วันเวลาปัจจุบัน 16 เม.ย. 2024, 21:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2011, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งการหันมาจับยึดในสิ่งที่ผิดฝาฝิดตัวนี้คือความฟุ้งในธรรม เกิดความยินดีพอใจด้วยตัณหาอย่างละเอียดขึ้นในจิตว่าได้บรรลุธรรมแล้ว ทำให้หลงผิดติดกับ ไม่เจริญก้าวหน้าในธรรมต่อ :b10: :b46: :b46:

แต่ถ้ามีปัญญามากพอจนถึงจุดหนึ่ง จิตจะสังเกตเห็นว่าวิปัสสนูฯที่ยึดอยู่นั้นก็ยังเป็นสิ่งปรุงแต่ง แล้วจับเอาวิปัสสนูฯต่างๆมาพิจารณาลงในไตรลักษณ์เสียเอง (เหมือนกับที่หลวงปู่ชาท่านให้เอากิเลสต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่วิปัสสนูปกิเลส มาเป็นปุ๋ยที่ทำให้บัวบานพ้นน้ำได้) จนเห็นการดับของ (วิปัสสนูป) กิเลส ก็จะก้าวข้ามผ่านจุดนี้ไปได้ แถมยังเกิดปัญญารู้แจ้งในไตรลักษณ์เพิ่มขึ้น :b8: :b39: :b39:

ซึ่งนี่ เป็นวิธีการที่พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านได้สอนวิธีแก้กรรมฐานเอาไว้เวลานั่งสมาธิแล้วพบเห็นแสงสว่าง ปีติสุข หรือสิ่งต่างๆเข้ามาในจิตจนเกิดความยินดีพอใจ หรือยินร้ายหวาดกลัว ว่าที่เห็นนั้นจริง แต่สิ่งที่เห็นไม่เป็นจริง ให้ดูด้วยสติที่ตั้งมั่นอย่าไหลตาม จนมันดับลงไปในไตรลักษณ์ให้เห็นเองจนเกิดปัญญา :b8: :b39: :b39: :b46:

และถ้าหมั่นปฏิบัติด้วยวิธีนี้คือก้าวข้ามวิปัสสนูฯจนทำให้ :b45:

“ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม” :b46:

และ :b45:

“จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ” :b46:

แล้ว ...

“มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น” :b46:

และถ้า :b45:

“เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น” :b46:

ไปเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่งแล้ว :b45:

“ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป” :b46:

เป็นขั้นๆของอริยมรรคอริยผล ตามที่พระอานนท์ท่านกล่าวทุกประการ :b8: :b46: :b46:

คราวหน้าลองมาเปรียบเทียบมรรค ๔ นี้ กับบันทึกที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติและบทถามตอบธรรมมะขององค์หลวงปู่ดูลย์กับลูกศิษย์กันดูนะครับ ซึ่งถ้าได้ลองปฏิบัติตามวิธีของท่านดูด้วยแล้ว จะเห็นแนวทางที่เดินตามรอยกันอยู่ :b51: :b53: :b48:

เพียงแต่ความหมายของคำว่า ธรรมมุธัจจ์ ซึ่งก็คือความฟุ้งในธรรมด้วยการลองปฏิบัติตามวิธีขององค์หลวงปู่นั้น ตามความรู้ของวิสุทธิปาละเอง (ผิดถูกอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ โดยผู้อ่านควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติดูด้วยก็จะดียิ่ง) จะครอบคลุมถึงความฟุ้งซ่านปรุงแต่งต่างๆของจิต โดยไม่จำกัดอยู่แค่วิปัสสนูฯ ๑๐ :b1: :b44: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 30 ม.ค. 2011, 23:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ม.ค. 2011, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สืบเนื่องจากคราวที่แล้ว ขอขยายความในคำกล่าวของพระอานนท์เพื่อความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นสักเล็กน้อยก่อนครับ :b1: :b38: :b37:

คือเมื่อพิจารณาวิปัสสนูฯลงในไตรลักษณ์จน “ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม” และ “จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ” แล้ว “มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น” :b46: :b46: :b46:

แล้ว “มรรคย่อมเกิด” ขึ้นได้อย่างไร ? :b10: :b41:

ตามความรู้ของวิสุทธิปาละเอง (ผิดถูกอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ โดยผู้อ่านควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติดูด้วยก็จะดียิ่ง) มรรคเกิดจากการที่จิตเห็นและเปรียบเทียบสภาวะของความฟุ้งปรุงแต่งก่อนหน้า (จิตสังขาร) เทียบกับสภาวะที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิหลังจากพิจารณาการปรุงแต่งดับลงในไตรลักษณ์แล้ว (จิตวิสังขาร) :b39: :b44: :b46:

จิตจะเกิดปัญญาเห็นถึงทุกข์ คือจิตที่แกว่งไหวปรุงแต่ง (ภพ ชาติ = ทุกข์ ชาติปิทุกขา) เทียบกับนิโรธ คือจิตที่มีสติสมาธิตั้งมั่น ปลอดจากการปรุงแต่งฟุ้งซ่านซัดส่าย (วิสังขาร หรืออสังขตะ) :b51: :b53: :b45:

ซึ่งจะทำให้เห็นถึงเหตุแห่งความไหวของจิต คือสมุทัย ได้แก่ความยินดีพอใจ ยึดอยากติดใจ เพลิดเพลิน (นิกนฺติ) ในวิปัสสนูฯ และเห็นถึงทางแห่งการหลุดพ้น คือมรรค ได้แก่การละเหตุละสมุทัย คือทำใจให้ปราศจากการปรุงแต่งเมื่อมีวิปัสสนูฯหรือผัสสะต่างๆเกิดขึ้น รู้สักแต่ว่ารู้ โดยใช้สัมมาสติ สัมมาสมาธิ + มรรค ๖ องค์ที่เหลือในการเข้าไปทำให้สภาวะของการ “รู้สักแต่ว่ารู้” เกิดขึ้นให้จิตตั้งมั่นไม่ซัดส่าย จิตฉลาดด้วยปัญญาญาณในการเห็นถึงอริยสัจจ์ หรือปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดและสายดับตลอดทั้งสาย :b8: :b46: :b46:

และถ้าเพียรทำให้มากด้วยสัมมาวายามะแล้วในส่วนที่ว่าไว้ว่า “เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น” ไปเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่งแล้ว “ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป” เป็นขั้นๆของอริยมรรคอริยผล ตามที่พระอานนท์ท่านกล่าวทุกประการ

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 31 ม.ค. 2011, 00:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2011, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น key word ที่เป็นข้อสรุปอันหนึ่งของวิธีปฏิบัติ (หรือมรรค) ก็คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าและพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านได้กรุณาสรุปเป็นวลีสั้นๆให้จำง่าย เข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย ก็คือคำว่า “รู้สักแต่ว่ารู้” :b1: :b46: :b46:

ซึ่งคำว่า “รู้สักแต่ว่ารู้” นี้นะครับ มีอานิสงค์มากถึงกับทำให้ท่านพาหิยทารุจีริยะ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ได้ชื่อว่า เป็นเอตทัคคะในทางตรัสรู้เร็วพลัน (ขิปปาภิญญา) ด้วยการสดับและส่งกระแสจิตตามที่พระพุทธเจ้าเทศน์ให้ฟังในเรื่อง “รู้สักแต่ว่ารู้” เพียงครั้งเดียวขณะที่พระตถาคตกำลังบิณฑบาต สำเร็จเป็นพระอรหันต์เดี๋ยวนั้น ในที่นั้นเอง :b8: :b46: :b41:
(พาหิยสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1607&Z=1698, ประวัติท่านพระพาหิยะ http://84000.org/one/1/28.html)

ถึงตรงนี้ ขอแทรกเพื่อกันการเข้าใจผิดไว้ก่อนว่า การรู้สักแต่ว่ารู้ ไม่ใช่ไม่ให้คิดนะครับ :b46: :b46: :b46:

พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าไม่ให้คิด เพราะการคิดเป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันตามสมมติบัญญัติ (อยู่กับสมมติ และใช้สมมติให้เป็น เช่น นักเรียนคิดคำตอบในข้อสอบ ผู้บริหารคิดวางแผนงานบริษัท การคิดสั่งการตัดสินใจในการควบคุมรถขณะขับอยู่บนถนน ฯลฯ) และในการปฏิบัติธรรมให้รู้แจ้งหลุดพ้น (โยนิโสมนสิการ คิดพิจารณาปรมัตถธรรมโดยแยบคายลงในไตรลักษณ์ ฯลฯ) :b39: :b44: :b45:

ในทางกลับกัน พระองค์ทรงสนับสนุนให้ใช้ความคิดเสียอีกด้วย เพียงแต่ต้องคิดให้ถูกทางเป็นสัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นเกลียวหนึ่งในแปดเกลียว ที่ฟั่นกันเป็นเส้นเชือกที่เรียกว่าอริยมรรคนั่นเอง :b8: :b48: :b53:

โดยการปฏิบัติอยู่ที่ “รู้สักแต่ว่ารู้” นั้น ท่านหมายความว่า หลังจากที่จิตรับรู้การกระทบจากอายตนะต่างๆจนเกิดผัสสะเวทนาตามวงจรปฏิจจสมุปบาทแล้ว ให้เฝ้าระวังการคิดที่เป็นมิจฉาสังกัปปะ คือ คิดอยากสนองตัณหาอุปาทานต่างๆ, คิดในแง่ร้ายพยาบาท, คิดเบียดเบียนรุกรานทำร้าย (คือคิดนอกเหนือไปจากเนกขัมมะ – อพยาบาท – อวิหิงสาสังกัปปะ) ซึ่งรวมแล้วเรียกว่า ความฟุ้งซ่านปรุงแต่ง :b14: :b20: :b33:

หรือที่พ่อแม่ครูอาจารย์เรียกว่า จิตที่ส่งออกนอก ซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) นั่นเอง :b8: :b51: :b53: :b48:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 31 ม.ค. 2011, 00:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2011, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งหลังจากรับรู้ผัสสะต่างๆแล้ว ไม่ว่าจะสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ก็แค่สักแต่ว่ารู้ทั้งผัสสะและเวทนานั้นโดยไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่งส่งจิตออกนอก ก็จะทำให้การรับรู้นั้นบริสุทธิ์ไม่เจือไปด้วยตัณหาจนเกิดอุปาทาน ภพ ชาติ ฯลฯ ในวงจรปฏิจจสมุปบาทสายเกิด นั่นคือ การตัดกระบวนการของทุกข์ไม่ให้เกิด :b39: :b39: :b39:

และหลังจากการรับรู้มีความบริสุทธิ์แล้ว ถ้าจะมีกระบวนการตอบสนองต่อผัสสะเวทนานั้นต่อเนื่องออกไปอีก การตอบสนองนั้นก็จะเป็นไปด้วยปัญญาล้วนๆ นั่นคือการทำงานในส่วนของความคิดที่เป็นสัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นกระบวนการภายในจิต และอาจจะต่อเนื่องด้วยสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ซึ่งเป็นการปฏิบัติต่อโลกภายนอก ต่อเนื่องจากการรู้เฉยๆตามความเป็นจริงแล้วนั่นเอง :b1: :b38: :b37:

ซึ่งขั้นตอนของการรู้เฉยๆเพื่อที่จะปฏิบัติต่อสิ่งที่ผัสสะด้วยปัญญานั้น นอกเหนือจากการตัดกระบวนการเกิดของทุกข์ในวงจรปฏิจจสมุปบาทที่ขั้วของตัณหา ไม่ให้ตัณหาเกิดแล้ว อานิสงค์ที่สำคัญที่สุด คือการเข้าไปตัดถึงรากของกิเลส คือตัวอวิชชา ได้แก่ ความไม่รู้ในอริยสัจอย่างแท้จริง ซึ่งมาจากความเห็นผิด และความยึดอยากในตัวในตน :b4: :b41: :b46:

ซึ่งถ้าปฏิบัติให้มากแล้ว จะเห็นและเข้าใจถึงอริยสัจตามที่แจกแจงไว้ในโพสก่อนหน้า พร้อมทั้งเห็นถึงลักษณะสามัญของสิ่งที่เป็นจริงต่างๆ (ปรมัตถ์ธรรมในส่วนสังขตธรรม คือ จิต เจตสิก รูป) จนเบื่อหน่าย (นิพพิทานุปัสสนาญาณ) คลายกำหนัด (สังขารุเปกขาญาณ) หลุดพ้น (มัคคญาณ ผลญาณ) และเมื่อหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว (ปัจจเวกขณญาณ) ตามพุทธพจน์ที่ปรากฏอยู่หลายที่ในพระไตรปิฎก (ซึ่งอรรถกถาจารย์ได้นำมาขยายขั้นตอนของการพัฒนาทางโลกุตรปัญญาเหล่านี่ในโสฬสญาณตามที่วงเล็บต่อท้ายไว้) :b1: :b51: :b51: :b51:

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 31 ม.ค. 2011, 00:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2011, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุ สาธุ สาธุ

:b42: :b42: :b42:

กลั่นออกมาจากจิตเลยนะคะท่าน อนุโมทนาค่ะ :b4: :b12:

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:

:b8: อนุโมทนา ท่านวิสุทธิปาละ
ขอท่านฯ..เจริญในธรรม..ถึงที่สุดเทอญ :b8:

:b44: :b44: :b44:
sirisuk เขียน:
:b8: :b8: :b8:

สาธุ สาธุ สาธุ

:b42: :b42: :b42:

กลั่นออกมาจากจิตเลยนะคะท่าน อนุโมทนาค่ะ :b4: :b12:


ขอบคุณครับสำหรับคำอนุโมทนาจากกัลยาณมิตร และขอโทษด้วยครับที่ช่วงนี้มีภารกิจทางโลกที่ต้องให้บริหารจัดการค่อนข้างมากมาย :b31: :b31: :b46: :b46:

ความจริงแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ออกมาจากจิตนั่นเองครับ กัลยาณมิตรทุกท่านก็สามารถกลั่นออกมาเองได้ เพียงแต่ว่าถ้าเราหมั่นสังเกตและเรียนรู้อยู่ในจิตในใจของตนเอง ก็จะเห็นความวิเศษวิจิตรมหัศจรรย์ของธรรมต่างๆที่แฝงตัวอยู่

:b33: :b30: :b26: :b18: :b24: :b25: :b22: :b23: :b15: :b11: :b2: :b7: :b13: :b6: :b3: :b19: :b9: :b32: :b5: :b14: :b10: :b20: :b4: :b17: :b27: :b12: :b16: :b8:

หมั่นเพียรสังเกตลักษณะสามัญของธรรมต่างๆไปเรื่อยๆจนเบื่อหน่ายคลายกำหนัด และเมื่อปัญญาเกิด ความวิเศษมหัศจรรย์ที่เป็นโลกียะก็จะเริ่มจางลงจนจิตพ้นวิเศษ กลายเป็นจิตธรรมดาที่พ้นจากการปรุงแต่ง แต่แฝงไปด้วยความสุขอิสระเบิกบานอย่างมากมายมหาศาล อันเป็นความมหัศจรรย์อีกด้านหนึ่งในทางโลกุตระได้เองครับ :b8: :b46: :b41:

ซึ่งจะว่ากันไปแล้ว การศึกษาเรื่องจิตจนเป็นศาสตร์ขึ้นมานั้น ผู้ที่เข้าใจธรรมชาติของจิตเป็นอย่างดีที่สุดก็คือบรมครูของเราชาวพุทธนั่นเอง ไม่ใช่ซิกมันด์ ฟรอยด์ หรือ คาร์ล จุง ฯลฯ ซึ่งผลงานของท่านเหล่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์กับมวลมนุษยชาติ แต่ยังไม่สามารถลงลึกไปถึงปรากฏการณ์อัศจรรย์ทางจิตอีกหลายประการตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และที่สำคัญกว่าก็คือ ยังไม่สามารถนำพามวลมนุษย์ชาติให้พ้นไปจากกองทุกข์ได้อย่างถาวรเหมือนพระพุทธองค์ :b51: :b51: :b51:

โดยหลักการในการศึกษาเรื่องจิตนั้นก็เหมือนกับการเรียนรู้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์นั่นเองครับ คือต้องหมั่นเพียรสังเกตกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นในจิตที่เป็นตัวแปรตามเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรต้น (คือการกระทบจากภายนอก) ด้วยความเป็นกลางปราศจากอคติ สามารถแยกแยะเห็นปรากฏการณ์ต่างๆทางธรรมชาติของจิต คิดพิจารณาใคร่ครวญโดยแยบคายจนสืบสาวเห็นถึงเหตุปัจจัย เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งสรุปเป็น sequence อีกครั้งได้คือ :b39: :b39: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช้สติสมาธิที่ตั่งมั่น, สังเกตปรากฏการณ์ที่เป็นลักษณะสามัญของธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในจิตด้วยการรู้สักแต่ว่ารู้ด้วยใจที่เป็นกลาง ซึ่งอาจจะต่อด้วยการคิดพิจารณาใคร่ครวญให้ถูกทางโดยไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่ง (แต่ถ้าเผลอไปฟุ้งซ่านปรุงแต่งแล้วก็ให้กลับมารู้สักแต่ว่ารู้ในอาการปรุงแต่งนั้นด้วยใจเป็นกลาง) เกิดปัญญารู้ในไตรลักษณ์จนเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และหลุดพ้นจากทุกข์เป็นผลในเบื้องปลาย :b8: :b46: :b46: :b41:

ซึ่งจะสังเกตได้ว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น ผู้ที่ฟังพระธรรมไม่กี่ครั้งแล้วบรรลุธรรม มักเป็นบุคคลที่มีปัญญาสะสมมาแล้วถึงในขั้นเบื่อหน่ายในโลก (นิพพิทาญาณ) ใคร่จะพ้นไปเสียจากโลก (มุจจิตุกัมยตาญาณ) จนต้องออกบวชบำเพ็ญเพียรเป็นโยคี, ชฎิล, ปริพาชก, ฯลฯ และกำลังทบทวนเพื่อจะหาทางหลุดพ้น (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ) กันอยู่แล้ว :b39: :b44: :b38: :b37:

ตัวอย่างเช่น นักบวชพวกแรกๆที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรด ได้แก่ ปัญจวัคคีย์, ชฎิล ๓ พี่น้อง, ท่านอุปติสสะ – โกลิตะ, ฯลฯ พระพุทธเจ้าท่านส่งเสริมอีกนิดเดียวด้วยการเทศน์และท่านเหล่านั้นส่งกระแสจิตพิจารณาตาม ก็จะเกิดความคลายกำหนัดรู้เห็นสังขารตามสภาพความเป็นจริงและเป็นกลาง (สังขารุเปกขาญาณ) จนจิตเกิดปัญญาคล้อยตามต่อการหยั่งรู้อริยสัจจ์ (สัจจานุโลมิกญาณ) และได้ดวงตาเห็นธรรม (โคตรภูญาณ – มัคคญาณ – ผลญาณ) เดี๋ยวนั้นนั่นเอง :b46: :b46: :b46:

ส่วนพวกพระราชา, เศรษฐี, หรือชาวบ้านธรรมดา ต้องใช้เวลาฟังธรรมและปฏิบัติสักพักใหญ่ๆกว่าจะเบื่อหน่ายและคลายกำหนัดลงได้จนดวงตาเห็นธรรม :b5: :b31: :b4: :b8: :b46: :b46: :b41:

คราวหน้าคงต้องมาลองเปรียบเทียบจากบันทึกหลักฐานที่มีเกี่ยวกับคำสอนขององค์หลวงปู่ดูลย์กันเสียทีครับ หลังจากอธิบายเพิ่มเติมรายละเอียดจนคิดว่าไม่น่าจะมีอะไรติดค้างอีก ซึ่งคำสอนขององค์หลวงปู่ เกี่ยวเนื่องอย่างมากกับคำว่า รู้สักว่ารู้ และ จิตเห็นจิต เป็นมรรคครับ :b1: :b51: :b51: :b45:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2011, 01:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 13:50
โพสต์: 4


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาบุญของท่านวิสุทธิปาละด้วยคนครับ

ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2011, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b46:

ก่อนจะมาสรุปวิธีปฏิบัติและผลที่เกิดขึ้นจากแนวทางคำสอนขององค์หลวงปู่ ขอยกเอาข้อความบางส่วนที่หลวงปู่เทศน์ตอบคำถามให้กับลูกศิษย์มาเพื่อเปรียบเทียบกับมรรคข้อที่ ๔ ขององค์พระอานนท์กันก่อนนะครับ ซึ่งมรรคข้อที่ ๔ นี้ถ้าจะว่ากันแล้ว ก็เป็นหัวข้อย่อยของมรรคข้อที่ ๑ หรือ ๒ นั่นเอง :b51: :b51: :b51:

(และในส่วนที่เขียนตามความรู้ของวิสุทธิปาละเองนั้น ผิดถูกอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ ซึ่งผู้อ่านควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติตามแนวทางที่หลวงปู่ให้ไว้ดูด้วยก็จะดียิ่ง :b8: )

(พอดีไปเจอข้อความที่ http://larndharma.org/index.php?/topic/644-หลวงปู่ดูลย์-ตอบปัญหาจิตภาวน/ โดยคุณเก่ง :b8: กรุณาแกะจากเสียงบรรยายมาให้แล้ว เลยขออนุญาตก็อปปี้บางส่วนมาให้ได้อ่านกันครับ)
ที่มา : http://www.fungdham.com/download/sound/dul/06.mp3

ลูกศิษย์ : ที่นี้ คนมาติดตรงนี้ครับผม พอปฏิบัติไปแล้ว มันเกิดความสว่างขึ้นเฉยๆ ติดอยู่ตรงนี้ไม่รู้จะไปตรงไหน ทำยังไง
หลวงปู่ : อ๋อ ไอ้สว่างตัวนี้

ลูกศิษย์ : ดับยังไง
หลวงปู่ : อ้อ สว่างตัวนี้ คือ มันเรียก โอภาส โอภาส แสงสว่างภายนอก ใช้ไม่ได้เลย

ลูกศิษย์ : ครับ
หลวงปู่ : ใช้ไม่ได้

ลูกศิษย์ : แล้วจะแก้ยังไงครับผม
หลวงปู่ : ดูจิต ดูจิตให้มันดับไปเอง จิตมันไปแสวง

ลูกศิษย์ : อ๋อ
หลวงปู่ : มันออกไปแสวง ทุกสิ่งทุกอย่าง จิตออกไปแสวงทั้งนั้น
เพราะว่าไม่รู้ถึงจิตแท้ ถ้ารู้ไม่ถึง ไปหลงกับไอ้สิ่งเหล่านั้น ไปหลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฐถัพพะ ไปหลง
จิตมันออกไปแสวง เห็นเป็นรูปเทวบุตร เทวดา นรก เปรต [เสียงไม่ชัด ~12:50] มันเห็น ไอ้ตัวโอภาสตัวนี้ มันเห็น
แม้แต่ เราไม่เคยรู้ มันรู้ เราไม่เคยเห็น มันเห็น แหม ไปหลงอะไร หลงกับรูปตัวนั้นน่ะ ผิดทางแล้ว


ลูกศิษย์ : ทีนี้ที่เห็นแสง เห็นอะไรต่างๆ เราจะไม่เห็นแล้วกลับมาดูจิต ดูยังไงครับ
หลวงปู่ : มาดูจิต ดูจิต ไอ้สิ่งเหล่านั้นมันขาดไปเอง

ลูกศิษย์ : อ๋อ
หลวงปู่ : ไม่ต้องลำบากไปตัด

ลูกศิษย์ : มาเพ่งดูจิตหรือครับ
หลวงปู่ : ต้นตอมันอยู่ทีนี้ ต้นตอมันอยู่ที่จิตทั้งหมด จิตมันออกไปปรุงแต่ง มันเป็นนิมิต มันออกไป ไปปรุงไปแต่ง

ลูกศิษย์ : หลบเข้ามา เอา เขาเรียกว่า อะไร เอาจิตมากำหนดดูจิตหรือครับผม
หลวงปู่ : จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง
อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง [เสียงไม่ชัด~13:38] มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย
แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค

หลวงปู่ : ก็ไม่มีอะไรมากมาย


ลูกศิษย์ : พูดถึงตอนปฏิบัตินะครับผม เราต้องปล่อยจิตสบายๆ ใช่ไหมครับ ไม่ไปบังคบ ไม่ไปอะไรมัน
หลวงปู่ : ไม่บังคับหรอก แต่ว่าเบื้องต้น ก็ต้องบริกรรม จิตของเราให้เป็นสมาธิ แล้วบริกรรม บริกรรมไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธเท่านั้นเอง ให้พุทโธน่ะฝังอยู่ในจิตในหัวใจ
เราไปเขียนเล่นในนั้นก็ได้ ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ เพื่อให้จิตเป็นผู้บริกรรม ให้จิตเป็นผู้ว่า ไม่ต้องว่าปากเปล่า สติของเราเป็นผู้ว่า ผู้ว่าพุทโธอยู่ตรงไหน ตั้งสติอยู่ตรงนั้น แล้วก็ผู้บริกรรม บริกรรมเรื่อยไป


ลูกศิษย์ : ครับ ตอนนี้ ไปเข้ากับเรื่องที่หลวงปู่ อธิบายไว้รึเปล่า การที่เห็นแสง เห็นโอภาสเนี่ยก็
(หลวงปู่ : อันนี้มันเป็น [เสียงไม่ชัด~14:50] อยู่ในหลักสมาธิเนี่ยล่ะ)

ลูกศิษย์ : อยู่ในหลักที่ว่าจิตส่งออกนอกเป็นสมุทัยใช่มั้ยครับ
หลวงปู่ : มันจะเป็น จิตไปยึด ไปเที่ยว อยู่นั่นแหละ แล้วพาไปเห็น ไม่ว่าอะไรไม่มีที่สิ้นสุด

ลูกศิษย์ : ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2011, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่ : โอภาส อยากเห็นอะไรมันเห็น อยากรู้อะไรมันรู้ มันรู้เอง ไอ้สิ่งที่แปลกๆเหมือนกัน ที่เราไม่เคยรู้ อยากเห็นอะไร มันเห็น อันนั้น อยากรู้อะไร มันรู้อันนั้น มันผุดขึ้นมาให้รู้ น่ะ
แต่ไอ้สิ่งผุดขึ้นนั้น ตัวกิเลสทั้งหมดเลย ไม่ใช่ตัวจริง แล้วเราจะไปเห็นเป็นเงา แล้วจิตของเราเข้าไปยึดเอาสิ่งภายนอก
ที่ไปเห็น เข้าใจว่าเป็นตัวจริง เข้าใจว่าอย่างนั้นเอง เข้าใจว่าเป็นตัวจริง
แท้ที่จริงไม่ใช่ตัวจริง คือตัวกิเลส ถ้าไปหลงอะไรนั่น เป็นวิปัสนู วิปัสสนูปกิเลส วิปัสนูคือไม่ใช่วิปัสสนา คือ วิปัสนู
อุปกิเลส คือตัวกิเลสตั้งหาก ไม่ใช่ของจริงทั้งหมดเลย ของภายนอก
แล้วถ้าเราจะตัดมัน ตัดมันไม่ยาก ก็ต้นตอ มันอยู่ในนี้
มาดูจิต ตั้งจิตให้เห็นจิต แล้วอะไรๆมันขาดไปเอง
ไม่ต้องไปตัดที่อื่น ตัดที่จิต ให้ตั้งจิตอยู่ในจิต
เพ่งจิตเห็นจิต แล้วก็ตั้งสติให้มันเห็นจิต อะไรๆมันก็ขาดไปเอง
ก็หมดเรื่องกันไป โอภาสนั้นก็หมด
หมายความว่า ที่เราดู ไปเห็นตามมันน่ะ หมายความว่า เราไม่รู้เท่ามัน
หมายความว่า เราหลงไป เราหลงไป เราไม่เข้าใจความเป็นจริง หลงไปตามมัน
แล้วแต่มันจะสอน แล้วก็ ไปถือตามมันทั้งหมด สุดท้ายมันจะเป็นบ้า


ลูกศิษย์ : ครับ ถ้าวางไม่ได้เป็นบ้า
หลวงปู่ : จะเป็นบ้า (หลวงปู่หัวเราะ)

ลูกศิษย์ : ครับผม

ลูกศิษย์ : เอ่อตอนนี้ มีปัญหา บางคนที่นั่ง แล้วมีตัวหมุนบ้าง มีตัวโคลงบ้าง มีตัวลอยบ้าง อันนี้จะแก้ยังไงครับ

หลวงปู่ :อยู่ในปิติทั้งหมดเลย อยู่ในปิติทั้งหมด

ลูกศิษย์ :ปิติทั้งหมด
หลวงปู่ :อืม [เสียงไม่ชัด ~ ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ] ปิติมีหลายอย่าง

ลูกศิษย์ : ครับ
หลวงปู่ :[เสียงไม่ชัด ~ ขุททกาปิติ ,ขณิกาปิติ,โอกกันติกาปิต,อุพเพงคาปิติ,ผรณาปิติ]อะไรน่ะ จิตมันลอยไป อันนั้น อันนี้ก็ยังเอาไม่ได้

ลูกศิษย์ : ทีนี้จะแก้ ครับผม ไม่ให้เกิดปิติ
หลวงปู่ : ก็ดูในจิต

ลูกศิษย์ : ก็กลับมาดูจิต
หลวงปู่ : ดูในจิต เห็นจิต อะไรมันก็ดับไป
หมายความว่า จิตของเราอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก ให้มันอยู่เหนือปิติเหล่านั้นอีก
สิ่งเหล่านี้ ให้มันอยู่เหนือทั้งหมดเลย แล้วมันขาดไปเอง ไม่มีอะไร
แต่ก็ไอ้สิ่งเหล่านี้ มัน มันยากมาก เพราะว่า ไอ้[เสียงไม่ชัด~17:38]จิตมันไม่มีตัวมีตนอะไร แล้วก็
จะให้รู้จิตจริงๆ มันก็ต้อง นั่นแหละ


:b8: :b8: :b8: ~~~~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~~~~ :b46: :b46: :b46: ~~~~~~~~

ซึ่งถ้าจะพิจารณาเทียบเคียงกับข้อความที่องค์พระอานนท์กล่าว คือ "… ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้ว (ตามอรรถกถาคือวิปัสสนูปกิเลส) สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ..."

จะเห็นแนวได้ว่าเป็นทางเดินเดียวกันอยู่ แต่หลวงปู่ลงรายละเอียดให้ว่า วิธีที่ใช้ (มรรค) ในการก้าวข้ามความฟุ้งซ่านปรุงแต่งนั้นคือ ใช้สติสมาธิดูเข้าไปให้ถึงในจิต ให้จิตเห็นจิต คือให้รู้สักแต่ว่ารู้ จนรู้อยู่กับตัวรู้ ความฟุ้งซ่านปรุงแต่งจะดับให้เห็นเอง

และจากการทดลองปฏิบัติด้วยการให้จิตเห็นจิตเมื่อมีความฟุ้งปรุงแต่งเกิดขึ้น คือให้รู้กลับมาอยู่กับตัวรู้เมื่อเริ่มรู้ว่าจิตส่งออกนอก ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ก็จะสามารถเข้าใจและเห็นถึงอริยสัจจ์ คือทุกข์ & เหตุแห่งทุกข์ คู่หนึ่ง vs. สุข & เหตุแห่งสุข หรือทางที่จะปฏิบัติให้พ้นทุกข์ (มรรค) อีกคู่หนึ่ง ตามที่ขยายความแล้วในโพสก่อนหน้านั่นเอง (แต่เวลาเห็น ไม่ได้เห็นที่ละตัวหรือทีละคู่นะครับ มันจะอ๋อทีเดียวทั้งสี่องค์เลยในขณะที่จิตข้ามผ่านสังขารความฟุ้งปรุงแต่ง หรืออุทธัจจะ แล้วเห็นในสภาวะที่ปราศจากการปรุงแต่ง หรือวิสังขาร) :b1: :b46: :b46: :b46:

ดึกแล้วครับและต้องตื่นทำกิจแต่เช้า ไว้คราวหน้าจะขอขยายความจากการทดลองปฏิบัติในส่วนของการทำให้จิตเห็นจิต และสภาวะที่เกิดขึ้นในระหว่าง และหลังจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งแล้วว่าเป็นอย่างไร โดยสอบทานกลับจากบันทึกที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงปู่ ซึ่งอันที่จริงแล้ว ในคำเทศน์ชุดเดียวกันกับที่ตัดมาบางส่วนด้านบน องค์หลวงปู่ได้บอกวิธีปฏิบัติ และสภาวะที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งแล้วนะครับ :b51: :b51: :b51:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนที่จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมจากการทดลองปฏิบัติและสภาวะที่เกิดขึ้น ขอให้กัลยาณมิตรได้ศึกษาแนวทางวิธีเจริญจิตภาวนาขององค์หลวงปู่ดูลย์ตาม link ด้านล่างก่อนนะครับ :b1: :b51: :b51:

ซึ่งถึงแม้ว่าไม่ใช่บันทึกที่ถ่ายทอดโดยตรงออกมาจากคำเทศน์ขององค์หลวงปู่เอง แต่น่าจะเป็นกลุ่มลูกศิษย์ใกล้ชิดสรุปแนวทางขึ้นมา (เห็นมีบันทึกบอกว่า เคยเอาไปอ่านให้ท่านฟังด้วย) :b46: :b46: :b46:

แต่เมื่อสอบทานไปยังคำเทศน์ของหลวงปู่, พระไตรปิฎก, และทดลองปฏิบัติดูแล้ว เห็นว่าเข้ากันได้ไม่ขัดกันนะครับ :b1: :b46: :b46: :b46:

วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
http://www.fungdham.com/download/book/article/dul/004.pdf
อเหตุกจิต ๓ ประการ
http://www.fungdham.com/download/book/article/dul/007.pdf

จะสังเกตได้ว่า บันทึกที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงปู่ จะมีเรื่องของอเหตุกจิต ๓ ประการที่มีในพระอภิธรรมติดมาด้วยในหลายวาระ :b46: :b46: :b51:

เนื่องจากว่า ในการภาวนาด้วยวิธีการรู้สักว่ารู้ เพื่อให้รู้อยู่กับตัวรู้ หรือจิตเห็นจิตนั้น เกี่ยวข้องกับอเหตุกจิต ๒ ข้อแรกคือจิตเปิดทวารทั้ง ๕ (ปัญจทวาราวัชชนจิต) และส่งต่อไปที่มโนทวาร (มโนทวาราวัชชนจิต) เป็นปัญจทวารวิถี :b44: :b39: :b42:

หรือเฉพาะมโนทวาร (มโนทวาราวัชชนจิต) เป็นมโนทวารวิถี เสมอ ซึ่งสำหรับผู้มีความรู้ในพระอภิธรรม สามารถใช้ความรู้ในวิถีจิตและจิตตุปปาทะมาวิเคราะห์ขยายความปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้อีกอย่างพิสดารหลายแง่มุม :b1: :b39: :b39:

จากนั้น เมื่อจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งและบรรลุมรรคผลในระดับใดระดับหนึ่งแล้ว (ในพระอภิธัมมัตถสังคหะแจงไว้ว่าเฉพาะพระอรหันต์) อเหตุกจิตข้อสุดท้ายคือ หสิตุปปาทะ หรืออาการที่จิตเบิกบานยิ้มแย้มขึ้นภายในได้เองโดยปราศจากเจตนาที่จะยิ้ม จะเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติเป็นธรรมชาติเช่นนั้นได้เอง ซึ่งองค์หลวงปู่ท่านก็ไม่ได้แจกแจงรายละเอียดไว้มากนัก เพียงแต่ทิ้งร่องรอยเอาไว้ให้ผู้ปฏิบัติรู้เองเห็นเองเท่านั้นนะครับ :b8: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2011, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b46: :b46:

(ที่พิมพ์ต่อจากนี้ไป บางส่วนอาจจะอ่านแล้วเข้าใจยากสักหน่อยเพราะเป็นสภาวะที่หาคำอธิบายอย่างสั้นๆและเหมาะสมได้ลำบาก ต้องลองปฏิบัติเพื่อที่จะรู้จริงด้วยตนเอง แต่จะลองพยายามเปรียบเทียบให้กระชับเท่าที่จะทำได้ดูนะครับ) :b1: :b51: :b51: :b51:

จากแนวคำสอนขององค์หลวงปู่ตามลิงค์ที่ให้ไว้ เมื่อเริ่มปฏิบัติให้รู้ตัวทั่วพร้อม หรือให้รู้อยู่กับตัวรู้ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน .... :b39: :b44: :b44:

สำหรับผู้ที่เริ่มปฏิบัติ วิสุทธิปาละแนะนำว่า ควรจะใช้อิริยาบถที่มีการเคลื่อนไหวน้อยก่อนเพื่อให้จิตรวมได้ง่ายและรู้อยู่กับตัวรู้ ไม่ได้รู้อยู่กับการเคลื่อนไหว, ไม่สบายเกินไปเพื่อป้องกันจิตตกภวังค์, และสามารถอยู่ในอิริยาบถเดียวได้นานพอที่จิตจะพัฒนาไปจนถึงจุดที่เห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง นั่นคืออิริยาบถนั่ง ซึ่งดีที่สุดคือนั่งขัดสมาธิดอกบัว ๑ ชั้นหรือ ๒ ชั้นแล้วแต่สะดวก :b46: :b46: :b46:

เมื่อปฏิบัติไปสักพักใหญ่ๆจนจิตสามารถรู้อยู่กับตัวรู้ได้ชำนาญและคุ้นชินพอแล้ว ความชำนาญและคุ้นชินนี้จะลาม ติดตามออกไปในอิริยาบถอื่นๆได้เองโดยอัตโนมัติ ทั้งในการยืน เดินจงกรม หรือนอนสีหไสยาสน์ :b30: :b48: :b48:

รวมถึงในการใช้ชีวิตประจำวันอันแสนจะวุ่นวายจากการบีบคั้นภายนอก คือ ผัสสะเวทนาอะไรเกิดขึ้นในชีวิตก็จะสักแต่ว่ารู้เองโดยที่จิตไม่กระเพื่อมไหว หรือถ้าไหวก็มีสติรู้ตัวกลับมาอยู่กับ "รู้" ได้ไว ไม่รังเกียจผลักไส หรือติดใจไขว่คว้าในผัสสะเวทนานั้นได้เองโดยอัตโนมัติ เหมือนน้ำที่กลิ้งไหลแต่ไม่ฉาบติดบนใบบัวฉันนั้นครับ :b39: :b41: :b41:

แต่ถ้าทำให้จิตมารู้อยู่กับตัวรู้โดยไม่ปรุงแต่งได้ยาก พ่อแม่ครูอาจารย์ท่านก็ให้ใช้อุบายล่อ คือให้รู้อยู่กับการปรุงแต่งที่เป็นการปรุงแต่งซ้ำๆกันไปก่อน (โดยไม่ใช่การปรุงแต่งที่กระตุ้นนิวรณ์ ๕) เช่น การอยู่กับลมหายใจเข้าออกซ้ำๆกัน (กายสังขาร) หรือใช้คำบริกรรมเช่นพุทโธซ้ำๆกันตามบันทึก (จิตสังขาร) :b51: :b51: :b51:

ให้จิตรู้อยู่กับการปรุงแต่งซ้ำๆจนจิตสงบทิ้งการปรุงแต่งไม่ว่าจะลมหายใจหรือคำบริกรรมพุทโธ นำเข้าสู่การรู้อยู่กับตัวรู้โดยไม่ปรุงแต่งได้เองนะครับ :b41: :b41: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2011, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลับมาที่วิธีการเตรียมนั่งสมาธิเพื่อฝึกการรู้ตัวทั่วพร้อม หรือให้รู้อยู่กับตัวรู้นี้ :b38: :b37: :b39:

มีวิธีการที่น่าสนใจของการฝึกสมาธิแบบ ZaZen ซึ่งแนะแนวทางเตรียมพร้อมในเบื้องต้น เหมือนกับการเริ่มเข้าไปจรดลูกเพื่อตีกอล์ฟ เป็น pre-shot routine เพื่อลองศึกษาเป็นแนวทางเปรียบเทียบดังนี้ครับ :b1: :b46: :b51: :b46: :b51:

อ้างอิง http://www.philospedia.net/zen%20buddhism.html

ในการปฏิบัติซาเซ็นนี้ ท่านโดเก็นได้อธิบายไว้ดังนี้

ณ ที่นั่งประจำของท่าน ปูเสื่อหนา ๆ แล้ววางหมอนลงบนเสื่อ นั่งขัดสมาธิเพชร หรือสมาธิดอกบัว ในท่าสมาธิเพชร ให้วางเท้าขวาบนขาซ้ายและเท้าซ้ายบนขาขวา ในท่าสมาธิดอกบัว ท่านเพียงวางเท้าซ้ายบนขาขวาเท่านั้น ท่านควรห่มจีวรและคาดรัดประคดแต่หลวม ๆ แต่เข้าที่ให้เรียบร้อย แล้ววางมือขวาบนขาซ้ายและวางฝ่ามือซ้ายในท่าหงายขึ้นบนฝ่ามือขวาโดยให้ปลายนิ้วโป้งจรดกัน นั่งตรงในท่าที่ถูกต้อง อย่าเอียงไปทางซ้ายหรือขวา อย่าเอียงไปข้างหน้าหรือข้างหลัง…

เมื่อท่านั่งเรียบร้อยแล้ว สูดลมหายใจลึก ๆ หายใจเข้าออก โคลงร่างไปทางซ้ายทีขวาทีแล้วปล่อยให้หยุดนิ่งสมดุลในท่านั่ง คิดถึงการไม่คิด จะคิดถึงการไม่คิดได้อย่างไร โดยปราศจากการคิด สิ่งนี้เองคือ หัวใจแห่งศิลปะการนั่งซาเซ็น
(สุวรรณา สถาอานันท์, 2534: 49 - 50)


จุดสำคัญอยู่ที่ขีดเส้นใต้ไว้ครับ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับที่หลวงปู่ดูลย์ท่านกล่าวไว้คือ “คิดเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด” คือ จะรู้ว่า มีการรู้อยู่กับตัวรู้ได้ ก็ต่อเมื่อ “รู้” ในการหยุดของความคิด อาศัยความคิดเป็นสื่อให้รู้ในสภาวะหยุดคิดโดยไม่คิด และณ.ขณะที่ “รู้” ในสภาวะที่ความคิดหยุดหรือดับ นั่นคือสภาวะของการที่ “รู้อยู่กับตัวรู้” แล้วนั่นเอง :b46: :b46: :b41:

งงมั้ยครับ ? :b10: :b10: :b6: :b5:

ถ้างง ให้ลองกลับไปอ่านวรรคด้านบนอย่างช้าๆอีกที และลองปฏิบัติตามด้วยการคิด และหยุดคิดโดยให้รู้ในสภาวะแห่งการหยุดคิดโดยปราศจากการคิด ก็จะเข้าใจได้ไม่ยากครับ :b1: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2011, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลังจากที่เรานั่ง “เข้าที่” เพื่อเตรียมพร้อมในการหยุดคิดแล้ว ให้หยุดการคิดด้วยการตั้งสติให้รู้อยู่กับตัวรู้โดยไม่คิด ทำความรู้ตัวให้ทั่วพร้อม :b8: :b46: :b46:

สำหรับผู้ฝึกใหม่แล้วอาการรู้ตัวทั่วพร้อมจะทรงอยู่ได้เพียงขณะเดียว เดี๋ยวจิตก็เผลอกลับไปคิดปรุงแต่งอีก เหมือนกับที่ท่านเปรียบจิตว่าเหมือนลิงที่ไม่อยู่สุข พอสติกลับมาระลึกได้ว่า อ้อ นี่กำลังคิดปรุงแต่งอีกแล้วน๊ะ การคิดปรุงแต่งนั้นก็จะดับกลับมาให้เห็นถึงสภาวะที่รู้อีก (ถ้าไม่หลงพากย์ไปกับความคิดที่ว่า “นี่กำลังปรุงแต่งอีกแล้วน๊ะ” นั้นๆเสียก่อน) สลับไปสลับมาระหว่างการคิดปรุงแต่ง กับการรู้อยู่กับตัวรู้ เพียงแต่การคิดปรุงแต่งจะทำแต้มสะสมแซงหน้ามากกว่าการรู้นะครับสำหรับการฝึกแรกๆ :b5: :b46: :b46:

หลังจากเริ่มชำนาญขึ้น การสะสมแต้มของการรู้จะเริ่มมากขึ้น รู้ในตัวรู้ได้นานขึ้น ถ้าจะสังเกตดีๆจะเห็นว่า เมื่อแรกที่ความคิดดับ อาการรู้อยู่กับตัวรู้จะชัดเจนแจ่มแจ้งเสียจริง คือมีสติคมชัดอยู่กับการรู้ แต่เมื่อประคองอาการรู้ไปซักพักจะเริ่มเห็นอาการค่อยๆเบลอลงของสภาวะการรู้ คือตัวสติจะเริ่มพร่าและมัวลง จนเผลอหลุดไปคิดปรุงแต่งเมื่อใดไม่ทราบ จะรู้อีกทีก็ต่อเมื่อสติกลับมาระลึกได้ว่ากำลังปรุงแต่งอยู่ และกลับมาสู่การรู้ในตัวรู้ต่อไป (ถ้าไม่หลับตกภวังค์ไปเสียก่อน) :b1: :b51: :b51:

และเมื่อชำนาญ (วสี) ถึงจุดหนึ่งแล้ว คือสามารถประคองอาการรู้ที่อยู่กับตัวรู้ไปได้ยาวนานพอ จิตจะรวมพึบลงเข้าสู่สภาวะรู้ที่อยู่กับรู้ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งที่สุด สติมีความคมชัดอย่างเต็มที่ เหมือนการดูหนังที่เป็นระบบ full HD คือถ้าต้องการรู้ในผัสสะใดก็จะรู้ได้ชัดแจ้ง เช่น ณ.สภาวะนั้นลองขยับมือก็รู้ชัด ลองฟังเสียงนกร้องก็รู้ชัด ฯลฯ ปิดรับปสาทรูปทั้ง ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) เหลือแต่เข้ามารู้ในจิต (มโน) คือรู้อยู่กับตัวรู้ ก็รู้ได้ชัด เช่น รู้ตามจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในหมวด “ปราศจาก” :b1: :b51: :b51: :b51:

นั่นคือ รู้ว่าจิตปราศจากโลภะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ฯลฯ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโลภะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ฯลฯ สแกนเข้ามาในจิตจะไม่เจออะไรเจอแต่ความว่าง เหมือนกับเอามือล้วงลงไปในตุ่มน้ำจนถึงก้นตุ่มแล้วไม่เจอน้ำ (กิเลส) เจอแต่ความว่าง ฯลฯ :b41: :b41: :b41:

หรือรู้เฉยๆในตัวรู้ ก็จะอยู่ในสภาวะรู้ที่พร้อมจะรู้ ซึ่งครูบาอาจารย์บางท่านใช้คำว่า รู้อยู่แต่รู้ แต่ไม่รู้ว่ารู้อะไร แต่ยังสามารถรู้โลกผ่านปสาทรูปทั้ง ๕ ได้อยู่ ซึ่งต่างจากในอรูปฌานที่ ๓ (อากิญจัญญายตนะ ที่เอาความไม่มีอะไรเป็นอารมณ์) ที่ไม่มีการรับรู้ผ่านปสาทรูปทั้ง ๕ เลย :b46: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2011, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแทรกตรงนี้ไว้หน่อยสำหรับผู้ปฏิบัติที่ได้ฌาน (ผิดถูกอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ โดยผู้อ่านที่ได้ฌานควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติดูด้วยก็จะดียิ่ง) :b8: :b48: :b48:

สภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อจิตเห็นจิตภายในอย่างแจ้งชัดนั้นคือสภาวะที่จิตเป็นเอกัคคตาอย่างยิ่ง นั่นคือการที่จิตได้ล่วงเข้าสู่ฌานที่ ๔ (จตุตถฌาน นับตามพระสูตร) ในขณะที่จิตรวมพึบลงโดยผ่านฌานขั้นต่ำกว่าไปอย่างรวดเร็ว เป็นจิตที่มีสมาบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว พร้อมที่จะโน้มน้อมไปเพื่ออาสาวักขยญาณนั่นเองครับ :b8: :b44: :b44:

ซึ่งจะพัฒนาต่อไปได้ด้วยสิ่งที่ระบุไว้ในจตุกกะที่ ๔ อานาปานสติสูตรตามที่เคยโพสไว้ก่อนหน้า หรือด้วยสิ่งที่เคยโพสอธิบายไว้ในมรรคที่ ๔ ขององค์พระอานนท์ คือการที่จิตเกิดปัญญาเปรียบเทียบการไหวฟุ้งปรุงแต่งด้วยอุทธัจจะต่างๆ (ทุกขสัจจ์) กับสภาวะที่จิตปราศจากการปรุงแต่งรวมพึบลงตั้งมั่นถึงฐานของจิตเอง (นิโรธสัจจ์) เพื่อให้เห็นถึงอริยสัจจ์ครบทั้งสี่องค์ หรือถ้าพูดในสิ่งเดียวกันคือ เห็นปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดและสายดับ ตามที่เคยอธิบายไว้ก่อนหน้า :b8: :b46: :b46: :b41:

ซึ่งนี่ อาจจะเป็นที่มาของคำว่า วิธีการเอาจิตดูจิตเป็นแนวทางที่ลัดสั้น เพียงแต่ชันหน่อยเพราะต้องคุ้นเคยกับสภาวะในฌาน ๔ แล้วถึงจะสามารถเข้าสู่ฐานของจิต เพื่อให้จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งจนเห็นถึงไตรลักษณ์และอริยสัจจ์ (หรือปฏิจจสมุปบาท) ได้นะครับ :b8: :b46: :b46: :b46:

ซึ่งโยคีนักบวชสมัยก่อน ไม่ได้นำสภาวะที่เข้าสู่ฌาน ๔ โดยลัดสั้นนี้มาใช้นำเพื่อให้เกิดปัญญาหลุดพ้น แต่นำมาเพื่อเป็นบาทฐานของอภิญญาอิทธิฤทธิ์ต่างๆ แต่เมื่อพระพุทธองค์ทรงค้นพบหนทางดังกล่าวและแนะนำสั่งสอนเพื่อให้นักบวชเหล่านั้นเปลี่ยนเส้นทาง บรรดานักบวชเหล่านั้นจึงสามารถบรรลุธรรมได้โดยไม่ยาก แถมด้วยความสามารถในการแสดงฤทธิ์ซึ่งมีมาแต่เดิมได้ด้วย :b51: :b51: :b51:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 30 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร