วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตประภัสสร กับ จิตบริสุทธิ์ ความหมายเดียวกันหรือเปล่าค่ะ สาธุคะ :b4: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2010, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิตประภัสสร มีผู้อธิบายตามอรรถกถา ว่าคือ ภวังคจิต
ต่อมา เมื่อมีผู้แย้งเรื่องภวังคจิต
ว่า ภวังคจิต ของพระพุทธเจ้าน้อยกว่าคนธรรมดามาก จิตประภัสสรท่านก็ต้องน้อยตามไปด้วย
ล่าสุด จิตประภัสสร พบในที่บางแห่ง ว่าคือ กุศลจิตด้วย

แต่ผมขอว่าเองว่า... (ซึ่งย่อมไม่มีใครใส่ใจหรือให้ความสำคัญ)

จิตประภัสสรคือ จิตที่ไม่มีกิเลส(หรือมีกิเลสเบาบาง ก็ได้ เอ๊า)

ก็สรุป เอาจากคำที่ว่า

เดิมจิตผ่องแผ้ว แต่เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา

สรุปแบบผม ทำให้พระอรหันต์ มีจิตประภัสสร มากกว่าคนธรรมดา อักโขเลย

แต่ใครจะฟังผมล่ะ ในเมื่อ ผมค้านกับอรรถกถา และเหล่าอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย
และลูกศิษย์ลูกหา เหล่านั้น ผู้ซึ่งศึกษาตามๆ กันมา

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 00:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
cool

สวัสดีครับ คุณจันทร์เจ้าขา :b16: :b22: :b22:

ขอเข้ามาร่วมแสดงความเห็นด้วยครับ :b1: :b1: :b1:


พระพุทธองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผ่องใส (ประภัสสร) แต่ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมองแล้ว ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิตภาวนา”
(องฺ.เอก. ๕๐/๑/๒๐)

นั่นคือ จิตถูกย้อม ห่อหุ้มไว้ด้วยอำนาจของความโลภ โกรธ หลง (อุปกิเลสที่ทำให้จิตมัวหมองนั้นมี ๑๖ ข้อ คือ ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ๒. พยาบาท ๓. โกธะ ๔. อุปนาหะ ๕. มักขะ ๖. ปลาสะ ๗. อิสสา ๘. มัจฉริยะ ๙. มายา ๑๐. สาเถยยะ ๑๑. ถัมภะ ๑๒. สารัมภะ ๑๓. มานะ ๑๔. อติมานะ ๑๕. มทะ ๑๖. ปมาทะ) ที่จรแฝงซ่อนเร้นมากับความคิด ทำให้จิตหม่นหมองไปและบดบังความประภัสสรผ่องใส ซึ่งเป็นธรรมชาติพื้นฐานของจิตธรรมดา ๆ ที่ไม่มัวหมอง (แต่เป็นจิตที่ยังไม่หลุดพ้น ไม่ใช่จิตบริสุทธิ์) อุปกิเลสเหล่านี้เป็นเพียงแขก อาคันตุกะ ที่จรเข้ามาเยือน ทำให้จิตเศร้าหมอง ไม่ประภัสสรตามธรรมชาติที่มีมาแต่เดิม หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้อธิบายว่า โดยธรรมชาติของจิตดั้งเดิมเป็นธรรมชาติประภัสสร แต่อย่าไปเข้าใจว่าจิตประภัสสรคือจิตหมดกิเลสถึงพระนิพพาน ไม่ใช่อย่างนั้น มันเป็นจิตสะอาด เพียงแค่สะอาด ไม่ถึงความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง...

คำว่าประภัสสร พระธรรมวิสุทธิกวี ได้อธิบายความว่า ไม่ได้หมายถึงบริสุทธิ์ แต่หมายถึงผ่องใส ท่านเปรียบจิตประภัสสรว่าเป็น “ภวังคจิต” คือ จิตที่อยู่ในองค์ของภพ เป็นจิตที่ยังไม่ขึ้นสู่วิถี ผู้ที่ศึกษาคัมภีร์อภิธรรมจะเข้าใจชัดเจนว่า ถ้าจิตขึ้นสู่วิถีท่านเรียกว่า “วิถีจิต” ดังนั้น จิตที่อยู่ในองค์ของภพเรียกว่า “ภวังคจิต” เช่น คนในเวลานอนหลับ ไม่ได้คิด ไม่ได้ฝันอะไร จิตประเภทนี้เป็นภวังคจิต หรือ จิตของทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งยังไม่รับรู้อะไรเลย จิตนั้นเป็นภวังคจิต ซึ่งประภัสสร ผ่องใสอยู่ (ในบางนิกายของพุทธศาสนาเรียกจิตประเภทนี้ว่า “จิตเดิม” แต่อาจารย์ผู้ชำนาญอภิธรรมค้านว่า จิตเดิมไม่มี เพราะจิตเกิดใหม่ตลอดเวลา คือมี อุปาทะ (เกิดขึ้น) ฐิติ (ตั้งอยู่) ภังคะ (ดับไป) เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา) จิตที่ยังไม่เกลือกกลั้วกับอะไร ยังอยู่ในภวังค์ เป็นจิตประภัสสร

ในฝ่ายมหายานถือว่า จิต ทำหน้าที่สั่งสมอารมณ์ เป็นพีชะสั่งสมพฤติกรรมต่าง ๆ ไว้ทั้งดีและชั่ว ในบางนิกายจัดให้จิตเป็นวิญญาณดวงที่ ๘ จิตนี้ก็คือ “อาลยะ” หรือ “อาลยะวิญญาณ” ซึ่งตรงกับ “ภวังคจิต” ในพระอภิธรรมของเถรวาท หรือจิตที่เป็นองค์แห่งภพ ท่านอาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้ให้ความเห็นว่า คำว่าภวังคจิต มีขึ้นในชั้นอภิธรรม แต่ไม่ปรากฎในพระวินัยและพระสูตร แต่คณาจารย์ในชั้นอภิธรรมได้บัญญัติขึ้น โดยอาศัยรากฐานจากประโยคที่กล่าวว่า “ภวปัจจยาชาติ” ในปฏิจจสมุปบาท คือจิตที่เกี่ยวเนื่องกับการเกิดภพ (ภว) ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ

พระพุทธองค์ได้ทรงค้นพบว่า นอกจากจิตจะทำหน้าที่ของความเป็นธาตุรู้ต่ออารมณ์ทั้งปวง ที่ผ่านทางอายตนะทั้ง ๖ แล้ว หากตามดูรู้ทันตนเองด้วยสติ และความรู้สึกตัว ลงที่กาย เวทนา จิต และธรรมารมณ์ ตามที่ปรากฎในตน จิตจะเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง และจะสามารถทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำรวจกลไกการทำงาน ของกายและจิตของตนเองพร้อมกันไปด้วย สามารถเห็นจิตใจของตนเอง เห็นสภาพที่แท้จริงของจิตเองว่าปราศจากอัตตา ไม่มีตัวตนที่แท้จริงแต่อย่างใด เป็นเพียงมายาที่ลอยลวงหลอกล่ออยู่ ปุถุชนผู้ไม่รู้เท่าทันจึงหลงติด เห็นผิด ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา-เขา เป็นอัตตาที่เที่ยงแท้ถาวร และยึดมั่นในตน ต้องการได้มาเป็นของของตน ปุถุชนจึงฝากสุขทุกข์ไว้กับตัณหา และทิฏฐิ แต่โดยสภาพที่แท้จริงแล้ว มันเป็นเพียงขบวนการทำงาน และการประชุมกันของขันธ์ ๕ ที่สร้างมายาขึ้นมาว่ามีอัตตา ตัวตน และยึดมั่นในตนจึงทุกข์ ในพุทธพจน์นี้ประสงค์จะให้มีการอบรมจิตภาวนา เพื่อจะได้เห็นจิตตามความเป็นจริง อันจะก้าวไปสู่การดับทุกข์ได้ในที่สุด ......... ..........


:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ต.ค. 2010, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จันทร์เจ้าขา เขียน:
จิตประภัสสร กับ จิตบริสุทธิ์ ความหมายเดียวกันหรือเปล่าค่ะ สาธุคะ :b4: :b8:

ภวังคจิต หมายถึง อัปปนาสมาธิหรือจตุตถฌาน จิตที่สงบจากนิวรณ์ห้า มีองค์ฌาน คือ เอกัคคตาและอุเบกขา
จิตประภัสสร ผ่องใส่ หมายถึง จิตที่ปราศจากอุปกิเลสละอุปกิเลสได้แต่ยังมีอวิชชาเหลืออยู่ ท่านเรียก จิตเดิม
จิตบริสุทธิ คือ จิตที่ที่อบรมดีแล้ว ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญาและกำจัดอวิชชาออกจากจิตได้หมดสิ้นแล้ว

ท่านอื่นอาจเห็นต่าง ไม่เหมือนกันได้..ขอรับ :b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2010, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีทุกท่านคะ ศรัทธาความเชื่อ ขึ้นอยู่กับปัญญาของแต่ละท่าน
จะชักจูงให้คล้อยตามเรานั้นอยากนัก ขอโมทนานะค่ะ สาธุ

:b8: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue สวัสดีค่ะ คุณจันทร์เจ้าขา

จิตประภัสสร คือ จิตบริสุทธิ์
จิตบริสุทธิ์ คือ จิตที่ไม่มีอะไรเจือปน ทั้งความดีและความชั่ว
ภวังคจิต คือ จิตที่ทำหน้าที่รักษาภพชาติ เป็นจิตที่ยังไม่ขึ้นสู่วิถี

ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 08:34
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่ไม่มี อุปกิเลส ๑๖ กลุ้มรุม คือ จิตประภัสสรผ่องใส
จิตที่ปราศจาก อวิชชากล้มรุม เรียกจิตบริสุทธิ์
:b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จันทร์เจ้าขา เขียน:
จิตประภัสสร กับ จิตบริสุทธิ์ ความหมายเดียวกันหรือเปล่าค่ะ สาธุคะ :b4: :b8:


จิตประภัสสร และจิตบริสุทธิ์ ความหมายต่างกัน อธิบายต่างกัน

จิตประภัสสร อธิบายถึงลักษณะของเนื้อจิตที่ สว่าง แจ่มแจ้ง เหมือนกับแสงสว่างที่ส่องผ่านแผ่นฟิลม์
เนื้อจิตก็คือแสงสว่างที่ส่องไปยังแผ่นฟิลม์ หลังจากแสงนั้นส่องผ่านแผ่นฟิล์มไปแล้ว คุณภาพของแสงจะเป็นอย่างไร ก็แปรเปลี่ยนไปเพราะแผ่นฟิล์ม จึงกล่าวว่า เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา
คุณภาพของแผ่นฟิล์ม ที่เป็นกุศลบ้าง อกุศล บ้าง จึงเป็นปัจจัยทีี่ทำให้ความประภัสสรนั้นมีความสว่างต่างๆ กัน

จิตที่บริสุทธิ์ ก็อธิบายไปอีกลักษณะหนึ่งของจิตในจตุตถฌาน เป็นจิตที่ควรแก่การงาน เพราะไม่มีความหลงรัก หลงชัง เอียงไปกับทุกขเวทนา หรือลอยไปกับสุขเวทนา มีอุเบกขาอยู่ จิตจึงเรียกว่ามีความบริสุทธิ์ อย่างนี้

ผู้ปฏิบัติธรรม ก็พึงทำความเข้าใจในความหมายของบัญญัติต่างๆ เพื่อให้เกิดความบันเทิง รื่นเริงในธรรมอันนำไปสู่ความก้าวหน้าในอธิจิตตสิขาในกาลต่อไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โมทนากับทุกท่านเจ้าข้าา สาธุ :b8: :b4: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ningnong เขียน:
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
cool

สวัสดีครับ คุณจันทร์เจ้าขา :b16: :b22: :b22:

ขอเข้ามาร่วมแสดงความเห็นด้วยครับ :b1: :b1: :b1:


:b41:


อึ๋ยยย... นิ๊งหน่อง... ทำไมต้อง :b22: :b22: ด้วยล่ะ...

:b10: :b10:

หรือเห็น จันทร์เจ้าขา เป็น ขนมไหว้พระจันทร์ :b10: :b10:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 12:27
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ๊ะ ๆ จิงหรือค่ะ จันทร์เจ้าขาไม่ได้สังเกตุ โอ๊..โอ๋..หรือว่าคุณ Ningnong เห็นจันทร์เจ้าขาแล้วจะแปลงร่าง..เป็น Wolfman :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตที่บริสุทธิ์ จะมีความเป็นประภัสสรอยู่ในตัวด้วย

ความบริสุทธิ์ของจิตมีหลายระดับชั้น และในทุกระดับที่ความบริสุทธิ์ของจิตยังทรงตัวอยู่
ในขณะนั้นจิตจะมีความเป็นปภัสสรอยู่ในทีด้วย

ความบริสุทธิ์ของจิตมีหลายระดับ ตั้งแต่บริสุทธิ์อ่อนโยนตามธรรมชาติ
บริสุทธิ์จากนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ไปจนถึงระดับของความบริสุทธิ์จากราคะโทสะโมหะในระดับต่างๆ
ซึ่งสูงสุดแห่งความบริสุทธิ์ก็คือ จิตกลายเป็นวิสุทธิ หรือบริสุทธิ์ในระดับวิสุทธิ


ความประภัสสรของจิตจะแบ่งได้เป็น2ระดับ คือ
ความประภัสสรที่เกิดดับ และพร้อมจะเปลี่ยนเป็นไม่ประภัสสรได้ตลอดเวลา
อีกประเภทคือความประภัสสรที่ไม่เกิดไม่ดับ ไม่กลับกำเริบ เป็นฐานะที่ทรงตัวอยู่
กับจิตที่เป็นเจโตวิมุติ หรือจิตชนิดที่เป็นวิสุทธิ

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้อ่านบทความธรรม ท่านหนึ่ง เอามาโพสต์ไว้ เอามาฝากทุกท่าน เพื่อประกอบการพิจารณาคะ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14881


ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายจิตเดิมนั้นผ่องใส แต่อาศัยกิเลสที่เป็น อาคนฺตุเกหิ กิเลเสหิ กิเลสเข้าจรมา จิตใจจึงมัวหมองท่านว่าอย่างนี้ อ่านไปนี้พวกนักเรียนนี้โต้กันตาดำตาแดง ไอ้เราก็พลอยขึ้นเวทีฟัดกับเขาด้วย ครั้นกลับออกมาก็มีแต่พวกตาบอดทั้งหมด ไม่ได้มีใครได้สาระเป็นที่ระลึกต่อกันเลยนะ

ท่านบอก ดูก่อน ภิกษุทั้งหลายจิตเดิมผ่องใส แต่อาศัยกิเลสที่สัญจรเข้าไปคลุกเคล้ากันแล้วก็แสดงความเศร้าหมองออกมา คือออกมาภายนอก

ทีนี้พวกเรียนทั้งหลาย เมื่อจิตผ่องใสแล้วจะมาเกิดทำไม ผู้ที่ไม่เกิดนั่นคือจิตท่านผ่องใส แล้วจิตผ่องใสมันมาเกิดได้ยังไง ก็อ่านถกเถียงกันนี้ก็ไม่มีใครลงใครแหละ มันไม่รู้ แต่เวลาไปปฏิบัติเข้าละซี นี่ละของจริงเข้าทีเดียวผางหมดเลย ไม่ไปถามใครเลยพอจิตเข้าไปถึง จิตผ่องใสนี้มันควรก็การเกิดอยู่โดยดี นั่นเวลาดูเข้าไปแล้วนะ

จิตบริสุทธิ์กับจิตผ่องใสต่างกัน
พอเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้วผึงเลย ไม่มีคำว่าเกิดตายอีก


แต่นี่ท่านบอกว่า จิตผ่องใส ท่านไม่ได้บอกว่าจิตบริสุทธิ์ ไอ้พวกเอาผ่องใสมาฟัดกันทั้งกัดทั้งแย่งกัน ถ้าเป็นผ้าขี้ริ้วนี้ขาดเลยไอ้ปุ๊กกี้มันยังไม่ปล่อยนะ เราถึงได้มารู้เรื่องถึงเรื่องว่าจิตผ่องใสกับจิตบริสุทธิ์ ท่านไม่ได้พูดว่าจิตบริสุทธิ์

ในบาลีก็เห็นแต่ว่า จิตผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตเดิมแท้ผ่องใสท่านว่างั้น จิตเดิมคือจิตอวิชชา นั่นผ่องใส จิตอวิชชาผ่องใสมากทีเดียว เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติไปถึงขั้นนั้นจึงงงถูกอวิชชาตีหน้าผากได้สบายนะ

มหาสติมหาปัญญาก็เถอะเข้าไปเจอทีแรก ถ้าประเภทพวกทันธาภิญญาที่รู้อย่างเชื่องช้าไปลำดับลำดา เว้นขิปปาภิญญาเสีย อันนี้ไม่มีปัญหาขิปปาภิญญาขาดสะบั้นไปพร้อมเลย

โดยหลวงตาฯ วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี

ขออนุโมทนาทุกท่านนะค่ะ สาธุ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 02:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




wolfman.jpg
wolfman.jpg [ 31.75 KiB | เปิดดู 6587 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
Onion_L
cool
อ้างคำพูด:
อึ๋ยยย... นิ๊งหน่อง... ทำไมต้อง :b22: :b22: ด้วยล่ะ...

:b10: :b10:

หรือเห็น จันทร์เจ้าขา เป็น ขนมไหว้พระจันทร์ :b10: :b10:


:b3: :b3: :b3: โอ้..โอ๊..โอ๋... ท่านเอกอนนะ ท่านเอกอน อุตส่าห์หาข้อผิดพลาดมาโจมตีจนได้ อันที่จริงจะแสดง (ยิ้ม) :b16: ๓ ยิ้ม กลับกลายเป็น ๑ ยิ้ม กับ ๒ ป่วย :b22: :b22: ไปได้ อิ..อิ.. ว่าแต่ขนมไหว้พระจันทร์ไส้อะไรครับ :b10: :b10: ไส้เจรึเปล่า? :b10: :b10:
:b28: :b28: :b13: :b13: :b12: :b12:

อ้างคำพูด:



อ๊ะ ๆ จิงหรือค่ะ จันทร์เจ้าขาไม่ได้สังเกตุ โอ๊..โอ๋..หรือว่าคุณ Ningnong เห็นจันทร์เจ้าขาแล้วจะแปลงร่าง..เป็น Wolfman




โห...จันทร์เจ้าขาก็เป็นกับเอกอนไปด้วย :b15: :b15: มิน่า ขับรถเข้ากรุงเทพฯ รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัวแปลก แปลก :b14: :b14: เดี๋ยวก็ไม่รู้หรอกว่าจิตประภัสสรเป็นไง ? :b6: :b6: :b11:

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


ภวังคจิต จิตที่เป็นองค์แห่งภพ,
ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้นอยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ คือ ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย ในเวลาที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น
แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตแทนภวังคจิต เมื่อวิถีจิตดับหมดไป ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม
ภวังคจิต นี้ คือมโน ที่เป็นอายตนะที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็นวิบาก เป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน ยังไม่ขึ้นสู่วิถีรับรู้อารมณ์ (เป็นเพียงมโน ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ)
พุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา” มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่ แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้;
จิตที่ประภัสสรนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ได้แก่ภวังคจิต

...ที่มา พจนานุกรมพุทศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

:b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54: :b54:

(ในความคิดของผม) ..ตามนี้ จิตประภัสสร ก็หมายรวมถึง จิตผุดผ่อง จิตผ่องใส จิตบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นจิตตาม ธรรมชาติ ซึ่งปกติ ประภัสสรโดยตัวมันเอง (หาก) ไม่มีอุปกิเลสต่าง ๆ จรเข้ามาทำให้เศร้าหมองไป แต่เป็นจิตที่ยังไม่ได้อบรม ฝึกฝนหรือพัฒนา จนถึงอรหัตผลจิต ยังเป็นจิตของเสขบุคคลที่ต้องศึกษาและพัฒนาต่อไป....ครับ

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2010, 09:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิดหนึ่ง เขียน:
จิตบริสุทธิ์กับจิตผ่องใสต่างกัน
พอเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้วผึงเลย ไม่มีคำว่าเกิดตายอีก


แต่นี่ท่านบอกว่า จิตผ่องใส ท่านไม่ได้บอกว่าจิตบริสุทธิ์ ไอ้พวกเอาผ่องใสมาฟัดกันทั้งกัดทั้งแย่งกัน ถ้าเป็นผ้าขี้ริ้วนี้ขาดเลยไอ้ปุ๊กกี้มันยังไม่ปล่อยนะ เราถึงได้มารู้เรื่องถึงเรื่องว่าจิตผ่องใสกับจิตบริสุทธิ์ ท่านไม่ได้พูดว่าจิตบริสุทธิ์

ในบาลีก็เห็นแต่ว่า จิตผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตเดิมแท้ผ่องใสท่านว่างั้น จิตเดิมคือจิตอวิชชา นั่นผ่องใส จิตอวิชชาผ่องใสมากทีเดียว เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติไปถึงขั้นนั้นจึงงงถูกอวิชชาตีหน้าผากได้สบายนะ

สาธุครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 31 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร