วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 23:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเริ่มด้วยข้อธรรมที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้ถึงซึ่งการหลุดพ้นนะครับ ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ :b38: :b37: :b39:

ประกอบด้วย สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปทาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรค ๘

ซึ่งหลวงพ่ออำนาจ โอภาโส ผาซ่อนแก้ว เพชรบูรณ์ ท่านได้ฝากเบอร์โทรสายด่วนพระนิพพานให้จำกันง่ายๆคือ ๔๔๔-๕๕๗๘ :b8: :b4: :b39:

ซึ่งข้อธรรมทุกหมวด มีการซ้ำในหัวข้อย่อยบ้าง เนื่องจากต่างกันในแง่ของการนำไปใช้ หรือตามหน้าที่ที่ทำ เช่น อินทรีย์ ๕ หัวข้อเหมือนกับพละ ๕ ทุกประการ แต่ต่างกันที่ พละ ๕ มีหน้าที่ในเชิงป้องกัน (เหมือนทีม Defensive ในอเมริกันฟุตบอล) ส่วนอินทรีย์ ๕ มีหน้าที่ในการรุกไล่องค์ธรรมที่ตรงกันข้ามของแต่ละอย่าง (เหมือนทีม Offensive ในอเมริกันฟุตบอล) :b4: :b39: :b41:

ซึ่งผู้ปฏิบัติ จะต้องบ่มเพาะธรรมทั้ง ๓๗ ประการนี้ให้เข้มแข็งอยู่ในจิตใจ เพื่อที่จะใช้เป็นกำลังในการเดินทางฝ่าฟันและกำจัดกิเลสทีละด่านจนถึงที่สุดแห่งการหลุดพ้น :b8: :b41:

ถึงจุดนี้ ผู้ที่ชอบของง่ายอาจจะเริ่มท้อแล้วว่า ทำไมมันเยอะจัง (ฟ๊ะ !!) ของ่ายๆและน้อยข้อกว่านี้ไม่ได้เหรอ ? :b6: :b6: :b5: :b5:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จัดให้ครับ จริงๆแล้วทั้ง ๓๗ ประการนั้นสามารถรวมลงได้ในมรรคมีองค์ ๘ คือ :b39: :b39:

สัมมาทิฏฐิ คือ ฉันทะ, ศรัทธา, ปัญญา
สัมมาสังกัปปะ คือ วิมังสา, ปัญญา, ธัมมวิจยะ
สัมมาวายามะ คือ สัมมัปปทาน ๔, วิริยะ
สัมมาสติ คือ สติปัฏฐาน ๔, สติ
สัมมาสมาธิ คือ จิตตะ, สมาธิ, ปิติ, ปัสสัทธิ, อุเบกขา
ส่วนสัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะนั้น ต้องมีทุกข้อปนอยู่ด้วย เพราะเป็นการกระทำส่วนที่ต่อเชื่อมสู่ภายนอก :b41: :b46: :b46:

แต่สำหรับคนที่ยังคิดว่ามากอยู่ พระพุทธเจ้าท่านได้ย่อมรรคทั้ง ๘ ข้อลงมาเหลือเพียง ๓ ข้อ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา :b8: :b39: :b39:

เวลาออกเดินทางเพื่อรบกับกิเลส ศีล เปรียบเสมือนโล่ที่คอยไว้ป้องกันกิเลสทำร้าย ซึ่งคุณสมบัติของโล่ คือเอาไว้ป้องกันอย่างเดียว ไม่สามารถกำจัดกิเลสให้ขาดไปได้ แต่ก็ขาดเสียมิได้ เพราะการป้องกันตนจะอ่อนด้อยลงและเสียท่ากิเลสได้โดยง่าย :b41: :b46:

ส่วนปัญญา เปรียบเสมือนดาบ ซึ่งเอาไว้ใช้ทั้งป้องกัน และประหารกิเลสให้หมดไปอย่างสิ้นเชิง :b34: :b34:

โดยทั้งโล่และดาบ จะต้องมีสมาธิ ซึ่งเปรียบได้กับแขนที่แข็งแรง คอยถือโล่และออกแรงฟันดาบ รวมทั้งต้องมีสติ ซึ่งเปรียบเสมือนตา ที่ให้เห็นกิเลสที่โจมตีเข้ามา เพื่อที่จะใช้แขน ยกโล่และฟันดาบให้ตรงทิศตรงทางของกิเลสนั้นๆ :b39: :b43: :b44:

ถ้าตา (สติ) พร่ามัวหรือหลงไปมองอย่างอื่น ก็ไม่สามารถเห็นกิเลสที่เข้ามาได้ทันที่จะยกโล่หรือดาบขึ้นป้องกันได้ หรือถ้าจะรุก ก็ไม่สามารถฟันดาบลงไปให้ตรงถูกตัวกิเลสได้ :b41: :b46: :b46:

และถ้าแขน (สมาธิ) อ่อนแรง ก็ไม่สามารถถือโล่ (ศีล) ได้มั่นคง การป้องกันกิเลสก็จะอ่อนด้อย เมื่อกิเลสมากระทบก็จะเสียท่าได้โดยง่าย หรือในแง่ของการบุก ก็จะไม่มีกำลังในการใช้ดาบ (ปัญญา) ฟันกิเลสให้ขาดลงไปได้เช่นกัน :b37: :b38: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 10 พ.ย. 2010, 00:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
ขอเริ่มด้วยข้อธรรมที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อให้ถึงซึ่งการหลุดพ้นนะครับ ได้แก่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ :b38: :b37: :b39:

ประกอบด้วย สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปทาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรค ๘
:

self-esteem เขียน:
วานผู้รู้ช่วยหน่อยนะครับ ผมสงสัยจริงๆ?
ว่า...ถ้าเรารู้เหตุแห่งการเกิดทุกข์และการดับทุกข์ ซึ่งอยู่ในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว
เราควรจะปฏิบัติอย่างไร? ให้ได้ผลและประสบความสำเร็จถึงขั้นดับทุกข์ ได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว
วานผู้รู้ช่วยตอบคำถามนี้ เพื่อให้ผมได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้องด้วยนะครับ :b8:

self-esteem เขียน:
ขอบคุณท่านวิสุทธิปาละมากๆนะครับ....
ทีทำให้ผมได้รู้ วิธีปฏิบัติตามหลักธรรมของปฏิจสมุปบาท
คือผมอายุแค่16ปี ซึ่งกำลังเป็นวัยคึกคะนองเลยไม่รู้อะไรมาก แต่ผมก็พยายามศึกษาอยู่ครับ
และขอขอบคุณทุกท่านที่มาตอบกระทู้ผมด้วยนะครับ
..........

ผมขอแสดงความเห็นหน่อยครับท่าน วิสุทธิปาละ
ผมดูการแสดงความเห็นหรือช่วยสอนธรรมให้กับน้องเขามันก็ดีอยู่ครับ
แต่ผมว่าท่านไม่ลองพิจารณา ถึงระดับการรับรู้ของผู้ที่รับคำสอนของท่านว่า
ควรให้แค่ไหนอย่างไรหรือไม่ครับ

ผมว่า..อธิบายแค่อริยสัจจ์สี่ก็พอแล้วครับ
เดี๋ยวก็หลงทั้งคนสอนและคนฟังครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


self-esteem เขียน:
ผมอายุแค่16ปี ซึ่งกำลังเป็นวัยคึกคะนองเลยไม่รู้อะไรมาก แต่ผมก็พยายามศึกษาอยู่ครับ


ยามเยาว์เห็นโลกล้วน แสนสนุก
เป็นหนุ่มสาวก็หลงสุข ค่ำเช้า
กลางคนเริ่มเห็นทุกข์ สุขคู่กันนอ
ตกแก่จึงรู้เค้า ว่าล้วนอนิจจัง

อายุน้อง...อยู่ในวัยหนุ่มสาว น่าจะเที่ยวสนุกสนานกับเพื่อนฝูงไปตามวัยตามเรื่อง แต่ทำไมน้อง self esteem จึงสนใจเรื่องของคนวัยกลางคนวัยชราภาพล่ะ มีอะไรคิดยังไงครับเนี่ย :b1: :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมดูการแสดงความเห็นหรือช่วยสอนธรรมให้กับน้องเขามันก็ดีอยู่ครับ

ขอบคุณครับ :b8:

อ้างคำพูด:
แต่ผมว่าท่านไม่ลองพิจารณา ถึงระดับการรับรู้ของผู้ที่รับคำสอนของท่านว่า
ควรให้แค่ไหนอย่างไรหรือไม่ครับ

ผมว่า..อธิบายแค่อริยสัจจ์สี่ก็พอแล้วครับ

ขอขอบคุณครับที่สะกิดมา :b8: :b46: :b46: :b46:

ขอชี้แจงสักเล็กน้อยครับ :b38: :b37: :b39:

๑) ผู้ที่ต้องการสนทนาธรรมในประเด็นนี้ นอกจากคุณ self-esteem แล้ว ยังมีคุณ อานาปานา และคุณ ploypet รวมทั้งอาจจะมีท่านอื่นๆในลานฯ ซึ่งเดาจากข้อความในกระทู้ต่างๆของแต่ละท่าน เข้าใจว่าน่าจะมีระดับความรู้ทางธรรมที่สูงพอสมควร :b1: :b39: :b53: :b46:

๒) สำหรับคุณ self-esteem ถึงแม้จะแจ้งว่าอายุเพียง ๑๖ แต่ถามคำถามในเรื่องที่เกี่ยวกับปฏิจสมุปบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า น่าจะมีระดับความรู้ทางธรรมที่สูงพอสมควร วัยรุ่นที่สะสมต้นทุนมามากพอก็น่าจะยังมีอยู่ และน่าอนุโมทนาครับ :b8: :b47: :b46:

๓) แต่ถ้ามีหัวข้อใดที่คุณ self-esteem ยังไม่รู้ ก็จะได้รู้ข้อธรรมในสิ่งที่ยังไม่รู้ และสอบถามเพิ่มเติมได้ ซึ่งบางประเด็น อาจจะเป็นคำถามที่ดี และมีกัลยาณมิตรท่านอื่นในลานฯตอบได้แจ่มแจ้งกว่าวิสุทธิปาละครับ :b1: :b41: :b46:

๔) สิ่งที่กำลังสื่อคือมรรค ๘ ก็คือหัวข้อหนึ่งในอริยสัจจ์ ๔ นั่นเองครับ แต่เนื่องจากผู้ที่สนใจร่วมสนทนาทั้ง ๓ ถามมาในภาคปฏิบัติ จึงต้องโฟกัสลงไปในภาคปฏิบัติของอริยสัจจ์ ๔ คือมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในหลายรูปแบบ เช่น โพธิปักขิยธรรม ๓๗, ไตรสิกขา, ฯลฯ และสิ่งที่จะพิมพ์เพิ่มเติมต่อไป ก็จะเกี่ยวเนื่องกับอริยสัจจ์ ๔ ทังหมดครับ เพราะอริยสัจจ์ ๔ นั้น เปรียบเหมือนกับรอยเท้าช้าง ที่รอยเท้าสัตว์อื่นๆ (กุศลธรรมอื่นๆ) ย่อมประชุมลงในรอยเท้าช้างได้ ตามที่ปรากฏในมหาหัตถิปโทปมสูตรครับ :b41: :b46: :b48:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอต่อจากคราวที่แล้วครับ :b1: :b37: :b38: :b39:

จาก ๓๗ ข้อในโพธิปักขิยธรรม รวมลงสู่ ๘ ข้อในมรรค และสรุปได้ด้วย ๓ ข้อของไตรสิกขา :b46: :b46: :b46:

บางท่านในยุคที่เน้นความเรียบง่าย (minimalization) นี้ อาจจะรู้สึกว่า ๓ ข้อเยอะไป :b1: :b48: :b47: :b46:

พระพุทธองค์ รวมทั้งครูบาอาจารย์หลายท่านก็ยังมีเมตตาสอนสั่ง สรุปภาคปฏิบัติลงในหัวข้อเดียวคือ ให้ปฏิบัติอยู่ที่จิตที่ใจ เฝ้าคอยพิจารณาสิ่งที่มากระทบต่างๆลงที่จิตที่ใจ เนื่องเพราะ :b46: :b46:

มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโน เสฏฐา มโนมยา ฯ :b8:

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว จะพูดก็ตาม จะกระทำก็ตาม เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น ทุกข์ย่อมตามเขาไป เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคตัวลากเกวียนฉะนั้น :b39: :b45: :b48:

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว จะพูดก็ตาม จะกระทำก็ตาม เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น สุขย่อมไปตามเขา เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น :b46: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1010

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกซักคาถาครับ :b1: :b44: :b45:

จิตฺเตน นิยติโลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ จิตฺตสฺส เอก ธมฺมสฺส สพฺเพว วสมนฺวคู :b8:

สัตว์โลกอันจิตย่อมนำไป ย่อมกระเสือกกระสนไปเพราะจิต สัตว์ทั้งหมดทีเดียว ย่อมเป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือจิต ดังนี้. :b46: :b46:

เพราะจิตเป็นประธานในการรู้อารมณ์ คือธรรมทั้งปวงที่เข้าไปผัสสะ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่สมมติขึ้นมา (บัญญัติธรรม) หรือสิ่งที่เป็นความจริงแท้ (ปรมัตถ์ธรรม ได้แก่ สังขตธรรม (จิต เจตสิก รูป) และอสังขตธรรม (นิพพาน)) :b46: :b47: :b44:

ดังนั้น การเรียนรู้เข้ามาในจิต เพื่อให้เห็นแจ้งถึงความเป็นจริงของจิต (วิชชา) จึงเป็นหนทางของการปฏิบัติในการสลัดหลุดจากความไม่รู้ในไตรลักษณ์ของจิต ซึ่งทำให้เกิดความยึดอยาก อุปาทานในจิตและขันธ์อื่นๆ (อวิชชา) จนถึงซึ่งความหลุดพ้นแห่งจิต :b46: :b46: :b46:

ซึ่งนั่นคือสิ่งที่หลวงปู่ดูลย์ท่านสรุปไว้ว่า จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค :b8:

(น่าจะตอบคำถามของคุณ ploypet ในเรื่องของจิตเป็นประธานในธรรมทั้งปวง และจิตเท่านั้นทำให้เราออกจากอวิชชาได้บ้างนะครับ) :b1: :b39:

ดึกแล้วครับ คงต้องมาต่อในวันข้างหน้า ซึ่งจะสรุปจาก ๓๗, ลงมาที่ ๘, ลงมาที่ ๓, ลงมาที่ ๑, และลงมาที่ ๐ เพื่อให้จบในส่วนของภาคปริยัตินะครับ :b37: :b38: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
กิเลส ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
กรรม ได้แก่ สังขาร ภพ (กรรมภพ)
วิบาก ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา (= ชาติ ชรามรณะ คือการเกิดดับของวิญญาณ ถึงเวทนา)

การจะตัดวงจรปฏิจสมุปบาทสายเกิดเพื่อให้ทุกข์ดับหรือไม่เกิดขึ้นนี้ จะต้องเข้าไปตัดที่ตัวกิเลส คือ อวิชชา ตัณหา และอุปาทาน :b41: :b46: :b46:

ซึ่งถ้าจะไล่ทวนกระแสของวงจรกันในเบื้องต้นแล้ว จะเหลือให้ตัดแค่สอง คือ อวิชชา และตัณหา (ตัณหาดับ อุปาทานย่อมดับ) :b51: :b51: :b51:

แต่ถ้าไล่ทวนขึ้นไปอีก จะเหลือให้ตัดเพียงหนึ่ง คือ อวิชชา

เพราะตัณหาจะเกิดได้ เนื่องจากไม่รู้เท่าทันตามสภาพความเป็นจริงของสิ่งที่ตนผัสสะ (เสพเสวย) ว่าไม่เที่ยงคงตัวอยู่ไม่ได้ ถูกบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถยึดถือเป็นของตัวของตนได้เพราะอยู่ในกระแสของเหตุปัจจัย จึงเกิดความอยาก (หรือไม่อยาก) และยึดเพื่อจะเอา (หรือไม่อยากเอา) เป็นของตัวของตน :b46: :b46: :b46:

ซึ่งเมื่อรู้แจ้งในสภาวะลักษณะสามัญของธรรมชาติแล้ว (วิชชา) ตัณหาคือความทะยานอยากก็จะตั้งอยู่ไม่ได้เองครับ :b51: :b46: :b54:

ท่านวิสุทธปาละตามที่ท่านได้บอกเหตุผลที่ต้องอธิบายในเรื่องปฏิจจสมุบาท
ผมพอจะเข้าใจและเห็นไปตามเหตุผลที่ท่านให้ ดังนั้นผมขอถือโอกาสซักถาม
ในส่วนที่ท่านได้แสดงความเห็นมาก่อนหน้านี้ ดังที่ผมได้อ้างอิงมาครับ

คือว่าผมอยากให้ท่านอธิบายเพิ่มเติมในวงปฏิิจจสมุทบาททั้งสิบสองถ้าเราจะดับทุกข์
เราจะดับอะไรตัวไหนอย่างไรเอาแบบเน้นๆเรียงลำดับ ที่ท่านยกมายังไม่เข้าใจครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2010, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ในวงปฏิจจสมุทบาททั้งสิบสองถ้าเราจะดับทุกข์
เราจะดับอะไรตัวไหนอย่างไรเอาแบบเน้นๆเรียงลำดับ ที่ท่านยกมายังไม่เข้าใจครับ

[color=#BF0000]วงปฏิจจสมุปบาท เราจะเลือกดับอะไร..ตัวไหนอย่างไร..ไม่ได้เลย
มีเเต่...จิต..เท่านั้น ที่สามารถจะตัดวงปฏิจจฯได้

มันมีด้วยหรือครับจิตไปตัดวงจรปฏิจสมุทบาท ผมไม่เคยได้ยิน คุณก็บอกเองว่า วงปฏิจฯเร็วออก
ปานนั้น ผมจะบอกให้ครับ วงปฏิจฯมันตัดไม่ได้หรอกครับ มันมีเหตุ มันย่อมเกิดผล แล้วผลนั้นก็กลายเป็นเหตุอีกต่อหนึ่ง
มันเป็นกฎแห่งอิทัปปัจยตา

อันที่จริงเขาต้องเรียกว่า การดับเหตุครับและเหตุนั้นต้องเป็นเหตุแห่งต้นตอด้วย
เมื่อไม่มีเหตุแห่งต้นตอผลที่ตามมาอีกหลายทอดย่อมหมดไป

แล้วเหตุแห่งต้นตอของปฏิจฯก็คือ [b]อวิชชาครับ อวิชชามีอะไรบ้างคุณคงรู้นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2010, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:
เริ่มด้วย..ต้องทำให้..จิต..มีสติ เกิดบ่อยๆ ตามรู้อารมณ์ (สิ่งที่ถูกรู้ ) อยู่เนืองๆๆ
เช่น ตาเห็นรูป รู้สึกไม่พอใจ เผลอเหน็บเขาไปเเล้ว...นึกขึ้นมาได้...อุ๊ย!เผลอ (เเต่เหน็บไปเเล้ว)
จบไปเเล้ว ๑ วงปฏิจจฯ พอเห็นมั้ยว่า...เราจะเลือกดับอะไรได้?
เเต่..จำเป็นต้องฝึกให้ จิต มีสติ ตามรู้อารมณ์ จะเกิดอะไรขึ้น..ก็ตามรู้ ตามรู้ ตามรู้...ๆๆๆ

แค่เริ่มคุณก็ผิดแล้วล่ะครับ ผมจะสรุปให้ฟังนะครับ อวิชชาเป็นส่วนหนึ่งของวงปฏิจฯ
แล้วในอวิชชานั้นยังแบ่งเป็นอวิชชาแปด สิ่งแรกที่เราต้องรู้คือ การรู้อริยสัจสี่ครับ
คือการรู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค เมื่อรู้แล้วก็เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติ สิ่งนี้เรียกว่า
มรรคมีองค์แปด สิ่งสำคัญการปฏิบัติเราต้องปฏิบัติให้ครบองค์แห่งมรรค
และต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนแห่งศีล สมาธิและปัญญาครับ

ผมสังเกตุดูความเห็นของคุณแล้วพูดได้คำเดียวว่า มันไม่ใช่หลักการตามขั้นตอนครับ
สติที่คุณว่ามันเป็นขั้นของ สมาธิมันข้ามขั้นตอนไปและรู้สึกว่ามันไม่ครบองค์แปดแห่งมรรคครับ

แล้ววิธีการของคุณมันแค่ส่วนเล็กๆของมรรคและอวิชชาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2010, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว



สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ :b8: :b8: :b8:
ทรงตรัสไว้ว่า...

ดูก่อนอานนท์! อย่ากล่าวอย่างนั้น... ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งด้วย มีลักษณะดูลึกซึ้งด้วย...

ดูก่อนอานนท์! เพราะไม่รู้..เพราะไม่รู้ตามลำดับ
เพราะไม่แทงตลอด..ซึ่งธรรมคือ..ปฏิจจสมุปบาทนี้,

(จิตของ) หมู่สัตว์นี้ จึงเป็นเหมือนกลุ่มด้ายยุ่ง
ยุ่งเหยิง..เหมือนความยุ่งของกลุ่มด้ายที่หนาแน่นไปด้วยปม
พันกันยุ่ง..เหมือนเชิงหญ้ามุญชะ และหญ้าปัพพชะ อย่างนี้;
ย่อมไม่ล่วงพ้นซึ่งสังสาระ ที่เป็นอบาย ทุคติ วินิบาต ไปได้.



แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 10 ก.ย. 2011, 06:26, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2010, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
อันที่จริงเขาต้องเรียกว่า การดับเหตุครับและเหตุนั้นต้องเป็นเหตุแห่งต้นตอด้วย
เมื่อไม่มีเหตุแห่งต้นตอผลที่ตามมาอีกหลายทอดย่อมหมดไป

แล้วเหตุแห่งต้นตอของปฏิจฯก็คือ อวิชชาครับ อวิชชามีอะไรบ้างคุณคงรู้นะครับ




ใจเย็นๆๆ อย่าทำเป็นใจร้อน จะดับต้นตอมันก็ต้องเป็นขั้นเป็นตอน
ขั้นเเรกก็โสดาบัน ก็ดับอวิชชาไปชั้นนึง
ว่าเเต่..คุณเอาอะไรไปดับล่ะ? ลองเล่าสู่กันฟังบ้างสิ






โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2010, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ธ.ค. 2010, 14:56
โพสต์: 122

โฮมเพจ: chanachai20102553@gmail.com
แนวปฏิบัติ: ค้นหาธรรมของพุทธเจ้า
งานอดิเรก: มองธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ทุกเล่ม
ชื่อเล่น: แค่นามสมมุติ
อายุ: 32

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: ดูก่อนท่านทั้งหลาย.......................................
เมื่อท่านได้เกิดดวงตาอันเห็นธรรม เกิดทั้งกาย วาจา ใจ รู้แจ้งเหตุการเกิดทุกข์และการดับทุกข์แล้ว จิตของท่านนั้นจะไปตามวิถีเหตุและปัจจัย

เปรียบเสมือน ท่านจุดไฟเผากองหญ้า เมื่อไฟได้ไหม้กองหญ้าจะหมดท่านก็เอาน้ำมาดับไฟ หรือไม่มีน้ำท่านก็ใช้ทรายดับไฟก็ได้
ฉันใดก็ฉันนั้น ต้นเหตุคืออะไร ใช้อะไรในการดับทุกข์ ผลแห่งการดับทุกข์ก็เป็นเช่นนั้นเอง

ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม..........................

.....................................................
เราจักขออำนาจบุญกุศลที่ตัวเราได้กระทำไว้ในอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต
จงแผ่อำนาจแห่งบุญกุศลทั้งหลายไปสู่ทั่วทั้งสากลโลก ทั้ง16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน วิญญาณที่มีรูป และ ไม่มีรูป ทั่วทั้งทุกอณูใน 3 โลกจงได้รับแห่งบุญกุศลที่เราได้จักกระทำไว้ด้วยเทอญ สาธุ.................................


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2010, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:

สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ :b8: :b8: :b8:
ทรงตรัสไว้ว่า...
ดูก่อนอานนท์! อย่ากล่าวอย่างนั้น... ก็ปฏิจจสมุปบาทนี้ ลึกซึ้งด้วย มีลักษณะดูลึกซึ้งด้วย...

ขอบคุณคุณโฮฮับ...ที่เเสดงความเห็น เเต่อย่างไรก็ขอใช้คำพูดเดิม เป็นการเล่าจากประสพการณ์

คุณอานาฯครับคุณไม่คิดที่จะอธิบายให้คนอื่นรู้หรือครับ
ที่ว่าลึกซึ้ง มันลึกซึ้งอย่างไรครับ ถ้าจะแสดงความเห็นแบบนี้ผมว่าอย่าเลยครับ
มันไม่ได้ประโยชน์อะไรครับ
อานาปานา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
อันที่จริงเขาต้องเรียกว่า การดับเหตุครับและเหตุนั้นต้องเป็นเหตุแห่งต้นตอด้วย
เมื่อไม่มีเหตุแห่งต้นตอผลที่ตามมาอีกหลายทอดย่อมหมดไป

แล้วเหตุแห่งต้นตอของปฏิจฯก็คือ อวิชชาครับ อวิชชามีอะไรบ้างคุณคงรู้นะครับ


ใจเย็นๆๆ อย่าทำเป็นใจร้อน จะดับต้นตอมันก็ต้องเป็นขั้นเป็นตอน
ขั้นเเรกก็โสดาบัน ก็ดับอวิชชาไปชั้นนึง
ว่าเเต่..คุณเอาอะไรไปดับล่ะ? ลองเล่าสู่กันฟังบ้างสิ

ใครไปใจร้อนครับ ผมว่าเป็นตัวคุณนั้นแหล่ะที่ใจร้อน ไปเอาเรื่องอะไรมาอธิบายความก็ไม่รู้
ผมจะบอกให้ครับ การปฏิบัติให้เข้าถึงอริยบุคคลมันก็เหมือนกันนั้นแหล่ะครับ
ไม่ว่าจะเป็นโสดาบันหรืออรหันต์ ส่วนใครจะสำเร็จในขั้นไหนมันขึ้นอยู่กับคุณภาพ
จิตนั้นๆครับ ไม่ใช่วิธีการขั้นตอนที่คุณอ้างมา คุณอย่าเอาธรรมมาผสมกันจนเป็นจับฉ่ายซิครับ

แล้วไม่รู้ว่าคุณจะถามมาทำไมอีกว่าผมใช้อะไรดับอวิชชา ผมว่าผมบอกไปแล้วนะ
แตไม่เป็นไรครับ จะบอกให้อีกที่ ถ้าเราจะดับ อวิชชา
เราต้องใช้วิชชาดับ วิชชาที่ว่านี้ก็คือ การรู้อริยสัจจ์สี่ รวมถึงการปฏิบัติในมรรคมีองค์แปด

ขอบอกให้ครับไอ้วิธีการของคุณที่บอกมาตอนแรก เรื่องดูจิตดูสติอะไรนั้นน่ะ
มันเป็นการอธิบายถึงวิธีการ หยุดยั้งการหยุดยั้งการปรุงแต่งของจิต ที่เรียกว่า จิตสังขาร
หรือเรียกอีกอย่างว่า อารมณ์

แต่การปฏิบัติของคุณที่บอกมามันยังใช้ไม่ได้นะครับ เพราะแทนที่จะหยุดที่ อารมณ์หรือจิตสังขาร
คุณปล่อยให้เกิดการปรุงแต่งไปเป็นสังขารและปล่อยให้ล้นมาทางวาจาหรือการพิมพ์
อาจลืมขอบอกก็ไอ้เรื่องเหน็บไม่เหน็บ เสียดสียอกย้อนนี้แหล่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2010, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ผมจะบอกให้ครับ การปฏิบัติให้เข้าถึงอริยบุคคลมันก็เหมือนกันนั้นแหล่ะครับ
ไม่ว่าจะเป็นโสดาบันหรืออรหันต์ ส่วนใครจะสำเร็จในขั้นไหนมันขึ้นอยู่กับคุณภาพจิตนั้นๆครับ

คุณช่วยขยายความ คุณภาพจิตของอรหันต์กับโสดาบัน มันเป็นอย่างไร?
ต่างกันหรือเหมือนกันตรงไหน?



โฮฮับ เขียน:
ถ้าเราจะดับ อวิชชา เราต้องใช้วิชชาดับ
วิชชาที่ว่านี้ก็คือ การรู้อริยสัจจ์สี่ รวมถึงการปฏิบัติในมรรคมีองค์แปด

ที่ว่า..การรู้อริยสัจจ์สี่..ของคุณ รู้อย่างไร?
คุณพอจะอธิบาย..การปฏิบัติในมรรคมีองค์เเปด..ของคุณ เป็นเเบบไหน? อย่างไร?
พอเผื่อเเผ่กัลยาณมิตรได้รู้บ้าง



โฮฮับ เขียน:
ขอบอกให้ครับไอ้วิธีการของคุณที่บอกมาตอนแรก เรื่องดูจิตดูสติอะไรนั้นน่ะ
มันเป็นการอธิบายถึงวิธีการ หยุดยั้งการหยุดยั้งการปรุงแต่งของจิต ที่เรียกว่า จิตสังขาร
หรือเรียกอีกอย่างว่า อารมณ์

ข้อนี้..คุณอธิบายให้กระจ่างขึ้นอีกพอได้มั้ย?


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1414 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 47 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร