วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนถามเรื่อง ที่สุดของศีล สมาธิและปัญญา อยู่ตรงไหนค่ะ
ขอบคุณคะ :b20: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ :b8: เป็นคำถามที่ดี คงได้คำตอบที่เห็นความหมายเฉพาะตัวของศีลสมาธิและปัญญา ทั้งความมุ่งหมายสุดท้ายของศีลสมาธิและปัญญา และความเชื่อมต่อกันหรืออาศัยกันและกันของศีลสมาธิและปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจำไม่ผิดเป็นคำถามที่ในหลวงทรงถามหลวงปู่เทสก์ค่ะ
ท่านตอบว่า
ที่สุดของศีลคือเจตนาวิรัติ(งดเว้น)
ที่สุดของสมาธิ คือ อัปปนาสมาธิ
และที่สุดของปัญญาคือ พระไตรลักษณ์ค่ะ

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


แก้ไขล่าสุดโดย จันทร์ ณ ฟ้า เมื่อ 07 ต.ค. 2010, 12:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จันทร์ ณ ฟ้า เขียน:
ถ้าจำไม่ผิดเป็นคำถามที่ในหลวงทรงถามหลวงปู่เทสก์ค่ะ
ท่านตอบว่า
ที่สุดของศีลคือเจตนาวิรัติ(งดเว้น)
ที่สุดของสมาธิ คือ อัปปนาสมาธิ
และที่สุดของปัญญาคือ พระไตรลักษณ์ค่ะ

จริงหรือค่ะ ขอบคุณ คุณจันทร์ ณ ฟ้า แล้วจะหาอ่านได้ที่ไหนค่ะ :b20: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมองในแง่ปรมัตถ์ (มิใช่ในแง่ทิฏฐธัมมิกัตถ์ สัมปรายิกัตถ์ ปรัตถะหรือในแง่สังคม) ศีล

สมาธิ และปัญญา ต่างก็มีจุดหมายสุดท้ายเพื่อนิพพานเหมือนกัน

แต่เมื่อมองจำกัดเฉพาะตัวแต่ละอย่าง มีขีดขั้นขอบเขตของตนที่จะต้องไปเชื่อมต่อกับอย่างอื่น จึงจะ

ให้บรรลุจุดหมายสุดท้ายได้

ลำพังอย่างหนึ่งอย่างเดียว หาสำเร็จผลล่วงตลอดไม่ แต่จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดเสียทีเดียว ก็ไม่ได้

จึงมีหลักว่า ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....เป็นคำถามที่ถามง่ายมาก และ สั้นๆ แต่กินความหมายลึก..ซะจนไม่รู้จะตอบยังไง :b12:
....ไม่รู้ จะเริ่มที่ไหน หากำหนดที่สุดไม่ได้... :b13:
.....นั่น คือ สังสารวัฏฏ์ ที่เราเที่ยวเวียนว่ายอยู่...
....ส่วน ที่สุด แห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา
.....น่าจะ หาเหตุได้...กำหนดที่สุดได้...ก้าวพ้นแล้วดับรอบแล้ว
,....สิ้นแล้ว ซึ่งอาสวะทั้งปวง เข้าสู่กระแสพระนิพพาน :b8:
.....ยังมีท่านอาจารย์ ผู้รู้ และ กัลยาณมิตร ทุกท่าน มาให้ความเห็น รอสักหน่อย ครับ...
.....เจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าปฏิบัติศีล ขาดเป้าหมายก็อาจกลายเป็นสีลัพพตปรามาส ช่วยส่งเสริมอัตตกิลมถานุโยค

ถ้าบำเพ็ญสมาธิ โดยไม่คำนึงถึงอรรถ ก็อาจหมกติดอยู่ในฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ส่งเสริมมิจฉาทิฏฐิบางอย่าง

หรือส่งเสริมติรัจฉานวิชาบางประเภท

ถ้าเจริญปัญญา ชนิดที่ไม่เป็นไปเพื่อวิมุตติ ก็เป็นอันคลาดออกนอกมัชฌิมาปฏิปทา ไม่ใช่จุดหมายของ

พุทธศาสนา อาจหลงอยู่ข้างๆระหว่างทาง หรือติดค้างในมิจฉาทิฏฐิแบบใดแบบหนึ่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 13:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุค่ะ :b20: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ย. 2009, 22:56
โพสต์: 22

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเคยอ่านจากเวปที่รวบรวมธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์ ท่านแสดงธรรมหัวข้อเดียวกันนี้ อยู่ในหมวดโอวาทหลังพระปาติโมกข์

ตามลิงค์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.thewayofdhamma.org/page3_1_2/32.html


แก้ไขล่าสุดโดย ภูพิงค์ เมื่อ 07 ต.ค. 2010, 13:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2010, 15:02
โพสต์: 146

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณภูพิงค์ เป็นอย่างสูงคะ :b8: :b20: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2010, 19:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ค. 2010, 23:55
โพสต์: 55

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค ผล นิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 02:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
cool :b16: :b16:

ศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนกับว่า ตั้งภาชนะน้ำไว้ด้วยดีในที่เรียบร้อย ไม่ไปแกล้งสั่นหรือเขย่ามัน (ศีล) เมื่อน้ำไม่ถูกกวน คน พัด หรือเขย่า สงบนิ่ง ผงฝุ่นต่างๆ ก็นอนก้น หายขุ่น น้ำก็ใส (สมาธิ) เมื่อน้ำใส ก็มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน (ปัญญา)

จุดหมายหรือที่สุดก็คือความสิ้นทุกข์ พ้นทุกข์ หรือการบรรลุธรรมนั่นเอง

เรื่องไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์ ได้เขียนไว้ในหนังสือปริญญาพ้นทุกข์ว่า รักษาศีลเพื่อเจริญสมาธิและอบรมปัญญา ...พระพุทธศาสนาประสงค์นำเข้าไปสู่ปัญญา เพียงแต่ต้องเริ่มจากเบื้องต้นคือศีล และผ่านท่ามกลางคือสมาธิ ถือเป็นหลักปฏิบัติเลยทีเดียว สมาธิและปัญญามีศีลเป็นพื้นฐานเพื่อการก่อเกิด ไม่มีศีลจะทำสมาธิและปัญญาให้เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้น การรักษาศีลในทางพระพุทธศาสนา จึงเป็นการรักษาเพื่อเชื่อมเข้าถึงสมาธิและปัญญา ศีลในขั้นนี้มิได้รักษาเพื่อประโยชน์ต่อสังคม หากแต่เพื่อประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติโดยตรง จัดเป็นศีลภายใน มิใช่ศีลภายนอก ศีลภายในเจาะจงเฉพาะบุคคล รักษาเพื่อป้องกันกิเลสอาสวะทั้งหลาย ระวังสังวรมิให้กิเลสทั้งหลายเข้ามาเกาะติดจิตใจ การไม่ล่วงละเมิดศีลมิใช่เพราะกลัวว่าศีลจะขาด หรือศีลจะไม่ครบ เข้มงวด กวดขัน รักษาจนกลายเป็นการยึดมั่นถือมั่นในศีลพรต (สีลัพพตุปาทาน) แต่กลัวว่าจะเป็นเหตุให้กิเลสเกาะติดจิตใจ ส่งผลให้จิตพอกหนาด้วยกิเลสจนหยาบกระด้าง ซึ่งขัดขวางสมาธิและปิดกั้นปัญญาโดยเฉพาะ

... ศีลเปรียบเสมือนพื้นดินอันอุดม เหมาะสำหรับหว่านเมล็ดพืชลงเพาะปลูกเพื่อผลิดอกออกผลคือคุณงามความดีทั้งหลาย ส่วนเราท่านทั้งหลายเปรียบเสมือนไม้ดอกไม้ผล หากต้องการจะผลิดอกออกผลคือคุณงามความดีทั้งหลาย จงหยั่งรากแก้วลงสู่พื้นดินอันอุดมคือศีลนี้เถิด รับรองว่าจะเจริญเติบโตงอกงามและมั่นคงยั่งยืนอย่างแน่นอน

... ต้นสมาธิต้องหยั่งรากลงบนผืนดินแห่งศีลนี้โดยเฉพาะ เมื่อหยั่งรากลงบนผืนดินแห่งศีลเรียบร้อยแล้ว เราจึงค่อย ๆ รดน้ำพรวนดินเติมปุ๋ยวิริยะคือ “ความเพียร” ลงตรงบริเวณโคนต้นสมาธิ เพื่ออบรมบ่มเพาะให้เจริญงอกงาม

... ปัญญาในทางพุทธศาสนา มิใช่ปัญญาทางโลกที่เกิดความเก่งกาจ ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้เรื่องต่าง ๆ หากแต่คือปัญญาทางธรรมที่เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งหยั่งลงถึงสภาพความจริงแท้ มองเห็นธรรมชาติธรรมดาของชีวิตสังขารอย่างทะลุปรุโปร่ง สลัดจิตจากอุปาทานการยึดมั่นสำคัญผิด ซึ่งเป็นเหตุก่อให้เกิดความทุกข์ออกไป ปัญญาที่พระพุทธศาสนามุ่งหมายคือวิปัสสนาปัญญา หรือวิปัสสนาญาณนั่นเอง ... ... ...


:b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53: :b53:

...ศีล จัดเป็นพื้นฐานของความดีทั้งปวง ผู้ที่มีความล้มเหลวในการรักษาศีล จะหาความก้าวหน้าในทางสมาธิและปัญญาไม่ได้เลย เพราะศีลเป็นของหยาบ ควบคุมแต่ทางกายและวาจา ส่วนสมาธิและปัญญานั้น เป็นเรื่องของจิตใจโดยตรง ถ้าของหยาบ ๆ ยังทำไม่ได้ จะทำของละเอียดได้อย่างไร ? จริงอยู่ การมีเจตนางดเว้น เพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีลแบบ"ศีลสังคม" ที่นิยมกันอยู่ทั่วไปนั้น ไม่ใช่ของยากเย็นอะไร มีผู้รักษากันอยู่แล้ว และเป็นมานานแล้ว แต่การรักษาศีลที่ต้องมีปัญญาเข้าร่วมนั้น ไม่ใช่ศีลที่จะรักษากันได้ง่าย ๆ ยิ่งเป็นศีลที่แยกออกจากปัญญาไม่ได้เลย ชนิดที่พระพุทธองค์เปรียบเหมือน "คนล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้าด้วยเท้า"...โสณทัณฑสูตร ๙/๑๔๘ ก็จะยิ่งยากไปกว่านั้นอีก คือผู้รักษาศีลจะต้องมีปัญญากำกับอยู่ตลอดเวลา ว่าเรารักษาศีลเพื่ออะไร จุดมุ่งหมายคืออะไร จะรักษาศีลอย่างไร จึงจะบรรลุถึงเป้าหมายนั้น พุทธศาสนาเป็นศาสนาของผู้มีปัญญา การที่จะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ก็ด้วยปัญญา ปัญญาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิบัติศาสนกิจทุกระดับขั้น ปัญญาที่ประกอบด้วยศีล สมาธิ จึงจัดเป็นปัญญาที่เป็นสัมมาทิฐิ และใช้ดับทุกข์ได้ครับ...

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


แก้ไขล่าสุดโดย ningnong เมื่อ 08 ต.ค. 2010, 14:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ningnong เขียน:
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
cool :b16: :b16:
ศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนกับว่า ตั้งภาชนะน้ำไว้ด้วยดีในที่เรียบร้อย ไม่ไปแกล้งสั่นหรือเขย่ามัน (ศีล) เมื่อน้ำไม่ถูกกวน คน พัด หรือเขย่า สงบนิ่ง ผงฝุ่นต่างๆ ก็นอนก้น หายขุ่น น้ำก็ใส (สมาธิ) เมื่อน้ำใส ก็มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน (ปัญญา)
:b41:


เพิ่งเคยเห็นการเปรียบเทียบแบบนี้ นายแน่มาก smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2010, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสมบูรณ์สูงสุดแห่งศีล มีขึ้นเมื่อแรกสู่กระแสนิพพาน คือพระโสดาบัน
ท่านมีศีลสมบูรณ์ สมาธิปานกลาง ปัญญาปานกลาง มีศีลอันเป็นอริยะ
เป็นศีลที่มีองค์แห่งมรรคที่เหลือร่วมกลมกลืนเป็นบริวาร รวมความสมดุลเป็นหนึ่งในทุกเวลานาที
เป็นขอบเขตแห่งศีลชนิดเดียวที่มั่นคง เป็นธรรมชาติแท้ของตัวชีวิต ไม่ด่างพร้อย
ไม่กลับกำเริ่ม ไม่ต้องมีเจตนาในการรักษา ไม่ต้องบังคับ และพยายาม

ที่สุดแห่งสมาธิ เป็นปลายสุดของความประณีต สงบระงับของจิต คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ

ที่สุดของปัญญา โดยแท้แล้วไม่มี เพราะความรู้ย่อมแตกฉานออกไปกว้างไกลไม่จบสิ้นตราบเท่า
ที่บุคคลยังมีการเพ่งพิจารณาอยู่ แต่ขอบเขตแห่งความรู้ที่ควรทำให้แจ้งเพื่อใช้ในการดับทุกข์ ใช้ในการทำลายอาสวะ มีที่สุดแห่งการพากเพียรเพื่อกระทำให้เกิด ก็คือความรู้แจ้งอริยสัจจ์4
ที่สุดของปัญญา หรือภาวะอันเป็นความสมบูรณ์ของปัญญา ก็คือรู้แจ้งอริยสัจจ์4

บางท่านถึงแม้รู้แจ้งอริยสัจจ์แล้ว มีปัญญาสมบูรณ์แล้ว เป็นพระอรหันตขีณาสพแล้ว
แต่ถ้าท่านยังเพ่งพิจารณาต่อไป ความแตกฉาน ในแง่มุมมหลากหลายแห่งอริยสัจจ์
ก็ยังเกิดขึ้นได้อย่างไม่มีประมาณ เว้นแต่ท่านจะรู้สึกอิ่มพอของท่านเองจึงจะหยุด
ในระดับที่ท่านอิ่มพอ

:b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...

คือ...ที่เดียวกันกับที่ ๆ กำลังจะเริ่มต้นไปสู่ความเสื่อม...

:b14: :b5: :b6:

....มาไงหว๋า...เหมือนจะพูดมั่ว ๆ ยังไงชอบกล....



แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 10 ต.ค. 2010, 23:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 54 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร