วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 10:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 01:43
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวลาผมทำอะไรมักทำมากกว่าหนึ่งอย่าง เมื่อก่อนนั่งสมาธิได้นานประมาณ ครึ่ง
ชั่วโมง เดียวนี้ ไม่ถึงนาทีก็วอกแวกแล้วครับ มีวิธีอย่างไร หลอกล่อให้ใจสงบ
หรือเริ่มเบื้องต้นอย่างไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนไม่นิ่ง เขียน:
เวลาผมทำอะไรมักทำมากกว่าหนึ่งอย่าง เมื่อก่อนนั่งสมาธิได้นานประมาณ ครึ่ง
ชั่วโมง เดียวนี้ ไม่ถึงนาทีก็วอกแวกแล้วครับ มีวิธีอย่างไร หลอกล่อให้ใจสงบ
หรือเริ่มเบื้องต้นอย่างไรครับ


:b1: ไม่ต้อง...

เป็นเหมือนกัน... ยุ่งเหยิงมาทั้งวันเลย...
เราได้ให้เวลากับการเคลื่อนไปตามภาระกิจ...

ซึ่งเวลาเอกอนทำสมาธิ ก็เป็นปกติที่จะพบกับความไม่นิ่ง...
จริง ๆ ปฏิบัติไปเราจะได้พบอะไรมากมายเลย...

ก็เคยเป็นกังวลนะ เหมือนไม่ก้าวหน้า...
แต่...มองในอีกแง่... นั่นคือบทเรียนที่เราต้องเรียนรู้ ...
ก็เหมือนกับเรื่องการใช้ชีวิตทางโลก มันก็มีบทเรียนที่เราต้องศึกษา...
การไม่นิ่ง...ก็คือบทเรียน...ให้เราพิจารณา
เพราะว่า...มันทำให้เราเห็น...ความคาดหวัง...และการไม่เป็นไปตามที่คาด...
ซึ่งก็มี เป็นไปเกินคาด...ก็มี เมื่อผ่านสิ่งหนึ่งก็จะเจออีกสิ่งมาวัดใจ...
วัดใจ...อย่างไร...

การศึกษาภายใน มันเป็นภาระกิจที่เราจะต้องคิดและทำในแง่ที่สวนทางกับภาระกิจทางโลกนะ...
เอกอน...เห็นทางเช่นนั้น...
ธรรมของพระพุทธองค์เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อการคลายกำหนัด เพื่อละ เพื่อวาง...
ดังนั้น...เมื่อจะศึกษาวิถีแห่งโลกภายใน...
ก็วางอุปนิสัยพื่นฐานการคิด และการมองทางโลก...ไว้ข้างนอกซะ...

ดังนั้นเมื่อนั่งสมาธิแล้วพบว่าไม่นิ่ง
เอกอนจะตั้งจิตไว้ ว่าเวลานี้..นี้..นี้ ตอนที่จะทำสมาธิ...
เอกอนจะขอมอบเวลานี้ให้กับการตามลมหายใจ...คือ..สละเวลานี้ให้กับเขา
มันเป็นอุบายที่เอกอนใช้ได้ดี...คือ...
มันเหมือนกับว่าเราขอสละเวลานี้ให้กับการที่เราจะใส่ใจเขา... :b1:
ซึ่งมันจะทำให้เรา...มองเขา...ไม่นิ่งด้วยอารมณ์ที่ผ่อนคลาย...
เหมือนนั่งมองเด็กน้อยกำลังขยุกขยิกอะไรของเขาไป...
เราต้องยอมรับว่า เราอยู่กับเขามาตลอดชีวิต...แต่เราก็ละเลยเขามาชั่วชีวิตนะ...
เรารู้จักแต่เรา...แต่เราไม่เคยรู้จักเขาเลย...
เราจึงต้องพบกับความรู้สึกในชีวิตเหมือนกับคนที่พร่องอยู่เสมอ...
เติมเท่าไรก็ไม่เต็ม ขาด ๆ เกิน ๆ
แค่...สละเวลาสักวันละนิด...วันละหน่อย...ให้เขาบ้าง...
วาง...ก็คล้าย ๆ กับเด็กมาชวนเราเล่น...ครู-นักเรียน...
และ...เชื่อสิ่...เด็กมันจะต้องเป็นครู...ทุกที...

...55555....


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 01 ต.ค. 2010, 09:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นเหมือนกัน ล่ะ ครับ...
แต่ถึงได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย
เก็บสะสม หน่วยกิจ ที่ได้เล็กๆ น้อยๆ เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ครับ
ความศรัทธา ฉันทะความพอใจ ความมีกำลังใจ
อย่าเพิ่งไปอยากได้ อยากมี อยากได้สมาธิ ควาสงบไว...ๆ
แม้จะวัน สองวัน เดือนสองเดือน ปี..หรือ หลายๆ ปี
มันจะต้องได้เพิ่มขึ้นมาบ้างล่ะครับ กระผมก็คิดอย่างนี้
ปล่อยตาม สบายไปเรื่อยๆ ครับ ขอเป็นกำลังใจ ในความเพียรพยายาม ครับ
เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 11:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นับหนึ่งใหม่ ครับ

:b16:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ไม่มีสมาธิเพราะในหัวมีอะไรหลายอย่างผ่านเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งเรื่องนี้มันเป็นเรื่องปกติของคนทั่วไปที่ใจยังคงมีกิเลส การจะฝึกสมาธิในเบื้องต้นก็ต้องพยายามกำหนดเพ่งไปที่ใดที่หนึ่ง ที่แนะนำคือเพ่งที่ลมหายใจของตัวเองนั่นแหละค่ะ เมื่อความคิดแว้บเข้ามาก็รู้ตัวแล้วดึงความคิดไปอยู่ที่ลมหายใจ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆเป็นการสร้างกำลังให้จิต เมื่อจิตมีกำลังแล้วสมาธิจะค่อยๆเป็นไปเองในที่นี้หมายถึงจิตนิ่ง จิตนิ่งทั้งที่มีกระแสความคิดไหลผ่านสมองเราก็พิจารณา นั่นแหละค่ะวิธีทำวิปัสสนาสมาธิที่เริ่มจากการทำสมถสมาธิก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณไม่มีสมาธิ

ต้องออกตัวว่าความรู้ทางด้านปริยัติ น้อยมากค่ะ แต่จะอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติมาแนะนำ
สู่กันนะคะ ก่อนอื่นควรจะต้องถือศีล 5 ให้ได้ก่อนค่ะ ในแต่ละวันให้พิจารณาว่าศีลของเราคุมถึงใจ
ไหม ด่างพร้อยหรือไม่ คุมถึงใจหมายถึง ไม่ได้ถือแค่ปาก แต่คุมเข้าถึงใจ เช่นคุณไม่ฆ่าสัตว์
เพราะคุณมีจิตเมตตาต่อเขา เป็นต้น จะทำให้คุณมีสติอยู่เนือง ๆ ว่าคุณจะรักษาศีล ระมัดระวังตัว
มิให้ล่วงละเมิดศีล ในแต่ละวัน ความฟุ้งซ่านจะลดลง และก่อนนั่งสมาธิ ให้สวดมนต์ก่อนค่ะ การ
สวดมนต์ ให้กำหนดจิตไว้ที่ลิ้นปี่ จะทำให้จิตไม่ฟุ้ง จิตจะเข้าสู่สมาธิขึ้นเรื่อย ๆ หลังสวดมนต์เสร็จ
จะเดินจงกรมก่อนหรือนั่งสมาธิเลยก็ได้ แล้วแต่ความถนัดค่ะ ชอบแบบไหนทำแบบนั้น ทำอย่างนี้
ให้ได้ในทุกๆ วัน คุณจะเข้าถึงสมาธิตั้งมั่นได้เอง และที่สำคัญต้องกำจัดความอยาก..อยากเป็น
สมาธิเร็ว ๆ คุณจะเข้าไม่ถึงสมาธิหรอก เพราะความอยากคือ ตัณหา...ตัวนึง

:b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 01:43
โพสต์: 3

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ อย่างน้อยตอนอ่านข้อเสนอแนะของพวกท่าน ผมก็มีสมาธิมากเลยครับ

ขอบคุณจริงๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งแต่วันที่เราเกิดมาถึงวันนี้ อายุก็มากๆแล้วส่วนใหญ่เกิน 20 ปี แล้วที่ผ่านมาก็ฟุ้งซ่านตลอด 20 ปี

ฯลฯ แต่ไม่รู้ เพราะไม่เคยสังเกต

ครั้นคิดได้เริ่มฝึกสมาธิได้หน่อยไม่กี่ชั่วโมงเอง ก็ต้องการให้จิตเป็นสมาธิดังใจต้องการสะแล้ว

มันไม่ง่ายนักหรอกครับ ต้องใช้ความอดทนมากที่เดียวแหละ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 55#msg4155

แล้วก็มิใช่ท่านั่งอย่างเดียว ในชีวิตประจำวัน ยืน เดิน นั่ง กิน ดื่ม ทำ คิด ฯลฯ ก็ใช้งานนั้นการกระทำ

นั้นๆเป็นฐานเจริญสมาธิเป็นต้นได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตชอบคิด ก็ให้คิดอยู่ในกรอบของกรรมฐาน เช่น พุทธานุสติ ระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมานุสติ
สังฆานุสติ สีลานุสติ หรือเลือกธรรมหมวดหนึ่งหมวดใดที่ตนชอบใจเป็นพิเศษ ในกรรมฐาน ๔๐

เมื่อจิตคิดอยู่ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเฉพาะ เรียกว่าจิตมีสมาธิ ถ้าทำได้ดังนี้
ไม่นานจิตก็จะเป็นหนึ่ง เป็นเอคตารมณ์ เป็นอัปปนาสมาธิ

ได้ผลจริง ๆ นะ ขอบอก :b4: :b16:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ต.ค. 2010, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อดทน อดทน และก้อดทน
ใจเย็น ใจเย็น และก้ใจเย็น

ผมพุดง่ายดีไม๊ครับ
เอาละจะอธิบายเพิ่มก้คือ

อดทนที่ว่าคืออดทนต่อความวอกแวกและวุ่นวาย อดทนต่อสิ่งที่แล้วเปนทุกข์ หรืออดทนต่อความ
อยากที่จะให้จิตนิ่งแต่มันไม่นิ่งสักกะที

ส่วนใจเย็นก้คือมาจากอดทนจะอดทนได้มันต้องใจเย็น ใจเย็นได้ก้เพราะอดทนน่าจะเปนอย่างนั้น

สำคัญคือความใจเย็น จะทำให้จิตนิ่งได้เร็วสู่สภาวะจิตสงบได้ดีที่สุด เพราะใจเย็นเมื่อทำได้จะนึกอะไร
ก้นึกได้ จะทำอะไรก้คล่อง ภาวนาก้ง่ายขึ้น เปนที่รวมของสติกับสัมปชัญญะ พอสติมาเท่านั้นและเด่ว
สมาธิก้จะตามมาเป้นเพื่อน เท่านี้แหละความสงบเกิดขึ้นแล้วโดยไม่ต้องออกแรง :b40: :b40:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:34
โพสต์: 173

ชื่อเล่น: เจ้ก
อายุ: 23

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช้แล้วครับ ผมก็เป็นเหมือนกัน ปกติเราต้องทำงานมาทั่งวัน แล้วจู่ๆจะมมนั่งสิบ นาที หรือยี่สิบนาที
มันเป็นไปได้ยากครับ ที่จะได้สมาธิเลย แต่ก็อย่างที่ว่านั้นแหละครับ ถึงเราดูเหมือนไม่ก้าวหน้าหรือไม่มีสมาธิ เราก็ไม่ต้องไปเครียดกับมันครับ ทำไปเรื่อยๆดูไปเรื่อยๆครับ สิ่งเหล่านี้สำหรับบางคนบางท่านต้องใช้เวลาครับ บางท่านที่นั้งแล้วได้สมาธิ หรือเกิดนิมิตต่างๆนั้นท่านเหล่านั้นอาจจะสะสมมาแต่ชาติปางก่อน จึงได้สมาธิเร็วหน่อย แต่สำหรับเราอาจจะพึ่งเริ่มพึ่งเก็บสะสมหน่วยกิจ จึงนั้งแล้วไม่ค่อยได้อะไร แต่ก็ถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว จึงควรที่จะทำต่อไปเมื่อเวลาหรือโอกาสเหมาะสม จะไปหวังให้มันประสบความสำเร็จเลยไม่ได้หรอครับ นี้เป็นความคิดส่วนตัวของผม ที่จะเป็นกลอุบายของตัวเองที่จะทำให้ตัวเองมีความเพียร หรือไม่ทำให้ตัวเองท้อ ครับ เพราะคิดว่าตัวเองก็เหมือนปฎิบัติไม่ก้าวหน้าเช่นกันครับ แต่ก็ยังที่จะปฎิบัติ เพราะว่ามีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ศรัทธาคือสิ่งสำคัญครับ ที่จะเป็นสิ่งที่ยึดเหยี่ยวจิตใจของเราใหอยู่ในทำนองคลองธรรม สรุปคือ ปฎิบัติไปเรื่อยเถอะครับ แล้วจงจงมั่นใจว่าตัวเองได้ทำดีแล้ว ถูกทางแล้ว แล้วท่านจะมีกำลังใจปฎิบัติต่อไป ส่วนสิ่งที่ว่าเป็นสมาธิ หรือ นิมิตต่าง ถือเป็นกำไลก็ได้ครับ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็ไม่เป็นรั้ย ....สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความเห็นส่วนตัวทั่งนั้นน่ะครับ ผิดถูกอย่างไรก็ขอคำชี้แนนะจากผู้รู้ทุกท่านด้วยครับ smiley

.....................................................
จะขอเป็นแก้วน้ำที่ว่างเปล่า..เพื่อเติมเต็มธรรมที่ขาดหาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2010, 13:40
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกสมาธิเปรียบเหมือนการฝึกว่ายน้ำ ต้องมีหลักไว้เกาะพุ่งตัวข้ามไปข้ามมา จากใกล้ๆค่อยไกลออก ฝึกบ่อยๆจนลอยตัวได้ ไม่ต้องพึ่งหลัก หัดว่ายตามน้ำจนกล้าแข็ง ต่อไปก็ฝึกว่ายทวนน้ำให้ช่ำชอง มีพละกำลังกล้าแข็ง คราวนี้ก็จะอยู่กับแม่น้ำอย่างมีความสุข หากินกับแม่น้ำได้ ไม่จมน้ำตาย นี่คือธรรมะง่ายๆของพระพุทธเจ้า หลักที่เกาะคืออะไรคืออุปาทาน หรือจินตนาการหรือนิมิตแล้วแต่จะหาเอา ที่เราสร้างขึ้นที่เขาเรียกการเพ็งกองกสิน เป็นหลักเกาะให้หายเหนื่อยแล้วเข้าฝั่ง ฝึกบ่อยๆทำบ่อยจนเข้าออกสะดวก เข้าใจไปตามธรรมชาติของจิตของร่างกาย มองเห็นทุกข์ในกายสุขในกายยกขึ้นพิจารณา เหตุที่มาแห่งทุกข์ ความเป็นอยู่ของทุกข์ ทุกข์ดับเกิดสุข หมุนเวียนเปลี่ยนไปเป็นอนิจจัง เป็นไปเช่นนั้น เป็นธรรมดา เป็นเรื่องเบาๆ เอาสติใหลตามจิตมันไป สังเกตุบ่อยๆจิตมันทำอะไร มันคิดอะไร ซุกซนขนาดไหน เหมือนเด็กซน ค่อยๆจับเขามาสอน ให้นั่งนิ่งๆ เอาพระธรรมที่พระพุทธที่บดย่อยมาดีแล้ว ค่อยๆป้อนค่อยๆสอน สักพักก็ต้องปล่อยให้เขาไปเล่นต่อ ทำบ่อยๆจนจิตเข้าใจธรรมชาติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ จะเข้าสู่จิตที่เป็นเอก ขันธ์ห้ายังอยู่ครบ กิเลสตัณหาราคะอยู่ครบไม่สูญหาย แต่จิตอยู่เหนือกิเลสตัณหาราคะที่ดุร้ายดั่งอสรพิษ จับมันเล่นได้อย่างไม่ต้องกลัวโดนกัด เหมือนคนเลี้ยงงูที่เข้าใจธรรมชาติของงู นำมาเลื่อยบนคอดั่งเทพศิวะพระนารายณ์ อยู่กับมันจนต่างคนต่างเบื่อ ก็ต่างคนต่างอยู่ ไม่เกี่ยวข้องกัน วางขันธ์เข้าสู่สภาวะบรมสุขทุกข์เบาบาง จากนี้ก็จะติดสุขหรือไม่ก็สุดแล้วแต่เจ้าตัว ถ้าเบื่อสุขก็ทิ้งสุขทุกข์ไม่มี หมดห่วงพันธนาการสู่ความว่างหมดภาระทางจิต มีก็ยินดี ไม่มีก็ยินดี ร้อนก็ยินดี หนาวก็ยินดี เข้าใจแก่นแท้ของพระธรรมคำสั่งสอน รู้แจ้งแทงตลอด ไม่ร้อนรนอีกต่อไป ก็ต้องนำสิ่งนี้ไปบอกต่อ นำวิญญาณทั้งหลายมารู้จักทางสายนี้จนกว่าละสังขาร ส่วนจะไปถึงขั้นไหนอย่างไรเป็นเรื่องของธรรมชาติที่จะกำหนด ชี้นำไม่ได้ แก้ไขดัดแปลงไม่ได้ พระพุทธเจ้ายังไม่เคยบอกเลย หลังจากดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วไปอยู่ที่ไหน ธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่ขนาดที่พระพุทธเจ้าบรมครูสูงสุดยังให้ความเคารพและสอนเราให้เคารพเช่นกัน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2010, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนตัวเห็นว่าการรักษาศีลและคอยรู้สึกตัวในชีวิตประจำวันจะทำให้จิตสงบได้ดีขึ้นค่ะ

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 17:16
โพสต์: 177

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




สวัสดีคะ อยากให้กำลังใจ ทุกคนที่นั่งสมาธิจะเป็นเหมือนกันคะ แต่ให้คิดพิจารณาตามหลักไตรลักษณ์
คะ ว่ามันไม่เที่ยง สมาธิเราก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวนิ่ง เดี๋ยวไม่นิ่ง เดี๋ยวฟุ้งซ่านทำใจคะ ขยายเวลานั่งซักหน่อยมั้ยคะ ก่อนนั่งกำหนดจิตว่าเราจะตามรู้ ทุกอารมณ์ ขณะนั่ง จิตเราเบาสบายแล้วค่อยนั่ง อย่าเพ่งและก็อย่าอยากได้ อยากมี อยากเห็นอะไร นอกจากจะตามรู้ แล้วพยายามมีสติ(ระลึกรู้ กายและใจ) ให้ได้ตลอดเวลาคะ พยายามฝึกนะคะ เรานั่งสมาธิไม่ได้อยากให้สงบจนติดนิ่งกับความสงบ หรือพอใจกับปิตินั้น แต่เราควรยึดหลักวิปัสสนาว่า สติทำให้เกิดสมาธิ สามธิทำให้เกิดปัญญา แล้วนำปัญญาพิจารณารูปกายและใจตามหลักไตรลักษณ์คะ โดยกำหนดรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับกายใจเท่านั้น อย่าส่งออกคะ tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2010, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ ข้อมูลจาก Google
ลำดับขั้นของจิต


*** ขอย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และเกี่ยวข้องโดยตรงในชีวิตประจำวันของทุกๆ ท่าน ในตารางจะมีศัพท์บางคำที่อาจจะยากสำหรับบางท่าน แต่ก็จะมีคำอธิบายรายละเอียดในช่องด้านขวา ซึ่งทางผู้ดำเนินการได้พยายามทำให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดแล้ว ขอให้ท่านพยายามอ่าน และทำความเข้าใจให้จบทั้งเรื่อง แล้วท่านจะได้ประโยชน์ ทั้งในการใช้ในชีวิตประจำวัน และในการศึกษาธรรมของพระพุทธศาสนาต่อไป ***

จิตของคนแต่ละคนในแต่ละขณะนั้น จะมีความประณีตแตกต่างกันไปตามสภาวะของจิตในขณะนั้น ซึ่งพอจะเรียงลำดับของสภาวะจิต จากที่มีความประณีตมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คือมีความสุข เบาสบายที่สุดไปหาจิตที่มีความทุกข์มากที่สุด หรือเย็นที่สุดไปหาร้อนที่สุด ได้ดังตารางข้างล่างนี้


หมายเหตุ การดูตารางขอให้ดูที่คอลัมน์ซ้ายสุดก่อน โดยดูไล่ลงไปตามแนวตั้งจนสุดตาราง จากนั้นจึงดูในคอลัมน์ที่สองไล่ลงไปจนสุดตารางเช่นกัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนถึงคอลัมน์ขวาสุด เพื่อให้เห็นภาพรวมก่อน แล้วจึงดูรายละเอียดไปทีละขั้น จากนั้นจึงกลับมาดูภาพรวมซ้ำอีกครั้ง จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น




--------------------------------------------------------------------------------


ตารางแสดงลำดับขั้นของจิต


จิตที่เย็นที่สุด
โลกุตตรจิต

(จิตที่เหนือโลก)
อรหัตตมรรค / อรหัตตผล (พระอรหันต์)
อนาคามิมรรค / อนาคามิผล (อนาคามีบุคคล)
สกทาคามิมรรค / สกทาคามิผล (สกทาคามีบุคคล)
โสดาปัตติมรรค / โสดาปัตติผล (โสดาบัน)
สมาธิขั้นฌาน อรูปฌาน

4 ขั้น
เนวสัญญานาสัญญายตนะ
อากิญจัญญายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ
อากาสานัญจายตนะ
รูปฌาน

4 หรือ 5 ขั้น
(ปัญจมฌาน - ฌานที่ 5)
จตุตถฌาน - ฌานที่ 4
ตติยฌาน - ฌานที่ 3
ทุติยฌาน - ฌานที่ 2
ปฐมฌาน - ฌานที่ 1
มหากุศลจิต วิปัสสนาปัญญาขั้นต้น สามารถปล่อยวางได้ชั่วคราว แต่ยังไม่ถึงขั้นมรรค/ผล
สมาธิขั้นอุปจาระ สมาธิขั้นเกือบถึงฌาน คือจิตสงบประณีตมากแล้ว แต่ยังไม่ตั้งมั่นได้นานตามต้องการ
สมาธิขั้นขณิกะ สมาธิขั้นต้น สงบเป็นพักๆ จิตเริ่มประณีต
มหากุศลขั้นพื้นฐาน เกิดจากการให้ทาน รักษาศีล ความศรัทธา หิริ โอตตัปปะ
ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ธรรมปิติ
อเหตุกจิต คือจิตที่เป็นกลางๆ ไม่มีทั้งกุศลเหตุและอกุศลเหตุ คือไม่มีทั้งโลภะ(ความโลภ) โทสะ(ความโกรธ) โมหะ(ความหลง-ไม่รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง)
และไม่มีอโลภะ(การสละ) อโทสะ(เมตตา) อโมหะ(วิปัสสนาปัญญา)
อกุศลจิต โมหมูลจิต

(จิตที่มีโมหะเป็นมูลเหตุ)
อกุศลจิตที่มีแต่โมหะ(ความหลง)ล้วนๆ โดยไม่มีโลภะหรือโทสะเจือปน เพียงแต่ทำให้เกิดความลังเลสงสัย หรือฟุ้งซ่านขาดสติเท่านั้น
โลภมูลจิต

(จิตที่มีโลภะเป็นมูลเหตุ)
ขั้นอ่อน ความเพลิดเพลินยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ความยึดมั่นแบบอ่อนๆ ความเพลิดเพลินในสมาธิ ความถือตัวแบบอ่อนๆ
ขั้นกลาง ความอยากได้ในสิ่งที่ถูกทำนองคลองธรรม ความอยากได้ในสิ่งที่ไม่ถูกทำนองคลองธรรม แต่ยังห้ามใจไว้ได้
ความยึดมั่นขั้นกลาง ความถือตัวขั้นกลาง
ขั้นรุนแรง ความอยากได้อย่างแรงกล้าจนห้ามใจไม่อยู่ ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาแม้ผิดศีลธรรม ความยึดมั่นอย่างรุนแรง
ความถือตัวอย่างรุนแรง
โทสมูลจิต

(จิตที่มีโทสะเป็นมูลเหตุ)
ขั้นอ่อน ความเหงา ความกลัว ความระแวง ความอิจฉาเล็กน้อย ความกังวลใจ ความขัดแย้งในใจ ความรำคาญใจ ไม่สบายใจ เศร้าโศกเสียใจไม่มาก ขัดเคืองใจ หงุดหงิด เครียด ความหมั่นไส้ อึดอัดใจ น้อยใจ มองโลกในแง่ร้าย
ขั้นกลาง ความกลัวอย่างมาก ความอิจฉาอย่างมาก กังวลใจมาก เครียดจัด ความโกรธแต่ยังพอห้ามใจได้บ้าง ความเสียใจอย่างมาก
ขั้นรุนแรง โกรธจัดจนห้ามใจไม่อยู่ ต้องแสดงออกทางกาย/วาจา อาจถึงขั้นทำร้ายผู้อื่น ความอาฆาตแค้น ความพยาบาท จองเวร
จิตที่ร้อนที่สุด

*** เรื่องโลกุตตรจิตขอให้ดูในเรื่องอริยบุคคล 8 ประเภท ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ
*** เรื่องสมาธิขั้นฌานนั้น ในช่องด้านขวาจะเป็นชื่อของฌานขั้นต่างๆ ซึ่งมีความประณีตของจิตสูงขึ้นไปตามลำดับ สำหรับคนทั่วๆ ไปแล้ว อาจจะยังไม่จำเป็นต้องรู้ลึกในรายละเอียด ท่านที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ในเรื่องสัญโยชน์ 10 ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) (รวมถึงเรื่องอื่นๆ ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ))


จิตในสภาวะต่างๆ นั้น เปรียบเหมือนน้ำที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน จิตที่ยิ่งประณีตมาก (อยู่ด้านบนของตาราง) ก็เหมือนน้ำที่เย็นมากและสงบนิ่งมาก ส่วนโทสะ (ความโกรธ) ก็เหมือนน้ำที่กำลังเดือดพล่านกลายเป็นไอ ทั้งร้อนทั้งปั่นป่วนไปหมด






การที่น้ำจะเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิสูงไปต่ำ หรือจากอุณหภูมิต่ำไปสูง ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับอุณหภูมิ เช่น 25 ํc เป็น 24 ํc เป็น 23 ํ c ...... 2 ํc เป็น 1 ํc เป็น 0 ํc ตามลำดับ ไม่ใช่อยู่ๆ ก็กระโดดจาก 25 ํc ไปเป็น 0 ํc ได้เลย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นกับปริมาณความร้อน/เย็นที่มากระทำด้วย ถ้ามีการกระทำอย่างรุนแรง ก็ย่อมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วตามไปด้วย


จิตก็เช่นกัน การที่จิตจะประณีตมากขึ้นหรือน้อยลง ก็จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้น เช่น คนที่กำลังอยู่ในความโกรธนั้น จะทำสมาธิให้เกิดขึ้นในทันทีก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ ต้องค่อยๆ ปรับจิตไปเรื่อยๆ จนจิตประณีตพอแล้วสมาธิจึงจะเกิดขึ้น


น้ำที่ 60 ํc ย่อมเดือดได้ง่ายกว่าน้ำที่ 10 ํc คือใช้เวลาและความร้อนไม่มากก็เดือดได้แล้ว
จิตที่อยู่ในระดับมหากุศลขั้นพื้นฐาน ย่อมโกรธได้ง่ายกว่าจิตที่อยู่ในระดับสมาธิและวิปัสสนาเช่นกัน คือใช้เวลาและเหตุปัจจัยที่รุนแรงน้อยกว่าก็โกรธได้แล้ว


น้ำที่ 10 ํc ย่อมเป็นน้ำแข็งได้ง่ายกว่าน้ำที่ 60 ํc คือใช้เวลาและความเย็นน้อยกว่า ก็เป็นน้ำแข็งแล้ว
จิตที่อยู่ในระดับสมาธิและวิปัสสนาขั้นต้น ย่อมทำสมาธิขั้นสูงและวิปัสสนาขั้นสูงขึ้นไป ได้ง่ายกว่าจิตที่อยู่ในระดับมหากุศลขั้นพื้นฐานเช่นกัน


นี่คือเหตุผลว่าทำไมคนที่ไม่ค่อยทำสมาธิ ไม่ค่อยกำหนดสติ (เจริญวิปัสสนา) จิตใจถึงได้เร่าร้อนได้ง่ายกว่าคนที่ทำสมาธิหรือกำหนดสติอยู่เป็นประจำ ขณะเดียวกันคนที่ไม่ค่อยทำสมาธิ ไม่ค่อยกำหนดสติ ก็จะทำสมาธิได้ยากกว่าด้วย



และการที่บางคนทำสมาธิได้ยาก แต่บางคนกลับทำได้ง่ายกว่า ก็เป็นเพราะแต่ละคนมีพื้นฐานของจิตใจที่แตกต่างกัน คือมีความประณีตของจิตโดยส่วนใหญ่ ที่แตกต่างกันนั่นเอง


การที่คนเราจะรู้สึกเป็นสุขขึ้นมานั้น ก็เป็นเพราะจิตของเขาในขณะนั้น มีความประณีตสูงขึ้นกว่าสภาวะจิตที่เป็นพื้นฐาน หรือมีความประณีตสูงขึ้นกว่าสภาวะจิตที่เป็นปรกติธรรมดาของเขานั่นเอง เช่น คนที่มีชีวิตอยู่ในสังคมทั่วไปนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วในชีวิตประจำวันจะถูกความโลภขั้นกลาง หรือโทสะขั้นอ่อนครอบงำอยู่เป็นประจำ (ดูรายละเอียดของสภาพจิตแต่ละชนิด ในตารางข้างบนประกอบ) ดังนั้นเมื่อได้ดูหนัง ฟังเพลง เต้นรำ ฯลฯ (โลภะขั้นอ่อนทั้งหลาย) ซึ่งจะทำให้จิตประณีตขึ้นกว่าในสภาวะปรกติ ก็จะทำให้รู้สึกว่ามีความสุขขึ้นมาได้

ดังนั้น การดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งถึงแม้จะเป็นกิเลสก็ไม่ใช่จะมีผลเสียเสมอไป เพราะอย่างน้อยก็ทำให้จิตประณีตขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ควรควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีสติรักษาตัวได้


แต่การที่คนบางคน เมื่อได้ทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นแล้วรู้สึกว่ามีความสุขนั้น เป็นเพราะว่าพื้นฐานจิตใจของเขาอยู่ในขั้นโทสมูลจิตขั้นรุนแรงที่รุนแรงกว่านั้นนั่นเอง เมื่อเขาสามารถเบี่ยงเบนความสนใจของตนเองไปสู่สภาวะที่มีความรุนแรงน้อยลงได้ หรือสามารถทำให้ความรุนแรงนั้นผ่อนคลายลงได้ จึงทำให้รู้สึกเป็นสุขขึ้นมาได้


คนที่ฉลาดในการพัฒนาจิต จะต้องคอยสังเกต/สำรวจจิตของตนอยู่เสมอ ว่าตอนนี้จิตของตนอยู่ในขั้นไหน ดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร






ถ้าจะให้ดี อย่างน้อยที่สุดควรพิจารณาจิตของตนเองก่อนนอนทุกคืน ว่าวันนี้ทั้งวันจิตอยู่ในสภาพไหนบ้าง เพราะถ้ายิ่งรู้ทันจิตได้เร็วเท่าไหร่ โอกาสที่จิตจะถอยหลังลงไป ก็จะน้อยลงเท่านั้น ถ้าพลาดพลั้งไปก็จะแก้ไขได้โดยง่าย เพราะจิตยังไม่กระด้างเกินไป
ถ้าจะให้ดีที่สุดก็คือ ต้องฝึกให้มีสติรู้เท่าทันจิตอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้ประคับประคองจิต ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เป็นภูมิคุ้มกันจิตให้ตกไปอยู่ในสภาพที่ไม่ดีได้ยากขึ้น และยังเป็นการเจริญวิปัสสนา คือศึกษาธรรมชาติของจิตไปพร้อมกันด้วย และเมื่อมีโอกาสที่จะพัฒนาจิตได้มากเป็นพิเศษ เช่น การสมาทานอุโบสถศีล (ศีล8) การทำสมาธิ การเจริญวิปัสสนาอย่างเข้มข้น ก็จะไม่ปล่อยให้โอกาสนั้นผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์เลย แม้ในชีวิตประจำวันตามปรกติ ก็จะพยายามจัดเวลาให้กับการทำสมาธิ และวิปัสสนาอยู่เป็นประจำ มากบ้างน้อยบ้างตามที่จะทำได้


ทั้งนี้ก็เพื่อจะทำสภาพที่เป็นปรกติของจิตของตนเองให้ประณีตที่สุด คือเพื่อให้จิตอยู่ในสภาพที่ประณีตที่สุดเป็นปรกตินั่นเอง ซึ่งจะส่งผลให้จิตแปรปรวนไปสู่สภาพที่หยาบกว่า หรือร้อนกว่าได้ยากขึ้น และสามารถพัฒนาจิตให้สูงขึ้น ประณีตขึ้นได้โดยง่าย


ตัวอย่างของการปรับสภาพจิต เช่นการแก้ความโกรธโดยการแผ่เมตตาให้แก่คนที่เราโกรธนั้น ก็เพื่อเป็นการปรับสภาพจิตให้ประณีตขึ้นโดยเร็ว คือจากโทสะเป็นเมตตา ซึ่งเป็นสภาวะของจิตที่ตรงข้ามกัน ระหว่างร้อนกับเย็น ซึ่งถ้าสามารถแผ่เมตตาให้กับคนนั้นได้อย่างสนิทใจ โทสะก็จะหายไป และจิตก็จะประณีตขึ้นมาก
แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ในทันที ก็อาจใช้การพิจารณาเพื่อข่มความโกรธเอาไว้ (ดูวิธีแก้ความโกรธ/พยาปาทะ ในเรื่องนิวรณ์ 5 และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ประกอบ) แล้วก็แผ่เมตตาให้กับตัวเองและสรรพสัตว์ทั่วๆ ไปก่อน เพื่อให้จิตเย็นขึ้น แล้วจึงค่อยๆ แผ่ให้กับคนที่เราโกรธก็ได้ ต้องฝืนใจยังไงก็คงต้องพยายามฝึกเอาไว้
ถ้ายังไม่ไหวอีก ก็พิจารณาว่าที่เราแผ่ให้นั้น จริงๆ แล้วก็เพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง คือเพื่อปรับสภาพจิตของเราให้ดีขึ้น จะได้พ้นทุกข์จากไฟโทสะ ไม่ใช่เพื่อคนที่เราโกรธสักหน่อย


ลองคิดดูเถิดว่าจะมีความปลาบปลื้มใจเพียงใด ถ้าวันหนึ่งข้างหน้า สามารถแผ่เมตตาให้กับคนที่เราโกรธได้อย่างจริงใจ และสนิทใจเหมือนแผ่ให้กับตนเอง อยากให้ตัวเรามีความสุขเช่นไร ก็ปรารถนาให้ผู้ที่เราโกรธมีความสุขเช่นนั้น โดยไม่รู้สึกขัดแย้งในใจเลยแม้แต่นิดเดียว ถึงวันนั้นก็จะเป็นคนที่ไม่มีศัตรูเลย คือใครจะโกรธ จะเป็นศัตรูกับเราก็เป็นเรื่องของเขา แต่เราจะไม่เป็นศัตรูกับใครเลย มีแต่ความเมตตาให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายอย่างเสมอกันหมด ด้วยความจริงใจ

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 102 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร