วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 87, 88, 89, 90, 91, 92, 93 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อผู้ปฏิบัติ สามารถฝึกได้ถึงในระดับที่สามารถเห็นในการเกิดและการดับลงไปของสัญญาขันธ์ในสมาธิภาวนา จนความฟุ้งคิดไม่สามารถก่อตัวขึ้นได้แล้ว ความสามารถนี้ หรือสติสัมปชัญญะและสมาธิที่คมเข้มในระดับนี้ ก็จะติดมาในการใช้ชีวิตประจำวันด้วย :b48: :b42: :b43:

นั่นคือ จิตและสังขารขันธ์ จะปรุงความคิดให้เกิดขึ้นมาได้ เมื่อผู้ปฏิบัติ จงใจที่จะคิด หรือใช้ความคิดในทางที่ไม่เป็นอกุศลเท่านั้น :b49: :b48: :b47:

ส่วนความคิดที่เป็นอกุศล จะไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ในระดับอรหันต์ หรือถ้าเกิดขึ้นมาได้ในระดับมรรคผลที่ต่ำลงมา ก็จะตั้งอยู่ได้ไม่นาน เนื่องเพราะกำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิ สามารถตรวจจับและสกัดกั้นความคิดที่เป็นอกุศลนั้นไว้ได้ตั้งแต่เริ่มก่อตัวขึ้นมาเป็นสัญญา ก่อนที่สัญญาและความคิดอกุศลนั้น จะปรุงเป็นรูปเป็นร่างที่ซับซ้อน (ปปัญจะ) ขึ้นมาให้เกิดทุกข์ หรืออย่างน้อยคือเกิดความรำคาญ (กุกกุจจะ) ในความคิดอกุศล ที่ฟุ้ง (อุทธัจจะ) เกิดขึ้นมาในจิต :b51: :b50: :b54:


และการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิด้วยการรู้ใจในสมาธิภาวนานี้ เมื่อทำให้มากเข้า สติสัมปชัญญะและสมาธิที่เกิดขึ้น ก็จะมีการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ เข้ามาคุ้มครองจิตในชีวิตประจำวันจนเป็นอินทรียสังวรศีลอัตโนมัติ และเป็นสุจริต ๓ อัตโนมัติ :b44: :b39: :b40:

นั่นคือเมื่อเริ่มเกิดสัญญาขึ้นมาในจิต แม้กระทั่งในขณะหลับ สติที่เป็นอัตโนมัติจะทำการตรวจจับ และส่งสัญญาณให้จิตรับรู้ได้ถึงการผุดเกิดขึ้นมาของสัญญานั้น :b49: :b48: :b47:

และเมื่อจิตตามทัน คือรับรู้ได้ถึงการผุดเกิดขึ้นของสัญญา จิตและสติก็จะสามารถตรวจจับ และเข้าไปเห็นได้ถึงการดับลงไปของสัญญานั้น ก่อนที่สัญญานั้นจะถูกสังขารขันธ์นำไปปรุงต่อเป็นความคิด หรือความฝันขึ้นมา :b46: :b47: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 21 มิ.ย. 2017, 12:59, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งถ้าฝึกปฏิบัติถึงจุดหนึ่งแล้ว จิตจะเห็นเพียงแค่อาการขยับๆ โดยที่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า สัญญาอะไรจะเกิดขึ้นมา สัญญานั้นก็ดับลงไปเสียก่อนที่จะเห็นหรือรับรู้ได้จนเห็น หรือฝันเห็นเป็นภาพของสัญญาที่ชัด :b47: :b46: :b41:

ซึ่งนี่ ไม่ต้องกล่าวถึงความฟุ้งคิด หรือความฝันที่ฟุ้งขึ้นมาต่อเนื่องจากสัญญา เนื่องเพราะตัวต้นรากคือสัญญานั้น ได้ดับลงไปก่อนที่สังขารจะปรุงแต่งความคิด หรือความฝันที่เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาแล้วนะครับ :b1: :b46: :b39:

เมื่อนั้น ผู้ปฏิบัติก็จะมีอาการรู้อยู่ในรู้ หรือรู้อยู่ในจิต เป็นวิหารธรรมอันเป็นปรกติ :b49: :b50: :b55:

นั่นคือ ผู้ปฏิบัติ จะมีสติคุ้มครองจิตอยู่ทุกเมื่ออย่างเป็นอัตโนมัติ และจะคิดก็ต่อเมื่อจิตเขาจงใจ หรือมีเจตนาที่จะคิด โดยที่ความฟุ้งคิด หรืออุทธัจจะ จะไม่เกิดขึ้นมาอีกในระดับอรหัตตผล ด้วยเหตุจากทั้งสติสัมปชัญญะและสมาธิที่บริบูรณ์ บวกกับการละอุทธัจจะสังโยชน์ลงได้เพราะการตัดต้นราก ซึ่งก็คือการตัดอวิชชาสังโยชน์ลงได้ด้วยโลกุตรปัญญา นะครับ :b1: :b46: :b39:

และสำหรับการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ในการทำสมาธิภาวนาแล้ว นอกจากผู้ปฏิบัติจะสามารถฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ เฝ้าดูการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ หรือดับลงไปของขันธ์ทั้ง ๓ แล้ว ผู้ปฏิบัติก็ยังสามารถรับรู้อย่างแจ่มแจ้งแก่ใจตนได้แบบต่อหน้าต่อตาเลยนะครับว่า ขันธ์ทั้ง ๓ นั้น สามารถฟุ้ง หรือผุดเกิดขึ้นมาทำงานของเขาได้เอง โดยที่เราไม่สามารถบังคับบัญชาให้เกิด หรือไม่เกิดขึ้นได้ไม่ :b48: :b42: :b47:

ซึ่งนั่นคือ การเห็นในอนัตตาของขันธ์ทั้ง ๓ และรวมถึงตัวจิตที่เป็นวิญญาณขันธ์เองด้วย ที่เมื่อถ้ามีขันธ์ทั้ง ๓ ผุดเกิดขึ้นมาทำงาน จิตก็จะต้องทำหน้าที่รู้ลงในขันธ์ที่ผุดเกิดขึ้นมาทำงานนั้น โดยที่ไม่สามารถสั่งการให้ไม่รู้ได้ไม่ ขันธ์ทุกขันธ์ทำงานและทำหน้าที่ของเขาได้เองตามกระบวนธรรมที่ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย หาได้มีสัตว์บุคคลเราเขาปรากฏอยู่ในกระบวนการทำงานนี้ :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2017, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และการฝึกปฏิบัติสติสัมปชัญญะด้วยการรู้ใจ อันประกอบไปด้วยการทำงานร่วมกันของ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ บวกเข้ากับการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิด้วยการรู้กาย อันประกอบไปด้วยการทำงานของรูปขันธ์นั้น ผู้ปฏิบัติก็จะได้เห็นไตรลักษณ์ครบในขันธ์ทุกขันธ์ :b49: :b48: :b42:

นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะเห็นได้ว่า ขันธ์ทุกขันธ์ไม่เที่ยง อยู่ภายใต้ความบีบคั้นจนเปลี่ยนแปลงเกิดดับ และทุกขันธ์สามารถเกิดดับ, ทำงาน, หรือร่วมกันทำงานได้เองของเขา โดยเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่สามารถบังคับบัญชาว่าจะให้เกิดหรือไม่เกิด หรือเกิดเฉพาะในรูปแบบใดได้ :b46: :b47: :b42:

(โดยอาจจะมีเจตนาแห่งจิต เป็นหนึ่งในเหตุปัจจัยร่วมที่ทำให้ขันธ์ทำงาน หรือร่วมกันทำงานได้ ซึ่งตรงนี้ทำให้คนทั่วไป เข้าใจผิดว่า เราบังคับบัญชาขันธ์ให้ทำงานได้ ตามที่ได้เคยกล่าวไว้แล้วนะครับ) :b1: :b46: :b39:

นั่นหมายความว่า นอกจากการฝึกให้สติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้กายและรู้ใจ จนสติสัมปชัญญะและสมาธิมีความเข้มแข็งบริบูรณ์ อันเป็นผลให้มีอินทรียสังวรศีลและสุจริต ๓ บริบูรณ์แล้ว :b44: :b43: :b42:

การฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้กายและรู้ใจ ยังสามารถทำให้ผู้ปฏิบัติ สังเกตเห็นได้ถึงสามัญลักษณะทั้ง ๓ ของขันธ์ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นการปฏิบัติลงในสติปัฏฐานทั้ง ๔ และโพชฌงค์ทั้ง ๗ จนจิตเบื่อหน่ายคลายกำหนัด เข้าสู่วิชชาและวิมุตติ หลุดพ้นจากกองกิเลสทั้งปวงได้ ตามคำของพระบรมครูในอวิชชาสูตรและตัณหาสูตร ตามที่เคยยกมานะครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วมาต่อกันในสภาวะของผู้ที่มีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามี สกทาคามีเข้าสู่อนาคามี และอนาคามีเข้าสู่อรหันต์กันในคราวหน้า ซึ่งตรงนี้จะเป็นหัวข้อสรุปสุดท้ายในการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ก่อนที่จะไปกันต่อในหัวข้อสุดท้ายของอธิศีลสิกขาในระดับโสดาบันก้าวเข้าสู่สกทาคามี นั่นก็คือ สันโดษ ๑๒ กันนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2017, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันที่สภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามีกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

และเพื่อให้การเรียบเรียงง่ายขึ้น ขอไล่เรียงเป็นหัวข้อๆ ดังนี้ครับ :b1: :b46: :b39:

๑) ผู้ปฏิบัติจะมีอาการของจิตที่รู้ ตื่น และเบิกบานมากยิ่งขึ้น จิตจะมีความสดใส และมีความสว่างได้เองอยู่ภายใน ซึ่งเป็นความสว่างที่แจ่มกระจ่าง ใสอยู่ในจิต อันเกิดจากสติและปัญญาสัมปชัญญะที่เข้มแข็งมากขึ้น ทำให้เจริญอาโลกสิณ หรือกสิณที่มีความสว่างเป็นอารมณ์ของการทำสมาธิได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งตรงนี้จะมีผลต่อเนื่องทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถมีความรู้พิเศษ หรือญาณทัสสนะ อันได้แก่ วิปัสสนาญาณ และทิพจักขุญาณ เพิ่มขึ้นตามมาด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยความสว่างของจิตที่ว่านี้ จะสว่าง กระจ่างใสอยู่ในจิตตลอดเวลา ซึ่งถึงแม้จะอยู่ในห้องที่มืดสนิทแล้วปิดตาลง ความใสสว่างแห่งจิตนี้ ก็ยังคงปรากฏอยู่ให้จิตรับรู้ได้ และความสว่างนี้ จะเด่นดวงมายิ่งขึ้น เมื่อการปฏิบัติ ได้ก้าวหน้ามากขึ้นไปเรื่อยๆตามลำดับของการบรรลุธรรมนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2017, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒) และด้วยความสว่างแห่งจิตที่มีมากขึ้นนี้เอง ทำให้ผู้ปฏิบัติ จะมีความหดหู่ เคลิบเคลิ้ม เกียจคร้าน ง่วงเหงาหาวนอน หรือตัวนิวรณ์ที่เรียกว่า ถีนมิทธะ ลดลงไปได้อย่างมากมาย การเข้านอนก็เป็นไปอย่างมีสติที่แจ่มใส ไม่ง่วงซึม (ยกเว้นอดหลับอดนอนมามากแบบที่ร่างกายเขาทนไม่ไหวจนมีผลเข้ามาทำให้จิตใจตื้อและซึมเซาลง) การตื่นนอนก็เป็นไปอย่างแช่มชื่นสดใส สว่างอยู่ในภายใน ไม่เอาแต่เคลิบเคลิ้มเกียจคร้านซึมเซานอนบิดไปบิดมาอยู่บนเตียง :b46: :b47: :b39:

แต่การปฏิบัติที่มีผลข้างเคียงเกี่ยวเนื่องกับการนอนตรงนี้ต้องระวังไว้นิดนึงนะครับว่า ถ้าการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ เป็นไปอย่างเพ่งจ้องมากเกินไปแล้ว ตัวสติที่มาจากการเพ่งจ้อง อาจจะทำให้เกิดอาการสติค้าง ซึ่งเป็นวิปัสสนูปกิเลสตัวหนึ่งที่เรียกว่า อุปัฏฐาน หมายถึง สติแก่กล้า หรือสติชัดเกินพอดีอันเนื่องมาจากการปฏิบัติที่เพ่งจ้องเคร่งตึงเกินไป ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน คือสติค้าง จิตสว่างจ้าอยู่อย่างนั้นทั้งคืนจนนอนไม่หลับไปนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งวิธีแก้ไขก็คือ การละจากการฝึกสติสัมปชัญญะออกไปสักพัก โดยเอาการฝึกสมาธิแบบพักผ่อนสบายๆเข้ามาแทนที่ จนสติที่แข็งตึงนั้นคลายตัวลง แล้วจึงกลับมาฝึกสติสัมปชัญญะใหม่ โดยลดอาการเพ่งจ้องจนเคร่งตึงลงไป ให้รู้ให้ดูกายใจแบบเบาๆ สบายๆ อาการสติค้างที่ว่าก็จะไม่กลับมารบกวนการฝึกอีก :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2017, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓) ผู้ปฏิบัติจะมีจิตผู้รู้ที่เด่นดวง หมดจด ผ่องใส ควรค่าแก่การเจริญกรรมฐานเกิดขึ้นมา อันเนื่องมาจากคุณสมบัติแห่งจิต และการปรุงแต่งแห่งจิต (หรือกองเจตสิก) ที่เกิดขึ้น ๖ คู่ ๑๒ ประการ ได้แก่ :b48: :b47: :b46:

๓.๑) มีการปรุงแต่งทางจิตในทางที่สงบผ่อนคลาย (กายปัสสัทธิ - ความสงบผ่อนคลายแห่งนามกาย หรือความสงบผ่อนคลายแห่งกองเจตสิก) ซึ่งมีผลทำให้เกิดจิตที่สงบและผ่อนคลาย (จิตตปัสสัทธิ - ความสงบผ่อนคลายแห่งจิต) :b47: :b42: :b48:

๓.๒) มีการปรุงแต่งทางจิตที่เบา (กายลหุตา - ความเบาแห่งนามกาย หรือความเบาแห่งกองเจตสิก) ซึ่งมีผลทำให้เกิดจิตที่เบา (จิตตลหุตา - ความเบาแห่งจิต) :b49: :b43: :b50:

๓.๓) มีการปรุงแต่งทางจิตที่อ่อนโยน นุ่มนวล (กายมุทุตา - ความอ่อนโยน ความนุ่มนวลแห่งนามกาย หรือความอ่อนโยน ความนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก) ซึ่งมีผลทำให้เกิดจิตที่อ่อนโยน นุ่มนวล (จิตตมุทุตา - ความอ่อน ความนุ่มนวลแห่งจิต) :b50: :b51: :b53:

๓.๔) มีการปรุงแต่งทางจิตที่มีความคล่องแคล่ว (กายปาคุญญตา - ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย หรือความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก) ซึ่งมีผลทำให้เกิดจิตที่มีความคล่องแคล่ว (จิตตปาคุญญตา - ความคล่องแคล่วแห่งจิต) :b46: :b47: :b48:

๓.๕) มีการปรุงแต่งทางจิตที่มีความซื่อตรง แม่นยำ ถูกต้อง (กายอุชุตา - ความซื่อตรง แม่นยำ ถูกต้องแห่งนามกาย หรือความซื่อตรง แม่นยำ ถูกต้องแห่งกองเจตสิก) ซึ่งมีผลทำให้เกิดจิตที่มีความซื่อตรง แม่นยำ ถูกต้อง (จิตตอุชุตา - ความซื่อตรง แม่นยำ ถูกต้องแห่งจิต) :b46: :b43: :b42:

๓.๖) มีการปรุงแต่งทางจิตที่ควรค่าแก่การงาน (กายกัมมัญญัตตา - ความควรแก่การงานแห่งนามกาย หรือความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก) ซึ่งมีผลทำให้เกิดจิตที่ควรค่าแก่การงาน (จิตตกัมมัญญัตตา - ความควรแก่การงานแห่งจิต) :b46: :b47: :b42:

ซึ่งทั้ง ๖ คู่ ๑๒ ข้อนี้ก็คือส่วนหนึ่งในโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ที่เป็นเจตสิกธรรมที่ดีงาม เกิดขึ้นกับจิตที่ดีงามทุกประเภทนั่นเอง (ซึ่งอันที่จริงแล้ว จะเกิดครบทั้งหมด ๑๙ ข้อ แต่จะยกข้อที่เป็นอาการของจิตที่รู้สึกได้ด้วยตัวเองแบบเด่นชัดขึ้นมา ๑๒ ข้อนี้เท่านั้นนะครับ) :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2017, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔) ผู้ปฏิบัติจะสามารถตัดความคิดที่ปรุงแต่งฟุ้งซ่าน ความคิดที่เป็นอุศล อันเป็นความคิดที่ทำให้จิตซัดส่าย เป็นทุกข์ ออกไปได้ไว ซึ่งตรงนี้จะมีผลทำให้ผู้ปฏิบัตินั้น มีความวิตกกังวล และความทุกข์อันเนื่องมาจากอาการคิดไปเองที่ลดลง กระวนกระวายน้อยลง หงุดหงิดกับสิ่งรอบตัวน้อยลง เนื่องด้วยมีสติมาตัด และมีปัญญาสัมปชัญญะในการเห็นว่า ทุกสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมานั้น เป็นไปเองตามเหตุปัจจัย :b46: :b47: :b46:

และเมื่อผู้ปฏิบัติเกิดความกลัว เกิดความกังวล หรือเกิดโทสะ จิตเขาก็จะมีสติเข้ามาตัด และวกกลับมาดูที่จิต ทำให้ความทุกข์ใจที่เกิดขึ้นจากการกระทบกระทั่งแห่งจิต หรือทุกข์จากปฏิฆะสังโยชน์ในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามี และสกทาคามีเข้าสู่อนาคามีลดลงไปได้อย่างมากมาย (อันเกิดจากกำลังของสติ) และความทุกข์ตรงนี้จะหมดไปเมื่อเข้าสู่อนาคามี เมื่อปฏิฆะสังโยชน์ถูกกำจัดออกไป (อันเกิดจากกำลังของโลกุตรปัญญา) :b49: :b50: :b48:

ซึ่งทุกข์ที่ลดลงนี้ จะลดลงทั้งควาถี่ ระยะเวลา และความรุนแรงที่เกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติจะมีความสุขสงบที่มากมายขึ้นมหาศาล อยู่กับโลก (ผัสสะ) ที่วุ่นวายได้โดยไม่หงุดหงิดไปกับความวุ่นวายทางโลก เพราะมีรู้เป็นวิหารธรรม :b47: :b48: :b49:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 16 ก.ค. 2017, 21:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2017, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕) ผู้ปฏิบัติจะมีคุณสมบัติทางจิตที่เรียกว่า ธรรมสมาธิ ๕ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในพจนานุกรมของท่านเจ้าประคุณอาจารย์ ป.อ.ปยุตโต ท่านให้ความหมายไว้ว่า :b8: :b46: :b39:

"ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมถูกต้อง กำจัดความข้องใจสงสัยเสียได้ เมื่อเกิดธรรมสมาธิ คือความมั่นสนิทในธรรม ก็จะเกิดจิตตสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิต - concentration of the Dhamma; virtues making for firmness in the Dhamma" อันได้แก่

1. ปราโมทย์ (ความชื่นบานใจ ร่าเริงสดใส - cheerfulness; gladness; joy)
2. ปีติ (ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ - rapture; elation)
3. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็นกายใจ, ความผ่อนคลายรื่นสบาย - tranquillity; reaxedness)
4. สุข (ความรื่นใจไร้ความข้องขัด - happiness)
5. สมาธิ (ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย - concentration)


"ธรรม หรือคุณสมบัติ 5 ประการนี้ ตรัสไว้ทั่วไปมากมาย เมื่อทรงแสดงการปฏิบัติธรรมที่ก้าวมาถึงขั้นเกิดความสำเร็จชัดเจน ต่อจากนี้ ผู้ปฏิบัติจะเดินหน้าไปสู่การบรรลุผลของสมถะ (คือได้ฌาน) หรือวิปัสสนา แล้วแต่กรณี ดังนั้น จึงใช้เป็นเครื่องวัดผลการปฏิบัติขั้นตอนในระหว่างได้ดี และเป็นธรรมหรือคุณสมบัติสำคัญของจิตใจที่ทุกคนควรทำให้เกิดมีอยู่เสมอ"


ซึ่งอย่างที่ท่านเจ้าประคุณอาจารย์ได้ให้รายละเอียดไว้นะครับว่า ธรรม ๕ ประการนี้ จะเป็นตัวชี้วัด หรือเครื่องวัดผลของการปฏิบัติอย่างหนึ่งในการพัฒนาทางจิตที่สูงขึ้นไป และเป็นสิ่งบ่งชี้ได้ว่า การปฏิบัตินั้น ได้มาถูกทางแล้ว ถ้าสมาธิธรรมทั้ง ๕ เกิดมีขึ้นอยู่เนืองๆ :b46: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2017, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๖) ผู้ปฏิบัติจะมีความสามารถในการจดจำรายละเอียดว่าทำอะไร ที่ไหน อย่างไร สำหรับเรื่องราวในอดีตได้ดีขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่สติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ทำให้จิต ได้รู้ชัดในการกระทำนั้นๆ ทำให้เกิดการบันทึกลงเป็นสัญญา หรือความจำได้หมายรู้ที่ชัด ซึ่งตรงนี้ก็เป็นคำแปลจากพุทธพจน์อีกอย่างหนึ่งของคำว่าสติ ซึ่งก็คือ "การจำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้" นั่นเองครับ :b1: :b46: :b39:

ตรงนี้มีเรื่องเล่าของเซนเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการมีสติอยู่ทุกนาทีกับปัจจุบันขณะ ซึ่งทำให้เกิดการจำการที่ทำแล้วได้เรื่องหนึ่ง คือว่า ในรัชสมัยเมจิ มีพระเซ็นองค์หนึ่งชื่อเท็นโน อยู่ในข่ายที่ท่านอาจารย์นันอิน อาจารย์ใหญ่ฝ่ายเซ็น จะส่งตัวออกไปเผยแพร่พระธรรม ท่านเท็นโนจึงหาโอกาสที่จะไปกราบลาท่านอาจารย์ผู้เฒ่า เย็นวันนั้น ฝนตกไม่ขาดระยะ ท่านเท็นโนเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงกางร่มสวมรองเท้าไม้ เดินฝ่าสายฝนตรงไปยังกุฏิท่านอาจารย์นันอิน แล้วกราบเรียนเรื่องนี้ต่อท่านอาจารย์ และฟังความคิดเห็นว่าควรหรือไม่ :b46: :b47: :b46:

ท่านอาจารย์เห็นศิษย์เข้ามาหา ก็ปฏิสันถารเป็นอันดี สักพักท่านก็ถามว่า :b50: :b49: :b48:

"ที่เธอมานี่ สวมเกี๊ยะมาหรือเปล่า?"
"สวมมาครับ" ท่านเท็นโนตอบ
"ร่มล่ะ เธอกางร่มมาหรือเปล่า ?" ท่านอาจารย์ถามอีก
"กางร่มมาด้วยครับ ผมวางไว้นอกประตู" ท่านเท็นโนตอบ
ท่านอาจารย์นันอิน จึงถามต่อไปเรื่อยๆ อีกว่า
"ที่เธอวางร่มอยู่นอกประตูน่ะ เธอวางอยู่ทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวาของเกี๊ยะ?"

ท่านเท็นโนนิ่งอึ้ง เพราะจำไม่ได้ พร้อมกับทราบด้วยตนเองว่าตนยังไม่พร้อม ที่จะนำพระธรรมไปเผยแพร่ เพราะตนยังไม่มีเซ็นอยู่ ทุกลมหายใจ ตกลงต้องอยู่ศึกษากับท่านอาจารย์นันอินไปก่อน โดยที่ท่านอาจารย์ไม่จำเป็นต้องเอ่ยปากห้ามปรามชี้แจง :b50: :b49: :b48:

ท่านเท็นโนต้องอยู่ศึกษาต่ออีก 6 ปี รวมเวลาศึกษาถึง 16 ปี ท่านจึงมีสติสมบูรณ์เต็มที่ :b47: :b48: :b47:

แล้วมาต่อกันที่สภาวะ และผลของการปฏิบัติอื่นๆอีกในคราวหน้า :b49: :b48: :b47:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2017, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันที่สภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามีกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

๗) ผู้ปฏิบัติจะเข้าสมาธิได้ง่ายขึ้น เพราะนิวรณ์ซึ่งเป็นข้าศึกของการทำสมาธินั้น ลดน้อยลงไปในทุกตัว อันได้แก่ กามฉันทะ (ราคะ หรือ โลภะ) และพยาบาท (โทสะ) น้อยลงไป เนื่องจากมีสติมารู้เท่าทันการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของทั้งราคะและโทสะ ทำให้ราคะและโทสะเข้ามารบกวนจิตตอนทำสมาธิได้น้อยลง จิตเข้าสู่ความเป็นกลาง เข้าสู่ความเป็นหนึ่งเดียว (เอกัคคตา) ได้เร็วขึ้น :b49: :b48: :b47:

และแบบที่เล่าเอาไว้ในข้อที่ ๒ แล้วนะครับว่า เมื่อจิตมีความสว่างใสอยู่ในตัวด้วยอำนาจของสติ ปัญญาสัมปชัญญะ และสมาธิ ตัวนิวรณ์ที่ชื่อว่า ถีนมิทธะ คือความหดหู่ เกียจคร้าน ง่วงเหงาหาวนอน ก็จะลดลงไปโดยอัตโนมัติ :b50: :b49: :b48:

และด้วยความที่มีสติสัมปัญญะที่เข้มแข็ง ตัวนิวรณ์ที่เรียกว่า อุทธัจจะกุกุจจะ ซึ่งก็คือ ความคิด ความฟุ้งซ่านซัดส่ายแห่งจิตที่ทำให้เกิดความรำคาญใจ ก็จะลดน้อยลงไป โดยเฉพาะในการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิผ่านการรู้ใจ นั่นคือการรู้ชัดในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของความคิด (วิตก) และในต้นรากของความคิด อันได้แก่เวทนาและสัญญา ทำให้เมื่อสังขาร ปรุงแต่งความคิดฟุ้งขึ้นมาให้จิตได้รับรู้ จิตที่ฝึกดีแล้วในการเห็นและรู้ชัดถึงการดับลงไปของความคิดฟุ้ง ก็จะเข้าไปดับความคิดฟุ้งอันนั้นลงไปได้ ทำให้อุทธัจจะนิวรณ์เข้ามารบกวนได้น้อยลง :b46: :b47: :b48:

และประเด็นที่เกี่ยวกับการทำสมาธิเพื่อกำจัดออกเสียซึ่งอุทธัจจะ หรือความคิดฟุ้งที่สังขารเขาปรุงขึ้นมาตรงนี้ ขอแนะนำวิธีการเล็กๆน้อยๆไว้นะครับว่า การฝึกสมาธิด้วยการรู้ลงในรู้ หรือรู้ลงในจิต หรือในอานาปานสติจตุกกะทื่ ๓ ข้อที่ ๑ จะใช้คำว่า รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต (จิตตปฏิสังเวที) นี้นั้น จะเป็นการฝึกที่กำจัดความคิดฟุ้งได้อย่างดีเยี่ยม โดยในขั้นตอนของการปฏิบัตินั้น ให้ผู้ปฏิบัตินึกถึงคำของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ว่า คิดเป็นหนู รู้เป็นแมว ซึ่งเป็นแมวที่เฝ้าดูอยู่ที่ปากรูหนูอย่างสบายๆ :b46: :b47: :b42:

นั่นคือการใช้จิต เฝ้าดูอยู่ในที่ผุดเกิดขึ้นของความคิด ซึ่งก็คือการเฝ้าดูรู้พร้อมอยู่ที่จิตเองนั้นอย่างสบายๆ ซึ่งเมื่อหนูหรือความคิด หรือต้นรากของความคิดอันได้แก่สัญญา ผุดโผล่ออกมา ผู้รู้หรือจิต ก็จะเห็นและรู้ชัดลงในความคิดฟุ้ง หรือต้นทางของความคิดฟุ้ง อันได้แก่สัญญา หรือความจำได้หมายรู้ที่ผุดเกิดขึ้นนั้นได้ไว ทำให้ความคิดฟุ้ง หรืออุทธัจจะนั้นดับลงไปได้ไว จนเมื่อชำนาญในการฝึกแล้ว ความคิดฟุ้งนั้นก็จะไม่เข้ามากวนจิตที่เฝ้าดูจิตอยู่ ทำให้การทำสมาธิด้วยการเฝ้าดูจิตนั้น เกิดความตั้งมั่นอย่างต่อเนื่องขึ้นได้โดยง่าย :b49: :b44: :b50:

ส่วนนิวรณ์ตัวสุดท้าย คือวิจิกิจฉา อันได้แก่ความลังเลสงสัย ก็จะลดน้อยลงไปได้ด้วยอาการเดียวกันกับความคิดฟุ้งซ่านนะครับ เนื่องจากเมื่อความไม่แน่ใจ หรือความลังเลสงสัยในการปฎิบัติปรากฏเกิดขึ้น จิตที่เฝ้าดูอยู่ที่จิตก็จะสามารถตรวจจับความลังเลสงสัยนั้นได้ และตัวสัมปชัญญะก็จะรู้ได้เองว่า นั่นคือความลังเลสงสัยที่เข้ามารบกวนการปฏิบัติเกิดขึ้นแล้ว โดยที่การรู้เท่าทันในความลังเลสงสัยที่เกิดขึ้น ก็จะทำให้ความลังเลสงสัยที่เกิดขึ้นมานั้น ดับลงไป ทำให้ความลังเลสงสัยเข้ามารบกวนการทำสมาธิได้น้อยลงไป การทำสมาธิก็จะทำได้ง่ายขึ้นด้วยเหตุและผลดังนี้นะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2017, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๘) ผู้ปฏิบัติจะ คิด พูด และทำผิดพลาดในการงานน้อยลง มีความผิดพลาดในชีวิตประจำวันน้อยลง เผลอเรอ และประมาทน้อยลง เนื่องจากทั้งในการคิด พูด และทำกิจต่างๆนั้น จะเป็นการคิด พูด และทำกิจ ที่ประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะและสมาธิ ไม่ใช่เป็นการคิด พูด หรือทำกิจ ที่ประกอบไปด้วยความเผลอเรอ ขาดสติ :b47: :b42: :b43:

ซึ่งความผิดพลาดที่น้อยลงในชีวิตนี้ จะส่งผลให้เกิดความสำเร็จ และความก้าวหน้าในการงาน หรือในทางโลกได้มากขึ้นด้วยนะครับ :b1: :b46: :b42:

๙) เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เหตุฉุกเฉิน หรือในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ผู้ปฏิบัติจะไม่ลนลาน เพราะมีสติสัมปชัญญะและสมาธิมาคอยกำกับภาคการรับรู้ ภาคประมวลผล และภาคสั่งการกระทำต่ออย่างเป็นอัตโนมัติ :b44: :b45: :b53:

และเมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น จิตที่ฝึกมาดีแล้ว จะตั้งรับสถานการณ์นั้นได้อย่างมีสติ เริ่มตั้งแต่ภาครับรู้ในเหตุการณ์ จิตก็จะรับรู้ในอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้นได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่แรกเริ่มที่เกิดขึ้น เนื่อเพราะจิตที่ฝึกดีแล้ว จะมีภาครับ หรือมีระบบ Sensor ที่สามารถตรวจจับอุบัติเหตุ หรือเหตุฉุกเฉินนั้นได้ไวมากขึ้น :b51: :b53: :b55:

และแบบที่เคยเล่าเอาไว้นะครับว่า จิตที่ฝึกดีแล้ว จะเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนได้ช้าลง เวลาของผู้ปฏิบัติจะช้าลงโดยสัมพัทธ์ เนื่องเพราะภาครับรู้ ภาคประมวลผล และภาคสั่งการเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินนั้น มีความไวมากขึ้น ทำให้ผู้ปฏิบัตินั้น มีเวลาในการประมวลผลและสั่งการเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ที่ฉุกเฉินนั้นได้มากขึ้นโดยสัมพัทธ์ อุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นมานั้น ก็จะได้รับการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ทันเวลา :b48: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2017, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐) ผู้ปฏิบัติจะมีความขยันขึ้น เนื่องจากนิวรณ์คือความหดหู่ เกียจคร้าน ง่วงเหงาหาวนอน หรือถีนมิทธะ ลดน้อยลงด้วยความสว่างสดใสและความเบิกบานแห่งจิต การกระทำกิจต่างๆจะกระทำด้วยความกระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว ว่องไว เบิกบาน ไม่งุ่มง่ามเชื่องช้า :b47: :b48: :b49:

การตอบสนองต่อผัสสะในชีวิตจะว่องไว กระฉับกระเฉงขึ้น ไม่เฉื่อยชา เพราะอายตนะที่รับรู้ผัสสะ (sensor ในภาครับ) และ การตอบสนองต่อผัสสะ (response ในภาคประมวลผลสั่งการกระทำต่อ) ไวขึ้น ทำให้กระบวนการรับรู้โลกและตอบสนองต่อโลก ไวขึ้น และมีความผิดพลาดน้อยลง เนื่องเพราะสิ่งรบกวน หรือ noise ในระบบ (โลภะ โทสะ โดยเฉพาะโมหะ) น้อยลง :b50: :b49: :b48:

นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติจะนอนน้อยลง เช่น นอนเพียงวันละ ๔ - ๖ ชั่วโมงก็เพียงพอแล้วในการพักผ่อน การฝันก็จะน้อยลงเพราะการหลับจะเป็นไปด้วยสมาธิในระดับลึก ทำให้การหลับเป็นการหลับลึกและเป็นการพักผ่อนอย่างแท้จริง (ยกเว้นในสถานการณ์บางอย่าง เช่น เกิดความผิดปรกติของฮอร์โมนในร่างกาย เกิดความไม่สมดุลของเคมีในสมอง ฯลฯ ซึ่งส่งผลทำให้ขบวนการนอนหลับผิดรูปแบบไป หรือในช่วงของการปฏิบัติบางช่วงระหว่างสกทาคามีเข้าสู่อนาคามี ที่จิตเขาจะหลบเข้าไปอยู่ในสมาธิในช่วงที่เบื่อหน่ายโลก (นิพพิทาญาณ) แต่จิตยังไม่เป็นกลางต่อความเบื่อหน่ายนั้น ฯลฯ) :b50: :b44: :b45:

๑๑) จากข้อ ๘ ๙ และ ๑๐ นี้นั้น ก็จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติ มีชีวิตที่ประสบความสำเร็จในทางโลกมากขึ้น การงานก้าวหน้าขึ้น ซึ่งมาจากการทำเหตุที่ถูกต้อง คือทำงานด้วยความขยันที่มากขึ้น ทำงานด้วยสติและปัญญาสัมปชัญญะ ความผิดพลาดในงานน้อยลง มีความสุขในการทำงานมากขี้น :b55: :b54:

๑๒) แต่ถ้าการงานสิ่งใดไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นก็จะเข้ามากระทบ จนกระแทกใจของผู้ปฏิบัติได้เบาบางลง ผู้ปฏิบัติก็จะไม่เป็นทุกข์ไปกับการงานที่ไม่ประสบผลสำเร็จนั้น หรือถ้าเป็นทุกข์ ทุกข์นั้นก็จะมีความรุนแรง ระยะเวลา และความถี่ที่เข้ามารบกวนจิตใจที่น้อยลงไป เนื่องจากมีสติและปัญญาสัมปชัญญะในการรู้เท่าทันทุกข์นั้น เข้ามาตัดวงจรของการเกิดทุกข์ออกไป :b48: :b42: :b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2017, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓) ผู้ปฏิบัติจะเป็นคนที่มีบุคลิกสุขุมและนิ่งขึ้น แต่อาการนิ่งนี้จะเป็นการนิ่งแบบนิ่งรู้ (วิปัสสนูเปกขา ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่เป็นกลางในการพิจารณาอารมณ์ที่เกิดตามเหตุปัจจัย, สังขารุเปกขา ได้แก่ ปัญญาเจตสิกที่วางเฉยเมื่อประจักษ์ไตรลักษณะของสังขารธรรม, ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่เป็นกลางไม่เอนเอียงด้วยอคติ, พรหมวิหารุเปกขา ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ซึ่งวางเฉยเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย, โพชฌังคุเปกขา ได้แก่ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ที่เป็นส่วนประกอบที่ทำให้ตรัสรู้อริยสัจธรรม) :b42: :b43: :b39:

นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะมีจิตที่นิ่ง เป็นกลาง ควรค่าแก่การงาน สำหรับพร้อมในการรับรู้และตอบสนองต่อโลกได้ทันทีและถูกต้อง และนิ่ง ไม่หวั่นไหวชอบชังไปกับผัสสะทางโลก ไม่ใช่การนิ่งแบบติดสงบ หรือนิ่งแบบเฉื่อยชามึนงงไม่เอาเรื่องเอาราวอะไร (อัญญานุเบกขา) :b51: :b53: :b55:

จิตของผู้ปฏิบัติจะเป็นกลางมากขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน จะไม่มีอาการแตกตื่นตกใจ หรือสะดุ้งกลัว จิตไม่เหวี่ยงมาก เจอเรื่องราวที่ตลก ก็จะขำน้อยๆ และไม่หัวเราะมาก เจอเรื่องเศร้าก็ไม่มีอาการทางกายและทางจิตมาก จิตกระเพื่อมน้อยลง รู้ผัสสะลงอย่างซื่อๆ รู้แล้วจิตไม่กระเพื่อม ไม่ส่งจิตออกนอก เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกแล้วก็หยุดอยู่แค่นั้น ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรในโลก จิตมีความเป็นกลางในอารมณ์ต่างๆมากขึ้น (ตัตตรมัชฌัตตตา) :b48: :b47: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2017, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๔) ผู้ปฏิบัติจะสามารถรับรู้ความสุขทางโลกได้เต็มเปี่ยมมากขึ้น เนื่องจากการเสพผัสสะต่างๆที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จะเป็นการเสพการกระทบที่ประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะและสมาธิ โดยไม่มีความวอกแวกแทรกเข้ามารบกวน การทานอาหาร ถึงแม้จะเป็นอาหารแบบเดิม แต่ด้วยการเสพที่เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะและสมาธิ ผู้ปฏิบัติก็จะเสพจะทานอาหารนั้นโดยได้รสชาติที่ครบถ้วน เต็มเปี่ยมไปด้วยโอชาของอาหารนั้น ทำให้การทานนั้น เป็นการทานที่อร่อยมากขึ้น เนื่องจากลิ้นสามารถรับรู้รสชาติได้ครบถ้วน และละเอียดละเมียดละไมมากขึ้น :b49: :b50: :b44:

และการเสพโลกด้วยอายตนะอื่นๆก็เช่นเดียวกันกับการทานอาหารนะครับ การมองดูโลกเพื่อชื่นชมธรรมชาติก็จะละเอียดปราณีตมากขึ้น การฟังเสียงของธรรมชาติก็จะไพเราะมากขึ้น การดมกลิ่นหอมของธรรมชาติก็จะหอมมากขึ้น การสัมผัสในธรรมชาติก็จะรับรู้ได้ถึงความปราณีตที่มากขึ้น จิตใจเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติมากขึ้น โดยที่อายตนะภายในภายนอกก็ยังเหมือนเดิม เพียงแต่มีวิญญาณในการรับรู้ที่ดีขึ้นอันเนื่องมาจากกำลังของสติสัมปชัญญะและสมาธิ ภาครับรู้โลก หรือระบบ sensor ทั้ง ๖ ดีขึ้น และมีสิ่งที่เข้ามารบกวนการรับรู้ หรือ noise ที่ลดน้อยลง :b50: :b49: :b44:

ดังนั้น กระบวนการของผัสสะเวทนาจึงสร้างความสุขในสิ่งที่เสพได้มากขึ้น แต่ติดเพลินน้อยลง เพราะมีปัญญาสัมปชัญญะรู้ทันใจที่เคลื่อนไหวไปชอบนั้นได้ไว จนสุดท้ายแล้ว ผู้ปฏิบัติก็จะมีรู้เป็นวิหารธรรมที่ปราณีต มากกว่าที่จะมีความสุขจากการเสพเป็นวิหารธรรม เช่น ฟังเพลงเพราะขึ้น แต่จิตไม่ฟังเองเนื่องจากทำให้ความสุขที่ปราณีตกว่า คือความสงบเบิกบานจากความสงบตั้งมั่นในสมาธินั้นลดลง ผู้ปฏิบัติจะชื่นชมธรรมชาติได้ดื่มด่ำลึกซึ้งมากขึ้น จิตเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติได้มากขึ้น และจะบริโภค หรือเสพความสุขในทางโลกน้อยลง โดยเสพตามที่จำเป็นต้องเสพ นั่นคือมีสันโดษในปัจจัยต่างๆ เนื่องเพราะมีความสุขสงบเป็นวิหารธรรม ที่คอยเป็นน้ำเย็นราดรดและหล่อเลี้ยงจิตใจให้ชุ่มฉ่ำ มากกว่ามีสิ่งเสพทางโลกเป็นน้ำหล่อเลี่ยงจิตใจให้ไม่ห่อเหี่ยวนะครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วมาต่อกันในคราวหน้า :b49: :b48: :b47:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ต.ค. 2017, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันที่สภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามีกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

๑๕) ผู้ปฏิบัติจะมีความโลภ ความอยากเสพผัสสะในทางโลก (ราคะ) น้อยลง ตามระดับของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้น :b49: :b48: :b49:

อธิบายเหตุผลตามสภาวะที่เกิดขึ้นได้ว่า ผู้ปฏิบัติที่มีระดับของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาแล้ว จะมีความสงบสุขและความเบิกบานแห่งจิต เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตให้แช่มชื่นอยู่ได้ด้วยดีอยู่แล้ว :b55: :b54: :b48:

ซึ่งความสงบสุขและความเบิกบานแห่งจิต ที่มีต้นกำเนิดมาจากการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิตรงนี้ จะเป็นความสุขที่ปราณีตกว่าความสุขจากความตื่นเต้นเพลิดเพลินแห่งจิต ที่มีต้นกำเนิดมาจากโลภะ/ราคะ ผ่านการเสพผัสสะทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ นะครับ :b1: :b46: :b39:

ดังนั้น ความอยากมีอยากเป็นอยากเสพในทางโลก อันเนื่องมาจากโลภะหรือราคะนั้น แทนที่จะเป็นความสุขอันปราณีต กลับกลายเป็นความสุขที่ไม่ปราณีตไปเสีย เมื่อเทียบกับความสุขสงบ และจิตใจที่เบิกบานแช่มชื่นอันเนื่องมาจากความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ซึ่งเป็นผลมาจากการมีสติสัมปชัญญะและสมาธิ :b48: :b47: :b46:

ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติที่มีความสุขสงบเบิกบานแห่งจิต อันปราณีตกว่าความสุขที่มาจากความตื่นเต้นเพลิดเพลินแห่งจิตจากการเสพผัสสะในทางโลก จึงมีความอยากความต้องการเสพผัสสะในทางโลกลดลง เนื่องจากความสุขจากการเสพผัสสะในทางโลกนั้น นอกจากจะปราณีตน้อยกว่าความสงบสุขความเบิกบานแห่งจิตแล้ว ยังจะเป็นตัวขัดขวางให้ความสุขสงบเบิกบานแห่งจิต (อันตรงข้ามกับความตื่นเต้นเพลิดเพลินแห่งจิต) มีคุณภาพและปริมาณลดลงไปด้วย
:b50: :b51: :b53:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 87, 88, 89, 90, 91, 92, 93 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร