ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471
หน้า 3 จากทั้งหมด 95

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 12 ธ.ค. 2010, 07:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

อานาปานา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ผมจะบอกให้ครับ การปฏิบัติให้เข้าถึงอริยบุคคลมันก็เหมือนกันนั้นแหล่ะครับ
ไม่ว่าจะเป็นโสดาบันหรืออรหันต์ ส่วนใครจะสำเร็จในขั้นไหนมันขึ้นอยู่กับคุณภาพจิตนั้นๆครับ

คุณช่วยขยายความ คุณภาพจิตของอรหันต์กับโสดาบัน มันเป็นอย่างไร?
ต่างกันหรือเหมือนกันตรงไหน?


การดูคุณภาพหรือความแตกต่างทางจิตของอริยบุคคล เขาดูกันที่กิเลสหรือที่เรียกว่า สังโยชน์ครับ
ถ้าเทียบกันระหว่าง โสดาบันกับอรหันต์ อรหันต์ไม่มีกิเลศหรือสังโยชน์หลงเหลืออยู่แล้ว แต่โสดาบัน
ยังมีอยู่ครับ

ที่นี้เรามาดูข้อเปรียบเทียบระหว่าง อริยบุคลกันครับว่ามีวิธีอย่างไร
ในเรื่องอวิชชา ในส่วนของความรู้เรื่อง อริยสัจจ์นั้น อริยบุคคลทั้งสี่ระดับมีเหมือนกันหมด
แต่ที่ต่างกันคือคุณภาพของจิต นั่นก็คือการปฏิบัติในมรรคมีองค์แปดครับ
ถ้าเราดูจะเห็นหรือรู้ว่า อริยบุคคลจะปฏิบัติในมรรคมีองค์แปดทุกคน
แต่ประเด็นมันอยู่ตรงที่ใครจะปฏิบัติได้เพรียบพร้อม เสมอต้นเสมอปลายได้แค่ไหนครับ
เพราะการปฏิบัติที่สำคัญที่สุดคือ การปฏิบัติในมรรคมีองค์แปดจะต้องทำพร้อมกันทั้งแปด
ชนิดเสมอต้นเสมอปลายครับ นี่ไงครับที่ผมบอกว่าเกี่ยวกับคุณภาพของจิต

อานาปานา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ถ้าเราจะดับ อวิชชา เราต้องใช้วิชชาดับ
วิชชาที่ว่านี้ก็คือ การรู้อริยสัจจ์สี่ รวมถึงการปฏิบัติในมรรคมีองค์แปด

ที่ว่า..การรู้อริยสัจจ์สี่..ของคุณ รู้อย่างไร?
คุณพอจะอธิบาย..การปฏิบัติในมรรคมีองค์เเปด..ของคุณ เป็นเเบบไหน? อย่างไร?
พอเผื่อเเผ่กัลยาณมิตรได้รู้บ้าง


ข้อนี้มันยาวครับ เอาเป็นว่าผมจะพูดสั้นๆครับ พูดยาวเดี๋ยวคนหมั่นไส้
เรื่องการรู้ในอริยสัจจ์สี่ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่ามีอะไรบ้าง ความสำคัญของเรื่องนี้
มันอยู่ที่ว่า ก่อนที่เราจะทำอะไรเราต้องมีจุดมุ่งหมายเสียก่อน แล้วจึงค่อยลงมือทำ
เพื่อไปยังจุดนั้น
ก่อนอื่นเมื่อเรารู้ในเรื่องอริยสัจจ์สี่แล้ว ใจเราต้องยอมรับในเรื่องอริยสัจจ์สี่โดย
ไม่มีเขื่อนไขหรือข้อแม้ใดๆ สรุปคือยอมรับว่ามันเป็นจริงทุกอย่าง
การปฏิบัติจึงจะเห็นผลครับ

ในมรรคมีองค์แปดนั้น เขาจะแยกออกเป็นหมวดคือ ศีล สมาธิและปัญา
ศีลนั้นก็คือ การงานชอบ วาจาชอบและความประพฤติชอบ
สมาธิก็คือ สติชอบ สมาธิชอบและความเพียรชอบ
ปัญญาคือ ความเห็นชอบและความคิดชอบ

ในแปดอย่างที่กล่าวมา ผมพยายามทำให้ดีและพร้อมกันทั้งแปด ได้บ้างไม่ได้บ้าง
แต่ก็ทำไปเรื่อยๆครับ
อานาปานา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ขอบอกให้ครับไอ้วิธีการของคุณที่บอกมาตอนแรก เรื่องดูจิตดูสติอะไรนั้นน่ะ
มันเป็นการอธิบายถึงวิธีการ หยุดยั้งการหยุดยั้งการปรุงแต่งของจิต ที่เรียกว่า จิตสังขาร
หรือเรียกอีกอย่างว่า อารมณ์

ข้อนี้..คุณอธิบายให้กระจ่างขึ้นอีกพอได้มั้ย?

คุณคงลืมไปว่า จขกทเขาถามเรื่องวงปฏิจจ์ฯ แล้วก็มีสมาชิกเข้ามาอธิบาย
แล้วผมก็ถามไปว่า เราจะดับวงปฏิจจ์ฯเราต้องดับตรงไหน
แต่คุณเอาสิ่งที่ล่วงเลยกับสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดับวงปฏิจจ์มาอธิบาย
สิ่งสำคัญที่ว่า มันก็คือการที่จะต้องรู้และยอมรับในสิ่งที่เราจะลงมือกระทำ
เสียก่อนมันก็คือ การรู้ปริยัติเสียก่อนจึงค่อยลงมือปฏิบัติแล้วจึงเกิดปฏิเวธตามคำสอน

แต่สิ่งที่คุณอธิบายความมา มันเป็นสิ่งที่คนทั่วๆไปเขาทำกัน มันไม่ใช่จุดหมายหลัก
ในการดับอวิชชาในปฏิจจ์ฯครับ
เอาเป็นว่า ถ้าคุณยังไม่รู้เรื่องอริยสัจจ์และทำใจให้ยอมให้ดีเสียก่อน
สิ่งที่คุณอธิบายมามันก็แค่วิธีการระงับอารมณ์ธรรมดาๆนี่เอง

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 12 ธ.ค. 2010, 15:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

ขอต่อจากคราวที่แล้วครับ :b1: :b39: :b39: :b46:

จากการรวมองค์ธรรมในภาคปฏิบัติ ๓๗ ข้อ มา ๘, มา ๓, และลงมาที่ ๑ คือเรียนรู้ที่จิตดวงเดียว :b39: :b39:

ซึ่งอันที่จริงแล้ว การรวมลงมาเหลือแค่ ๑ หัวข้อนั้น ในอีกมุมมอง (คือวิธีปฏิบัติแนวเดียวกัน แต่มองในอีก ๑ dimension) ก็คือองค์มรรคที่มีเพียง ๑ เส้นทางนั่นเอง (เอกายโน มคฺโค) แต่ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๘ อย่าง :b42: :b42: :b39:

เจ้าคุณฯหลวงพ่อประยุทธ์ท่านว่า เปรียบเหมือนกับเชือกเส้นเดียว แต่มี ๘ เกลียวฟั่นกันอยู่ (ซึ่งการจะปีนเชือกขึ้นไปให้พ้นจากวัฏฏะนั้น ใช้เพียงเส้นเดียวเท่านั้นก็พอครับ แต่ต้องใหญ่และเหนียวหน่อย คือต้องฟั่นกัน ๘ เกลียว ไม่อย่างนั้นอาจจะต้านทานแรงฉุดของกิเลสไม่ได้) เพราะในขณะปฏิบัติในเส้นทางสายกลางนี้ จะต้องมีมรรคทั้ง ๘ องค์มาประชุมพร้อมกันเป็นมรรคสมังคี ถึงจะมีกำลังสะสมเพื่อขูดเกลา หรือตัดกิเลสให้ขาดลงได้ :b4: :b44: :b48:

และในองค์มรรคทั้ง ๘ แล้ว จะเน้นสัมมาสติเป็นองค์ที่ใช้ในภาคปฏิบัติการ โดยมีอีก ๗ องค์ที่เหลือเป็นองค์ร่วม ถึงจะได้ชื่อว่า “สัมมา” สติ :b38: :b37: :b36:

โดยความสำคัญของสัมมาสตินั้น ดูได้จากพุทธพจน์ที่เหล่านักปฏิบัติรู้จักกันดีตามนี้ครับ :b8:

เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺข โทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย , ญายสฺส อธิคมาย , นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย , ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย มรรคนี้ เป็นทางสายเดียว เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงเสียซึ่งความเศร้าโศก ร่ำไห้รำพัน เพื่อดับสนิทซึ่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายะ เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ :b46: :b46: :b46:

หนฺท ทานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ

ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราผู้ตถาคตจักเตือนท่านทั้งหลายให้รู้ว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด :b45: :b45: :b45:

ซึ่งอรรถกถาขยายความว่า

บทว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ความว่า จงยังกิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วยความไม่ไปปราศจาก สติ
ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรทมที่เตียงปรินิพพาน ประทานพระโอวาทที่ประทานมา ๔๕ พรรษา รวมลงในบท คือความไม่ประมาทอย่างเดียวเท่านั้น. ก็คำนี้ว่า ปจฺฉิม วาจา เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย. :b41: :b42: :b46:

ซึ่ง จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ที่หลวงปู่ดูลย์ท่านกล่าวไว้ ก็คือการเจริญสติอย่างถูกต้องนั่นเอง (สัมมาสติ) จนเห็นแจ้งในลักษณะสามัญทางธรรมชาติของกายใจ โดยเฉพาะไตรลักษณ์แห่งจิต จนหมดสิ้นซึ่งความปรุงแต่งและยึดอยาก สลัดคืนจิตสู่ธรรมชาติตามสภาพดั้งเดิมของเขาเอง (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) :b41: :b41: :b41:

ซึ่งจะขอกล่าวอย่างละเอียดในวิธีปฏิบัติและสภาวะที่เกิดขึ้นอีกครั้ง ตามบันทึกที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงปู่นะครับ :b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 12 ธ.ค. 2010, 15:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

คราวนี้ในภาคปฏิบัติที่เหลือเพียง ๑ ข้อ จะย่อลงน้อยกว่านี้ได้หรือไม่ ? :b10: :b10: :b6:

ในเชิงพยัญชนะแล้ว เห็นจะไม่ได้ครับ แต่ในเชิงอรรถะแล้ว พอจำกัดความได้จากคำว่า "สุญญตา" (๐) ที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านพยายามชี้ให้เห็นถึงเนื้อแท้ของจิตที่ว่างจากตัวตน แต่มีการถกเถียงที่ตัวพยัญชนะและตีความออกไปอีกอย่างหลากหลาย โดยบางครั้งข้ามเนื้อแท้ทางด้านอรรถะไป :b5: :b10:

เพื่อความเข้าในในสุญญตาที่หลวงพ่อพุทธทาสท่านต้องการสื่อ ขอยกเอาความหมายที่ท่านเจ้าคุณฯหลวงพ่อประยุทธ์ ท่านได้ให้ไว้ (ยกเอามาในความหมายแรก) ว่า

สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง
ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ :b8: :b8: :b46:

ซึ่งสามารถพลิกแพลงให้เป็นทั้งข้อปฏิบัติ คือการพิจารณาสภาพความเป็นจริงลงในปัจจุบันให้เห็นแจ้งถึงอนัตตลักษณะ คือ “ให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ (No “Self” existed, just simply “Current Flow of Nature” โดยคำว่า “current” ในที่นี้ มีความหมายเป็นสองนัยยะ คือ หมายถึงคำว่า “กระแส” ของกระบวนธรรม และ “ปัจจุบัน”ของกระแสธรรม (ปัจจุบันธรรม)) :b46: :b46: :b46:

และเป็นทั้งผลที่เกิดขึ้นหลังจากรู้แจ้งแล้ว คือเห็นทุกอย่างว่างจากตัวตน เป็นเพียงเหตุและผลของกระแสธรรมชาติที่ไหลมาและไหลไป โดยไม่ต้องไปพิจารณาเพื่อให้รู้แจ้งกันอีก :b8: :b46: :b41:

ซึ่งเป็นสภาวะที่พระพุทธองค์ทรงใช้คำว่า จิตอันหาประมาณมิได้บ้าง จิตพ้นวิเศษบ้าง :b41: :b41: :b41:

หรือพ่อแม่ครูอาจารย์บางท่าน ใช้คำที่ระบุสภาวะเช่นนี้ว่า เป็นหนึ่งเดียวรวดบ้าง สามแดนโลกธาตุราบเป็นหน้ากลองบ้าง ฯลฯ เมื่อจิตกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรม คือธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง :b8: :b46: :b47: :b48:

เจ้าของ:  ปริญญา ไชยา [ 12 ธ.ค. 2010, 15:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

สาเหตุของทุกข์ คือ มีร่างกาย,ขันธ์5
ดับขันธ์5(ออกจากจิต)ตัวเดียวก็ไปนิพพานได้ เป็นสังขารุเปกขาญาณ
เป็นนิพพานบนดินทั้งที่ยังไม่ตาย เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน
ขันธ์5ตาย จิตจะติดตามพระพุทธเจ้า,พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ครูบาอาจารย์เข้านิพพาน เป็นอนุปาทิเสสนิพพาน
ศึกษาเพิ่มเติมที่ www.sangthipnipparn.com

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 12 ธ.ค. 2010, 15:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

สรุปของภาคปริยัติในส่วนของหัวข้อปฏิบัติกันนะครับ :b1: :b42: :b39:

คือเริ่มตั้งแต่โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ, มรรค ๑ ที่มีองค์ ๘, ไตรสิกขา ๓, สัมมาสติ ๑, และ ๐ คือสุญญตา :b1: :b46: :b46:

ธรรมะบางหมวดมีรายละเอียดน้อย แต่เข้าใจยาก (เช่น สุญญตา ที่ต้องตีความ) หรือมีรายละเอียดมาก แต่เข้าใจง่าย (เช่น โพธิปักขิยธรรม) แล้วแต่ว่าจะเลือกศึกษาและปฏิบัติอย่างไร ให้ตรงตามจริตนิสัยที่สั่งสมมานะครับ :b12: :b39:

แต่ทั้งหมด มีหลักการและเป้าหมายเดียวกัน คือ

(๑) ให้พิจารณาเห็นถึงความจริงอันเป็นลักษณะสามัญของกายและใจ (ไตรลักษณ์) ได้แก่ความไม่เที่ยง แปรปรวน อยู่ในสภาวะบีบคั้นตลอดเวลา และเป็นกระแสธรรมชาติของเหตุและปัจจัย ไม่สามารถเป็นเจ้าของบังคับบัญชาให้เป็นไปตามอยากได้อย่างถาวร (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ รู้ถูกต้อง ใคร่ครวญถูกทาง - โยนิโสมนสิการ) :b46: :b46: :b46:

(๒) โดยจะเห็นไตรลักษณ์ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งจนเกิดปัญญารู้เท่าทันได้นั้น จะต้องอาศัยการเห็นสภาวะไตรลักษณ์ของกายใจลงในปัจจุบันสดๆร้อนๆ (สัมมาสติ สัมมาสมาธิ รู้ระลึกได้ ตั้งมั่นไม่ซัดส่าย) หรือที่หลวงพ่อทูลท่านกล่าวเป็นอุบายในการปฏิบัติของท่านในทำนองว่า หมั่นเพียรพิจารณาทุกสิ่งที่มาผัสสะลงในไตรลักษณ์ :b44: :b44: :b44:

(๓) และจะต้องสะสมความถี่ในการรู้ ตอกย้ำจนเกิดความคมชัดและยอมรับในสภาวะแห่งความเป็นจริง แปรเป็นปัญญาที่ใช้ในการรู้แจ้งเพื่อการหลุดพ้น (สัมมาวายามะ พากเพียรอย่างต่อเนื่อง) :b39: :b39: :b39:

(๔) โดยมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างถูกต้อง ไม่ละเมิดศีลให้เกิดความเดือดร้อนต่อการบำเพ็ญเพียร (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ) คือ ทั้งต่อผู้อื่น และต่อตนเอง :b46: :b46: :b46:

โดยรายละเอียดในภาคปฏิบัติ และผลหรือสภาวะที่เกิดขึ้น (ปฏิเวธ) โดยอ้างอิงมาจากภาคปริยัติที่สรุปมานี้ ขอค่อยๆทยอยลงนะครับ เพราะคงต้องใช้เวลาพอสมควรในการเรียบเรียง และพิมพ์ (จิ้ม) ทีละตัว :b16:

เจริญในธรรมครับ :b8:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 14 ธ.ค. 2010, 23:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

ต่อจากคราวที่แล้วครับ :b46: :b46: :b46:

โดยแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้เห็นไตรลักษณ์จนเกิดปัญญารูแจ้งนั้น มีทางให้เดิน ๔ แนวทางตามที่พระอานนท์สรุปในช่วงท้ายของวรรคที่ ๒ ปฏิปทาวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต :b38: :b37: :b39:

ซึ่งในวรรคเดียวกันนี้เองในช่วงต้น ได้ระบุถึงวิธีใดที่จะบรรลุธรรมด้วยแนวทางที่เป็นสุข (สุขาปฏิปทา) หรือเป็นทุกข์ (ทุกขาปฏิปทา) และวิธีใดถึงจะบรรลุธรรมได้เร็ว (ขิปปาภิญญา) หรือบรรลุได้ช้า (ทันธาภิญญา) :b46: :b48: :b44:
http://www.84000.org/tipitaka/read/?21/161-163/200-204

เอาส่วนที่อธิบายได้ง่ายก่อนครับ คือช่วงต้นของปฏิปทาวรรค ซึ่งสรุปโดยย่อของปฏิปทาไว้ ๔ ประการ คือ :b44: :b44: :b46:

(๑) ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑ (ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา) :b34: :b5: :b6:
ก) เป็นผู้มีมีราคะ, โทสะ, โมหะกล้า เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะ, โทสะ, โมหะเนืองๆ
ข) พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
ค) อินทรีย์ ๕ (สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์) อ่อน เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า :b46: :b46:

(๒) ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑ (ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งเป็นปฏิปทาขององค์พระโมคคัลลานะท่าน) :b34: :b5: :b4:
ก) เป็นผู้มีมีราคะ, โทสะ, โมหะกล้า เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะ, โทสะ, โมหะเนืองๆ
ข) พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง อนึ่ง มรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน
ค) อินทรีย์ ๕ แก่กล้า เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็วพลัน :b46: :b46:

(๓) ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑ (สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา) :b4: :b23:
ก) ไม่เป็นผู้มีราคะ, โทสะ, โมหะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะ, โทสะ, โมหะเนืองๆ
ข) ได้ฌาน 4 และเสวยสุขในฌาน
ค) อินทรีย์ ๕ อ่อน เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า :b46: :b46:

(๔) ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑ (สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ซึ่งเป็นปฏิปทาขององค์พระสารีบุตรท่าน) :b4: :b12:
ก) ไม่เป็นผู้มีราคะ, โทสะ, โมหะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสอันเกิดแต่ราคะ, โทสะ, โมหะเนืองๆ
ข) ได้ฌาน 4 และเสวยสุขในฌาน
ค) อินทรีย์ ๕ แก่กล้า เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็วพลัน :b46: :b46:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 14 ธ.ค. 2010, 23:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

บางคน รู้ได้ช้า (ทันธาภิญญา) เพราะอินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) มีกำลังอ่อน :b5: :b6:

บางคน รู้ได้เร็ว (ขิปปาภิญญา) เพราะอินทรีย์ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) มีกำลังกล้า :b4: :b12:

บางคน ปฏิบัติได้ลำบาก (ทุกขาปฏิปทา) เพราะมีกิเลสหนา ต้องฝ่าแนวทุกข์ออกไปด้วยการพิจารณาของไม่งาม ไม่น่ายินดี เพื่อให้จิตคลายจากความยินดียินร้าย (อภิชฌา โทมนัส) เพื่อการหลุดพ้น :b34: :b6:

บางคน ปฏิบัติได้สะดวก (สุขาปฏิปทา) เพราะมีกิเลสบาง คือผู้ปฏิบัติที่ได้ฌาน มีสุขสงบในฌาน ใช้จิตที่ประกอบไปด้วยสติเจตสิกที่บริสุทธิ์ในฌาน (จิตผู้รู้, เอกัคคตาจิต) ในการรู้แจ้งในสามัญลักษณะ เพื่อการหลุดพ้น :b12: :b4:

ดังนั้น ในแง่ประโยชน์ของการปฏิบัติแล้ว :b38: :b37:

(๑) ถ้าต้องการมีความก้าวหน้าในธรรมเร็ว ต้องหมั่นบ่มเพาะให้อินทรีย์ ๕ มีกำลังกล้าแข็ง (และเสมอกันเป็นคู่ๆ คือ ศรัทธา & ปัญญา และ วิริยะ & สมาธิ โดยมีกำลังของสติเป็นตัวกลาง) :b46: :b48:

(๒) ถ้าต้องการปฏิบัติแบบสุขาปฏิปทา ต้องเจริญสมถะให้ได้ถึงฌาน ๔ :b39: :b41:

หรือถ้ามีกิเลสมาก (ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่ได้ฌานด้วย) คงต้องเจริญกรรมฐานแนว "ทุกขาปฏิปทา" ที่ "พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง" ตามพระไตรปิฎกแล้วละครับ :b12: :b46:

ไว้มาต่อในส่วนของแนวทางการปฏิบัติ ๔ แนวทางตามที่พระอานนท์ท่านกล่าวถึงในคราวหน้า คือ :b44: :b46: :b41:

๑) วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
๒) สมถะมีวิปัสสนาในเบื้องหน้า
๓) สมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป
๔) พิจารณาไตรลักษณ์ ข้ามอุทธัจจะในธรรม (วิปัสสนูปกิเลส) จนจิตตั้งมั่น หรือ จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ซึ่งเป็นมรรคหรือแนวทางปฏิบัติในหัวข้อนี้

ซึ่งมีรายละเอียดในการปฏิบัติของแต่ละหัวข้อ รวมทั้งสภาวะที่เกิดขึ้นอย่างน่าสนใจและน่าอัศจรรย์อีกมาก แต่จะพยายามย่นย่อให้กระชับเท่าที่จะทำได้นะครับ ไม่อย่างนั้นจะเป็นการเขียนหนังสือธรรมะ ไม่ใช่กระทู้สนทนาธรรมไป :b12: :b46: :b46: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 19 ธ.ค. 2010, 22:02 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

ขอต่อจากคราวที่แล้วครับ :b37: :b38: :b39:

แนวทางปฏิบัติ หรือมรรค ๔ ที่ปรากฏอยู่ในคำกล่าวของพระอานนท์นั้น จะปฏิบัติทางใดทางหนึ่ง หรือใช้หลายแนวทางผสมกันก็ได้นะครับ ตามที่พระอานนท์ท่านได้กล่าวปิดท้ายไว้ในพระสูตร :b54: :b55:

(ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับสติปัฏฐาน ๔ ที่ปฏิบัติฐานใดฐานหนึ่ง หรือหลายๆฐานผสมกันก็ได้ แล้วแต่ว่าปัจจุบันธรรมที่เกิดขึ้น เรารู้หรือพิจารณาอะไรได้ชัด ก็ให้กำหนดเอาปัจจุบันธรรมนั้น เจริญสติปัฏฐานได้เลย) :b45: :b46: :b46:

เริ่มจากวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า :b44: :b44: :b44:

จะใช้สมถะเป็นองค์นำให้จิตนิ่งสงบ ควรค่าแก่การงาน แล้วจึงเจริญวิปัสสนาให้เห็นแจ้งในไตรลักษณ์ โดยสมถะที่ใช้เป็นบาทฐาน ไม่จำเป็นต้องให้ได้ถึงฌาน ใช้แค่อุปจาระก็ได้ แล้วพิจารณาสมาธิพร้อมองค์ธรรมอื่นๆที่ประกอบร่วม ลงในไตรลักษณ์ :b42: :b42: :b42:

แต่ถ้าได้ฌาน การรู้ หรือพิจารณาลงในไตรลักษณ์ จะชัดกว่ากันมาก ซึ่งทำให้เกิดปัญญา (ญาณ) ได้ง่ายกว่า และบรรลุธรรมได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะในฌาน ๔ ที่มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้เด่นดวงอยู่ (เอกัคคตาจิต) :b44: :b51:

ซึ่งนี่เป็นขั้นตอนของการตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระบรมศาสดา ที่ทรงตรัสเล่าว่า ทรงละนิวรณ์ ๕ บรรลุฌาน ๔ เมื่อจิตเป็นสมาบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว หลังจากทรงน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณแล้ว :b8:

ทรง “น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ” และ “รู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา” :b8: :b8: :b8:
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ - ราชวรรค - ๕. โพธิราชกุมารสูตร

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 19 ธ.ค. 2010, 22:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

คราวนี้ ผู้ที่ได้ฌาน ๔ อาจจะสงสัยว่า แล้วการ “น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ” นั้น ทำอย่างไร ? :b10: :b6:

ตามความรู้ของวิสุทธิปาละเอง (ผิดถูกอย่างไร น้อมรับไปพิจารณาครับ โดยผู้อ่านควรจะโยนิโสมนสิการ และทดลองปฏิบัติดูด้วยก็จะดียิ่ง) ขั้นตอนการน้อมจิตไปนี้ อยู่ในจตุกกะที่ ๔ ของอานาปานสติบรรพ (ซึ่งในจตุกกะที่ ๑ ถึง ๓ จะเป็นการพิจารณาสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปในรูปฌาน) :b46: :b46: :b46:

ขยายความได้ว่า หลังจากเจริญอานาปานสติผ่านจตุกกะที่ ๓ โดย “เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต, เป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่, เป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่, เป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่” ซึ่งเป็นการพิจารณาจิตตานุปัสสนาในฌาน ๔ แล้ว :b39: :b41: :b46:

ขณะนั้น จิตเป็นสมาบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เด่นดวงอยู่ แล้วจึงพิจารณาธรรมานุปัสสนาต่อโดยมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ด้วยการ

๑๓ (จากอานาปานสติ ๑๖)) เป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ (อนิจฺจานุปสฺสี) คือการพิจารณารู้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลงในองค์ธรรมต่างๆที่ปรากฏขึ้นมาในฌาน หรือใช้ผู้รู้ที่เด่นดวงนั้น พิจาณาสภาวะของกายใจ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ = ขันธบรรพ) ตามที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน เช่น พิจารณาลงในความไม่เที่ยงของกาย (อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น) หรือการเกิดดับแห่งจิต ซึ่งจะเห็นสภาวะที่มีลักษณะยิบๆยับๆของตัวจิตเองนั้น เป็นองค์พิจารณา :b44: :b45: :b39:

๑๔) เป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ (วิราคานุปสฺสี) คือการพิจารณารู้ชัดในความจางคลายของนิวรณ์ต่างๆในจิต (นิวรณ์บรรพ) และความระงับจางคลายในกำหนัด สงบสนิทของสภาวะจิตในขณะนั้น ซึ่งเป็นผลมาจากการพิจารณาอนิจจังจนคลายความติดใจยินดีในกายใจ เป็นการพิจารณาทุกขลักษณะ คือความทนอยู่ไม่ได้ของราคะกำหนัด (ความติดใจยินดีในขันธ์ต่างๆ) จนเห็นถึงซึ่งการจางคลายออกของการติดยึด และยึดอยาก :b39: :b45: :b51:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 19 ธ.ค. 2010, 22:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

๑๕) เป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ (นิโรธานุปสฺสี) คือการพิจารณารู้ชัดในความดับแห่งกิเลส ที่ไม่มีเหลืออยู่ในองค์ฌานที่ ๔ ซึ่งเป็นผลหลังจากเห็นการคลายกำหนัดในขันธ์ได้เด่นชัด และในขณะเดียวกันก็จะเห็นการดับของความยึดอยาก ยึดติดในกายใจ (อุปาทานขันธ์) ได้ชัดไปด้วย :b39: :b51: :b53:

เมื่อสแกนเข้ามาในจิต ก็จะรู้ชัดว่า โลภะ โทสะ โมหะ ดับไม่มีเหลือ เหมือนเอามือควานลงไปจนถึงก้นตุ่มแล้วเจอแต่ความว่างเปล่าไม่มีน้ำ (กิเลส) เหลือ เพราะความไม่เหลือแห่งความยึดอยากในกายใจ (อุปาทานขันธ์) ทำให้กิเลสต่างๆตั้งอยู่ไม่ได้ :b39: :b44: :b46: :b41:

๑๖) เป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี) ซึ่งเมื่อพิจารณาอนิจจลักษณะ และทุกขลักษณะในฌาน ๔ ถึงจุดที่เห็นการดับในกิเลสตัวต้นราก คือความยึดอยากในกายใจ (อุปาทานขันธ์, อวิชชา) แล้ว จิตที่ตั้งมั่นเด่นดวงอยู่จะรวมพรึบลงแล้วกระจายแผ่ออกไม่มีประมาณ คือเป็นสภาวะของจิตที่สลัดคืนรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรม คือธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง :b55: :b55: :b55:

ซึ่งจิตจะเห็นสภาวะของอนัตตา หรือ สุญญตา อย่างแจ่มแจ้ง คือ ความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆที่ไม่มีตัวตน บุคคล เราเขา อยู่ภายในจิต

จิตจะมีอาการเบาไม่มีน้ำหนัก (คือจะรู้สึกเหมือนกับว่า เบาแล้วแขวนลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งเบากว่าในสภาวะที่จิตตั้งมั่นในจตุกกะที่ ๓ ซึ่งเบาแบบตั่งมั่นยืนอยู่บนพื้น คือยังมีน้ำหนักของตัวจิตเองถ่วงอยู่) จิตจะมีอาการแช่มชื่น เบิกบาน ยิ้มแย้มอยู่ภายในจนกว่าจะถอนออกจากการเห็นสภาวะสุญญตา กลับมาสู่สภาวะก่อนหน้า คือเห็นความดับไม่เหลือ หรือถอยออกมาในจตุกกะที่ ๓ คือ มีจิตตั้งมั่น “ยืน” เด่นดวงอยู่ “อย่างมีขอบเขต:b42: :b44: :b41:

แต่ถ้าน้อมจิตเข้าไปพิจารณากระแสธรรมปัจจุบันที่กำลังดำเนินไปตามเหตุปัจจัย คือการพิจารณาอนัตตลักษณะอีก ก็จะเข้าสู่สภาวะแห่งความสลัดคืนแห่งจิตอีกครั้ง คือสภาวะที่จิตตั้งมั่น “ลอย” เด่นดวง แต่เป็นดวงที่ใหญ่ “ไม่มีขอบเขต” เพราะแผ่กว้างขวางออกไปไม่มีประมาณ คือกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ครอบคลุมทุกอย่าง และไม่มีขอบเขตเช่นเดียวกัน :b46: :b46: :b46:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 19 ธ.ค. 2010, 22:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

และถ้าฝึกให้ชำนาญ (วสี) แล้ว จิตจะผ่านขั้นที่ ๑๓, ๑๔, ๑๕ ไปอย่างรวดเร็ว แล้วเข้าสู่ขั้นที่ ๑๖ นี้ได้เลยด้วยการพิจารณาอนัตตาอย่างเดียวก็ได้ :b39: :b45: :b46:

(ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับการผ่านในฌานขั้นที่ลึก ไม่ว่าจะรูปฌาน หรืออรูปฌาน ด้วยการกำหนดลงในฌานนั้นๆโดยตรงเลยโดยที่จิตจะผ่านฌานขั้นตื้นกว่าไปอย่างรวดเร็ว โดยมีข้อสังเกตอยู่หน่อยหนึ่งว่า ในสภาวะของจิตที่สลัดคืนนี้ มีความแตกต่างจากอรูปฌานที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนะ ที่เอาสภาพว่างเปล่า (space) เป็นอารมณ์ ตรงที่ในอรูปฌานที่ ๑ จิตจะตัดการรับรู้ทางปสาทรูปไปทั้งหมด ทิ้งการเอารูปเป็นอารมณ์ เข้าถึงสภาพว่างเปล่าคืออรูปขั้นต้น แต่ไม่มีการแผ่ออก จะเป็นจิตที่ตั้งมั่นเด่นดวง ดูหรือเอาสภาพว่างเปล่าเป็นอารมณ์ เหมือนกับการมองออกไปนอกหน้าต่างเครื่องบินเห็นมวลอากาศที่เป็น space ที่ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ไม่ได้แผ่ไปรวมกับ space นั้น รวมทั้งไม่ได้เกิดจากการพิจารณาอนัตตลักษณะ ไม่เกิดปัญญา และไม่มีอาการแช่มชื่นเบิกบานแห่งจิตเหมือนกับในสภาวะของการสลัดคืนนี้) :b46: :b46: :b46:

ซึ่งถ้าปฏิบัติในจตุกกะที่ ๔ นี้แล้ว (ซึ่งเทียบเคียงได้กับ อริยสัจจ์บรรพ ซึ่งเป็นบรรพสุดท้ายของธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน) จน “เห็นอยู่เป็นประจำ” ตามเนื้อความที่ระบุไว้จนถึงจุดหนึ่งแล้ว :b51: :b51: :b51:

(แต่พระพุทธองค์ท่านเห็นเพียงครั้งเดียวก็ถึงที่สุดแห่งทุกข์นะครับ ระดับสาวกต้องเห็นหลายครั้งหน่อย :b1: :b46:)

จะทำให้รู้ชัดในทุกข์ (อุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕), เหตุแห่งทุกข์ (อวิชชา ซึ่งเป็นรากของตัณหา คือ ความไม่รู้ในสภาวะไร้ตัวไร้ตน เป็นเพียงกระแสแห่งเหตุและผลตามปฏิจสมุปบาท), สภาวะที่ไร้ทุกข์ (วิราคา, นิโรธา, และปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี), และแนวทางในการดับทุกข์ (คือแนวทางที่ปฏิบัติจน “เห็นอยู่เป็นประจำ” นั้น ซึ่งก็คือมรรคมีองค์ ๘ พิจารณาขันธ์ ๕ ลงในไตรลักษณ์) :b45: :b51: :b46:

นั่นคือ การรู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔ อย่างแท้จริง ซึ่งมีสภาวะแห่งความสลัดคืน จิตหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติอย่างถาวร อยู่กับโลก แต่ไม่ยึดติดกับโลก เสมือนน้ำกลิ้งบนใบบัวแต่ไม่ติดกับใบบัวฉันนั้น นั่นคือที่สุดแห่งทุกข์ หรือสภาวะของอรหัตตผลนั่นเอง

ไว้มาต่อสมถะมีวิปัสสนาในเบื้องหน้า ในครั้งต่อไปครับ :b1: :b46: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 21 ธ.ค. 2010, 23:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

ขออนุญาตมาต่อจากคราวที่แล้วครับ :b45: :b45: :b45:

สำหรับสมถะมีวิปัสสนาในเบื้องหน้า หรือการใช้ปัญญาอบรมสมาธินั้น คือการใช้ปัญญาพิจารณาปัจจุบันธรรมลงในไตรลักษณ์ และเมื่อจิต “รู้” ในสามัญลักษณะที่ปรากฏด้วยภาวนามยปัญญาแล้ว จิตจะ “ตื่น” และปล่อยจากการยินดียึดอยาก (อภิชฌา) หรือยินร้ายไม่ยึดอยาก (โทมนัส) :b39: :b39: :b46:

และเมื่อจิต “ปล่อย” สิ่งที่แบกอยู่ลงเสียได้ จะเกิดภาวะแห่งความ “เบิกบาน” ซึ่งเป็นสภาวะที่จิตสงบเป็นหนึ่ง นั่นคือ เกิดสมาธิ (สมถะ) ตามหลังปัญญา (วิปัสสนา) มานั่นเอง :b39: :b39: :b39:

(แต่อย่างไรก็ตาม การจะใช้ปัญญาตามที่กล่าวในเบื้องต้นนั้น จะต้องอาศัยสติ และสมาธิชั่วขณะ (ขณิกะสมาธิ) เป็นตัวนำ รวมทั้งองค์มรรคที่เหลืออีก ๖ องค์ยืนพื้นอยู่เบื้องหลัง ถึงจะสามารถพิจารณาจน “เห็นชัด”ในไตรลักษณ์ แล้วเกิดความสงบ (สมถะ) ในเบื้องปลายได้นะครับ)

ซึ่งวิธีนี้ สามารถนำไปปฏิบัติได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และในขณะพยายามทำสมาธิด้วยวิธีแรกแล้วลงสู่ความสงบไม่ได้ซักที :b1: :b37: :b38:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 21 ธ.ค. 2010, 23:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

ขอยกตัวอย่างของการนำไปใช้ขณะทำสมาธิก่อนนะครับ :b51: :b53: :b51:

โดยในการปฏิบัติแบบทำสมาธิก่อนแล้วค่อยเดินวิปัสสนาตามวิธีแรก ถ้าทำสมาธิแล้วฟุ้งไม่ยอมสงบซักที ให้ลองเปลี่ยนมาใช้ปัญญา คือดูลงไปตรงๆในความฟุ้งที่เกิดขึ้น พิจารณาลงในไตรลักษณ์จนถึงจุดที่จิต “รู้”ในสามัญลักษณะของความฟุ้งจริงๆแล้ว จิตจะวางความฟุ้ง และรวมพึบลงสู่ความสงบได้เอง แถมด้วยอาการเบิกบานน้อยๆในจิตอีกต่างหาก :b16: :b44: :b44:

ส่วนการใช้เพื่อการเจริญสติในชีวิตประจำวัน คือสิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวสรุปไว้ว่า “มีสติระลึกรู้สภาวะที่เกิดขึ้นกับกายใจลงในปัจจุบันตามความเป็นจริง” :b8: :b46: :b41:

และเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการพิมพ์ตัวอย่างในการปฏิบัติ ขออนุญาตยก case ที่เคย reply ไว้ในกระทู้ “ขอวิธีทำใจ เมื่อแฟนตายหน่อยค่ะ” ตามนี้ครับ :b16: :b46: :b46:

กระทู้ : ขอวิธีทำใจ เมื่อแฟนตายหน่อยค่ะ

ก่อนอื่น ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ :b8:

ทุกท่านในลานฯ (รวมทั้งผมเองด้วยครับ) ผ่านการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักด้วยกันทั้งนั้นนะครับ :b2: :b2: :b2:

การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก หรือแม้กระทั่งความทุกข์เนื่องมาจากสาเหตุอื่นใดก็ตามนั้น ถือเป็นสภาวะบีบคั้น (ทุกขัง) ที่มาจากการกระทบภายนอก ซึ่งมีเหตุปัจจัย และกระบวนการเกิดต่างกันไปในแต่ละคน แต่ละเคส :b45: :b46: :b44:

แต่เมื่อการกระทบภายนอกนั้น กระแทกเข้ามาจนเกิดทุกข์ภายในแล้ว (ทุกขทุกข์) ต่างมีเหตุปัจจัย และกระบวนการเกิด เหมือนกันหมดทุกคน (ปฏิจสมุปบาท) :b46: :b48:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 22 ธ.ค. 2010, 00:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนให้เราเข้มแข็งและแก้ไขทุกข์ด้วยปัญญานะครับ พระพุทธเจ้าถึงทรงสอนไว้ว่า กิจที่ควรปฏิบัติในทุกข์นั้นคือ ให้รู้เข้าไปตรงๆ (ทุกข์ให้รู้) ไม่ใช่ให้หนีหรือละ แต่สิ่งที่ควรละคือ เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัยให้ละ) โดยวิธีที่จะใช้ละเหตุ ก็คือมรรค (มรรคให้เจริญ) แล้วเมื่อทุกข์หมดเหตุ ทุกข์จะดับให้เห็นเอง แล้วความเบิกบานเนื่องมาจากทุกข์ดับ จะตามมา (นิโรธให้แจ้ง) :b46: :b48: :b51: :b41:

ถ้าจะขยายความให้ละเอียดขึ้นสักหน่อย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเป็นทุกข์เนื่องจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป :b2: :b2: :b2:

1) ให้ใช้สติและสมาธิที่ตั้งมั่น (มรรคให้เจริญ) :b46:

2) ดูตรงๆเข้าไปที่สภาวะทุกข์ คือความคร่ำครวญ สะอื้นร่ำไห้ แน่นในหัวอก (ทุกข์ให้รู้) :b46:

3) โดยไม่วกเข้าไปดูเหตุที่ทำให้ทุกข์ คือ อย่าไปจดจ่ออยู่กับภาพความทรงจำเก่าๆที่ผุดขึ้นมา (สมุทัยให้ละ) :b46:

4) ถ้ามีสติและสมาธิที่ตั้งมั่นจดจ่อต่อเนื่อง ตามดูสภาวะแห่งทุกข์ได้นานพอที่จะไม่แว๊บไปคำนึงถึงเหตุ จะเห็นสภาวะทุกข์ คือความคร่ำครวญ สะอื้นร่ำไห้ แน่นในหัวอก ดับไปได้เองเพราะหมดเหตุตามลักษณะสามัญของเขา จิตจะเป็นกลาง เบิกบาน (นิโรธให้แจ้ง) ควรค่าแก่การใช้งานเพื่อคิดแก้ไขปัญหาที่มาจากภายนอกโดยไม่เจือไปด้วยกิเลสคือความอยากให้เขากลับมา (ภวตัณหา) ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความโศกเศร้า คร่ำครวญ ความหมดหวังท้อแท้เป็นทุกข์ (โลภะ + โทสะ + โมหะ) :b2: :b2: :b2:

หัดแรกๆอาจจะดูยากหน่อยนะครับ สภาวะที่จิตเป็นกลางและเบิกบานจะมาเพียงแวบเดียวแล้วหายไป เพราะจิตเจ้ากรรมชอบกลับไปจมแช่อยู่กับเหตุ คือยังไปจดจ่อครวญคร่ำอยู่กับภาพความทรงจำเก่าๆที่ผุดขึ้นมา มากกว่ามีสมาธิจดจ่อตามรู้แต่ในสภาวะทุกข์ ทำให้ทุกข์ไม่ดับให้เห็นเพราะเหตุไม่ดับ แถมยังจะทับถมทวีเพราะจิตไม่ยอมปล่อยเหตุ :b6: :b5: :b2:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 22 ธ.ค. 2010, 00:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเราเข้าใจในเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว เราควรจะปฏิบัติต

มีความเพียรเจริญสติด้วยวิธีนี้ไปเรื่อยๆ (หลวงพ่อบางองค์ท่านบอกให้ดูเป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้านครั้งนะครับ ชาตินี้ดูไม่พอ ให้ตามไปดูต่อในชาติหน้า หรือเราเองในชาตินี้อาจจะดูมาในชาติก่อนๆสะสมแต้มเป็นแสนเป็นล้านครั้งแล้วก็ได้น๊ะ :b16: สะสมแต้มอีกนิดเดียวก็อาจจะหลุดพ้นได้ในชาตินี้ก็ได้ :b41: :b41: :b41: )

สุดท้าย เมื่อจิตรู้ในตัวสภาวะทุกข์ได้ไว ก็จะเห็นการดับได้ไว ระยะที่จิตจับทุกข์ก็จะสั้นลง ๆ จนกระทั่งจิตไม่เข้าไปจับกับสภาวะนั้นเองเพราะมีปัญญารู้ว่าเป็นของร้อนซะแล้ว :b4: :b12:

ปล. แต่ถ้าสถานการณ์ภายในใจของเรายังไม่เอื้อให้เจริญสติแก้ทุกข์ด้วยปัญญาได้ ก็ต้องออกไปตั้งหลักหาทางแก้ด้วยวิธีอื่นที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำด้วยเหมือนกันก่อนนะครับ เช่น ใช้วิธีกดข่มทำใจ หรือ หาทางทำใจให้สุขและสงบ (วิกขัมภนปหาน) ได้แก่ ทำบุญแผ่เมตตา สวดมนต์นั่งสมาธิ ออกไปเที่ยวเข้าวัดเข้าวา เลิกคิดถึงแต่ภาพเก่าๆให้ได้เสียก่อน จิตถึงจะมีกำลังตั้งมั่นไม่ไหลตามการปรุงแต่งพอที่จะทวนเข้ามาดูสภาวะตรงๆให้เกิดปัญญาที่รู้เท่าทันโลกธรรม (อ่านว่า "โลก - กระทำ" :b12: :b13: ) ทั้งหลาย และปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาภายนอกได้ (สุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ + สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา) :b41: :b46: :b46:

เข้มแข็ง เข้มแข็ง :b4: :b4:

แล้วมันก็จะผ่านไป (อนิจจัง) :b41: :b41:
----------------------------------------------------------

ซึ่งการใช้ปัญญาพิจารณาปัจจุบันธรรม โดยเฉพาะกิเลสและความทุกข์ใจต่างๆที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น เป็นเหมือนกับที่หลวงปู่ชาท่านกล่าวโดยสรุปไว้ในทำนองว่า :b8:

... จะเป็นบัวพ้นน้ำ ต้องรู้จักเอาโคลนตม (กิเลสและความทุกข์ต่างๆ) มาเป็นปุ๋ย ถ้ายังหลงจมอยู่ในโคลนตม ก็เป็นได้แค่อาหารเต่าปลา .... :b44: :b39: :b40:

และถ้าใช้สติ บวกสัมปชัญญะ (ปัญญา) “รู้” ในลักษณะสามัญของปัจจุบันธรรมนั้นๆ จิตจะ “ตื่น” และมีอาการ “เบิกบาน” สงบตั้งมั่นตามมาทีหลัง ซึ่งก็คือการเจริญสมถะ โดยมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าในวิธีที่ ๒ ที่พระอานนท์ท่านกล่าวไว้นั่นเอง :b8: :b46:

ไว้มาต่อการบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป ซึ่งมีหลักฐานของการบำเพ็ญด้วยแนวทางนี้ขององค์พระสารีบุตรในคราวหน้าครับ :b41: :b41: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:

หน้า 3 จากทั้งหมด 95 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/