความหมายว่า เป็นส่วนที่รวบรวมกล่าวถึง จิตปรมัตถ โดยย่อ มีส่วนที่ให้คำจำกัดความของคำว่าจิตดังนี้





๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต


๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน


๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย


๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส


๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ


๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ


๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์


๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ


๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์


๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ






มีคำเรียกหลายคำที่เกี่ยวข้องกับจิต แต่ละคำเป็นศัพท์เฉพาะตัวคือแต่ละคำไม่เหมือนกัน เช่น คำว่า มโน หมายถึง กรณีน้อมไปหาอารมณ์ แต่เมื่อรวบรวมอารมณ์ไว้ภายในแล้วจะเรียกอีกคำคือ หทัย (ถ้ายังไม่น้อมอารมณ์เข้ามา ไม่ใช่หทัยที่แปลว่าใจ ถ้าไม่มีใจ มีแต่จิตก็คงไม่มีการรวบรวมอารมณ์ คงเหมือนคนไร้อารมณ์) นอกจากนี้ จิต (มโน) ยังทำกิจร่วมกับสิ่งอื่นๆ หรือกิจอื่นๆ อีกมาก ทำให้ได้คำเรียกที่แตกต่างไปจากเดิม ถ้าไม่มีกิจอื่นนี้ จิตก็จะเรียกได้แต่เพียง “จิต” (มโน) เท่านั้น ดังนั้น คำว่าใช้จิตรู้ นั้นย่อมหมายถึงไม่มีกิจอื่นๆ ร่วมด้วยคือ “สักแต่ว่ารู้เฉยๆ” เท่านั้น ถ้ารวบรวมอารมณ์เข้ามาก็ไม่ใช่แค่จิตแล้ว จะกลายเป็น “ใจ” ไป (หทัย) ต่อมาใจ (หรือผลที่ได้จากจิตที่รวบรวมอารมณ์ไว้แล้ว) มีการรู้แจ้งอารมณ์ ก็จะเรียกว่า “วิญญาณ” หรือวิญญาณในที่นี้ ก็คือ “ผลจากใจที่รู้แจ้งใน อารมณ์” ซึ่งเกิดจากจิตก่อน ไปสู่หทัย แล้วจึงไปสู่วิญญาณอีกที เป็นลำดับสุดท้าย






ดังนี้ วิญญาณไม่ใช่จิตโดยตรงแต่วิญญาณเป็นผลจากการรู้แจ้งในอารมณ์ของใจ และใจเป็นผลของการรวบรวมอารมณ์ของจิตอีกทีหนึ่ง เหมือนอย่างนี้ ดอกไม้ ไม่ใช่ ผลไม้ดิบ และผลไม้ดิบ ก็ไม่ใช่ผลไม้สุก แต่ผลไม้สุกมาจากผลไม้ดิบที่ถึงเวลาสุกแล้ว และผลไม้ดิบก็มาจากดอกไม้ที่ผสมเกสรติดเป็นผลแล้ว แต่ทั้งสามอย่างนี้ ยังนับว่าคนละอย่างกัน เวลาเราจะดูดอกไม้ เราจะไปดูผลไม้สุกว่าเป็นดอกไม้ ได้หรือ? ย่อมเป็นไปไม่ได้ ถ้าจะดูจิต เราจะดูวิญญาณได้หรือ? เราจะดูหทัยได้หรือ? ย่อมไม่ได้เฉกเช่นกัน การจะดูจิตก็ต้องดูเมื่อย้อนถอยไปก่อนที่วิญญาณจะเกิด คือ ยังไม่รู้แจ้งในอารมณ์ ยังไม่เกิดขึ้นเป็นวิญญาณ อาจยังเป็นหทัยอยู่ ย้อนกลับไปอีก ถ้ายังไม่รวบรวมอารมณ์ ยังไม่เป็นหทัย นี่แหละ จึงเป็นจิตแท้ๆ อย่างเดียวไม่เป็นอื่น เหมือนจะดูดอกไม้ จะไปดูผลไม้สุกย่อมไม่อาจเห็นได้ ดังนั้น การจะดูจิตแท้ๆ ได้นั้น จำต้องไม่ใช่ดู ณ เกิดวิญญาณแล้ว หรือเกิดหทัยแล้วด้วยซ้ำ หรือรอให้วิญญาณดับไป หทัยดับตาม ก็จะเหลือธรรมที่เรียกว่า “จิต” ณ ภาวะนั้น ย่อมไม่มีการรู้แจ้งอารมณ์ (เพราะไม่ใช่วิญญาณ) ไม่มีการรวมรวบอารมณ์ (เพราะไม่ใช่หทัย) มีแต่ว่ารู้เฉยๆ ไม่อารมณ์มาเกี่ยวเนื่องเลย เป็นการรู้อย่างกลางๆ ไร้อารมณ์มาเกี่ยวข้อง (ไม่รวบรวมอารมณ์ แบบหทัย และไม่รู้แจ้งอารมณ์ แบบวิญญาณ) นี่คือ ลักษณะการรู้แบบที่เรียกว่า “จิต” อย่างเดียว แท้ๆ ไม่ใช่หทัย ไม่ใช่วิญญาณ เมื่อแยกแยะสภาวะรู้แบบต่างๆ อย่างละเอียดได้ในระดับนี้แล้วจึงจะเข้าใจคำว่า “ดูจิต” ที่แท้ จริงได้ ไม่ใช่ดูใจ (หทัย) หรือดูวิญญาณ (รู้แจ้งในอารมณ์ แต่อารมณ์เกิดแล้ว) ซึ่งคำว่าอารมณ์ในที่นี้ ไม่ได้แปลเหมือนอารมณ์ที่เราใช้กันอยู่ เป็นศัพท์ธรรมะ ละเอียดกว่าคำที่เราใช้กันในชีวิตจริง ดังนั้น จึงสรุปว่าจิตไม่ใช่วิญญาณ, จิตไม่ใช่ขันธ์, จิตไม่ใช่ใจ สามอย่างนี้คล้ายกันมากทำกิจใกล้ชิดกันมากแต่ไม่เหมือนกันดังจะอธิบายในบทต่อไป -จบ-


อภิธรรม เรื่อง จิต, ใจ และวิญญาณขันธ์ทำงานร่วมกันไฉน






หากสำเร็จตาทิพย์ให้เพ่งดูจิตวิญญาณในกายสังขาร จะพบกายทิพย์ นี่ก็คือ “วิญญาณขันธ์” เมื่อจะดูจิตว่ามีลักษณะอย่างไร ก็ให้บริกรรมจนเกิดสมาธิแน่วแน่ว่า “มโนธาตุ จงปรากฏชัด” ซ้ำๆ จนกระทั่งปรากฏ จะเห็นแต่แสงสว่างไร้รูปลักษณ์ แต่คล้ายแสงสว่างที่ออกจากดวงอาทิตย์ นี่คือ “มโนธาตุ” หรือ “จิต” นั่นเอง แต่ถ้าจะดูใจ ให้เพ่งดูลงไปที่ใจกลางกายทิพย์ แล้วบริกรรม “ดวงใจของกายทิพย์นี้จงปรากฏชัด” ซ้ำๆ ก็จะเห็นเป็นดวงแก้วใส ที่ทางธรรมกายเรียกว่า “ดวงแก้วธรรมกาย” ก็คือ ดวงใจ (หทัย) นั่นเอง ซึ่งสามสิ่งนี้ทำหน้าที่ต่างกัน โดย จิต ทำหน้าที่รู้เฉยๆ, ใจ ทำหน้าที่รวบรวมอารมณ์มาเสริมอีกที, วิญญาณ ทำหน้าที่ปรุงแต่งให้การรู้ในอารมณ์นั้นแจ้งชัด ทั้งสามอย่างทำงานเป็นขั้น ในเวลาเสี้ยววินาที ต้องมีสติที่ละเอียดมากจึงแยกการทำงานของสามสิ่งนี้ทีละขั้นๆ ได้






การถอดจิตวิญญาณไปยังภพภูมิอื่นโดยไม่เห็นโลกทิพย์


ท่านที่ไม่สำเร็จตาทิพย์ เมื่อจิตวิญญาณจรออกจากร่างไปยังภพภูมิอื่น จะไม่เห็นภาพในภพภูมินั้น คนมากมาย สำเร็จมโนมยิทธิ ทำให้จิตวิญญาณจรออกจากร่างได้ แต่พวกเขา ไม่ได้สำเร็จหูทิพย์ตาทิพย์ จึงไม่ทราบว่าจิตวิญญาณได้จรออกไปยังภพภูมิต่างๆ ได้ ซึ่งสมัยนี้ มโนมยิทธิ สำเร็จง่ายกว่าตาทิพย์ ทราบได้อย่างไรว่ามีมโนมยิทธิแต่ไม่มีตาทิพย์ สังเกตง่ายๆ อย่างนี้ เราจะรู้สึกเลื่อนลอยหน่อยๆ เหมือนอยู่บนโลกจริงนี่ แต่กลับใจลอยบ่อยๆ เหมือนไปคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้บ่อยๆ แล้วเหมือนเคลิ้มฝันทั้งๆ ที่โลกความจริง ไม่มี อะไรที่น่าเคลิ้มสุข นี่แสดงว่าจิตวิญญาณไปท่องสวรรค์ หรือบางท่านรู้สึกเหมือนตกนรกทั้งเป็น ทั้งๆ ที่ชีวิตจริงก็อยู่ดี, มีเงินใช้ สบายไม่ได้ตกนรก แต่จิตวิญญาณบางดวงของเขาตกนรกไปแล้ว เราจึงสามารถสัมผัสถึงสวรรค์และนรกได้แม้เรายังอยู่บนโลกนี้ก็ตาม






ใจคือส่วนที่รับอารมณ์จากจิตวิญญาณต่างภพได้


ใจ (หทัย) หรือ ดวงแก้วประจำกายทิพย์เป็นส่วนที่รองรับพลังกระแสจิตจากจิตวิญญาณที่ส่งมาจากภพภูมิอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจิตวิญญาณดวงนั้นๆ จะเคยอยู่ในกายเราแล้วจรออกไป หรือเป็นจิตดวงใหญ่ที่อยู่บนสวรรค์แล้วแบ่งภาคให้เราลงมาเกิดก็ตาม จิตวิญญาณเหล่า นี้จะส่งกระแสจิตสื่อมาถึงกายสังขารของเรา เพราะเรามีกายสังขารทำกิจได้มากมายบนโลกมนุษย์แต่จิตวิญญาณทำไม่ได้ เขาจึงสื่อกับเราให้เราทำหรือคิดตามเขา ใจเรานี่เองที่รับอารมณ์ความรู้สึกกระแสจิตจากจิตวิญญาณเหล่านั้นคนที่สัมผัสด้วยใจแบบนี้ได้และทราบว่าสิ่งเหล่านั้น มาจากโลกทิพย์จะเรียกว่าผู้มี “ใจทิพย์” แต่ถ้าใจเราปิดกั้น, ปิดรับ, ไม่รับรู้, ตัดขาดจากจิตวิญญาณดวงนั้นๆ แล้ว ก็จะไม่อาจรับกระแสจิตนั้นได้ อนึ่ง แม้แต่กระแสจิตของผู้อื่นหรือมนุษย์ผู้อื่น ก็สามารถรับรู้ได้ด้วยใจทิพย์เช่นกัน ถ้าเรารู้จัก “จูน กระแส” ให้เป็น คือ จับได้ว่ากระแสจิตในธรรมชาตินี้มาจากผู้ใด ก็จะทราบความคิดของเขาได้ไม่ยากเลย แม้ว่าเขาจะอยู่ห่างจากเราเป็นซีกโลกก็ตาม อนึ่ง จิตวิญญาณนั้นจะมีกระแสจิตแผ่รัศมีออกมา เหมือนเส้นแสง เมื่อเรารับกระแสนี้เข้าไปใน “ดวงใจ” ของเราได้ เราจะอ่านจิตเขาได้ไม่ยาก แต่ถ้าเราถูกตัดกระแสจิต หรือเราเองเป็นผู้ตัดกระแสจิต ก็จะไม่อาจรับรู้อารมณ์ความรู้สึกนั้นได้อีกต่อไป เช่น รักใครคนหนึ่งแล้วอกหักตอรมใจ จิตวิญญาณตกนรก เรายังอาลัยอาวรณ์เขา เราก็เปิดใจรับอารมณ์จิตวิญญาณในนรกนั้น เราก็รู้สึกเหมือนตกนรกทั้งเป็นไปด้วย แต่ถ้าเราตัดใจเสีย กระแสจิตวิญญาณที่ตกนรกนี้ จะไม่อาจส่งเข้ามาในใจเราได้ เราจะไม่รู้สึกเหมือนตกนรกอีกต่อไป จะหายทุกข์ไปเลย






คนที่ “ถอดดวงใจ” คือ เอาดวงแก้วธรรมกายและจิตวิญญาณหลักของตนไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย ก็จะเป็นเหมือนคนไร้ใจ เสแสร้งแกล้งทำว่าดีกับคนนั้น ไม่ดีกับคนนี้ รัก, ไม่รัก คนนั้นคนนี้ โกรธ, เกลียด, พอใจ, ไม่พอใจ ได้มากมาย แต่เขาจะไม่รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เลยเพราะเขาไม่มี “หัวใจ” ไม่มี “ดวงใจรับอารมณ์” นั่นเองแต่นี่ไม่ใช่วิธีที่ทำให้หลุดพ้นทุกข์ มีคนบางคนทำได้แบบนี้ เพราะอาจเคยเกิดเป็น “ทศกัณฐ์” และสำเร็จวิชชาถอดดวงใจได้ ทางแก้คือ ให้เกิดความรักที่แท้จริง ดวงใจจึงจะกลับคืนร่าง ก็จะปกติดังเดิม


อภิธรรม เรื่อง ผู้ที่พร้อมบรรลุธรรม ย่อมมีจิตวิญญาณเช่นไร






บทความที่แล้วได้กล่าวถึงจิตวิญญาณในกายสังขารมาพอสมควร บทความนี่จะอธิบายต่อไป ถึงผู้ที่พร้อมจะบรรลุธรรมว่าควรมีลักษณะจิตวิญญาณในกายสังขารเช่นไร ดังนี้






๑) จิตหนึ่ง


ผู้ที่ก่อนละสังขารตาย ๗ วัน จะเหลือจิตวิญญาณในกายสังขารเพียงดวงเดียว ที่เรียกว่าจิตหนึ่งหรือจิตประภัสสร คนแบบนี้รับธรรมแล้วย่อมมีโอกาสสูงมากที่จะบรรลุธรรม เมื่อบรรลุธรรมแล้วหากจิตหนึ่งนั้นมีบุญบารมีน้อยก็จะละสังขารตายภายใน ๗ วัน เช่น ถ้าจิตหนึ่งเป็นจิตวิญญาณแบบภิกษุ แบบนี้สามารถละสังขารได้ภายใน ๗ วัน (ถ้าไม่บวชพระ) แต่ถ้าบวชพระก็จะยื้ออายุอยู่ต่อได้ แต่ไม่อาจอยู่ในสภาวะแบบ “จิตหนึ่ง” ได้ดังในสมัยพุทธกาล เนื่องจากสัตว์สี่เหล่าใหญ่ ได้ทูลของพระพุทธศาสนาหลังกึ่งกลางพุทธกาลนี้ไว้ ดังนั้น เขาเหล่านี้จึงถูกแทรกด้วยสัตว์สี่เหล่าใหญ่นั้น ได้แก่ ยักษ์, มาร, เทพ, พรหม ส่งผลให้มีอายุยืนยาวต่อไปได้แต่ไม่อาจคงสภาวะจิตหนึ่งได้ เมื่อละสังขารตายมีโอกาส ได้บรรลุธรรมบนสวรรค์ เช่น พระสงฆ์บางรูปได้จิตหนึ่งอรหันต์ แต่มีจิตมารเข้าแทรก ก็มี เมื่อวัดภูมิธรรมของสังขารทั้งหมดจะวัดได้เพียง “เซียน” เท่านั้น (เพราะมีจิตมารแทรก)


๒) สองจิต


บางท่านได้ปฏิบัติธรรมก่อนจะเหลือจิตวิญญาณดวงเดียวคือ ยังไม่ถึงช่วยชะตาขาดได้ปฏิบัติธรรมก่อน จึงมีจิตวิญญาณในกายมากกว่าหนึ่งดวง ซึ่งปกติมักจะมีเพียงสองดวง ซึ่งถ้ากายสังขารมีจิตวิญญาณสองดวงแล้ว การฝึกจิตจะขัดแย้งกันเองและเกิดปัญหาได้ เนื่องจากจิตวิญญาณสองดวงมีสถานภาพที่แตกต่างกัน ต่างระดับกันนั่นเอง โดยจิตหลักนั้นจะเป็นผู้มีธรรมก้าวหน้าได้ก่อนจิตรองเสมอ เนื่องจากอยู่ในสถานภาพ “เจ้าของร่าง” แต่จิตรองจะมีสถานภาพเป็น “เทพประจำตัว” ดังนั้น จึงฝึกจิตได้ทีหลังจิตหลัก เมื่อได้ทำบุญบารมีร่วมกันในร่างเดียวแล้ว จิตหลักจะได้ก่อนและมีโอกาสจะหลุดพ้นก่อนเสมอ อนึ่ง บางท่านที่มีบารมีหรือกรรมมาก อาจมีจิตวิญญาณเข้าแทรกหรือร่วมในร่างมากกว่าสองดวงได้ แต่ถ้ามีจิตวิญญาณในร่างสองดวงและต้องการปฏิบัติธรรมแล้ว จะแบ่งได้คือ






๒.๑) แบบอิม


คือ ผู้ที่มีจิตหลักอ่อนแอกำลังน้อย, จิตรองที่คุมอยู่ภายนอกมีกำลังมากกว่า ทำให้กลาย เป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจในตนเอง, เหมือนถูกอะไรครอบงำ กดไว้อยู่ตลอด, เป็นฝ่ายรับไม่กล้าแสดงออกหรือเป็นฝ่ายรุก ฯลฯ แบบนี้ระบบลมปราณในร่างจะเป็นแบบอิมคือ เข้า ทำให้ฝึกจิตยาก มักเกิดในเพศหญิง เมื่อถ่ายธรรมจากภายนอกกระตุ้นจิตหลักภายในไม่อาจรับธรรมได้เพราะจิตรองขวางไว้ ต้องให้จิตหลักจุติออกจากร่างแล้วสลับจิตที่มีบารมีมากกว่าไว้ในตำแหน่งจิตหลักหรือ “รวมจิตทุกดวงเป็นหนึ่ง” ก็จะสำเร็จจิตหนึ่ง (พุทธะ) ซึ่งจะต้องบำเพ็ญบารมีจนได้โพธิสัตว์สี่กาย (อวโลกิเตศวร, มัญชุศรี, เมตตรัย และ ...)


๒.๒) แบบเอี๊ยง


คือ ผู้ที่มีจิตหลักเข้มแข็งกว่าจิตรอง, จิตรองเป็นบริวารหรือด้อยกว่าจิตหลัก ทำให้มีพลังภายในจากจิตหลักไหลถ่ายเทสู่จิตรอง ก่อนไหลออกภายนอก จึงเป็นคนมีความเป็นตัวของตัวเอง, มั่นใจในตัวเอง, กล้าแสดงออก, เป็นฝ่ายรุกมากกว่ารับ ฯลฯ แบบนี้ระบบลม ปราณในร่างกายจะเป็นระบบ “เอี๊ยง” คือ ออก ทำให้สามารถฝึกจิตได้มักเกิดในเพศชาย ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงมักรับเพศชายบวชก่อนเพศหญิงเพราะเหตุนี้ (ทว่า ปัจจุบัน ก็ต่างไปจากเดิม ชายบางคนมีลมปราณอิม, หญิงบางคนก็มีลมปราณเอี๊ยง) จิตรองอ่อนกำลังกว่าทำให้ขวางธรรมจิตหลักไม่ได้ จิตหลักได้ธรรมจากภายนอกกระตุ้นแล้วบรรลุธรรมได้ อนึ่ง จิตวิญญาณที่อยู่ในกายสังขารเดียวกันสองดวงนี้ ถ้าจิตรอง (จิต ดวงนอกสุด) เป็นจิตที่สอนไม่ได้เช่น จิตมาร, จิตอสูรจำต้องฝึกลมปราณสลายจิตวิญญาณให้เกิดใหม่เป็นจิตวิญญาณที่สอนได้ก่อน จึงจะรับธรรมได้ ไม่เช่นนั้น พูดธรรมะไป ก็ไม่มีประโยชน์เลย ได้แต่เข้าใจแต่ไม่เข้าถึงเท่านั้น อนึ่ง เมื่อโปรดจิตสองดวงได้แล้ว สามารถโปรดจิตดวงต่อไปได้อีกเรื่อยๆ ทำให้จิตมีมากกว่าสองดวงได้ซึ่งจะไม่ขยายความในบทความนี้ -จบ-


อภิธรรม เรื่อง การฝึกจิตหนึ่งและจิตหลายดวง






จิตวิญญาณในกายสังขารของมนุษย์ปกติจะมีอย่างน้อยสองดวง ทำให้คนมีความคิดสองทางขัดแย้งในตัวเองบ่อยๆ ยกเว้นในคนก่อนละสังขาร ๗ วันจิตวิญญาณดวงที่สองจะจุติออกไปจากร่างก่อน ทำให้เหลือจิตวิญญาณในกายสังขารดวงเดียว ก็จะถูกเจ้ากรรมนายเวรรุมจนตายภายใน ๗ วันนั้น หรือในผู้บรรลุอรหันต์ในสมัยพุทธกาล จิตวิญญาณดวงที่สองจะจุติออกจากร่างทันที ถ้าไม่บวชจะละสังขารตายภายใน ๗ วันนั้น แต่ถ้าบวชจะอยู่ต่อไปได้ด้วยบารมีของผ้าเหลืองปกป้องไว้ เจ้ากรรมนายเวรจะไม่กล้าลงมือจนกว่าจะสิ้นอายุขัย ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าสอนแต่ “จิตหนึ่ง” เท่านั้น คือ “จิตประภัสสร” ที่มี ความบริสุทธิ์อยู่แล้ว เมื่อได้บรรลุธรรมจิตดวงที่สองซึ่งทำหน้าที่เป็น “เทพคุ้มครองกาย” ก็จะจุติออกไป ทำให้กายสังขารนั้นบริสุทธิ์บรรลุธรรมถึงอรหันต์ได้แต่ในสมัยปัจจุบัน ไม่ มีพระพุทธศาสนาดั้งเดิมเหลืออยู่แล้ว แม้บุคคลใดจะบวชพระ ก็ต้องบวชในลัทธิหรือในนิกายใดนิกายหนึ่ง ซึ่งล้วนแต่เป็นสมมุติสงฆ์เท่านั้น จึงไม่สามารถฝึกจิตหนึ่งได้ง่ายนัก






ในบุคคลที่ใกล้ตาย จิตวิญญาณดวงอื่นๆ ก็จะจุติออกจากร่างไปก่อน เหลือจิตวิญญาณดวงสุดท้ายประจำในกายสังขารเพียงดวงเดียว จึงจะฝึก “จิตหนึ่ง” ได้ ซึ่งไม่ต้องฝึกจิตอะไรเลย เพราะจิตหนึ่งที่ว่านั้นเป็นจิตประภัสสรอยู่เองแล้ว เพียงทำนิพพานให้แจ้งด้วยปัญญาก็พอ ไม่ต้องไปฝึกให้จิตที่เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว เป็นไปอื่น ปรุงแต่งให้จิตเป็นอื่นไปก็ไม่ต้อง แค่ทำปัญญาให้แจ้งก็พอ ไม่ต้องไปทำอะไรอื่นที่นอกเหนือจากธรรมชาติที่ตนรับวิบากกรรมอยู่นั้น นี่คือ “โอกาสทองที่จะค้นพบจิตหนึ่ง” ทว่า มนุษย์ทั่วไปมักไม่มีโอกาสทองเช่นนี้ ไม่เข้าสู่ภาวะช่วง ๗ วันสุดท้ายก่อนละสังขาร ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมด้วยจิตหนึ่งได้ ยิ่งไม่ได้บวชต่อสายธรรมดั้งเดิมแท้ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พระสาวกแท้ แต่ได้แค่สมมุติสงฆ์ด้วยแล้ว ยิ่งไม่อาจได้ฝึกจิตหนึ่งนั้นได้ ทำให้จิตวิญญาณอยู่ในกายหลายดวงเกินไป และขัดแย้งกันเองภายใน ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ ต้องรอจนกว่าใกล้จะหมดอายุขัยแล้วเท่านั้นจึงบรรลุธรรมด้วยจิตหนึ่งได้ และเมื่อได้บรรลุธรรมแล้ว ก็ไม่มีพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมแท้เหลืออีก จะบวชต่อสายธรรมแท้ก็ไม่ได้ ต้องบวชเข้ามาในสมมุติศาสนา เป็นสมมุติสงฆ์ ทำให้จิตวิญญาณเจ้ากรรมนายเวร ไม่ยอมปล่อย เข้ามาแทรกในร่างกายของผู้ที่สำเร็จธรรมด้วยจิตหนึ่งแล้วนั้นได้อีกครั้งส่งผลให้ภูมิจิตภูมิธรรมลดลง จากสูงสุดคือ “อรหันตผล” บ้างลดลงกลายเป็นเซียนเท่านั้นเอง อนึ่ง เมื่อบุคคลมีธรรมไม่เที่ยง เสื่อมลงด้วยกรรมตัดรอนอย่างนี้ แม้พึงฝึกจิตต่อก็จะได้สำเร็จสูงสุดเพียง “พระอนาคามี” เท่านั้น ดังนั้น โลกยุคปัจจุบันจะไม่เหลือมีพระอรหันต์แท้แล้วแต่จิตที่ได้ธรรมถึงอรหันต์นั้นมีในกายของพระอนาคามี ที่ถูกจิตวิญญาณอื่นๆ เข้าแทรกทำให้ธรรมเสื่อมถอยลงนั่นเอง แบบนี้ ทำให้มีจิตวิญญาณในกายสังขารอย่างน้อยสองดวง โดยจิตหลักจะบรรลุอรหันต์ได้ แต่จิตรองจะได้ไม่ถึงอรหันต์ อยู่ในกายสังขารเดียวกัน ขัดแย้งกันเองแล้วนำพาสังขารร่วมกันไปทำกิจ ออกนอกทางบ้างเป็นบ้างครั้ง ทำให้ไม่อาจจะนิพพานได้ทันทีที่ละสังขารลง จึงได้ธรรมเพียงอนาคามีดังกล่าว จิตวิญญาณที่ได้ธรรมถึงอรหันต์แล้ว ก็ไม่อาจนิพพานได้ทันที ด้วยจิตวิญญาณอีกดวงเข้าแทรกนำพาร่างไปก่อกรรม ต่อชาติสืบภพ ทำให้ต้องจุติไปยังสวรรค์แล้วจึงนิพพานได้บนสวรรค์นั้นเอง






ในบางคน มีกรรมมาก จิตวิญญาณในกายสังขารมีมากกว่าสองดวง เมื่อดวงแรกได้บรรลุธรรมแล้ว ดวงต่อมาจรเข้ามาอาศัยร่วมอีก พอโปรดจิตวิญญาณดวงที่สองสำเร็จแล้ว ก็มีจิตวิญญาณดวงต่อมาเข้ามาอาศัยในร่างกายเรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้น เนื่องจากยังไม่ถึงวาระที่จะได้นิพพานนั่นเอง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บุคคลนั้นไม่อาจรักษาภูมิจิตภูมิธรรม ให้อยู่ในระดับ “อรหันต์” ได้ตลอดเวลา ธรรมเสื่อมถอยลงแล้วกลับฟื้นคืนขึ้นเป็นวงจรไม่เที่ยง ไม่นิ่ง เพราะยังไม่นิพพานนั่นเอง จึงมีพลวัตรของธรรมภายใน ขึ้นแล้วลง สลับกันอย่างนี้ บุคคลเหล่านี้ เมื่อธรรมเสื่อมลงจะวัดระดับธรรมในสังขารนั้นได้เพียง “เซียน” เท่านั้น แต่เมื่อปฏิบัติธรรมต่อไปขจัดความหลงออกไปอีก ธรรมก็จะสูงขึ้นจนกลับสู่ภาวะอรหันต์ได้อีก แล้ววนเวียนเป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิตจนกว่าจะละสังขารตายก็จบสิ้น -จบ-


อภิธรรม เรื่อง องค์ในและจิตวิญญาณรอง






จิตวิญญาณในกายสังขารของมนุษย์มีมากกว่าหนึ่งดวง ปกติจะมีสองดวง ดวงแรกอยู่ลึกสุดคือเราเองที่มาจุติครั้งแรก ดวงที่สองเข้ามาประสานช่วยปกป้องสังขาร เรียกว่าจิตรอง หรือ “องค์ใน” ก็ได้ ซึ่งสามารถจำแนกได้แตกต่างกันไป ดังจะกล่าวอธิบายต่อไปนี้






๑) เทพประจำตัว


มนุษย์ทุกคนมีเทพประจำตัวคอยช่วยเหลือแนะนำให้ไปสู่ทางเจริญ ซึ่งสวรรค์ได้จัดสรรเปลี่ยนเวรกันดูแลมนุษย์ แต่ละคนแตกต่างกันไป สำหรับมนุษย์ที่ชะตาขาดหมดอายุขัยแล้ว เทพประจำตัวจะไม่มีอีก ทำให้เจ้ากรรมนายเวรรุมทำร้ายจนตายได้ ในคนบางคนไม่เชื่อเรื่องเทพเทวดา จิตใจไม่เปิดรับในคุณงามความดี เทพประจำตัวไม่อาจแทรกเข้ามาช่วยเหลือได้ ทำให้มารแทรกแทนได้เช่นกัน ดังนั้นเทพประจำตัวจึงถือว่าดีที่สุดแต่ไม่ใช่ให้มายึดมั่นถือมั่นเกาะอาศัยเทพประจำตัว เพราะมนุษย์ทุกคนมีกรรมของตน แม้ว่าเทพประจำตัวจะพยายามช่วยแต่ก็ช่วยทั้งหมดไม่ได้ ถ้ากรรมหนักเทพก็หนี หลีกให้เจ้ากรรมนายเวรเข้ามาแทนที่ แต่เทพประจำตัวจะคอยดลจิตดลใจให้เราทำดี ละวางความชั่วกันไว้ก่อน เจ้ากรรมนายเวรจะหาช่องโหว่ของกรรมเข้ามาทำร้ายไม่ได้ จวบจนกว่าเราจะทำสิ่งชั่วร้ายมีกรรมเปิดช่องโหว่มาก เจ้ากรรมนายเวรจึงเข้ามาได้ เพราะไม่มีเทพคุ้มครอง อนึ่ง คนที่ยังมีเทพดูแล ชีวิตจะได้เสวยบุญดี มีสุข แต่เมื่อใดชีวิตเปลี่ยนแปลง เกิดแต่เรื่องวุ่นวายเข้ามา ให้ทราบว่าเทพประจำตัวได้จากไปแล้ว ในบางคน หมดอายุขัยแล้ว จึงไม่มีเทพประจำตัวมาดูแลจากสวรรค์อีก แต่อาศัยบำเพ็ญบารมีจนได้เทวดาที่หมดบุญแล้วมาเป็นเทพประจำตัวคอยดูแลตนให้ แบบนี้ก็สามารถยื้ออายุขัยอยู่ต่อไปได้เช่นกัน


๒) มารแทรก


มนุษย์ทุกคนไม่ได้มีแต่สิ่งดีด้านเดียว จะมีทั้งเทพและมารคอยดลใจให้ทำสิ่งที่แตกต่างกัน ถ้าคนไม่เอาเทพ ไม่สนใจความดีงามเมื่อใด มารจะแทรกเข้าตัวได้เต็มกำลัง ทำให้คนผู้นั้นทำสิ่งผิด หลงทาง และต้องพบความหายนะในท้ายที่สุด โดยมารจะหลอกให้ไปเสวยผลบุญมากมาย จนเราคิดว่าเราสำเร็จยิ่งใหญ่แล้ว แต่นั่นคือ “วิธีลดทอนบุญ” ของมารให้เราหมดบุญอย่างรวดเร็ว และเข้าทำร้ายเราเมื่อเราหมดบุญแล้วจนพบกับหายนะ


๓) จิตเข้าแทรก


นอกจากมารแล้ว มนุษย์ยังอาจเปิดใจรับสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่เทพและมารเข้ามาแทรกได้ด้วย เช่น ยักษ์, อสูร, พรหม, เปรต, สัมภเวสี, สัตว์นรก ฯลฯ ทำให้ชีวิตของมนุษย์ผู้นั้น ต้องพบกับความสับสนแปรปรวน จากเดิมมีชีวิตอย่างหนึ่ง ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามวิบากของจิตวิญญาณที่เข้าแทรกนั้น เช่น ถ้าเปรตแทรก จะไม่มีกิน, สัตว์นรกแทรก จะป่วยไข้ ทำให้ไม่อาจดำรงชีพตามปกติได้ดังเดิมอีก ในกรณีนี้จำต้องโปรดจิตวิญญาณจึงจะหาย


๔) จิตกาฝาก


จิตกาฝาก คือ จิตวิญญาณที่ไม่ได้มาอยู่ร่วมกับกายสังขารของเราอย่างถาวร แต่อาจจะมาอาศัยอยู่ชั่วคราวเพื่อไปหาคนที่มีบุญกรรมร่วมกับตนต่อไป เช่น เกาะมาที่ผมแล้วได้พบคนที่ช่วยเหลือเขาได้ ก็จรไปอยู่กับคนผู้นั้น จิตกาฝาก มักเป็นจิตวิญญาณสัมภเวสี ที่ไม่มีที่อาศัยต้องอาศัยผู้มีบุญหรือกรรมเกี่ยวเนื่องกันเล็กน้อยไปสู่คนที่รับกรรมกับตนได้


๕) จิตเจ้ากรรมนายเวร


ในบางกรณี เทพไม่มี, มารก็ไม่มา เพราะทั้งเทพและมารทราบว่าถึงวาระกรรมของมนุษย์ผู้นั้นแล้ว มีแต่เจ้ากรรมนายเวรเท่านั้นที่เข้ามา ซึ่งเจ้ากรรมนายเวรนี้มีสองพวก คือ พวกแรกจะยอมอ่อนข้อละเว้นกรรมกับเรา แต่เราต้องให้ร่างกายเขายืมอาศัยเพื่อทำความดีให้หลุดพ้นไป กับพวกที่สองคือ พวกไม่ยอมอ่อนข้อ พวกนี้จะมารุมเราตอนเราสิ้นใจตาย


๖) จิตอสูรพาหนะทรง


ในบางกรณี ปฏิบัติธรรมมีบารมีมากขึ้น ได้อสูรพาหนะทรงมาร่วมบารมีด้วย ส่งผลให้ต้องรับวิบากกรรมร่วมกันเป็น “คนทรง” ในที่สุด อนึ่ง ข้อแตกต่างของคนมีองค์ และคนทรงก็คือจุดนี้ คือ คนทรงมีองค์ในเหมือนกัน แต่องค์ในของเขาเป็น “พาหนะทรง” ให้แก่เทพเทวดา แต่คนมีองค์ที่ไม่ใช่คนทรง เพราะองค์ในของเขาไม่ใช่พาหนะทรงนั่นเอง -จบ-


อภิธรรม เรื่อง จิตวิญญาณที่เข้าแทรกมนุษย์หลังกึ่งกลางยุคพุทธกาล






จิตวิญญาณในกายสังขารของมนุษย์มีอย่างน้อยสองดวงจิต คือ จิตหลักและจิตรอง โดยจิตรองนั้น จะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลก เช่น ยุคพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ จิตรองจะเป็นพวก “พญานาค” เข้ามาแทรก ซึ่งพวกพญานาคจะมีกามมาก คือ จะพัวพันด้วยความรักความผูกพันมาก ไม่อาจละทิ้งครอบครัวมาบวชได้ พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับเหล่าพญานาคมาบวช แม้พญานาคจะแปลงกายเป็นมนุษย์ก็ตาม ทว่า พญานาค นั้นหาได้หยุดเพียงเท่านั้นไม่ ได้ทูลขอต่อพระพุทธเจ้าว่า “ถ้ามีคนบวช ก็ขอให้ขานชื่อเรียกว่านาคจะได้ไหม” พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาต ทว่า เรื่องไม่จบเพียงเท่านี้ พญานาคได้ยินคนเรียกขานชื่อในพิธีบวชนาคแล้ว ก็เข้าแทรกในกายสังขารของมนุษย์ทันที ซึ่งมีบิดามารดากลุ่มหนึ่งวางแผนให้ทำเช่นนี้ เพื่อจะดึงเอาบุตรของตนออกมาจากผ้าเหลือง จะได้มามีครอบครัวสืบเชื้อสายและทำงานเลี้ยงตน คนเหล่านี้ (ที่มีจิตวิญญาณพญานาคแทรก) เมื่อมาบวชก็จะอยู่ได้ไม่นาน แล้วสึกออกไปแต่งงานเสียหมด เพราะมีพญานาคมาร่วมอยู่ในกายสังขารนั่นเอง นอกจากนี้ พราหมณ์บางพวก แม้ผู้บวชจะขอตัด พิธีขานนาคออกไปแล้วก็ตามยังอุตส่าห์ให้ไปไหว้ครู “ขึ้นขันธ์” เทพ, พรหม, พ่อปู่ ฯลฯ องค์อื่นก่อนอีก (ไม่ทราบว่าทำไมต้องทำ แต่ผู้เขียนเองก็ถูกสั่งให้ทำมาแล้ว) ทำให้จิตวิญญาณเหล่านั้นแทรกเข้ามาอาศัยในสังขารได้ ไม่อาจฝึกจิตหนึ่งได้ อนึ่ง จิตที่เข้าแทรกมีดังนี้






กลุ่มที่ได้รับพุทธานุญาติ


กลุ่มนี้ทั้งหมด มีบุญบารมีได้บวชห่มผ้าเหลือง หรือแทรกเข้าในสังขารของพระสงฆ์ได้






๑) เทพ คือ จิตวิญญาณที่มีตำแหน่งหน้าที่เฉพาะ มีบุญเลี้ยงตัวเอง เมื่อเข้าอยู่ในกายสังขารใคร ผู้นั้นมักมีตำแหน่งหน้าที่การงาน มีเงินเดือน และซื่อสัตย์สุจริต


๒) พรหมสัมมาทิฐิ คือ จิตวิญญาณที่นิยมฝึกสมาธิ, ติดภาวะสุขสงบ ไม่ค่อยทำกิจใด มีบุญเลี้ยงตัวเอง เช่น มีคนถวายปัจจัยให้เสมอๆ และยอมรับนับถือพุทธฯ


๓) ยักษ์ คือ จิตวิญญาณที่มีตำแหน่งหน้าที่คล้ายเทพ แต่ต่ำกว่าเพราะละโมบจึงมีการกินส่วนแบ่งแต่ยังไม่ผิดกฎหมาย หรือติดเหล้า, ติดพนัน บ้างเล็กน้อย


๔) มารฝ่ายดี คือ จิตวิญญาณที่คล้ายเทพ มีตำแหน่งหน้าที่การงาน แต่ทำด้วยความรู้สึกเครียด, แค้นเคือง หรือไม่ผ่องใส แต่ก็ทำไปเพื่อพระพุทธศาสนา






กลุ่มที่ไม่ได้รับพุทธานุญาติ


กลุ่มนี้ทั้งหมด ไม่มีบุญบารมีบวชห่มผ้าเหลือง หรือแทรกในสังขารของพระสงฆ์ไม่ได้






๑) ซาตาน คือ จิตวิญญาณที่เคยเป็นเทพแต่ทำความผิดแล้วหนีอาญาสวรรค์ เมื่ออยู่ในสังขารคน ทำให้คนทำผิดแล้วหนีการลงโทษ ต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ


๒) พรหมมิจฉาทิฐิ คือ จิตวิญญาณที่คล้ายพรหมฝ่ายสัมมาทิฐิ ต่างกันตรงที่พวกนี้จะไม่ยอมรับในพระพุทธศาสนา ต่อต้านหรือลบหลู่ดูถูก ทำให้คนเป็นมิจฉาทิฐิ


๓) อสูร คือ จิตวิญญาณที่คล้ายยักษ์ แต่ไม่มีกายทิพย์แบบมนุษย์ เพราะกายทิพย์จะเป็นสัตว์เดรัจฉานที่มีฤทธิ์มาก เช่น มังกรดำ ซึ่งพวกนี้จะไม่มีศีลธรรมเลย


๔) มารฝ่ายร้าย คือ จิตวิญญาณที่เป็นมารแต่ต่อต้านและไม่ยอมรับในพุทธศาสนา หาทางขัดขวางหรือทำลาย เช่น พญามาราธิราช ซึ่งมักแทรกชาวผิวขาวอยู่






อนึ่ง โลกนี้ไม่ใช่ที่อยู่ของใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้น ไม่ว่าจิตวิญญาณชนิดใดๆ ก็ล้วนมีสิทธิ์ตามวาระบุญและกรรมทั้งสิ้นแต่สำหรับผ้าเหลืองและพระพุทธศาสนาแล้ว ผู้ที่ได้รับพุทธานุญาติมีบางกลุ่ม กลุ่มที่ไม่ได้รับพุทธานุญาติก็ต้องออกไป ไม่สามารถบวชพระได้ ซึ่งกลุ่มที่ไม่ได้รับพุทธานุญาติให้อยู่ในพระพุทธศาสนานั้นสามารถอาศัยศาสนาอื่นๆ ให้ตนหลุดพ้นทุกข์ได้เช่นกัน เช่น เต๋า, คริสต์ เป็นต้น ศาสนาต่างๆ จึงถูกจัดแยกออกจากกันเพื่อโปรดสัตว์ที่มีบุญกรรมต่างกันนั่นเอง สัตว์ทั้งหลายจึงจะอยู่ร่วมโลกกันได้ -จบ-


อภิธรรม เรื่อง จิตวิญญาณสองดวงอยู่ร่วมกันในสังขารเดียวอย่างไร






จิตหลักของมนุษย์ คือ จิตดวงแรกที่จุติลงมาในเซลปฏิสนธิ จึงมีกายสลายจิตวิญญาณเดิมก่อนจนเหลือแต่ “จุติจิต” แล้วประสานเข้ากับปราณของพ่อและแม่เพื่อเจริญเติบโตไปพร้อมกับเซลที่ได้รับการปฏิสนธิ ผลคือ ทำให้จิตวิญญาณมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับร่างกายมาก เช่น ร่างกายเป็นเด็ก, จิตหลักก็เป็นกุมาร เป็นต้น ทว่า จิตวิญญาณที่เข้ามาร่วมอยู่ในกายสังขารภายหลังนั้น จะแตกต่างไปตาม “วิบากกรรม” ทำให้เด็กแม้มีจิตเหมือนกันคือ “กุมาร” แต่ได้รับการปฏิบัติแตกต่างกันไปเช่น เด็กที่มีจิตวิญญาณร่วมเป็นอสูรพาหนะทรง จะถูกคนครอบงำกดขี่ ทั้งยังได้รับการเลี้ยงดูอย่างยากลำบาก, ในขณะที่เด็กที่มีจิตวิญญาณร่วมเป็นเทวดาจะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี เป็นต้น อนึ่ง จิตวิญญาณที่เข้ามาประสานร่วมกับจิตหลักนี้ไม่เที่ยง ไม่จีรัง เช่นเดียวกับจิตหลัก กล่าวคือ จิตที่เข้ามาร่วมนี้ มาชั่วคราวตามวาระกรรมเท่านั้น สามารถจุติจรออกไปมาได้ เมื่อจรออกไปแล้ว วิบากกรรมที่สังขารได้รับ ก็เปลี่ยนไปด้วย แต่จิตหลักจะจรเข้าจรออกจากร่างกายไม่ได้ นอกจากจะถึงวาระสิ้นอายุขัยของจิตหลัก ดังนั้น จิตหลักมักไม่ได้เปลี่ยนแปลง ด้วยการจรเข้าจรออกแบบจิตวิญญาณดวงรองแต่จะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการ “สลายจิตวิญญาณ” ในกายสังขารนั้นแล้วเกิดใหม่ในกายสังขารนั้นแบบโอปปาติกะ เช่น เมื่อยังเด็ก จะมีจิตหลักเป็นเด็ก พอเริ่มเป็นวัยรุ่น มีเทพเข้ามาประสานร่วมด้วยทำให้เกิดความรักแบบยังไม่แท้จริงขึ้น (เพราะไม่ใช่จิตหลัก จึงไม่ลึกซึ้ง) พอจิตเทพ ที่จรเข้ามาร่วมด้วย จรออกไป ก็หมดรักในหญิงผู้นั้น แต่พอถูกเขาหักอกกลับคืนบ้าง จิตวิญญาณที่เป็นเด็กก็แตกสลาย เกิดใหม่กลายเป็นจิตวิญญาณผู้ใหญ่ขึ้น เช่น เทพ, มาร หรือแม้แต่โพธิสัตว์ ก็เป็นได้ นี่คือ การเปลี่ยนแปลงของจิตสองดวงในร่างเดียวกัน ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน อนึ่ง จิตรองก็สามารถสลายแล้วเกิดใหม่ในกายสังขารนั้นได้แบบเดียวกับจิตหลัก ถ้าจิตรองปฏิบัติจิตจนถึงที่สุด ก็จะแตกดับสลายไปแล้วเกิดใหม่ได้ เช่น บางท่านถูกมารแทรก พอสังขารได้ปฏิบัติจิตทำคุณงามความดีจนถึงที่สุดแล้ว จิตมารก็แตกดับสลาย เกิดใหม่ได้เช่นกัน






ปกติ จิตหลักจะเกิดดับและสลายใหม่ได้บ่อยกว่าจิตรอง นี่เป็นธรรมชาติของจิตหลักซึ่งทำให้เกิดความก้าวหน้าในธรรมของจิตหลัก แต่จิตรองมักไม่ค่อยได้มีเวลาปฏิบัติจิตจน ถึงขั้นเกิดใหม่ในกายสังขารเดิมนั้น ก็มักหมดเวลาและต้องจรออกจากสังขารนั้นไป แต่เราสามารถปฏิบัติจิตเพื่อโปรดจิตรองที่จรมาอาศัยบารมีของสังขารอยู่ชั่วคราวนั้นได้ถ้าทราบวิธีที่ถูกต้องแล้ว ก็สามารถโปรดจิตวิญญาณรองทั้งหลายที่จรเข้ามาได้ไม่มีจำกัด ซึ่งปกติ จิตรองจะสลายครั้งแรกเพื่อให้บรรลุโพธิจิต มีกายทิพย์เป็นโพธิสัตว์ให้ได้ก่อน (ถ้ามาจากจิตวิญญาณที่ไม่ดี เช่น มาร, อสูร) จากนั้น จะสลายจิตวิญญาณโพธิสัตว์อีก เพื่อให้สำเร็จยูไล (พุทธะ) ก็นับว่าสูงสุดแล้วสำหรับจิตวิญญาณนั้นๆ หากจะสลายอีกก็จะนิพพานไปเลย (รวมทั้งสิ้นสูงสุดเพียง ๓ ครั้งต่อหนึ่งดวง) แม้แต่จิตหลักก็เช่นกัน ไม่ค่อยได้สลายจิตวิญญาณเพื่อเกิดใหม่บ่อยครั้งนัก เพราะอาจจะส่งผลต่อวิบากกรรมของสังขารนั้นได้ เช่น ถ้าเดิมมีจิตพรหม ต่อมาทำสิ่งไม่ดีเสื่อมลง สลายลงแล้วเกิดใหม่เป็นกุมาร ต่อมาเสื่อมลงอีก สลายแล้วเกิดใหม่เป็น “เปรต” เพราะผลจากการไม่ทำบุญกุศล ประมาท และอาศัยแต่การขอผู้อื่นเพื่อยังชีพ ถึงจุดนี้ ก็จะกลายสภาพเป็นเหมือนขอทาน จากเดิมที่ดูเหมือนฤษีที่น่านับถือ นี่เป็นผลจากการเสพผลบุญจนหมดสิ้นลงนั่นเอง อนึ่ง ในบางท่านแม้ขอเงินผู้อื่นมา ก็เพื่อไปสร้างคุณงามความดี เช่น สร้างวัด แบบนี้ เป็นการเบิกบุญออกมาใช้ เพื่อสร้างกุศลสืบชาติต่อภพต่อไป ทว่าเมื่อเบิกบุญมาจนหมดของเก่าแล้ว แต่ผลบุญที่ทำในปัจจุบันนั้น ยังไม่ถึงวาระออกดอกผล (ออกดอกผลชาติข้างหน้า) สุดท้าย กลายเป็นว่าทำความดีมากมายแต่ต้องอยู่อย่างอับจนในที่สุด เช่น บางคนที่ไปเรี่ยไรเงินเขามาสร้างวัดมากมาย เขาเรี่ยไรได้ก็จริงเพราะผลบุญเก่าออกดอกผล แต่เมื่อหมดบุญเก่าแล้ว ผลบุญใหม่ที่ตนสร้างทำในชาติปัจจุบันยังไม่ออกผล ทำให้อยู่อย่างคนอดอยาก จิตวิญญาณเดิมอาจเป็นมาร ต้องสลายแล้วเกิดใหม่เป็นเปรต อยู่อย่างขอทานก็มี (จึงเกิดคำถามว่าทำไม ทำความดีมากมาย สุดท้ายกลับได้รับผลตอบแทนไม่ดี ได้) เรื่องจิตวิญญาณสองดวงในกายเปลี่ยนแปลง (จิตหลัก-จิตรอง) ขอจบเพียงเท่านี้ -จบ-


อภิธรรม เรื่อง การเกิดสามแบบที่สำคัญของจิตวิญญาณ






จิตวิญญาณจุติลงมาเกิดได้หลายแบบคือ ๑) เกิดในท้องแม่ ๒) เกิดเองไม่อาศัยท้องแม่ ๓) เกิดโดยอาศัยพืชพรรณ เช่น ในดอกบัว ๔) เกิดในน้ำแฉะเช่น เกิดจากการผสมเทียมในหลอดแก้ว ๕) เกิดในฟองไข่ อนึ่ง การเกิดที่สำคัญสองประการที่สุดในปัจจุบันคือ ๑) เกิดในท้องแม่ซึ่งเกิดเป็นปกติอยู่แล้วโดยมาก ๒) เกิดเองไม่อาศัยอะไรเกิดดังจะอธิบายเฉพาะการเกิดเองซึ่งไม่ค่อยเข้าใจกันนัก ที่เรียกว่า “โอปปาติกะกำเนิด” ดังต่อไปนี้






การเกิดแบบโอปปาติกะเป็นปกติของมนุษย์ทุกยุคสมัย


การเกิดเองโดยไม่ต้องอาศัยอะไร ไม่ต้องจุติลงท้องแม่นี้มีอยู่ทุกยุคสมัยของมนุษย์ เกิดได้บ่อย และเป็นปกติของการเกิดของจิตวิญญาณระดับสูงตั้งแต่พรหมขึ้นไป แบ่งได้ดังนี้






๑) เกิดจากการดับสลายลงของจิตดวงเดิม (จิตวิญญาณ)


กล่าวคือ จิตวิญญาณมีสภาวะที่ไม่เที่ยง สามารถดับสลายแล้วเกิดใหม่ได้ในกายสังขารนั้นเองโดยที่กายสังขารนั้นยังไม่หมดอายุขัยเช่น คนที่มีจิตเป็นมารพอหลุดพ้นจากภาวะมารได้ จิตวิญญาณมารจะสลายแล้วเกิดใหม่เป็นอย่างอื่น หรือพระพุทธเจ้าที่ก่อนตรัสรู้ มีจิตวิญญาณเป็นพระโพธิสัตว์ แต่เมื่อตรัสรู้แล้วจิตวิญญาณนั้นดับสลายลง เกิดใหม่เป็นจิตวิญญาณพุทธะ หรือพระพุทธเจ้า ความเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก็ตายลงวันนั้น ความเป็นพระพุทธเจ้าก็เกิดขึ้นวันนั้นเอง อนึ่ง การเกิดใหม่ในแบบนี้ เป็นไปได้ทั้งดีขึ้นและแย่ลง


๒) เกิดจากการแบ่งภาคจากจิตดวงเก่า (จิตหลัก จิตรอง)


มนุษย์บางคนมีพลังจิตมากพอที่จะแบ่งจิตดวงนั้นออกเป็นสองดวงได้ เรียกว่าการแบ่งภาคจิต การเกิดขึ้นนี้ สามารถเกิดนอกกายสังขารก็ได้ หรือเกิดในสังขารของมนุษย์ก็ได้ เราจะเรียกว่าเป็นการเกิดแบบ “โอปปาติกะ” อีกแบบหนึ่ง เพราะเกิดขึ้นมาเองเลยโดยไม่อาศัยอะไรรองรับก็ได้ ซึ่งปกติจะพบได้เฉพาะในพระมหาโพธิสัตว์และมหาพรหม ผลของการแบ่งภาคจิต กำเนิดจิตดวงใหม่ในสังขารเดิมนี้ ทำให้ได้ จิตหลัก และจิตรอง อยู่ด้วยกันในกายสังขารเดิม โดยจิตหลักจะมีความบริสุทธิ์มาก ส่วนจิตรองจะมีกิเลสมาก


๓) เกิดจากการจุติประสานเข้าในกายสังขาร (จิตสังขาร)


มีบางครั้ง ที่จิตวิญญาณในกายนั้นมีมากและทำงานพร้อมกัน ทำให้เกิดความสับสนลังเลใจ สองจิตสองใจ หรือหลายใจหลายความคิดมากกว่าสองก็มี สิ่งนี่ก็มีเกิดได้ นี่แสดงให้เห็นว่าในกายสังขารของคนๆ หนึ่งไม่ได้มีจิตวิญญาณดวงเดียวเสมอไป โดยจิตดวงแรกที่จุติลงในครรภ์จะเป็นจิตหลักของสังขารนั้นๆ ส่วนจิตวิญญาณดวงต่อๆ มาที่จุติเข้ามาแบบโอปปาติกะนี้จะกำเนิดในกายสังขารนั้นภายหลังแล้วประสานกายอยู่ร่วมกัน มนุษย์ทุกคนจึงไม่ได้มีจิตดวงเดียวจะมีจิตหลายดวง จิตสังขารมีทั้งหมด ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง แต่ในบางยุคสมัยก็มีได้มากกว่านี้ทำให้มนุษย์ยุคนั้นมีอายุขัยยืนยาวไปอีก เมื่อหมดจิตในกาย มนุษย์ก็สิ้นอายุขัยแต่ถ้ามีจิตวิญญาณมาประสานอยู่ต่อไป โดยที่กายสังขารยังดำรงอยู่ได้ก็จะมีอายุขัยยาวต่อไปได้เรื่อยๆ ทั้งนี้จิตไม่ได้มี ๘๙ ดวงหรือ ๑๒๑ ดวงพร้อมกัน แต่จะปรากฏทีละ ๑ แบบเท่านั้นคือ เกิดแบบหนึ่งแล้วดับไปจึงเกิดดวงใหม่






จิตวิญญาณที่รอจุติเข้าประสานในกายสังขาร


จิตวิญญาณประเภทหนึ่งจะรออยู่บนสวรรค์แล้วจุติเข้าประสานในกายสังขารของมนุษย์ที่มีจิตวิญญาณอยู่แล้ว แล้วประสานกันทำงานต่อไป ปกติแล้ว จิตที่ได้เกิดมาในครรภ์จะเป็นจิตที่มีกรรมมากกว่าและบุญน้อยกว่าจิตที่เกิดแบบโอปปาติกะนี้ เช่น พระโพธิสัตว์บางองค์จะทรงแบ่งภาคเป็นอสูรมังกรดำก่อน แล้วให้อสูรมังกรดำสลายจิตวิญญาณไปจุติในครรภ์ของมารดาเพื่อได้เป็นมนุษย์ จากนั้น ท่านก็รอให้มนุษย์ที่เกิดจากภาคแบ่งของท่านนั้นบำเพ็ญบารมีจนมากพอ พ้นจากกรรมพอควรแล้ว ท่านก็จุติประสานเข้าในกายนั้นร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการเกิดจากครรภ์ที่ต้องสลายจิตวิญญาณเก่าแล้ว ทำให้สภาวะเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของกายสังขาร ทั้งอิทธิฤทธิ์และปัญญาก็จะหมดไปด้วย ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ดังนี้ จิตวิญญาณที่มีบารมีมากจึงเกิดแบบนี้ -จบ-


อภิธรรม เรื่อง “จุติจิต” จิตวิญญาณมีการเคลื่อนย้ายอย่างไร






จิตวิญญาณมีการจุติ (เคลื่อนย้าย) ได้ เช่น จากภพหนึ่งไปภพหนึ่ง เมื่อเราใช้มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) กำหนดด้วยใจสั่งให้ “จิตวิญญาณดวงรอง” ออกไปยังภพสวรรค์ หรือนรก เพื่อเรียนรู้ภพภูมิต่างๆ ก็สามารถทำได้ โดยที่เรายังมีชีวิตอยู่ไม่ตาย แต่ขณะที่จิตรองจรออกจะต้องมีการคุ้มกันร่างกายเราด้วย ถ้าไม่มีเทพเทวดามารักษาร่างเราแม้เรามีจิตหลักอยู่ในกายแต่จะถูกเจ้ากรรมนายเวรเล่นงาน ทำให้ป่วยได้ ดังนั้น ควรไปภพอื่น ในขณะที่ร่างกายอยู่ในที่ปลอดภัย เช่น ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีครูบาอาจารย์ดูแล บางครั้งจิตจุติไปยังชาติอื่น เพราะตาย หรือหมดอายุขัยจากกายสังขารนั้นๆ เช่น จิตรอง หมดอายุขัยก็จุติออกจากร่างไปเกิด โดยที่ร่างนั้นยังไม่ตายยังมีจิตหลักครองอยู่ จิตรองดวงใหม่จะมาเป็นเทพประจำตัวคุ้มครองร่างนั้นในฐานะจิตรองต่อไป ดังนั้น จิตรองของเราจึงไปเกิดยังชาติใหม่ได้โดยที่เรายังไม่ตายจากร่างนี้ก็ได้ การจรจุติของจิตจึงมีทั้งไปยังภพใหม่ หรือชาติใหม่ได้โดยที่ร่างนั้นยังไม่ตายก็ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถจรจุติไปยังสังขารอื่นๆ ได้อีกด้วย ที่เรียกว่า “จิตวิญญาณเปลี่ยนร่าง” ทั้งหมดนี้เป็นไปตามธรรมชาติของอนิจจัง






การสูญเสียจิตวิญญาณ


จิตหลักของเราจะไม่จรจุติออกไปถ้ายังไม่ถึงคราวตาย แต่ถ้าจรจุติออกเมื่อใด ก็แสดงว่าถึงคราวตายแล้ว ถ้าจรออกแล้วไม่มีจิตดวงใหม่เข้ามาอาศัยได้อีก ก็จะตายทันที แต่ถ้ามีจิตวิญญาณดวงอื่นเข้ามาประสานได้ทันก่อนที่ปราณในร่างจะสลายหมดก็จะมีชีวิตต่อไปได้ ทั้งๆ ที่สังขารนั้นหมดอายุขัยแล้วก็ตาม (เรียกว่าต่ออายุขัยแบบเซียน) ดังนั้น การได้จิตวิญญาณเพิ่มจึงเท่ากับได้อายุขัยยืนยาวขึ้น ในทางตรงข้ามการสูญเสียจิตวิญญาณ ก็คือการลดทอนอายุขัยตนเอง ทว่า คนที่อายุยาวเพราะมีจิตมาก ก็จะมีภาระ และบ่วงมาก ส่วนคนที่มีจิตน้อยก็มีกรรมและภาระน้อย ตายเร็วไปยังภพอื่นเร็วถ้าทำกรรมดีก็ไม่น่ากลัว เพราะเท่ากับได้ขึ้นสวรรค์เร็วนั่นเอง แต่ถ้าทำกรรมชั่วมากก็จะกลัวมากที่จะต้องตายเร็วก็เพราะยังไม่ทันได้ทำความดีลบล้างความชั่วนั่นเอง อนึ่ง การสูญเสียจิตวิญญาณพบในผู้ที่มีลมปราณระบบเอี๊ยงคือ “ออก” เนื่องจากฝึกถ่ายลมปราณออกจากร่าง เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะถ่ายออกได้ทั้งจิตวิญญาณ และอาจสูญเสียจิตวิญญาณให้แก่คนที่มีลมปราณสายอิม (เข้า) เนื่องจากลมปราณสายอิม จะดูดซับรับพลังของผู้อื่นเข้าไปได้ ซึ่งคนที่มีลมปราณเอี๊ยงจะทำให้จิตวิญญาณไปท่องภพภูมิอื่นได้ แต่คนที่มีลมปราณอิมจะไปไม่ได้ ก็เพราะไม่อาจถ่ายออกจากตัวได้จนกว่าจะตายนั่นเอง (ด้วยจิตที่ยึดมั่นพลังเป็นอัตตาอยู่เสมอ)






ดังนั้น การได้หรือสูญเสียจิตวิญญาณก็ไม่อาจสรุปได้ว่าดีหรือไม่ดีเสมอไป คนบางคนถูกซาตานครอบงำ ก็จะอยากได้จิตวิญญาณจำนวนมากๆ เพื่อเอาไปเป็นบริวาร ทว่า อาจไม่สามารถทำให้ตนหลุดพ้นหรือบริวารหลุดพ้นได้เพราะมัวยุ่งกับภารกิจและบริวารแต่ในคนบางคนสูญเสียจิตวิญญาณ, บริวารมากมายไม่เหลืออะไรเลย เหลือแต่ตัวเปล่ารอวันตาย กลับอาจได้บรรลุธรรม (เพราะหมดภารกิจ) แล้วยังสามารถกลับมาฉุดช่วยผู้อื่นได้อีก จึงไม่อาจสรุปได้ว่า “ได้หรือเสีย” ดีกว่ากัน เพราะบางคนเมื่อเสียจิตวิญญาณไปแล้ว ก็หมดกำลังใจที่จะต่อสู้แล้วก็ตายไปเลยก็มีแต่เราสามารถสรุปได้ว่าการได้หรือเสียจิตวิญญาณนั้นต้องดูสถานการณ์และคนด้วย บางคนเหมาะสมกับระบบเอี๊ยงและการเสียจิตวิญญาณ แต่บางคนเหมาะกับระบบอิมและการได้จิตวิญญาณ อนึ่ง การฝึกจิตเพื่อให้บรรลุธรรมนั้น ถ้ามีจิตหลักจิตเดียว (จิตหนึ่ง) จะบรรลุธรรมได้ง่ายมาก พระพุทธเจ้าจึงไม่สรรเสริญการเข้าทรงเพราะไม่ทรงเห็นความหลุดพ้นในการมีจิตวิญญาณหรือมีขันธ์มาก ท่านทรงสอนเรื่อง “จิตหนึ่ง คือ จิตประภัสสร” ดวงเดียวเท่านั้น ในขณะที่การบำเพ็ญบารมีจะตรงข้ามกับการบรรลุธรรม เพราะถ้ามีจิตเดียวไม่มีจิตวิญญาณบริวารช่วยกิจเลยก็จะทำกิจได้ยาก การมีจิตวิญญาณมาก (ระบบอิม) จึงเหมาะสมกับผู้บำเพ็ญบารมี อย่างไรก็ดีทั้งสองระบบ (อิม-เอี๊ยง) สามารถฝึกร่วมกันได้ ก็สามารถบรรลุธรรมแล้วยังสามารถบำเพ็ญบารมีได้อีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อบุคคลบรรลุธรรมแล้ว บำเพ็ญบารมีต่อไป ก็จะได้จิตวิญญาณมาเป็นบริวารจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับบารมีของเขาผู้นั้นจะสามารถสร้างได้เท่าใดนั่นแล -จบ-


อภิธรรม เรื่อง “ปฏิสนธิจิต” จิตวิญญาณมีการประสานกันอย่างไร






จิตและวิญญาณมีการประสานเข้ากันได้ จึงเรียกว่า “จิตวิญญาณ” โดยจิตก็คือ มโนธาตุ ส่วนวิญญาณก็คือ วิญญาณธาตุ ไม่ต่างกันกับธาตุทั้งสี่และความว่าง ซึ่งคือ ธาตุดิน, น้ำ, ลม, ไฟ และอากาสธาตุ (ความว่าง) ที่ประสานกันเป็น “สังขารของมนุษย์” เมื่อมีสังขารของมนุษย์ อันเกิดจากธาตุทั้งสี่เข้าร่วมในที่ว่างผสมกันดีแล้ว ก็จะมีวิญญาณมาร่วมด้วย (เมื่อมีสังขารจึงมีวิญญาณตามลำดับวงจรปฏิจจสมุปบาท) ซึ่งก็คือ ลมปราณของพ่อและแม่ที่ผสมกันขณะมีเพศสัมพันธ์กันนั่นเอง จากนั้นจึงมี “นามรูป” คือจิตจุติร่วมประสานจนก่อเกิดเป็นมนุษย์ขึ้น นี่คือ “กระบวนการปฏิสนธิ” ในบทความส่วนต่อไปนี้ จะกล่าวถึงแต่ส่วน “ปฏิสนธิจิต” ซึ่งหมายถึงจิตที่ประสานเข้ากับวิญญาณแบบต่างๆ กัน ดังต่อไปนี้






มโนธาตุคือธาตุรู้ เป็นพลังงานละเอียดแบ่งออกได้


มโนธาตุ เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ทำหน้าที่เป็นธาตุรู้ แตกต่างจากธาตุชนิดอื่นที่ไม่อาจทำหน้าที่รู้ได้ (ธาตุแต่ละชนิดทำหน้าที่ต่างกันไป ทำแทนกันไม่ได้ เช่น ธาตุน้ำ ทำหน้าที่ดึงดูดประสานและลื่นไหล ส่วนธาตุลมทำหน้าที่ฟุ้งกระจายไม่เกาะติด) ส่วนมโนธาตุทำหน้าที่รู้เฉยๆ อย่างใสซื่อตรงไปตรงมา ยังไม่ถูกปรุงแต่งแต่วิญญาณธาตุ ทำหน้าที่ปรุงแต่งการรับรู้นั้นให้ชัดขึ้นแต่จะทำให้ความบริสุทธิ์ลดลงเช่น เกลือเวลาแตะลิ้น มโนธาตุจะรู้ก่อนรู้ว่าแตะ ต่อมาวิญญาณขันธ์จะปรุงร่วมทำให้รู้สึกไปต่างๆ นานาและสัญญาขันธ์จะดึงความจำมาบอกว่ารสนี้ “เค็ม” ส่วนเวทนาขันธ์จะทำหน้าที่ปรุงแต่งต่อว่า “ทุกข์ ไม่ดีเลย” เป็นต้น มโนธาตุเป็นพลังงานเหมือนกระแสไฟฟ้าในร่างกายที่ทำหน้าที่รับรู้ก่อนส่งไปยังสมอง ซึ่งจิตรู้จะรู้ก่อนถึงสมองได้ แต่เมื่อถึงสมองแล้วจึงค้นเอาสัญญาขันธ์ออกมาได้ เมื่อใดสมองหยุดพักงาน เช่น หลับอยู่ สัญญาขันธ์จะเอามาจากสมองไม่ ได้ เช่น ฝันแต่จำความฝันไม่ได้ หรือฝันแต่จำไม่ได้ว่าในฝันนั้นตนอะไรเป็นอะไร เป็นต้น อนึ่ง มโนธาตุเป็นพลังงานละเอียด เมื่อเพ่งด้วยตาทิพย์จะเห็นแต่แสงสว่าง สามารถหดลงหรือขยายออกได้ เป็นพลังงานที่ละเอียดกว่าปราณ (ปราณคือ พลังวิญญาณ) ปราณจะหยาบจึงทำหน้าที่เหมาะกับงานหยาบ แต่มโนธาตุละเอียดทำหน้าที่เหมาะกับงานที่มีความละเอียด นอกจากนี้ มโนธาตุและวิญญาณธาตุซึ่งเป็นพลังงานล้วนแบ่งออกมาได้ เพราะไม่อาจยึดมั่นเป็นตัวๆ ตนๆ หรืออัตตาได้ เหมือนน้ำ, ไม่มีตัว, แบ่งออกได้ เป็นต้น มโนธาตุที่มีวิวัฒนาการสูง เช่น ของพระยูไล, ของพระมหาโพธิสัตว์ จะแบ่งออกมาร่วมประสานกับวิญญาณธาตุได้ โดยวิญญาณธาตุจะถูกแบ่งออกมาเป็นรูปร่างที่เรียกว่ากายทิพย์ รออยู่ก่อน แล้วมโนธาตุก็ปฏิสนธิเข้าไป กลายเป็น “จิตวิญญาณดวงใหม่” สมมุติ พระยูไลแบ่งมโนธาตุออกมา พระมหาโพธิสัตว์แบ่งกายทิพย์ออกมารอสองอย่างนี้จะมาปฏิสนธิกันเกิดเป็น “จิตวิญญาณใหม่” ได้ ซึ่งเป็นการเกิด โดยไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา (การเกิดของสัตว์มีหลายวิธี การเกิดอาศัยครรภ์ก็คือวิธีหนึ่งในหลายวิธีนั้น) ในขณะที่ถ้าจะจุติลงในครรภ์ จิตวิญญาณจะต้องสลายกายทิพย์ (สลายวิญญาณ) ก่อน แล้วเอาพลังปราณที่ได้จากกายทิพย์นั้นผสมเข้าไปในเซลปฏิสนธิ (ในครรภ์มารดา) จากนั้นจิตจะจุติลงไปประสานเป็นขั้นตอนสุดท้าย อนึ่ง เราเรียก “จุติจิต” นี้ ในเสี้ยวขณะเดียว ที่จิตไม่มีวิญญาณมาประสานร่วมแล้วจรเคลื่อนไป จากนั้นถ้ายังไม่ดับขันธปรินิพพานก็จะประสานเข้ากับวิญญาณ ถูกปรุงแต่งแล้วเกิดใหม่ในวัฏฏะสงสาร ภพภูมิต่างๆ ทันที ในบทความก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงการเคลื่อนย้ายจิตวิญญาณด้วย ซึ่งไม่ได้เรียกว่า “จุติจิต” เพราะมีวิญญาณประสานร่วมกับจิตขณะเคลื่อนย้ายไป เราจะไม่นับว่าเป็นการเปลี่ยนภพภูมิ เช่น มนุษย์ถูกจิตวิญญาณออกไปยังภพนรก ยมบาลจะไม่นับว่าได้ตายแล้วก็จุติมายังภพนรก แต่จะนับว่าเป็นการท่องนรก ของมนุษย์ผู้มีฤทธิ์ แต่ถ้าเมื่อใดที่มีการสลายวิญญาณจนมีแต่จิตดวงเดียว เมื่อนั้นจึงจะนับว่าจิตได้เกิดในชาติภพใหม่แล้ว ส่วนจิตวิญญาณที่สลายในกายสังขารเดิมแล้วเกิดใหม่ เช่น คนมีจิตมาร จิตมารสลายคิดใหม่ได้ กลายเป็นกุมาร แบบนี้ไม่มีการจรจุติออกของจิต จึงไม่นับว่าเปลี่ยนภพภูมิ (นับชาติภพให้เท่าเดิม) ส่วนคนที่ถอดจิตวิญญาณหลักออกไปสวรรค์แล้วได้จิตวิญญาณดวงอื่นมาครองร่างแทน ก็ยังไม่เรียกว่า “จุติจิต” เพราะวิญญาณยังไม่สลาย เรียกว่า “ถอดดวงใจ” แบบทศกัณฐ์ -จบ-

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2010, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มีการแปลความหมายของคำว่า “อาสวักขยญาณ” ว่า “ญาณหยั่งรู้ในการทำกิเลสให้สิ้นไป” ซึ่งแปลผิด


อาสวักขยญาณ (อาสวะ+ขย+ญาณ) ดูตามศัพท์นั่นแล้วเขาแปลไม่ผิดนะ อาสวักขยญาณ แปลว่า

ญาณ (ปัญญา) ซึ่งยังอาสวะให้สิ้นไป

อ้างคำพูด:
อาสวักขยญาณ ควรแปลว่า ญาณทำพรหมจรรย์ให้สิ้น


เมื่อแปลอย่างว่านั้น ต้องเปลี่ยนศัพท์ใหม่ว่า "พรหมจริยขยญาณ"

แต่ของเดิมเขาเป็น "อาสวักขยญาณ" ก็ต้องแปลไปตามศัพท์ที่มี ถึงจะเป็นบาลีแท้ๆ

ขอถามหน่อยนะครับ "พรหมจรรย์" ได้แก่ อะไรครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2010, 22:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เขาก็ว่า..ตามความคิดเขาไป

เขาจะเป็นที่พึ่งของใคร..ไม่ว่าเขา..

แต่ไม่ใช่รัตนตรัยที่พึ่งของเรา..แน่นอน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:24
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เลอะเทอะอะไรหรือเปล่าเนี่ย


แก้ไขล่าสุดโดย สติสัมปันน์ เมื่อ 28 ก.ย. 2010, 08:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 05:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าเป็นอจินไตย :b18:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 69 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร