วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 02:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้กล่าวถึงวิธีปฏิบัติของการให้จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งด้วยการนั่งสมาธิไปแล้ว คราวนี้ ลองมาดูการปฏิบัติและอานิสงค์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันกันดูบ้าง ซึ่งวิสุทธิปาละเห็นว่า มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลย :b51: :b51: :b51:

จากการศึกษาทางวิทยาการในโลกสมัยใหม่ที่พบว่า จิตและสมองนั้นทำงานด้วยระบบ Neural Network ที่ถ้าต้องการฝึก ก็สามารถ “ฝึกได้” ด้วยการกระทำที่ซ้ำๆกันจนคุ้นชิน และเกิดความเป็นอัตโนมัติ (นิสัย – วาสนา - อนุสัย) ขึ้นมา :b4: :b46: :b46:

ถ้าเป็นทางกาย เช่นคนที่เคยฝึกว่ายน้ำเรื่อยๆจนว่ายน้ำเป็น เมื่อตกน้ำก็สามารถว่ายน้ำได้โดยอัตโนมัติ (แต่การฝึกให้เกิดความชำนาญทางกายนี้ ไม่สามารถติดตัวข้ามภพข้ามชาติได้) :b5: :b46: :b46:

หรือทางจิต เช่นคนที่อยู่กับสภาพสงบเย็นบ่อยๆจนคุ้นชิน เช่น เข้าวัดทำบุญบ่อย เมื่อเจอสภาพที่ไม่พอใจ ก็จะใจเย็น ไม่โกรธง่าย (ซึ่งการฝึกให้เกิดความชำนาญทางจิตนี้ สามารถเอาติดตัวข้ามภพข้ามชาติได้) :b4: :b36: :b41:

เช่นกันครับ การฝึกเข้าฌาน ๔ หรือการฝึกให้รู้อยู่กับตัวรู้เรื่อยๆ ไม่ว่าจะในสมาธิหรือในการใช้ชีวิตประจำวันจนคุ้นชินแล้วนั้น สติตัวรู้ หรือจิตผู้รู้จะตามออกมาทำหน้าที่คุ้มครองจิตทั้งในชีวิตประจำวัน และในขณะหลับฝันได้เองโดยอัตโนมัติ :b1: :b46: :b46:

โดยเริ่มแรก จิตผู้รู้จะเป็นได้แค่ผู้ “ตามรู้” กายและใจ โดยเฉพาะกิเลสต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นจะ “ถูกรู้” หลังจากที่เกิดขึ้นและปรุงแต่งจนเลยเถิดเกิดทุกข์แล้ว :b33: :b5: :b2:

ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นกิเลสตัวโมหะ (หลง) เป็นตัวต้นรากผุดนำขึ้นมาก่อนทุกครั้ง คืออาการขาด “สัมมาสติและโลกุตรสัมมาทิฏฐิ” (ได้แก่การขาดวิชชา คือมีอวิชชาหรือโมหะยืนพื้นอยู่) “หลง (โมหะ)” ออกไปปรุงแต่งในเรื่องยินดีอยาก (อภิชฌา, โลภะ = กามตัณหา + ภวตัณหา) หรือยินร้ายไม่อยาก (โทมนัสสัง, วิภวตัณหา ที่ทำให้เกิด โทสะ) เมื่อเกิดผัสสะเวทนาขึ้น :b38: :b37: :b39:

กระบวนการที่เกิดขึ้นนี้ (ปฏิจจสมุปบาท) เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในแวบเดียวจนจบสาย ซึ่งถ้าจิตไม่ได้ฝึกมาให้ไวและละเอียดพอ จะไม่สามารถสังเกตเห็นและคิดใคร่ครวญแยกแยะกระบวนการได้ว่า :b45: :b45: :b45:

การขาดโลกุตรสัมมาทิฏฐิ หรืออวิชชาที่มีอยู่ (ความไม่รู้ธรรมชาติตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นโมหะที่ผุดมาเป็นตัวแรก คือความ “หลง” ไปปรุงแต่งเจตนา เนื่องมาจากความไม่รู้) ทำให้เกิดสังขาร (ได้แก่ เจตนาเจตสิก) ในการไปรับรู้ผัสสะ (วิญญาณ + นามรูป + สฬายตนะ ซึ่งอาศัยเกิดขึ้นพร้อมกันและมีผลคือผัสสะ การรับรู้การกระทบ) ซึ่งก่อให้เกิดเวทนา :b51: :b51: :b51:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 15 มิ.ย. 2014, 00:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเข้าใจปฏิจจสมุปบาทแล้ว
อีกนิดหนึ่งก็จบกิจพรหมจรรย์

:b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2011, 00:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งในขั้นหลังจากเวทนา จะเห็นตัวโมหะโผล่ขึ้นมาทำงานอีกรอบก่อนจะเกิดตัณหา ได้แก่ การ “หลง” ไปปรุงแต่งเนื่องมาจากการขาด “สัมมาสติ” ซึ่งเป็นไปได้ ๓ ทางคือ

๑) “หลงขาดสติไปปรุงแต่งความเคลิบเคลิ้มเผลอเหม่อ ซึ่งเป็นกิเลสตัวโมหะล้วนๆเมื่อเกิดไม่สุขไม่ทุกข์จากผัสสะ (อุเบกขาเวทนา) = โมหะ --> โมหะ :b46: :b46: :b46:

๒) หรือ “หลงขาดสติไปปรุงแต่งยินดีชอบใจ (อภิชฌา, โลภะ = กามตัณหา + ภวตัณหา) และยึดอยาก (อุปาทาน) เมื่อเกิดสุขโสมนัสจากผัสสะ (กิเลสตัวโลภะที่มีรากมาจากโมหะ คือการไม่รู้ธรรมชาติตามความเป็นจริงจึงเกิดการ “หลง” ไปปรุงแต่งแล้วอยาก “ดึง” เข้ามาหาตัว = โมหะ --> โลภะ) :b51: :b51: :b51:

๓) หรือ “หลงขาดสติไปปรุงแต่งยินร้าย (โทมนัสสัง, วิภวตัณหา ที่ทำให้เกิด โทสะ) และไม่ยึดไม่อยาก (อุปาทาน คือการยึดอยากในทางปฏิเสธ) เมื่อเกิดทุกข์โทมนัสจากผัสสะ (กิเลสตัวโทสะที่มีรากมาจากโมหะ คือการไม่รู้ธรรมชาติตามความเป็นจริงจึงเกิดการ “หลง” ไปปรุงแต่งแล้วอยาก “ผลักออก” จากตัว = โมหะ --> โทสะ) :b53: :b53: :b53:

จนนำไปสู่การเกิดขึ้นแห่งภพ และทุกขสัจจ์ ได้แก่ ชาติ ชรา มรณะ โศกเศร้า คร่ำครวญ คับแค้นใจ และทุกข์ ซึ่งหมักหมมในขันธสันดานต่อเป็นอาสวะ ซึ่งเป็นเชื้อให้เกิดอวิชชาหมุนทับถมเป็นวงจรต่อเนื่องเกิดดับไปอีกนับภพนับชาติ (ทั้งการเกิดดับในภพภูมินี้และการเกิดดับข้ามภพภูมิ) :b1: :b44: :b44:

จะเห็นได้ว่า ปฏิจจสมุปบาทในวงของกิเลสวัฏฏ์ตัวต้นราก ๒ ตัวคือ อวิชชาและตัณหานั้น การจะตัดที่ขั้วของตัณหา จะมีสัมมาสติสัมมาสมาธิเป็นองค์ยืนที่ใช้ตัด (โดยมีอีก ๖ องค์ที่เหลือเป็นองค์สนับสนุน) เพราะเมื่อมีสติรู้ จนรู้เท่าทันความอยากแล้ว ความอยากทั้งหลายจะเกิดขึ้นไม่ได้ :b39: :b39: :b39:

แต่สำหรับขั้วของอวิชชานั้น จะต้องใช้สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตระสัมมาทิฏฐิเท่านั้นที่เป็นองค์นำเข้าไปตัด (โดยมีอีก ๗ องค์ที่เหลือสนับสนุน) ถึงจะตัดจนไม่เหลือเชื้อได้ทีละขั้นของโลกุตรผลนะครับ :b39: :b39: :b39:

โดยในภาคปฏิบัติ เมื่อวงจรเกิดขึ้นแล้วให้ใช้สติสมาธิ (มรรคให้เจริญ) ตามจนรู้ทันในตัวกิเลสและทุกข์ (ทุกข์ให้รู้) โดยไม่วกไปคำนึงถึงเหตุ (สมุทัยให้ละ) จนเห็นกิเลสและทุกข์ดับหรือไม่เกิด (นิโรธให้แจ้ง) ตามมรรคที่ ๒ สมถะมีวิปัสสนานำหน้าขององค์พระอานนท์ที่เคยโพสท์ตัวอย่างไว้ :b1: :b46: :b46:

ก็จะเป็นการตัดขั้ววงจรของทุกข์ที่ตัวตัณหาโดยใช้สัมมาสติสัมมาสมาธิ และเกิดปัญญารู้เท่าทันในสามัญลักษณะ คือโลกุตรสัมมาทิฏฐิ ที่สามารถเข้าไปตัดวงจรได้ถึงรากคือตัวอวิชชาครับ :b8: :b39: :b39:

ดึกแล้ว ขอมาต่อในคราวหน้าครับ :b1: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 15 มิ.ย. 2014, 00:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b38: :b37: :b39:

จากคราวที่แล้วที่กล่าวถึงการปฏิบัติและอานิสงค์ของการให้จิตเห็นจิตในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดผัสสะเวทนาจนจิตหลงไปปรุงแต่งเกิดกิเลสและทุกข์แล้ว :b46: :b46: :b46:

คราวนี้มาลองดูภาคปฏิบัติในชีวิตประจำวันขณะที่เกิดความรู้สึกเฉยๆ (อุเบกขาเวทนา) ดูบ้าง :b42: :b44: :b44:

จากที่เคยกล่าวไปแล้วนะครับว่า การปฏิบัติให้รู้อยู่กับตัวรู้นั้น สามารถทำได้ในทุกอิริยาบถ แต่ที่ยกตัวอย่างมาครั้งแรกเพื่อความง่ายคือให้ใช้อิริยาบถนั่ง คือการหลับตานั่งสมาธิเพื่อให้จิตอยู่กับตัวรู้จริงๆคือที่มโนวิญญาณ ไม่ได้ไปอยู่กับการเคลื่อนไหวของกาย (กายวิญญาณ) หรืออยู่กับวิญญาณอื่นๆ (จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา) :b51: :b51: :b51:

แต่ในการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องเปิดการรับรู้ผ่านทางทวารทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วส่งมาทวารที่ ๖ คือใจนั้น การที่จะให้ตัวรู้มาอยู่ที่มโนวิญญาณอย่างเดียวนั้นคงเป็นไปไม่ได้ :b5: :b46: :b46:

แต่สิ่งที่ฝึกปฏิบัติได้ก็คือ เมื่อมีผัสสะเกิดขึ้นที่ทวารทั้ง ๕ แล้ว ในกรณีที่รู้สึกเฉยๆ (อุเบกขาเวทนา ซึ่งอาจจะประกอบด้วยอกุศลในหมวดโลภะและโมหะ หรือกุศลที่ไม่ประกอบไปด้วยความสุขโสมนัส) ซึ่งในชีวิตประจำวันเราจะเกิดขึ้นมากกว่า และทำให้จิตไม่ฟุ้งปรุงแต่งต่อได้ง่ายกว่าเวทนาทางด้านสุขทุกข์ เช่น ในขณะตื่นนอน ลุกจากเตียง ถูฟันล้างหน้าอาบน้ำ แต่งตัว ทานข้าว เดินหรือนั่งรถไปทำงาน ฟังข่าว คุยกับเพื่อน ทำงาน ฯลฯ :b39: :b39: :b39:

(จากนี้ไปอาจจะยากนิดหน่อยนะครับ แต่ถ้าอ่านเฉพาะคำบรรยายโดยข้ามศัพท์ในทางอภิธรรมไป ก็น่าจะพอเข้าใจได้อยู่ :b46: :b46: :b46:

โดยในทางอภิธรรมที่จะวงเล็บศัพท์ต่อท้ายไว้ให้ คือการเกิดขึ้นของปัญจทวารวิถี ได้แก่ การเกิดวิญญาณขึ้นรับรู้การกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย คือจิตเปิดทวาร (ปัญจทวาราวัชชนจิต) จำแนกสัญญาณส่งต่อไปที่วิญญาณที่ได้รับการกระทบนั้นๆ (ปัญจวิญญาณจิต) เกิดจิตมารับอารมณ์ต่อจากวิญญาณที่ได้รับการกระทบ (สัมปฏิฉันนจิต) :b48: :b48: :b48:

ส่งสัญญาณต่อไปเพื่อไต่สวนพิจารณาอารมณ์ (สันตีรณจิต)) แล้วส่งมาที่ใจคือมโนวิญญาณ (โวฏทัพพนจิต ได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต) เพื่อตัดสินอารมณ์ที่มากระทบนั้นเพื่อเสพต่อในชวนจิตอีก ๗ ขณะ และส่งต่อไปที่ตทาลัมพนจิตอีก ๒ ขณะเพื่อลดการเสพอารมณ์ลงก่อนดับไปเพื่อรับอารมณ์ใหม่) :b38: :b37: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ใช้โอกาสนี้ในการฝึกให้รู้อยู่กับตัวรู้ ซึ่งตัวรู้ในที่นี้คือวิญญาณที่เกิดขึ้นรับผัสสะต่างๆนั่นเอง :b39: :b44: :b46:

เช่น เมื่อลุกจากเตียงนอนเดินไปห้องน้ำ ให้รู้อยู่กับกายที่เคลื่อนไหวแล้วรู้กลับมาที่ใจ ซึ่งเป็นตัวรู้จริงๆ, เมื่อแปรงฟัน ให้รู้อยู่กับการเคลื่อนไหวของมือหรือสัมผัสในช่องปากแล้วรู้กลับมาที่ใจ, เมื่อฟังวิทยุหรือดูข่าวตอนเช้า ให้รู้อยู่กับเสียงหรือภาพแล้วกลับมารู้ที่ใจ, เมื่อทานอาหาร ให้รู้อยู่กับรสหรือกลิ่นแล้วกลับมารู้ที่ใจ ฯลฯ :b46: :b51: :b51:

นั่นคือ เมื่อเกิดผัสสะใด หลังจากที่รู้ในผัสสะนั้นๆแล้ว (ปัญจทวาราวัชชนจิต - ปัญญจวิญญาณจิต) ให้รู้กลับมาที่ใจ (มโนทวาราวัชชนจิต ที่ทำหน้าที่โวฏทัพพนจิต ถึงชวนจิต – ตทาลัมพนจิต) ที่มีความรู้สึกเฉยๆนั้น (อุเบกขาเวทนา) โดยใช้สติประคองรู้อย่างเดียวโดยไม่คิดปรุงแต่งสำหรับการกระทบนั้นๆต่อ (คือ ไม่ขึ้นมโนทวารวิถีต่อหลังจากปัญจทวารวิถีจบลงแล้ว) ก็จะเป็นการฝึกปฏิบัติด้วยการให้จิตกลับมาสู่ตัวรู้หลังจากเกิดผัสสะเวทนาแล้ว :b38: :b37: :b46:

นั่นคือ สิ่งที่หลวงพ่อคำเขียนท่านใช้คำว่า ให้รู้ซื่อๆ คือรู้ผัสสะเวทนาแล้วจบ ไม่ปรุงแต่ง (ไม่ขึ้นมโนทวารวิถี) ต่อ นั่นเองครับ :b1: :b46: :b46:

ซึ่งในทางอภิธรรม จะสังเกตได้ว่า การรู้ในผัสสะเริ่มจากจิตเปิดทวารทั้ง ๕ ผ่านกายปสาทรูป (ปัญจทวาราวัชชนจิต) จนส่งต่อไปที่ใจคือมโนทวาร (มโนทวาราวัชชนจิต) :b48: :b48: :b48:

ซึ่งจิตทั้งสองดวงเป็นอเหตุกจิต คือ จิตที่ไม่ขึ้นกับเหตุ ๖ (โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ) เป็นกิริยาจิตที่แฝงอยู่ตามทวารที่ทำหน้าที่รับรู้สิ่งต่างๆที่มากระทบ เป็นสภาวะธรรมชาติของมันเช่นนั้น ฯ :b46: :b45: :b51:

ถึงจุดนี้แล้ว ขอให้กัลยาณมิตรกลับไปทบทวนเรื่อง อเหตุกจิต ๓ ประการขององค์หลวงปู่ดูลย์อีกครั้งตามลิงค์

http://www.fungdham.com/download/book/article/dul/007.pdf

ก็จะสามารถเชื่อมโยงการปฏิบัติให้รู้อยู่กับตัวรู้ หรือจิตเห็นจิตในชีวิตประจำวันได้ชัดเจน และปฏิบัติได้ถูกต้องอย่างเป็นธรรมชาตินะครับ

(ซึ่งในบันทึกของหลวงปู่ได้ลงท้ายไว้ว่า “อเหตุกจิตนี้ นักปฏิบัติทั้งหลายควรทําความเขาใจใหได เพราะถาไมเชนนั้นแลว เราจะพยายามบังคับสังขารไปหมด ซึ่งเปนอันตรายตอการปฏิบัติธรรมมาก เพราะความไมเขาใจใน อเหตุกจิต ขอ ๑ และ ๒ นี้เอง”)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ซึ่งจะใช้วิธีปฏิบัติเดียวกันนี้สำหรับทั้งสุขโสมนัสและทุกข์โทมนัสเวทนาได้ด้วย แต่สำหรับปุถุชนโดยปกติแล้ว เมื่อเกิดโสมนัสหรือโทมนัสเวทนา จะขาดสติหลงไปปรุงแต่งต่อ จะไม่ค่อยรู้ซื่อๆกัน ก็ให้มีสติเรียนและรู้ทันการปรุงแต่งจนเกิดภพชาติ (ทุกขสัจจ์) นั้นเพื่อการเกิดขึ้นแห่งโลกุตรปัญญาตามที่ได้โพสมาก่อนหน้านะครับ) :b38: :b37: :b39:

นอกเหนือจากการมีสติอยู่กับตัวรู้ในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ถ้าต้องการให้เข้มข้นขึ้น วิสุทธิปาละแนะนำให้เอาการปฏิบัติแบบจิตเห็นจิตเข้ามาใช้ในอิริยาบถอื่นนอกเหนือจากการนั่งสมาธิด้วยก็จะมีอานิสงค์อย่างยิ่ง :b46: :b46: :b46:

คือ ถ้านั่งให้รู้อยู่กับตัวรู้จนชำนาญแล้ว การฝึกด้วยอิริยาบถอื่น เช่น เดินจงกรม, ขยับมือให้จังหวะ, ฯลฯ นี้ จะมีผลให้สติออกมาป้องกันจิตไม่ให้หลงไปปรุงแต่งในชีวิตประจำวันได้เห็นผลกว่าการนั่งสมาธิเพียงอย่างเดียว :b51: :b51: :b51:

เพราะอิริยาบถอื่นนั้น มีการเปิดทวาร/วิญญาณรับรู้มากกว่า และมีความใกล้เคียงกับวิถีชีวิตประจำวันมากกว่า :b53: :b46: :b51:

เช่น การฝึกรู้อยู่กับตัวรู้ในการเดินจงกรม ซึ่งต้องมีการรับรู้ทางตา (จักขุวิญญาณ) และทางกาย (กายวิญญาณ) อยู่ตลอดการเดินจงกรมนั้น ก็ให้ปฏิบัติด้วยวิธีเดียวกัน คือให้รู้การเห็นหรือการเคลื่อนไหว แล้วกลับมารู้ที่ใจสลับกันไป :b46: :b46: :b46:

จนการเดินเป็นอัตโนมัติแล้วโดยเฉพาะจังหวะเข้าทางตรง ให้ประคองการรู้ให้อยู่ที่ใจอย่างเดียว (คือ ตาเปิดก็จริงแต่ไม่รู้ที่ตา ให้มาดักรู้ที่ใจ (มโนทวาราวัชชนจิต ถึง ตทาลัมพนจิต), ขาเดินก็จริงแต่ไม่รู้ที่กายที่เคลื่อนไหว ให้มาดักรู้ที่ใจ, มีเสียงมากระทบก็จริงแต่ไม่รู้ที่หู ให้มาดักรู้ที่ใจ ฯลฯ) :b51: :b51: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2011, 15:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และในขณะที่ประคองรู้ให้อยู่ที่ใจอย่างเดียวนั้น ถ้าใจหนีไปคิด (ขึ้นมโนทวารวิถี) ก้ให้รู้ว่าหลงไปคิดแล้วกลับมารู้ที่ใจใหม่ :b45: :b51: :b51:

ก็จะทำให้รู้ถึงพฤติของจิตได้เช่นกัน :b1: :b42: :b44:

ประคองอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตัวสติที่เกิดขึ้นจะมีกำลังมากกว่าตัวสติที่เกิดจากการนั่งสมาธิอย่างเดียว เพราะเป็นการฝึกสติให้อยู่กับตัวรู้ในสภาวะที่มีสิ่งมากระทบรบกวนสติมากกว่า :b46: :b46:

ซึ่งการหลับตานั่งสมาธิให้รู้อยู่กับตัวรู้นั้น เปรียบเหมือนกับการหัดขับรถในชนบทบนถนนทางตรงที่มีรถน้อย :b49: :b49: :b50:

ส่วนการเดินจงกรมหรือในการใช้ชีวิตประจำวัน เปรียบเหมือนกับการหัดขับรถในเมืองที่มีตรอกซอกซอยและจราจรคับคั่ง สิงที่เข้ามากระทบเพื่อเบี่ยงเบนความจดจ่อของสติมีมากกว่า :b39: :b39: :b39:

แต่การฝึก ถ้ายังหัดขับบนถนนโล่งๆไม่ชำนาญแล้วเข้าเมืองเลย อาจจะยาก เกิดความก้าวหน้าน้อย และท้อใจได้ง่ายๆ :b48: :b48: :b48:

ดังนั้น การฝึกควรเริ่มจากที่ๆมีรถน้อย เส้นทางตรงๆ คือหลับตานั่งสมาธิให้รู้อยู่กับตัวรู้ :b51: :b51: :b51:

หัดขับถอยหน้าถอยหลังให้ชำนาญก่อนแล้วค่อยออกมาขับบนถนนจริงที่เริ่มมีรถเยอะขึ้น คือการเดินจงกรมให้รู้อยู่กับตัวรู้ จนสามารถขับรถในเมืองที่มีการกระทบเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวินาที คือการรู้อยู่กับตัวรู้ในชีวิตประจำวันได้อย่างชำนาญนะครับ :b1: :b39: :b39:

แถมเทคนิคส่วนตัวให้อีกนิดหน่อยครับ คือการฝึกเดินจงกรม ถ้าสามารถหาทางเดินที่ยาว หรือวนเป็นวงรอบเพื่อให้ฝึกเดินอย่างมีสติได้นานๆโดยไม่ต้องหยุดกลับตัว :b49: :b50: :b50:

เช่น การเดินออกกำลังกายในสวนสาธารณะด้วยความเร็วตามปกติ แต่อย่างมีสติประคองรู้อยู่ที่ใจ จะยิ่งมีผลให้สติออกมาคุ้มครองจิตในชีวิตประจำวันได้ชัดเจนขึ้นนะครับ คือเมื่อมีผัสสะเวทนาเกิดขึ้น จะมีสติรู้ทันในพฤติของจิตได้ไว ปัญญาก็จะเกิดมากขึ้น ทุกข์ก็จะเกิดน้อยลงตามกันไปครับ :b1: :b46: :b46:

ต่อคราวหน้าครับ :b39: :b39: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2011, 16:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b39: :b39:

:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาครับ

:b17: :b4: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2011, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณกับคำอนุโมทนาของคุณ narapan ด้วยครับ :b8: :b46: :b46:

ขอเพิ่มเติมรายละเอียดในการปฏิบัติให้รู้อยู่กับตัวรู้ในชีวิตประจำวันที่มีการกระทบทางตาหูจมูกลิ้นกาย (ปสาทรูปทั้ง ๕) แล้วส่งสัญญาณการรับรู้ผัสสะต่อไปที่ใจ คือมโนทวาร (ปัญจทวารวิถี) ในกรณีของการดูหนังฟังเพลง ซึ่งเป็นการฝึกให้รู้ในพฤติของจิตที่ “หลง” ไปปรุงไปแต่งได้อีกทางหนึ่งนะครับ :b1: :b38: :b37:

การทดลองฝึกสติให้รู้อยู่กับตัวรู้เมื่อดูหนังฟังเพลงนั้น เปรียบเสมือนกับการสร้างบทเรียนให้จิตได้เรียนรู้ถึงพฤติของจิตเองที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นถี่ๆ เป็นระยะเวลานานๆ เช่นเมื่อจะฟังเพลงที่ชอบมากๆ ให้ตั้งสติก่อนสตาร์ทแล้วทดลองฟังด้วยวิธีใหม่ คือฟังโดยไม่ส่งจิตออกนอกให้ไหลไปตามคำร้องและทำนองเพลง ประมาณว่า เอาละน๊ะ จะฟังเพลงโปรดโดยไม่ให้จิตไหลไปกับเพลงละน๊ะ :b4: :b46: :b46:

ทำความรู้สึกตัวเฉพาะเสียงที่มากระทบประสาทหูแล้วมาดักรู้ที่ใจ คือได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยินโดยยังมีความรู้ในเนื้อร้องทำนอง แต่ควบคุมไม่ให้ใจไหลใจร้องไปตามเนื้อร้องทำนองเพลงที่ชอบนั้น เหมือนกับการผูกเรือไว้กลางกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวและไม่ปล่อยให้เรือลอยไปตามกระแส :b51: :b51: :b51:

แต่ถ้าใจเผลอไหลไปร้องตามเพลงให้กลับมารู้ลงที่ใจใหม่ เมื่อตั้งมั่นดีแล้วสักพักลองค่อยๆปล่อยใจให้ไหล เหมือนกับการค่อยๆผ่อนเชือกเรือ แล้วลองดึงเชือกไม่ให้ใจไหลใหม่ :b45: :b46: :b51:

จะเห็นเลยนะครับว่า ใจจะเริ่มไหลวึบ ไหลวึบ คือ ไหลไปกับเพลงแล้วหยุดรู้ตัว ไหลแล้วหยุดรู้ตัว เหมือนกับการผ่อนเชือกเรือแล้วดึงตึงสลับกันไป :b1: :b51: :b51:

ลองๆเล่นๆอย่างนี้ไปซักพักนะครับจนเพลงจบ จะเห็นเลยครับที่ครูบาอาจารย์ท่านว่า จิตไหลออกนอกนั้นน่ะ เป็นอย่างไร อ้าว ! เผลอไปแพล็บเดียวจิตไหลไปร้องเพลงที่พึงจบไปได้เองเฉยเลยทั้งๆที่เพลงก็ไม่ได้เปิด :b5: :b46: :b46:

ตรงนี้ตามรู้ตามดูให้ทันนะครับ แล้วจิตจะแสดงอาการของอนัตตาออกมาให้เห็นคือ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่ใช่ของเรา ควบคุมไม่ได้ตลอดเวลา เผลอปั๊บร้องเพลงเองเลย :b13: :b46: :b41:

ซึ่งการฝึกกับเพลงนั้นจะลองฝึกกับการดูหนังที่ชอบก็ได้นะครับ โดยเฉพาะหนังที่มีเพลงประกอบที่เพราะ ทำให้เราอินไปกับบทได้มาก :b50: :b49: :b48:

จะเห็นว่าจิตของเราจะไปอินอยู่ในหนังในเพลงได้อย่างชัดเจน แค้นไปกับนางเอกที่ถูกทำร้ายจิตใจ หรือเสียวสยองตกใจไปกับผีที่โผล่พรวดพราดออกมา ฯลฯ รู้สึกตัวทีก็กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัว พอเผลอก็กลับกระโจนไหลไปอยู่ในหนังในเพลงอีก :b1: :b51: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2011, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผู้ที่ตั้งใจแน่วแน่ในการฝึกสติอย่างจริงจังแล้ว วิธีฝึกแบบนี้เอาไว้ลองเล่นๆนะครับ เพราะการดูหนังฟังเพลงเป็นการกระตุ้นกิเลสให้เกิดขึ้น เป็นการเอากิเลสมาใส่ตัว :b1: :b46: :b46:

แล้วจะรู้ได้เองอย่างซาบซึ่งถึงใจในโทษของการดูหนังฟังเพลงเลยว่า ทำไมพระพุทธองค์ถึงทรงได้ห้ามไว้เป็นศีลเบื้องต้นหนึ่งในแปดข้อสำหรับผู้ที่ต้องการชำระกายใจให้บริสุทธิ์ และเป็นศีลขั้นต่ำสำหรับอนาคามีบุคคลที่ไม่มีความอยากที่จะดูหนังฟังเพลงเองโดยธรรมชาติ เพราะเห็นโทษของการดูหนังฟังเพลงแล้วว่าจะทำให้จิตแกว่งไหวขาดสติออกจากตัวรู้ไปนึกคิดปรุงแต่ง ฟุ้งซ่านได้ง่าย :b1: :b46: :b46:

ทางที่ดีเอาไว้ลองฝึกเมื่อหนีเพลงไม่ออกเช่น เพื่อนข้างบ้านเปิดวิทยุแล้วมีเพลงที่ชอบลอยตามลมมาให้ได้ยิน หรือเดินตามห้างแล้วมีเสียงเพลงลอยมาเข้าหูโดยไม่ได้ตั้งใจนะครับ :b1: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2011, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากครั้งที่แล้วที่กล่าวถึงการปฏิบัติให้รู้อยู่กับตัวรู้ในชีวิตประจำวันที่มีการกระทบทางปสาทรูปทั้ง ๕ แล้วส่งสัญญาณการรับรู้ผัสสะต่อไปที่ใจ คือมโนทวาร (ปัญจทวารวิถี) ไปแล้วนั้น :b1: :b51: :b51:

คราวนี้ ลองมาดูการปฏิบัติให้รู้อยู่กับตัวรู้ในชีวิตประจำวันเมื่อเกิดกระบวนการ “ตริ ตรึก นึก คิด” หรือ “เคลิ้ม เผลอ เหม่อ ลอย” (มโนทวารวิถี โดยคำว่า “คิด” ในที่นี้ หมายรวมถึงการ “คิด” เพื่อสั่งการกระทำต่อทางกายและวาจาด้วย) :b46: :b46: :b45:

ทั้งการคิดที่ไม่ประกอบด้วยโมหะ คือ มี “สติ” ตั้งใจ และ “รู้ตัว” ว่ากำลังคิด + “รู้เรื่อง” ที่คิด (หรือสั่งการการทำต่อ) :b1: :b51: :b51:

หรือการคิด ที่ประกอบไปด้วยโมหะ คือการ “หลง” ไปคิดนู่นคิดนี่ (หรือคิดสั่งการกระทำต่อโดยขาดสติ) หรือ “หลง” ไปเคลิ้ม เผลอ เหม่อ ลอย ไม่คิดไม่สั่งการกระทำอะไรเลยกันบ้าง (โดยจะกล่าวเฉพาะในกามวิถี ไม่รวมวิถีอื่นๆ เช่น อัปปนาวิถี, สมาบัติวิถี, ฯลฯ) :b46: :b46: :b41:

ซึ่งในชีวิตประจำวันถ้าลองสังเกตตัวจิตเองดูให้ดีแล้วนะครับ งานที่จิตทำง่วนอยู่ทั้งวันจะเป็นการสลับกันไปมาระหว่างการรับรู้ผัสสะ (ปัญจทวารวิถี) และการคิดนู่นคิดนี่ในใจ หรือคิดสั่งการกระทำ หรือเหม่อลอยไม่คิดอะไร (มโนทวารวิถี) :b48: :b48: :b47:

โดยกระบวนการของมโนทวารวิถีจะเกิดขึ้นถี่กว่าปัญจทวารวิถีมากมาย เพราะจิตของคนเราจะคิดนู่นคิดนี่ หางานทำด้วยการคิด, นึก, สั่งการ อยู่ตลอดทั้งวัน หรือไม่ก็สลับกับการเคลิ้มเผลอเหม่อลอย ซึ่งก็เป็นมโนทวารวิถีอีกรูปแบบหนึ่งที่ประกอบไปด้วยโมหะมูลจิตกลุ่มลังเลหรือสงสัย (วิจิกิจฉาสัมปยุต) ขาดซึ่งความปักใจในอารมณ์ (อธิโมกข์เจตสิก) ล่องลอยไปวันๆ :b23: :b22: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2011, 00:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาเริ่มต้นกันในกรณีที่ดีที่สุดก่อน คือ มี “สติ” ตั้งใจ และ “รู้ตัว” ว่ากำลังคิด + “รู้เรื่อง” ที่คิด หรือคิดสั่งการเพื่อกระทำ (ทางกายและวาจา) :b39: :b39: :b39:

ซึ่งกรณีนี้ เป็นการให้รู้อยู่กับตัวรู้ดีอยู่แล้ว คือไม่ว่าจะคิดอะไรก็ตาม ให้ตั้งต้นจากการ “รู้ตัวทั่วพร้อม” ว่าจะคิด และกำลังคิด (ดักรู้ในมโนทวาราวัชชนจิตที่เกิดขึ้น) พร้อมไปกับ “รู้เรื่อง” ที่คิดหรือสั่งการกระทำ :b1: :b39: :b44:

เพียงแต่มีข้อแม้ในการฝึกปฏิบัติอยู่นิดเดียวนะครับตรงที่การมีสตินั้น ขอให้เป็น “สัมมา” สติ ไม่ใช่ “มิจฉา” สติ :b44: :b46: :b46:

แล้วอะไรคือ “สัมมาสติ” อะไรคือ “มิจฉาสติ” ? :b46: :b46: :b46:

สัมมาสติ จะต้องประกอบไปด้วยสัมมาองค์อื่นๆอีก ๗ องค์ในอริยมรรค โดยเฉพาะจะต้องมีสัมมาปัญญา ได้แก่ การ “รู้” ที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) เป็นองค์ยืนพื้น เพื่อให้เกิดสัมมาสติ :b39: :b39: :b39:

ซึ่งการ “รู้” ที่ถูกต้องในระดับนี้คือ ตัวสัมปชัญญะ ซึ่งโดยมากจะประกอบกับคำว่าสติ เป็น “สติ - สัมปชัญญะ” หรือ “ระลึก - รู้อย่างถูกต้อง” ให้กลายเป็นตัว สัมมาสติ นั่นเอง :b1: :b46: :b46:

นั่นคือ การมีสติ “ระลึก” สัมปชัญญะ “รู้” ว่าสิ่งที่คิดหรือสั่งการกระทำนั้น มีจุดมุ่งหมายที่ไม่เป็นไปเพื่ออกุศล (กุศล + อัพยากฤต คือธรรมที่เป็นกุศล + เป็นกลาง) หรือไม่, เหมาะกับตนหรือไม่, ไม่หลงออกนอกกิจที่คิด + กระทำสั่งการ, และรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะที่คิดหรือสั่งการกระทำ :b46: :b46: :b46:
(รายละเอียดเพิ่มเติม http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมปชัญญะ)

ไม่ใช่ว่า ฝึกรู้อยู่กับตัวรู้ ด้วยการรู้ในการคิดและสั่งการที่จะไปโขมยของของเขา หรือไปเบียดเบียนเขา แล้วมาบอกว่า นี่ไง ฉันฝึกให้จิตเห็นจิตแล้วน๊ะ ... :b14: :b10:

ซึ่งอันนี้ก็เป็นมิจฉาสติแล้วละครับ (พูดถึงในกรณีแรกที่มีสติรู้ตลอดสายของมโนทวารวิถีนะครับ ไม่เกี่ยวกับการขาดสติเผลอปรุงแต่งไปอยากโขมย อยากแก้แค้น ซึ่งการฝึกปฏิบัติ ให้เป็นไปตามมรรคที่ ๒ ขององค์พระอานนท์ คือมีสติตามรู้กิเลสที่หลงไปปรุงขึ้นมาแล้วตรงๆให้เห็นถึงการดับของกิเลสจนเกิดปัญญา) :b45: :b51: :b53:

หลังจากตั้งต้นได้ถูกด้วยสัมมาสติที่มีสัมมาทิฏฐิยืนพื้นอยู่เบื้องหลัง เรื่องที่คิดและสั่งการ จนถึงกระทำเรื่องราวต่างๆก็จะเป็นไปในทางที่ถูกคือ สัมมาสังกัปปะ (เนกขัมมะ คิดโดยปราศจากความอยากเสพในกามคุณทั้ง ๕, อพยาปาทะ คิดโดยปราศจากความโกรธอาฆาตแค้น, อวิหิงสา คิดโดยปราศจากความอยากที่จะเบียดเบียน), สัมมากัมมันตะ, สัมมาวาจา, และสัมมาอาชีวะ (โดยทั้งหมดจะอยู่บนพื้นฐานของความตั้งมั่นและความเพียรในการคิดหรือกระทำการอย่างต่อเนื่องให้สำเร็จจนจบกระบวนการ (สัมมาสมาธิ + สัมมาวายามะ)) :b1: :b51: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2011, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาดูในกรณีที่ ๒ และ ๓ ที่เป็นการ “เผลอ” หรือ “หลง” ไปคิดหรือสั่งการโดยขาดสติ :b14: :b46: :b46:

หรือ “หลง” ไปเคลิ้ม เผลอ เหม่อ ลอย ไม่คิดไม่สั่งการกระทำอะไรเลยกันบ้าง ซึ่งจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยได้ฝึกสติฝึกสมาธิให้จิตมีกำลังตั้งมั่น :b1: :b46: :b46:

ซึ่งการฝึกสติเมื่อเกิดการ “หลง” ไปในกรณีนี้ ได้กล่าวถึงไปในโพสก่อนหน้าแล้ว นั่นคือการฝึกสมถะที่มีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าตามมรรค ๒ ขององค์พระอานนท์ ซึ่งเป็นการฝึก “ตามรู้” จน “ตามทัน” และ “รู้เท่าทัน” การหลงไปคิดปรุงแต่ง ซึ่งจะไม่นำมากล่าวซ้ำให้ฟั่นเฝือนะครับ :b1: :b51: :b51:

แต่สิ่งที่จะกล่าวเสริมก็คือ การฝึกปฏิบัติเพื่อว่า ถ้าเกิดการ “หลง” ไปคิดปรุงแต่งแล้ว ทำอย่างไรให้การคิดที่มาจากการหลง (โมหะ) นั้น ไม่เป็นไปเพื่ออกุศล หรือถ้าเป็นไปเพื่ออกุศลแล้ว ให้รู้ตามทันได้ไวก่อนที่จะเกิดความเดือดร้อนจากความคิดที่ไม่ดีนั้น :b38: :b37: :b39:

ซึ่งในขั้นของการปฏิบัติแล้ว นั่นคือ การฝึกคิดอย่างมีสติในกรณีที่ ๑ ด้วยการหมั่นคิดและสั่งการกระทำในสิ่งที่เป็นกุศล ทำใจให้เป็นกุศล หรือน้อมไปในกุศลบ่อยๆ จนจิตคุ้นชินในความคิดอันเป็นกุศล (กุศลวิตก) :b51: :b51: :b53:

จนถ้าเกิดการ “หลง” ไปคิดแล้ว ก็จะหลงคิดไปในทางกุศลหรือเฉยๆ (อัพพยากฤต) :b39: :b39: :b44:

หรือถ้าหลงคิดไปในทางอกุศลแล้วละก็ จิตจะเกิดสติรู้ตัวได้ไวเนื่องจากความไม่คุ้นชินไม่สบายในตัวจิตเอง :b1: :b48: :b49:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2011, 00:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นั่นคือ การฝึกให้หมั่นคิดไปในกุศลวิตก ๓ ได้แก่ เนกขัมมะวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก หรือรวมแล้วก็คือ การหมั่นฝึกฝนการคิดที่เป็นสัมมาสังกัปปะนั่นเอง :b1: :b46: :b39:

เช่น การคิดสงสาร ต้องการช่วยเหลือผู้ที่ลำบากกว่าเรา หรือการคิดแผ่เมตตาบ่อยๆให้ผู้อื่นเป็นสุข (เมตตา กรุณา คือการคิดแบบอพยาบาทวิตกและอวิหิงสาวิตก) :b1: :b46: :b46:

การคิดเผื่อแผ่และคิดสั่งการ ทำบุญทำทานบ่อยๆ (จาคะ คือความคิดแบบเนกขัมมวิตก คิดเสียสละ ไม่ยึดติดในการปรนเปรอสนองความอยากของตน) ฯลฯ เป็นต้น :b1: :b39: :b46:

ขอยกพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงสอนให้ใช้วิธีคิดที่เป็นกุศล เพื่อป้องกันการ “หลง” คิดในทางอกุศล ดังนี้ครับ

“... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆมาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้
ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้
ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้
ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก ...”

(เทวธาวิตักกสูตรhttp://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3953&Z=4098&pagebreak=0)

ดึกแล้ว มาต่อกันคราวหน้าครับ :b46: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2011, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue ขอกราบอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งกับคำอธิบายธรรมที่ละเอียด ลึกซึ้ง ทรงคุณค่า ควรแก่การศึกษาและนำปฏิบัติ ของท่านวิสุทธิปาละครับ :b8: :b27: :b17:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 68 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร